27 พฤศจิกายน 2567, 07:38:16
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 99 100 [101] 102 103 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3583517 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2500 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 12:10:47 »

สวัสดีครับ คุณเหยง
                       มวลน้ำก้อนนี้ไม่ทำให้ใครลำบากหรอกครับ และคาดว่าปีนี้จะไม่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องน้ำท้วม เพราะเทวดาท่านกลัวพรรคเพื่อไทย ที่จะขจัดเทวดาทิ้งที่ทำให้น้ำท้วมทุกปี สร้างความเดือดร้อน เทวดากลัวเลยหนีหมด ไม่เชื่อคอยดูปีนี้น้ำไม่ท้วม ไม่ทำความเสียหายให้ เพราะเทวดาท่านเป็นมิตร ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์เทวดาท่านไม่กลัว ครับ คอยดูกัน (พี่สิงห์ผิดต่อตัวเองแล้ว วันนี้ ที่ไปยุ่งการเมือง)
                       สวัสดี

หมายเหตุ
                        พี่สิงห์ต้องทนปวดแวบๆ ลึกๆ อย่างมาก ที่รากฟันต่อไปอีกสามวันเหมือนครั้งที่ผ่านมา ได้รับเวทนาอย่างดียิ่ง ในการฝึกจิต
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2501 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 12:36:11 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม นี้ เป็นวันเข้าพรรษา ของทุกปีครับ ใครที่จะเลิกละเช่า บุหรี่ เหล้า นารี ........เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ขอเชิญตามสบายเลย ไม่จำเป็นที่จะต้องทำพิธี ขอเพียงตั้งใจละ เลิก ก็ใช้ได้แล้วครับ เพราะทำพิธีก็ตาม ถ้าตัวเราเองไม่ทำตามมันก็ไม่สำเร็จ  สู้ตั้งใจละ เลิก กัลตัวเองนี่ละดีที่สุดครับ
                       ผมเองคงกระทำตัวเองให้อยู่ในศีล ๕ และศีล ๘ ในวันพระครับ  ทำบุญทุกวันพระ และสอนญาติโยมให้ปฏิบัติธรรม  ดูแลสุขภาพ และสอนแก่นศาสนาพุทธให้ญาติโยม ได้รับรู้เอาไปปฏิบัติ ตามกำลัง และจะตั้งใจปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ
                       ขอเชิญอ่านครับ
                       สวัสดี


รู้ธรรมวันละนิด  จิตผ่องใส

ตอน

วันเข้าพรรษา


 

                          และแล้วเทศกาลเข้าพรรษาก็กลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญต่อพระสงฆ์มากทีเดียว โดยเป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้

                          เพราะ "เข้าพรรษา" ที่แปลว่า "พักฝน" คือ วันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเวลา 3 เดือน ตามพระธรรมวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นซึ่งจะเรียกกันว่า "จำพรรษา" โดยคำว่า "จำ" แปลว่า "อยู่" ส่วนคำว่า "พรรษา" แปลว่า "ฤดูฝน" จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนมาสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งสามารถแบ่งการเข้าพรรษาได้เป็น 2 ประเภท

                          1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐิน ซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

                          2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกล หรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

                          ส่วนสาเหตุของวันเข้าพรรษานั้นเกิดจาก ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์อยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ซึ่งการไม่หยุดพักแม้กระทั่งในฤดูฝน จึงทำให้เกิดเสียงติเตียนจากชาวบ้านว่าอาจจะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าและพืชพันธุ์อื่นๆ ของชาวบ้านจนเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินเข้าได้ เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งพระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในช่วงเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสาง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น "ขาดพรรษา"

                         แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ซึ่งจะเรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่นกรณีดังต่อไปนี้

 1. เมื่อทายกหรือทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
 2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
 3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
 4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
 5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
 6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้ โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
 7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
 8. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

                        อีกทั้งในวันเข้าพรรษานั้นถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยจะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานในใจตนเองว่าตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

                         อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ที่แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้หรือในวิหารนี้ โดยจะกล่าวทั้งหมด 3 ครั้ง

                          หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น วันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

                          ซึ่งระหว่างที่ภิกษุจำพรรษานั้นตามพุทธานุญาตให้สิ่งของที่ประจำตัวได้มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้นกว่าที่พระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ผ้าอาบน้ำฝน" เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

โดยการเข้าพรรษานั้นมีประโยชน์ ดังนี้

 1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
 2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ก็เป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
 3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
 4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
 5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

                        แม้ว่าการเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้นก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวันพุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องใช้อย่าง สบู่ ยาสีฟัน มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาด, ซ่อมแซม กุฏิหรือวิหาร เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาศีลกันที่วัด ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลแปดก็ตาม โดยบางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เช่น งดสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น

                        กิจกรรมที่ขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ฤดูเข้าพรรษาของทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด 3 เดือน โดยพระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าและเย็น จึงจะต้องมีการใช้ธูป เทียน เพื่อจุดบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาให้พระภิกษุ อีกทั้งยังเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าเป็นการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาทำให้หูตาสว่าง

                         ตามชนบทนั้นการหล่อเทียนเข้าพรรษาจะทำกันเอิกเกริกและเป็นที่สนุกสนาน เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดตกแต่งเทียนพรรษาหรือการแห่รอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม

                         ซึ่งหากใครยังไม่เคยเข้าวัดไปทำกิจกรรมในวันเข้าพรรษา เราขอแนะนำให้ไปลองดู เพราะนอกจากจะได้ทำบุญแล้ว ยังจะช่วยชำระล้างจิตใจของคุณให้ปลอดโปร่ง เพื่อพร้อมผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาได้อีกด้วย

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2502 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 12:55:53 »

รู้ธรรมวันละนิด  จิตผ่องใส

ตอน

ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุ สามเณร เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา




                       ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยปรากฏสาเหตุความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนในพระไตรปิฎกดังนี้

                        ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นางวิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง 4 พระศาสดาจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสรงสนานกาย พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่มีผ้าอาบน้ำฝนจึงออกมาสรงน้ำฝนโดยร่างเปลือยกายอยู่

