23 พฤศจิกายน 2567, 15:30:01
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 142 143 [144] 145 146 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3559798 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 48 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3575 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 10:50:16 »

                       ต้องขออภัย  inter net หมดครับ ปกติใช้เดือนละ 150 บาท เติมไปแล้ว 100 บาท หมด จึงต้องเลื่อนไปใส่ 150 บาทเร็วขึ้นครับในเดือนนี้

คำเตือน การป้องกันน้ำท้วม จากเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม !!!

                      - ท่านอย่าไปกักน้ำเอาไว้  อย่าไปขวางทางน้ำ ถ้าทำต้องทำให้แข็งแรง คือยึดหลัก สูงเท่าไร ต้องมีความกว้างสามเท่า

                       - หาทางให้น้ำมันผ่านไปให้ได้ เพราะถ้าไปขวาง น้ำมีกำลังหนุนมาอย่างต่อเนื่อง จากการระบายของเขื่อนต่างๆ อย่าลืมน้ำที่นครสวรรค์(เหนือเขื่อน) เพียงแค่ทรง ยังไม่ลดลง นั่นเป็นตัวยืนยันเรื่องกำลังหนุนของน้ำ ของเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมตัวนี้

                       - ระดับน้ำที่สิงห์บุรี(ท้ายเขื่อน) ระดับน้ำยังทรง บางจุดเพิ่มขึ้น นั่นแสดงว่า เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมยังมีกองกำลังบำรุงอย่างต่อเนื่อง ครับ ไม่มีการตัดตอน คือผันน้ำออกไปทางสุพรรณบุรี และทุ่งนาฝั่งตะวันตกที่ยังว่าง รอรับน้ำ  แต่กรมชลประทานไม่ส่งน้ำไปไว้ เป็นแก้มลิงธรรมชาติชั่าวคราว

                       - วันนี้เป็นวัน D-day วันที่สองที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ตอนนี้ระดับน้ำไม่ได้ลดลง ยังคงเพิ่มขึ้นสะสมพลังอยู่ขณะนี้ มวลน้ำอยู่ที่รังสิต เรายังไม่ได้ตัดกำลังสำรองของน้ำลงแต่ประการใด เพราะเราไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เราแก้แต่ปลายเหตุ ท่านดูได้มีใครเอ่ยถึงการแก้ต้นเหตุเหมือนผมบ้างไหม  ไม่มีเลยครับ เราไม่ได้ชะลอน้ำในแก้มลิงเลย  จริงอยู่รัฐบาลทำงานหนักมาก แต่มันไม่ถูกจุดเกิดเหตุ มาตั้งแต่ต้น และจนถึงบัดนี้ ครับ

                        - วันนี้น้ำยังไม่ท้วมกรุงเทพฯ เพราะเจ้า "ซึนามิของผม" กำลังสะสมตัวเองอยู่ที่รังสิตให้แข็งแกร่งจากนั้นก็จะเข้าโจมตี ต่อไปเมื่อแข็งแกร่งแล้ว เพียงรอเวลาสะสมน้ำเท่านั้น  นอนนี้มันกำลังเข้าทุ่งรังสิตฝั่งตะวันออกอยู่ เติมเมื่อไร กำลังมันจะสูงขึ้น ครับ

                        - ผมคิดว่า อีกสอง-สามวัน เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมมันจะเข้มแข็งขึ้น พร้อมที่จะจู่โจม ดอนเมืองเป็นด่านแรก ถ้าผ่านได้ก็แนวคันกั้นน้ำ กทม. จะเป็นด่านสุดท้าย ที่เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมจะโจมตี

                        - ผมหวังว่าทุกท่าน คนจะดูภาพออกนะครับ น้ำไหลจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำเสมอ  ต้องตัดกำลังบำรุง ไปเรื่อยๆ เราต้องใช้เวลาเป็นตัวช้วยชะลอน้ำไหลให้ช้าเข้าไว้ ให้มันไปอยู่แก้มลิงธรรมชาติ คือทุ่งกว้าง น้ำจะมีเวลาระบายไปสู่ทะเลมากขึ้น  กรุงเทพมหานครจะไม่ท้วมครับ

                        - ผมกำลังฟังรายการช่อง ๑๑ ไปด้วย ข้อมูลที่คุณสร้อยฟ้า คุณสุภาพ และทีมโฆษกรัฐบาลพูด ไม่เข้าใจ มองไม่ออกเลย  ผมไม่มีปัญญา ส่งข้อมูลไปให้  ขอให้ใครก็ได้ ส่ง สิ่งที่ผมเขียน เรื่องเจ้า "ซึนามิเงียบ" ตัวนี้เอาไปให้ทราบ เขาจะหลับตานึกภาพออกเอง พวกเขาหลงประเด็น ทีมโฆษก ยังยืนยันว่า เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมลงทะเลไปหมดแล้ว เหลือแต่น้ำในทุ่งที่ควบคุมไม่ได้  ผมไม่เชื่อแบบนั้น ผมยังเชื่อทฤษฎี เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมอยู่ เพราะกำลังบำรุงยังส่งมาอย่างต่อเนื่อง ครับ  ช่วยทีเถอะ เพื่อเห็นแก่ประชาชนตาดำๆ ที่ได้รับทุกข์โดยที่ตัวเองไม่ได้ก่อ  ทีมโฆษกรัฐบาล เองก็ยังบอกว่า ไม่รู้ว่าน้ำมาจากไหน ในเมื่อบอกว่าลงทะเลไปแล้ว เลยต้องโทษน้ำในทุ่งที่ควบคุมไม่ได้ ตามที่กรมชลประทานบอก เศร้าสิ้นดีเลยครับ  รัฐบาลไทย !!!

                          สวัสดี  
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3576 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 11:03:25 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 17 ตุลาคม 2554, 08:02:02
มวลน้ำก้อนใหญ่อยู่ไหนกันแน่  เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม !!!

                      เมื่อวานตอนเที่ยงที่ทุกท่านดู TV ฟังข่าวทางวิทยุนั้น ท่านอธิบดีกรมชลประทาน ท่านบอกว่ามวลน้ำก้อนใหญ่ได้ลงทะเลไปแล้วตั้งแต่เวลา 09:00 น. ของวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (ถ้าผมจำไม่ผิด)

                       แต่ในความเห็นของผมเจ้า "ซึนามิเงียบ" (ผมตั้งชื่อของผมเองครับ เพราะไม่มีใครตั้งให้) มันเริ่มต้นอาระวาดตั้งแต่เมื่อไร? ลองมาทบทวนกันครับ

                      - น้ำเริ่มท้วมมานั้น ต้องไปทบทวนในเวบที่ผมเริ่มเขียน มันท้วมมาก่อนหนึ่งอาทิตย์ที่ผม จะกลับบ้านไปเยี่ยมพี่สาว เอายาและเงินไปทิ้งไว้ให้ใช้ระหว่างน้ำท้วม ตอนนั้นไม่มีอะไร เป็นปกติเหตุการน้ำท้วมธรรมดาเช่นทุกปี ไม่มีใครคาดคิดทั้งนั้น รวมทั้งคุณบรรหาร ท่านอธิบดีกรมชลประทาน และผู้ว่า กทม. มีเพียงผมคนเดียว ที่ป่าวประกาศให้ระวังไปทั่ว แต่ไม่มีใครสนใจครับ

                      - หลังจากนั้นระดับน้ำขึ้นรวดเร็วมากเพียงอาทิตย์เดียว ด้วยความแรง มีความเร็ว ปริมาณมาก มีกองหนุนจากน้ำเหนือที่ปล่อยมาจากเขื่อนจำนวนมาก ทำให้ระดับน้ำท้วมอำเภออินทร์บุรีเร็วมาก นี่คือ จุดกำเหนิดของเจ้า "ซึนามิเงียบ" ที่ผมตั้งชื่อให้ มันอาระวาดสิ่งที่ขวางหน้ามัน คือพื้นที่อำเภออินทร์บุรีทั้งอำเภอฝั่งตะวันออกและเรื่อยมาจนถึงอำเภอเมือง อำเภอพรหมบุรี ของจังหวัดสิงห์บุรี ผลเป็นอย่างไรหรือ?

