26 มิถุนายน 2567, 05:39:12
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 293 294 [295] 296 297 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3326309 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 15 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7350 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 10:26:17 »

๖. ภูริทัตชาดก
 
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญบำเพ็ญศีลบารมี

                         คือการรักษาศีล. มีเรื่องเล่าว่า ภูริฑัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา. ยอมอดทนให้หมองูจับไป ทรมานต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ.


๖. ภู ริ ทั ต ช า ด ก

 


                                พระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า "พรหมทัต" ครอง ราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี พระโอรสทรงดำรง ตำแหน่งอุปราช อยู่ต่อมาพระราชาทรงระแวงว่า พระโอรสจะคิดขบถ แย่งราชสมบัติ จึงมีโองการให้ พระโอรสออกไปอยู่ให้ไกลเสียจากเมือง จนกว่าพระราชา จะสิ้นพระชนม์จึงให้กลับมารับราชสมบัติ พระโอรสก็ปฏิบัติ ตามบัญชา เสด็จไปบวชอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชื่อว่า "ยุมนา" มีนางนาคตนหนึ่งสามีตาย ต้องอยู่แต่เพียงลำพัง เกิดความ ว้าเหว่จนไม่อาจทนอยู่ในนาคพิภพได้ จึงขึ้น มาจากน้ำ ท่องเที่ยวไปตามริมฝั่งมาจนถึงศาลาที่พักของพระราชบุตร นางนาคประสงค์จะลองใจดูว่า นักบวชผู้พำนักอยู่ในศาลานี้ จะเป็นผู้ที่บวชด้วยใจเลื่อมใสอย่างแท้จริงหรือไม่ จึงจัดประดับ ประดาที่นอนในศาลานั้นด้วยดอกไม้หอม และของทิพย์จาก เมืองนาค

                                 ครั้นพระราชบุตรกลับมา เห็นที่นอนจัดงดงาม น่าสบายก็ยินดีประทับนอนด้วยความสุขสบายตลอดคืน รุ่งเช้าก็ออกจากศาลาไป นางนาคก็แอบดู พบว่าที่นอน มีรอยคนนอน จึงรู้ว่านักบวชผู้นี้มิได้บวชด้วยความศรัธรา เต็มเปี่ยม ยังคงยินดีในของสวยงาม ตามวิสัยคนมีกิเลส จึงจัดเตรียมที่นอนไว้ดังเดิมอีก ในวันที่สาม พระราชบุตรมีความสงสัยว่า ใครเป็นผู้จัด ที่นอนอันสวยงามไว้ จึงไม่เสด็จออกไปป่า แต่แอบดูอยู่บริเวณ ศาลานั่นเอง เมื่อนางนาคเข้ามาตกแต่งที่นอน พระราชบุตร จึงไต่ถามนางว่า นางเป็นใครมาจากไหน นางนาคตอบว่า นางเป็นนาคชื่อมาณวิกา นางว้าเหว่าที่สามีตาย จึงออกมา ท่องเที่ยวไป พระราชบุตรมีความยินดีจึงบอกแก่นางว่า หากนางพึงพอใจจะอยู่ที่นี่ พระราชบุตรก็จะอยู่ด้วยกับนาง นางนาคมาณวิกาก็ยินดี ทั้งสองจึงอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา

                                 จนนางนาคประสูติโอรสองค์หนึ่ง ชื่อว่า "สาครพรหมทัต" ต่อมาก็ประสูติพระธิดาชื่อว่า "สมุทรชา" ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต บรรดาเสนาอำมาตย์ ทั้งหลายไม่มีผู้ใดทราบว่าพระราชบุตรประทับ อยู่ ณ ที่ใด บังเอิญพรานป่าผู้หนึ่งเข้ามาแจ้งข่าวว่า ตนได้เคยเที่ยวไปแถบ แม่น้ำยมุนา และได้พบพระราชบุตรประทับอยู่บริเวณนั้นอำมาตย์ จึงได้จัดกระบวนไปเชิญเสด็จพระราชบุตรกลับมาครองเมือง พระราชบุตรทรงถามนางนาคมาณวิกาว่า จะไปอยู่ เมืองพาราณสีด้วยกันหรือไม่ นางนาคทูลว่า "วิสัยนาค นั้นโกรธง่ายและมีฤทธิ์ร้าย หากหม่อมฉันเข้าไปอยู่ในวัง แล้วมีผู้ใดทำให้โกรธ เพียงหม่อมฉัน ถลึงตามอง ผู้นั้นก็จะ มอดไหม้ไป พระองค์พาโอรสธิดากลับไปเถิด ส่วนหม่อมฉัน ขอทูลลากลับไปอยู่เมืองนาค ตามเดิม" พระราชบุตรจึงพา โอรสธิดากลับไปพาราณสีอภิเษกเป็นพระราชา อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่โอรสธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ เกิดตกใจกลัวเต่า ตัวหนึ่ง พระบิดาจึงให้คนจับเต่านั้นไป ทิ้งที่วังน้ำวนในแม่น้ำ ยมุนา เต่าจมลงไปถึงเมืองนาค เมื่อถูกพวกนาคจับไว้ เต่าก็ออก อุบาย บอกแก่ นาคว่า "เราเป็นทูตของพระราชาพาราณสี พระองค์ ให้เรามาเฝ้าท้าวธตรฐ พระราชทานพระธิดาให้เป็นพระชายา ของท้าวธตรฐ เมืองพาราณสีกับนาคพิภพจะได้เป็นไมตรีกัน"

                             ท้าวธตรฐทรงทราบก็ยินดี สั่งให้นาค 4 ตนเป็นทูตนำ บรรณาการไปถวายพระราชาพาราณสีและขอรับตัว พระธิดามาเมืองนาค พระราชาทรงแปลกพระทัย จึงตรัสกับ นาคว่า "มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่าพันธุ์กัน จะแต่งงานกัน นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้" เหล่านาคได้ฟังดังนั้น จึงกลับไปกราบทูลท้าวธตรฐว่า พระราชาพาราณสีทรงดูหมิ่นว่านาคเป็นเผ่าพันธุ์งู ไม่คู่ควรกับพระธิดา ท้าวธตรฐทรงพิโรธ ตรัสสั่งให้ฝูงนาค ขึ้นไปเมืองมนุษย์ ไปเที่ยวแผ่พังพานแสดง อิทธิฤทธิ์อำนาจ ตามที่ต่างๆ แต่มิให้ทำอันตรายชาวเมือง ชาวเมืองพากันเกรงกลัวนาคจนไม่เป็นอันทำมาหากิน ในที่สุดพระราชาก็จำพระทัยส่ง นางสมุทรชา ให้ไปเป็นชายา ท้าวธตรฐ นางสมุทรชาไปอยู่เมืองนาคโดยไม่รู้ว่าเป็นเมืองนาค เพราะท้าวธตรฐให้เหล่า บริวารแปลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด นางอยู่นาคพิภพด้วยความสุขสบาย จนมีโอรส 4 องค์ ชื่อว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ และ อริฏฐะ อยู่มาวันหนึ่ง อริฏฐะได้ฟังนาคเพื่อนเล่นบอกว่า พระมารดาของตนไม่ใช่นาค จึงทดลองดูโดยเนรมิต กายกลับเป็นงู ขณะที่กำลังกินนมแม่อยู่ นางสมุทรชาเห็นลูก กลายเป็นงูก็ตกพระทัย ปัดอริฏฐะตกจากตัก เล็บของนาง ไปข่วนเอานัยน์ตาอรฏฐะบอกไปข้างหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา นางจึงรู้ว่าได้ลงมาอยู่เมืองนาค

                              ครั้นเมื่อพระโอรสทั้ง 4 เติบโตขึ้น ท้าวธตรฐก็ทรงแบ่งสมบัติ ให้ครอบครองคนละเขต ทัตตะผู้เป็นโอรส องค์ที่สองนั้น มาเฝ้าพระบิามารดาอยู่เป็นประจำ ทัตตะเป็นผู้มีปัญญา เฉลียวฉลาดได้ช่วยพระบิดาแก้ไข ปัญหาต่างๆอยู่เป็นนิตย์ แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเทวดา ทัตตะก็แก้ไขได้จึงได้รับการยกย่อง สรรเสริญว่า เป็นผู้ปรีชาสามารถ ได้รับขนานนามว่า ภูริทัตต์ คือ ทัตตะผู้เรืองปัญญา ภูริทัตต์ได้เคยไปเห็นเทวโลก ว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์จึงตั้งใจว่า จะรักษาอุโบสถศีลเพื่อจะได้ไปเกิดใน เทวโลก จึงทูล ขออนุญาตพระบิดา ก็ได้รับอนุญาต แต่ท้าวธตรฐสั่งว่า มิให้ออกไปรักษาอุโบสถนอก เขตเมืองนาค เพราะอาจ เป็นอันตราย ครั้นเมื่อรักษาศีลอยู่ในเมืองนาค ภูริทัตต์ รำคาญว่าพวกฝูงนาคบริวาร ได้ห้อมล้อม ปรนนิบัติเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา ภูริทัตต์ก็ขึ้นไปรักษาอุโบสถศีลอยู่ที่จอมปลวก ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา ภูริทัตต์ตั้งจิต อธิษฐานว่า แม้ผู้ใดจะต้องการหนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้ได้ รักษาศีลให้บริสุทธิ์

                              ครั้งนั้นมีนายพรานชื่อ เนสาท ออกเที่ยวล่าสัตว์ เผอิญได้ พบภูริทัตต์เข้า สอบถามรู้ว่าเป็นโอรสของ ราชาแห่งนาค ภูริทัตต์เห็นว่าเนสาทเป็นพรานมีใจบาปหยาบช้า อาจเป็น อันตรายแก่ตน จึงบอกแก่ พรานเนสาทว่า "เราจะพาท่าน กับลูกชาย ไปอยู่เมืองนาคของเรา ท่านทั้งสองจะมีความสุข สบายในเมือง นาคนั้น" พรานเนสาทลงไปอยู่เมืองนาค ได้ไม่นาน เกิดคิดถึงเมืองมนุษย์จึงปรารภกับภูริทัตต์ว่า "ข้าพเจ้าอยากจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้อง แล้วจะออกบวช รักษาศีลอย่างท่านบ้าง" ภูริทัตต์รู้ด้วยปัญญาว่าพรานจะเป็นอันตรายแก่ตน แต่ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี จึงต้องพาพรานกลับไป เมืองมนุษย์ พรานพ่อลูกก็ออกล่าสัตว์ต่อไปตามเดิม มีพญาครุฑตนหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ทางมหาสมุทรด้านใต้ วันหนึ่งขณะออกไปจับนาคมากิน นาคเอาหางพันกิ่งไทรที่อยู่ ท้ายศาลาพระฤาษี จนต้นไทรถอนรากติดมาด้วย ครั้นครุฑ ฉีกท้องนาคกินมันเหลว แล้วทิ้งร่างนาคลงไป จึงเห็นว่า มีต้นไทรติดมาด้วย ครุฑรู้สึกว่าได้ทำผิด คือถอนเอา ต้นไทรที่พระฤาษี เคยอาศัยร่มเงา จึงแปลงกายเป็นหนุ่ม น้อยไปถามพระฤาษีว่า เมื่อต้นไทรถูกถอนเช่นนี้ กรรมจะตก อยู่กับใคร พระฤาษีตอบว่า "ทั้งครุฑและนาคต่างก็ไม่มี เจตนาจะถอนต้นไทรนั้น กรรมจึงไม่มีแก่ผู้ใดทั้งสิ้น"

                               ครุฑดีใจจึงบอกกับพระฤาษีว่าตนคือครุฑ เมื่อพระฤาษี ช่วยแก้ปัญหาให้ตนสบายใจขึ้นก็จะสอนมนต์ชื่อ อาลัมพายน์ อันเป็นมนต์สำหรับครุฑใช้จับนาค ให้แก่พระฤาษี อยู่มาวันหนึ่ง มีพราหมณ์ซึ่งเป็นหนี้ชาวเมืองมากมาย จนคิด ฆ่าตัวตาย จึงเข้าไปในป่า เผอิญได้พบพระฤาษี จึงเปลี่ยนใจ อยู่ปรนนิบัติพระฤาษีจนพระฤาษีพอใจ สอนมนต์อาลัมพายน์ ให้แก่พราหมณ์นั้น พราหมณ์เห็นทางจะเลี้ยงตนได้ จึงลา พระฤาษีไป เดินสาธยายมนต์ไปด้วย นาคที่ขึ้นมาเล่นน้ำ ได้ยินมนต์ก็ตกใจ นึกว่าครุฑมา ก็พากันหนีลงน้ำไปหมด ลืมดวงแก้วสารพักนึกเอาไว้บนฝั่ง พราหมณ์หยิบ ดวงแก้วนั้นไป ฝ่ายพรานเนสาทก็เที่ยวล่าสัตว์อยู่ เห็นพราหมณ์เดินถือ ดวงแก้วมา จำได้ว่าเหมือนดวงแก้วที่ภูริทัตต์ เคยให้ดู จึงออกปากขอ และบอกแก่พราหมณ์ว่า หากพราหมณ์ ต้องการอะไรก็จะหามาแลกเปลี่ยน พราหมณ์บอกว่าต้องการ รู้ที่อยู่ของนาค เพราะตนมีมนต์จับนาค พรานเนสาทจึงพา ไปบริเวณที่รู้ว่า ภูริทัตต์เคยรักษาศีลอยู่ เพราะความโลภ อยากได้ดวงแก้ว

                                โสมทัตผู้เป็นลูกชาย เกิดความละอายใจที่บิดาไม่ซื่อสัตย์ คิดทำร้ายมิตร คือภูริทัตต์ จึงหลบหนีไป ระหว่างทาง เมื่อไปถึงที่ภูริทัตต์รักษาศีลอยู่ ภูริทัตต์ลืมตาขึ้นดูก็รู้ว่า พราหมณ์คิดทำร้ายตน แต่หากจะตอบโต้ ถ้าพราหมณ์เป็น อันตรายไป ศีลของตนก็จะขาด ภูริทัตต์ปรารถนาจะรักษาศีล ให้บริสุทธิ์จึงหลับตาเสีย ขดกายแน่นิ่งไม่เคลื่อนไหว พราหมณ์ก็ร่ายมนต์อาลัมพายน์ เข้าไปจับภูริทัตต์ไว้กด ศีรษะอ้า ปากออก เขย่าให้สำรอกอาหารออกมา และทำร้าย จนภูริทัตต์เจ็บปวดแทบสิ้นชีวิต แต่ก็มิได้โต้ตอบ พราหมณ์จับ ภูริทัตต์ใส่ย่ามตาข่าย แล้วนำไปออกแสดงให้ประชาชนดูเพื่อหาเงิน พราหมณ์บังคับให้ภูริทัตต์แสดงฤทธิ์ต่างๆ ให้เนรมิตตัวให้ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ให้ขด ให้คลาย แผ่พังพาน ให้ทำสีกายเป็น สีต่างๆ พ่นไฟ พ่นควัน พ่นน้ำ ภูริทัตต์ก็ยอมทุกอย่าง ชาวบ้าน ที่มาดูเวทนาสงสาร จึงให้ ข้าวของเงินทอง พราหมณ์ก็ยิ่งโลภ พาภูริทัตต์ไปเที่ยวแสดง จนมาถึงเมืองพาราณสี จึงกราบทูล พระราชาว่าจะให้นาคแสดงฤทธิ์ถวายให้ทอดพระเนตร