                        พอดีกับนางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ในอารามมีแต่พวกชีเปลือย (อาชีวกนอกพระพุทธศาสนา) ไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วนนางวิสาขานั้นเป็นสตรีที่ฉลาดรู้แจ้งในเหตุการณ์ทั้งปวง เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันนั้นแล้ว จึงได้โอกาสอันควรทูลขอพร 8 ประการต่อพระศาสดา

พระศาสดาทรงอนุญาตพร 8 ประการคือ
 
                         ผ้าอาบน้ำฝนมีเพื่อใช้ผลัดกับผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ (ปกติตามพระวินัย พระสงฆ์จะมีไตรจีวรได้เพียงรูปละ 1 สำรับเท่านั้น)

1.   ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือยกาย
2.   ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง
3.   ขอถวายคมิกภัตแก่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกวียน
4.   ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ
5.   ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร
6.   ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง
7.   ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์
8.   ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน

                       โดยนางวิสาขาได้ให้เหตุผลการถวายผ้าอาบน้ำฝนว่า เพื่อให้ใช้ปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ที่ดูไม่งามดังกล่าว ดังนั้น นางวิสาขาจึงเป็นอุบาสิกาคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์

                       ผ้าอาบน้ำฝน จึงถือเป็นบริขารพิเศษที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยปิฎก มิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ต้องทำผ้ากว้างยาวให้ถูกขนาดตามพระวินัย คือ ยาว 6 คืบพระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ตามมาตราปัจจุบันคือ ยาว 4 ศอก 3 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าหากมีขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้

                        นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ด้วย หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัติ โดยพระพุทธเจ้ายังได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ว่า หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาใช้ได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ กล่าวคือ ทรงวางกรอบเวลาหรือเขตกาลไว้ 3 เขตกาล คือ

•   เขตกาลที่จะแสวงหา ช่วงปลายฤดูร้อน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลา 1 เดือน
•   เขตกาลที่จะทำนุ่งห่ม ช่วงกึ่งเดือนปลายฤดูร้อน ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลาประมาณ 15 วัน
•   เขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอย ช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 รวมเวลา 4 เดือน

                        ด้วยกรอบพระพุทธานุญาตและกรอบเวลาตามพระวินัยดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่พระสงฆ์ต้องแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน พุทธศานิกชนจึงถือโอกาสบำเพ็ญกุศลด้วยการจัดหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระสงฆ์ จนเป็นประเพณีสำคัญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษามาจนปัจจุบัน
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2503 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 20:30:27 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 12:01:36
สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง และชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       เรื่องเวียนเทียนที่พระธาตูนั้น อย่าไปดีกว่าครับ พี่สิงห์เคยไปมาครั้งหนึ่งในวันสำคัญนี้ละห้าปีได้ ปรากฏว่าเราไปรอพิธีเป็นชั่วโมง พอทำพิธีเสร็จมีการเวียนเทียน ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่เขาให้เวียนรอบพระธาตุได้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์ และข้าราชการผู้ใหญ่เท่านั้น นอกนั้นต้องเวียนเทียนรอบวัด หนึ่งรอบประมาณ สี่ร้อยเมตร สามรอบก็ 1.2 กิโลเมตร ส่วนใหญ่ก็เวียนเที่ยวเดียว นับแต่นั้นมาพี่สิงห์ไม่ไปร่วมงานเวียนเทียนรอบพระธาตุอีกเลย ขอเวียนด้วยใจอยู่โรงแรมดีกว่าครับ เราอย่าไปยุ่งกับการจัดงานเขาเลย ครับ

                       การทำฟันนั้น คุณหมอไม่ได้ฉีดยาชา ใช้วิธีทารอบฟัน ต้องอ้าปากค้างนานหนึ่งชั่วโมงเต็มวันนี้ รากฟันโดนกดอย่างสม่ำเสมอ จึงได้รับเวทนาอย่างหนักวันนี้ รุนแรงมากกว่าครั้งก่อน พยายมทำสมาธิอยู่กับการสร้างความรู้สึกตัว แต่เวลามันเจ็บก็ทนไม่ไหว  คิดท้อแท้เหมือนกัน แต่ก็คิดว่า เจ็วปวดเพียงแค่นี้ มันไม่หนักกับทุกข์ที่เราได้รับมันเจ็บเดี๋ยวเดียว มันก็หายแต่ทุกข์นั้นมันเจ็บนาน พยายามสร้างกำลังใจให้ตัวเอง เหมื่อยก็เหมื่อย เพราะต้องอ้าปากหนึ่งชั่วโมง อึดอัด พยายามผ่อนคลายตนเอง หลังจากคุรหมอทำไปได้ 45 นาที ต้องเดินไป X-Ray โดยมีเครื่องมือแพทย์อยู่ในปาก ต้องอ้าปากตลอดเวลา แต่รู้ตัวเลยว่า มีเหงื่อที่ขาทั้งสองจนกางเกงเปียก  แต่ก็ยังดีที่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หลังจากนั้นก้ไปทำต่อเจ็บปวดมากๆ ได้แต่ทนๆๆๆ จนแล้วเสร็จ  พี่สิงห์ต้องทนเจ็บแบบนี้อีกสองครั้ง ครับ จนรู้สึกกลัว แต่ก็ต้องฝืนทำต่อไม่ให้กลัวครับ

                        กลางวันนี้พี่สิงห์ไม่อยากเคี้ยวอะไรที่แข็ง เพราะหมอห้ามเคี้ยวข้างซ้าย จึงกลับบ้านมาต้มข้าวต้มกินกับมันต้มและปลากระป่อง ครับ

                        สามโมงเย็นต้องออกจากบ้านไปสนามบินดินเมืองเพื่อเดินทางไปนครศรีธรรมราช ครับ

                        สวัสดี

พี่สิงห์คะ,
อ่านแล้วเหมือนหนิงไปยืนข้างเตียงทำฟัน!
แปลกใจคะ เพราะถ้าเป็นรากฟันอักเสบ
เค้าขูดออกเลยนี่พี่? และเป็นการรักษาที่ตรง
กับประสาท...ไม่ฉีดยาชา เอาไม่อยู่พี่ เจ็บมากๆ!
น่าเห็นใจคะ...รู้สึกเจ็บแทนพี่ไปด้วย..
ผอมแน่ ผอมแน่...
หนิงเจอะรากฟันอักเสบ(เน่า?)2 ครั้ง..กิน-นอนไม่ได้
รอก็ไม่ได้คะ..ต้องเร่งรีบ...ความที่รากฟันเสียแต่เนื้อฟันดี
พอเอารากออก ฟันจะเริ่มคล้ำ...ก็ได้เป็นเรื่องอีกคะ
ยิ้มแล้วไม่สวย!!เลยกรอให้เล็ก ครอบฟันเซรามิก
ส้วยยยยยย...

