05 กรกฎาคม 2567, 04:15:26
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 207 208 [209] 210 211 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3351975 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 18 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #5200 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 10:45:56 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 26 มกราคม 2555, 10:44:38
อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 26 มกราคม 2555, 09:48:04
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 24 มกราคม 2555, 07:41:21
                   

                       "งดการทำชั่ว  กระทำแต่ความดี  ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส" เป็นสิ่งที่ชาวพุทธ ควรปฏิบัติอยู่เป็นนิจ
                       




สวัสดีครับพี่สิงห์ ... ตามความเข้าใจของผม ....


"งดการทำชั่ว  กระทำแต่ความดี  ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส"  ปิ๊งๆ


น่าจะเป็น แก่นของ พุทธศาสนา หรือเปล่าครับ ?

               
                 ถ้าติดตามอ่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต) ท่านบอกเป็นหัวใจของพุทธศาสนา

                 แก่นจริงๆ ก็ต้อง "ทุกข์และทางพ้นทุกข์" เพราะพระพุทธองค์ท่านสอนอยู่เรื่องเดียว ครับ

                 สวัสดี


กราบขอบพระคุณครับพี่สิงห์ ... ติดตามอ่านต่อ นะครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5201 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 10:55:27 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                       เมื่อเช้าผมอยู่บ้าน  จึงได้ตื่นมาปฏิบัติธรรมเช้ามืด และหุงข้าวใส่บาตรเณรที่หน้าบ้าน ครับ

                       ผมมาถึงโรงพยาบาลสิงห์บุรี มาเฝ้าแม่ ฝ่ายรังสี  มาพอดีเพื่อ X-ray ปอด จึงต้องจับแม่นอนหงาย เพราะคนดูแลออกไปทำธุระข้างนอก เลยทำให้แม่นอนทับแผล เลยร้องเจ็บ  ก็ดีทำให้รู้สึกตัวครับ

                       ผมเลยมีเวลา ขอนำ "หัวใจพุทธศาสนา" ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต) มาลงให้ทุกท่านได้อ่านต่อเพื่อเจริญปัญญา ครับ

                       สวัสดี  
       
             




หัวใจพุทธศาสนา

ตอน ๔

ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก   ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจ

ก็ปฏิบัติไม่ถูก   และไม่มีทางบรรลุธรรม


                             เมื่อพูดถึงอริยสัจ ๔  ก็เลยจะต้องพูดถึงหน้าที่ต่อ อริยสัจ ด้วย  เมื่อกี้นี้ได้พูดไปแล้วว่า  พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงรู้เข้าใจอริยสัจ ๔  โดยมี “ญาณทัศนะ” ครบทั้ง ๓ อย่างในอริยสัจ ๔ แต่ละข้อ  ซึ่งเมื่อรวมแล้ว ๓ คูณ ๔ เป็น ๑๒ ก็จะไม่ “ปฏิญาณ” ว่าได้ ตรัสรู้แล้ว

      ดังนั้น  เราจะรู้อริยสัจอย่างเดียวไม่ได้  ต้องรู้หน้าที่ต่ออริยสัจและปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจให้สำเร็จด้วย  การเรียนอริยสัจโดยไม่รู้หน้าที่ต่ออริยสัจอาจจะทำให้เข้าใจสับสน

      พระพุทธเจ้าตรัส กิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจ ๔ ไว้ครบถ้วนแล้วแต่ละอย่าง ๆ

      ๑. หน้าที่ต่อทุกข์  คือ “ปริญญา”  แปลว่า  กำหนดรู้  รู้เท่าทัน  จับตัวมันให้ได้

      ๒. หน้าที่ต่อสมุทัย  คือ  “ปหานะ”  แปลว่า  ละหรือกำจัด

      ๓. หน้าที่ต่อนิโรธ  เรียกว่า  “สัจฉิกิริยา”  แปลว่า  ทำให้แจ้ง  คือบรรลุถึงนั่นเอง

      ๔. หน้าที่ต่อมรรค  เรียกว่า  “ภาวนา”  แปลว่า  บำเพ็ญ  ก็คือปฏิบัติ  ลงมือทำ  ทำให้เกิด  ทำให้มีขึ้น

      ๑). ทุกข์...เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร  พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ทุกขัง  ปริญเญยยัง” ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน  ภาษาพระแปลกันว่า “กำหนดรู้”  ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้  ปริญเญยยัง นี่เป็นคุณศัพท์  ถ้าใช้เป็นคำนามก็เป็นปริญญา  ที่เราเอามาใช้เป็นชื่อของการสำเร็จการศึกษา

      ทุกข์...เรามีหน้าที่รู้จักมัน  รู้ทันมัน  เรียกว่า “ปริญญา”  ทุกข์นั้นเป็นตัวปัญหา  เป็นปรากฏการณ์  ท่านเปรียบเหมือนกับ “โรค”

      ในทางร่างกายของเรานี่  เมื่อเรามีโรค  เราก็จะแก้ไขบำบัดหรือกำจัดโรค  แต่พอเอาเข้าจริงเรากำจัดโรคไม่ได้  แต่เราต้องเรียนรู้จักโรค  เหมือนหมอจะแก้ไขโรค  ต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร  เป็นที่ไหน ตรงไหน  เพราะฉะนั้น  นอกจากต้องรู้โรคแล้ว  ต้องรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคด้วย

      ทำนองเดียวกัน  ในข้อทุกข์นี้ จึงไม่ใช่เรียนเฉพาะปัญหา  แต่เรียนชีวิตซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย  หมายความว่า  ทุกข์คือปัญหา  เกิดที่ไหน  มันเกิดที่ชีวิตหรือเกิดในโลก  เราก็ต้องรู้จักโลก  รู้จักชีวิต

      เหมือนกับแพทย์จะแก้ไขโรค  เวลาเรียนเริ่มที่อะไร  ก็ต้องไปเรียนตั้งแต่ anatomy (กายวิภาค)  ต้องไปเรียน physiology (สรีรวิทยา) แทนที่จะเริ่มเรียนที่โรค  ก็ไปเรียนที่ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรค  เช่นเดียวกับเราจะแก้ไขทุกข์  เราต้องเรียนรู้เข้าใจชีวิต  ตลอดถึงโลกที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์  ซึ่งในที่สุดปัญหาเกิดที่ชีวิต  ถ้าเราไม่เข้าใจชีวิต  เราก็แก้โรคของมันคือปัญหาหรือทุกข์ไม่ได้  เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกัน

      ดังนั้น  ในข้อทุกข์นี้ ความหมายจึงคลุมทั้งตัวปัญหาและสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา  โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์นี่เราจะต้องเข้าใจ  คือปริญญามัน

      ทุกข์ ก็คือความผันแปรผันบีบคั้นกระทบกระแทก  ซึ่งเกิดเป็นปัญหาแก่ชีวิต  เหมือนกับโรค  ก็คือความแปรปรวน วิปริต ผิดปกติของร่างกาย  เช่นอวัยวะบางส่วนถูกบีบคั้น บ่อนเบียน กระทบกระแทก เสียดแทง  ตลอดจนทำงานไม่ปกติ  เมื่อเรียนรู้จักร่างกายและระบบการทำงานของมันแล้ว  ก็กำหนดรู้โรคที่จะบำบัดแก้ไขได้  นี่ก็เช่นเดียวกัน  การจะกำหนดรู้ทุกข์ก็ต้องรู้จักชีวิตและดูที่ชีวิต (นามรูป/ขันธ์ ๕) นี่แหละ

      ๒).   พอรู้โรคว่าเป็นโรคอะไร  จับได้แล้ว  ก็ต้องสืบสาวหาสาเหตุของโรค  สมุทัย ได้แก่ตัวเชื้อโรคที่เราจะต้องกำจัด  หรือความบกพร่องทำงานผิดปกติของร่างกายที่จะต้องปรับแก้  เวลาแก้ไขบำบัดโรคนี่  เราไม่ได้แก้ไม่ได้กำจัดตัวโรคนะ  เช่น  เราไม่ได้ขจัดความปวดหัว  เราต้องขจัดสาเหตุของความปวดหัว  ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะแก้ได้แต่อาการ  ยาจำนวนมากได้แค่ระงับอาการใช่ไหม  เช่น  ระงับอาการปวดหัว

      ตราบใดที่เรายังไม่ได้กำจัดเหตุของการปวดหัว  เราก็แก้โรคปวดหัวไม่สำเร็จ

      ฉะนั้น  ในข้อที่หนึ่งนี้เราจึงเรียนรู้จักทุกข์  เหมือนกับแพทย์ที่วินิจฉัยโรคให้ได้  ต่อจากนั้นก็สืบสาวหาตัวสาเหตุของโรค  ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อโรคหรือความบกพร่องของอวัยวะ  ไม่ใช่เชื้อโรคอย่างเดียว

      บางทีการเป็นโรคนั้นเกิดจากการกระทบ กระทั่งกับสิ่งแวดล้อม  ความบกพร่องของอวัยวะ  หรือการทำงานวิปริต  หรือความแปรปรวนต่าง ๆ  ซึ่งจะต้องจับให้ได้  เพราะเมื่อมีโรคก็ต้องมีสมุฏฐานหรือ สมุทัย

      สมุทัย นี้แหละเป็นตัวที่ต้องแก้ไขหรือกำจัด  หน้าที่ต่อสมุทัย เรียกว่า “ปหานะ”

      ๓). ต่อไปเมื่อจะกำจัดโรค  เราต้องมีเป้าหมายว่าเราจะเอาอะไรและจะทำได้แค่ไหน  จุดหมายอะไรที่เราต้องการ  กำหนดให้ได้  อันนี้เรียกว่า นิโรธ...รู้ว่าเราต้องการอะไร  และรู้ความเป็นไปได้ในการแก้ไข  คนที่ไม่มีความชัดเจน  ว่าเราต้องการอะไร  มีความเป็นไปได้อย่างไร  ก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ

      แพทย์ก็ต้องวางเป้าหมายในการรักษาเหมือนกันว่ามันเป็นไปได้แค่ไหน  เราจะเอาอะไรเป็นจุดหมายในการรักษานี้  แล้วก็ทำไปให้ได้  ให้บรรลุจุดหมายนั้น  เรียกว่า “สัจฉิกิริยา”  แปลว่าทำให้ประจักษ์แจ้ง  ทำให้เป็นจริงขึ้นมา  คือทำให้สำเร็จหรือบรรลุถึง

      ๔). พอวางเป้าหมายเสร็จก็มาถึงขั้นลงมือปฏิบัติ  จะผ่าตัดให้ยา  และให้คนไข้ปฏิบัติตัวบริหารร่างกายอย่างไร  วิธีรักษาทั้งหมดมาอยู่ในข้อ ๔ คือ มรรค  เป็นขั้นที่ต้องลงมือทำ  เรียกว่า “ภาวนา”  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่  มีรายละเอียดมากมาย

      เพราะฉะนั้น อริยสัจ ๔ จึงเป็นวิธีการวิทยาศาสตร์  จะใช้ในการสอนก็ได้  ในการรักษาโรคก็ได้  แพทย์ก็ใช้วิธีการนี้
   


“ ทุกข์สำหรับเห็น  แต่สุขสำหรับเป็น ”

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต)
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5202 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 12:08:25 »

พี่สิงห์


ผล X-rays เป็นอย่างไร ครับ??..แต่ปอดน่าจะปกติน่ะ
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #5203 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 12:31:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 25 มกราคม 2555, 21:06:57

                     
                        ก่อนกลับได้ยืนคุยกับอดิสร ตรงข้ามวัดหัวลำโพง และขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินกลับบ้าน เวลาซื้อตั๋ว ผมส่งบัตรประชาชนให้ดูเพื่อซื้อตั๋วครึ่งราคาตามสิทธิผู้สูงวัยย์  คนขายตั๋วยิ้มๆ ไม่รู้เขาคิดอะไรกับเราเป็นสุภาพสตรี

                        ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ

พี่สิงห์ครับ
ขอคุณแม่พี่สิงห์อย่าได้เจ็บปวดหรือทรมานใดๆ
บอกท่านด้วย พี่สิงห์จะไปทำบุญที่อินเดียต้นเดือนหน้า
ท่านจะได้อนุโมทนาร่วมกับพี่สิงห์ รอวันที่จะนำบุญมาฝากท่าน

ส่วนเรื่องการขอลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน
พี่สิงห์ต้องทำบัตรผู้สุงอายุโดยนำบัตรประชาชนไปแสดง
ต่อจากนั้นพี่สิงห์จะจ่ายค่าโดยสารเพียงครึ่งเดียวไปตลอด
เป็นประเภทบัตรเติมเงินไปเรื่อยๆทุกครั้งเงินหมดเราค่อยเพิ่มได้
ส่วนรถไฟฟ้า bts เขาไม่มีบัตรครึ่งราคา เขามีแต่บัตรโดยสาร15หรือ20เที่ยวเป็นต้น
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5204 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 14:01:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 26 มกราคม 2555, 12:31:21
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 25 มกราคม 2555, 21:06:57

                     
                        ก่อนกลับได้ยืนคุยกับอดิสร ตรงข้ามวัดหัวลำโพง และขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินกลับบ้าน เวลาซื้อตั๋ว ผมส่งบัตรประชาชนให้ดูเพื่อซื้อตั๋วครึ่งราคาตามสิทธิผู้สูงวัยย์  คนขายตั๋วยิ้มๆ ไม่รู้เขาคิดอะไรกับเราเป็นสุภาพสตรี

                        ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ

พี่สิงห์ครับ
ขอคุณแม่พี่สิงห์อย่าได้เจ็บปวดหรือทรมานใดๆ
บอกท่านด้วย พี่สิงห์จะไปทำบุญที่อินเดียต้นเดือนหน้า
ท่านจะได้อนุโมทนาร่วมกับพี่สิงห์ รอวันที่จะนำบุญมาฝากท่าน

ส่วนเรื่องการขอลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน
พี่สิงห์ต้องทำบัตรผู้สุงอายุโดยนำบัตรประชาชนไปแสดง
ต่อจากนั้นพี่สิงห์จะจ่ายค่าโดยสารเพียงครึ่งเดียวไปตลอด
เป็นประเภทบัตรเติมเงินไปเรื่อยๆทุกครั้งเงินหมดเราค่อยเพิ่มได้
ส่วนรถไฟฟ้า bts เขาไม่มีบัตรครึ่งราคา เขามีแต่บัตรโดยสาร15หรือ20เที่ยวเป็นต้น