                              ขณะนั้นสมุทรชา ผิดสังเกตที่ภูริทัตต์หายไป ไม่มาเฝ้า จึงถามหา ในที่สุดก็ทราบว่า ภูริทัตต์หายไป พี่น้องของภูริทัตต์ จึงทูลว่าจะออกติดตาม สุทัศนะจะไปโลกมนุษย์ สุโภคะไป ป่าหิมพานต์ อริฏฐะไป เทวโลกส่วนนางอัจจิมุข ผู้เป็นน้องสาว ต่างแม่ของภูริทัตต์ของตามไปกับสุทัศนะพี่ชายใหญ่ด้วย เมื่อติดตามมาถึงเมืองพาราณสี สุทัศนะก็ได้ข่าวว่ามีนาค ถูกจับมาแสดงให้คนดู จึงตามไปจนถึงบริเวณที่แสดง ภูริทัตต์เห็นพี่ชาย จึงเลื้อยไข้าไปหาซบหัวร้องไห้อยู่ที่เท้า ของสุทัศนะแล้วจึงเลื้อยกลับไปเข้าที่ขัง ของตนตามเดิม พราหมณ์จึงบอกกับสุทัศนะว่า "ท่านไม่ต้องกลัว ถึงนาคจะ กัดท่านไม่ช้าก็จะหาย" สุทัศนะตอบว่า "เราไม่กลัวดอก นาคนี้ไม่มีพิษ ถึงกัดก็ไม่มีอันตราย" พราหมณ์หาว่าสุทัศนะ ดูหมิ่นว่าตน เอานาคไม่มีพิษมาแสดง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุทัศนะจึงท้าว่า "เขียดตัวน้อยของเรานั้นยังมีพิษมากกว่า นาคของท่านเสียอีก จะเอามาลองฤทธิ์กันดูก็ได้" พราหมณ์ กล่าวว่าหากจะให้สู้กัน ก็ต้องมีเดิมพันจึงจะสมควร สุทัศนะจึง ทูลขอพระราชาพาราณสีให้เป็นผู้ประกันให้ตน โดยกล่าวว่า พระราชาจะได้ทอด พระเนตรการต่อสู้ระหว่างนาคกับเขียด เป็นการตอบแทน พระราชาก็ทรงยอมตกลงประกันให้แก่ สุทัศนะ สุทัศนะเรียก นางอัจจิมุข ออกมาจากมวยผมให้คายพิษ ลงบนฝ่ามือ 3 หยด แล้วทูลว่า "พิษของเขียดน้อยนี้แรงนัก เพราะนางเป็นธิดาท้าวธตรฐ ราชาแห่งนาค หากพิษนี้หยดลง บนพื้นดิน พืชพันธุ์ไม้จะตายหมด หากโยนขึ้นไปในอากาศ ฝนจะไม่ตกไป 7 ปี ถ้าหยดลงในน้ำสัตว์น้ำจะตายหมด" พระราชาไม่ทราบจะทำอย่างไรดี สุทัศนะจึงทูลขอให้ ขุดบ่อ 3 บ่อบ่อแรกใส่ยาพิษ บ่อที่สองใส่โคมัย บ่อที่สามใส่ยาทิพย์ แล้วจึงหยดพิษลงในบ่อแรก ก็เกิดควันลุกจนเป็นเปลวไฟ ลามไปติดบ่อที่สองและสาม จนกระทั่งยาทิพย์ไหม้หมด ไฟจึงดับ พราหมณ์ตัวร้าย ซึ่งยืนอยู่ข้างบ่อ ถูกไอพิษจนผิวหนังลอก กลายเป็นขี้เรื้อน ด่างไปทั้งตัว จึงร้องขึ้นว่า "ข้าพเจ้ากลัวแล้ว ข้าพเจ้าจะ ปล่อยนาคนั้นให้เป็นอิสระ" ภูริทัตต์ได้ยินดังนั้น ก็เลื้อยออกมาจากที่ขัง เนรมิตกาย เป็นมนุษย์ พระราชาจึงตรัสถามความเป็นมา ภูริทัตต์จึงตอบว่า "ข้าพเจ้าและพี่น้องเป็นโอรสธิดาของท้าวธตรฐราชาแห่งนาคกับ นางสมุทรชา ข้าพเจ้ายอมถูกจับมา ยอมให้พราหมณ์ทำร้ายจน บอบช้ำ เพราะปราถนาจะรักษาศีล บัดนี้ข้าพเจ้าเป็น อิสระแล้ว จึงขอลากลับไปเมืองนาคตามเดิม" พระราชาทรงดีพระทัยเพราะทราบว่าภูริทัตต์เป็นโอรสของ นางสมุทรชา น้องสาวของพระองค์ที่บิดายกให้แก่ราชานาคไป จึงเล่าให้ภูริทัตต์และพี่น้องทราบว่า เมื่อนางสมุทรชาไปสู่ เมืองนาคแล้ว พระบิดาก็เสียพระทัย จึงสละราชสมบัติ ออกบวช พระองค์จึงได้ครองเมืองพาราณสีต่อมา

                            พระราชาประสงค์จะให้ นางสมุทรชาและบรรดาโอรสได้ไป เฝ้าพระบิดา จะได้ทรงดีพระทัย สุทัศนะทูลพระราชาว่า "ข้าพเจ้าจะ กลับไปทูลให้พระมารดาทราบ ขอให้พระองค์ ไปรออยู่ที่อาศรมของพระอัยกาเถิด ข้าพเจ้าจะพา พระมารดาและพี่น้องตามไปภายหลัง" ทางฝ่ายพรานเนสาท ผู้ทำร้ายภูริทัตต์เพราะหวังดวงแก้ว สารพัดนึก เมื่อตอนที่พราหมณ์โยนดวงแก้วให้ นั้น รับไม่ทัน ดวงแก้วจึงตกลงบนพื้นและแทรกธรณีกลับไปสู่เมืองนาค พรานเนสาทจึงสูญเสียดวงแก้ว สูญเสียลูกชาย และเสียไมตรี กับภูริทัตต์ เที่ยวซัดเซพเนจรไป ครั้นได้ข่าวว่าพราหมณ์ผู้จับ นาคกลายเป็น โรคเรื้อนเพราะพิษนาค ก็ตกใจกลัว ปราถนา จะล้างบาป จึงไปยังริมน้ำยมุนา ประกาศว่า "ข้าพเจ้าได้ ทำร้ายมิตร คือ ภูริทัตต์ ข้าพเจ้าปราถนาจะล้างบาป" พรานกล่าวประกาศอยู่ หลายครั้ง เผอิญขณะนั้น สุโภคะกำลังเที่ยวตามหาภูริทัตต์อยู่ ได้ยินเข้าจึงโกรธแค้น เอาหางพันขาพราน ลากลงน้ำให้จมแล้ว ลากขึ้นมาบนดินไม่ให้ถึงตาย ทำอยู่เช่นนั้นหลายครั้งพราน จึงร้องถามว่า "นี่ตัวอะไรกัน ทำไมมาทำร้าย เราอยู่เช่นนี้ ทรมาณเราเล่นทำไม" สุโภคะตอบว่าตนเป็นลูกราชานาค พรานจึงรู้ว่าเป็นน้องภูริทัตต์ ก็อ้อนวอนขอให้ปล่อยและกล่าว แก่สุโภคะว่า "ท่านรู้หรือไม่ เราเป็นพราหมณ์ ท่านไม่ควร ฆ่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์เป็นผู้บูชาไฟ เป็นผู้ทรงเวทย์ และเลี้ยงชีพด้วยการขอ ท่านไม่ควรทำร้ายเรา" สุโภคะไม่ทราบจะตัดสินใจอย่างไร จึงพาพรานเนสาทลงไป เมืองนาค คิดจะไปขอถามความเห็นจากพี่น้อง เมื่อไปถึงประตู เมืองนาค ก็พบอริฏฐะนั่งรออยู่ อริฏฐะนั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ ครั้นรู้ว่าพี่ชายจับพราหมณ์มา จึงกล่าวสรรเสริญคุณของพราหมณ์ สรรเสริญความยิ่งใหญ่แห่งพรหม และกล่าวว่าพราหมณ์เป็นบุคคล ที่ไม่สมควรจะถูกฆ่า ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ การฆ่าพราหมณ์ซึ่ง เป็นผู้บูชาไฟนั้นจะทำ ให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง สุโภคะกำลังลังเลใจ ไม่ทราบจะทำอย่างไร พอดีภูริทัตต์กลับมาถึง ได้ยินคำของอริฏฐะจึงคิดว่า อริฏฐะ นั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ และการบูชายัญของพราหมณ์ จำเป็นที่จะต้องกล่าววาจาหักล้าง มิให้ผู้ใด คล้อยตามในทางที่ผิด

                            ภูริทัตต์จึงกล่าวชี้แจงแสดง ความเป็นจริง และในที่สุดได้กล่าวว่า "การบูชาไฟนั้น หาได้เป็น การบูชาสูงสุดไม่ หากเป็นเช่นนั้น คนเผาถ่าน คนเผาศพ ก็สมควรจะได้รับยกย่องว่าเป็นผู้บูชา ไฟยิ่งกว่าพราหมณ์ หากการบูชาไฟเป็นสูงสุด การเผาบ้านเมืองก็คงได้บุญสูงสุด แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ หากการบูชายัญจะเป็นบุญสูงสุดจริง พราหมณ์ก็น่าจะเผาตนเองถวายเป็นเครื่องบูชา แต่พราหมณ์กลับ บูชาด้วยชีวิตของผู้อื่น เหตุใดจึงไม่เผาตนเองเล่า" อริฏฐะกล่าวว่า พราหมเป็นผู้ทรงคุณยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลก ภูริทัตต์ตอบว่า "หากพรหมสร้างโลกจริง ไฉนจึงสร้างให้โลก มีความทุกข์ ทำไมไม่สร้างให้โลกมีแต่ความสุข ทำไมพรหม ไม่สร้างให้ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน เหตุใดจึงแบ่งคนเป็น ชั้นวรรณะ คนที่อยู่ในวรรณะต่ำ เช่น ศูทร จะไม่มีโอกาสมี ความสุข เท่าเทียมผู้อื่นได้เลย พราหมณ์ต่างหากที่พยายาม ยกย่องวรรณะของตนขึ้นสูง และเหยียดหยามผู้อื่นให้ต่ำกว่า โดยอ้างว่าพราหมณ์เป็นผู้รับใช้พรหม เช่นนี้จะถือว่าพราหมณ์ ทรงคุณยิ่งใหญ่ได้อย่างไร" ภูริทัตต์กล่าววาจาหักล้างอริฏฐะด้วยความเป็นจริง ซิ่งอริฏฐะ ไม่อาจโต้เถียงได้ ในที่สุดภูริทัตต์จึงสั่งให้ นำพรานเนสาทไปเสีย จากเมืองนาค แต่ไม่ให้ทำอันตรายอย่างใด จากนั้นภูริทัตต์ก็พา พี่น้องและนางสมุทรชาผู้เป็นมารดา กลับไปเมืองมนุษย์ เพื่อไป เฝ้าพระบิดา พระเชษฐาของนางที่รอคอยอยู่แล้ว เมื่อญาติพี่น้องทั้งหลายพากันแยกย้ายกลับบ้านเมือง

                            ภูริทัตต์ขออยู่ที่ศาลากับพระอัยกา บำเพ็ญเพียร รักษาอุโบสถศีล ด้วยความสงบ ดังที่ได้เคยตั้งปณิธานไว้ว่า "ข้าพเจ้าจะมั่นคงในการ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ จะไม่ให้ศีลต้องมัวหมอง ไม่ว่าจะต้องเผชิญความ ทุกข์ยากอย่างไร ข้าพเจ้าจะอดทน อดกลั้น ตั้งมั่นอยู่ ในศีลตลอดไป"  

คติธรรม : บำเพ็ญศีลบารมี

                 "ความโลภนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเช่นเดียวกับการเนรคุณ แต่ความอดทนย่อมประเสริฐยิ่งนักแล้ว"

 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7351 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 10:39:08 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                               เช้านี้นครศรีธรรมราช เมฆคลึ้ม มีฝนตกนิดหน่อยน่ารำคาญ และมีแดดแรง ปรากฏว่าไฟฟ้าดับ ผลคือทางโรงแรมต้องปิดแอร์ไปประมาณหนึ่งชั่วโมง จนกระทั่งไฟฟ้ามาตามปกติ

                               ตั้งแต่ ผมเอาชาดกมาลง ปรากฏว่า พุทธศาสนิกชนที่ติดตาม หายหมดเลย  สงสัยไม่ค่อยชอบ

                               สำหรับผมนั้น  เห็นว่าดี  ที่จะให้จิตมันจำเวลาประสบอะไร  จะได้นึกถึงคติธรรม นำมาเตือนตนเอง ให้ปฏิบัติทางกุศลกรรม ต่อไปด้วยจิตที่ตั้งมั่น จะละอกุศลธรรม

                               เราเองในการดำรงชีวิตอยู่นั้น  ถ้าขาดธรรมะของพระพุทธองค์ มันก็ไม่มีอะไรมาเป็นดวงประทีปส่องทางให้  จิตก็จะตกอยู่ในโมหะ เพราะความไม่รู้  ก็จะหลงอยู่ในความคิด

                               แต่ถ้ามีธรรมะคอบย้ำเตือนแบบอัตโนมัต  ย่อมใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองว่า อันใดควรไม่ควร  เราก็สามารถจะอยู่อย่างกุศลกรรม  ได้

                               หรืออย่างน้อยเอาไปเป็นนิทาน

                               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7352 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 11:30:45 »

สวัสดี ดร.สุริยา  คุณเหยง

                           เวลานี้ ทาง SIW ได้ตั้งค่าตัวอาจารย์มานพ  กลับดี  เอาไว้ที่ราคาการบรรยาย ในแต่ละครั้งที่ไปบรรยายให้กับลูกค้าเฉพาะราย อยู่ที่ ๑๐,๐๐๐ บาท บรรยายครึ่งวัน และตอบคำถาม  ไม่รวมค่าเดินทาง และอาหารที่พัก ในกรณีค้างคืน การเดินทางนั้น ทางผู้แทนขายของ SIW จะรับอาสามารับ-ส่งที่บ้าน และเป็นภาระในการนัดหมายกับลูกค้าให้