วันนี้ซดซุปนะคะ,ซุปผักซุปข้นตามใจพี่
เคี้ยวไม่ถนัดอีกหลายวันคะ


พี่ถึงนครฯรึยังคะ?
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2504 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 20:39:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 12:36:11
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม นี้ เป็นวันเข้าพรรษา ของทุกปีครับ ใครที่จะเลิกละเช่า บุหรี่ เหล้า นารี ........เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ขอเชิญตามสบายเลย ไม่จำเป็นที่จะต้องทำพิธี ขอเพียงตั้งใจละ เลิก ก็ใช้ได้แล้วครับ เพราะทำพิธีก็ตาม ถ้าตัวเราเองไม่ทำตามมันก็ไม่สำเร็จ  สู้ตั้งใจละ เลิก กัลตัวเองนี่ละดีที่สุดครับ
                       ผมเองคงกระทำตัวเองให้อยู่ในศีล ๕ และศีล ๘ ในวันพระครับ  ทำบุญทุกวันพระ และสอนญาติโยมให้ปฏิบัติธรรม  ดูแลสุขภาพ และสอนแก่นศาสนาพุทธให้ญาติโยม ได้รับรู้เอาไปปฏิบัติ ตามกำลัง และจะตั้งใจปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ
                       ขอเชิญอ่านครับ
                       สวัสดี




เอ๊ะ,ใครต้องเลิกคะ?สงฆ์ รึ ฆราวาส?
ถ้าฆราวาส,ทำไมต้องเลิกคะ?
นารีไม่ไช่สิ่งบาปนี่พี่สำหรับฆราวาส?
เช่าแล้วบาป?เป็นคู่ไม่บาป?
งั้นเดี๋ยวหนิงผลักแฟนหนิงไปนอนนอกห้อง
ละเลิกเข้าพรรษา!
หุหุ
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2505 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 20:40:27 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       เพื่อให้วันอาสาฬหบูชา สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เราในฐานะพุทธศาสนิกชน สมควรอย่างยิ่งที่จะได้สวด "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเรา และระลึกถึงพระพุทะเจ้าทีรงตรัสรู้ และได้แสดงปฐมเทศนา ประกาศพุทธศาสนา หมุนกงล้อธรรม ครับ
                       การสวดไม่มีอะไรมาก กราบพระ ตั้งนโมสามจบ แล้วสวด เลยครับ
                       สวัสดี


รู้ธรรมวันละนิด  จิตผ่องใส

ตอน

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทนำ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อนุตตะรัง อภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

                        พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้า ครั้นได้ตรัสรู้ธรรม ได้แก่ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด ไม่มีธรรมใดที่สูงไปกว่า ได้ทรงแสดงให้เห็นเป็นจักร คือ วงล้อ ประกอบด้วยซี่ 8 ซี่ คือธรรมอันเป็นทางสายกลาง 8 ประการ ซึ่งเป็นทางที่หลีกเว้นการปฏิบัติตนแบบสุดโต่ง 2 คือ หมกหมุ่นในกามคุณ และ ทรมานตนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นข้อ ปฏิบัติเป็นกลาง ให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ให้บริสุทธิ์จากกิเลส, พวกเราทั้งหลาย จงร่วมกันสวดพระธรรมจักรนั้น ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นธรรมราช ทรงแสดงไว้แล้ว มีชื่อปรากฏว่า  “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เป็นพระสูตรที่ประกาศให้ทราบถึงการที่พระองค์ ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งพระสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้โดยทำเป็นบทสวดมนต์ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เทอญฯ


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
                      เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
                       ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีในเวลานั้น พระองค์ได้ตรัสเตือนพระภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า

                        เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย ผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้น ไม่ควรปฎิบัติตน 2 ประการ คือ (1) การแสวงหาความสุขทางกามคุณ แบบสุดโต่ง ซึ่งทำให้จิตใจต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้านที่มีความใคร่ เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนาไม่ใช่เป็นสิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึกคือกิเลส ไม่มีสาระประโยชน์อันใด (2) การปฏิบัติตนแบบก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก ไม่ใช่สิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึก คือ กิเลสไม่มีสาระประโยชน์อันใด ฯ

                        เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
                        กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
                        อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย หลักปฏิบัติอันเป็น ทางสายกลาง หลีกเลี่ยงจากการปฏิบัติแบบสุดโต่ง ซึ่งเราตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยวดยิ่ง เห็นได้ด้วยตาใน รู้ด้วยญาณภายใน เป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้อย่างทั่วถึง เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (Cool ความตั้งจิตชอบ

                        อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
                        อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
                        ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปราถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง

                        อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุหทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่
(1) ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
(2) ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่
(3) ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็๋น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

                        อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา

                        อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ
                        อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (Cool ความตั้งจิตมั่นชอบ

                        อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                        ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
                        ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้ เป็นทุกขอริยสัจจ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลายที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขอริยสัจ เราได้กำหนดรู้แล้ว

                        อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                        ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                        ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกสมุทัยอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรละ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจเราละได้แล้ว

                       อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                       ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                       ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ
ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                       ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

                        อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
                        ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                        ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

                        ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริง ว่าอริยสัจ 4 มี 3 รอบ มีอาการ 12 (ได้แก่ 1. หยั่งรู้อริยสัจ แต่ละอย่างตามความเป็นจริง 2. หยั่งรู้กิจของอริยสัจ 3. หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้ว ในอริยสัจ) ยังไม่หมดจดเพียงใด

                        เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ไม่มีใครจะเทียบได้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มาร พรหม แม้มวลมนุษย์ ทั้งที่เป็นสมณะเป็นพราหมณ์ ก็เทียบเท่ามิได้เพียงนั้น