                 
                  ไม่ได้ขึ้นประจำ นาน ๆที ใช้บัตรประชาชนจ่ายเงินสดอย่างนี้ดีแล้ว

                  ปล่อยเขา  บางทีเขาอาจเห็นว่าเราดูหนุ่ม  แต่งตัวดี  ท่าทางดี ไม่ดือดร้อน ไม่ควรขอลดครึ่งราคา

                  ส่วนเรามองว่า เราต้องการแสดงสิทธิของเราในฐานะผู้สูงอายุ  ตามสิทธิทางกฏหมาย

                  สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5205 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 14:09:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 26 มกราคม 2555, 12:08:25
พี่สิงห์


ผล X-rays เป็นอย่างไร ครับ??..แต่ปอดน่าจะปกติน่ะ


สวัสดีครับ คุณเหยง

              ผมไม่ทราบ  เพราะว่าเขาไม่ได้บอกผม  น่าจะไม่มีอะไร

              ตอนนี้แม่มีแผลที่แก้มก้นด้านขวาเท่าหัวนิ้วมือ เท่านั้น กลางหลังไม่มีแล้ว  แผลตายที่นิ้วโป้งดำ  ตกสะเก็ดลอกออกไป รามขึ้นมาช้าๆ จุดอื่นเป็นเพียงฟกช้ำ และอาการบวมจากกล้ามเนื้อกดทับเส้นเลือด  จึงต้องพลิกตัวบ่อยๆ คงพ้นขีดอันตรายแล้ว  แม่มีสติดี  จึงให้อยู่โรงพยาบาลจนแผลหายดีแล้ว  จึงจะพากลับบ้าน เพื่อความสะดวกของคนดูแล  ใจจริงอยากอยู่อย่างนี้ตลอดไปเพราะเสียเงินเพียง วันละร้อยบาทเท่านั้นในส่วนต่างที่จะต้องเสีย

               ผมคงไปอินเดียได้  สุขภาพจิตน้องสาวดีขึ้น  ไม่ร้องให้เวลานำแม่สวดมนต์ไหว้พระประจำวันอีกแล้ว  แสดงว่าเขารู้ว่าแม่ยังอยู่อีกนาน ครับ

                สวัสดี
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #5206 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 15:06:01 »

เรื่องการพิมพ์หนังสือให้อ่าน ผมล้อเล่น
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5207 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 15:38:38 »

พี่สิงห์

กลับ/พลิกตัว ทุก 2 ชั่วโมง ตามเลขคู่ครับ คือ เที่ยง, 2 โมง, 4 โมง, 6 โมง, 8 โมง, ........
นี่เป็นสูตรของแพทย์ครับ ผมพบทั้งที่ รพ. สปร. นครสวรรค์ และ รพ.ศูนย์นครปฐม ไม่น้อยและมากเกินไป
      บันทึกการเข้า
Angy20
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2520
คณะ: บัญชี
กระทู้: 252

« ตอบ #5208 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 15:51:04 »

ขอให้คุณแม่หายไวๆ นะค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5209 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 20:41:03 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 26 มกราคม 2555, 15:38:38
พี่สิงห์

กลับ/พลิกตัว ทุก 2 ชั่วโมง ตามเลขคู่ครับ คือ เที่ยง, 2 โมง, 4 โมง, 6 โมง, 8 โมง, ........
นี่เป็นสูตรของแพทย์ครับ ผมพบทั้งที่ รพ. สปร. นครสวรรค์ และ รพ.ศูนย์นครปฐม ไม่น้อยและมากเกินไป

               
                 นานเกินไปครับคุณเหยง จากการสังเกต เพราะมันจะทับเส้นเลือด ทำให้บวมมาก

                 ตอนนี้พลิกทุกหนึ่งชั่วโมง ลดอัตราการบวมลงได้

                 แต่วันนี้ แม่มีอาการเพิ่มคือ กลางวันแม่ไม่ยอมลืมตาเมื่อวานยังลืมอยู่เลย  ทั้งๆที่พูดรู้เรื่อง แต่กลางคืนลืมตา  ก็ต้องแก้กันไป แก้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

                 เมื่อกลางวันภายหลังจากแม่สวดมนต์กับน้องสาวแล้ว  ผมบอกแม่ว่า ผมจะไปอินเดียไปพุทธสถาน ๔ แห่ง ไปรำลึกถึงพระพุทธเจ้า แม่รู้จักไหมพระพุทธเจ้า  แม่บอกว่ารู้จัก  ผมบอกว่าผมจะไปแสวงบุญเอาบุญมาเผื่อแม่  แม่รอผมกลับมาได้ไหม  แม่บอกว่ารอได้ ไปเถอะไม่ต้องห่วง  ทำให้ผมหมดกังวล และน้องสาวคิดว่าไม่มีอะไร ผมคงไปอินเดียได้  ตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้

                  พรุ่งนี้เช้าผมอยู่บ้าน ทำให้ได้มีโอกาส หุงข้าว ใส่บาตรพระตอนเช้า และช่วงบ่ายเดินทางไปนครศรีธรรมราช และกลับเย็นวันเสาร์ และวันอาทิตย์ไปสิงห์บุรีไปเฝ้าแม่ ทำให้ผมไม่ได้ไปเขื่อนจุฬาภรณ์ เพราะงานก็จำเป็นต้องทำ แม่ก็ต้องดูแล  ต้องเลือกครอบครัวก่อน  ต้องขออภัยด้วยครับ

                   ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5210 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 20:42:57 »

อ้างถึง
ข้อความของ Angy20 เมื่อ 26 มกราคม 2555, 15:51:04
ขอให้คุณแม่หายไวๆ นะค่ะ
                 
                   ขอบคุณมากค่ะ คุณน้อง  Angy 20 และพี่สิงห์ขอโทษ ด้วยที่ไม่ได้ไปเขื่อนจุฬาภรณ์ ครับ

                    สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5211 เมื่อ: 26 มกราคม 2555, 20:46:01 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 26 มกราคม 2555, 15:06:01
เรื่องการพิมพ์หนังสือให้อ่าน ผมล้อเล่น

                   
                     ไม่เป็นไร  ผมทราบดี  ต้องมีความพยายามและตั้งใจจริงๆ เพราะมันเสียเวลามาก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5212 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 07:57:12 »




แม่ได้สูญเสียลูกชาย พี่หมอขุนทอง  กลับดี  ไปตั้งแต่เรียนจบแพทย์ศิริราช

เหลือเพียง นายแพทย์กิตติศักดิ์  กลับดี  อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ครับ



อาหารใส่บาตรพระ เช้านี้ครับ

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                       วันนี้ผมก็ได้กระทำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ในวันนี้ คือ การหุงข้าว ใส่บาตรพระตอนเช้า  ที่หน้าบ้าน ในฐานะพุทธสานิกชน

                       หลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จ  เตรียมอาหารเช้าให้หลานสาว  ฝนก็ตกทันที  

                       ความจริงเป็นหน้าหนาวแท้ ๆ ขณะนี้ ยังไม่ผ่านมาถึงหน้าร้อน เลย กลับมาเป็นหน้าฝนเสียแล้ว  อากาศเปลี่ยนไปตามธรรมชาติที่เปลี่ยนไป จากน้ำมือมนุษย์ที่อยู่ในความประมาท คือทำลายธรรมชาติ  ธรรมชาติจึงมาก่อทุกข์ให้กับมนุษย์

                       เช้านี้ขอให้ทุกท่าน " ละเว้นการทำชั่ว  กระทำแต่ความดี  และทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส นั่นคือ ศีล  สมาธิ  และปัญญา " ที่พระพุทะองค์ทรงสอนให้มนุษย์ อยู่ในความไม่ประมาท  ให้ประพฤติ ปฏิบัติตาม  จะประสบแด่ความสุข  ความเจริญ สังคมเป็นสุข ประเทศชาติเป็นสุข และโลกเป็นสุข ด้วยครับ

                       และเช่นเคย ขอนำเอา "หัวใจพุทธศาสนา" ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต) มานำเสนอให้ทุกท่านได้เจริญปัญญา ครับ

                        สวัสดี




-๑-

หัวใจพุทธศาสนา

ตอน ๕

อริยสัจ   คือธรรมที่นำเสนอเป็นระบบปฏิบัติการ

ให้มนุษย์บริหารประโยชน์จากความจริงของธรรมชาติ

      
                             ที่จริงสภาวะตามธรรมชาตินั้น  ในที่สุดก็คือกระบวนการ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และภาวะเหนือกระบวนการนั้นคือ นิพพาน เท่านั้นเอง  แต่พระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงเป็น อริยสัจ เพื่อให้เห็นขั้นตอนในการปฏิบัติของมนุษย์  และเป็นวิธีสอนด้วยคือ เป็นวิธีสอนที่จะให้คนเข้าใจได้ง่าย  และเกิดผลในเชิงการปฏิบัติที่เร้าใจให้ทำตาม  และทำได้เป็นขั้นตอนชัดเจน

      อริยสัจนั้น  แท้จริงเป็นหลักของเหตุและผล  ธรรมดาเราพูดถึงเหตุก่อน  แล้วจึงพูดถึงผลใช่ไหม  แต่ให้สังเกตว่าพระพุทธเจ้ากลับทรงยกผลขึ้นแสดงก่อน  แล้วแสดงเหตุทีหลัง  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

      ทุกข์  คือปรากฏการณ์ซึ่งเป็นผล  และ สมุทัย เป็นเหตุของทุกข์นั้น...นี่ผลกับเหต ๑ คู่แล้ว

      นิโรธ  คือจุดหมายที่ต้องการ  จัดเป็นผล  แล้วก็ มรรค คือ  วิธีปฏิบัติให้บรรลุจุดหมายนั้นจัดเป็นเหตุ...นี่ก็ผลกับเหตุอีก ๑ คู่

      รวมเป็นผลกับเหตุ ๒ คู่

      นี่เป็นข้อที่น่าสังเกต  เป็นการพลิกกลับกันกับความรู้สึกทั่วไป  ซึ่งมองไปที่เหตุก่อนผล

      ตามปกติพระพุทธเจ้าก็ตรัสเหตุก่อนผล  แต่ในกรณีนี้กลับแสดงผลก่อนเหตุ  เพราะอะไร...เพราะเป็นเรื่องของวิธีสอน  ซึ่งต้องเริ่มด้วยสิ่งที่มองเห็นอยู่  และต้องเริ่มที่ปัญหาก่อน  เรื่องอะไร จู่ ๆ ก็พูดถึงเหตุของปัญหาโดยไม่ได้พูดถึงปัญหา  เป็นหลักของการสอนและการชี้แจงอธิบายว่าต้องเริ่มที่ปัญหา  โดยชี้ปัญหาว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้  ทำความเข้าใจปัญหา  แล้วจึงค้นหาสาเหตุ  เสร็จแล้วก็ชี้ถึงจุดหมายหรือสิ่งที่ต้องการ  แล้วก็บอกวิธีปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงจุดหมาย

      วิธีสอนอย่างนี้เป็นที่เร้าใจด้วย  พอพูดถึงปัญหา  โดยเฉพาะปัญหาของตัวเองหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกระทบถึงตัว  คนก็สนใจอยากจะรู้  อยากจะแก้ไขปัญหานั้น  แล้วจึงสืบสาวว่าปัญหานี้เกิดจากเหตุอะไร  เมื่ออยากกำจัดเหตุแล้ว  พอพูดถึงจุดหมายว่าดีอย่างไร  คนก็อยากจะไปถึงจุดหมายนั้น  แล้วจึงบอกวิธีปฏิบัติ

      ถ้าเราไปบอกวิธีปฏิบัติก่อน  วิธีปฏิบัติอาจจะยากมาก  คนก็จะท้อใจ  ไม่อยากไป  ไม่อยากทำ  แต่ถ้าชี้จุดหมายแล้วพูดให้เห็นว่ามันดีอย่างไร  ใจเขาจะใฝ่ปรารถนา  ยิ่งเห็นว่าดีเท่าไร  ประเสริฐเท่าไร เขายิ่งอยากไป  เขาก็พร้อมและเต็มใจที่จะทำ

      พอถึงตอนที่เขาพร้อมแล้วนี้  เราจึงค่อยบอกวิธีปฏิบัติ  ไม่ต้องกลัวหรอก  ตอนนี้เขาสนใจ  ตั้งใจเต็มที่แล้ว  เขายินดีพร้อมที่จะทำสุดแรงของเขา

      ฉะนั้นหลักอริยสัจนี้จึงเป็นวิธีสอนด้วย  พร้อมทั้งเป็นวิธีการแก้ปัญหา และวิธีปฏิบัติการในงานต่าง ๆ  วิธีสอนที่ได้ผลดีจะใช้หลักการนี้  แม้แต่พวกที่จะปลุกระดมก็พลอยเอาไปใช้ได้ด้วย

      ทำไมจึงว่าในการปลุกระดมก็ต้องใช้วิธีนี้ จึงจะได้ผล  ก็เพราะว่าการปลุกระดมนี้  แม้แต่ที่ไม่สุจริต  เขามุ่งแต่จะให้สำเร็จ  ก็เอาวิธีนี้ไปใช้  เพราะเป็นวิธีที่ได้ผล  คือตอนต้นต้องพูดชี้ปัญหาก่อน...”เวลานี้มันแย่  มีปัญหาทั้งนั้น  มีความยากจน  มีความเดือดร้อน  อะไร ๆ ก็ไม่ดี  มันเลวร้ายอย่างนั้น ๆ”  ถ้าจะปลุกระดมก็ต้องชี้เรื่องที่ไม่ดีให้เห็นออกมาชัด ๆ ว่าเยอะแยะไปหมด  ร้ายแรงอย่างไร  ต้องชี้ทุกข์ให้ชัดก่อนว่า น่าเกลียดน่ากลัวร้ายแรงจนคนไม่พอใจมากอยากจะแก้ไข