                          แต่ถ้าบรรยายให้เป็นคณะใหญ่ของลูกค้า SIW ทาง SIW จะให้ ๒๐,๐๐๐ บาท เขาบอกว่า อาจารย์มานพ  ก็ต้องใช้เงินในการดำรงชีวิตเหมือนกัน

                          แต่สิ่งที่อาจารย์มานพ  ให้ คือ ความรู้ในสิ่งที่เขาต้องการ(ลูกค้าเป็นผู้กำหนดหัวข้อ) แนะนำการทำงานที่ทำอยู่เดิมต้องปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมเพื่อยกระดับให้ดีขึ้น  ตอบทุกคำถาม ทุกเรื่อง  สอนคนให้ทำงานเป็น โดยยึดหลักพุทธศาสนา เป็นหลัก นอกจากนี้จะให้ Files การบรรยายทั้งหมด และเพิ่มเติม เช่น กรณีบรรยายเรื่องเสาเข็มจะให้ การผลิตเสาเข็ม  การตอกเสาเข็ม มาตรฐานเสาเข็มตาม มอก. ๓๙๖ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รายการคำนวณเสาเข็ม  รายการคำนวณ Blow count รายการคำนวณส่วนผสมคอนกรีต และรายการคำนวณการดึงเหล็กเสริมอัดแรง

                         สิ่งที่ให้ใน Files นั้น นับมูลค่าไม่ได้  เพราะหาที่ไหนไม่ได้ และมีค่ามากกว่าเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ที่ได้รับ

                         ลูกค้าก็พึงพอใจ  อาจารย์มานพ  ก็พอมีเงินในการดำรงชีวิต มันน่าที่จะ win win ทั้งสองฝ่าย

                         ใครที่ทำอาชีพนี้  อยากจะให้อาจารย์มานพ  ไปบรรยายให้  ก็ยึดกติกา นี้ก็แล้วกัน

                         ที่ผ่านมาพรรคพวกก็ได้ให้เงินตามนี้ คือ วันละ ๑๐,๐๐๐ บาท ไม่รวมค่าเดินทาง อาหาร และที่พัก

                         รายได้อาจารย์มานพ   สู้ ดร.สุริยา  ไม่ได้เลย เพราะเป็นอาจารย์มานพ  ต้องการอะไรมากกว่านี้ไม่ได้

                         แจ้งให้ทราบแบบเล่นๆ ไม่ต้องคิดมาก

                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7353 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 11:35:59 »


                             ถ้าใครจะเชิญอาจารย์มานพ   กลับดี ไปบรรยายธรรมะ และการปฏิบัติธรรม  ก็ยินดีมาก

                             แต่มีข้อแม้  ไม่ขอรับปัจจัย ทั้งสิ้น

                             เพราะมันเป็นหน้าที่  ที่จะต้องกระทำในช่วงชีวิตที่เหลือ  ในฐานะศิษย์พระสมณโคดม

                             ขอเพียงอาหารในการดำรงชีวิตเท่านั้น

                             เอาตามกติกา  นี้ก็แล้วกัน

                             สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7354 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 14:09:22 »

๗ . จันทกุมารชาดก (พระจันทราช )




ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญขันติบารมี

                          คือความอดทน มีเรื่องเล่าว่า จันทกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช เคยช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซึ่ง กัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ทำให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร.
 
                          เมื่อพระเจ้าเอกราชทรงราชสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อตื่นจากบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมณ์ แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะนำให้ตัดพระเศียรพระโอรส ธิดา เป็นต้นบูชายัญ.
 
                          พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปที่พระลานหลวง เพื่อเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังสั่งจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆ อีก เพื่อเตรียมการประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่เป็นผล. ร้อนถึงท้าวสักกะ ( พระอินทร์) ต้องมาข่มขู่และชี้แจงให้หายเข้าใจผิด ว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ . มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตนั้นและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญจันทกุมารขึ้นครองราชย์.


 
๗. จั น ท ช า ด ก



                          ในครั้งโบราณ เมืองพารานสี มีชื่อว่า บุปผวดี มีกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเอกราชา พระราชบุตรองค์ใหญ่ พระนามว่า จันทกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช และ พราหมณ์ชื่อกัณฑหาล เป็นปุโรหิตในราชสำนัก กัณฑหาล มีหน้าที่ตัดสินคดีความอีกตำแหน่ง แต่กัณฑหาลเป็นคน ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มักจะรับสินบนจากคู่ความอยู่เสมอ ข้างไหนให้สินบนมาก ก็จะตัดสินความเข้าข้างนั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง ผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมร้องโพนทนา โทษของกัณฑหาล ได้ยินไปถึงพระจันทกุมาร จึงตรัสถาม ว่าเกิดเรื่องอะไร บุคคลนั้นจึงทูลว่า "กัณฑหาลปุโรหิต มิได้เป็นผู้ทรงความยุติธรรม หากแต่รับสินบน ก่อความ อยุติธรรมให้เกิดขึ้นเนืองๆ" พระจันทกุมารตรัสว่า "อย่า กลัวไปเลย เราจะเป็นผู้ให้ ความยุติธรรมแก่เจ้า" แล้ว พระจันทกุมารก็ทรงพิจารณาความอีกครั้ง ตัดสินไปโดย ยุติธรรม เป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชนทั้งหลาย ฝูงชนจึง แซ่ซ้องสดุดีความยุติธรรมของพระจันทกุมาร พระเจ้าเอกราชาทรงได้ยินเสียงแซ่ซ้อง จึงตรัสถาม ครั้นทรงทราบจึงมีโองการว่า "ต่อไปนี้ ให้จันทกุมาร แต่ผู้เดียวทำหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งปวงให้ยุติธรรม" กัณฑหาลเมื่อถูกถอดออกจากตำแหน่งหน้าที่ ก็เกิด ความเคียดแค้นพระจันทกุมาร ว่าทำให้ตนขาดผล ประโยชน์ และได้รับความอับอายขายหน้าประชาชน จึงผูกใจพยาบาทแต่นั้นมา
 
                            อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าเอกราช ทรงฝันเห็นสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เห็นความผาสุกสวยงาม ความรื่นรมย์ ต่างๆ นานา ในสรวงสวรรค์ เมื่อตื่นจากฝัน พระองค์ ยังทรงอาลัยอาวรณ์อยู่ และปรารถนาจะได้ไปสู่ ดินแดนอันเป็นสุขนั้น จึงตรัสถามบรรดาผู้ที่พระองค์ คิดว่าจะสามารถบอกทางไปสู่เทวโลกให้แก่พระองค์ได้ กัณฑหาลได้โอกาส จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระราชา ผู้ที่ประสงค์จะไปสู่สวรรค์ มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นคือ ทำบุญให้ทาน และฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า" พระราชาตรัส ถามว่า "ฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า หมายความว่าอย่างไร" กัณฑหาล ทูลตอบว่า "พระองค์จะต้องการกระทำการ บูชายัญด้วยพระราชบุตร พระมเหสี ประชาชนหญิงชาย เศรษฐี และช้างแก้ว ม้าแก้ว จำนวนอย่างละสี่ จึงจะไป สู่สวรรค์ได้" ด้วยความที่อยากจะไปเสวยสุขในสวรรค์ พระเจ้าเอกราชาก็ทรงเห็นดีที่จะทำบูชายัญตามที่กัณฑหาล ผู้มี จิตริษยาพยาบาททูลแนะ พระองค์ทรงระบุชื่อ พระราชบุตร พระมเหสี เศรษฐี ประชาชน และช้างแก้ว ม้าแก้ว ที่จะ บูชายัญด้วยพระองค์เอง อันที่จริงกัณฑหาลประสงค์ร้าย กับพระจันทกุมารองค์เดียวเท่านั้น แต่ครั้นจะให้บูชายัญ พระจันทกุมารแต่ลำพัง ก็เกรงว่าผู้คนจะสงสัย จึงต้องให้ บูชายัญเป็นจำนวนสี่ พระจันทกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ก็ทรงอยู่ในจำนวนชื่อที่พระเจ้าเอกราชาโปรดให้นำมาทำ พิธีด้วย จึงสมเจตนาของกัณฑหาล เมื่อช้าง ม้า และบุคคล ที่ถูกระบุชื่อ ถูกนำมาเตรียมเข้าพิธี ก็เกิดความโกลาหล วุ่นวาย มีแต่เสียงผู้คน ร้องไห้คร่ำครวญไปทั่ว พระจันทกุมารนั้น เมื่อราชบุรุษไปกราบทูลก็ทรงถามว่า ใครเป็นผู้ทูลให้พระราชาประกอบพิธีบูชายัญ ราชบุรุษ ทูลว่ากัณฑหาล ก็ทรงทราบว่าเป็นเพราะความ ริษยาพยาบาทที่ กัณฑหาลมีต่อพระองค์เป็นสาเหตุ ในเวลาที่ราชบุรุษไปจับเศรษฐีทั้งสี่มาเข้าพิธีนั้น บรรดาญาติพี่น้องต่างพยายามทูลวิงวอนขอชีวิตต่อ พระราชา แต่พระราชาก็ไม่ทรงยินยอม เพราะมี พระทัยลุ่มหลงในภาพเทวโลก และเชื่องมงายในสิ่งที่ กัณฑหาลทูล

                             ต่อมาเมื่อพระบิดาพระมารดาของ พระราชาเอง ทรงทราบก็รีบเสด็จมาทรงห้ามปรามว่า "ลูกเอ๋ยทางไปสวรรค์ที่ต้องฆ่าบุตรภรรยา ต้องเบียด เบียนผู้อื่นนั้น จะเป็นไปได้อย่างไร การให้ทาน การงดเว้นการเบียดเบียนต่างหาก เป็นทางสู่สวรรค์" พระราชาก็มิได้ทรงฟังคำห้ามปรามของพระบิดา พระมารดา พระจันทกุมารทรงเห็นว่าเป็นเพราะ พระองค์เองที่ไปขัดขวางหนทางของคนพาลคือ กัณฑหาล ทำให้เกิดเหตุใหญ่ จึงทรงอ้อนวอนพระบิดา ว่า "ขอพระองค์โปรดประทานชีวิต ข้าพเจ้าทั้งปวงเถิด แม้จะจองจำเอาไว้ก็ยังได้ใช้ประโยชน์ จะให้เป็น ทาส เลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า หรือขับไล่ไปเสียจากเมืองก็ย่อมได้ ขอประทานชีวิตไว้เถิด" พระราชาได้ฟังพระราชบุตร ก็ทรงสังเวชพระทัยจน น้ำพระเนตรไหล ตรัสให้ปล่อย พระราชบุตร พระมเหสี และทุกสิ่งทุกคนที่จับมาทำพิธี ครั้นกัณฑหาลทราบ เข้าขณะเตรียมพิธีก็รีบมาทูลคัดค้าน และ ล่อลวงให้ พระราชาคล้อยตามด้วยความหลงใหลในสวรรค์อีก พระราชาก็ทรงเห็นดีไปตามที่กัณฑหาล ชักจูง พระจันทกุมารจึงทูลพระบิดาว่า "เมื่อข้าพเจ้ายังเล็กๆ อยู่ พระองค์โปรดให้พี่เลี้ยง นางนม ทะนุ บำรุงรักษา ครั้นโตขึ้นจะกลับมาฆ่าเสียทำไม ข้าพเจ้าย่อมกระทำ ประโยชน์แก่พระองค์ได้ พระองค์จะ ให้ฆ่าลูกเสีย แล้วจะอยู่กับคนอื่นที่มิใช่ลูกจะเป็นไปได้อย่างไร ในที่สุดเขาก็คงจะฆ่าพระองค์เสียด้วย พราหมณ์ที่สังหาร ราชตระกูล จะถือว่าเป็นผู้มีคุณประโยชน์ได้อย่างไร พราหมณ์นั้นคือผู้เนรคุณ" พระราชาได้ฟัง ก็สลดพระทัย สั่งให้ปล่อยทุกชีวิต ไปอีกครั้ง แต่ครั้นพราหมณ์กัณฑหาลเข้ามากราบทูล ก็ทรงเชื่ออีก พระจันทกุมารก็กราบทูลพระบิดาว่า "ข้าแต่พระบิดา หากคนเราจะไปสวรรค์ ได้เพราะ การกระทำบูชายัญ เหตุใดพราหมณ์จึงมิทำบูชายัญ บุตรภรรยาของตนเองเล่า เหตุใดจึงได้ชักชวนให้คน อื่นกระทำ

                           ในเมื่อพราหมณ์ก็ได้ทูลว่า คนผู้ใดทำ บูชายัญเองก็ดี คนผู้นั้นย่อมไปสู่สวรรค์ เช่นนั้นควรให้ พราหมณ์กระทำบูชายัญด้วยบุตรภรรยาตนเองเถิด" ไม่ว่าพระจันทกุมารจะกราบทูลอย่างไร พระราชา ก็ไม่ทรงฟัง บุคคลอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง พระวสุลกุมารผู้เป็นราชบุตรของพระจันทกุมาร มาทูลอ้อนวอน พระเจ้าเอกราชาก็ไม่ทรงยินยอมฟัง ฝ่ายกัณฑหาลเกรงว่าจะมีคนมาทูลชักจูงพระราชาอีก จึงสั่งให้ปิดประตูวัง และทูลเชิญพระราชาให้ไป อยู่ในที่อันคนอื่นเข้าไปเฝ้ามิได้ เมื่อถึงเวลาทำพิธี มีแต่เสียงคร่ำครวญของราชตระกูล และฝูงชนที่ญาติ พี่น้องถูกนำมาเข้าพิธี ในที่สุด นางจันทาเทวีผู้เป็นชายา ของพระจันกุมาร ซึ่งได้พยายามทูลอ้อนวอนพระราชา สักเท่าไรก็ไม่เป็นผล ก็ได้ ติดตามพระจันทกุมารไป สู่หลุมยัญด้วย เมื่อกัณฑหาลนำถาดทองมาวางรอไว้ และเตรียมพระขรรค์จะบั่นคอพระจันทกุมาร พระนางจันทาเทวีก็เสด็จไปสู่หลุมยัญ ประนมหัตถ์บูชา และกล่าวสัจจวาจาขึ้นว่า "กัณฑหาลพราหมณ์เป็น คนชั่วเป็นผู้มีปัญญาทราม มีจิตมุ่งร้ายพยาบาท ด้วยเหตุแห่งวาจาสัตย์นี้ เทวดา ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง จงช่วยเหลือเรา ผู้ไร้ที่พึ่ง ผู้แสวงหาที่พึ่ง ขอให้เราได้อยู่ร่วมกับสามีด้วยความสวัสดีเถิด ขอให้พระเป็นเจ้า ทั้งหลายจงช่วยสามีเรา ให้เป็นผู้ที่ศัตรูทำร้ายมิได้เถิด" เมื่อพระนางกระทำสัจจกริยา พระอินทร์ได้สดับ ถ้อยคำนั้น จึงเสด็จมาจากเทวโลก ทรงถือค้อนเหล็กมี ไฟลุกโชติช่วง ตรงมายังพระราชา กล่าวว่า "อย่าให้เรา ถึงกับต้องใช้ค้อนนี้ประหารเศียรของท่านเลย มีใครที่ ไหนบ้าง ที่ฆ่าบุตร ภรรยา และเศรษฐีคหบดีผู้ไม่มีความ ผิดเพื่อที่ตนเองจะได้ไปสวรรค์ จงปล่อยบุคคลผู้ปราศ จากความผิดทั้งปวงเสียเดี๋ยวนี้" พระราชาตกพระทัยสุดขีด สั่งให้คนปลดปล่อยคน ทั้งหมดจากเครื่องจองจำ