                        ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
                        ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงดังกล่าวมาหมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราได้ยืนยันตนเป็นผู้ตรัสรู้ชอบดังกล่าวแล้ว เช่นนั้น

                        ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ นัพภะโวติ ฯ
                        การหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีก

                        อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
                        ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณได้แสดงธรรมโดยปริยายดังกล่าวมา เหล่าภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็ได้มีใจยินดีเพลินในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

                        อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
                        ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย

                        ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ
                        ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้แสดงธรรมจักร คือ หมุนวงล้อแห่งธรรมที่ประกอบด้วย 8 ซี่ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เหล่าภุมเทวดา ก็เปล่งเสียงสาธุการบันลือลั่นว่า วงล้อแห่งธรรม ไม่มีวงล้ออื่นใดจะหมุนสู้ได้ ได้รับการหมุนไปโดยพระพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งไม่มีใครทำได้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุงฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
                        เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
                        เหล่าเทพเจ้าชั้นจาตุมมหาราชิกา ครั้นได้ยินเสียงเหล่าเทพภุมเทวดาต่างก็ส่งเสียงสาธุการ บันลือลั่นสืบต่อไปจนถึงเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จนกระทั่งถึงชั้นพรหม ตั้งแต่พรหมปาริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหม ปริตตาภาพรหม อัปมาณาภาพรหม อาภัสสราพรหม ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม สุภกิณหกาพรหม เวหัปผลาพรหม อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม จนกระทั่งถึงอกนิฎฐกาพรหมเป็นที่สุด ก็ส่งเสียงสาธุการบันลือลั่น เพียงครู่เดียว เสียงได้บันลือไปทั่วพรหมโลก

                         อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยันจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ
สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
                         ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน เสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม

                         อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต
โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
                         ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2506 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 20:50:02 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก

                       พี่สิงห์อยู่นครศรีธรรมราช

                       "เลิกนารี" นั้นหมายถึงฆาราวาส ที่ชอบออกนอกบ้านไปกินเหล้าเคล้านารี ตามผับตามบาร์หรือร้านอาหาร และหมอนวด เช่น ดร.สุริยา  ก็ควรงดเสียบ้างในระหว่างเข้าพรรษา เป็นต้น (ขออภัย นึกชื่อใครไม่ออก เพราะลืมเป็นส่วนใหญ่ จำได้แต่ ดร.สุริยา คนใกล้ตัวนี่ละ ความจริง น้องๆ เขาก็รู้ ดร.สุริยา เป็นคนดีของน้องๆ ไม่โกรธ  ไม่โลภ  ไม่หลง และไม่มีราคะ ในฐานะศิษย์หลวงพ่อเทียน  รุ่นก่อนผมครับ)

                       นึกขึ้นได้ คุณมิ็ง เข้าพรรษานี้ ขอให้งดเหล้าเถอะ เพื่อให้ตับได้พักผ่อนชั่วคราวครับ

                       ฟันพี่สิงห์ไม่ได้เน่าที่รากฟันครับ ครั้งแรกฉีดยาชา แต่สองครั้งหลังไม่ได้ฉีด มันถึงได้รับเวทนาอย่างแสนสาหัส จนเหงื่อออก เพราะความเจ็บปราสาทรากฟัน แต่ก็ต้องทนครับ อีกสองครั้งหลังจากนั้นคงต้องทำครอบฟันตามเดิม และเจ็บอีกครั้ง ครับ

                        ได้บทเรียนอย่างมาก  ฟันเป็นอะไรที่เราต้องถนุถนอมมากๆ เพราะเสียไปแล้วมีแต่เจ็บปวด และเสียเงินครับ

                         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #2507 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 20:59:36 »

เสี่ยมิ้งช่วยมาเป็นพยาน พี่ป๋องถูกผู้ทรงศีลใส่ความโดยไม่มีมูล
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2508 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 21:27:44 »

พี่มิ้งเข้าเวบแล้วเหรอคะ?
ไม่เคยเห็นเลย.


พี่สิงห์,
เมื่อกี้พาไก่ฟ้าไปส่งสนามเทนนิส
คะยั้นคะยอให้แกเข้าค่ายเทนนิส 3 วัน
ต้องจ่ายตั้ง 160 €...แกหน้าเง้าหน้างอ
เถียงกะพ่อมาหลายวัน ว่าเพื่อนไม่เข้าแกไม่เข้า,
เมื่อกี้หนิงบอกแกว่า เพื่อนเค้าทำอะไรเค้าทำโดย
ไม่แม้แต่มาถามแก ทำไมแกต้องแขวนตัวเองกับเพื่อน
การทำกิจกรรมแตกต่างทำให้แกมีประสบการณ์,
มีโอกาสรู้จักคน,ได้มีเรื่องเล่า เรื่องคุย...สิ่งเหล่านี้
ล้วนมีประโยชน์ทางอ้อม...นอกเหนือจากได้เล่นเทนนิส
ได้ออกกำลัง....ไปคะ,ยื่นใบสมัครวันนี้เลย!

แกรับไป...เงียบๆ
ไม่รู้กลัวแม่ รึเข้าใจ!

หนิงไม่ได้บังคับแกนะพี่
      บันทึกการเข้า


พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #2509 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 21:29:48 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 20:59:36
เสี่ยมิ้งช่วยมาเป็นพยาน พี่ป๋องถูกผู้ทรงศีลใส่ความโดยไม่มีมูล
ท่านอาจเอาภาพในอดีตมาเล่าก้อได้ขอรับ
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2510 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 21:33:43 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 21:27:44
พี่มิ้งเข้าเวบแล้วเหรอคะ?
ไม่เคยเห็นเลย.


