26 พฤศจิกายน 2567, 23:37:11
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 77 78 [79] 80 81 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3582736 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 17 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1950 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 12:34:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sittipong เมื่อ 25 เมษายน 2554, 11:57:28
ตอนเย็นไม่ได้เป็นเวลาเร่งด่วน เลยทานเยอะและนั่งยาว
ยิ่งวันศุกร์ตื่นสายได้อีก ยิ่งนั่งนานกินนานใหญ่เลย
คุณน้องป้อม
ดูหุ่นเธอแล้ว เธอต้องลดน้ำหนักลงอีกอย่างน้อยห้ากิโลกรัม ครับ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1951 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 12:36:56 »

สวัสดีค่ะ พี่สิงห์
 ที่กรุณานำรูป และความอบอุ่นของงาน มาให้ชมค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1952 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 12:41:53 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                       พี่สิงห์ก็ทำได้เพียงเท่านี้แหละครับ ถ่ายรูปก็ไม่สวยเพราะไม่เคยเรียนมาเรื่องถ่านรุป กดมันไปตามที่ใจปราถนา รูปออกมาดีหรือไม่ มันก็ต้องโทษตัวเราเพราะเราเป็นคนถ่าย ครับ
                       เธอสบายดีนะคะ
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1953 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 12:42:59 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
                        คุณหลิวกำลังหาลูกทัวร์ ไปเมืองจีนอยู่ ถ้าเธอสนใจติดต่อคุณหลิวด่วน
                        สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1954 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 12:48:17 »

สวัสดีครับคุณน้องชิ้ง ของพี่ป่อง
                       พี่สิงห์ขอทำนาย ชีวิตเมื่อยามแก่เฒ่าลง คุณต้องเป็นโรคเรื้อรังอย่างน้อย
                       - ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน หลอดเลือด และหัวใจ
                       - ตับแข็ง ลงท้ายด้วยมะเร็งตับ
                       สาเหตุ
                                - ดื่มเหล้าจัด
                                - นอนดึก
                                - กินทุกอย่างที่ขวางหน้า
                                - แต่ยังดีหน่อยที่จิตใจงาม
                     

 
ท่านตระหนักไว้บ้างหรือเปล่า ยังไม่สายที่จะปรัปเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การดื่ม การนอน เสียใหม่ เพื่อลูกและเมียจะไม่ลำบากเพราะคุณ

                       การแก้ไข ทำตรงข้ามที่ท่านกำลังทำอยู่นั่นแหละ พระพุทธเจ้าท่านว่าให้แก้ที่สาเหตุ                      
                       
                       ด้วยรักจากพี่สิงห์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1955 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 13:03:04 »

เรียนคุณวัฒนา  โอภานนท์อมตะ
                       เรื่องการมีส่วนร่วมในการสร้างหอพักหลังใหม่นั้น พี่สิงห์ขอเสนอให้ บริจาคเงินจำนวน ๑ ล้านบาท เอาเงินของชมรมฯ ที่มีอยู่ รับบริจาค จากพี่เก่าที่มาร่วมงานคืนสู่เหย้า และจัดกอล์ฟหารายได้โดยเฉพาะเป็นกรณีพิเศษ และมอบให้ท่านอธิการบดีในวัน งานคืนสู่เหย้า ครับ
                       เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1956 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 15:02:23 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 28 เมษายน 2554, 12:42:59
สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
                        คุณหลิวกำลังหาลูกทัวร์ ไปเมืองจีนอยู่ ถ้าเธอสนใจติดต่อคุณหลิวด่วน
                        สวัสดี

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...ตู่กำลังสอบถามโปรแกรมและราคาจากบริษัททัวร์อยู่ค่ะ...

...แล้วค่อยคุยกับหลิวอีกทีว่าจะเอายังไงค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #1957 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 15:30:07 »

ผลเป็นอย่างไร ชวยแจ้งให้ทราบกันบ้างนะครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #1958 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 15:33:35 »