                           ในทันใดนั้นประชาชนที่รุม ล้อมอยู่ก็ช่วยกันเอาก้อนหิน ก้อนดินและท่อนไม้ เข้าขว้างปาทุบตีกัณฑหาลพราหมณ์จนสิ้นชีวิตอยู่ ณ ที่นั้น แล้วหันมาจะฆ่าพระราชา แต่พระจันทกุมารตรงเข้ากอด พระบิดาไว้ ผู้คนทั้งหลายก็ไม่กล้าทำร้าย ด้วยเกรง พระจันทกุมารจะพลอยบาดเจ็บ ในที่สุดจึงประกาศว่า "เราจะไว้ชีวิตแก่พระราชาผู้โฉดเขลา แต่จะให้ครองแผ่นดิน มิได้" เราถอดพระยศพระราชาเสียให้เป็นคนจัณฑาล แล้วไล่ออกจากพระนครไป จากนั้นมหาชนก็กระทำพิธีอภิเษกพระจันทกุมารขึ้น เป็นพระราชา ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรม เมื่องทรงทราบว่าพระบิดาตกระกำลำบากอยู่นอกเมือง ก็ทรงให้ความช่วยเหลือพอที่พระบิดาจะดำรงชีพอยู่ได้ พระจันทกุมารปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมาจนถึงที่สุดแห่งพระชนม์ชีพ ก็ได้เสด็จไปเสวยสุข ในเทวโลก ด้วยเหตุที่ทรงเป็น ผู้ปกครองที่ดี ที่ทรงไว้ซึ่ง ความยุติธรรม ไม่หลงเชื่อ วาจาคนโดยง่าย และ ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อตรง

 
คติธรรม : บำเพ็ญขันติบารมี

"เรื่องอาฆาตจองเวรนั้น ย่อมให้ทุกข์กลับคืนแก่ตนในที่สุด และความเขลาหลงในทรัพย์และสุขของผู้อื่นก็ย่อมให้ผลร้ายแก่ตัวได้ในไม่ช้าเช่นกัน"
 
 


      คติธรรม นี้ ขอให้ทุกท่านดู กัณฑหาลพราหมณ์ (อาฆาตจองเวร) และพระราชา (ขลาดเขลา) เป็นตัวอย่าง

                    ส่วนขันติบารมีนั้น น่าจะเป็นจันทกุมาร ที่ทรงเพียรกระทำแต่ความดี ในการปกครองบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #7355 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 14:50:28 »

ต้องการใช้เสาเข็ม spun ขนาด Diameter ใหญ่ที่สุดได้เท่าไร จึงจะไม่มีการผูกขาด
อาจารย์มานพ ช่วยใช้ความกว้างขวางในวงการคอนกรีตอัดแรง หาคำตอบให้ด้วย ขอบคุณครับ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7356 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 14:53:16 »

๘ . นารทชาดก (พระพรหมนารท)


ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี

                            คือการวางเฉย. มีเรื่องเล่าว่า พรหมนารทะ ช่วยเปลื้องพระเจ้าอังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็น ชอบตามเดิม ( ความเห็นผิดนั้น เป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตายเกิด หนักเข้าก็บริสุทธิ์ได้เอง ซึ่งเรียกว่าสังสารสุทธิ) .





๘. น า ร ท ช า ด ก

                            พระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า อังคติราช ครองเมืองมิถิลา เป็นผู้ที่ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม พระธิดาของพระเจ้าอังคติราชมีพระนามว่า รุจาราชกุมารี มีรูปโฉมงดงาม พระราชาทรง รักใคร่พระธิดา อย่างยิ่ง คืนวันหนึ่งเป็นเทศกาลมหรสพ ประชาชนพากัน ตกแต่งเคหสถานอย่างงดงาม พระเจ้าอังคติราช ประทับอยู่ท่ามกลางเหล่าอำมาตย์ในปราสาทใหญ่ ประดับประดาอย่างวิจิตรตระการ พระจันทร์กำลัง ทรงกลด เด่นอยู่กลางท้องฟ้า พระราชาทรงปรารภ กับหมู่อำมาตย์ว่า "ราตรีเช่นนี้น่ารื่นรมย์นัก เราจะทำอะไรให้ เพลิดเพลินดีหนอ"

                             อลาตอำมาตย์ทูลว่า "ขอเดชะ ควรจะเตรียม กองทัพใหญ่ยกออกไปกวาดต้อนดินแดนน้อยใหญ่ ให้เข้า มาอยู่ในพระราชอำนาจพระเจ้าข้า"

                             สุนามอำมาตย์ทูลว่า "ทุกประเทศใหญ่น้อยก็มา สวามิภักดิ์อยู่ในพระราชอำนาจหมดแล้ว ควรที่จะ จัดการ เลี้ยงดู ดื่มอวยชัยให้สำราญ และหาความ เพลิดเพลินจากระบำรำฟ้อนเถิดพระเจ้าข้า"

                             วิชัยอำมาตย์ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ เรื่องการระบำ ดนตรีฟ้อนร้องนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทอด พระเนตรอยู่แล้วเป็นนิตย์ ในราตรีอันผุดผ่องเช่นนี้ ควรไปหาสมณพราหมณ์ผู้รู้ธรรม แล้วนิมนต์ ท่านแสดง ธรรมะจะเป็นการควรกว่าพระเจ้าค่ะ"

                             พระราชาพอพระทัยคำทูลของวิชัยอำมาตย์ จึงตรัสถามว่า "เออ แล้วเราจะไปหาใครเล่าที่เป็น ผู้รู้ธรรม" อลาตอำมาตย์แนะขึ้นว่า "มีชีเปลือย รูปหนึ่ง อยู่ในมิคทายวัน เป็นพหูสูตร พูดจาน่าฟัง ท่านคงจะช่วยขจัดข้อสงสัยของเราทั้งหลายได้ ท่านมีชื่อว่า คุณาชีวก" พระเจ้าอังคติราชได้ทรงฟังก็ยินดี สั่งให้เตรียม กระบวน เสด็จไปหาชีเปลือยชื่อคุณาชีวกนั้น
 
                             เมื่อไปถึงที่ ก็ทรงเข้าไปหาคุณาชีวก ตรัสถาม ปัญหาธรรมที่พระองค์สงสัยอยู่ว่า บุคคลพึง ประพฤติธรรมกับบิดา มารดา อาจารย์ บุตร ภรรยา อย่างไร เหตุใดชนบางพวกจึงไม่ตั้งอยู่ ในธรรม ฯลฯ คำถามเหล่านี้ เป็น ปัญหาธรรม ขั้นสูงอันยากจะตอบได้ ยิ่งคุณาชีวกเป็นมิจฉาทิฏฐิผู้โง่เขลาเบาปัญญาด้วยแล้ว ไม่มีทางจะเข้าใจได้

                              คุณาชีวกจึงแกล้งทูลไปเสียทางอื่นว่า "พระองค์จะสนพระทัยเรื่องเหล่านี้ไปทำไม ไม่มี ประโยชน์อันใดเลยพระเจ้าข้า โปรดฟังข้าพเจ้าเถิด ในโลกนี้ บุญไม่มี บาปไม่มี ปรโลกไม่มี ไม่มีบิดา มารดาปู่ย่า ตายาย สัตว์ทั้งหลายเกิดมาเสมอกัน หมด จะได้ดีได้ชั่ว ก็ได้เอง ทานไม่มี ผลแห่งทาน ก็ไม่มี ร่างกายที่ประกอบกันขึ้นมานี้ เมื่อตายไป แล้วก็สูญสลายแยกออกจากกันไป สุขทุกข์ก็สิ้นไป ใครจะฆ่า จะทำร้าย ทำอันตราย ก็ไม่เป็นบาป เพราะบาปไม่มี สัตว์ทุกจำพวก เมื่อเกิดมาครบ 84 กัปป์ก็จะบริสุทธิ์พ้นทุกข์ ไปเอง ถ้ายังไม่ครบ ถึงจะทำบุญทำกุศลเท่าไร ก็ไม่อาจบริสุทธิ์ไปได้ แต่ถ้าถึงกำหนด 84 กัปป์ แม้จะทำบาปมากมาย ก็จะบริสุทธิ์ไปเอง"

                              พระราชาได้ฟังดังนั้นจึงตรัสว่า "ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้านี้โง่เขลาจริงๆ ข้าพเจ้ามัวหลงเชื่อว่า ทำความดี แล้วจะไปสู่สุคติ อุตส่าห์พากเพียร บำเพ็ญกุศลกรรม บัดนี้ข้าพเจ้าทราบแล้วว่า บุญไม่มี บาปไม่มี ผลกรรมใดๆ ไม่มีทั้งสิ้น บุคคลจะบริสุทธิ์เองเมื่อถึงกำหนดเวลา แม้แต่ การฟังธรรมจากท่านอาจารย์ก็ หามีประโยชน์ อันใดไม่ ข้าพเจ้าขอลาไปก่อนละ"

                              เมื่อเสด็จกลับมาถึงพระราชวัง พระเจ้า อังคติราชก็มีพระราชโองการว่า ต่อไปนี้พระองค์ จะไม่ปฏิบัติราชกิจใดๆทั้งสิ้น เพราะการทั้งปวง ไม่มีประโยชน์ ไม่มีผลอันใด พระองค์จะแสวงหา ความเพลิดเพลินใน ชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ อาทรร้อนใจกับผลบุญ ผลกรรมใดๆทั้งสิ้น

                              จากนั้นก็เกิดเสียงเล่าลือไปทั้งพระนครว่า พระราชากลายเป็นมิจฉาทิฐิ คือ หลงผิด เชื่อคำ ของชีเปลือยคุณาชีวก บ้านเมืองย่อมจะถึง ความเสื่อม หากพระราชาทรงมีพระดำริดังนั้น ความนี้ทราบไปถึงเจ้าหญิง รุจาราชกุมารี ทรงร้อนพระทัยเมื่อทราบว่า พระบิดาให้รื้อโรงทาน ทั้งสี่มุมเมือง จะไม่บริจาคทานอีกต่อ ไป ทั้งยังได้ กระทำการข่มเหงน้ำใจชาวเมืองมากมายหลาย ประการ ด้วยความที่ทรงเชื่อว่า บุญไม่มี บาปไม่มี บุคคลไปสู่สุคติเองเมื่อถึงเวลา เจ้าหญิงรุจาราชกุมารีจึงเข้าเฝ้าพระบิดา ทูลขอ พระราชทานทรัพย์หนึ่งพัน เพื่อจะเอาไปทรงทำทาน

                              พระบิดาเตือนว่า "ลูกรัก ทานไม่มีประโยชน์ดอก ปรโลกไม่มี เจ้าจะไม่ได้ผลอะไรตอบแทน หากเจ้า ยังถือศีลอดอาหารวันอุโบสถอยู่ ก็จงเลิกเสียเถิด ไม่มีผลดอกลูกรัก"

                              รุจาราชกุมารีพยายามกราบทูลเตือนสติพระบิดา ว่า"ข้าแต่พระชนก บุคคลกระทำบาปสั่งสมไว้ ถึงวัน หนึ่งเมื่อผลบาปเพียบเข้า บุคคลนั้นก็จะต้องรับผล แห่งบาปที่ก่อ เหมือนเรือที่บรรทุกแม้ทีละน้อย เมื่อเต็มเพียบเข้า ก็จะจมในที่สุดเหมือนกัน ธรรมดาใบไม้ นั้นหากเอาไปหุ้มห่อของเน่าเหม็น ใบไม้นั้นก็จะ เหม็นไปด้วย หากห่อของหอมใบไม้ นั้นก็จะหอม ปราชญ์จึงเลือกคบแต่คนดี หากคบ คนชั่วก็จะพลอย แปดเปื้อน เหมือนลูกศรอาบยาพิษ ย่อมทำให้แล่งศรแปดเปื้อนไปด้วย"

                              ราชกุมารีกราบทูลต่อว่า "หม่อมฉันรำลึกได้ว่า ในชาติก่อนได้เคยเกิดเป็นบุตรช่างทอง ได้คบหา มิตรกับ คนชั่ว ก็พลอยกระทำแต่สิ่งที่ชั่วร้าย ครั้น ชาติต่อมาเกิดในตระกูลเศรษฐี มีมิตรดีจึงได้พลอย บำเพ็ญบุญบ้าง เมื่อตายไป ผลกรรมก็ตามมาทัน หม่อมฉันต้องไปทนทุกข์ทรมาณในนรกอยู่เป็นเวลา หลายชาติ หลายภพ ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ต้องทน ทุกข์รำเค็ญมากมาย กว่าจะใช้หนี้กรรมนั้นหมด และผลบุญ เริ่มส่งผล จึงได้มาเกิดในที่ดีขึ้นเป็นลำดับ อันผลบุญผลบาปย่อมติดตามเราไปทุกๆ ชาติ ไม่มีหยุด ย่อมได้รับผลตามกรรมที่ก่อไว้ทุกประการ ขอพระบิดาจงฟังคำหม่อมฉันเถิด"

                              พระราชามิได้เชื่อคำรุจาราชกุมารี ยังคงยึดมั่น ตามที่ได้ฟังมาจากคุณาชีวก

                              เจ้าหญิงทรงเป็น ทุกข์ถึงผลที่ พระบิดาจะได้รับเมื่อสิ้นพระชนม์ จึง ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า "หากเทพยดาฟ้าดินมีอยู่ ขอได้โปรดมาช่วยเปลื้องความเห็นผิดของ พระบิดาด้วยเถิด จะได้บังเกิดสุขแก่ปวงชน"

                              ขณะนั้น มีพรหมเทพองค์หนึ่งชื่อ นารท เป็นผู้มีความกรุณาในสรรพสัตว์ มักอุปการะเกื้อกูลผู้อื่น อยู่เสมอ