      พอชี้ทุกข์หรือปัญหาชัดว่าอะไรไม่ดีอย่างไร  จะต้องแก้ไขแล้ว ทีนี้ก็ชี้สาเหตุว่านี่ตัวการ  เจ้าตัวนี้แหละ  ตัวร้ายอยู่นี่  เป็นเหตุให้เกิดปัญหาเหล่านี้  มันอยู่ที่นั่น  ถึงตอนนี้คนก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง  ใจก็เกิดพลัง  เกิดความตื่นเต้น  เกิดเรี่ยวแรงกำลังขึ้นมา  ว่าจะต้องจัดการกำจัดมันละนะ  เราเห็นตัวการแล้ว

      พอคนกระหายอยากจะจัดการแล้วก็ชี้เป้าหมาย  อย่างกับสมัยหนึ่งที่เขาปลุกระดมกัน  บอกว่า  “โน่น  ท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ”  หรืออะไรก็แล้วแต่  สิ่งดีงามจะต้องเป็นอย่างนี้  บรรยายให้เห็นว่าดีเหลือเกิน  ชี้ให้เห็นเลิศเลอเท่าไรยิ่งดี

      จุดหมายนั้นต้องชี้ให้เด่นว่าดีที่สุด  ดีอย่างโน้นอย่างนี้  จนกระทั่งคนอยากไปเหลือเกิน ยิ่งคนอยากไปสู่จุดหมายนั้นเท่าไรก็จะยิ่งเกลียดชังเจ้าตัวการนั้น  และอยากกำจัดมันมากเท่านั้น

      คนไม่ชอบสภาพนั้นอยู่แล้ว  เพราะถูกชี้ว่าเป็นปัญหา  พอชี้ต้นเหตุให้เห็นตัวการร้ายที่ต้องกำจัดให้ได้  ใจคนก็พุ่งเป้าไป  พอพร้อมอย่างนี้แล้ว  ชี้จุดหมายที่ดีที่ต้องการเสร็จแล้ว  ทีนี้ก็พร้อมเต็มที่เลย  พอบอกวิธีปฏิบัติว่า  “ต้องทำอย่างนี้ ๆ “  ตอนนี้วิธีปฏิบัติถึงจะอยากก็ไม่กลัวแล้ว  เอาเลย  ไม่ว่าจะยากอย่างไรก็เอาทั้งนั้น  ระดมกำลังทำเต็มที่...มรรค มาได้เลย

      รวมความว่าอริยสัจเป็นหลักที่เชื่อมระหว่างความจริงของธรรมชาติกับปฏิบัติการของมนุษย์

      ถ้าเอาความจริงของธรรมชาติแท้ ๆ ก็คือ  อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน  ซึ่งเป็นแก่นแท้ในแง่ของความจริงตามธรรมชาติล้วน ๆ  แต่ถ้าพูดตามความจริงล้วน ๆ แท้ ๆ  อย่างนั้นจะยากมาก  พระพุทธเจ้าจึงทรงนำเสนอในรูปของหลักอริยสัจ ๔

      เมื่อดูเหตุการณ์ตามลำดับก็จะเห็นชัดว่า

      ๑. หลังตรัสรู้  ก่อนจะเสด็จออกเดินทางสั่งสอน  พระพุทธเจ้าทรงพระดำริว่า  ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้  คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน  นั้นยากที่ใครจะรู้ตามได้  จึงน้อมพระทัยจะไม่ทรงสอน (วินย.๔/๗/๘) และ

      ๒. ต่อมาเมื่อทรงเริ่มสอน  คือทรงแสดงธรรมครั้งแรก (เรียกว่า ปฐมเทศนา)  พระองค์ตรัสว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยทรงทำกิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจ ๔ นั้นครบบริบูรณ์แล้ว (วินย. ๔/๑๓/๑๘)

      อาตมาปรารภเรื่องเกี่ยวกับแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา  มัวแต่พูดคำปรารภเสียนาน  ก็เพียงเพื่อให้เห็นว่าเรื่องหัวใจพระพุทธศาสนานั้นจะพูดอย่างไรก็ได้  ในบรรดาหลักการที่พระเถระทั้งหลายท่านได้นำมาบอกกับพุทธศาสนิกชน  เช่น  หลักโอวาทปาฏิโมกข์ในวันมาฆบูชาเมื่อวาน  ทุกหลักเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาที่นำมากล่าวในแง่มุมต่าง ๆ กัน  แต่ต้องโยงถึงกันให้ได้  และต้องให้เป็นหลักที่ชัดเจนและปฏิบัติให้จริงจัง  ไม่ใช่มองพร่า ๆ ว่าอะไรก็ได้

      

“ ทุกข์สำหรับเห็น  แต่สุขสำหรับเป็น ”
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5213 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 08:53:00 »

นิพพาน เป็นเรื่องไกลเกินเอื้อมคว้า จริงหรือ ?

                    
                       เมื่อเช้าวานนี้ ก่อนถึงสิงห์บุรี ผมได้แวะไปที่วัดเพื่อไปซื้อเสื้อ-กางเกง เพิ่มสำหรับไปจาริกแสวงบุญที่อินเดีย แม่ค้าขายของ คนขายหวย  ได้รีบบอกผมว่า หลวงพ่อกำลังลง อยู่ที่ศาลา  จะได้ไปกราบท่าน  ผมก็เดินเป็นปกติไม่ได้รีบร้อน สายตาผมเหลือบไปเห็นป้ายโฆษณาที่ติดไว้ตรงทางไปศาลา  กุฏิ โฆษณาวัตถุมงคลรุ่นต่างๆของหลวงพ่อ เพื่อจำหน่ายให้กับประชาชน นำไปบูชาที่บ้าน

                       ผมก็ไม่ได้ไปกราบหลวงพ่อ เพียงแต่แวะไปซื้อเสื้อ-กางเกง ตามที่ได้ตั้งใจไว้แต่เดิม เวลาเดินกลับ คนขายของ คนขายหวย แปลกใจมาก ! มันผิดกับญาติโยมอื่นๆ ที่มาวัดนี้ ต่างก็ต้องการไปกราบหลวงพ่อ  ได้ถวายเงินกับมือหลวงพ่อ

                       จิตผมคิดเสมอ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ "ผู้ที่เกาะสังฆาฏิพระพุทธองค์ เดินตามทุกฝีก้าว แต่ยังโลภ  ยังโกรธ  ยังหลง ประพฤติไปในทางอกุศลธรรม ไม่มีทางที่จะเห็นธรรม  แต่ถ้าผู้ดีละความโลภ  ละความโกรธ  ละคามหลง เสียได้ และประพฤติดี ประพฤติชอบทางธรรม  ได้ขึ้นชื่อว่าเห็นพระองค์โดยแท้ ถึงแม้จะอยู่ไกลพระองค์ก็ตาม"

                        ผมจึงไม่นิยมไปกราบไหว้บรรดาเกจิอาจารย์ สักเท่าไร? ปฏิบัติธรรม ประพฤติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนดีกว่า

                       จิตผมคิด  หลวงพ่อท่านติดกับสิ่งที่ญาติโยมกระทำถวายให้ท่าน รวมทั้งยศ บรรดาศักดิ์ทางสำนักพุทธศาสนา และช่วยเหลือสังคม เช่น ก่อสร้างวัด สถานปฏิบัติธรรม โรงเรียนพระ และโรงพยาบาล  สอนให้คนหันมาปฏิบัติธรรม   เป็นสิ่งที่ดี ไม่ผิดอะไรทั้งสิ้น  แต่ทำไมท่านพอใจเพียงแค่นี้  ติดอยู่เช่นนี้ !! นี่คือคำถามที่ผมถามตัวเอง ขณะเดินกลับไปที่รถ

                        หรือว่า "นิพพาน" นั้นไกลเกินไปที่จะเอื้อมถึง เพราะผมก็เห็นว่า ปัจจุบันนี้ วัด สำนักวิปัสสนาต่างๆ มีแต่สิ่งก่อสร้างทางวัตถุเต็มไปหมด เพื่อให้ประชาชนมาบูชา ทั้งพระบ้านและพระป่า  ทำไม?ยังติดอยู่กับความสุขทางโลก  ทั้ง ๆ ที่ท่านปฏิบัติธรรมมานานมากแล้ว มันก็ยังติดอยู่ไม่ไปไหน  ทำไม ? ท่านไม่ปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์  มาหยุดกลางทาง  หรือทางไป "นิพพาน" มันไกลเกินไปที่ปุถุชนจะไปถึง หรือมันไม่มีจริง !

                        แต่สำหรับผม ขอเพียง จิตไม่ปล่อยออกนอก  ไม่ฟุ้งซ่าน  มีแต่สงบ  นั่นคือ "นิพพาน" สำหรับผมแล้ว มันอาจจะไม่ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้  และยังไปไม่ถึงไหน  แต่  จิตมันก็สงบ  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ความอยากต่าง ๆ มันหายไปแยะ ความวิตกกังวลไม่มี  มันก็เป็นสิ่งที่หน้าจะพอใจ สำหรับปุถุชนคนธรรมดาอย่างผม  แล้วมิใช่หรือ !

                        มันก็เป็นความสุขแท้จริง ที่เราสามารถสัมผัสได้ กับคำว่า "ปีติ และปัสสัทธิ" ในโภชฌงค์ ๗ ให้เราถืออุเบกขา เอาไว้ให้เป็นสมาธิ  มันจะเรียกอะไร อย่าไปรู้มันเลย  แต่จิตมันสงบ  สว่าง แจ่มใส  ตื่นตัว เสียอย่างเดียวมันไม่ยังยืนตลอดไปเท่านั้น

                        ในเมื่อผลที่ได้รับมันดี  ทำไมเราต้องหยุดกลางทาง !

                        อย่าเลย ก้าวต่อไปดีกว่า  "นิพพาน"  จะมีจริงหรือไม่  อย่าไปสนใจ ดีกว่า

                        เรา "ละการทำชั่ว  ทำแต่ความดี  ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส  ปฏิบัติตาม มรรค ๘ ต่อไป ในเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ อยู่เป็นนิจ  มันเป็น "ปีติและปัสสัทธิ" สำหรับเรา  อยู่อย่างไมคิดนี้แหละดีที่สุด !!!

                        สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5214 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 18:50:49 »

บทสัมภาษณ์ รมช. คมนาคม อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์


เปิดใจรัฐมนตรีใหม่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผมพร้อมลาออก ถ้ามีเรื่องคอร์รัปชั่น
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:00:00 น.
 

เป็นที่จับตาในการตัดสินใจเปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์นักวิชาการ จากรั้วจามจุรีของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” มารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมใหม่ถอดด้าม ในวัย 46 ปี กับภารกิจในกระทรวงที่มีแต่เรื่องอื้อฉาวมากมายเกี่ยวกับผลประโยชน์อันมหาศาลของโครงการระดับหมื่นล้านแสนล้านบาท

และเรื่องราวที่ไม่ชอบมาพากลมากมายที่ยังคงเป็นปริศนาค้างคาไขกันไม่ออกอยู่ในทุกวันนี้  เขาจะมีเกราะในการป้องกันตัวอย่างไรติดตามได้ผ่านหน้าจอ”มติชนทีวี”

Q: อยากให้แนะนำประวัติส่วนตัวเล็กน้อย

ผมเรียนจบปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเรียนเมื่อปี 2526 ตอนจบได้เกียรตินิยม ได้รับพระราชทานทุนมูลมิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อปริญญาโท ที่ MIT  และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอิลินอย ที่สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง หลังจากเรียนจบทำงานที่สหรัฐอเมริกา 2 ปี กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ  ทำงานวิชาการมา 16 ปี เป็นรองศาสตราจารย์ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี ทำงานดูแลทรัพย์สิน ของจุฬาฯ ก่อนลาออก และเปลี่ยนวิถีชีวิตมารับตำแหน่งทางการเมือง

Q: การตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งทางการเมือง ใครทาบทาม

ตื่นเต้นดีครับ ได้รับการทาบทามจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีโดยตรง ท่านถามว่า เป็นรัฐมนตรีมั๊ย โดยท่านนายกฯ บอกจะให้มารับผิดชอบงานที่กระทรวงคมนาคม ผมก็ตัดสินใจทันที คิดว่า ถึงจังหวะมีโอกาสทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต้องไป  สมัยก่อนตอนได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ผมไปกราบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านมีรับสั่งเว่า ทุนอานันทมหิดลไม่ได้กำหนดว่า กลับมาแล้วต้องรับราชการ พระองค์ท่านคิดว่า อยู่ในส่วนไหนสามารถช่วยประเทศชาติได้เหมือนกัน ผมคิดว่า มันขึ้นอยู่ที่เรามีปณิธาน มีแนวทางในการดำรงตนอย่างไร

Q: มองเรื่องโลจิสติกส์ของไทยมีจุดอ่อนอย่างไร

คำว่า”คมนาคม”กับ”โลจิสติกส์”ไม่ใช่อันเดียวกัน คือ คำว่า”โลจิสติกส์”คือ “ห่วงโซ่อุปทาน” ”การคมนาคมขนส่ง”เป็นหนึ่งข้อที่สำคัญในห่วงโซ่ของโลจิสติกส์ เพราะส่วนอื่นเอกชนบริหารลดต้นทุนของตัวเองได้เรื่อย ๆ แต่ถ้าไปดูต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่ผ่านมาประมาณ 50% ขึ้นอยู่กับการคมนาคมขนส่ง ซึ่งรัฐจัดการ เอกชนไม่มีทางเลือก ไม่สามารถลดต้นทุนลงได้

การคมนาคมมีปัญหา เพราะเราพึ่งถนนมากเกินไป สมัยรัชกาลที่ 5 พัฒนาระบบรางรถไฟดีมาก มีราง 3,000 กิโลเมตร แต่พอถึงจังหวะที่เรามีโอนจากกรมรถไฟหลวงมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้นทุนการก่อสร้างทุกอย่างถูกโอนมาเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นภาระที่หนัก ต่างกับกรมทางหลวง ซึ่งรัฐบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด

ต่อมารัฐบาลพยายามพัฒนาถนน เพราะมีปัญหาเรื่องคอมมิวนิสต์ด้วยให้เข้าสู่พื้นที่จะได้มีการพัฒนาให้เจริญ แต่ถนนคือตัวปัญหา เราควบคุมผังเมืองลำบาก พอตัดถนนผ่านตรงไหน มีการขยายตัวของเมืองไปตามแนวถนนสายหลัก (Ribbon Development) ผังเมืองของเรากระจายมาก ถ้าดูตัวเลขประมาณ 30% อยู่ในเมือง 70% กระจายไปทั่ว พอปัจจุบันน้ำมันแพงเราต้องมาเน้นระบบขนส่งมวลชน(Mass Transit System) มากขึ้น ปรากฎว่า เราไม่มีการวางระบบที่จะเอารถไฟไปลง เพราะเมืองกระจายหมด ทำให้การพัฒนายากขึ้น แต่ต่างประเทศพัฒนารถไฟ มีการขึ้น-ลงที่สถานีเท่านั้น เพราะฉะนั้นเส้นทางรถไฟจะเป็นตัวควบคุมทิศทางการขยายตัวของเมือง จะมีผังเมืองชัดเจน

วิธีแก้มี 2 วิธี  1)นำรถไฟไปลุยตรงที่ว่าง ๆ ไปสร้างเมืองใหม่ เหมือนที่ฮ่องกงทำ คือ เอารถไฟวิ่งไปตามที่ว่าง แล้วมีการพัฒนาเมืองที่สถานี จะต้องขาดทุนในช่วงแรก เริ่มมีเมืองมา จะมีดีมานต์มา ก็พัฒนาเป็นเมือง 2) สร้างล้อเมืองเดิมที่มีอยู่แล้วเหมือน BTS ช่วยสนับสนุนสิ่งที่เป็นอยู่ สิ่งสำคัญต้องมีระบบการขนส่งสนับสนุน (Feeder) ต้องนำคนกระจายไปที่เมืองที่มีอยู่แล้ว อย่างที่กทม.ทำทางเท้าลอยฟ้า(Sky walk) ผมเห็นด้วย ทำให้คนไปได้สะดวก โดยไม่ต้องขึ้นมอเตอร์ไซด์ ทางเดินเท้ามีหาบเร่แผงลอยวางกันเต็มไปหมด ทางเท้าลอยฟ้าจึงเป็นตัวช่วย เป็น Feeder อันหนึ่ง ต้องในราคาที่เหมาะสม

Q: นโยบายตอนนี้จะเน้นเรื่องระบบรางมากขึ้น

การแก้ปัญหาของถนนไปแก้ปัญหาในเรื่อง”คอขวด” เช่น เส้นไปสระบุรี-โคราช ความสามารถในการรองรับเต็มที่แล้วต้องไป หลังจากนั้นจะมาเน้นระบบรางวิธีแก้จะให้ระบบรางใช้งานได้ ต้องวางแผนร่วมกับผังเมืองเป็นหลัก ปัจจุบันหน่วยงานกรุงเทพมหานครเริ่มทำแล้ว มีข้อดี เช่น สัดส่วนการก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดินที่มี(Floor Area Ratio-FAR) มีแรงจูงใจให้คนมาสร้างเมืองสร้างตึกสูงรอบสถานีมากขึ้น ผังเมืองต้องไปคู่กับรถไฟ

Q: ระบบโครงสร้างการคมนาคมปัจจุบันยังไม่ไหลคล่องตัว

คีย์หลักที่ผมมองเรื่องการผนึกกำลัง(Synergy) กระทรวงคมนาคมมีจุดแข็ง คือ หลายหน่วยงานอยู่ด้วยกัน มีทั้งกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กพท.) แต่เวลาเราดูแผนที่ดูเป็นส่วน แยกแต่ละกรมไป สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำแผนของ 11 หน่วยงานมาเย็บเล่ม แต่ไม่มีแผนที่รวมอันเดียวเห็นหมด รถไฟฟ้าทางหลวง รถไฟ บขส. สนามบิน เพราะฉะนั้นนโยบายที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อยากจะทำ คือ การนำแต่ละหน่วยงานมาร้อยในแนวนอนให้เกิดการผนึกกำลังกันขึ้น

ยกตัวอย่างสถานีขนส่งหมอชิต ไม่มีรถไฟฟ้าไปลงเป็นไปได้อย่างไร สายใต้ใหม่ไกลมาก ไม่มีทางด่วนไปลง มันควรจะมีทางด่วนไปลง จากสถานีรถบัสวิ่งขึ้นทางด่วนออกไปเลย หรืออย่างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ไม่มีส่วนต่อนักท่องเที่ยวเดินเก้ ๆ กัง ๆ อยู่บนถนน เราต้องพยายามมองแนวนอนให้มากขึ้น จากปัจจุบันการทำงานเป็นแนวตั้ง มันก็จะผนึกกำลังกันได้

Q: นโยบายจะเริ่มแก้ปัญหาตรงไหนเป็นลำดับแรก

เวลาพูดถึงกระทรวงคมนาคม มักจะคิดถึงแต่โครงการก่อสร้างระดับ 10,000 ล้านบาทขึ้นไปถึง 100,000 ล้านบาท แต่จริง ๆ เราคือ ธุรกิจการให้บริการ ( Service Industry) อย่างโครงการขนาดใหญ่ก็ทำไปต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี  แต่อย่าลืมคุณภาพการบริการ เรื่องง่าย ๆ ที่ให้บริการประชาชนเราไม่ได้สนใจ รถติดหน้าด่านทำไมแก้ไม่ได้ รถตู้ที่จอดเกะกะทั่วเมือง รถติดทั้งเมือง บริการของพนักงานของขสมก.ผมว่า เรื่องพวกนี้ต้องใส่ใจด้วย ต้องมาขันน๊อตโครงการต่าง ๆ ที่ประชาชนเดือดร้อนอยู่คิดว่า ต้องทำคู่ขนานไป การผนึกกำลังของหน่วยงานต่าง ๆ ต้องทำ

Q: รฟท.มีทั้งเรื่องหนี้สิน และงานบริการที่ต้องแก้ไข

ตอนน้ำท่วมได้ประสานงานกับรฟท.มาก ผมว่าคนของรฟท.เป็นคอนที่มีสปิริต ตัวพนักงานมีจิตใจรักรถไฟ แต่ผมว่ามันอาจจะมีกรอบ หรือเรื่องการแบ่งส่วนงานที่ยังไม่ค่อยลงตัว เราเอาหนี้การก่อสร้างทุกอย่างไปให้รฟท. แต่การก่อสร้างถนน กรมทางหลวงใช้งบประมาณสร้าง นโยบายอาจไปดูโครงสร้างส่วนนี้ใหม่ ต้องแยกส่วน เหนือราง กับใต้ราง  ส่วนที่เป็นรางถือเป็นทรัพย์สินของรัฐไป เรื่องหนี้คงค้างต้องจัดการให้รฟท. แต่การทำงานของพนักงานต้องเหมือนเดิม

Q: แอร์พอร์ตลิงค์จะแก้อย่างไร

แอร์พอร์ตลิงค์คือ กลยุทธ์ (Strategic)ของประเทศ  เราวิ่งรถไฟเอง ขณะที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม) .มีหน้าที่สร้าง แต่คนปฏิบัติเป็นเอกชน มีข้อจำกัดเรื่องค่าตั๋ว ต่อไปเราจะมีการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น แต่เสียดายตอนนี้การบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ เท่าที่ได้รับรายงานในเบื้องต้น พวกชิ้นส่วนยังได้ไม่ค่อยครบ การเชื่อมต่อผู้โดยสาร ทางเชื่อม ซึ่งที่ผ่านมารฟท.ก็ได้งบแล้ว แต่ยังไม่ลงมือ ก็ต้องเร่งรัด

ต้องทำแบบเอกชน เหมือนในฮ่องกง พอมาถึงมีรถบัสขับเวียนส่งไปตามโรงแรม ซึ่งแถวสถานีแอร์พอร์ตลิงค์มีโรงแรมหลายแห่ง ออกมาทางประตูน้ำ การทำทางเชื่อมต่อต้องทำให้ดี อาจใช้เวลาสร้างประมาณ 6 เดือนก็เสร็จ ปรับปรุงเอารถเมล์เข้ามา จัดเส้นทางรถเมล์ให้เข้ามาง่ายขึ้น จัดเดินสายมีรถตู้ ตัวสถานีสามารถจัดพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน ผมคิดว่า แอร์พอร์ตลิงค์เป็นตัวอย่างที่เราต้องทำให้ได้ ไม่อย่างนั้นอนาคตเราเหนื่อยในการปฏิบัติต่อไป

Q: โครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูง

รางคู่เริ่มดำเนินการไปแล้ว ระบบรางเป็นที่ถกเถียงกันเรื่องขนาดความกว้างของรางรถไฟ (Railway Gauge) ระหว่างขยายขนาดรางรถไฟความกว้าง 1 เมตร(Meter gauge) กับรางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร( Standard Gauge) ความเห็นส่วนตัวผมยังไม่ได้เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมเห็นว่า ควรจะมีทั้ง 2 ระบบ หลายประเทศก็มี รางรถไฟความกว้าง 1 เมตรของเดิมทั่วประเทศมีประมาณ 4,000 กม.ต้องบำรุงรักษา หัวรถจักรที่มีเป็น Meter gauge แต่จะแบ่งเป็นประเภทของรถที่วิ่ง รถโดยสารวิ่งด้วยความเร็วน้อย วิ่งสถานีถี่หน่อย และมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งเชื่อมเมืองใหญ่ 250 กม.ต่อชม. มี Feeder เข้าสู่ระบบใหญ่

เช่น รถไฟความเร็วสูงให้วิ่งกทม.-เชียงใหม่ ,กทม.-โคราช อย่างน้อยที่สุดระยะทางที่เหมาะสม 700 กม.ถ้าหากสั้นเกินไป ขับรถง่ายกว่า อีกโหมดจะเชื่อมจากหนองคาย-ลาว-จีน อันนี้ต้องคิดให้ดี เพราะจีนหวังเราเป็นเส้นทาง(Corridor)เชื่อมออกไปทางด้านใต้ ปัจจุบันทางรถไฟในลาวแถบจะไม่มี มีเส้นทางรถไฟของไทยเพียง 2 กม.ไปบ้านท่านาแล้ง ส่วนอื่นจีนยังไม่ได้พัฒนา คงไม่ใช่เรื่องง่าย คงต้องดูดี ๆ ว่า จีนเอาแน่แค่ไหนกับเส้นทางนี้  ส่วนเส้นอื่น เชียงใหม่มีโอกาสสูงสุด และมีต่อไประยองใช้แอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมต่อ และมีต่อหัวหิน ที่อยู่ในนโยบายพรรค เป็นเรื่องที่สนข.กำลังศึกษาอยู่   

Q: รถไฟความเร็วสูงลงทุนสูง

เส้นกทม.-เชียงใหม่ ถ้าเรามองเฉพาะเส้นทางรถไฟ มีแต่เสียเงิน แต่ต้องมองการพัฒนาอย่างอื่นประกอบไปด้วย เช่นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองใหม่ เหล่านี้ ถ้าเกิดเรามองภาพรวมอย่างนี้มันจะมีเม็ดเงินเข้ามาช่วยในการลงทุนได้ ต้องมองการพัฒนาเมือง อาจจะต้องดูร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ ตลอดเส้นทางต้องพยายามผนึกกำลังหลาย ๆ องค์กรมาร่วมกัน

ที่ผ่านมาเราพัฒนาระบบราง  รถไฟใต้ดิน ผลประโยชน์อยู่กับรัฐน้อย ผลประโยชน์ตกอยู่กับเอกชน เพราะราคาที่ดินปรับขึ้นมาก แต่รัฐไม่สามารถได้ประโยชน์ส่วนนี้กลับคืนมาสู่ประชาชนได้ ผมว่าแนวคิดต่อไปต้องมองประเด็นนี้ แต่เนื่องจากพรบ.รถไฟฟ้าใต้ดิน เราไม่สามารถนำที่ดินมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ เพราะว่ามันผิดวัตถุประสงค์

Q: นโยบายพรรคบอกจะจัดหาให้คนมีรายได้น้อยมีบ้านอยู่ในเมืองได้

จะเริ่มแล้ว ต้องไปคุยกับการเคหะเรื่องนี้ ปัจจุบันคนมีรายได้ปานกลาง ถึงสูงที่จะใช้รถไฟฟ้า คนมีรายได้น้อยยาก ที่อยู่ไม่มี เพราะแพง หลักการต้องไปหาที่ดิน ในเส้น”สีเขียว”ไปสมุทรปราการ ที่ไหนเป็นที่ราชพัสดุ หรือที่ดินของกรมธนารักษ์ มีที่ว่างต้องสร้าง 20,000 ยูนิตเลย ให้คนมาซื้อบ้านแถมการ์ดขึ้นรถไฟฟ้า ที่ดินที่ใช้อาจจะเป็นที่ดินของรัฐ อาจจะเป็นลักษณะการเช่าระยะยาว  หรือการเคหะต้องไปซื้อที่ดิน เพราะรฟม.ทำไม่ได้ติดเรื่องพรบ.ที่ดินเวรคืนมา จะให้รฟม.ไปซื้อที่ดินก็ทำไม่ได้  ผมว่า หลายคนอาจจะเช่าบ้านอยู่ เป็นทางเลือกให้กับประชาชน

Q: การแบ่งงานในกระทรวงจะรับผิดชอบด้านไหน

ยังไม่ได้แบ่งงานกัน  แต่อย่างที่บอกดูในแนวนอน เพราะฉะนั้นในแต่ละแท่งอาจจะมีโครงการยุทธศาสตร์ กระจายกระจายอยู่ ท่านอาจจะให้ผมมาช่วยในด้านวิชาการของแต่ละโครงการ เหมือนช่วยดูด้านเทคนิคแต่ละอัน เพื่อให้ร้อยเป็นเรื่องเดียวกัน มาช่วยทางด้านวิชาการผลักดัน ดูปัญหาว่า ควรจะทำวิธีไหน ในแต่ละแห่งจะมีโครงการยุทธศาสตร์แฝงอยู่ทุกอัน เช่น  โครงการท่าเรือปากบารา , โครงการสุวรรณภูมิเฟด 2 ,ขสมก.มีการซื้อรถเมล์ใหม่ พวกนี้เป็นโครงการซึ่งต้องพยายามเอานำร้อย แล้วดูด้านเทคนิคว่า ตามหลักวิชาการควรจะเป็นแบบไหนถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