ขออภัย ช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1959 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 19:40:32 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 28 เมษายน 2554, 12:41:53
สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                       พี่สิงห์ก็ทำได้เพียงเท่านี้แหละครับ ถ่ายรูปก็ไม่สวยเพราะไม่เคยเรียนมาเรื่องถ่านรุป กดมันไปตามที่ใจปราถนา รูปออกมาดีหรือไม่ มันก็ต้องโทษตัวเราเพราะเราเป็นคนถ่าย ครับ
                       เธอสบายดีนะคะ
                       สวัสดี
รูป บอกเรื่องราว และความรู้สึก ได้ค่ะ ได้เห็นความรัก ความเคารพ ที่ชาวหอ มีต่อ อาจารย์ และพี่ๆ ค่ะ
เพียงเท่านี้ รูปก็สวยมากแล้วค่ะ พี่สิงห์
 พี่สิงห์สบายดีนะคะ
งานที่นครฯก็คงดีขึ้นมากแล้ว
มีโต๊ะแล้วหรือยัง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1960 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 20:59:23 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                       อากาศที่นครศรีธรรมราช ไม่มีเมฆเลยในเวลากลางวัน อากาศร้อนมากๆ คนท้องถิ่นยังบ่นว่าปีนี้ร้อนมากๆ ดังนั้น คนกรุงเทพฯแบบพี่สิงห์แทบทนไม่ไหว แต่ไม่ได้แสดงออกอะไรเลย มันร้อนก็ยอมรับว่ามันร้อน เราก็หาตัวช่วยเช่นร่ม หรืออยู่ในสำนักงานเป็นต้น แอร์ไม่มี
                       โต๊ะทำงานไม่มี ยังเช่าห้องแถวทำงานกันชั่วคราว สำนักงานกำลังปูกระเบื่องพื้นใหม่ ทาสีใหม่ เพราะน้ำทำเสียหายหมด คงใช้เวลาอีกประมาณสองอาทิตย์ สำนักงานจึงจะใช้งานได้ ต้องเดินระบบไฟฟ้าใหม่ ทำแอร์ใหม่ เดินสายแลนด์ใหม่ทั้งหมด
                       ส่วนงานผลิตนั้น ตอนนี้มีปัญหาเรื่องคนงานอย่างหนัก เพราะคนไทยไม่ทำงานแบบนี้ คนต่างชาติพม่าก็เลือกงาน ตอนนี้ก็พยายามหาคนงานมาเพิ่ม โดยปรับค่าแรงให้สูงกว่าแรงงานขั้นต่ำมาก เป็นสิ่งจูงใจ ยังหาคนงานไม่ได้ตามที่ต้องการเลย
                        ตอนนี้ทำอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานต้องเลิกคิดแล้ว เพราะคนไทยไม่ยอมทำ ชอบทำงานแบบสบายๆ เงินเดือนมากๆ
                        วันนี้มีแต่คนมาถามพี่สิงหืเรื่องน้ำท้วม เช่นน้องสาวพี่สิงห์เป็นพยาบาลอยู่สิงห์บุรีทางกระทรวงให้ไปอบรม เตรียมการช่วยเหลือกรณีน้ำท้วมแผ่นดินไหว ........อีกมาก ถามความเห็นพี่สิงห์ พี่สิงห์ก็บอกว่าให้ตั้งสติให้ดี อย่าเชื่องมงายในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง คิดไปมันก็กลุ่ม ทุกข์ ทำอะไรไม่ได้ จะคิดไปทำไม? อยู่อย่างมีสตอเข้าไว้ดีกว่า ถ้ามันมีจริงเรามีสติก็สามารถเอาตัวรอดได้ ถ้ามันไม่เกิดเราก็ไม่ทุกข์เพราะไม่คิดไม่กังวลไปในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง  ตอนค่ำไปนั่งรับประทานอาหาร ก็มีคนมาถามเรื่องนี้อีก พี่สิงห์เลยต้องเทศน์ให้ฟังและให้คิดตาม จะไปกังวลทำไม มันยังมาไม่ถึง คิดไปก็ทำอะไรไม่ได้จริงๆ อยู่กับปัจจุบันที่มีสตินีละดีที่สุด ไม่ทุกข์ดีออก เขาจึงเชื่อ
                         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1961 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 21:52:52 »

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ พี่สิงห์
      บันทึกการเข้า
roong15
Full Member
**


Peaceful and Useful Life
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 514

« ตอบ #1962 เมื่อ: 28 เมษายน 2554, 22:26:46 »


สวัสดีครับพี่สิงห์

ขอบพระคุณสำหรับ   สาระดีดี ที่นำมาถ่ายทอดให้พี่น้องฟังครับ
ขอบพระคุณสำหรับ ภาพที่นำมาลงให้ชมกันครับ
ขอบพระคุณสำหรับ  บทสรุปของสาระการประชุมครับ 

ราตรีสวัสดิ์ครับ


 sleep
      บันทึกการเข้า

Peaceful and Useful Life
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1963 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 02:36:33 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 28 เมษายน 2554, 15:30:07
ผลเป็นอย่างไร ชวยแจ้งให้ทราบกันบ้างนะครับ

...น้องเริงถามพี่ตู่หรือพี่สิงห์จ๊ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1964 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 07:42:37 »



อ้างถึง
ข้อความของ roong15 เมื่อ 28 เมษายน 2554, 22:26:46

สวัสดีครับพี่สิงห์

ขอบพระคุณสำหรับ   สาระดีดี ที่นำมาถ่ายทอดให้พี่น้องฟังครับ
ขอบพระคุณสำหรับ ภาพที่นำมาลงให้ชมกันครับ
ขอบพระคุณสำหรับ  บทสรุปของสาระการประชุมครับ  

ราตรีสวัสดิ์ครับ


 sleep
สวัสดีครับ คุณรุ่งศักดิ์
                          ขอบคุณมากสำหรับคำชม พี่สิงห์ก็ทำไปตามที่ตัวเองพอจะทำอะไรให้กับพวกเราได้เท่านั้น ไม่ได้แย่งหน้าที่ใคร และขออภัยถ้าล่วงเกินไปโดยไม่รู้ตัว ไม่มีเจตนาใดๆแอบแฝงทั้งสิ้น ทำด้วยใจรักที่จะทำให้พวกเรา คือรู้อะไรก็บอกเล่าสู่กันฟัง ครับ
                          สวัสดีตอนเช้าครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1965 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 08:00:22 »

สวัสดีตอนเช้าครับ คุณน้องเอมอร และชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                       เช้านี้ที่โรงแรมทวินโลตัสพระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบฟ้าเวลาประมาณหกโมงสิบนาที ท้องฟ้าไม่มีเมฆ วันนี้ทั้งวันหน้าที่จะร้อนมากๆ ถ้าอยู่กลางแดด เช่นเคยพี่สิงห์เดินไปบนบนเทอเรสชั้นสามยี่สิบสี่เที่ยวใช้เวลาสามสิบนาที หลังจากนั้นก็รำ TAI CHI และโยคะทั้งหมดใช้เวลาไปหนึ่งชั่วโมงสิบนาที เสร็จก็ไปล้างหน้าและรับประทานอาหารเช้าเป็นข้าวต้มกล่องรับประทานกับผักสด ถั่วลิสง และมะระผัดไข่ ตามด้วยผลไม้คือชมภู่ สัปรดหนึ่งชิ้น และกล้วยเล็บมือนางหนึ่งผล แต่ก่อนรับประทานข้าวได้ดื่มน้ำนมข้าวโพดและน้ำถั่วเหลืองไปหนึ่งแก้ว จบด้วยน้ำอุ่นหนึ่งแก้ว จะเป็นแบบนี้ทุกครั้งเมื่ออยู่นครศรีธรรมราช รับประทานเสร็จก็เดินจงกรมไปรอบๆโรงแรมใช้เวลาสิบถึงสิบห้านาที จึงขึ้นห้องมาเปิดคอมพิวเตอร์ นี่คือกิจวัตรประจำวันเมื่ออยู่ที่นครศรีธรรมราช
                       เก้าโมงเช้าคนขับรถถึงจะมารับพี่สิงห์เพราะเขาต้องเข้าบริษัทแปดโมงไปรับรถก่อนหรือไม่ก็ขัยรถส่งนักเรียนเสร็จก่อน จึงมารับ ดังนั้นจะเป็นช่วงที่พี่สิงห์สามารถเข้าเวบได้ก่อนอาบน้ำไปทำงาน แต่ถ้าไม่มีอะไรทำก็จะเดินจงกรมให้อาหารในกระเพาะย่อย เพื่อรอเวลา จะได้ไม่ส่งใจไปไหน เป็นการฆ่าเวลาแบบสบายๆ อยู่กับการเดินจงกรม ณ ปัจจุบันเท่านั้น จิตใจก็ได้พัก ไม่คิดอะไรทั้งสิ้น มีแต่ความสงบ ว่างเปล่า เป็นสมาธิ ก่อนที่จะไปทำงาน ครับ
                       บรรยากาศทั่วไปเงียบครับนครศรีธรรมราช การสัมนาก็มีไม่มาก กิจกรรมอื่นๆก็ไม่มี แต่มีฝรั่งหลายคนที่เป็นนักท่องเที่ยว และมีชาวจีนมาเลเซียมาพักที่โรงแรมด้วยครับ
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1966 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 08:08:49 »