พี่สิงห์,
เมื่อกี้พาไก่ฟ้าไปส่งสนามเทนนิส
คะยั้นคะยอให้แกเข้าค่ายเทนนิส 3 วัน
ต้องจ่ายตั้ง 160 €...แกหน้าเง้าหน้างอ
เถียงกะพ่อมาหลายวัน ว่าเพื่อนไม่เข้าแกไม่เข้า,
เมื่อกี้หนิงบอกแกว่า เพื่อนเค้าทำอะไรเค้าทำโดย
ไม่แม้แต่มาถามแก ทำไมแกต้องแขวนตัวเองกับเพื่อน
การทำกิจกรรมแตกต่างทำให้แกมีประสบการณ์,
มีโอกาสรู้จักคน,ได้มีเรื่องเล่า เรื่องคุย...สิ่งเหล่านี้
ล้วนมีประโยชน์ทางอ้อม...นอกเหนือจากได้เล่นเทนนิส
ได้ออกกำลัง....ไปคะ,ยื่นใบสมัครวันนี้เลย!

แกรับไป...เงียบๆ
ไม่รู้กลัวแม่ รึเข้าใจ!

หนิงไม่ได้บังคับแกนะพี่

                     ให้เล่นกอล์ฟ ตาม Sandra Gal สาวเยอรมัน ดีกว่าครับ รับรองไก่ฟ้าเล่นแน่นอน เพราะเทนนิส ทำให้รูปร่างหนา ครับ  ถ้ามาเมืองไทย ดร.สุริยา  สอนให้ฟรีในฐานะ นักเทนนิส สจม. ครับ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2511 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 21:39:24 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 21:33:43
                     ให้เล่นกอล์ฟ ตาม Sandra Gal สาวเยอรมัน ดีกว่าครับ รับรองไก่ฟ้าเล่นแน่นอน เพราะเทนนิส ทำให้รูปร่างหนา ครับ  ถ้ามาเมืองไทย ดร.สุริยา  สอนให้ฟรีในฐานะ นักเทนนิส สจม. ครับ

พาไปมินิกอล์ฟ..ก็ไปร้องไห้
เพราะแม่กะพี่ชายคะแนนนำ!
ร้องไปด้วยตีไปด้วย...
อย่าให้saidคะ.

พี่ป๋องเข่าพัง...ตั้งกะคราเล่นบอลให้โรงเรียน
หนิงจำได้!


      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2512 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 21:45:05 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 21:33:43
                     ให้เล่นกอล์ฟ ตาม Sandra Gal สาวเยอรมัน ดีกว่าครับ รับรองไก่ฟ้าเล่นแน่นอน เพราะเทนนิส ทำให้รูปร่างหนา ครับ  ถ้ามาเมืองไทย ดร.สุริยา  สอนให้ฟรีในฐานะ นักเทนนิส สจม. ครับ

อุ๊ย,สวยเชียว!
สนามคงคึกคักแย่




      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2513 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 21:52:35 »

2008ย้ายไปอยู่ Florida
เป็นGolfprofiเต็มตัว
ชาว Düsseldorfคะ





http://de.wikipedia.org/wiki/Sandra_Gal
      บันทึกการเข้า


suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #2514 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 22:41:38 »

อ้างถึง
ข้อความของ patooman 64 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 21:29:48
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 20:59:36
เสี่ยมิ้งช่วยมาเป็นพยาน พี่ป๋องถูกผู้ทรงศีลใส่ความโดยไม่มีมูล
ท่านอาจเอาภาพในอดีตมาเล่าก้อได้ขอรับ
ตั้งแต่เพื่อไทยชนะเลือกตั้งเนี่ย รมณ์ดีเชียะ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2515 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 22:42:15 »

พี่สิงห์,
หนิงเข้ามาบอกความคืบหน้า!
ไก่ฟ้ากลับมาแล้วค่ะ
เล่าว่ายื่นใบสมัครเข้าค่ายเทนนิส 3 วัน
เลือกกลุ่มแรก...
ครูฝึกเสนอว่าแกสนใจจะซื้อชุดเทนนิส
จากผู้ผลิตตรงรึปล่าว?เค้าเสนอ offerพิเศษ:
jacket+เสื้อโปโล+กระเปรง(กระโปรง+กางเกง)+
กางเกงขายาว....set นี้ ราคา 130 € ลด 30 %+
ลดอีก 30 € หากสั่งในการนี้...

ลูกหนิงตาแววสดใสไม่เศร้าสร้อยอย่างตะกี้!
ดูสดชื่นเหมือนได้ไปshop...ลืมเรื่องเข้าค่ายสนิท.
ดีคะดี เดี๋ยวหม่ามี๊สนับสนุน.
(เคยพาแกไปดูชุดกีฬา...แพงจนอยากบร้าาาค่ะ)
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2516 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 22:45:53 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 20:50:02
สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก

                       พี่สิงห์อยู่นครศรีธรรมราช

                       "เลิกนารี" นั้นหมายถึงฆาราวาส ที่ชอบออกนอกบ้านไปกินเหล้าเคล้านารี ตามผับตามบาร์หรือร้านอาหาร และหมอนวด เช่น ดร.สุริยา  ก็ควรงดเสียบ้างในระหว่างเข้าพรรษา เป็นต้น (ขออภัย นึกชื่อใครไม่ออก เพราะลืมเป็นส่วนใหญ่ จำได้แต่ ดร.สุริยา คนใกล้ตัวนี่ละ ความจริง น้องๆ เขาก็รู้ ดร.สุริยา เป็นคนดีของน้องๆ ไม่โกรธ  ไม่โลภ  ไม่หลง และไม่มีราคะ ในฐานะศิษย์หลวงพ่อเทียน  รุ่นก่อนผมครับ)
                      นึกขึ้นได้ คุณมิ็ง เข้าพรรษานี้ ขอให้งดเหล้าเถอะ เพื่อให้ตับได้พักผ่อนชั่วคราวครับ
                       ฟันพี่สิงห์ไม่ได้เน่าที่รากฟันครับ ครั้งแรกฉีดยาชา แต่สองครั้งหลังไม่ได้ฉีด มันถึงได้รับเวทนาอย่างแสนสาหัส จนเหงื่อออก เพราะความเจ็บปราสาทรากฟัน แต่ก็ต้องทนครับ อีกสองครั้งหลังจากนั้นคงต้องทำครอบฟันตามเดิม และเจ็บอีกครั้ง ครับ

                        ได้บทเรียนอย่างมาก  ฟันเป็นอะไรที่เราต้องถนุถนอมมากๆ เพราะเสียไปแล้วมีแต่เจ็บปวด และเสียเงินครับ