                             นารทพรหมเล็งเห็นความทุกข์ของ รุจาราชกุมารี และเล็งเห็นความเดือดร้อนอันจะเกิด แก่ประชาชน หากพระราชาทรงเป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงเสด็จจากเทวโลกแปลงเป็นบรรพชิต เอาภาชนะ ทองใส่สาแหรกข้างหนึ่ง คนโทแก้วใส่สาแหรก อีกข้างหนึ่ง ใส่คานทาน วางบนบ่าเหาะมาสู่ปราสาท พระเจ้า อิงคติราช มาลอยอยู่ตรงหน้าพระพักตร์

                             พระราชาทรงตกตะลึงตรัสถามว่า "ข้าแต่ท่าน ผู้มีวรรณะงามราวจันทร์เพ็ญ ท่านมาจากไหน" นารทพรหมตอบว่า "อาตมาภาพมากจากเทวโลก มีนามว่า นารท" พระราชาตรัสถามว่า "เหตุใดท่าน จึงมีฤทธิ์ลอยอยู่ในอากาศได้เช่นนั้น น่าอัศจรรย์"

                            "อาตมาภาพบำเพ็ญคุณธรรม 4 ประการ ในชาติ ก่อนคือ สัจจะ ธรรมะ ทมะ และจาคะ จึงมีฤทธิ์เดช ไป ไหนได้ตามใจปรารถนา"

                            "ผลบุญมีด้วยหรือ ถ้าผลบุญมีจริงอย่างที่ท่านว่า ได้โปรดอธิบายให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเถิด"

                             พระนารท พรหมจึงอธิบายว่า "ผลบุญมีจริง ผลบาปก็มีจริง มีเทวดา มีบิดา-มารดา มีปรโลก มีทุกสิ่งทุกอย่างทั้งนั้น แต่เหล่าผู้งมงายหาได้รู้ไม่"

                             พระราชาตรัสว่า "ถ้าปรโลกมีจริง ขอยืมเงิน ข้าพเจ้าสักห้าร้อยเถิด ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่าน ในโลกหน้า"

                             พระนารทตอบว่า "ถ้าท่านเป็นผู้ประพฤติธรรม มากกว่าห้าร้อยเราก็ให้ท่านยืมได้ เพราะเรารู้ว่าผู้อยู่ใน ศีลธรรม ผู้ประพฤติกรรมดี เมื่อเสร็จจากธุระแล้ว ก็ย่อมนำเงินมาใช้คืนให้เอง แต่อย่างท่านนี้ตายไป แล้วก็จะต้องไปเกิดในนรก ใครเล่าจะตามไปทวงทรัพย์คืนจากท่านได้"

                             พระราชาไม่อาจตอบได้ จึงนิ่งอั้นอยู่

                             นารทพรหม ทูลว่า "หากพระองค์ยังทรงมีมิจฉาทิฏฐิอยู่ เมื่อสิ้น พระชนม์ ก็ต้องไปสู่นรก ทนทุกขเวทนาสาหัส ในโลกหน้าพระองค์ก็จะต้องชดใช้ผลบาปที่ได้ก่อไว้ ในชาตินี้"

                             พระนารทได้โอกาสพรรณนาความทุกข์ ทรมานต่างๆ ในนรกให้พระราชาเกิดความสะพรึงกลัว เกิดความสยดสยองต่อบาป

                             พระราชาได้ฟังคำพรรณนา ก็สลดพระทัยยิ่งนัก รู้พระองค์ว่าได้ดำเนินทางผิด จึงตรัสว่า "ได้โปรดเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าด้วยเถิด บัดนี้ ข้าพเจ้าเกิดความกลัวภัยในนรก ขอท่านจง เป็นแสงสว่างส่องทางให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด โปรด สอนธรรมะให้แก่ข้าพเจ้าผู้ได้หลงไปในทางผิด ขอจง บอกหนทางที่ถูกต้องแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด"

                             พระนารทพรหมฤาษีจึงได้โอกาสตรัสสอนธรรมะ แก่พระราชาอังคติราช ทรงสอนให้พระราชาตั้งมั่น ในทาน ในศีล อันเป็นหนทางไปสู่สวรรค์เทวโลก แล้วจึงแสดงธรรมเปรียบร่างกายกับรถ เพื่อให้ พระราชาทรงเห็นว่า รถที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอันดี อันถูกต้องแล่นไปในทางที่เรียบรื่น มีสติเป็นประดุจปฏัก มีความ เพียรเป็นบังเหียน และมีปัญญาเป็นห้ามล้อ รถอันประกอบด้วยชิ้นส่วนอันดีนั้นก็จะแล่นไปใน ทางที่ถูกต้อง โดยปราศจากภัยอันตราย

                             พระราชาอังคติราชทรงละมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด ละหนทางบาป

                             นารถพรหมฤาษีจึงถวายโอวาทว่า "ขอพระองค์จะละบาปมิต คบแต่กัลยาณมิตร อย่าได้ ทรงประมาทเลย"

                             ในระหว่างนั้น พระนารทพรหม ฤาษีได้อันตรธานหายไป พระราชาก็ทรงตั้งมั่นในศีล ในธรรม ทรงเริ่มทำบุญทำทาน ทรงเลือกคบแต่ผู้ที่จะ นำไปในทางที่ถูกที่ควร เมื่อพระราชาทรงตั้งอยู่ใน ทศพิธราชธรรม ประชาชนก็มีความสุข บ้านเมืองสงบ ร่มเย็น สมดังที่พระนารทพรหมฤษีทรงกล่าวว่า
 
" จงละบาปมิตร จงคบกัลยาณมิตร จงทำบุญละจากบาป ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเถิด "

คติธรรม : บำเพ็ญอุเบกขาบารมี

"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำผิดบาปย่อมได้ชั่วช้าสามานย์เป็นผลตอบ และการคบมิตรสหายนั้นก็จะส่งผลดีไม่ดีแก่ตัวบุคคลนั้นด้วย"
 
 


                       ชาดก เรื่องนี้ เป็นการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี หมายความว่า ในเมื่อตั้งมั่นอยู่ในการกระทำดี อยู่แล้ว  ก็จงกระทำดีต่อไปอย่าวอกแวกละการทำดีเสีย  ด้วยการปล่อยวางให้มั่นคง  ไม่โลเล เมื่อมีผู้เสนอให้กระทำในทางที่ชั่ว เพราะทำดีย่อมได้ดี  ทำชั่วย่อมได้ชั่ว  ดูอย่างพระราชาที่มีจิตใจโลเล  ไม่มั่นคง และคบมิตรชั่ว  ไม่คบกัลยามิตร
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #7357 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 15:00:43 »

พี่สิงห์

พี่หลิวให้สอบถามและแจ้งว่า
ชาวหอจะไป"นครวัด นครธม" 1 บัส 45 คน วันศุกร์ที่ 11 - เสาร์ที่ 12 และอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2556
ออกหกโมงเช้าวันที่ 11 กลับถึง 3 ทุ่มวันที่ 13
ค่าใช้จ่าย 6,600 บาท
พี่สิงห์สนใจมั๊ยครับ เพราะเปิดจองวันประชุมกรรมการ กรรมการตองไป 30 กว่าที่แล้ว ??
คาดว่าที่นั่งจะเต็มในวันนี้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7358 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 15:27:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2555, 14:50:28
ต้องการใช้เสาเข็ม spun ขนาด Diameter ใหญ่ที่สุดได้เท่าไร จึงจะไม่มีการผูกขาด
อาจารย์มานพ ช่วยใช้ความกว้างขวางในวงการคอนกรีตอัดแรง หาคำตอบให้ด้วย ขอบคุณครับ



                   เสาเข็ม spun ขนาด diameter 600 mm. ทุกจ้าวมีแน่นอน คือ PACO  TNC และ  UNICO

                   ข้อแนะนำ คือ ถ้ากลัวตอกไม่ลง  กลัวแรงดันดินด้านข้างไปทำให้อาคารใกล้เคียงแตกร้าว  ก็ควรกำหนดไปเลยว่า ต้องกระทำ Pre-bore ก่อน สามในสี่ส่วนของความลึกที่ต้องการให้เสาเข็มไปถึงระดับนั้น และ

                   เมื่อตอกเสาเข็มเรียบร้อยแล้ว  ให้เทคอนกรีตลงไปในรูเสาเข็มด้วย เพื่อเสริมให้เสาเข็มแข็งแรง เป็นเสาเข็มตัน และป้องกันไม่ให้เด็กตกลงไปในรูเสาเข็ม

                   ในกรณีที่ต้องเสริมเล็ก Dowel Bars  ก็เสริมจากคอนกรีตที่เทในรูกลางนั้นแล

                   ระยองดินแข็งแน่นอน  ไม่สามารถตอกเสาเข็มด้วยวิธีทั่วๆ ไป ให้ได้ระดับตามที่ผลเจาะสำรวจดินกำหนดแน่นอน จะต้องใช้ water jet  และการทำ pre-bore ก็มีผลดีกว่า water jet ด้วย

                   ลืมไป ควรกำหนดว่า ควรมีค่า effective stress ในเสาเข็มมากกว่า 49 ksc. ตามที่ทาง ACI กำหนด (กลัวใส่ PC wire น้อยเกินไป  จะทำให้เสาเข็มหักได้ เพราะตอกยาก)

                   อย่ากลัวเรื่องแพง เรื่องทำไม่ได้  มันไม่ใช่หน้าที่ของผู้ออกแบบ นี่คือ โอวาทของ ดร.อภิวัฒน์

                   สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7359 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 15:29:31 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2555, 15:00:43
พี่สิงห์

พี่หลิวให้สอบถามและแจ้งว่า
ชาวหอจะไป"นครวัด นครธม" 1 บัส 45 คน วันศุกร์ที่ 11 - เสาร์ที่ 12 และอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2556
ออกหกโมงเช้าวันที่ 11 กลับถึง 3 ทุ่มวันที่ 13
ค่าใช้จ่าย 6,600 บาท
พี่สิงห์สนใจมั๊ยครับ เพราะเปิดจองวันประชุมกรรมการ กรรมการตองไป 30 กว่าที่แล้ว ??
คาดว่าที่นั่งจะเต็มในวันนี้


                  ถ้าไม่รังเกียรติ  ก็ขอติดตามไปด้วย  ก็แล้วกัน

                  ขอบคุณมาก ที่แจ้งให้ทราบ

                  สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7360 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 15:49:43 »

ดร.สุริยา  ทราบ

                             เมื่อประมาณหนึ่งเดือนที่ผ่านมา  ผมได้มีโอกาสเปิด TV ในช่องของ กทม. พอดีวันนั้นท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน  กำลัง พูดอยู่พอดี เรื่องแผ่นดินไหว

                             อาจารย์บอกว่า ณ ปัจจุบัน  แผ่นดินไหวได้ใกล้เข้ามาแล้วในประเทศไทย  ดังนั้นการออกแบบอาคารสาธารณะ หรืออาคารสูงทั่วไป ควรที่จะออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหว  เอาไว้ด้วย  จะนิ่งเฉยไม่ได้แล้ว และอาคารสาธารณะ ควรตรวจสอบว่าจะยังสามารถรับแรงจากแผ่นดินไหวได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาศกรรม ตึกสูงๆ ถล่มเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง

                             ล่าสุดเมื่อสอง สามอาทิตย์ ก็มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เชียงราย  แต่ไม่รุนแรง  ดังนั้น  ใครอย่าบอกว่า ประเทศไทยโอกาสที่จะมีแผ่นดินไหวขนาดกลางไม่มี   มันไม่จริงแล้ว

                             เสาเข็มโดยทั่วไป โดยเฉพาะเสาเข็มสั้น นั้น เสาเข็มไม่สามารถต้านแรงดันด้านข้างจากแผ่นดินไหวได้เลย  เพราะแข่งขันเรื่องราคามาก  ผลคือ ใส่ PC wire  น้อยเกินไป  ถ้ามีแผ่นดินไหวอาคารพังแน่นอน

                             ขนาดผมกำหนดเอาไว้ใน มอก. ๓๙๖ ว่าให้ใส่อย่างน้อย 25 ksc. เขายังด่าผม หาว่ากำหนดเอาไว้ทำไม ทำให้เสาเข็มแพง  ทั้งๆ ที่ความจริงมันใส่น้อยมาก  ผมก็บอกเขาไปว่า  ถ้าใส่น้อยกว่านี้เสาเข็มมันจะเสียหายขณะตอกเป็นส่วนใหญ่  ผมสงสารคนที่เขาลงทุนเก็บเงินสร้างบ้าน  สร้างโรงงาน แต่ไม่มีความรู้เรื่องเสาเข็มเพียงพอ  ไปซื้อเสาเข็มถูกๆ แต่มาเศร้าที่หลัง  เท่ากับว่า ผมไม่ป้องกันให้เขาทั้งๆ ที่รู้เรื่องนี้ดี

                            ในเมื่อ ในอนาคตต้องกังวลเรื่องแผ่นดินไหว  อย่างน้อยเสาเข็มต้องมี Effective stress ไม่ต่ำกว่า 49 ksc. ตาม ACI

                            ถ้าในประเทศ ญี่ปุ่น นอกเขตแผ่นดินไหว ใส่  80 ksc. เขตแผ่นดินไหวใส่ 120 ksc.

                            สวัสดี
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #7361 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2555, 23:42:52 »

ขอบคุณมากครับ ต้องรบกวนเขียน specification เจ๋งๆ ให้ผมสักวรรคหนึ่ง
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7362 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 07:46:38 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2555, 23:42:52
ขอบคุณมากครับ ต้องรบกวนเขียน specification เจ๋งๆ ให้ผมสักวรรคหนึ่ง

                      จะจัดการให้ ตามความต้องการ ครับ

                      สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7363 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 08:06:55 »


                               
                               สัพเพ  สังขารา  อนิจจา

                               สัพเพ  สังขารา  ทุกขา

                               สัพเพ  ธรรมา  อนัตตา ติ.