                       พี่สิงห์ลืมไปเมื่อวานตอนบ่ายพี่สิงห์ไปพบคุณหมอกัลยาณี หมอฟันชาวซีมะโด่ง ๑๖ ปรากฎว่าฟันพี่สิงห์ที่ทำครอบฟันไว้แตก ต้องทำการรักษาด่วนพอดี ทางร้านของคุณหมอกัลยาณี มีเครื่องมือไม่พร้อม แต่คุณหมอบอกว่าพี่สิงหืเมื่อกลับกรุงเทพฯต้องรับไปจัดการเรื่องนี้ด่วนที่สุด แสดงว่าคงร้ายแรงพอสมควร พี่สิงห์คงต้องเจ็บตัวอีกแล้ว ก็ดีเหมือนกัน ดูสิจิตของเราจะทนได้รับเวทนาได้หรือไม่จากการทำฟันครั้งนี้
                      นอกจากนั้นยังไดมีโอกาสสนทนาธรรมในฐานะเพื่อนร่วมสหมิคธรรมด้วยกัน คุณหมอกัลยาณี ฝึกสายท่านพุทธาตุมาตั้งแต่สาวๆ และคุณหมอยังอุตสาห์แนะนำพี่สิงห์ในหลายเรื่องด้วยกัน ต้องขอขอบคุณยิ่ง จริงๆ คุณหมออยากคุยเรื่องการปฏิบัติธรรมอีกมากแต่บังเอิญมีคนไข้จะมาถอนฟันกำลังรออีกหนึ่งท่าน คุณหมออยากให้พี่สิงห์อยู่ก่อนเพราะยังคุยกกันไม่จบ แต่พี่สิงห์ต้องขอตัวเพราะเกรงใจคนขับรถเอาไว้วันหลังจะไปคุยต่อเรื่องการปฏิบัติธรรม ครับ
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1967 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 08:28:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 29 เมษายน 2554, 02:36:33
อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 28 เมษายน 2554, 15:30:07
ผลเป็นอย่างไร ชวยแจ้งให้ทราบกันบ้างนะครับ

...น้องเริงถามพี่ตู่หรือพี่สิงห์จ๊ะ...
                     สงสัยคุณน้องเริงถาม คุณน้องตู่มากกว่าครับ
                     ความคิดพี่สิงห์ น้องเริงน่าจะถามพี่หลิว โปรโมเตอร์ใหญ่ด้วยครับ
                     พี่สิงห์รีไทร์ตัวเองออกมาแล้วครับในเรื่องนี้ อยากอยู่เฉยๆ ครับ
                     สวัสดี
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1968 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 09:42:05 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 29 เมษายน 2554, 08:28:21
อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 29 เมษายน 2554, 02:36:33
อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 28 เมษายน 2554, 15:30:07
ผลเป็นอย่างไร ชวยแจ้งให้ทราบกันบ้างนะครับ

...น้องเริงถามพี่ตู่หรือพี่สิงห์จ๊ะ...
                     สงสัยคุณน้องเริงถาม คุณน้องตู่มากกว่าครับ
                     ความคิดพี่สิงห์ น้องเริงน่าจะถามพี่หลิว โปรโมเตอร์ใหญ่ด้วยครับ
                     พี่สิงห์รีไทร์ตัวเองออกมาแล้วครับในเรื่องนี้ อยากอยู่เฉยๆ ครับ
                     สวัสดี

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...สวัสดีค่ะ...น้องเริง...ได้ความยังไงแล้วพี่ตู่จะเข้ามาตอบนะคะ...

...ถือโอกาสนี้ชวนพี่สิงห์และน้องเริงด้วยค่ะ...ไปจิวจ่ายโกวด้วยกันมั้ยคะ...

...หมอประสิทธิ์กำหนดเวลาไว้แล้วค่ะ...6-11 ตุลา...ไม่ทราบว่าทางหลิวจะมีปัญหาไปพร้อมกันได้หรือเปล่าค่ะ...

...ต้องไปช่วงนี้เพราะมีแพทย์คนนึงเค้าสะดวกจะไปช่วงนี้ค่ะ...