                         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

เอ๊ะ,มีการaddเพิ่มเติมนี่พี่!
เมื่อตักกี้ยังไม่มีที.
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2517 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 22:49:42 »

อ้างถึง
ข้อความของ patooman 64 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 21:29:48
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 20:59:36
เสี่ยมิ้งช่วยมาเป็นพยาน พี่ป๋องถูกผู้ทรงศีลใส่ความโดยไม่มีมูล
ท่านอาจเอาภาพในอดีตมาเล่าก้อได้ขอรับ

ภาพอะไรคะ?
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2518 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2554, 22:55:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 12:10:47
สวัสดีครับ คุณเหยง
                       มวลน้ำก้อนนี้ไม่ทำให้ใครลำบากหรอกครับ และคาดว่าปีนี้จะไม่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องน้ำท้วม เพราะเทวดาท่านกลัวพรรคเพื่อไทย ที่จะขจัดเทวดาทิ้งที่ทำให้น้ำท้วมทุกปี สร้างความเดือดร้อน เทวดากลัวเลยหนีหมด ไม่เชื่อคอยดูปีนี้น้ำไม่ท้วม ไม่ทำความเสียหายให้ เพราะเทวดาท่านเป็นมิตร ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์เทวดาท่านไม่กลัว ครับ คอยดูกัน (พี่สิงห์ผิดต่อตัวเองแล้ว วันนี้ ที่ไปยุ่งการเมือง)
                       สวัสดี

หมายเหตุ
                        พี่สิงห์ต้องทนปวดแวบๆ ลึกๆ อย่างมาก ที่รากฟันต่อไปอีกสามวันเหมือนครั้งที่ผ่านมา ได้รับเวทนาอย่างดียิ่ง ในการฝึกจิต

ว่าจะถามว่าทำไมเทวดากลัว พท.
และทำไมไม่กลัว ปชป.
ก็มัวม่วนซื่น "น้ำท้วม"จนลืมถามนี้แล.
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2519 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2554, 07:50:41 »

อ้างถึง
ข้อความของ patooman 64 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 21:29:48
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 20:59:36
เสี่ยมิ้งช่วยมาเป็นพยาน พี่ป๋องถูกผู้ทรงศีลใส่ความโดยไม่มีมูล
ท่านอาจเอาภาพในอดีตมาเล่าก้อได้ขอรับ
สงสัยพี่สิงห์ปวดรากปราสาทฟัน และรับประทานยาแก้ปวดไปสองเม็ด สติเลยเบรอ ใช้สามัญสำนึกจากจิตเดิม ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2520 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2554, 07:59:21 »

สวัสดียามเช้าครับ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก
                      แสดงว่าลูกไก่ฟ้า วาดภาพไว้ก่อนหน้านั้นในเชิงลบ แต่พอเอาเข้าจริงได้ไปร่วมกิจกรรม เกิดมโนภาพบวก คือรู้สึกชอบ ครับ

                      Sandra Gal ปีนี้ชนะ LPGA หนึ่งรายการด้วย สูงเท่ากับ มิเชลวี รูปร่างคล้ายกัน เคยออกรอบด้วยกัน ไม่รู้ว่าใคร....กว่ากัน ครับ

                      ภายหลังเลือกตั้งเสร็จ เทวดา หายหมด ไม่มีข่าวน้ำท้วม ชาวบ้านเดือดร้อนเลย เพราะเทวดากลัวถูกกำจัด ครับ

                      ชุดเทนนิสเธอซื้อให้เขาเลย ไม้ ต้อง Prince หรือ Winson ชุดต้อง Puma สีสดใส ครับ

                      เมื่อเช้าพี่สิงห์รับประทานข้าวต้มกล้อง ผักสด น้ำนมข้าวโพด กล้วยเล็บมือนาง และแพนเค็ก  กาแฟนั้นงดหมดแล้วครับ

                      สวัสดี
                     
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2521 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2554, 08:19:51 »

สวัสดีครับ ดร.สุริยา และชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                       เช้านี้อากาศที่นครศรีธรรมราชแจ่มใสครับ  

                       ขณะที่ผมกำลังเดินจงกรมออกกำลังกายยามเช้าตรู่ อยู่ๆ จิตผมมันก็เกิดอารมณ์หดหู่ตัวเอง ปลง  สังเวชตัวเอง คลายความอยากทุกสิ่ง ปล่อยวาง  แล้วก็คิดขึ้นมาว่า อันว่าตัวเรานี้ ไม่มีกิจอันใดอีกแล้วที่จะทำเพื่อตัวเองในปัจจัย ๔ ความอยาก ร่ำรวย เกียรตยศ ทำงานเพื่อตัวเอง มันหมดไปแล้ว ไม่มีอะไรที่จะต้องห่วงทั้งสิ้น  ที่จะต้องกระทำอีกต่อไปในช่วงชีวิตที่เหลือ ดูอย่างสองอาทิตย์ที่ผ่านมา อยู่บ้าน ปฏิบัติธรรม เดินไปซื้อข้าวเพื่อตัวเองและหลาน เท่านั้น ไม่มีอะไรต้องคิด เพราะอดีตก็ไม่เอา  อนาคตก็ไม่เอา อยู่จิตว่างๆ แบบปัจจุบันนี้ ทำไมเราไม่ไปแสวงหาทางที่พ้นทุกข์อย่างแท้จริง ไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัย ๔ คือออกบวช พึงชาวบ้านเรื่องอาหาร  มีเวลาปฏิบัติธรรม และยังช่วยจรรโลงศาสนาพุทธได้ เพราะเราก็พอมีความรู้ติดตัวบ้าง จะบวชหรือไม่ ตอนนี้ก็ไม่ต่างกัน เพราะเราก็ประพฤติ ปฏิบัติตัวเองเหมือนพระ จะต่างกันเพียงการแต่งกายเท่านั้น  จิตมันสนับสนุนให้ออกบวช  มีเวลามุ่งปฏิบัติธรรม คิดว่าอยู่ได้สบาย เพราะคลายความอยากเกือบหมดแล้ว หมดห่วงแล้ว  ไม่มีกิจอันใดต้องกระทำต่อไปอีกแล้วเรา