                        ผลคือ คอสะพานเชียงราก ประตูระบายน้ำไทรงาม และประตูระบายน้ำบางโฉมศรีพังพินาศ เป็นผลให้น้ำจำนวนมหาศาลไหลทะลักเข้าไปในพื้นที่แก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นผลให้ท่าวุ้งบ้านหมี่ อำเภอเมือง ของจังหวัดลพบุรี จมน้ำระดับ 3.00 เมตรทันที อยู่ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ท่านนายกเห็นว่าชาวลพบุรีลำบากมากจึงสั่งให้กองทัพบกทำการปิดประตูระบายน้ำบางโฉมศรี(เป็นคำสั่งที่ผิดต่ออยุธยา นิคมอุตสาหกรรม) ทหารใช้เวลาอยู่สองอาทิตย์สามารถชะลอน้ำได้ 80% ท่านคงจำได้ นายกเทศมนตรีสิงห์บุรีออก TV บอกว่าชะลอน้ำประตูระบายน้ำบางโฉมศรีได้ น้ำจะกลับมาอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยาดังเดิม เพราะน้ำไม่มีที่ไป กลัวจะรักษาเขตเศรษฐกิจ สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยาเอาไว้ไม่ได้

                       - ผลที่ตามมาคือ อยุธยาน้ำเริ่มล้นคันกั้นน้ำ ต้องเสริมอย่างหนักให้สูง ช่วงนี้เอง กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บอกว่าน้ำเต็มทุกเขื่อนจึงต้องปล่อยน้ำทาง ทางน้ำล้นจากเขื่อนภูมิพล สิริกิตื์ แควน้อย ป่าสักพระรามหก ประกอบกับมีพายุพัดผ่าน น้ำท้วมเชียงใหม่ น้ำท้วมภาคเหนือหลายจังหวัด

                       - เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมได้กำลังเสริมจากเขื่อนในปริมาณที่มาก ได้กำลังเสริมจากการชะลอน้ำของประตูระบายน้ำบางโฉมศรีกลับมา ได้กำลังเสริมที่เขื่อนป่าสักปล่อยมาจำนวนมหาศาล และฝน

                       - วันพฤหัสบดีที่ 6ตุลาคม ผมผ่านบางปะหันเช้ามืด ระดับน้ำพอเปียกถนน แต่เที่ยงสูงถึงหนึ่งเมตร เจ้า "ซึนามิเงียบ" มีกำลังมหาศาลได้ถล่มอยุธยาตัวเมืองเรียบพนาสูญ ทุกคันกั้นน้ำพังหมด ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยทันทีเพียงเวลาไม่ถึง ๑๒ ชั่วโมง ระดับน้ำสูงมากกว่า 3.00 เมตร ขณะนั้นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆเริ่มเสริมคันกั้นน้ำให้สูงกว่าเดิม รัฐบาลเพิ่งเริมตระหนักความจริงแล้ว ตืนตัว แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ครับ

                        - เจ้า "ซึนามิเงียบ" หลังจากทำลายอยุธยาเมืองเก่าเสร็จก็เข้าโจมตีนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ที่เสริมคันกั้นน้ำอย่างดีเอาไว้รอ แล้ว เพียงเวลาไม่ถึง ๑๒ ชั่วโมง ทุกอย่างในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะก็จมอยู่ใต้น้ำหมดทันที เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมยังได้รับกำลังเสริมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและมีปริมาณมากด้วยอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เพราะความเขลาของท่านบรรหาร  ศิลปอาชา  และท่านอธิบดีกรมชลประทาน  ที่ไม่ยอมผันน้ำไปออกทะเลที่สุพรรณบุรี และแก้มลิงฝั่วงตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเขตติดต่อสุพรรณบุรี ตามที่ผมขอร้อง บนบานศาลกล่าว ต่าง ๆ นาๆ สร้างทิฏฐิให้ท่านโกรธผม จะได้ทำตาม แต่ท่านใจแข็งวางอุเบกขา ไม่ทำ ปล่อยน้ำอยู่ในเจ้าพระยา โดยท่องคาถา บอกประชาชนว่า จะสามารถควบคุมสถานการณ์น้ำได้ อย่าตื่นกลัว

                        - ผลจากการที่ไม่ตัดกำลังส่งบำรุง ตามที่ผมขอร้อง เจ้า "ซึนามิเงียบ"ของผม จึงมีกำลังเพิ่มทุกวินาที มากกกว่ากำลังที่เสียไปในพื้นที่น้ำท้วมและลงทะเล จึงเข้าทำลายนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ที่เตรียมการไว้อย่างดีกว่านิคมอุตสาหกรรมโรจนะ สามารถโจมตีได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมงก็สามารถเอาชนะได้ หลังจากนั้นก็มาโจมตีนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินได้สำเร็จ โดยง่ายดายด้วยกำลังหนุนที่มหาศาล ณ เวลานั้น

                        - จะเห็นว่าเพียงหนึ่งอาทิตย์เท่านั้น เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม ได้ทำลาย อยุธยา  นิคมอุตสาหกรรมโรจนะเฟส ๑-๒ ไฮเทค และบางปะอิน ให้จมอยู่ในน้ำหมด ต่อจากนั้นก็เริ่มเข้าโจมตีพื้นที่ปทุมธานี ที่เตรียมการณ์ไว้อย่างดี และก็ชนะได้ทุกจุดเพียงเวลาสี่วันเท่านั้น

                        - เมื่อวานนี้เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม ได้จมพื้นที่ประตูน้ำพระอินทร์ เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ น้ำล้นท้วมถนนสายเอเซียทั้งหมดตั้งแต่บางปะหันลงมา ท้วมถนนพหลโยธินทั้งหมดตั้งแต่วังน้อยลงมา เห็นแต่น้ำเจิ่งนองเต็มพื้นที่ แล้วท่านอธิบดีกรมชลประทานบอกว่า มวลน้ำก้อนใหญ่ได้ลงทะเลไปแล้วเมื่อเวลา 09:00 น. นั้น มันอะไรกันแน่ ครับ