Q: ผลงานระยะช่วง 3-4 เดือนที่จะเห็นเป็นรูปธรรม

โครงการขนาดใหญ่คงไม่เห็นผลทันที แต่โครงการที่ขันน็อต พวกที่ทำความเดือดร้อนให้ประชาชนคงต้องเร่ง เช่น รถตู้จอดเกะกะ ,รถติดหน้าด่านทางด่วน  ,รถเมล์จอดไม่ตรงป้าย ,พนักงานบริการไม่ดี หรือตม.ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินสุวรรณภูมิต่อคิวกันยาว เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ โดยไม่ต้องลงทุนด้วย หรือกรมทางหลวงก่อสร้างแล้วไม่ปลอดภัย วางของเกะกะกีดขวาง ไม่มีไฟจราจร เรื่องพวกนี้ไม่ต้องลงทุน ถ้าเราขันน๊อตควบคุมจริง ๆ ผมว่า 2 เดือนเห็นผล ทุกหน่วยต้องไปพร้อมกัน รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ แผนยุทธศาสตร์ก็ต้องทำ แต่ทุกอย่างต้องทำคู่ขนานกันไปได้ เพราะใน 1 หน่วยงานมีทั้งแผน ทำพร้อมกันได้หมด

Q: ปรับปรุงบริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ปัจจุบันคนนั่งรถเมล์ต่อวัน 3,400,000 เที่ยวต่อวัน รถไฟฟ้า BTS แค่ 6 แสนเที่ยว รถไฟฟ้าใต้ดิน 2 แสนเที่ยว ที่ผ่านมาเราไปทุ่มหลายหมื่นล้าน แสนล้านบาทให้รถไฟฟ้า แต่รถเมล์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ใช้ คุณภาพแย่มาก คิดว่าเราต้องทำปรับปรุงบริการของรถเมล์ แต่ต้องให้โปร่งใส่ราคาต้องตรวจสอบได้  ขณะเดียวกันต้องจัดระเบียบรถตู้  คงต้องเชิญทางกทม.มาคุยเรื่องการทำป้ายรถเมล์ใหม่ให้คุ้มแดดคุ้มฝนได้

Q: การแก้ปัญหาน้ำท่วมในส่วนที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ

เรื่องน้ำท่วมเป็นงบประมาณฉุกเฉินที่กระทรวงคมนาคมได้มา จะซ่อมแซมส่วนที่เสียหายมี 6 หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) ,องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) และกรมเจ้าท่า  ได้งบประมาณ 20,000 กว่า ล้านบาท เรื่องนี้หลักสำคัญคือความโปร่งใส และรวดเร็ว แต่ถ้าไม่โปร่งใส ผมก็อยู่ไม่ได้โครงการนี้ ผมเรียนกับท่านหัวหน้าหน่วยงานไปว่า มันเป็นงบที่มาช่วยเหลือประเทศชาติแล้วถ้ามีข้อครหาเรื่องไม่โปร่งใสมันอยู่ไม่ได้ทุกคน

วันนี้ได้สั่งการว่า ผมจะไปตรวจงานเองทุกวันเสาร์ ทุกพื้นที่ เราจะไปดู“ซุ้มตรวจ”เลยว่า จะเป็นอย่างไร ต้องดูทั้งก่อน และหลัง ประเด็นคือ การซ่อมต้องดูว่า เสียหายจริงหรือเปล่า และซ่อมแล้วดีหรือเปล่า  และได้สั่งการให้นำขึ้นเว็ปไซด์ทั้งหมดให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ทุกโครงการมีกรมทางหลวงมี 1000 กว่าโครงการ ทช.มี 600 โครงการ ก่อนก่อสร้างเป็นอย่างไร หลังการก่อสร้างเป็นอย่างไร ระหว่างการก่อสร้าง ราคาเท่าไหร่ อยากให้พี่น้องประชาชนเข้ามาช่วยกันตรวจสอบ ถ้าทำไม่จริงให้แจ้งมา มอบหมายให้รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นคนรับผิดชอบ การทำงานเราไม่พยายามจัดจ้างพิเศษ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ถ้าเป็นโครงการกลยุทธ์จำเป็นจริง ๆ ต้องจัดจ้างพิเศษ ทางหน่วยงานที่ทำโครงการรายงานล่าสุดจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกันยายน 2555 แต่ว่าต้องลงไปกำกับอีกที

Q: AEC มีอะไรที่กระทรวงคมนาคมต้องเตรียมรองรับในอีก 3 ปี

ผมต้องไปดูอีกทีจะเปิดการบินทางอากาศ เรื่องกฎ ระเบียบ การผ่านแดน สินค้าผ่านแดน รถวิ่งผ่านกันอย่างไร รถยนต์คนละประเทศวิ่งอย่างไร การเข้ามาของผู้โดยสารต่างประเทศที่อยู่ในสมาชิก 10 ประเทศที่ตกลงกันจะมีระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างไร เพราะจะมีเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานคนด้วย ในอาชีพบางสาขาที่จะเปิดอิสระ ต้องไปดูเรื่องวีซ่าเป็นอย่างไร มันคงมีหลายมิติที่ต้องไปดู ผมยังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ต้องดูระบบถนนที่มาเชื่อมต่อกัน เช่น ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) R9 และ R3 ด้านบน ต้องพัฒนาให้เข้มแข็งชึ้น ขณะเดียวกันรถไฟเชื่อมโยงไปต่างประเทศต้องทำให้ดีขึ้น อย่างรถไฟความเร็วสูงที่จะไปเชื่อมจีนคงไม่ทัน

Q: โครงการ”ท่าเรือปากบารา”

โครงการนี้ที่ผ่านมามีการต่อต้านเยอะ เป็นปัญหาที่เรากังวล อนาคตต้องมีหน่วยงานในการเจรจากับมวลชนขึ้นมาต่างหากเลย ผมคิดว่าทุกอย่างเลยมันไม่ใช่ง่าย ๆ แล้ว มันเป็นเรื่องสำคัญกับประเทศชาติ แต่เวลาอยู่ใกล้ ๆ เราก็ไม่ชอบ เป็นธรรมดา เหมือนโรงผลิตกระแสไฟฟ้า เรารู้ว่ามันจำเป็น แต่มาอยู่ใกล้บ้านเรา เราก็ไม่เอา มันเป็นเรื่องทัศนคติ เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน

Q: โครงการทวาย

โครงการทวายคงดูประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ในแง่การเชื่อมต่อ คือ ถนนที่จะไปเชื่อมสายบางใหญ่-บ้านโป่ง ต่อทางกาญจนบุรี ต่อจากนั้นไปคงไม่ใช่ของเราแล้ว คงต้องดู มันมีหลายแฟคเตอร์เรื่องความเสี่ยง เรื่องที่มันไม่ใช่ที่ดินของเรา 100% ตอนนี้กรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์อยู่ อันนี้คงต้องดูให้ดี เพราะเราเป็นแค่ทางผ่าน ผมยังไม่ได้ดูรายละเอียดของโครงการทวายมาก สุดท้ายแล้วเงื่อนไขทางออกจะเป็นอย่างไร

Q: โครงการขนาดใหญ่ปี 2555 เปิดประมูลรถไฟฟ้า

เป็นไปตามแผน สีเขียวเซ็นไปแล้วเมื่อปลายปี 2554  ปี  2555 สายสีแดง บางซื่อ-รังสิตอยู่ในกระบวนการประมูล แต่ยังมีปัญหายังต่อรองกันไม่เสร็จจากนั้นเส้นทางต้องต่อไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิตอีก 10 กม.
เส้นสีชมพู เส้นสีเขียว ส่วนบน เส้นนี้ก็น่าสนใจ เพราะคนเยอะ

Q: รถไฟรางคู่สายที่ 3

ที่จำเป็นจากฉะเชิงเทรา ขึ้นไปทางแก่งคอย  เพราะจะช่วยเป็นเส้นทางลัดตู้คอนเทรนเนอร์ขนส่งไปทางอีสาน คงต้องดูเรื่องสินค้าเป็นหลักก่อน จะต้องมีสถานี ICD หลักการต้องพยายามทำให้เป็น Door-to-Door  ต้องมีศูนย์กระจายสินค้า หลักการของโลจิสติกส์การขนส่งคือ Door-to-Door  ต้องพยายามเชื่อมโยงยังไงให้ไปถึงจุดมุ่งหมายได้ ต้นทาง-ปลายทาง หรือการขนส่งทางรถยนต์ก็ได้ แล้วใช้ฟีดเดอร์ เหมือนรถไฟฟ้า สายสีม่วงจะฟีดอย่างไร ไม่อย่างนั้นคนก็มาขึ้นรถลำบาก สีม่วงน่าเป็นห่วงเหมือนกัน

Q: นโยบายพรรค 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทาง

ต้องรอนิดหนึ่ง ต้องทำระบบตั๋วร่วมที่ใช้ด้วยกันหมด

Q: การคมนาคมทางน้ำ

การเดินทาง”ทางเรือ” ทางน้ำ อย่างคลองแสนแสบ มีคนใช้บริการต่อวันสูงถึง 40,000 คน แต่เรือมันไม่ค่อยชวนนั่งเท่าไหร่ ต้องมีผ้าใบ เรือต้องกันน้ำหน่อย รวมถึงเรือด่วนในแม่น้ำเจ้าพระยา คนจะมาขึ้นเรือด่วนอย่างไร มันไม่มีที่สะดวกเท่าไหร่ ต้องทำลานจอดรถกว้าง ๆ อาจจะไปหาที่ดินของหลวงสักแห่ง อาจจะแถวบางใหญ่ที่มีหมู่บ้านคนเยอะ ๆ ให้รถจอดแล้วมีท่าเรือใหญ่ ๆ นำคนเข้ามา แต่ต้องตรงเวลา  เรือเป็นสิ่งที่ทำได้เร็ว และไม่ต้องลงทุน มันมีทางอยู่แล้ว เราจะไปดูให้ครบวงจร ต้องดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่า เขาอยากได้อะไร  จะเพิ่มให้เขาได้อย่างไร คงต้องไปดูรายละเอียด แต่พยายามดูตรงนี้จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะแถวบางบัวทอง บางใหญ่ที่น้ำท่วมมาก ๆ บริเวณนั้นคนอยู่มาก ปัจจุบันรถค่อนข้างติด

Q: Easy Pass ที่มีปัญหามาก ๆ  จะแก้อย่างไร

วันก่อนก็เชิญการทางมานั่งคุย ต้องไปดูก่อนว่า ทำไมคนถึงไม่ซื้อ ผมว่า พูดถึงเงินล่วงหน้า อันนี้ก็เป็นปัญหา ผมถามว่า ทำไมไม่ทำเหมือนเครดิตการ์ด ใช้ไปก่อน แล้ว แล้วมาตัดสิ้นเดือน อย่างนี้คนชอบ คิดง่าย ๆ ต้องเสนอให้การทาง เรารู้อยู่แล้วว่ารถคันไหน อาจต้องไปคิดวิธีควบคุมจะทำได้อย่างไร

Q: ทางด่วนใหม่จะตัดเพิ่มหรือไม่

ต้องดูการผนึกกำลังระหว่าง กรมทางหลวงจะไปทางไหน แล้วกทพ.จะไปทางไหน 2 หน่วยงานนี้ วางแผนไปเหมือนกัน บางทีวางแผนขีดแนวต่างคนต่างทำ พอมาทาบเป็นเส้นเดียวกันเลย ต้องมาคุยกันว่า ใครจะทำอย่างไร แต่เราเห็นประโยชน์แล้ว แต่เราเห็นประโยชน์ของทางด่วนแล้ว ตอนน้ำท่วม ต้องจัดลำดับความสำคัญจะไปเส้นไหน เพราะทรัพยากรเราจำกัด

Q: เงินลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม

ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมมีหนี้สาธารณะมากที่สุด 200,000 ล้านบาท คงต้องดูว่า มีวิธีการไหนที่จะไฟแนนซ์โปรเจ็คช่วยประเทศชาติได้บ้าง

Q: มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราชจะได้เกิดหรือไม่

กำลังคุยอยู่ บางปะอิน-โคราชน่าสนใจ ปัจจุบันเรามีเงินค่าผ่านทางจะเก็บเข้ากองทุนต่างหาก เกือบ 10,000 ล้านบาท มีเงินสดเข้ามาวันละเกือบ 10 ล้านบาท ถามว่า หากเรานำตรงนี้เข้ามาทำ”ซีเคียวริไทซ์”ได้หรือไม่ ถ้าเรามาคิดแบบนอกกรอบ นำเงินก้อนมาพัฒนา ได้เส้นนี้ เงินเข้ามา ไป”ซีเคียวริไทด์”อีกก้อน เราคิดแบบนี้ได้หรือไม่ จากเดิมเป็นแนวคิดแบบ PPP ซึ่งผมว่า พอเอกชนเข้าไปเราก็ควบคุมอะไรยาก จะไปปรับลดค่าผ่านทางช่วยประชาชนครั้งหนึ่งก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่คงต้องดูให้รอบคอบว่า อย่างไหนดี ปัจจุบันมีเครื่องมือมากที่เราไม่ต้องพึ่งงบประมาณ อาจต้องคิดให้นอกกรอบนิดหนึ่ง เราต้องหารือ

Q: นอกจากการซีเคียวริไทต์ น่าจะมีวิธีการระดมเงินด้วยวิธีอื่นอย่างไร

อาจจะต้องไปคู่กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ เช่น เราไปร่วมกับการเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมพัฒนาโนตเส้นทางผ่านทำให้ที่ดินมีมูลค่า มีรายได้กลับคืนมา บางส่วนเอามาส่งเสริมการลงทุนได้หรือไม่