                        อารมณ์คลายความอยากมันเกิดขึ้น ปล่อยวาง ไม่มีอะไรต้องแบก นอกจากมุ่งปฏิบัติธรรม และเชื่อว่าอยู่ได้ในเพศสมณะ

                        ช่วยหาคำตอบให้ที

                        แต่เมื่อคืน ฝัน และคิดในเรื่องสิ่งดีๆ ที่เคยได้กระทำมาในชีวิต คือเรื่องงาน คิดเรื่องนายห้างสถิตย์ ...... อีกมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่คิดและฝันเลย เพราะพอมันคิด หรือฝัน สติจะวิ่งมาเตือนทันทีว่า ไม่ใช่ทาง หยุดคิด หยุดฝัน อยู่กับจิตปัจจุบันในอิริยาบถ เป็นอย่างนี้มาตลอด แต่เมื่อคืน เผลอไปนานมาก รู้ตัวไหม รู้ตัวว่าต้องมีสติ  แต่จิตมันอยากคิด เลยปล่อยให้คิด ซึ่งมันก็เกิดปีติในสิ่งที่คิด เพราะมีแต่สิ่งที่ประทับใจดีๆ ที่เกิดขึ้น และบางครั้งเราก็พลาดในการตัดสินใจ แต่มันก็ผ่านไปแล้ว เรียกคืนไม่ได้  ไม่ได้อาลัยถึงมันเลย  แต่เราแพ้ที่ไปคิดตามจิต ครับ

                         วันนี้งดรับประทานยาแก้ปวด ขอต่อสู้กับเวทนาที่จะได้รับ เพื่อให้สติคงอยู่สมบูรณ์  ไม่โดนยาแก้ปวดกดทับปราสาท ครับ

                        สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2522 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2554, 11:38:49 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       ตามที่ผมได้เรียนให้ทราบว่า ขณะนั่งเจริญสติอยู่นั้น อยู่ๆ เจ้าความคิดแวบมันก็เข้ามาให้คิด จึงคิดและเอามาฝากทุกท่าน ลองพิจารณาด้วยปัญญาเอาเองครับ
                       สวัสดี




รู้ธรรมวันละนิด  จิตผ่องใส

ตอน

ความคิดภายใต้โมหะ หรือความคิดแวบ

     ตามที่หลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ  ท่านได้กล่าวไว้ว่าความคิดของคนนั้นมีอยู่ ๒ ลักษณะแบ่งตามเหตุปัจจัยที่คิด คือ ความคิดภายใต้โมหะ หรือความคิดแวบ และ ความคิดภายใต้สติ-ปัญญา ซึ่งเมื่อเราปฏิบัติธรรมจนเป็นสมาธิ และคอยเฝ้าดูจิตของเราแล้ว  เราก็จะพบความจริงในสิ่งที่นามมันคิดนั้น เป็นอย่างนั้นจริงๆในสิ่งที่เราคิด คิดๆๆๆ ทุกขณะ
                 ความคิดภายใต้โมหะ หรือความคิดแวบ คือความคิดที่เกิดขึ้นแวบไปแวบมา อยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจที่จะคิด อยู่ๆ มันก็คิดของมัน ทั้งๆที่เรากำลังคิดเรื่องอื่นอยู่ หรือกำลังอยู่ในอิริยาบถต่างๆที่กำลังกระทำอยู่ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน หยิบของ เป็นต้น ความคิดแวบนี้จะพาทุกข์มาให้เราเพราะเป็นความคิดที่เผลอคิอ เผลอทำลงไปทันที คิดปุ๊ป ทำปั๊ป ไม่ได้ใช้สติ-ปัญญาในการคิดก่อนที่จะทำ จึงเป็นความคิดที่เราต้องขจัดทิ้งให้เป็นนิสัย คือมันคิดปุ๊ป ตัดทิ้งปั๊ป เหมือนแมวจับหนูตามที่หลวงพ่อเทียนท่านเปรียบเทียบ คือแมวมันเห็นหนูปั๊ป มันจะไล่จับปุ๊ป ตะปปหนูตายทันทีเลย ดังนั้นความคิดแวบพอมันคิดขึ้นมาปุ๊ป เรามีสติรู้ว่ามันคิดเป็นความคิดแวบ ก็ตัดทิ้งปั๊ปทันทีเลย ไม่ต้องไปคิดตามมัน หรือในภาษาพระท่านว่าปรุงแต่งตามที่มันคิด และไม่ต้องปฏิบัติตามด้วย ไม่ก่อประโยชน์มีแต่โทษตามมาภายหลัง และจะติดเป็นนิสัยที่ไม่น่ากระทำตาม เช่น พอตั้งใจจะนั่งปฏิบัติธรรม พอนั่งปั๊ปเท่านั้นแหละรู้สึกคันนั่นคันโน้นคิดขึ้นมาทันทีเลย ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น มันก็ไม่ได้คันเลย ข้อแนะนำคือเราไม่ต้องไปสนใจทำตามที่มันคิดปล่อยไปเพราะเป็นความคิดแวบ เดี๋ยวมันก็ลืมและไม่คันไปเองครับ เป็นเช่นนี้จริงๆ ด้วย

     ปกติความคิดแวบนั้นมาจาก

                 ๑. เรื่องต่างๆ ที่เราเคยสัมผัสทางอายตนะ ๖ คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อาจจะชอบ ประทับใจ หรือไม่ชอบ น่ากลัว ก็ตาม  แต่มันถูกเก็บอยู่ในสมอง  อยู่ในจิตใต้สำนึก และมันจะโพร่งออกมา(คิด) ไม่มีปีมีขลุ่ย เพื่อให้เราคิดต่อและให้รูปกระทำตามที่มันคิดนั้น

                 ๒. เรื่องต่างๆ ณ ปัจจุบันที่สัมผัสทางอายตนะ ๖ ที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วจำได้เพราะเคยพบมาก่อนแล้ว และเก็บไว้ในจิตใต้สำนึก เมื่อเห็นอีกจึงคิดแวบทันที และส่งตรงให้รูปกระทำตาม หรือให้นามคิดต่อทันที