                        - สำหรับเมื่อคืนนี้ นั้น เช้านี้ผมไม่ได้ดู TV เช้านี้จึงยังไม่ทราบ แต่เข้าใจว่า เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม คงอาระวาด ตลาดไท นิคมอุตสาหกรรมนวนคร สนามกอล์ฟไพน์เฮิส รังสิต คลองหลวง เพราะเห็นภาพน้ำล้นถนนพหลโยธินหน้าธรรมศาสตร์และม.กรุงเทพฯ

                          แต่อาจจะเป็นข่าวดีที่จะสามารถลดกำลังเจ้า "ซึนามิเงียบ"ของผม ได้ คือ น้ำล้นถนนพหลโยธินข้ามฝั่งไปนั้น จะเป็นทุ่งกว้างของรังสิต ถึงนครนายก พื้นที่จะสามารถจะรับน้ำจำนวนมากเป็นแก้มลิงธรรมชาติ เป็นการตัดกำลังบำรุงได้ระยะหนึ่ง แต่บ้านในพื้นที่นั้นเป็นชั้นเดียวจำนวนมาก จะไม่มีที่อยู่อาศัย เกิดจลาจล หนีน้ำกันจ้าระหวั่น เพราะไม่เคยเจอน้ำท้วม ไม่เหมือนคนบ้านนอก เพราะเป็นสังคมเมือง
 
                          ช่วงนี้ ถ้าอธิบดีกรมชลประทาน ไม่โง่เขา และมีปัญญามาก จะต้องรีบดำเนินการตัดกำลังส่งบำรุงช่วงสองทันที คือผันน้ำไปสุพรรณบุรี และลงทุ่งตะวันตกทันที เจ้า "ซึนามิเงียบ" จะขาดกำลังส่งบำรุงทันที ตัดห่วงโซ่กำลัง คือมันต้องใช้กำลัง(สะสมน้ำจำนวณมหาศาล) ลงทุ่งรังสิต ต้องรอกำลังเสริม ในการก่อต่อสะสมน้ำไปเรื่อยๆ เรามีโอกาสเอาชนะได้คือ หยุดกำลังเสริม แล้ว เรายังสามารถระบายน้ำลงทะเลได้จำนวนมาก การสะสมของเจ้า "ซึนามิเงียบ" ต้องใช้เวลา และน้ำจำนวนมากมาเสริม เราตัดกำลังช่วงนี้ได้ เราจะชนะ คือน้ำไม่ท้วมนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และ กทม.
                           แต่ถ้าท่านดึงดันบอกว่า สามารถควบคุมสถานการณ์น้ำได้ แปลว่าท่านประเมินเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม ผิดแน่ๆ  ถ้าเราไม่ตัดกำลังเสริม เจ้า "ซึนามิเงียบ" กำลังรวบรวมพล สะสมพลังงานศักย์ พร้อมที่จะโจมตีนิคมอุตสาหกรรมนวนคร  รังสิต  ดอนเมือง และกรุงเทพมหานคร ให้ราบพนาสูญได้ครับ

                           ท่านอธิบดีกรมชลประทาน อาจจะแย้งว่า ยังมีคลองรังสิต-นครนายก กั้นเอาไว้สามารถผันน้ำไปทางนครนายกได้ ยิ่งเป็นคำตอบที่ผิดใหญ่เลย เพราะ ปัจจุบันน้ำในคลองนี้เกือบล้นแล้ว และที่สำคัญหมู่บ้านจัดสรรค์จำนวนมากอยู่บริเวณนี้ คนเป็นล้านจะไปอยู่ที่ไหน โกลาหลแน่นอน ครับ

                           อย่าลืมเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม มันมีกำลังมหาศาล เพราะท่านไม่ได้ตัดกำลังบำรุง ระดับน้ำที่นครสวรรค์เพียงแค่ทรง และเติมทุกวัน ป่าสักยังระบายอยู่เกือบเท่าเดิม เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม มีกำลังหนุ๋นแน่นอน แต่ขอเวลาสะสมสักสาม-สี่วัน ก็จะสามารถมีกำลังพร้อมที่จะทำลายคลองรังสิต - นครนายกได้ และโจมตีดอนเมือง กรุงเทพมหานครเป็นด่านสุดท้าย

                           ก่อนที่จะไปทักทายชาวพระประแดง และลงไปนอนสงบนิ่งอยู่ในอ่าวไทย หัวเราะฉลองชัยชนะของตัวเอง ที่ไม่มีใครสามารถหยุดเจ้า "ซึนามิเงียบ" ได้ ด้วยประเมินกำลังเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม "ผิด" คิดว่ามันยังอ่อนหัด

                           สวัสดียามเช้าครับ



                พิจารณาด้วยหลัก กาลามสูตร ครับ


                                   ผมต้องการช่วยคนอย่างแท้จริง แก้ที่ต้นเหตุ เพราะยังไม่สาย ต้องตัดกำลังส่งบำรุง ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3577 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 11:29:54 »


สรุป สถานการณ์น้ำประจำวัน วันจันทร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔

      - เขื่อมภูมิพล ปริมาณน้ำในอ่าง 99% ไหลเข้า 67.38 ไหลเข้าเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 9.37 ระบายออก 50 ระบายออกเท่าเมื่อวาน 0 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ความจริงสามารถหยุดการระบายน้ำได้ทันที โดยไม่มีผลกระทบใดๆทั้งสิ้น แต่ กฟผ.ต้องการใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า อยู่ที่ 50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตอนนี้น้ำกำลังสะสมเพิ่มอยู่ อาจต้องระบายออกมากกว่านี้

      - เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำในอ่าง 99% ไหลเข้า 28.58 ไหลเข้าลดลงจากเมื่อวาน 2.58 ระบายออก 20.00 ระบายออกลดลงจากเมื่อวาน 0.01 ล้านลูกบาศก์เมตร  จริงๆสามารถหยุดการระบายออกได้ทันที โดยไม่มีผลใดๆทั้งสิ้น แต่ กฟผ.ต้องการใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะน้ำไหลเข่าลดลง

      - เขื่อนแควน้อย ปริมาณน้ำในอ่าง 100% ไหลเข้า 10.15 ไหลเข้าเพิ่มขึ้นจากเมือ่วาน 0.07 ระบายออก 8.64 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายออกลดลงจากเมื่อวาน 1.44 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  จริงๆสามารถหยุดระบายได้ทันที หรือลดลง 50% แสดงว่าบริเวณนั้นมีฝนตกมาก

      - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำในอ่าง 136% ไหลเข้า 45.47 ไหลเข้าลดลงจากเมื่อวาน 2.06 ระบายออก 25.99 ระบายออกน้อยลงจากเมื่อวาน 4.43 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นสัญญาณที่ดี

      - เขื่อนเจ้าพระยา ระดับน้ำหน้าเขื่อน 17.72 m. ระดับน้ำเหนือเขื่อนลดลงจากเมื่อวาน 0.01m. ปริมาณน้ำระบายออก 3,610 ระบายออกเท่าเมื่อวาน แสดงว่าน้ำยังคงมีกำลังหนุน ส่งมากภาคกลางเท่าเดิมอย่างต่อเนื่อง