...คือเค้าเป็นแพทย์สูตินรีเวช...ต้องจัดเวรล่วงหน้าเป็นปีค่ะ...เพราะเกี่ยวกับการนัดคนไข้ค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1969 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 10:06:02 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ที่รัก
                       พี่สิงห์จะรับไว้พิจารณา ถ้าไม่ติดขัดอะไร? จริงๆ จะไปด้วยครับ เส้นตายวันไหนบอกด้วยจะได้ตัดสินใจเป็นครั้งสุดท้าย เพราะยังไม่รู้ว่าจะมีอพไรติดขัดในเรื่องงานบ้าง เพราะมันยังมาไม่ถึง แต่ตอนนี้ยังไม่มีนัดอะไร ครับ
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1970 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 10:29:59 »

                       พี่สิงห์ได้คุยกับคุณหมอกัลยาณี คุณหมอบอกว่าที่นครศรีธรรมราช ที่โรงพยาบาลเขาศึกษาขั้น "ปรมัตถธรรม" กันโดยเชิญพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญมาสอนกันและปฏิบัติด้วย
                       ตามความเห็นของผมที่เฝ้าดูกาย-ดูจิตนี้ ปรมัตถธรรมเป็นธรรมชั้นสูง เป็นเรื่องของตำราที่อธิบายความหมายเท่านั้น ในฐานะนักปฏิบัติธรรมแล้ว การรู้มาก่อนก็ดี  ไม่รู้มาก่อนยิ่งดีใหญ่ สามารถที่จะค้นพบได้เอง เพราะมันเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นมาเพื่อสะดวกในการอธิบายเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องศึกษา สู้หาเอาจากการปฏิบัติเจริญสติ เพราะมันจะเข้าใจลึกซึ้งและไม่ลืม ไม่กังวลใดๆทั้งสิ้น
                      ความหมายของพี่สิงห์ก็คือ เมื่อสติของเราเป็นสมาธิแล้ว ให้เฝ้าดูจิตของเรานี่แหละ เราสามารถแยกแยะ รู้ต้นตอ มีอุเบกขา เราจะทราบบทบาทของจิตเอง เพราะในการฝึกเจริญสตินั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จิตต้องนิ่ง ต้องว่างเปล่า ไม่คิด แล้วปัญญามันจะเกิดมานำให้เราคิดได้รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ และเข้าใจ เพื่อที่เราสามารถที่จะมีจิตอยู่กับปัจจุบันสมบูรณ์ ไม่มีการปรุงแต่ง จิตเราจะอยู่เหนือเวทนา และวิญญาณจากการสัมผัสทางอายตนะ ๖ จิตคนมีหลายระดับขึ้นอยู่การฝึกจิต ต้องค่อยเป็นค่อยไป ให้เป็นตามธรรมชาติ หาเอาเองจากตัวเรานีละ
                      กรณีนำพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญมาอธิบายนั้น ท่านก็อธิบายตามตำรา แต่ถ้าเราปฏิบัติเฉพาะเวลาพระสงฆ์มาแนะนำปรมัตถธรรม สามวัน มันก็ไม่ได้อะไรหรอก เพียงแต่รู้จำเท่านั้น ไม่ได้รู้จัก พอเลิกปฏิบัติมันก็ลืม สู้เราเฝ้าดูจิตของเราให้เป็นลูกโซ่ทั้งวันทั้งคืน ด้วยการมีสติ รู้สึกจากการสัมผัสทางอายตนะ ๖ รู้ตัวนี่ละ มันจะเข้าใจปรมัตถธรรม ได้เอง ที่ทำอย่างไรจิตเราจะอยู่เหนือเวทนา อยู่เหนือจากการสัมผัสทางอายตนะ ๖  คำว่าอยู่เหนือนั้นหมายความว่า เรายังได้รับเวทนา เรายังมีการปรุงแต่งจิต เพราะมันเป็นธรรมชาติที่จะต้องเกิดขึ้น แต่ทำอย่างไรเราจะอยู่เหนือมัน สามารถรับรู้ ปล่อยวางลงได้มากกว่า คือมันจะไม่มีผลต่อเรา เท่านั้น เราจะรู้ด้วยตัวเองเท่านั้น ว่าจิตเราอยู่ในสภาวะ ที่ไม่มีการปรุงแต่งจากการค่อยๆดูจิตของเราไปเรื่องๆ จิตมันจะอ่อนลงไปเพราะจิตคนสามารถฝึกได้ ตามที่พระพุทธองค์ได้บอกไว้นั้นจริง
                       แต่ไหนๆ เมื่อเขาถามมาพี่สิงห์ก็อยากรู้จริงๆว่า ปรมัถธรรม มันคืออะไรก็ได้ไปค้นหามาลงไว้ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมดาของจิต นั้นเองที่เราสมมติทำเป็นตัวหนังสือ เพื่อได้ศึกษากัน
                       ลองพิจารณาดูครับ

ความหมายของ ปรมัตถธรรม
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
                       
                        ปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดย ไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง ปรมัตถธรรม นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สภาวธรรม
                        ปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรม นี้มี ๔ ประการคือ
                                    ๑ จิต
                                    ๒ เจตสิก
                                    ๓ รูป
                                    ๔ นิพพาน
                       ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้
                       จิต คือ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รับกลิ่น รับรส รู้สัมผัสถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดการคิด นึก จำนวนของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่จิตไปรับรู้)
                       จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ มโน มนัส มนินทรีย์ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ มนายตนะ เป็นต้น
                       เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรม ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต
สภาพของจิตเป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธหรือจิตโลภ เป็นเพราะมีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่งให้เกิดความโกรธหรือความโลภนั่นเอง จิตเปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยาที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกก็เกิดโดยไม่มีจิตไม่ได้เช่นกัน เนื่องจาก จิต และ เจตสิก เป็นสิ่งที่ต้องเกิดร่วมกันตลอดเวลา ดังนั้น การอธิบายบางแห่ง ในหนังสือเล่มนี้จึงเขียนว่า "จิต + เจตสิก" เพื่อให้ระลึกไว้อยู่เสมอว่าจิตและเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติ ที่ต้องเกิดร่วมกัน ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และไม่สามารถแยกออกจากกันได้
                       รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับสลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย
                      นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลส พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
                      
                       นิพพานโดยปริยาย มี ๒ ลักษณะคือ
                       ๑ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง การที่ประหาณกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ (จิต เจตสิก รูป) ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)
                       ๒ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) ที่สิ้นอายุขัยไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อปรินิพพานแล้ว จิต + เจตสิกและรูปก็จะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อตายไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก) นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึงให้จงได้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก เป็นอริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้