Q: ถ้าให้สัมปทานกับเอกชน และได้สิทธิในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ก็อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่ง เหมือนกับที่รถไฟฟ้าฮ่องกง จะเห็นว่า รายได้ 60% มาจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 40% มาจากการเดินรถ เขาถือว่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดิน รัฐก็ช่วยเรื่องการเวนคืนที่ดิน ค่าก่อสร้าง ชำระภายหลัง แต่อันนี้เป็นแค่แนวคิด อาจจะมีกรอบเรื่องความเหมาะสม วันนี้ก็เรียนผู้บริหารกระทรวงว่า ต้องคิดนอกกรอบ ไม่ใช่ไปขอแต่เงินงบประมาณ เป็นหนี้สาธารณะ มันง่าย แต่มันไม่ท้าทาย

Q: ฝันอยากทำอะไรสิ่งแรกเมื่อได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีในแง่ของงาน

สิ่งแรกผมคงมาดูแผนยุทธศาสตร์ภาพรวมทั้งหมด ถ้าเกิดแผน มันไม่ตรงใจก็ขับเคลื่อนลำบาก สิ่งแรกคงต้องดูแผนนิดหนึ่งว่า โครงการไหนควรทำก่อนหลังอย่างไร พอแผนนิ่งก็เริ่มขับเคลื่อน พอเราดูแผนจะเห็นภาพรวมว่า อะไร ตรงไหน อย่างไร สุดท้ายต้องดูที่ประชาชนต้องคุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำในกรอบที่จะทำได้ อย่างที่ผมบอกบางทีเราไปเน้นโครงการขนาดใหญ่มากเกินไป เน้นแต่อีก 10 ปีกว่าจะเห็น แต่ปัจจุบันมีหลายอย่างที่ประชาชนต้องทนดำเนินชีวิตอยู่ ต้องทำควบคู่ไป

Q: เรื่องการรั่วไหลจะทำอย่างไร เพราะงบประมาณมาก

อันนี้คือสิ่งที่ผมกลัว เรื่องทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ มีปัจจัยเดียว ราคาที่จ่ายกับสิ่งที่ทำมันมีช่องว่างมากที่จะไปจ่ายได้ ถามว่าทำอย่างไรจะให้ช่องว่างอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ราคาต้องถูกต้อง คุณภาพต้องดี ไม่ใช่ราคากลางถูกต้องแต่ไปทำของห่วย แนวคิดของผมคือ จะจัดตรวจสอบคุณภาพงาน สมมุติคุณไปรับงานก่อสร้างของกรมทางหลวง 1 ปีต้องมีการประเมินว่า ที่สร้างไปแตกร้าว เสียหายมีการจัดเกรดผู้รับเหมา ทีผ่านมาลักษณะงานของหน่วยงานหลวง คือ จะจัดลำดับผลงานที่เสร็จที่ใช้อยู่ปัจจุบันที่ผมเข้าใจ แต่ไม่ได้จัดคุณภาพของงานที่แล้วเสร็จ ไม่เหมือนเอกชน

อีกอย่างคือ เรื่องที่ปรึกษาทำราคากลาง ถ้าที่ปรึกษาทำราคากลางผิด ทำให้มีช่องว่างเยอะ คือ กลัดกระดุม ถ้าคุณกลัดกระดุ้มเม็ดแรกผิด ก็ไล่ไม่มีทางกลัดถูกได้ ผมก็ต้องมอนิเตอร์ที่ปรึกษาต่าง ๆ กับคุณภาพของผู้รับเหมา พยายามเอาส่วนต่างให้น้อยที่สุด เหมือนธุรกิจ  พออย่างนี้แล้วโอกาสที่จะไปให้เบี้ยใบ้รายทางจะไม่มี ผมถึงบอกที่ปรึกษาต้องดูให้ดี ถ้าทำผิดพลาดต้องปรับที่ปรึกษา ที่ผมบอกเป็นเรื่องคุณภาพ ทำแล้วต้องแก้แบบเยอะหรือไม่ เป็นเรื่องของคุณภาพ

Q: กรมทางหลวงบอกเวลาคิดราคากลางยึดตามราคาของกระทรวงพาณิชย์

ถ้าราคากลางเขาแม่นก็ต้องมาดูคุณภาพ ว่ามันสมราคาหรือไม่ ไม่ใช่ราคานี้ใส่เหล็กครึ่งหนึ่ง พอผ่านไป 1 ปีร้าว ต้องไปดูคุณภาพกันในอนาคต มันอาจจะเป็นความฝัน แต่ต้องพยายามคิดว่า จะทำอย่างไร

Q: การตรวจสอบคุณภาพควรมีหน่วยงานอิสระ

ก็อาจจะต้องเอาองค์กรวิชาชีพมาช่วยกันดู เช่น เอาทริสเรตติ้งมาช่วยดูได้หรือไม่ อันนี้เป็นไอเดีย แค่ฝัน นี่มาเล่าความฝันให้ฟังก่อน อาจจะถามหน่วยงานก่อนว่า เขาคิดยังไง

Q: กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทจะมีการแบ่งเกรดแบ่งชั้นผู้รับเหมาอยู่แล้ว ต้องโละใหม่หรือไม่

อันนี้เป็นแค่ไอเดีย คงไม่โละ แต่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาบ้าง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เราอยู่ในภาคเอกชนเวลาดูผู้รับเหมาต้องดูคุณภาพ เจ้าไหนผลงานดี ไม่ดี ของราชการดูแค่ว่า เคยทำงานก่อสร้างถนนขนาดนี้มาแล้ว ดูแค่ผลงาน หากเราไปจัดคุณภาพคงจะคึกคักกัน ปรับปรุงบ้าง

Q: ถ้ามีสัญญาณจากข้างบนหรือใบสั่งจากข้างบนลงมาว่าจะเอาโครงการนี้ท่านจะทำอย่างไร

ถ้าทนไม่ได้ ก็ทนไม่ได้ รอดูก่อน เรื่องใต้โต๊ะต้องไปแก้ที่ต้นเหตุว่า ให้ได้เพราะอะไร เพราะมีส่วนต่างเยอะ ถ้าส่วนต่างน้อยเขาอยู่รอดได้แค่ธุรกิจมันก็จะลดลง แต่ปัจจุบันช่องว่างอยู่เยอะก็มีใต้โต๊ะพวกนี้

Q: ถ้ามีสัญญาณหรือใบสั่งจากข้างบนลงมาว่าจะเอาโครงการนี้ท่านจะทำอย่างไร

เรื่องคอร์รัปชั่น ผมคิดว่าเรามีจุดยืนที่มั่นคง ถ้าทนไม่ได้ เราก็ลาออก

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327638523&grpid=01&catid=05&subcatid=0504

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=hy0PR_gUJvM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=hy0PR_gUJvM</a>
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5215 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 21:00:46 »

                     
                       ขอบคุณ  คุณเหยงมาก  ที่นำเรื่องรัฐมนตรีมาลงให้ทราบ

                       แต่มันเป็นเรื่องไกลตัวผม  ไม่เกี่ยวกับกาย-ใจ ของผม  ผมขอผ่านการเมือง  เรื่องอื่นๆ อย่ามาถามผมเลย  ไม่ทราบจริง ๆ เพราะผมไม่ติดตาม ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์  TV ไม่ทราบจริง ๆ ครับ

                       เมื่อเช้าไปธนาคารออมสิน  จะไปรับเงิน 5,000 บาท ค่าน้ำท้วม ปรากฏว่ายังไม่ได้  เรื่องยังไม่ได้อนุมัติ (แต่ความจริง ไม่มีเงินจ่าย) ก็ต้องคอยกันต่อไป ตามสิทธิ ครับ

                        อากาศที่นครศรีธรรมราชดีมาก  ไม่มีฝน  เมื่อเย็นไปเดินออกกำลังกาย รำชิกง และโยคะ  ลมเย็นสบายจริงๆ ครับ  อากาศสดชื่นมาก  ผิดกับที่ กทม. เลยครับ

                        สวัสดี 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5216 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 21:05:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 27 มกราคม 2555, 08:53:00
นิพพาน เป็นเรื่องไกลเกินเอื้อมคว้า จริงหรือ ?

                     
                       เมื่อเช้าวานนี้ ก่อนถึงสิงห์บุรี ผมได้แวะไปที่วัดเพื่อไปซื้อเสื้อ-กางเกง เพิ่มสำหรับไปจาริกแสวงบุญที่อินเดีย แม่ค้าขายของ คนขายหวย  ได้รีบบอกผมว่า หลวงพ่อกำลังลง อยู่ที่ศาลา  จะได้ไปกราบท่าน  ผมก็เดินเป็นปกติไม่ได้รีบร้อน สายตาผมเหลือบไปเห็นป้ายโฆษณาที่ติดไว้ตรงทางไปศาลา  กุฏิ โฆษณาวัตถุมงคลรุ่นต่างๆของหลวงพ่อ เพื่อจำหน่ายให้กับประชาชน นำไปบูชาที่บ้าน

                       ผมก็ไม่ได้ไปกราบหลวงพ่อ เพียงแต่แวะไปซื้อเสื้อ-กางเกง ตามที่ได้ตั้งใจไว้แต่เดิม เวลาเดินกลับ คนขายของ คนขายหวย แปลกใจมาก ! มันผิดกับญาติโยมอื่นๆ ที่มาวัดนี้ ต่างก็ต้องการไปกราบหลวงพ่อ  ได้ถวายเงินกับมือหลวงพ่อ

                       จิตผมคิดเสมอ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ "ผู้ที่เกาะสังฆาฏิพระพุทธองค์ เดินตามทุกฝีก้าว แต่ยังโลภ  ยังโกรธ  ยังหลง ประพฤติไปในทางอกุศลธรรม ไม่มีทางที่จะเห็นธรรม  แต่ถ้าผู้ดีละความโลภ  ละความโกรธ  ละคามหลง เสียได้ และประพฤติดี ประพฤติชอบทางธรรม  ได้ขึ้นชื่อว่าเห็นพระองค์โดยแท้ ถึงแม้จะอยู่ไกลพระองค์ก็ตาม"

                        ผมจึงไม่นิยมไปกราบไหว้บรรดาเกจิอาจารย์ สักเท่าไร? ปฏิบัติธรรม ประพฤติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนดีกว่า

                       จิตผมคิด  หลวงพ่อท่านติดกับสิ่งที่ญาติโยมกระทำถวายให้ท่าน รวมทั้งยศ บรรดาศักดิ์ทางสำนักพุทธศาสนา และช่วยเหลือสังคม เช่น ก่อสร้างวัด สถานปฏิบัติธรรม โรงเรียนพระ และโรงพยาบาล  สอนให้คนหันมาปฏิบัติธรรม   เป็นสิ่งที่ดี ไม่ผิดอะไรทั้งสิ้น  แต่ทำไมท่านพอใจเพียงแค่นี้  ติดอยู่เช่นนี้ !! นี่คือคำถามที่ผมถามตัวเอง ขณะเดินกลับไปที่รถ

                        หรือว่า "นิพพาน" นั้นไกลเกินไปที่จะเอื้อมถึง เพราะผมก็เห็นว่า ปัจจุบันนี้ วัด สำนักวิปัสสนาต่างๆ มีแต่สิ่งก่อสร้างทางวัตถุเต็มไปหมด เพื่อให้ประชาชนมาบูชา ทั้งพระบ้านและพระป่า  ทำไม?ยังติดอยู่กับความสุขทางโลก  ทั้ง ๆ ที่ท่านปฏิบัติธรรมมานานมากแล้ว มันก็ยังติดอยู่ไม่ไปไหน  ทำไม ? ท่านไม่ปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์  มาหยุดกลางทาง  หรือทางไป "นิพพาน" มันไกลเกินไปที่ปุถุชนจะไปถึง หรือมันไม่มีจริง !

                        แต่สำหรับผม ขอเพียง จิตไม่ปล่อยออกนอก  ไม่ฟุ้งซ่าน  มีแต่สงบ  นั่นคือ "นิพพาน" สำหรับผมแล้ว มันอาจจะไม่ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้  และยังไปไม่ถึงไหน  แต่  จิตมันก็สงบ  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ความอยากต่าง ๆ มันหายไปแยะ ความวิตกกังวลไม่มี  มันก็เป็นสิ่งที่หน้าจะพอใจ สำหรับปุถุชนคนธรรมดาอย่างผม  แล้วมิใช่หรือ !

                        มันก็เป็นความสุขแท้จริง ที่เราสามารถสัมผัสได้ กับคำว่า "ปีติ และปัสสัทธิ" ในโภชฌงค์ ๗ ให้เราถืออุเบกขา เอาไว้ให้เป็นสมาธิ  มันจะเรียกอะไร อย่าไปรู้มันเลย  แต่จิตมันสงบ  สว่าง แจ่มใส  ตื่นตัว เสียอย่างเดียวมันไม่ยังยืนตลอดไปเท่านั้น

                        ในเมื่อผลที่ได้รับมันดี  ทำไมเราต้องหยุดกลางทาง !

                        อย่าเลย ก้าวต่อไปดีกว่า  "นิพพาน"  จะมีจริงหรือไม่  อย่าไปสนใจ ดีกว่า

                        เรา "ละการทำชั่ว  ทำแต่ความดี  ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส  ปฏิบัติตาม มรรค ๘ ต่อไป ในเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ อยู่เป็นนิจ  มันเป็น "ปีติและปัสสัทธิ" สำหรับเรา  อยู่อย่างไมคิดนี้แหละดีที่สุด !!!