      - เขื่อนพระรามหก ระดับน้ำหน้าเขื่อน 9.59 m. ลดลงจากเมื่อวาน 0.09 m. ปริมาณน้ำระบายออก 628 ลดลงจากเมื่อวาน 35.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

ต่อวินาที  เป็นสัญญาณที่ดี

        - นครสวรรค์    วันนี้  4,560   เมื่อวาน   4,632  ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวาน

        - อุทัยธานี      วันนี้    707    เมื่อวาน     713   ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวาน

        - สิงห์บุรี        วันนี้  2,875    เมื่อวาน   2,870  ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน

        - อ่างทอง      วันนี้  2,652    เมื่อวาน   2,643  ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมือ่วาน

        - อยุธยา        วันนี้  1,479    เมื่อวาน   1,485  ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวาน

        - บางไทร      วันนี้  3,783     เมื่อวาน   3,833  ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวาน

        - ระดับน้ำ ที่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี ไม่มีการวัด แสดงว่าน้ำท้วมสูงเกินระดับที่สามารถวัดได้


            สรุปโดยภาพรวม

                    - ปริมาณน้ำใหลเข้าเขื่อนต่างๆ รวมกันเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน เป็นสิ่งที่ไม่ดี  เพราะเขื่อนอาจจะระบายน้ำออกเพิ่มขึ้น

                    - การระบายน้ำออกจากเขือนต่างๆ ลดลงมาก จากเมื่อวานนี้ เป็นสิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง ทำให้มีผลกระทบท้ายเขื่อนลดลง

                    - ปริมาณน้ำที่ผ่านนครสวรรค์ เริ่มลดลง  ระดับเริมลดลง เป็นสัญาณที่ดี ระดับน้ำจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ ครับแต่ใช้เวลาสักหนึ่งเดือนครึ่ง

                    - ปริมาณน้ำที่ผ่านจากสิงห์บุรี  อ่างทอง  เพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณที่ไม่ดี ต้องเฝ้าระวังคันกั้นน้ำเดิมให้ดี แสดงว่าน้ำหยุดไหลลงแก้มลิงฝั่งตะวันตก คงมาการปิดไม่ให้ไหลลงทุ่ง

                    - ปริมาณน้ำที่ผ่านอยุธยา ลดลง เป็นผลมาจากน้ำได้กระจายไปยังฝั่งตะวันออกเข้าไปท้วมประตูน้ำพระอินทร์และไหลลงทุ่งรังสิตฝั่งตะวันออก อย่าลืมน้ำกำลังสะสมตัวเองอยู่ขณะนี้ ท่านจะเห็นเองอีกสามวันระดับน้ำที่อยุธยาจะเพิ่มขึ้น

                    - ปริมาณน้ำที่บางไทรลดลงนิดหน่อย เป็นผลมาจากน้ำเข้าทุ่งรังสิตตะวันออกอยู่ และเมื่อเต็มแล้วก็จะกลับมาสูง สะสมพลังงานเอาไว้โจมตีกรุงเทพมหานคร

                      นี่คือ ภาพรวมวันนี้
 
                       อย่าลืมมวลน้ำมหาศาลอยู่ที่รังสิต รอบๆนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และวันนี้เป็นวัน D-day วันที่ ๒ มวลน้ำเข้า กทม. ครับ

ต้องแก้ปัญหาที่เหตุ

                     - น้ำท้วมนครสวรรค์มาจาก การปล่อยน้ำจากเขื่อน ต้องยุติทันที และระบายออกทางสุพรรณบุรีด้วยประตูระบายน้ำทั้งสองแห่งอีกสอง สามเท่าตัวจากปัจจุบัน น้ำไม่ท้วมสุพรรณบุรี จนคนอยู่ไม่ได้หรอกครับ อย่างเก่งเพียงเอว ซึ่งผิดกับที่อื่น 3.5-4.00 ม. ไม่มีบ้านอยู่ ถนนหลวงก็ไม่มีที่อยู่  ทำตามนี้ผมรับรองน้ำนครสวรรค์ลดลงทันทีทันใดเห็นๆ

                     - เปิดน้ำเข้าทุ่งตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่ 2-4 ล้านไร่ ซึ่งเป็นแก้มลิงธรรมชาติ ที่กรมชลประทานระบายไปเก็บไว้ชั่วคราวทุกปี กำลังรอน้ำจากกรมชลประทาน เพราะเกี่ยวข้าวหมดแล้ว น้ำโคลนจะเพิ่มปุ๋ยตามธรรมชาติ น้ำจะไหลลงอยุธยา ปทุมธานี กทม. ลดลงขาดกำหลังหนุน จะสามารถกู้เขตเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรม กลับมาได้  ถ้าท่านไม่ปล่อยน้ำลงไป ประชาชน อดทนมาสองเดือนจะทนไม่ไหว ที่เห็นความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น จะใช้กฏหมู่ค่อยๆ พังคันกั้นน้ำบนถนน เขื่อนชัยนาท-สิงห์บุรี-อ่างทอง ลงไปเรื่อยๆ ไม่เชื่อคอยดูครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3578 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 11:42:03 »

                     - เมื่อเวลา 11:30 น. น้ำได้ข่าวท้วมบ่อกำจัดน้ำเสียของ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร แล้ว ฮ.ชีนุก ไม่สามารถยกกระสอบทรายไปได้  รถขุดไม่สามารถไปที่จุดนั้นได้

                      - ผมฟังผู้สื่อข่าวของศูนย์ป้องกันน้ำท้วมของ รัฐบาล บอกว่า คันกั้นน้ำของ นวนครกว้าง ๓ เมตร สูงสี่เมตร นั้นแข็งแรงมาก ในสายตาผิดแล้วครับ มันสูงจริง แต่ฐานไม่ถึง 9 - 12 เมตร ผมเชื่อวัน ถ้าน้ำยังสะสมอยู่ มีกำลังมากพอ มันจะสามารถผ่านไปได้ครับ สำหรับนิคมอุตสาหกรรมนวนคร เพราะฐานคันดินมันไม่มั่นคงพอ ฐานเล็กเกินไป

                       - ยิ่งตอนนี้มันทะเลด่านแรกมาได้ยิ่งน่ากลัวใหญ่ ครับ

                       - โฆษก ท่านเชื่อตามท่าน อธิบดีกรมชลประทาน บอกว่ามันลงทะเลไปแล้ว  ท่านไม่เข้าใจเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม เมื่อมันลงทะเลไปแล้ว ทำไมระดับน้ำที่นวนครมันยังคงสูง อย่างต่อเนื่องเล่าครับ น้ำมันมาจากไหนอีก?  ท่านเข้าใจผิดครับ

                       - ใครช่วยเอาสิ่งที่ผมเขียนไปบอกให้ทราบด้วยจักขอบคุณมากครับ

                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3579 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 11:43:39 »

สวัสดีครับ คุณสุภาณี ที่รัก

                       ขอเป็นพรุ่งนี้ได้ไหมครับ เวลานั้นแล้วแต่ครับ ผมอยู่บ้าน ไม่มีรถใช้ ครับ

                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3580 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 12:05:19 »

วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2554 เวลา 11.59 น.