                 ๓. เป็นเรื่องในอนาคต ที่จิตมันคอยกังวลอยู่  มันจึงคิดแวบขึ้นมา และเมื่อเราคิดต่อจะทำให้เกิดความพรุ่งพล่าน เดือดดาลใจ คือ นิวรณ์ ๕ หรือความโลภ  ความโกรธ  หรือความลงติดอยู่ในความคิดตัวเอง

                 ความคิดแวบนี้ เป็นความคิดที่เราจะควบคุมไม่ได้ พาให้เกิดพรุ่งพล่านเดือดดาลใจ เกิดนิวรณ์ ๕ ความโลภ  ความโกรธ ความหลง และพาให้เราเป็นทุกข์ตามมาภายหลัง และเป็นตัวที่ทำไม่ให้เกิดสมาธิ หรือเกิดปัญญา ในการปฏิบัติธรรม

                 ดังนั้นเราจึงต้องขจัดความคิดแวบออกไปทันที ทำให้เป็นนิสัย สามารถกระทำได้จริงถ้าฝึกถูกวิธี เมื่อความคิดแวบหรือความคิดภายใต้โมหะ มันหายหรือหมดไป สิ่งที่ตามมาคือ ความโกรธ ความโลภ ความหลงติดอยู่ในความคิดตัวเอง ความอยากต่างๆ  มันก็จะค่อยๆ หายไปเอง เมื่อความคิดแวบไม่มี เราก็จะมีสติ หรือความคิด อยู่กับสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่ วึ่งความคิดอันนี้ไม่ก่อทุกข์ เพราะเป็นความคิดที่คิดด้วยการมีสติ-ปัญญา

                 ตัวอย่าง  เมื่อบ่ายวันอังคาร พี่สิงห์กลับจากทำฟันก้ไปเดินซื้ออาหารมารับประทานหลังตลาดการบินไทย ข้างบ้านพี่สิงห์เดินไป มองไปทางไหนก็มีแต่ความคิดแวบ เห็นอะไรก็อยากไปหมด เพราะว่าเราเคยชอบทั้งนั้น แต่ถ้าเรามีสติ ตัวสติจะเตือนจะคิดไปทำไม ถ้าซื้อมากินก้เสียสตางค์ และไม่ก่อประโยชน์ต่อร่างกาย ได้ทุกข์ตามมา คิดอย่างนี้ทุกครั้งที่เกิดความคิดแวบ ทำให้ไม่เสียสตางค์ และไม่ทุกทางกายตามมา แต่ถ้าเราไม่ได้ฝึก เห็บปุ๊ป คิดปต่อปั๊ป ซื้ออร่อยดี เคยกิน ถูกใจ ผลสตางค์หมด ทุกข์ต้องหิ้งของกลับบ้าน ทุกข์เมื่อกินมากเกิดความต้องการของร่างกายเป็นต้น

                 หรืออย่างคุณวิทิดา พอเห็นของกินเวลาเดินตลาด เห็นปุ๊ป คิดซื้อปั๊ป เพราะมันชอบมาก่อน ผลตามมาคือ อ้วน

                 การเดินตลาดที่มีของกินแยะเป็นการฝึกความอยาก อย่างดีเยี่ยมเพราะมันอยากซื้อไปหมด อยู่ที่จิตเราจะแข็งพอมาต้านทานมันได้หรือไม่เท่านั้น หรือคนที่เราไม่ชอบหน้าพอเจอปั๊ปคิดปุ๊ป มันสั่งให้ด่าทันที ก็มีแต่ทุกข์ตามมาทั้งนั้น

                 ดังนั้น ขจัดมันทิ้งให้ได้เจ้าตัวความคิดแวบ ตัวนี้ แล้วความทุกข์จะหายไปครับ และผลของความคิดแวบนั้น มันจะทำให้เกิดนิวรณ์ ๕ ตามมาคือ

นิวรณ์ ๕

                 นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

                 1.กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

                 2.พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

                 3.ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ
                 ถีนะ เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป
                 ส่วน มิทธะ นั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

                  4.อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ
                  อุทธัจจะ นั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที
                  ส่วน กุกกุจจะ นั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

                   5.วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น
                   นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

                   นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2523 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2554, 11:44:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 22:41:38
อ้างถึง
ข้อความของ patooman 64 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 21:29:48
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, 20:59:36
เสี่ยมิ้งช่วยมาเป็นพยาน พี่ป๋องถูกผู้ทรงศีลใส่ความโดยไม่มีมูล
ท่านอาจเอาภาพในอดีตมาเล่าก้อได้ขอรับ
ตั้งแต่เพื่อไทยชนะเลือกตั้งเนี่ย รมณ์ดีเชียะ
ก็ดีแล้ว
 
จะไปแบกมันไว้ให้หนักทำไม?  มันเป็นเพียงนาม  ไม่มีตัวไม่มีตน  อย่าไปยึดมั่นมันเลยครับ  ปล่อยออกไป
 
อุเบกขาเข้าไว้  นั่นแหละของดี จริงแท้แน่นอนตรับ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2524 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2554, 15:48:55 »

ตกใจคิดว่าพี่สิงห์ทิ้งน้องๆไปบวชซะแล้ว!
บวชไงล่ะพี่สิงห์,ยังปวดเหงือกอยู่เลย.
เป็นพระแล้วหนิงก็ไม่กล้าคุยด้วยคะ
แทนสรรพนามไม่ถูก ใครโยม ใครสีกา
ใครอาตมา...จาเรียกพี่หลวงพี่ได้มั้ย
เกิดมีศักดิ์ทางสงฆ์ยิ่งซับซ้อน..

จะยุพี่ ก็คงยุไม่ได้เพราะพี่จะไม่อยู่ในเพศฆราวาส
ให้ได้คิดถึงกันอีก
จะขวางกั้นไว้ ก็จะเป็นมารขวางกั้นทางไปสวรรค์
แต่เอ๊ะ,ผู้ชายบวชเป็นพระได้ไปสวรรค์..ผู้หญิงล่ะคะ?
บวชชี?ไม่บวชแล้วไปสวรรค์ไม่ได้?
..
..
sheคนนั้นเริ่มคิดอีกแล้ว!
(จะบอกว่าเริ่มไม่เชื่อ..ก็กลัวบาปคะ)
      บันทึกการเข้า


  หน้า: 1 ... 99 100 [101] 102 103 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><