สวีสดีครับ ดร.สุริยา และ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                             เมื่อคืนวาน เมื่อเช้า พี่สาว  น้องสาว ได้โทรศัพท์มาหาผมที่นครศรีธรรมราช

                             น้องสาวบอกว่า คุณหมอวิทิต   บอกว่าสมองของแม่ได้ตายเพิ่ม  เพราะเลือดไปเลี้ยงไม่พอ  ทำให้แม่ไม่สามารถรับอาหารได้  ลำไส้ไม่ทำงาน   ถ้าเอาแม่ไปโรงพยาบาลเท่ากับไปยื้อท่านเอาไว้อีก  ท่านจะทรมารต่อไปอีก  อยากจะเอาไว้ที่บ้านตามคำขอของแม่  และคุณหมอวิทิต และหมอหลานชาย ก็มาดูแลที่บ้านเป็นปกติอยู่แล้ว  จะจ้างพยาบาลมาทำแผลที่บ้านให้  ถ้าจะให้น้ำเกลือก็ให้ที่บ้าน  ไม่อยากจะเอาแม่ไปโรงพยาบาลอีกแล้ว  ให้ท่านจากไปอย่างสงบที่บ้าน  ตามที่ท่านต้องการ   ท่านมีสติรับรู้ทั้งหมด  แต่เนื่องจากสังขารมันแย่ลง ๆ ตามเวลา  ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้   รอเวลาจากไปเท่านั้น  มันคงสมควรแล้ว

                             ผมก็บอกกับน้องสาวว่า  จะทำอะไรก็ได้ที่เห็นว่าสมควรกระทำ  ดังที่แม่บอกไว้  แม่ไม่ปรานาให้ใครทำอะไรให้แม่  แล้วตัวเองต้องทุกข์  แม่อยากจากไปโดยที่ไม่ทำให้ลูกทุกข์  ทำอะไรได้ก็ทำ  ไม่ต้องพวงใดๆ ทั้งสิ้น  ถึงคนอื่นจะเห็นต่างจากเรา เพราะเขาไม่ได้มาดูแล  เราเป็นผู้โดยแล  โดยเฉพาะคุณหมอวิทิต  ก็กระทำตามที่คุณหมอวิทิต ต้องการเถอะ 

                             ผมเองคิดเหมือนแม่ คือปล่อยวาง  เพราะทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น แล้วแต่คุณหมอวิทิต จะเห็นสมควร  เพราะคุณหมอวิทิต  ก็รักแม่  ไม่ยิ่งหย่อนกว่าผมเลย  คุณหมอดูแล  แม่มามากกว่า ๔๐ ปี  และรู้ดีกว่าผม

                             ก็เรียนให้ ทราบ  ไม่ต้องเป็นทุกข์ แทนผม  เพราะผมก็ไม่ได้ทุกข์  มันเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นแล้วก็ต้องตาย  และความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก มันก็เป็นทุกข์ เป็นเรื่องธรรมดา ที่เกิดกับคนทุกคนไม่ละเว้นทั้งสิ้น

                             วันนี้ผมก็ได้สอนน้องสาวไปแล้ว  ไม่ให้ปรุงแต่ง  เพราะจะมีแต่ทุกข์  ให้มีสติ อยู่กับรูป-นาม คือรู้สึกตัว  อย่าตกอยู่ภายใต้ความคิด  มันก็จะไม่ทุกข์  ต้องทำให้ได้  ถ้าทำไม่ได้ นั่นละเป็นสิ่งที่แม่ไม่ปราถนา

                             ก็เรียนให้ทราบ

                             สวัสดี
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #7364 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 08:47:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2555, 10:39:08
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                               เช้านี้นครศรีธรรมราช เมฆคลึ้ม มีฝนตกนิดหน่อยน่ารำคาญ และมีแดดแรง ปรากฏว่าไฟฟ้าดับ ผลคือทางโรงแรมต้องปิดแอร์ไปประมาณหนึ่งชั่วโมง จนกระทั่งไฟฟ้ามาตามปกติ

                               ตั้งแต่ ผมเอาชาดกมาลง ปรากฏว่า พุทธศาสนิกชนที่ติดตาม หายหมดเลย  สงสัยไม่ค่อยชอบ

                               สำหรับผมนั้น  เห็นว่าดี  ที่จะให้จิตมันจำเวลาประสบอะไร  จะได้นึกถึงคติธรรม นำมาเตือนตนเอง ให้ปฏิบัติทางกุศลกรรม ต่อไปด้วยจิตที่ตั้งมั่น จะละอกุศลธรรม

                               เราเองในการดำรงชีวิตอยู่นั้น  ถ้าขาดธรรมะของพระพุทธองค์ มันก็ไม่มีอะไรมาเป็นดวงประทีปส่องทางให้  จิตก็จะตกอยู่ในโมหะ เพราะความไม่รู้  ก็จะหลงอยู่ในความคิด

                               แต่ถ้ามีธรรมะคอบย้ำเตือนแบบอัตโนมัต  ย่อมใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองว่า อันใดควรไม่ควร  เราก็สามารถจะอยู่อย่างกุศลกรรม  ได้

                               หรืออย่างน้อยเอาไปเป็นนิทาน

                               สวัสดี


...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...ตามอ่านอยู่ค่ะ...

...แต่ยังอ่านไม่จบ...เพราชาดกแต่ละเรื่องยาวค่ะ...ต้องใช้เวลา...

...พอดีช่วงนี้ไปขึ้นดอยมาค่ะ...

...ขอบคุณพี่สิงห์สำหรับชาดกด้วยค่ะ...

...จะค่อยๆอ่านค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #7365 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 08:57:11 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2555, 15:29:31
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2555, 15:00:43
พี่สิงห์

พี่หลิวให้สอบถามและแจ้งว่า
ชาวหอจะไป"นครวัด นครธม" 1 บัส 45 คน วันศุกร์ที่ 11 - เสาร์ที่ 12 และอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2556
ออกหกโมงเช้าวันที่ 11 กลับถึง 3 ทุ่มวันที่ 13
ค่าใช้จ่าย 6,600 บาท
พี่สิงห์สนใจมั๊ยครับ เพราะเปิดจองวันประชุมกรรมการ กรรมการตองไป 30 กว่าที่แล้ว ??
คาดว่าที่นั่งจะเต็มในวันนี้


                  ถ้าไม่รังเกียรติ  ก็ขอติดตามไปด้วย  ก็แล้วกัน

                  ขอบคุณมาก ที่แจ้งให้ทราบ

                  สวัสดี


อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 08:54:35
ขอจองให้พี่สิงห์-มานพ กลับดี 1 ที่ครับ

ส่วนของผม แจ้งให้พี่หลิวทราบแล้ว และจะโอนเงินในช่วงสุดสัปดาห์นี้


พี่สิงห์ อยู่ในห้องนัดพบปะสังสรรค์ครับ...  http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,17835.0.html

ต้องโอนเงินงวดแรก 2,000 บาท
บ/ช สุรศักดิ์ เพชรวิลัย TMB สาขาอโศก 053-233204-6
โอนแล้วโทรแจ้งให้พี่หลิวทราบด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #7366 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 09:09:57 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 08:06:55

                               
                               สัพเพ  สังขารา  อนิจจา

                               สัพเพ  สังขารา  ทุกขา

                               สัพเพ  ธรรมา  อนัตตา ติ.


สวีสดีครับ ดร.สุริยา และ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                             เมื่อคืนวาน เมื่อเช้า พี่สาว  น้องสาว ได้โทรศัพท์มาหาผมที่นครศรีธรรมราช

                             น้องสาวบอกว่า คุณหมอวิทิต   บอกว่าสมองของแม่ได้ตายเพิ่ม  เพราะเลือดไปเลี้ยงไม่พอ  ทำให้แม่ไม่สามารถรับอาหารได้  ลำไส้ไม่ทำงาน   ถ้าเอาแม่ไปโรงพยาบาลเท่ากับไปยื้อท่านเอาไว้อีก  ท่านจะทรมารต่อไปอีก  อยากจะเอาไว้ที่บ้านตามคำขอของแม่  และคุณหมอวิทิต และหมอหลานชาย ก็มาดูแลที่บ้านเป็นปกติอยู่แล้ว  จะจ้างพยาบาลมาทำแผลที่บ้านให้  ถ้าจะให้น้ำเกลือก็ให้ที่บ้าน  ไม่อยากจะเอาแม่ไปโรงพยาบาลอีกแล้ว  ให้ท่านจากไปอย่างสงบที่บ้าน  ตามที่ท่านต้องการ   ท่านมีสติรับรู้ทั้งหมด  แต่เนื่องจากสังขารมันแย่ลง ๆ ตามเวลา  ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้   รอเวลาจากไปเท่านั้น  มันคงสมควรแล้ว

                             ผมก็บอกกับน้องสาวว่า  จะทำอะไรก็ได้ที่เห็นว่าสมควรกระทำ  ดังที่แม่บอกไว้  แม่ไม่ปรานาให้ใครทำอะไรให้แม่  แล้วตัวเองต้องทุกข์  แม่อยากจากไปโดยที่ไม่ทำให้ลูกทุกข์  ทำอะไรได้ก็ทำ  ไม่ต้องพวงใดๆ ทั้งสิ้น  ถึงคนอื่นจะเห็นต่างจากเรา เพราะเขาไม่ได้มาดูแล  เราเป็นผู้โดยแล  โดยเฉพาะคุณหมอวิทิต  ก็กระทำตามที่คุณหมอวิทิต ต้องการเถอะ 

                             ผมเองคิดเหมือนแม่ คือปล่อยวาง  เพราะทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น แล้วแต่คุณหมอวิทิต จะเห็นสมควร  เพราะคุณหมอวิทิต  ก็รักแม่  ไม่ยิ่งหย่อนกว่าผมเลย  คุณหมอดูแล  แม่มามากกว่า ๔๐ ปี  และรู้ดีกว่าผม

                             ก็เรียนให้ ทราบ  ไม่ต้องเป็นทุกข์ แทนผม  เพราะผมก็ไม่ได้ทุกข์  มันเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นแล้วก็ต้องตาย  และความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก มันก็เป็นทุกข์ เป็นเรื่องธรรมดา ที่เกิดกับคนทุกคนไม่ละเว้นทั้งสิ้น

                             วันนี้ผมก็ได้สอนน้องสาวไปแล้ว  ไม่ให้ปรุงแต่ง  เพราะจะมีแต่ทุกข์  ให้มีสติ อยู่กับรูป-นาม คือรู้สึกตัว  อย่าตกอยู่ภายใต้ความคิด  มันก็จะไม่ทุกข์  ต้องทำให้ได้  ถ้าทำไม่ได้ นั่นละเป็นสิ่งที่แม่ไม่ปราถนา

                             ก็เรียนให้ทราบ

                             สวัสดี


รับทราบสถานการณ์ และเอาใจช่วยคุณแม่ของพี่สิงห์ครับ
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #7367 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 09:49:37 »

เอาใจช่วยด้วยอีกคนค่ะ  พี่สิงห์   sorry
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7368 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 09:54:55 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 09:49:37
เอาใจช่วยด้วยอีกคนค่ะ  พี่สิงห์   sorry

สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี  ที่รัก

                               ขอบคุณมากค่ะ

                              อย่าไปทุกข์  กับสิ่งที่รับทราบเลย

                              สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #7369 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 10:01:47 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 09:54:55
อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 09:49:37
เอาใจช่วยด้วยอีกคนค่ะ  พี่สิงห์   sorry

สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี  ที่รัก

                               ขอบคุณมากค่ะ

                              อย่าไปทุกข์  กับสิ่งที่รับทราบเลย

                              สวัสดีค่ะ



ติดตามอ่าน  และคิดตามที่พี่สิงห์เขียนไว้ด้วยค่ะ
คุณแม่หยีอายุ 78 เท่านั้น
แต่สภาพร่างกายสูงวัยกว่านั้นแยะ

เหตุเพราะ  ตอนที่คุณพ่อป่วย ต้องนอนบนเตียงนานนับปี
แม่ไม่ยอมให้ใครมาดูแล
แกปรนนิบัติ พัดวี ด้วยตัวเอง โดยไม่มีวันหยุดพัก ตั้งแต่เช้ามืด จนถึงเช้ามืดอีกวัน
ดูแลกันตอลด 24 ชม. เพราะต้องคอยดูดเสมหะ
ให้อาหารทางสายยาง (แกปรุงและปั่นอาหารเองด้วย)
ทำความสะอาดเรื่องการขับถ่าย
ป้อนยา ฯลฯ

เมื่อพ่อจากไป
ร่างกายแม่ก็ทรุดโทรมตามไปด้วย

อ่านที่พี่สิงห์เขียนเตือนสติไว้
ก็คิดตามได้ว่า .. วันหนึ่งเราก็ต้องพบเหตุการณ์นี้เช่นกัน

ขอบพระคุณค่ะ
    sorry

      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7370 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 11:40:51 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 10:01:47
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 09:54:55
อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 09:49:37
เอาใจช่วยด้วยอีกคนค่ะ  พี่สิงห์   sorry

สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี  ที่รัก

                               ขอบคุณมากค่ะ

                              อย่าไปทุกข์  กับสิ่งที่รับทราบเลย

                              สวัสดีค่ะ



ติดตามอ่าน  และคิดตามที่พี่สิงห์เขียนไว้ด้วยค่ะ
คุณแม่หยีอายุ 78 เท่านั้น
แต่สภาพร่างกายสูงวัยกว่านั้นแยะ

เหตุเพราะ  ตอนที่คุณพ่อป่วย ต้องนอนบนเตียงนานนับปี
แม่ไม่ยอมให้ใครมาดูแล
แกปรนนิบัติ พัดวี ด้วยตัวเอง โดยไม่มีวันหยุดพัก ตั้งแต่เช้ามืด จนถึงเช้ามืดอีกวัน
ดูแลกันตอลด 24 ชม. เพราะต้องคอยดูดเสมหะ
ให้อาหารทางสายยาง (แกปรุงและปั่นอาหารเองด้วย)
ทำความสะอาดเรื่องการขับถ่าย
ป้อนยา ฯลฯ

เมื่อพ่อจากไป
ร่างกายแม่ก็ทรุดโทรมตามไปด้วย

อ่านที่พี่สิงห์เขียนเตือนสติไว้
ก็คิดตามได้ว่า .. วันหนึ่งเราก็ต้องพบเหตุการณ์นี้เช่นกัน

ขอบพระคุณค่ะ
     sorry



สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี ที่รัก

                              มันก็เป็นเช่นนั้น จริงๆ

                             เรารู้แล้วว่าเมื่ออายุมากขึ้นต้องเป็นอย่าง คุรพ่อ คุณแม่เรา หนีไม่พ้น  ถ้ายังไม่รักรูป-นามที่เราคิดว่าเป็นตัวตนของเรา ยังประมาทในเรื่องการกิน  ไม่ออกกำลังกาย  นอนดึก และจิตไม่ผ่องใส  แก่เฒ่าต้องประสบแน่นอน

                             ถ้าลูก  สามี  หรือมีคนดูแล  ความทุกข์ก็น้อย  แต่ถ้าไม่มี  ก็ลองนึกภาพเอาเอง

                            อยู่ที่ตัวเราเองเมื่อทราบความจริงนี้  ก็ต้องป้องกัน อย่ากินตามใจปาก  ต้องออกกำลังกาย  ต้องนอนหัวค่ำ และจิตผ่องใสอย่าอยู่ในโลกของความคิด  ต้องรู้สึกตัว  เพราะจะไม่คิด

                           อย่าลืมดูแลคุณแม่  ให้ลูก ๆ เห็นเป็นตัวอย่าง  พอถึงตัวเราจะได้มีคนดูแล

                          พี่สิงห์  ไม่มีลูก  จึงต้องดูแลตนเองอย่างเข้มงวด  ไม่ขอเป็นโรคเรื้อรังเด็ดขาด  ยอมอดเปรี้ยวเอาไว้กินหวาน  คือการเจ็บป่วยน้อยลง  ขอป้องกันเป็นหลัก จะลำบากที่จิตมันไม่ชอบก็ต้องยอม

                           สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7371 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 11:43:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, 08:47:35
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 09 พฤศจิกายน 2555, 10:39:08
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                               เช้านี้นครศรีธรรมราช เมฆคลึ้ม มีฝนตกนิดหน่อยน่ารำคาญ และมีแดดแรง ปรากฏว่าไฟฟ้าดับ ผลคือทางโรงแรมต้องปิดแอร์ไปประมาณหนึ่งชั่วโมง จนกระทั่งไฟฟ้ามาตามปกติ

                               ตั้งแต่ ผมเอาชาดกมาลง ปรากฏว่า พุทธศาสนิกชนที่ติดตาม หายหมดเลย  สงสัยไม่ค่อยชอบ

                               สำหรับผมนั้น  เห็นว่าดี  ที่จะให้จิตมันจำเวลาประสบอะไร  จะได้นึกถึงคติธรรม นำมาเตือนตนเอง ให้ปฏิบัติทางกุศลกรรม ต่อไปด้วยจิตที่ตั้งมั่น จะละอกุศลธรรม

                               เราเองในการดำรงชีวิตอยู่นั้น  ถ้าขาดธรรมะของพระพุทธองค์ มันก็ไม่มีอะไรมาเป็นดวงประทีปส่องทางให้  จิตก็จะตกอยู่ในโมหะ เพราะความไม่รู้  ก็จะหลงอยู่ในความคิด

                               แต่ถ้ามีธรรมะคอบย้ำเตือนแบบอัตโนมัต  ย่อมใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองว่า อันใดควรไม่ควร  เราก็สามารถจะอยู่อย่างกุศลกรรม  ได้

                               หรืออย่างน้อยเอาไปเป็นนิทาน

                               สวัสดี


...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...ตามอ่านอยู่ค่ะ...