สถานการณ์น้ำวันนี้ กรุงเทพมหานคร


สถานการณ์น้ำ ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2554 (เวลา 11.00 น.)

น้ำฝน


              - ปริมาณฝน (24 ชั่วโมงที่ผ่านมา) สูงสุดที่ ประตูระบายน้ำคลองประเวศบุรีรมย์ เขตประเวศ 86 มม.

              - ปริมาณฝนรวมตั้งแต่ 1 ม.ค.-17 ต.ค. 54 รวม 2,190.0 มม. มากกว่าค่าเฉลี่ย 48.5 %

น้ำเหนือ (ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา)

              - ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + พระราม 6 รวม 4,238 ลบ.ม./วินาที (ลดจากเมื่อวาน 36 ลบ.ม./วินาที)

              - ปริมาณน้ำผ่าน อ. บางไทร 3,775 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มจากเมื่อวาน 46 ลบ.ม./วินาที)

คาดการณ์น้ำทะเลหนุนสูง

               - วันนี้ เวลา 09.59 น. ระดับ +1.08 ม.รทก. และเวลา 19.43 น. ระดับ +0.96 ม.รทก.

               - วันพรุ่งนี้ เวลา 11.35 น. ระดับ +1.03 ม.รทก. และเวลา 19.59 น. ระดับ +0.95 ม.รทก.

ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตรวจวัดที่ปากคลองตลาด

               - วันที่ 16 ต.ค. 54 ช่วงเช้า สูงสุด เวลา 09.45 น. ระดับ +2.07 ม.รทก. (ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 73 ซม.)

               - วันที่ 16 ต.ค. 54 ช่วงเย็น สูงสุด เวลา 20.00 น. ระดับ +1.94 ม.รทก. (ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 86 ซม.)

               - วันนี้ 17 ต.ค. 54 ช่วงเช้า สูงสุด เวลา 10.00 น. ระดับ +2.08 ม.รทก. (ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 72 ซม.)

                 สถานการณ์น้ำเหนือ+น้ำทะเลหนุน ปัจจุบันแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานคร ยังสามารถป้องกันได้ไม่มีผลกระทบกับพื้นที่ในแนวป้องกันของกรุงเทพมหานคร (ซึ่งป้องกันได้ที่ระดับเฉลี่ย 2.50 ม.- 3.00 ม.)

                  ระดับน้ำคลองต่าง ๆ เขตกรุงเทพมหานคร ภายในคั้นกั้นน้ำ ส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะปกติ

                  ระดับน้ำในคลองด้านตะวันออก คลองแสนแสบ คลองประเวศน์บุรีรมย์ คลอง 13 คลองหลวงแพ่ง ระดับน้ำทรงตัว

                  ระดับในคลองด้านตะวันตก คลองมหาสวัสดิ์ มีระดับสูง +1.96 ม.รทก. เท่ากับเมื่อวานนี้

                  ระดับน้ำในคลองด้านเหนือ คลองรังสิต ระดับน้ำลดลง 5 ซม. คลองหกวาสายล่าง คลองสอง คลองพระยาสุเรนทร์ ระดับน้ำทรงตัว


ข้อมูลล่าสุด

                   [ 11.45 น. มีฝนอ่อนอำเภอกระทุ่มแบน อำเภอสามพราน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เคลื่อนตัวไปทางเขตหนองแขม.lระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเวลานี้ (ม.รทก.) บางนา+1.49 ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 1.01 ม. ปากคลองตลาด+2.05 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.75 ม. บางเขนใหม่+2.44 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.56 ม. lระดับน้ำในคลองต่าง ๆ ของกทม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ แต่มีจำนวน 3 คลองฝั่งธนบุรีซึ่งน้ำสูงเนื่องจากฝนที่ตกหนักเมื่อวันที่ 15 ต.ค. I วันนี้กทม.เร่งสร้างแนวกระสอบทราย ตอนคลองหกวาสายล่างเพื่อเป็นแนวกั้นน้ำชั้นที่ 2 คาดว่าจะเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่างยังเป็นปกติ 17 ต.ค. 2554 ] ...

                   [ 11.30 น. พื้นที่กทม,มีฝนอ่อนเขตสายไหม จตุจักร ลาดพร้าว.lระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเวลานี้ (ม.รทก.) บางนา+1.54 ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.96 ม. ปากคลองตลาด+2.05 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.75 ม. บางเขนใหม่+2.44 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.56 ม. lระดับน้ำในคลองต่าง ๆ ของกทม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ แต่มีจำนวน 3 คลองฝั่งธนบุรีซึ่งน้ำสูงเนื่องจากฝนที่ตกหนักเมื่อวันที่ 15 ต.ค. I วันนี้กทม.เร่งสร้างแนวกระสอบทราย ตอนคลองหกวาสายล่างเพื่อเป็นแนวกั้นน้ำชั้นที่ 2 คาดว่าจะเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่างยังเป็นปกติ 17 ต.ค. 2554 ] ...

                    [ 11.15 น. พื้นที่กทม,มีฝนอ่อนเขตบางบอน หนองแขม.lระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเวลานี้ (ม.รทก.) บางนา+1.56 ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.94 ม. ปากคลองตลาด+2.08 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.72 ม. บางเขนใหม่+2.44 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.56 ม. lระดับน้ำในคลองต่าง ๆ ของกทม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ แต่มีจำนวน 3 คลองฝั่งธนบุรีซึ่งน้ำสูงเนื่องจากฝนที่ตกหนักเมื่อวันที่ 15 ต.ค. I วันนี้กทม.เร่งสร้างแนวกระสอบทราย ตอนคลองหกวาสายล่างเพื่อเป็นแนวกั้นน้ำชั้นที่ 2 คาดว่าจะเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่างยังเป็นปกติ 17 ต.ค. 2554 ] ...

                    [ 11.00 น. พื้นที่กทม,มีฝนอ่อนถึงปานกลางเขตบางบอน หนองแขม.lระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเวลานี้ (ม.รทก.) บางนา+1.62 ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.88 ม. ปากคลองตลาด+2.08 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.72 ม. บางเขนใหม่+2.44 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.56 ม. lระดับน้ำในคลองต่าง ๆ ของกทม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ แต่มีจำนวน 3 คลองฝั่งธนบุรีซึ่งน้ำสูงเนื่องจากฝนที่ตกหนักเมื่อวันที่ 15 ต.ค. I วันนี้กทม.เร่งสร้างแนวกระสอบทราย ตอนคลองหกวาสายล่างเพื่อเป็นแนวกั้นน้ำชั้นที่ 2 คาดว่าจะเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่างยังเป็นปกติ 17 ต.ค. 2554 ] ...
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #3581 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 12:11:59 »

มีผู้สังเกตุว่า ระดับน้ำในคลองระบายน้ำในกทม. ที่ประตูระบายน้ำ ฝั่งต้นน้ำ ยังสูงกว่าฝั่งท้ายน้ำอยู่มาก
ทำไมไม่เร่งระบายน้ำไปทางทิศใต้เพื่อสูบลงทะเลไปมากๆ จะได้ลดความกดดันจากน้ำ และประชาชนทางทิศเหนือลง
อาจทำให้ไปท่วมขังเขตชั้นในกทม.บ้าง แต่ก็ยังสามารถควบคุม และปรับความเข้าใจกับประชาชนได้ ถ้ามีเหตุผลพอ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3582 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 12:52:15 »