ความหมายของ บัญญัติธรรม
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

                     บัญญัติธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นหรือบัญญัติชื่อขึ้นเพื่อให้เข้าใจ ความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นามสกุล สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น พันโท พลเอก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ท่านเจ้าคุณ เหรียญ ๑ บาท เหรียญ ๕ บาท เหรียญ ๑๐ บาท ธนบัตร ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑๐๐๐ บาท ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ หนังสือ ปากกา นาฬิกา พัดลม รถยนต์ คน และสัตว์ ท่านก็ยังจัดว่าเป็นบัญญัติธรรม เพราะยังหนีไม่พ้นเรื่องของการสมมุติ

                      ปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่อยู่เหนือการสมมุติ
                      หากพูดในแง่ของปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่มีอยู่จริงหรือธรรมชาติที่อยู่เหนือการสมมุติแล้ว ทิศเหนือ ทิศใต้ เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น ยศถาบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการสมมุติ เป็นเพียงการอุปโลกน์กันขึ้นมาเท่านั้น ส่วนต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ หนังสือ ปากกา นาฬิกา พัดลม และรถยนต์ ถึงจะมีความแตกต่างกันโดยลักษณะก็จริงอยู่แต่โดยสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ (ปรมัตถธรรม) แล้ว สิ่งเหล่านี้เกิดจากการรวมตัวของมหาภูตรูป ทั้ง ๔ (มหาภูตรูปทั้ง ๔ ได้แก่ ๑ รูปที่มีความอ่อนและแข็งเป็นลักษณะ (ปฐวี) ๒ รูปที่มีอาการไหลและเกาะกุมเป็นลักษณะ (อาโป) ๓ รูปที่มีความร้อนและเย็นเป็นลักษณะ (เตโช) ๔ รูปที่มีการเคลื่อนไหวหรือเคร่งตึงเป็นลักษณะ (วาโย)) ที่ปราศจาก จิต + เจตสิก จึงเรียกว่า เป็นรูปธรรม เหมือนกันทั้งหมดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้วถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มีนาย ก ไม่มี นาย ข มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต + เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น
 
                        เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมหรือ ธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้น คือ
                                   ๑ จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
                                   ๒ เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ
                                   ๓ รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1971 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 10:51:13 »

                       สำหรับพี่สิงห์นั้น ความมุ่งหมายก็คือ ทำอย่างไร? ให้จิตของเราไม่ปรุงแต่ง ลดความอยาก มีจิตที่ว่างเปล่า เพราะสามารถจะอยู่ ยังทำงาน ได้อย่างพอเพียง ไม่ก่อให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ทุกข์ ขอเพียง ความโลภ  ความโกรธ ความหลง(เป็นทาษของความคิด) ลดลงหรือหายไป เพียงพอแล้ว ไม่สนใจว่าในทางทฤษฎี เขาว่ากันอย่างไร ปรมตถธรรม วิมุติธรรม .......... อีกมาก ซึ่งมันเป็นเพียงตำรา เท่านั้นในความคิดของพี่สิงห์ เราอยู่ของเราอย่างจิตว่างเปล่า ไม่ปรุงแต่งนี่ละ จะดีที่สุด เพราะเราจะไม่ไปทำให้ใครต้องเดือดร้อนเพราะเรา เพราะเราจะมีสติที่เร็วเท่าความคิดเป็นตัวถ่วง ไม่ให้กระทำความชั่วทั้งปวง  ไม่เบียดเบียนสัตว์โลก  ไม่กังวล ไม่เดือดดาลใจ ไม่หดหู่ใจ มีจิตที่ผ่องใส ก็เพียงพอแล้วครับ
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1972 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 16:26:35 »

มีสิ่งดีๆมาให้อ่านอยู่เรื่อยๆ นะคะ พี่สิงห์
ขอบคุณ ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1973 เมื่อ: 30 เมษายน 2554, 07:40:37 »

สวัสดียามเช้าค่ะ คุณน้องเอมอร และชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                      เช้านี้ที่นครศรีธรรมราชท้องฟ้ามีเมฆ เมื่อคืนฝนตกไม่มาก ทางเขาหลวงมีฝนตกเมฆหนา แต่ถึงอย่างไรด้วยสภาพอากาศที่ร้อนมากๆ กลางวันคงไม่มีฝน ฝนตกกลางคืนก็ดีเหมือนกัน ทำให้อากาศยามเช้าไม่ร้อน พี่สิงห์ก็ นั่งเจิรญสติ เดิน รำมวยจีน และโยคะ เสร็จก็ไปล้างหน้า ล้างมือลงไปรับประทานอาหารเช้าเหมือนเช่นเคย คือข้าวต้มกล้องสองทัพพี ถั่วลิวงหนึ่งช้อน ผัดผักหนึ่งช้อนและผักสดหนึ่งจาน ตามด้วยน้ำนมข้าวโพดหนึ่งทัพพี น้ำถั่วเหลืองหนึ่งทัพพี ฝรั่งสี่ชิ้น กล้วยเล็บมือนางหนึ่งผล และน้ำอุ่นหนึ่งแก้ว เป็นอันว่าเช้านี้รอดตายไปได้แล้วครับ
                      บ่ายสี่โมงเย็นครึ่ง พี่สิงห์เดินทางกลับกรุงเทพฯ ถึงบ้านประมาณหกโมงเย็น ครับ
                      การเจริญสติช่วงนี้ความก้าวหน้ายังไม่มี มีแต่จิตที่ว่างเปล่า ไม่คิดอะไร ก็พยายามทำเท่าที่มีเวลา แต่ส่วนใหญ่จะมีการเคลื่อนไหวสร้างความรู้สึกตัวตลอดเวลาพยายามให้มีสติเข้าไว้ รู้ตัวเสมอ ที่ลืมบ้างคือการดูใจตนเอง แต่บังเอิญมันไม่มีเรื่องอะไรมากที่ต้องกังวล หดหู่ใจ หรือฟุ้งซ่านเดือดดาลใจ มันก็เลยไม่มีอะไรที่จะให้จิตมันคิด จิตมันก็เลยเฉยๆ อยู่กับการรู้สึกตัวเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นอดีตเร็ว พี่สิงห์ก็ปล่อยให้มันผ่านไป ลืมมัน ไม่คิดถึงมัน มันก็ไม่มีอะไีที่จะคิด ครับ
                      สวัสดีทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1974 เมื่อ: 30 เมษายน 2554, 08:04:04 »




สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                       พี่สิงห์ไม่มีอะไรจะเล่าให้พวกเราทราบ ขอนำเอาเรื่องพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าเทศน์โปรดพระมารดา มาให้ศึกษาโดยสังเขปกันครับ ดีกว่าไม่รู้เสียเลย
                        สวัสดี


พระอภิธรรม
สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ

พระอภิธรรม คืออะไร ?
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
                      หลังจากที่สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ พรรษา คำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ทั้งหมดรวบรวมได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุคำสอนและเรื่องราวของพระพุทธศาสนาไว้โดยละเอียด แบ่งออกเป็น ๓ ปิฎกหรือ ๓ หมวดด้วยกันคือ
                      ๑ พระวินัยปิฎก
                      ๒ พระสุตตันตปิฎก
                      ๓ พระอภิธรรมปิฎก
                      พระวินัยปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท (บทบัญญัติ) ตลอดจนพิธีกรรมและธรรมเนียมของสงฆ์ อันเป็นกฎระเบียบที่พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์จะต้องปฏิบัติ รวมถึงพุทธประวัติบางตอนและประวัติการทำสังคายนา มีทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า อา ปา มะ จุ ปะ (หัวใจพระวินัย) ได้แก่
                       ๑ คัมภีร์อาทิกรรม ว่าด้วยอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต และต้นบัญญัติ ในสิกขาบท ต่าง ๆ
                       ๒ คัมภีร์ปาจิตตีย์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติอย่างเบา
                       ๓ คัมภีร์มหาวรรค ว่าด้วยพุทธประวัติตอนปฐมโพธิกาล และพิธีกรรมทางพระวินัย
                       ๔ คัมภีร์จุลวรรค ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยต่อจากมหาวรรค ตลอดจนความเป็นมาของภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา
                       ๕ คัมภีร์ปริวารวรรค ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย
                       พระสุตตันตปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระสูตร เป็นหมวดที่ประมวลพระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรม และเรื่องเล่าต่าง ๆ อันยักเยื้องตามบุคคลและโอกาส เป็นธรรมที่แสดงโดยใช้สมมุติโวหาร คือยกสัตว์ บุคคล กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น มาแสดง มีคำสอนทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๕ นิกาย เรียกโดยย่อว่า ที มะ สัง อัง ขุ (หัวใจพระสูตร) ได้แก่
                       ๑ ทีฆนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรขนาดยาว จำนวน ๓๔ สูตร
                       ๒ มัชฌิมนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรขนาดปานกลางจำนวน ๑๕๒ สูตร
                       ๓ สังยุตตนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรที่จัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตต์ มีชื่อตามเนื้อหา เช่นเกี่ยวกับแคว้นโกสล เรียกว่า โกสลสังยุตต์ เกี่ยวกับ มรรค เรียกว่า มรรคสังยุตต์ มีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร
                       ๔ อังคุตตรนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรที่จัดหมวดหมู่ตามจำนวนข้อของหลักธรรม เรียกว่า นิบาต เช่น เอกกนิบาต ว่าด้วย หลักธรรมที่มีหัวข้อเดียว จนถึงหลักธรรมที่มี ๑๑ หัวข้อ เรียกว่า เอกกทสกนิบาต ในนิกายนี้มีจำนวนพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร
                       ๕ ขุททกนิกาย ประกอบด้วยภาษิตเบ็ดเตล็ด ประวัติและนิทานต่าง ๆ
                       นอกเหนือจากที่จัดไว้ในนิกายทั้ง ๔ ข้างต้น แบ่งออกเป็นหมวดได้ ๑๕ หมวดคือ
                       ๑) ขุททกปาฐะ แสดงบทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยมากเป็นบทสวดสั้น ๆ
                       ๒) ธรรมบท แสดงคาถาพุทธภาษิต ประมาณ ๓๐๐ คาถา
                       ๓) อุทาน แสดงพระพุทธดำรัสที่เปล่งอุทานเป็นภาษิตโดยมีเนื้อเรื่องประกอบ ตามสมควร
                       ๔) อิติวุตตก แสดงคำอ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น อย่างนี้
                       ๕) สุตตนิบาต เป็นหมวดที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดไว้ด้วยกัน
                       ๖) วิมานวัตถุ แสดงเรื่องราวของผู้ได้วิมานและแสดงเหตุที่ทำให้ได้วิมานไว้ด้วย
                       ๗) เปตวัตถุ แสดงเรื่องราวของเปรตที่ได้ทำบาปกรรมไว้
                       ๘) เถรคาถา แสดงภาษิตต่าง ๆ ของพระอรหันตสาวก
                       ๙) เถรีคาถา แสดงภาษิตต่าง ๆ ของพระอรหันตสาวิกา
                     ๑๐) ชาดก เป็นหมวดที่ประมวลคาถาธรรมภาษิตเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
                     ๑๑) นิทเทส เป็นหมวดที่ว่าด้วยเรื่องของนิทเทส (การชี้แจง การแสดง การจำแนก) แบ่งเป็นมหานิทเทส และจุลนิทเทส
                     ๑๒) ปฏิสัมภิทามรรค กล่าวถึงการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความมีปัญญาอันประเสริฐ
                     ๑๓) อปทาน หมวดนี้จะกล่าวถึงอัตตชีวประวัติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกและอรหันตสาวิกา
                     ๑๔) พุทธวงศ์ แสดงประวัติของอดีตพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์
                     ๑๕) จริยาปิฎก แสดงเรื่องราวการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า
                     พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรม (มี ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน) (สภาวธรรม) ล้วน ๆ ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ส่วนที่เรียกชื่อว่า นาย ก นาย ข นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย
                     พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่
                     ๑ คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ คือ
                                 ๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น
                                 ๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น
                                 ๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของปรมัตถธรรม
                                 ๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของปรมัตถธรรม
                     ๒ คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ (หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ส่วนวิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต ดังนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง) เรียกว่า ขันธวิภังค์
                     ๓ ธาตุกถา แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)
                     ๔ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอัน เกี่ยวกับบุคคล
                     ๕ คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ อันถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย
                     ๖ คัมภีร์ยมก ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
                     ๗ คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร
สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา
                       ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงอยากให้ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรม นั้นต่างกันอย่างไร