                        สวัสดี


                                                           ๑. อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

                         สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม  ใกล้กรุงสาวัตถี  มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ  ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า  เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว  พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า

                        “พระโคดมผู้เจริญ ! สมณพราหมร์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์  มีคนรู้จักมาก  มีเกียรติยศ  เป็นเจ้าลัทธิ  อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี  เช่น  ปูรณะ  กัสสป, มักขลิ  โคสาล, อชิตะ  เกสกัมพล,  ปกุธะ  กัจจายนะ, สัญชัย  เวลัฏฐบุตรและนิครนถนาฏบุตร. สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น  รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน  หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย  หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้”

                          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  “อย่าเลย  พราหมณ์ ! ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้นรู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน  หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น  จงยกไว้  เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน  ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด”

                          เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว  พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า  “ดูก่อนพราหมณ์ ! มีข้ออุปมาว่า  บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้  แสวงหาแก่นไม้  เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่  เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยุ่  ละเลยแก่น,  กะพี้,  เปลือก,  และสะเก็ดไม้เสีย  ตัดเอากิ่งและใบไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น  คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้า  ก็จะพึงกล่าวว่า  บุรุษผู้เจริญนี้  ไม่รู้จักแก่น  ไม่รู้จักกะพี้,  เปลือก,  สะเก็ด,  กิ่งและใบไม้  เมื่อต้องการแก่นไม้  จึงละเลยแก่นเป็นต้น  ตัดเอาแต่กิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น  ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย”

          สรุปความ

              ๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้

              ๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้

              ๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้

              ๔. ญาณทัศนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้

              ๕. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ  ซึ่งใช้คำภาษาบาลี “อกุปฺปา  เจโตวิมุตฺติ” เปรียบเหมือนแก่นไม้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5217 เมื่อ: 27 มกราคม 2555, 22:04:40 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 27 มกราคม 2555, 21:00:46
                     
                       ขอบคุณ  คุณเหยงมาก  ที่นำเรื่องรัฐมนตรีมาลงให้ทราบ

                       แต่มันเป็นเรื่องไกลตัวผม  ไม่เกี่ยวกับกาย-ใจ ของผม  ผมขอผ่านการเมือง  เรื่องอื่นๆ อย่ามาถามผมเลย  ไม่ทราบจริง ๆ เพราะผมไม่ติดตาม ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์  TV ไม่ทราบจริง ๆ ครับ

                       เมื่อเช้าไปธนาคารออมสิน  จะไปรับเงิน 5,000 บาท ค่าน้ำท้วม ปรากฏว่ายังไม่ได้  เรื่องยังไม่ได้อนุมัติ (แต่ความจริง ไม่มีเงินจ่าย) ก็ต้องคอยกันต่อไป ตามสิทธิ ครับ

                        อากาศที่นครศรีธรรมราชดีมาก  ไม่มีฝน  เมื่อเย็นไปเดินออกกำลังกาย รำชิกง และโยคะ  ลมเย็นสบายจริงๆ ครับ  อากาศสดชื่นมาก  ผิดกับที่ กทม. เลยครับ

                        สวัสดี  


พี่สิงห์

บ้านที่นครสวรรค์เริ่มท่วม 21 ก.ย. สูบน้ำออกจนหมดเมื่อ 8 พ.ย. (ช่วงที่เดินทางไปงานศพน้องแดง ที่อำเภออู่ทอง)
ผมเพิ่งได้รับเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมานี่เองครับ

ส่วนเงินค่าเสียหายจากการที่เครื่องมือทำมาหากินจมน้ำเสียหาย 10,000 บาท
รวมทั้งของใช้ในบ้าน อาทิ เครื่องไฟฟ้า รวมแล้วไม่เกิน 20,000 บาทนั้น
ยังไม่มีวี่แววครับ


จังหวัดนครศรีธรรมราช พ้นจากปัญหาน้ำท่วมแล้วหรือ ??
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5218 เมื่อ: 28 มกราคม 2555, 07:44:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 27 มกราคม 2555, 22:04:40
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 27 มกราคม 2555, 21:00:46
                     
                       ขอบคุณ  คุณเหยงมาก  ที่นำเรื่องรัฐมนตรีมาลงให้ทราบ

                       แต่มันเป็นเรื่องไกลตัวผม  ไม่เกี่ยวกับกาย-ใจ ของผม  ผมขอผ่านการเมือง  เรื่องอื่นๆ อย่ามาถามผมเลย  ไม่ทราบจริง ๆ เพราะผมไม่ติดตาม ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์  TV ไม่ทราบจริง ๆ ครับ

                       เมื่อเช้าไปธนาคารออมสิน  จะไปรับเงิน 5,000 บาท ค่าน้ำท้วม ปรากฏว่ายังไม่ได้  เรื่องยังไม่ได้อนุมัติ (แต่ความจริง ไม่มีเงินจ่าย) ก็ต้องคอยกันต่อไป ตามสิทธิ ครับ

                        อากาศที่นครศรีธรรมราชดีมาก  ไม่มีฝน  เมื่อเย็นไปเดินออกกำลังกาย รำชิกง และโยคะ  ลมเย็นสบายจริงๆ ครับ  อากาศสดชื่นมาก  ผิดกับที่ กทม. เลยครับ

                        สวัสดี 


พี่สิงห์

บ้านที่นครสวรรค์เริ่มท่วม 21 ก.ย. สูบน้ำออกจนหมดเมื่อ 8 พ.ย. (ช่วงที่เดินทางไปงานศพน้องแดง ที่อำเภออู่ทอง)
ผมเพิ่งได้รับเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมานี่เองครับ

ส่วนเงินค่าเสียหายจากการที่เครื่องมือทำมาหากินจมน้ำเสียหาย 10,000 บาท
รวมทั้งของใช้ในบ้าน อาทิ เครื่องไฟฟ้า รวมแล้วไม่เกิน 20,000 บาทนั้น
ยังไม่มีวี่แววครับ


จังหวัดนครศรีธรรมราช พ้นจากปัญหาน้ำท่วมแล้วหรือ ??
สวัสดีครับ คุณเหยง

              เมื่อวานคนขับรถโรงแรมบอกว่า อาจารย์ เมื่อหลังตรุษจีน ฝนตกหนักทั้งวัน น้ำท้วมในเขตเทศบาล แต่บังเอิญฝนหยุดตก น้ำเลยแห้งหมด

              ปัญาของนครศรีธรรมราชคือ ถ้าฝนตกทั้งวันทั้งคืน  วันที่สองน้ำจะท้วมครับ แต่ถ้าฝนหยุดตก น้ำก้จะไหลลงทะเลหมดภายในวันเดียวเหมือนกัน  ถ้าทางเทศบาลพยายามรักษาคูคลอง  ให้พร่องน้ำและไม่มีอะไรไปขวางทางน้ำ ธรรมชาติจะเป็นอย่างนี้  ดังนั้น ไม่ต้องวิตกกังวลอะไรเลย  ชาวบ้านเขาอยู่มาอย่างนี้หลายชั่วอายุคนแล้ว  ยกเว้นคนรุ่นใหม่เท่านั้น ครับ

              เมื่อวานผมมองจากเครื่องบิน ก็ไม่มีน้ำขังที่ไหนเลยครับ

              เช้านี้ไม่มีฝน แต่มีเมฆบ้าง ลมไม่มีแสดงว่าวันนี้สาย ๆ ฝนตกแน่นอน ครับ

              สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5219 เมื่อ: 28 มกราคม 2555, 08:05:21 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                       วันนี้ขณะเดินจงกรมออกกำลังกายยามเช้าที่เทอเรสชั้น ๓ จิตมันก็คิดขึ้นมา พอมีสติ เป็นสมาธิ อยู่ในช่วงเผลอ-ภวังค์ เป็นอารมณ์เดียวทำให้เราเห็นขันธ์ ๕ ในตัวของเรา เห็นการทำงานของมัน เห็นจิต(ธรรมชาติของอารมณ์)เรานั้นมันมาอาศัย รูป(ร่างกาย) อยู่ เห็นจิตมันรับรู้ได้(วิญญาณ)ทางอายตนะ และเห็นสิ่งที่จิตมันสะสม ในสิ่งที่รับรู้ ปรุงแต่ง สุข ทุกข์ คือเจตสิก จนกลายเป็นอัตตา หรือนิสัย หรือสันดาล ของเราไป  ทั้งๆ ที่จิตเดิมแท้ของเราเป็นจิตประภัสสร คือว่างเปล่า แต่เพราะความอยากตั้งแต่แรกเกิด จากเจตสิกสะสมกันมานี่ละ เลยทำให้จิตของเราหลงอยู่ในวัฏจักรแห่งความสุข ความต้องการทางโลก  จนลืมจิตเดิมแท้ของตัวเรา  จนอยากแก่การที่จะกลับไปสู่จิตเดิมแท้ที่เป็นจิตประภัสสร เพราะเจตสิกตัวเดียวเท่านั้น

                        ดังนั้น ถ้าเราทราบความจริงอย่างนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องฝึกจิตของเด็ก ๆ  ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว ไม่ให้หลงอยู่ใน โมหะ  โทสะ  โลภะ  เด็กคนนั้นก็จะมีกิเลส(สิ่งที่ยึดเกาะจิต ทำให้เป็นทุกข์ สุขอยากได้ใหม่) น้อย ๆ

                        ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "มนุษย์นี้เป็นสัตว์ที่ประเสริฐ สามารถฝึกได้(ปัญญา)"

                        เช้านี้ผมได้นำ "หัวใจพุทธศาสนา" ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต) มานำเสนอต่อท่านเป็นตอนสุดท้าย  ตอนต่อไปจะเป็นเรื่อง "แก่นพุทธศาสนา" เพื่อให้ทุกท่านได้ "เจริญปัญญา" ครับ

                        สวัสดี




-๑-

หัวใจพุทธศาสนา

ตอน ๖

อย่าเขลาตามคนขาดความว่า  พุทธศาสนามองโลกแง่ร้าย

หลักพุทธสอนว่า  ทุกข์เราต้องมองเห็น  แต่สุขสำหรับจะมีจะเป็น


      พูดถึงตรงนี้ก็ขอแทรกอีกนิดเป็นข้อสังเกตว่า  พอมองที่หลักอริยสัจ ก็เห็นว่าพระพุทธศาสนาเริ่มต้นด้วยทุกข์  บางทีคนภายนอกหรือแม้แต่คนภายในนี่เอง มองว่าพระพุทธศาสนาสอนแต่เรื่องทุกข์  อะไรก็เป็นทุกข์  ชีวิตก็เป็นทุกข์

      ฝรั่งบางทีก็ว่าพระพุทธศาสนาเป็น pessimism คือมองโลกในแง่ร้าย  ไปอ่านดูเถอะ  พวก encyclopedia และหนังสือตำรับตำราฝรั่ง  จำนวนมากหรือส่วนมาก  พอพูดถึงพระพุทธศาสนา  ก็เริ่มด้วยว่าพระพุทธศาสนามองว่าชีวิตเป็นทุกข์  บอกว่า life หรือ existence เป็น suffering  อะไรทำนองนี้  ซึ่งชวนให้เกิดความเข้าใจผิด

      ตรงนี้ชาวพุทธเองจะต้องชัดเจน

      ก่อนจะชี้แจงเรื่องนี้  ขอตั้งข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า  คนพวกที่ไม่ได้เรียนพระพุทธศาสนาในแง่ของตำรับตำราหรือทฤษฎี  ถ้าอยู่ ๆ เขาเข้ามาเมืองไทย  อาจจะได้ภาพของพระพุทธศาสนาที่มีความประทับใจในทางตรงกันข้ามกับพวกที่อ่านหนังสือ

      พวกที่อ่านหนังสืออาจเข้าใจว่าพระพุทธศาสนานี่สอนอะไรต่ออะไรให้มองชีวิตเป็นทุกข์  ไม่สบายเลย

      แต่พวกที่ไม่ได้อ่านหนังสือ  อยู่ ๆ เข้ามาเมืองไทย  เพียงแต่รู้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ  พอมาเห็นคนเมืองไทยยิ้มแย้มแจ่มใส อย่างที่เรียกว่าเป็น the land of smile สยามเมืองยิ้ม  เลยรู้สึกว่าเมืองไทยเป็นสุข

      เคยมีฝรั่งหนุ่มสาวไปหาอาตมาที่วัด  ไม่รู้จักกัน  ไม่รู้ว่าใครแนะนำไป  ถามเขาว่ามาทำไม  เขาบอกว่าเขาอยากรู้เรื่องพระพุทธศาสนา  ก่อนมาไม่ได้สนใจ  แต่มาแล้ว  ตอนเช้ายืนที่หน้าต่างมองลงไปเห็นคนไทยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  ดูคนไทยมีความสุขดี  พระพุทธศาสนาสอนอะไร ทำให้คนไทยมีความสุข

      บางรายถึงขนาดบอกว่า  เขาไปเที่ยวตามบ้านนอก  ไปเห็นแม้แต่งานศพ  สนุกสนานกันจัง  เมืองฝรั่งไม่เป็นอย่างนี้เลย  เวลามีงานศพฝรั่งหน้าตาเคร่งเครียดเหลือเกิน   จิตใจไม่สบายเลย  แต่เมืองไทยสนุก  แม้แต่งานศพก็ไม่ทุกข์  เขาอยากรู้ว่าพุทธศาสนาสอนอะไร

      นี่เป็นความประทับใจอีกแบบหนึ่ง  สำหรับคนที่มาเห็นภาพเชิงปฏิบัติในชีวิตความเป็นอยู่ว่าชาวพุทธมีความสุข  ตรงกันข้ามกับเมืองฝรั่งที่มีแต่หน้าตาเตร่งเครียด  ยิ้มยาก  มีความทุกข์มาก  เป็นโรคจิตมาก

      จะโยงอย่างไรให้สุขกับทุกข์รวมอยู่ในภาพของพุทธศาสนาอันเดียวกัน  ถ้าเราจับหลักได้ถูกจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

      คำตอบอยู่ที่ หลักกิจในอริยสัจ หรือหน้าที่ต่ออริยสัจที่พูดไปแล้ว  พระพุทธศาสนาสอนอริยสัจ ๔ เริ่มด้วยทุกข์  หน้าที่ทุกข์  คือปริญญา  คือต้องรู้ทันมัน  เราไม่มีหน้าที่เป็นทุกข์  เพราะปัญหาเป็นสิ่งที่เราต้องรู้เข้าใจ  ถ้าเราจับจุดปัญหาไม่ได้  เราก็แก้ปัญหาไม่ได้ ไม่เฉพาะตัวปัญหาเท่านั้น  เราจะต้องรู้เข้าใจสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งที่รองรับหรือเป็นที่ตั้งของปัญหา  คือรู้เท่าทันชีวิตสังขารและรู้เท่าทันโลก

      อันนี้เป็นเรื่องของการรู้  หน้าที่ต่อทุกข์มีอย่างเดียวคือ ปริญญา พูดง่าย ๆ  ทุกข์นี้สำหรับปัญญารู้...จบแค่นี้