ข่าวด่วนที่สุด !!! เวลา 12:45 น. วันที่ 17 ตุลาคม 2554

(เห็นพลังของ เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมไหม ใช้เวลา เพียงไม่ถึงชั่วโมง ก็เจาะเข้าโจมตีได้สำเร็จ)

สั่งปิดโรงงานทั้งหมดในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร

สั่งอพยพคนในนิคมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพื้นที่โดยรอบ ออกทั้งหมด

บัดนี้น้ำได้เข้าไปในนิคมอุตสาหกรรมแล้ว เครื่องมือต่างๆที่เตรียมไว้ ใช้ไม่ได้เลย

ผมเสียดายครับ สิ่งที่ผมแสดงความคิดเห็นนั้นไม่เป็นผล ไม่มีใครรับฟัง ผมบ้าไปคนเดียว

เห็นไหมครับ ท่านอธิบดีกรมชลประทาน ท่านบอกว่ามวลน้ำก้อนใหญ่ลงสู่ทะเลไปแล้ว

เห็นไหมครับ คุณปลอดประสพ  การผันน้ำของคุณโดยเรือว่าได้ผล ระบายน้ำได้มาก

แล้วน้ำมาจากไหนครับ  ฝนไม่ได้ตกมากมาย เป็นปกติของมัน

คุณไม่ได้หยุดที่ต้นเหตุ ระวัง !!! เจ่า "ซึนามิเงียบ" ของผม ยังไม่หยุดเพียงแค่นี้

เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมกำลังสะสมพลังงานศักย์ เพิ่มระดับอยู่ ณ ขณะนี้

วันนี้ผ่านนิคมอุตสาหกรรมนวนครได้  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พรุ่งนี้เข้าโจมตีรังสิต

ตอนเข้าโจมตีรังสิต อาจจะลำบากหน่อย ต้องใช้เวลาสะสมน้ำเพราะมีคลองรังสิต - นครนายก ขวางอยู่

โปรด ตัดกำลังบำรุง ด้วยการเบี่ยงเบนน้ำให้มากกว่านี้  หรือหยุดส่งกำลังบำรุงตามที่ผมแนะนำ

ทำเถอะครับ  ท่านขวางเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผม ไม่ได้หรอกครับ

ถ้าท่านขวางทางเจ้า "ซึนามิเงียบ" ท่านจะพินาศ ครับ

ดังเช่น นวนครที่ทางนิคมและรัฐบาล พล.ต.อ.โกวิทย์ ลงไปสั่งด้วยตัวเอง

เตรียมการล่วงหน้ามานาน เพราะเป็นเส้นด้ายเส้นสุดท้าย แล้ว

นี่หรือที่ท่านอธิบดีกรมชลประทานบอกว่า มวลน้ำก้อนใหญ่ลงทะเลไปแล้ว

โกหก  ไม่รู้จริง  ทำให้คนเดือดร้อน  ทำลายเศรษฐกิจชาติ

 ระวังเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมยังสะสมพลังงานศักย์อยู่ขณะนี้ เพราะมีกำลังหนุ๋น

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3583 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 13:00:41 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 17 ตุลาคม 2554, 12:11:59
มีผู้สังเกตุว่า ระดับน้ำในคลองระบายน้ำในกทม. ที่ประตูระบายน้ำ ฝั่งต้นน้ำ ยังสูงกว่าฝั่งท้ายน้ำอยู่มาก
ทำไมไม่เร่งระบายน้ำไปทางทิศใต้เพื่อสูบลงทะเลไปมากๆ จะได้ลดความกดดันจากน้ำ และประชาชนทางทิศเหนือลง
อาจทำให้ไปท่วมขังเขตชั้นในกทม.บ้าง แต่ก็ยังสามารถควบคุม และปรับความเข้าใจกับประชาชนได้ ถ้ามีเหตุผลพอ

                  บังเอิญผม ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ ทั้งสิ้น

                  สิ่งที่ กทม.กลัวคือฝนตกน้ำท้วม ครับ จึงต้องพร่องคลองเอาไว้ระบายน้ำฝนและสูบออก

                  ปัญหาของกทม.นั้น น้ำที่สูบออก อุโมงค์มันอยู่ที่ประตูน้ำคลองพระขโนง สูบลงเจ้าพระยา

                  มันไม่ได้สูบลงทะเลโดยตรง มันจึงระบายน้ำไม่ได้

                   อย่าปล่อยให้น้ำแห้งดีแล้ว แรงดันน้ำหลังประตูระบายจะได้ไม่แตกต่างมาก เดี๋ยวประตูพัง

                   ผมเป็นวิศวกรสำนักระบายก็ต้องคิดแบบนี้ อย่าลืมประตูน้ำบางโฉมศรีพัง เพราะระดับที่ต่างกันมาก

                  ผมไม่รุ็อะไรมาก หรอกครับ  ผมอยู่แต่บ้าน นั่งปฏิบัติธรรม เป็นส่วนใหญ่

                  สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3584 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 13:42:46 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และผู้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน

                       อาจารย์ถาวร   โชติชื่น  โทรศัพท์มาบอกว่า ผมไม่หน้าที่จะเขียนไปเลย เพราะเขียนไปมันก็เป็นอย่างนั้นทุกที เป็นจริงหมดเลย  คนเลยเครียดกันยกใหญ่ ขอให้เขียนตรงข้ามบ้างดังนี้:-

                        - ระดับน้ำมวลก้อนใหญ่ลงทะเลไปหมดแล้วเมื่อวานนี้ ท่านอธิบดีกรมชลประทานแถลง

                        - คุณปลอดประสพ ใช้เรือช่วยผันน้ำลงทะเลได้มากเมื่อวานนี้ ทำให้ระดับน้ำลดลงอยู่ในวิสัยที่ปลอดภัยแล้ว

                        - น้ำที่มีอยู่ขณะนี้เป็นน้ำท้วมทุ่งธรรมดา ตามที่ทานอธิบดีกรมชลประทานแถลง ไม่น่ากลัว

                        - ต่อไปนี้น้ำจะลดลงโดยเร็ว ประชาชนทั้งหลายอย่าได้ตกใจกลัว

                        - น้ำที่ไหลบ่าท้วมนิคมอุตสาหกรรมนวนครอยู่นั้น จะลดลงโดยเร็ว เพราะเราระบายน้ำไปทางตะวันออก และตะวันตก

                        - น้ำจะไม่ท้วมกรุงเทพฯ เพราะเราทำคันกั้นน้ำไว้อย่างดี ยังเหลืออีก 75 cm. เหนือแนวเขื่อนกั้นน้ำ

                        - เราเสริมคันกั้นน้ำด้านทิศเหนือไว้สูงเพียงพอ(แต่ลืมเสริมฐานเท่านั้น)

                         - ..............
 