...แต่ยังอ่านไม่จบ...เพราชาดกแต่ละเรื่องยาวค่ะ...ต้องใช้เวลา...

...พอดีช่วงนี้ไปขึ้นดอยมาค่ะ...

...ขอบคุณพี่สิงห์สำหรับชาดกด้วยค่ะ...

...จะค่อยๆอ่านค่ะ...


สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก

                             เห็นหายหน้าไป  ก็ดีจะได้ไปหาอากาศบริสุทธิ์ตามดอย  เป็นประโยชน์กับร่างกาย

                             สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7372 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 11:47:01 »


                            ขอบคุณมาก ครับคุณเหยง

                            เรื่องทัวร์เขมร  เมื่อวานพี่ติ๋ว ก็ได้โทรศัพท์ มาถาม เพราะว่าถ้าไม่ไป อาจารย์พินิจ  ก็จะไม่ไป

                            แต่สงสัย  สมาคมเป็นคนจัดหรือเปล่า  เพราะโอนเงินไปทางคุณหลิว  มันไม่ถูกต้องตามหลักการ

                            ถ้าไม่ใช่สมาคมจัด  ขอไม่ไป ครับ

                            สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7373 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 12:23:05 »

๙ . วิฑูรชาดก (พระวิธูร)


ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญสัจจบารมี

                         คือความสัตย์. มีเรื่องเล่าว่าถึงวิฑูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ เป็นผู้ที่พระราชา และประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี

                          ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิฑูรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆแต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิฑูรบัณฑิตตัดสิน วิฑูรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการ เพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิฑูรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมา.

                            แม้ยักษ์จะหาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิฑูรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม ( ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เลื่อมใสและได้แสดงธรรมแก่พญานาค ในที่สุดก็ได้กลับสู่ กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่.



๙. วิ ฑู ร ช า ด ก  


                            ในเมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ พระราชาทรง พระนามว่า ธนัญชัย ทรงมีนักปราชญ์ประจำ ราชสำนักชื่อว่า วิธุร   วิธุรเป็นผู้มีวาจาฉลาด หลักแหลม เมื่อจะกล่าวถ้อยคำสิ่งใด ก็สามารถ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสคศรัทธาและ ชื่นชมยินดีในถ้อยคำนั้น

                            ในครั้งนั้น มีพราหมณ์อยู่ 4 คน เคยเป็นเพื่อน สนิทกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมาพราหมณ์ทั้งสี่ ได้ออกบวช เป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า หิมพานต์ และบางครั้งก็เข้ามาสั่งสอนธรรม แก่ผู้คนในเมืองบ้าง

                            ครั้งหนึ่งมี เศรษฐี 4 คน ได้อัญเชิญฤาษีทั้งสี่ ไปที่บ้านของตน เมื่อ ฤาษีบริโภคอาหารแล้ว ได้เล่าให้เศรษฐีฟังถึง สมบัติในเมืองต่างๆทีตนได้เคยไปเยือนมา ฤาษีองค์หนึ่งเล่าถึงสมบัติของพระอินทร์ องค์ที่สองเล่าถึง สมบัติของพญานาค องค์ที่สาม เล่าถึงสมบัติพญาครุฑ และองค์สุดท้ายเล่าถึง สมบัติของพระราชาธนัญชัย แห่งเมืองอินทปัตต์

                            เศรษฐีทั้งสี่ได้ฟังคำพรรณนา ก็เกิดความ เลื่อมใสอยากจะได้สมบัติเช่นนั้นบ้าง ต่างก็ พยายามบำเพ็ญบุญ ให้ทาน รักษาศีลและอธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดเป็นเจ้าขอสมบัติดังที่ต้องการ

                            ด้วยอำนาจแห่งบุญ ทาน และศีล เมื่อสิ้น อายุแล้ว เศรษฐีทั้งสี่ก็ได้ไปเกิดในที่ที่ตั้ง ความปรารถนาไว้ คือ คนหนึ่งไปเกิดเป็น ท้าวสักกะเทวราช คนที่สองไปเกิดเป็น พญานาคชื่อว่า ท้าววรุณ คนที่สามไปเกิดเป็น พญาครุฑ และคนที่สี่ไปเกิดเป็นโอรสพระเจ้าธนัญชัย

                            ครั้นเมื่อพระราชาธนัญชัยสวรรคตแล้ว ก็ได้ครอง ราชสมบัติในเมืองอินทปัตต์ต่อมา ทั้งท้าวสักกะ พญานาควรุณ พญาครุฑ และ พระราชา ล้วนมีจิตใจ ปรารถนาจะรักษาศีล บำเพ็ญธรรม ต่างก็ได้แสวงหาโอกาสที่จะรักษา ศีลอุโบสถและบำเพ็ญบุญ ให้ทาน อยู่เป็นนิตย์

                            วันหนึ่งบุคคลทั้งสี่เผอิญได้มาพบกันที่สระ โบกขรณี ด้วยอำนาจแห่งความผูกพันที่มี มาตั้งแต่ครั้งยังเกิด เป็นเศรษฐีสี่สหาย ทั้งสี่ คนจึงได้ทักทายปราศรัยกันด้วยไมตรี ขณะกำลังสนทนาก็ได้เกิดถกเถียงกันขึ้นว่า ศีลของใครประเสริฐที่สุด

                            ท้าวสักกะกล่าวว่า พระองค์ทรงละทิ้งสมบัติทิพย์ในดาวดึงส์ มา บำเพ็ญ พรตอยู่ในมนุษย์โลก ศีลของพระองค์ จึงบริสุทธิกว่าผู้อื่น

                            ฝ่ายพญานาควรุณกล่าวว่า ธรรมดาครุฑนั้น เป็นศัตรูตัวร้ายของนาค เมื่อตนได้พบกับพญาครุฑ กลับสามารถ อดกลั้นความโกรธเคืองได้ จึงนับว่า ศีลของ ตนบริสุทธิ์กว่าผู้อื่น

                             พญาครุฑกล่าวแย้งว่า ธรรมดานาคเป็นอาหารของครุฑ ตนได้พบ นาคแต่ สามารถอดกลั้นความอยากใน อาหารได้ นับว่าศีลของตนประเสริฐที่สุด

                             ส่วนพระราชาทรงกล่าวว่า พระองค์ได้ทรงละ พระราชวังอันเป็นสถานที่สำราญ พรั่งพร้อม ด้วยเหล่านารีที่เฝ้าปรนนิบัติ มาบำเพ็ญธรรม แต่ลำพังเพื่อประสงค์ความสงบ ดังนั้นจึงควร นับว่า ศีลของพระองค์ บริสุทธิ์ที่สุด ทั้งสี่ถกเถียงกันเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่สามารถ ตกลงกันได้ จึงชวนกันไปหาวิธุรบัณฑิต เพื่อให้ ช่วยตัดสิน

                             วิธุรบัณฑิตจึงถามว่า "เรื่องราวเป็น มาอย่างไรกัน ข้าพเจ้าไม่อาจตัดสินได้หากไม่ ทราบเหตุอันเป็นต้น เรื่องของปัญหาอย่างละเอียด ชัดเจนเสียก่อน" แล้วทั้งสี่ก็เล่าถึงเรื่องราวทั้งหมด

                             วิธุรบัณฑิตฟังแล้วก็ตัดสินว่า "คุณธรรมทั้งสี่ ประการนั้น ล้วนเป็นคุณธรรมอันเลิศทั้งสิ้น ต่างอุดหนุน เชิดชูซึ่งกันและกัน ไม่มีธรรมข้อไหน ต่ำต้อยกว่ากันหรือเลิศกว่ากัน บุคคลใดตั้งมั่น อยู่ในคุณธรรมทั้งสี่นี้ ถือได้ว่าเป็นสันติชนในโลก"

                             ทั้งสี่เมื่อได้สดับคำตัดสินนั้น ก็มีความชื่นชม ยินดีในปัญญาของวิธุรบัณฑิต ที่สามารถแก้ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผล ต่างคน ต่างก็ได้บูชาความสามารถของวิธุรบัณฑิต ด้วยของมีค่าที่เป็นสมบัติของตน

                              เมื่อพญานาควรุณกลับมาถึงเมืองนาคพิภพ พระนางวิมลา มเหสีได้ทูลถามขึ้นว่า "แก้ว มณีที่พระศอของ พระองค์หายไปไหนเพคะ"
 
                              พญานาควรุณตอบว่า "เราได้ถอดแก้วมณี ออกให้กับวิธุรบัณฑิต ผู้มีสติ ปัญญาเฉียบ แหลมมีวาจาอันประกอบด้วยธรรมไพเราะ จับใจเราเป็นอย่างยิ่ง และไม่ใช่แต่เราเท่านั้น ที่ได้ให้ของอันมีค่ายิ่งแก่วิธุรบัณฑิต ทั้งท้าว สักกะเทวราช พญาครุฑ และพระราชา ต่างก็ ได้มอบของมีค่าสูง เพื่อบูชาธรรมที่วิธุรบัณฑิต แสดงแก่เราทั้งหลาย"
 
                              พระนางวิมลาทูลถามว่า "ธรรมของวิธุร บัณฑิตนั้นไพเราะจับใจอย่างไร"

                               พญานาค ทรงตอบว่า "วิธุรบัณฑิตเป็นผู้มีปัญญา เฉียบแหลม รู้หลักคุณธรรมอันลึกซึ้ง และสามารถแสดงธรรมเหล่านั้น ได้อย่าง ไพเราะจับใจ ทำให้ผู้ฟังเกิดความชื่นชม ยินดีในสัจจะแห่งธรรมนั้น"
 
                               พระนางวิมลาได้ฟังดังนั้นก็เกิดความปราถนา จะได้ฟังวิธุรบัณฑิตแสดงธรรมบ้าง จึงทรงทำ อุบายว่าเป็นไข้ เมื่อพญานาควรุณทรงทราบก็ เสด็จไปเยี่ยมตรัสถามว่า พระนางป่วยเป็นโรค ใดทำอย่างไรจึงจะหาย จากโรคได้

                               พระนางวิมลา ทูลตอบว่า "หม่อมฉันไม่สบายอย่างยิ่ง ถ้าจะให้ หายจากอาการ ก็ขอได้โปรดประทานหัวใจ วิธุรบัณฑิตให้หม่อมฉันด้วยเถิด"

                               พญานาคได้ฟังก็ตกพระทัย ตรัสว่า วิธุรบัณฑิต เป็นที่รักใคร่ของผู้คนทั้งหลายยิ่งนัก คงจะไม่มี ผู้ใด สามารถล่วงล้ำเข้าไปเอาหัวใจวิธุรบัณฑิต มาได้

                               พระนางวิมลาก็แสร้งทำเป็นอาการป่วย กำเริบหนักขึ้นอีก พญานาควรุณก็ทรง กลัดกลุ้มพระทัยอย่างยิ่ง

                               ฝ่ายนางอริทันตี ธิดาพญานาคเห็นพระบิดา วิตกกังวลจึงถามถึงเหตุที่เกิดขึ้น พญานาควรุณ ก็เล่าให้นาง ฟัง นางอริทันตีจึงทูลว่า นางประสงค์ จะช่วยให้พระมารดาได้สิ่งที่ต้องการให้จงได้

                               นางอริทันตีจึงป่าวประกาศให้บรรดาคนธรรพ์ นาค ครุฑ มนุษย์ กินนร ทั้งปวงได้ทราบว่า หากผู้ใด สามารถนำหัวใจวิธุรบัณฑิตมาให้ นางได้ นางจะยอมแต่งงานด้วย

                               ขณะนั้น ปุณณกยักษ์ผู้เป็นหลานของ ท้าวเวสุวัณมหาราชผ่านมา ได้เห็นนางก็นึก รักอยากจะได้นางเป็น ชายา จึงเข้าไปหา นางและบอกกับนางว่า "เราชื่อปุณณกยักษ์ ประสงค์จะได้นางมาเป็นชายา จงบอกแก่ เราเถิดว่าวิธุรบัณฑิตเป็นใคร อยู่ที่ไหน เราจะ นำหัวใจของเขามาให้นาง"

                               เมื่อปุณณกยักษ์ ได้ทราบว่าวิธุรบัณฑิตเป็น มหาราชครูในราชสำนักพระเจ้าธนัญชัย  จึงดำริว่า "หากเรา ต้องการตัววิธุรบัณฑิต จะไปพามาง่ายๆ นั้น คงไม่ได้ ทางที่ดีเราจะ ต้องท้าพนันสกากับพระเจ้าธนัญชัย โดย เอาวิธุรบัณฑิตเป็นสิ่งเดิมพัน ด้วยวิธีนี้เราคง จะเอาตัววิธุรบัณฑิตมาได้"