      ถ้าใครเอาทุกข์มาเข้าตัว  ใครทำตัวให้เป็นทุกข์  แสดงว่าปฏิบัติผิดหลัก  ไม่มีที่ไหนพระพุทธเจ้าสอนให้คนเป็นทุกข์  สอนแต่ให้รู้เท่าทันทุกข์  เพื่อจะแก้ไขได้  มรรคต่างหากที่เรามีหน้าที่ปฏิบัติ  ลงมือทำให้มีให้เป็น

      สุขตรงข้ามกับทุกข์  สุขอยู่ในอริยสัจข้อไหน  สุขอยู่ในข้อนิโรธ  คือในข้อจุดหมาย  แต่เราไม่นิยมใช้คำว่าสุข  เพราะสุขนี้จะเป็นสัมพัทธ์ตลอด  เป็น relative  เพราะตราบใดที่มีสุขก็หมายความว่ายังมีทุกข์ปนอยู่  คือยังไม่พ้นทุกข์  ยังไม่ชัดว่าทุกข์หมดหรือยัง  แต่ถ้าเมื่อไรทุกข์ไม่มีเหลือ  อันนี้จะพูดว่าสุขหรืออย่างไรก้แล้วแต่  ถ้าพูดวาสุขก็หมายถึงสุขสมบูรณ์เลย  ไม่มรทุกข์เหลืออยู่

      พุทธศาสนายอมรับมาตรฐานตัดสินต่อเมื่อ ไร้ทุกข์หรือไม่มีทุกข์เหลือเลย  จุดหมายของพุทธศาสนาคือไม่มีทุกข์เหลือเลย  นิโรธนั้น  ที่แท้ไม่ได้แปลแค่ดับทุกข์  ขอให้สังเกตว่า “นิโรธ” นั้น แปลว่า การไม่เกิดขึ้นแห่งทุกข์  เพราะดับทุกข์แสดงว่าเรามีทุกข์  จึงต้องดับมัน  พอเราปฏิบัติไปถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนาก็ถึงภาวะไร้ทุกข์  ไม่มีทุกข์เหลือ  ไม่มีการเกิดขึ้นแห่งทุกข์อีกต่อไปเลย

      ส่วนในระหว่างปฏิบัติ  ระหว่างที่เป็นสัมพัทธ์  ทุกข์จะน้อยลงและจะมีสุขมากขึ้น  ฉะนั้น สุขจึงจัดอยู่ในฝ่ายนิโรธ ในฝ่ายจุดหมาย  กิจหรือหน้าที่ต่อนิโรธคือ  สัจฉิกิริยา  แปลว่า  ทำให้ประจักษ์แจ้ง  คือทำให้ประจักษ์แก่ตัวหรือบรรลุถึง  สุขจึงเป็นภาวะที่เราบรรลุถึงเพิ่มขึ้น ๆ
 
      หมายความว่าทุกข์เป็นสิ่งที่เรารู้ทันแล้วก็หาทางแก้  เราจะก้าวไปสู่จุดหมาย  คือมีสุขเพิ่มขึ้นเรื่อย  ทุกข์น้อยลงเรื่อย  จนกระทั่งหมดทุกข์  เป็นสุขที่แท้  คือ “นิพฺพานํ  ปรมํ  สุขํ”  นิพพานเป็นบรมสุข  ระหว่างปฏิบัติเราก็ห่างทุกข์และมีสุขมากขึ้นเรื่อย

      ฉะนั้น  ในชีวิตจริงคือภาคปฏิบัติ  ชาวพุทธจึงต้องมีสุขมากขึ้นและทุกข์น้อยลงไปเรื่อย ๆ  นี่คือการที่เราพูด พุทธศาสนาในเชิงปฏิบัติซึ่งเป็นชีวิตจริง  ฝรั่งจึงเห็นชาวพุทธมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส  แต่ถ้าไปอ่านหนังสือเป็นเชิงทฤษฎีที่คนเขียนจับหลักไม่ชัด  พอเริ่มด้วยทุกข์ก่อนก็มองพุทธศาสนาเป็นทุกข์ไป  แต่ที่จริงทั้งหลักการและภาคปฏิบัติของพระพุทธศาสนาสอดคล้องเป็นอันเดียวกัน

      พุทธศาสนิกชนต้องจับหลักเรื่องกิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจนี้ให้ได้ว่า...

      ๑. ทุกข์  เรามีหน้าที่ ปริญญา  รู้ทัน  ศึกษาให้เข้าใจว่ามันอยู่ที่ไหน  มันเป็นอย่างไร  จับตัวมันให้ชัด  เพื่อให้พร้อมที่จะแก้ไข

      ๒. สมุทัย  ตัวสาเหตุของทุกข์นั้น  เราจึงมีหน้าที่  ปหานะ  กำจัดแก้ไข

      ๓. นิโรธ  เรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา บรรลุจุดหมายที่บำราศทุกข์ เป็นสุขมากขึ้น ๆ

      ๔. มรรค  ข้อนี้เท่านั้นที่เรามีหน้าที่ ภาวนา  ปฏิบัติลงมือทำ

      สรุปความว่า  พระพุทธศาสนา สอนเรื่องทุกข์ไว้สำหรับปัญญารู้  แต่สอนเรื่องสุขสำหรับให้เรามีชีวิตเป็นจริงอย่างนั้น

      พูดอย่างสั้นว่า  พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์  และให้อยู่เป็นสุข

      หรือให้สั้นกว่านั้นอีกว่า  พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์  แต่ให้สุข   คือ  ทุกข์สำหรับเห็น  แต่สุขสำหรับเป็น

      เพราะฉะนั้น  จะต้องมองพระพุทธศาสนาว่าเป็น ศาสนาแห่งความสุข  ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์   ฝรั่งจับจุดไม่ถูก  ก็เข้าใจผิดพลาด  ขอผ่านไป  ทั้งหมดนี้ตั้งเป็นข้อสังเกต  เป็นอารัมภบท


      
“ ทุกข์สำหรับเห็น  แต่สุขสำหรับเป็น ”

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5220 เมื่อ: 28 มกราคม 2555, 20:56:07 »



                             ผมอยู่บ้าน  กทม. เรียบร้อยแล้ว

                             วันนี้ Nok Air ไม่ Late และผมใช้เวลานั่งรถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดิน

                             และซ้อนท้ายมอเตอรืไซด์เข้าบ้าน หมดเงินไป 148 บาท

                             ถึงบ้าน ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง สามสิบนาที จากประตูเครื่องบินเปิด

                             ราตรีสวัสดิ์ ทุกท่านครับ 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5221 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 13:34:58 »

ชัดเจนน่ะครับ.....

กรมชลฯ มีแผนผันน้ำเข้าทุ่งนาภาคกลาง หากเกิดวิกฤตน้ำท่วม
29 มกราคม 2555 12:59 น.

 
       อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งเชียงราก จ.ปทุมธานี อ.บ้านแพรก และอ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.ดอนพุด จ.สระบุรี คือพื้นที่รับน้ำตามแผนของกรมชลประทาน หากเกิดวิกฤตน้ำท่วม
        นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน อธิบายว่า เนื่องจากปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศให้ชาวนาเร่งทำนาเร็วขึ้น และต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบสองให้เสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม หรืออย่างช้าต้นเดือนกันยายน ซึ่งนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วน่าจะเป็นพื้นที่รับน้ำได้
        แม้ว่ารองอธิบดีกรมชลประทานจะยืนยันว่า พื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยรับน้ำในฤดูน้ำหลากได้ แต่การใช้ประโยชน์ที่ดินหลายพื้นที่ในที่ราบลุ่มภาคกลางเปลี่ยนไปแล้ว เช่น ทุ่งเชียราก จ.ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมเคยเป็นทุ่งนารับน้ำ ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพเป็นเขตเมืองที่มีทั้งหมู่บ้านจัดสรร สถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ตั้งอยู่ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ตามแผน

 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000012886
 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5222 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 17:49:43 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 29 มกราคม 2555, 13:34:58
ชัดเจนน่ะครับ.....

กรมชลฯ มีแผนผันน้ำเข้าทุ่งนาภาคกลาง หากเกิดวิกฤตน้ำท่วม
29 มกราคม 2555 12:59 น.

 
       อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งเชียงราก จ.ปทุมธานี อ.บ้านแพรก และอ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.ดอนพุด จ.สระบุรี คือพื้นที่รับน้ำตามแผนของกรมชลประทาน หากเกิดวิกฤตน้ำท่วม
        นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน อธิบายว่า เนื่องจากปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศให้ชาวนาเร่งทำนาเร็วขึ้น และต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบสองให้เสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม หรืออย่างช้าต้นเดือนกันยายน ซึ่งนาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วน่าจะเป็นพื้นที่รับน้ำได้
        แม้ว่ารองอธิบดีกรมชลประทานจะยืนยันว่า พื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยรับน้ำในฤดูน้ำหลากได้ แต่การใช้ประโยชน์ที่ดินหลายพื้นที่ในที่ราบลุ่มภาคกลางเปลี่ยนไปแล้ว เช่น ทุ่งเชียราก จ.ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมเคยเป็นทุ่งนารับน้ำ ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพเป็นเขตเมืองที่มีทั้งหมู่บ้านจัดสรร สถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ตั้งอยู่ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ตามแผน

 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000012886
 


คุณเหยง 
                 
                นั่นคือ สิ่งที่คุณบรรหาร  สั่ง คือผันน้ำเข้าทุ่งตะวันออก เท่านั้น หมายความว่า สุพรรณบุรี น้ำจะไม่ท้วม

                ที่จริงกรมชลประทานต้องผันน้ำเข้าทั้งทุ่งตะวันออและทุ่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ด้วยพื้นที่รวมกันมากกว่า ๖ ล้านไร ของนาข้าว ผมเชื่อว่า ระดับน้ำที่ท้วมจะไม่สูงมาก ข้าวยังอยู่ได้ ประชาชนชาวนา ยังอยู่ได้  วัวควายยังอยู่ได้ เพราะในสมัยที่ผมยังเรียนหนังสืออยู่นั้น น้ำท้วมทุกปีในฤดูน้ำหลาก แต่ท้วมไม่สูง และท้วมนานไม่เกินครึ่งเดือนเท่านั้น ครับ เท่าที่จำได้ไม่เคยท้วมเลยเอวหรือระดับออกเลย เพราะมันกินพื้นที่กว้างเนื่องจากไม่มีถนน  ไม่มีเขื่อนไปกั้นมันไว้ น้ำสามารถมีอิสสระไปไหนก็ได้ตามพื้นที่ลุ่ม มีข้าวที่จมน้ำไม่ถึง ๑๐% เฉพาะที่ลุ่มจริงเท่านั้น

                     ดังนั้น ต้องกลับไปหาจุดเดิมในอดีตที่น้ำเคยท้วม ปล่อยมันให้เป็นธรรมชาติ กระจายน้ำไปทั้งสองฝั่ง  จะไม่มีใครเดือดร้อนมากเพราะระดับน้ำจะไม่สูง  ยิ่งมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ควรจะท้วมเลยด้วยซ้ำ

                     ถ้าทำแบบกรมชลประทาน คำถามคือ เลือกที่รักมักที่ชัง ประชาชนจะรับไม่ได้ เพราะประชาชนก็ไม่ได้โง่แบบรัฐบาล และโง่แบบกรมชลประทานเลย  แต่เพราะเขาไม่มีอำนาจ  ไม่มีการต่อรองใดๆ เท่านั้น จึงไม่มีเวทีให้แสดง  ลองเปิดประชาพิจารณ์ซิครับ  รับลอง ได้เรื่องจริงๆ เพราะประชาชนเขาก็รู้ว่าจะแก้ปัญหาน้ำท้วมอย่างไร  ยกเว้นพวกนักการเมืองเท่านั้นที่มีผลประโยชน์แอบแฝง และมีอำนาจสั่งการอยู่ในมือ จึงโง่และแกล้งโง่ ครับ

                     สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5223 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 18:00:31 »

                     
                       เย็นนี้ ผมนั่งเฝ้าแม่อยู่คนเดียว ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เพราะน้องสาว  พี่สาว และคนดูแลแม่  ไปร้านค้า ไปซื้อของกัน และผมต้องให้พยาบาลให้อาหารทางสายยางให้แม่แทน เพราะผมทำไม่เป็นครับ

                       ผมเปิดเพลงไทยเดิมให้แม่ฟัง แทนการฟังพระบรรยายธรรม

                       ตามที่ผมรับปากพี่กาญจนาไว้  จะต้องไปรับประทานอาหารที่ร้านสมบูรณ์ สวนหลวง  แต่ด้วยความเป็นห่วงแม่  ผมจึงต้องทุศีลกับพี่กาญจนา เพราะต้องนำเก้าอี้อาบน้ำไปให้แม่ด้วย  จึงยอมผิดศีล 

                       ต้องกราบขอโทษ จริง ๆ ครับพี่กาญจนา  ทีรักและเคารพยิ่ง

                       วันนี้น้องสาวบอกว่า สำหรับคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้แบบแม่  ต้องเตรียมเงินเอาไว้เลย เดือนละ สามหมื่น บาท เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด  ดังนั้น ถ้าเราไม่มีเงินจำนวนดังกล่าว ก็รอความตายได้เลยแบบผม หรือไม่ แก้ที่ต้นเหตุ ดูแลเรื่องอาหาร  ออกกำลังกาย  นอนแต่หัวค่ำ  ปฏิบัติธรรม ให้มากไว้  เป็นการป้องกันไม่ให้เป็นโรคเรื้อรัง ครับ

                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5224 เมื่อ: 29 มกราคม 2555, 18:22:36 »

พี่สิงห์

กรมชลฯ จะสนองนโยบายของ ท่านนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 แบบไม่ลืมหูลืมตา ก็คงต้องปล่อย-ไม่ว่ากัน
แต่กรรมที่ทำไว้กับคนทุ่งตะวันออก (สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ฯ)
คนสุพรรณบุรี ก็คงจะต้องเป็นผู้รับ แบบเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ??
แต่ก็เข้าทำนอง "กรรมใด-ใครก่อ" เพราะตอนนี้ต้องควักตังส์จ่ายค่าซ่อม-ค่าสร้างบ้านกว่า 70 หลัง
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 207 208 [209] 210 211 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><