                           ดังนั้นมั่นใจเถอะครับพี่น้อง รัฐบาลนี้สามารถควบคุมสถานการณ์น้ำท้วมครั้งนี้ได้ ท่านไม่ต้องวิตกกังวล น้ำจะเข้าสภาวะปกติ เพียงแค่สิ้นเดือนนี้เท่านั้น อดทนอีกนิด ครับ  ท่านต้องเชื่อรัฐบาลของท่าน เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชา ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ที่ประชาชนเขาเชื่อการตัดสินใจของรัฐบาลของเขา และเขามีความเชื่อมั่นรัฐฐาลของเขา  ขอให้พี่น้องชาวไทยทุกท่าน จงเชื่อใจรัฐบาลของท่าน ครับ

                           สวัสดี
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #3585 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 14:21:59 »



ยังไม่ทันตั้งตัว ขอผัดผ่อนไปทำหลังน้ำท่วมน๊ะ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #3586 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 14:38:34 »

มีใครทราบไหมครับว่า ประเทศไทยมีเรือทั้งหมดกี่ลำ รมต.อยากได้เรืออาสา 75,000 ลำ มีทางเป็นไปได้ไหม ?? !!

"ปลอดประสพ"ชี้เรือดันน้ำได้ผล แต่วอนขอเรือเพิ่มอีก 75,000 ลำ
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:54:06 น.

 
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้าส่วนปฏิบัติการ ศปภ. กล่าวถึงความสำเร็จในการใช้เรือผลักดันน้ำลงสู่ทะเลว่า จากการใช้เรือ 1,149 ลำ ได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ยังคงต้องการเรือเพิ่มเติมอีก 75,000 ลำ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการ ขอให้ผู้ที่มีเรือเข้าร่วมโครงการโดยเฉพาะพื้นที่ปากอ่าว


นายปลอดประสพยังกล่าวด้วยว่า มีแนวคิดที่จะสร้างแพ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบภัย เพื่อใช้ขนย้ายสิ่งของด้วย โดยสั่งการให้อธิบดีกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดำเนินการจัดทำแพ ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร คาดว่าช่วงเย็นน่าจะมีความคืบหน้า


"ในส่วนของพื้นที่ กทม. ขอให้ชาว กทม.เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำไปอีก 1 เดือน เนื่องจากภัยธรรมชาติยากที่จะเลี่ยง จึงขอให้ไม่ประมาท และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ขอให้เตรียมพร้อม โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอกของ กทม." นายปลอดประสพกล่าว

 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318834456&grpid=03&catid=00&subcatid=0000
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #3587 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 15:08:55 »

จุดอ่อน'บริหารน้ำ'ใครรับผิดชอบ ?
จุดอ่อน'การบริหารน้ำ' ใครต้องรับผิดชอบ ? : โต๊ะรายงานพิเศษ

              ปัญหาวิกฤติน้ำในเมืองไทยที่สำคัญ คือ “น้ำท่วม” กับ “น้ำแล้ง” มีการตั้งหน่วยงานรัฐขึ้นมาบริหารจัดการ “น้ำ” ไม่ต่ำกว่า 30 แห่งในหลายกระทรวง หากรวมงบประมาณของโครงการต่างๆ คาดว่าไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาทต่อปี แต่ภาพเหตุการณ์เศร้าสลดใจที่ชาวบ้านกว่า 8.5 ล้านคนใน 61 จังหวัดกลายเป็นเหยื่อน้ำท่วม รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งน้ำท่วมสูงปิดหลังคาตึกนั้น

   
               ทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจคนไทยทุกคนว่า จุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำอยู่ตรงไหน และ ใครต้องรับผิดชอบ ?
   
               คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติระบุว่า ประเทศไทยมีน้ำท่าตามธรรมชาติร้อยละ 86 หรือปีละกว่า 2.1 แสนล้าน ลบ.ม. น้ำเหล่านี้ไหลมาจากลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำ และลุ่มน้ำย่อย 254 ลุ่มน้ำ รวมทั้งหมดประมาณ 5.1 แสนตร.กม. เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน, ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งอันดามัน, ลุ่มน้ำสาละวิน ฯลฯ
   
                ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาการจัดการน้ำของไทยมี 3 ประการ คือ
   
                   1.ปัญหาด้านนโยบายหลัก เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐกำหนดนโยบายและแผนงานฝ่ายเดียว จึงไม่เป็นนโยบายแห่งชาติ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ขาดความเป็นธรรมและการนำไปปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ
   
                   2.ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการน้ำ หน่วยงานภาครัฐทำงานซ้ำซ้อนกัน ขาดบูรณาการและขาดความเข้าใจในภาพรวมเรื่องน้ำ ที่สำคัญคือไม่มีข้อมูลเรื่องน้ำที่เพียงพอและไม่ทันเหตุการณ์
   
                   3.ปัญหาด้านกฎหมาย ปัจจุบันให้อำนาจเฉพาะแก่หน่วยงานรัฐในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการจัดสรรน้ำที่ไม่เป็นธรรม และไม่สอดคล้องกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมการจัดการน้ำในแต่ละท้องถิ่น
   
               รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ วิเคราะห์จุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ว่ามี 6 ประการหลัก คือ 1.มาไม่บอก 2.ทายไม่ถูก 3.เตือนไม่เชื่อ 4.ห้ามไม่ฟัง 5.คาดไม่ถึง และ 6.สูญเสีย
     
                   “น้ำท่วมปีนี้ผู้ต้องรับผิดชอบคือ เจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 30 กรม เพราะไม่มีการประสานงานกัน ทำให้เกิดความอลหม่าน ต่างคนต่างเห็นเฉพาะปัญหาของตัวเอง เช่น คนดูแลเขื่อนก็เห็นแต่น้ำในเขื่อน คนพยากรณ์พายุเห็นแต่น้ำฝน คนดูแลหมู่บ้านป่าเห็นแต่น้ำในลำคลอง ไม่มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ วิธีเดียวที่จะบริหารจัดการปัญหาน้ำได้อย่างถาวรต้องมีกระทรวงน้ำ ที่สำคัญคือ สภาพแวดล้อมประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เมืองสร้างเพิ่ม พื้นที่ป่าลด ทางไหลของคูคลองน้ำไม่เหมือนเดิม จะใช้ข้อมูลเก่าๆ มาบริหารน้ำไม่ได้” 
   
                   ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำอธิบายต่อว่า ปัญหาน้ำเกิดจาก 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เกิดจากสภาพธรรมชาติเอง (water-related natural disaster) เช่น ปริมาณฝนที่ตกลงมากหรือสภาพทางน้ำที่ตื้นเขิน ความลาดชันของพื้นที่ ตลอดจนภาวะดินถล่มที่เกิดจากธรณีพิบัติ ฯลฯ ส่วนที่ 2 เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม ทำลายป่าต้นน้ำในพื้นที่สูงชันหรือรุกล้ำทางน้ำ การเข้าตั้งถิ่นฐานในเขตเสี่ยงภัยน้ำท่วม ฯลฯ สำหรับทางอ้อมเช่น สภาพภูมิอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกร้อน นโยบายที่ผิดพลาด เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ลาดชันหรือในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ แม้กระทั่งนโยบายจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ผิดพลาด ฯลฯ
   