ความหมายของ ปรมัตถธรรม
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
                    ปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดย ไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง ปรมัตถธรรม นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สภาวธรรม
                    ปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรม นี้มี ๔ ประการคือ
                    ๑ จิต
                    ๒ เจตสิก
                    ๓ รูป
                    ๔ นิพพาน
                    ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้
                    จิต คือ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รับกลิ่น รับรส รู้สัมผัสถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดการคิด นึก จำนวนของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่จิตไปรับรู้)
                    จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ มโน มนัส มนินทรีย์ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ มนายตนะ เป็นต้น
                    เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรม ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต
                    สภาพของจิตเป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธหรือจิตโลภ เป็นเพราะมีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่งให้เกิดความโกรธหรือความโลภนั่นเอง จิตเปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยาที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกก็เกิดโดยไม่มีจิตไม่ได้เช่นกัน เนื่องจาก จิต และ เจตสิก เป็นสิ่งที่ต้องเกิดร่วมกันตลอดเวลา ดังนั้น การอธิบายบางแห่ง ในหนังสือเล่มนี้จึงเขียนว่า "จิต + เจตสิก" เพื่อให้ระลึกไว้อยู่เสมอว่าจิตและเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติ ที่ต้องเกิดร่วมกัน ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และไม่สามารถแยกออกจากกันได้
                     รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับสลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย
                      นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลส พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
                      นิพพานโดยปริยาย มี ๒ ลักษณะคือ
                      ๑ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง
การที่ประหาณกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ (จิต เจตสิก รูป) ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)
                      ๒ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) ที่สิ้นอายุขัยไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อปรินิพพานแล้ว จิต + เจตสิกและรูปก็จะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อตายไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก) นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึงให้จงได้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก เป็นอริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้

ความหมายของ บัญญัติธรรม
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
                      บัญญัติธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นหรือบัญญัติชื่อขึ้นเพื่อให้เข้าใจ ความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นามสกุล สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น พันโท พลเอก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ท่านเจ้าคุณ เหรียญ ๑ บาท เหรียญ ๕ บาท เหรียญ ๑๐ บาท ธนบัตร ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑๐๐๐ บาท ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ หนังสือ ปากกา นาฬิกา พัดลม รถยนต์ คน และสัตว์ ท่านก็ยังจัดว่าเป็นบัญญัติธรรม เพราะยังหนีไม่พ้นเรื่องของการสมมุติ
ปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่อยู่เหนือการสมมุติ
                      หากพูดในแง่ของปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่มีอยู่จริงหรือธรรมชาติที่อยู่เหนือการสมมุติแล้ว ทิศเหนือ ทิศใต้ เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น ยศถาบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการสมมุติ เป็นเพียงการอุปโลกน์กันขึ้นมาเท่านั้น ส่วนต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ หนังสือ ปากกา นาฬิกา พัดลม และรถยนต์ ถึงจะมีความแตกต่างกันโดยลักษณะก็จริงอยู่แต่โดยสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ (ปรมัตถธรรม) แล้ว สิ่งเหล่านี้เกิดจากการรวมตัวของมหาภูตรูป ทั้ง ๔ (มหาภูตรูปทั้ง ๔ ได้แก่ ๑ รูปที่มีความอ่อนและแข็งเป็นลักษณะ (ปฐวี) ๒ รูปที่มีอาการไหลและเกาะกุมเป็นลักษณะ (อาโป) ๓ รูปที่มีความร้อนและเย็นเป็นลักษณะ (เตโช) ๔ รูปที่มีการเคลื่อนไหวหรือเคร่งตึงเป็นลักษณะ (วาโย)) ที่ปราศจาก จิต + เจตสิก จึงเรียกว่า เป็นรูปธรรม เหมือนกันทั้งหมดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้วถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มีนาย ก ไม่มี นาย ข มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต + เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น
                       เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมหรือ ธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้น คือ
                       ๑ จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
                       ๒ เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ
                       ๓ รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย
                       จะเห็นได้ว่า คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีส่วนประกอบเหมือนกันคือ
                       เราก็มี จิต เจตสิก รูป
                       เขาก็มี จิต เจตสิก รูป
                      สัตว์ทั้งหลายก็มี จิต เจตสิก รูป
                      จะมีความแตกต่างกันก็ตรงที่รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ ซึ่งถูกจำแนกให้แตกต่างกันด้วยอำนาจของกรรมที่กระทำไว้ในอดีต จิต + เจตสิก และรูป มีลักษณะเฉพาะตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการคือ
                      ๑ อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                      ๒ ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา
                      ๓ อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
                      สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติเรียกว่า ไตรลักษณ์
                      โดยสรุปแล้ว จิต + เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคลหรือเป็นสัตว์ใด ๆ ก็ตามนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีแก่นสาระอะไรเลย เป็นเพียงการประชุมกันของส่วนประกอบที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับอยู่ตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับแสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง) เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นนั่นเป็นนี่ตามที่สมมุติกันขึ้นมา แต่เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ขึ้นกับเหตุ ขึ้นกับปัจจัย พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ก็คงมีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว พระพุทธองค็เป็นแต่เพียงผู้ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยให้เราทั้งหลายได้ทราบเท่านั้น ( หากต้องการทราบเนื้อหาอันลึกซึ้งของปรมัตถธรรมทั้ง ๔ ก็ต้องศึกษา พระอภิธรรมโดยละเอียดต่อไป)