                               คิดดังนั้นแล้ว ปุณณกยักษ์ก็ไปสู่ราชสำนัก ของพระราชาธนัญชัย และทูลพระราชาว่า "ข้าพระองค์มาท้า พนันสกา หากพระองค์ชนะ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะถวายแก้วมณีวิเศษอันเป็น สมบัติสำหรับพระจักรพรรดิ กับจะถวายม้าวิเศษ คู่บุญจักรพรรดิ"

                                พระราชาธนัญชัยทรงปรารถนาจะได้แก้วมณี และม้าแก้วอันเป็นของคู่บุญจักรพรรดิ จึงตอบ ปุณณกยักษ์ ว่าพระองค์ยินดีจะเล่นพนันสกา ด้วยปุณณกยักษ์ก็ทูลถามว่า หากพระราชาแพ้พนัน จะให้อะไร เป็น เดิมพัน
 
                                พระราชาก็ทรงตอบว่า "ยกเว้นตัวเรา เศวตฉัตร และมเหสีแล้ว เจ้าจะเอา อะไรเป็นเดิมพันเราก็ ยินยอมทั้งสิ้น"

                                ปุณณกยักษ์ พอใจคำตอบ จึงตกลงเริ่มทอดสกาพนัน ปรากฏว่าพระราชาทรงทอดสกาแพ้ ปุณณก ยักษ์จึงทวงทรัพย์เดิมพัน โดยทูลพระราชาว่า "ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น ขอแต่วิธุรบัณฑิตแต่ผู้เดียวเป็นรางวัลเดิมพันสกา"

                                พระราชาตกพระทัย ตรัสกับปุณณกยักษ์ว่า "อันวิธุรบัณฑิตนั้นก็เปรียบได้กับตัวเราเอง เราบอกแล้วว่า ยกเว้นตัวเรา เศวตฉัตร และ มเหสีแล้ว เจ้าจะขออะไรก็จะให้ทั้งนั้น"

                                ปุณณกยักษ์ทูลว่า "เราอย่ามาโต้เถียงกันเลย ขอให้วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ตัดสินดีกว่า"

                                เมื่อ พระราชาให้ไปตามวิธุรบัณฑิตมา ปุณณก ยักษ์ก็ถามว่า "ท่านเป็นทาสของพระราชา หรือว่าท่านเสมอกับพระราชา หรือสูงกว่า พระราชา"

                                วิธุรบัณฑิตตอบว่า "ข้าพเจ้า เป็นทาสของพระราชา พระราชาตรัสสิ่งใด ข้าพเจ้าก็ จะทำตาม ถึงแม้ว่าพระองค์จะ พระราชทานข้าพเจ้าเป็นค่าพนัน ข้าพเจ้า ก็จะยินยอมโดยดี"
 
                                 พระราชาได้ทรงฟังวิธุรบัณฑิตตอบดังนั้น ก็เสียพระทัยว่า วิธุรบัณฑิตไม่เห็นแก่ พระองค์กลับไปเห็นแก่ ปุณณกยักษ์ ซึ่ง ไม่เคยได้พบกันมาก่อนเลย

                                 วิธุรบัณฑิต จึงทูลว่า "ข้าพระองค์จักพูดในสิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่ เป็นธรรมเสมอ ข้าพระองค์ จักไม่ หลีกเลี่ยงความเป็นจริงเป็นอันขาด วาจา อันไพเราะนั้นจะมีค่าก็ต่อ เมื่อประกอบ ด้วยหลักธรรม"

                                 พระราชาได้ฟังก็ทรงเข้าพระทัย แต่ก็มี ความโทมนัสที่จะสูญเสียวิธุรบัณฑิตไป จึงขออนุญาตปุณณกยักษ์ ให้วิธุรบัณฑิต ได้แสดงธรรมแก่พระองค์เป็นครั้งสุดท้าย ปุณณกยักษ์ก็ยินยอม

                                 วิธุรบัณฑิตจึงได้แสดง ธรรมของผู้ครองเรือนถวายแด่พระราชา

                                 ครั้นเมื่อแสดงธรรมเสร็จแล้ว ปุณณกยักษ์ก็ สั่งให้วิธุรบัณฑิตไปกับตน เพราะพระราชา ได้ยกให้เป็นสิน พนันแก่ตนแล้ว

                                 วิธุรบัณฑิต จึงกล่าวแก่ปุณณกยักษ์ว่า "ขอให้ข้าพเจ้า มีเวลาสั่งสอนบุตรและภรรยาสักสามวันก่อน ท่านก็ได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้าพูดแต่ความเป็นจริง พูดโดยธรรม มิได้เห็นแก่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่ง สิ่งใด ยิ่งไปกว่าธรรม ท่านได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้า มีคุณ แก่ท่าน ในการที่ทูลความเป็นจริงแก่พระราชา ฉะนั้นขอให้ท่านยินยอมตามความประสงค์ ของข้าพเจ้าเถิด"

                             ปุณณกยักษ์ได้ฟังดังนั้น ก็เห็นจริงในถ้อยคำ ที่วิธุรบัณฑิตกล่าว จึงยินยอมที่จะพักอยู่เป็น เวลาสามวัน เพื่อให้วิธุรบัณฑิตมีเวลาสั่งสอน บุตรภรรยา

                             วิธุรบัณฑิตจึงเรียกบุตรภรรยา มาเล่าให้ทราบความที่เกิดขึ้น แล้วจึงสอนบุตร ธิดาว่า "เมื่อพ่อไปจากราชสำนักพระราชา ธนัญชัยแล้ว พระองค์อาจจะทรงไต่ถามเจ้า ทั้งหลายว่า พ่อได้เคยสั่งสอนธรรมอันใดไว้บ้าง เมื่อพวกเจ้ากราบทูลพระองค์ไป หากเป็นที่พอ พระทัยก็ อาจจะตรัสอนุญาตให้เจ้า นั่งเสมอ พระราชอาสน์ เจ้าจงจดจำไว้ว่า ราชสกุลนั้น จะมีผู้ใดเสมอมิได้เป็นอันขาด จงทูลปฏิเสธ พระองค์ และนั่งอยู่ในที่อันควรแก่ฐานะของตน"

                              จากนั้น วิธุรบัณฑิตก็แสดงธรรมชื่อว่า ราชวสดีธรรม  อันเป็นธรรมสำหรับข้าราชการ จะพึงปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงานและเพื่อเป็นหลักสำหรับ ยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่และการแก้ไข ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
 
                              วิธุรบัณฑิตกล่าวในที่สุด ว่า"เป็นข้าราชการต้องเป็นผู้สุขุมรอบคอบ ฉลาดในราชกิจ สามารถจัดการต่างๆ ให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย รู้จักกาล รู้จักสมัย ว่าควรปฏิบัติอย่างไร"

                              เมื่อได้แสดงราชวสดีธรรมแล้ว วิธุรบัณฑิต จึงได้ออกเดินทางไปกับปุณณกยักษ์

                              ในระหว่าง ทางปุณณยักษ์คิดว่า เราเอาแต่หัวใจของวิธุร บัณฑิตไปคงจะสะดวกกว่าพาไปทั้งตัว คิดแล้ว ก็พยายามจะ ฆ่าวิธุรบัณฑิตด้วยวิธีต่างๆ แต่ ก็ไม่เป็นผล ในที่สุดวิธุรบัณฑิตจึงถามว่า "ความจริงท่านเป็นใคร ท่านต้องการจะฆ่าข้าพเจ้าทำไม"

                               ปุณณกยักษ์จึงเล่าความเป็นมาทั้งหมด วิธุรบัณฑิตหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญาว่า ที่แท้นั้นพระนางวิมลา ปราถนาจะได้ฟังธรรมอันเป็นที่ เลื่องลือของตนเท่านั้น จึงคิดว่าควรจะแสดง ธรรมแก่ปุณณกยักษ์ เพื่อมิให้หลงผิด กระทำการอันมิควรกระทำ

                                ครั้นแล้ววิธุรบัณฑิต จึงได้แสดงธรรมชื่อว่า สาธุนรธรรม ธรรมของคนดี แก่ปุณณกยักษ์ มีใจความว่า บุคคลที่มีอุปการคุณ ชื่อว่าเป็นผู้เผาฝ่ามืออันชุ่มเสีย แลัวยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายต่อมิตรด้วย อนึ่ง ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของสตรีที่ประพฤติการอันไม่สมควร

                                ปุณณกยักษ์ได้ฟังธรรม ก็รู้สึกในความผิดว่า วิธุรบัณฑิตมีอุปการคุณแก่ตน ไม่ควรจะกระทำร้ายหรือแม้ แต่คิดร้ายต่อวิธุรบัณฑิต ปุณณก ยักษ์จึงตัดสินใจว่าจะพาวิธุรบัณฑิตกลับ ไปยังอินทปัตต์ ตนเองจะไม่ตั้ง ความปรารถนา ในนางอริทันตีอีกต่อไปแล้ว

                                เมื่อวิธุรบัณฑิต ทราบถึงการตัดสินใจของปุณณกยักษ์จึง กล่าวว่า "นำข้าพเจ้าไปนาคพิภพเถิด ข้าพเจ้า ไม่เกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่เคย ทำความชั่ว ไว้ในที่ใด จึงไม่เคยรู้สึกกลัวว่า ความตายจะมาถึงเมื่อไร"
 
                                ปุณณกยักษ์จึงนำวิธุรบัณฑิตไปเฝ้า พญานาควรุณในนาคพิภพ เมื่ออยู่ต่อหน้า พญานาควรุณ วิธุรบัณฑิต ทูลถามว่า สมบัติในนาคพิภพนี้ พญานาควรุณได้มา อย่างไร พญานาควรุณตรัสตอบว่า ได้มา ด้วยผลบุญ เมื่อครั้งที่ได้บำเพ็ญธรรม รักษาศีลและให้ทานในชาติก่อนที่เกิด เป็นเศรษฐี

                                วิธุรบัณฑิตจึงทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ก็แสดงว่าพญานาควรุณทรงตระหนักถึง กรรม และผลแห่งกรรมดี ขอให้ทรงประกอบ กรรมดีต่อไป แม้ว่าในเมืองนาคนี้จะไม่มีสมณ ชีพราหมณ์ที่พญานาคจะบำเพ็ญทานได้ ก็ขอให้ทรงมีเมตตาแก่บุคคล ทั้งหลายใน เมืองนาคนี้ อย่าได้ประทุษร้ายแก่ผู้ใดเลย หากกระทำได้ดังนั้นก็จะได้เสด็จไปสู่เทวโลก ที่ดียิ่งกว่านาคพิภพนี้

                                 พญานาควรุณได้ฟังธรรมอันประกอบด้วย วาจาไพเราะของวิธุรบัณฑิตก็มีความพอ พระทัยเป็นอันมาก และตรัสให้พาพระนางวิมลา มาพบวิธุรบัณฑิต เมื่อพระนางทอดพระเนตร เห็นวิธุรบัณฑิตก็ได้ถามว่า "ท่านตกอยู่ใน อันตรายถึงเพียงนี้ เหตุใดจึงไม่มีอาการ เศร้าโศกหรือหวาดกลัวแต่อย่างใด"

                                วิธุรบัณฑิตทูลตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่เคยทำความชั่ว จึงไม่กลัวความตาย ข้าพเจ้ามีหลักธรรม และมีปัญญา เป็นเครื่องประกอบตัว จึงไม่หวั่น เกรงภัยใดๆ ทั้งสิ้น"

                                พญานาควรุณและพระนางวิมลาพอพระทัย ในปัญญาและความมั่นคงในธรรมของวิธุรบัณฑิต
 
                                พญานาควรุณจึงตรัสว่า "ปัญญานั้นแหละคือหัวใจ ของบัณฑิต หาใช่หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อไม่"

                                จากนั้นพญานาควรุณก็ได้ยกนางอริทันตี ให้แก่ปุณณกยักษ์ ผู้ซึ่งมีดวงตาสว่างไสว ขึ้นด้วยธรรมของวิธุรบัณฑิต พ้นจากความหลง ในสตรีคือนางอริทันตี แล้วสั่งให้ปุณณกยักษ์พา วิธุรบัณฑิตไปส่งยังสำนักของ พระราชาธนัญชัย พระราชาทรงโสมนัสยินดีอย่างยิ่ง ตรัสถาม วิธุรบัณฑิตถึงความเป็นไปทั้งหลาย วิธุรบัณฑิต จึงทูลเล่า เรื่องราวทั้งสิ้น และกราบทูลในที่ สุดท้ายว่า

                             " ธรรมเป็นสิ่งสูงสุด บุคคลผู้มี ธรรมและปัญญาย่อมไม่หวั่นเกรงภยันตราย ย่อมสามารถเอาชนะภยันตรายทั้งปวงด้วย คุณธรรมและด้วยปัญญาของตน การแสดงธรรม แก่บุคคล ทั้งหลายนั้นคือการแสดงความจริง ให้ประจักษ์ด้วยปัญญา "

คติธรรม : บำเพ็ญสัจจบารมี

"เหตุแห่งความพิบัติคือการพนัน และการมีเมตตาจิตย่อมส่งผลให้ได้รับเมตตาจิตตอบด้วยในที่สุด"


  


วิธุรบัณฑิต จึงทูลว่า "ข้าพระองค์จักพูดในสิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่ เป็นธรรมเสมอ ข้าพระองค์ จักไม่ หลีกเลี่ยงความเป็นจริงเป็นอันขาด วาจา อันไพเราะนั้นจะมีค่าก็ต่อ เมื่อประกอบ ด้วยหลักธรรม"

 
                           เมื่อวิธุรบัณฑิต ทราบถึงการตัดสินใจของปุณณกยักษ์จึง กล่าวว่า "นำข้าพเจ้าไปนาคพิภพเถิด ข้าพเจ้า ไม่เกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่เคย ทำความชั่ว ไว้ในที่ใด จึงไม่เคยรู้สึกกลัวว่า ความตายจะมาถึงเมื่อไร"
 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7374 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2555, 13:15:41 »

ชาดก คือ ?



                         ขอยกคำอธิบายด้วยข้อมูลในพระไตรปิฏก ดังนี้
       
                         ...

                          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกายชาดก ภาค ๑

                          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทานเรื่องละเอียดมีเล่าไว้ในอรรถกถา คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง

                          คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย

                          กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้

                          ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ

                           อนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี ๕๕๐ เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า ในเล่มที่ ๒๗ มี ๕๒๕ เรื่อง, ในเล่มที่ ๒๘ มี ๒๒ เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๕๔๗ เรื่อง ขาดไป ๓ เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก


                          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดกภาค ๒

                          ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็กๆน้อยๆรวมกันถึง ๕๒๕ เรื่อง แต่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ นี้มีเพียง ๒๒ เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาวๆทั้งนั้น โดย ๑๒ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ ส่วน ๑๐ เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ

 
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 293 294 [295] 296 297 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><