ประวัติพระอภิธรรม
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
                      ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรูแล้ว พระองค์ทรงพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะใน พระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรม อันเป็นที่มาของคัมภีร์มหาปัฎฐานอยู่นั้นก็ปรากฎฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีเทา สีเงิน และสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก แผ่ออกมาจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์ ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้องกับปรมัตถธรรมล้วน ๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธาอันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธาและมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคำสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ทราบ เพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี
                        ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติประองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันตุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฎิมาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันตุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น
                        พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมแก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดารตลอดพรรษา คือ ๓ เดือนเต็ม สำหรับในโลกมนุษย์นั้นพระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์แรก คือในระหว่าง ที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทร์ ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ใกล้กับสระอโนดาต เพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรงสรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน (พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรด้วย สังเขปนัย คือ แสดงอย่างย่นย่อ) เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรงกระทำเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน เมื่อการแสดงบนเทวโลกจบสมบูรณ์แล้ว การแสดง พระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนา เทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นำมาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระอภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย
ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมา สัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นเช่นกัน กำลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรม ก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรมเท่านั้นหาได้รู้ความหมายใด ๆ ไม่ แต่ก็พากัน ตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้นจากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียนพระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมา
                       การสาธยายท่องจำและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังจาก ถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมะอย่างแตกฉาน สามารถแยกแยะและขยายความได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีปฏิภาณไหวพริบ มีโวหารและวาทะที่จะทำให้ผู้อื่นรู้ตามเข้าใจตามได้โดยง่าย) ฉฬภิญญะ (ผู้มีอภิญญา ๖ อันได้แก่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒ มีหูทิพย์ ๓ ทายใจผู้อื่นได้ ๔ ระลึกชาติได้ ๕ มีตาทิพย์ ๖ สามารถทำลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) และเตวิชชะ (ผู้ที่ได้วิชชา ๓ อันได้แก่ ๑ ระลึกชาติได้ ๒ รู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ ๓ มีปัญญาที่ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) ได้ช่วยกันทำสังคายนา พระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระอภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา การทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก

พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร ?
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
                       ต่อมาประมาณปี พ.ศ ๙๐๐ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎก ท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรมอยู่ที่สำนักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราชบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับอารธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้น ให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและจดจำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์จึงได้อาศัยพระบาลี อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ
                       อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ + ธรรม + อัตถะ + สัง + คหะ
                       อภิ = อันประเสริฐยิ่ง
                       ธรรมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน
                       อัตถะ = เนื้อความ
                       สัง = โดยย่อ
                       คหะ = รวบรวม
                       อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็วพระอภิธรรมแบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉทมี เนื้อหาโดยสรุปดังนี้
ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค
                       แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร ทำให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น   กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต
ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
                       แสดงเรื่องเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิตมีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภทเจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล
ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
                       แสดงการนำจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความรู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว (เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ) ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) และที่ตั้ง ที่อาศัยของจิต (วัตถุ)
                       ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
แสดงวิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทำงานของจิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้วจะทำให้รู้กระบวนการทำงานของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิด ที่ไหน เกิดที่วิถีจิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน คอยเปิดประตูให้เกิด จิตบุญหรือจิตบาปจิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) หรือการวางใจ อย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาป เกิดขึ้นได้
ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
                       แสดงถึงการทำงานของจิตขณะใกล้ตาย ขณะตาย (จุติ) และขณะเกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร ควรเตรียมใจอย่างไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี
พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันทีไม่ใช่ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบายเรื่องของกรรม ลำดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย)
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน
                       เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องจิต และเจตสิก อันเป็นนามธรรมมาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ ได้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูปร่างกาย (รูปธรรม) โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่าง ๆ ได้ ๒๘ ชนิด และอธิบายถึง สมุฎฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร ในตอนท้ายได้กล่าวถึง เรื่องพระนิพพาน ว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะทำให้เข้าใจเรื่องของ พระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน
ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
                       เมื่อได้ศึกษาปรมัตตธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่ฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผล เป็นความทุกข์ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรม ของแต่ละบุคคล คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้ จึงทำให้ชีวิตตกอยู่ใน วัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น) อายตนะ ๑๒ (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์) ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติ ที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน) อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูล การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฎฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
                      ในปริจเฉทนี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฎิจจสมุปบาท (เหตุและผลที่ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฎฎ์) และปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ (สมมุติสัจจะหรือสมมุตโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฎฐานสังคหวิภาค
                      ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทำสมาธิ หรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญ สมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุขอยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น
                      จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต + เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกำลังแก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
                      ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลแด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อย ๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร
ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่าง ๆ ดังนี้
ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะมิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรมที่ แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง
อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว
ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)
                      ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด

ประโยชน์จากการศึกษาพระอภิธรรม
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

                    ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมี โดยสังเขปดังนี้
                    ๑ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์อย่างแท้จริง
                    ๒ การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ) เรื่องเจตสิก เรื่องอำนาจจิต เรื่องวิถีจิต เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องสัตว์ใน ภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและ มาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและ ไปได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียด ลึกซึ้ง
                       ๓ ผู้ศึกษา พระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตาม ธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไร ทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุด พักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมพระอินทร์ หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง
                      ๔ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
                      ๕ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะ แค่การทำทาน รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฎฎกุศล เพราะกุศลชนิดนี้ยังไม่ทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนำไปสู่ การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
                      ๖ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้นามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดรู้อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ
                      ๗ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุดไม่มีวิทยาการใด ๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกเท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม
                      ๘ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตลอดไป
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 77 78 [79] 80 81 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><