                   รศ.ดร.กัมปนาท สรุปจุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำของไทยว่า มักเป็น "เชิงรับ" มากกว่า "เชิงรุก"  ไม่มีการเตรียมพร้อมในภาวะก่อนเกิดภัยน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง เช่น การซักซ้อมเส้นทางอพยพหนีภัย การขุดลอกช่องทางระบายน้ำ การเตรียมระบบสำรองไฟฟ้า สำรองน้ำดื่มน้ำใช้ นอกจากนี้ยังไม่มี “การพยากรณ์จุดพิบัติของลุ่มน้ำ” (carrying capacity) ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ถูกมองข้าม เช่น การทำนายขนาดและสภาพพายุ จุดที่จะเกิดฝน จุดเกิดน้ำท่วม รวมถึงต้องมีการจำลองจุดเกิดดินถล่ม การทำนายที่ดีต้องแม่นยำ ปัจจุบันมี 30 กรมจากหลายกระทรวง ทำให้ไม่มีผู้รับผิดชอบที่แท้จริง รัฐบาลทำได้แค่บริจาคเงินหลังเกิดน้ำท่วมไปแล้ว
   
                   วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา เครือข่ายนักวิชาการด้านน้ำร่วมกันจัดประชุมหัวข้อ “ทิศทางการวิจัยเพื่อการจัดการน้ำของชาติ” ได้ผลสรุปว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อบริหารน้ำให้มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่คิดกันว่าทรัพยากรน้ำเป็นของทุกคน ทำให้ทุกคนใช้น้ำอย่างเสรีและไม่จำกัด ไม่เคยมีนโยบายประหยัดน้ำอย่างชัดเจย หรือการคำนึงถึงสิทธิการใช้น้ำอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
   
                   ปัจจุบัน คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ” เพื่อเป็นกฎหมายแม่ (Basic Laws) ในการบริหารจัดการน้ำของทุกกระทรวง โดยเฉพาะการบังคับให้หน่วยงานราชการ 30 แห่งเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับสูงสุดพร้อมทำงานประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 8,000 แห่งทั่วประเทศให้มากขึ้น ล่าสุดกฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม มีบางกลุ่มต้องการให้ทบทวนเนื้อหาบางส่วนใหม่ เพื่อให้ความสำคัญต่อภาคประชาชนมากขึ้น เนื่องจากกลัวว่าทรัพยากรน้ำจะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือสนับสนุนนายทุนมากเกินไป จนเกษตรกรไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม


http://www.komchadluek.net/detail/20111017/111981/จุดอ่อนบริหารน้ำใครรับผิดชอบ.html
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3588 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 15:17:40 »

สวีสดีครับ คุณเหยง

                       ผมไม่มีความเห็นในเรื่งเรือ ดันน้ำเพราะมีคนเตือนมาให้ระวังเอาไว้ด้วย  และอาจารย์ถาวร  สั่งว่าให้เขียนตรงข้ามหน่อย เพราะกลัวมันจะเป็นจริงตามที่ผมเขียน (ถ้ามันได้ผล น้ำไม่หน้าที่จะท้วมนิคมอุตสาหกรรมนวนคร น้ำควรจะลดลงเสียด้วยซ้ำ คิดในทางตรงข้าม เป็นเพราะเรือต่างๆ เหล่านั้นไปขวางทางน้ำ เลยทำให้น้ำลงทะเลได้ช้า ผลคือน้ำท้วมบางปะอินทร์เมื่อวานและท้วมนวนครวันนี้)

                      เมื่อเช้าตื่นขึ้นมาตีห้า นั่งเจริญสติอยู่บนเตียง พอจิตสงบเป็นเอตคตาสักพัก มันก็คิดเรื่องน้ำท้วมขึ้นมา ห้ามก็ไม่ได้จึงดูจิตมันคิด พอหกโมงเช้าก็ไปเดินจงกรมออกกำลังกายหน้าบ้าน จิตมันก็คิดเรื่องน้ำท้วม ก่อนนั้นอุตส่าห์ ทบทวนสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนท่านพาหิยะ ไม่ให้ยินดียินร้ายในสิ่งที่สัมผัสทางอายตนะ ๕ ไม่ส่งจิตออกนอกตัว จิตมันก็วกมาที่น้ำท้วมอีก จึงมาเขียนให้ทุกท่านอ่านครับ

                      ผมไม่ได้มีข้อมูลอะไรมาก หรือมีตาทิพย์ทั้งสิ้น ผมก็เขียนของผมไปตามจริง ท่านเชื่อหรือไม่ก็ให้ใช้ปัญญา พิจารณาตามหลัก กาลามสูตร ครับ

                       คุณนิรันดร์ แห่งสูงเนิน โคราช ถามผม มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย สมัยที่ประชาชนเลือก ดร.ทักษิณ   ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เกิด "ซึนามิ" ตัวจริงที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก  พอประชาชนเลือกคุณยิ่งลักษณ์   ชินวัตร  เป็นนายกรัฐมนตรี ในครั้งนี้ ก็เกิด "ซึนามิเงียบ" ทำไม? ธรรมชาติมันจึงโหดร้ายต่อประชาชนคนไทยนัก ผมก็บอกว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน

                       ผมยึดหลัก "พรหมวิหาร ๔"(เมตตา กรุณา มุทิตา  อุเบกขา) และสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพาหิยะ ครับ

                       สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #3589 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 15:18:50 »

พี่สิงห์ครับ

ผมงงกับการดูแลสถานการณ์ของ จนท.รัฐบาล ครับ
เขาเชื่อได้อย่างไรว่า นิคมอุตสาหกรรมนวนครจะไม่แตก ทั้งที่มีตัวอย่างมาก่อนหน้านั้นแล้ว 5 แห่งที่อยุธยา
อย่างน้อย 2 แห่ง น้ำทะลักเข้าในส่วนของบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นจุดอ่อนของนิคมฯ ที่เหลือพื้นที่รอบๆไว้นิดเดียว

จนท.ไม่เคยคิดอพยพคนส่วนหนึ่งออกไปก่อน เผื่อสถานการณ์รับไม่อยู่ จะได้ไม่โกลาหล
ผมดู ทีวี แล้วอนาถใจ คนเป็นร้อยๆ คนเดินข้ามสะพานลอยเพือหารถยนต์โดยสาร นั่ง จยย. หนีภัย
จริงๆ แล้ว เด็ก คนแก่ คนป่วย สมควรอพยพออกไปตั้งแต่ 2 วันก่อนแล้ว เพื่อความปลอดภัย ไม่มีเหตุก็ย้ายกลับ
ตอนนี้ คนกว่า 2 แสนต้องรีบหนีน้ำ-หนีตาย แต่รถโดยสาร รถทหารขนคนก็ไม่มีการเตรียมพร้อมไว้
เวรกรรมของประเทศไทยจริงๆ มีแต่คนพูด แต่ไม่มีคนทำงาน หรือมีคนทำและไม่กล้าพูด !!


เราวิจารณ์-เราพูด เพื่อให้มองเห็นภาพ และเตือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้าย
ไม่ใช่พูดเมื่อเกิดเรื่องแล้ว-แบบซ้ำเติม

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #3590 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 15:20:21 »

บทเรียนคันกั้นน้ำ
บทเรียนคันกั้นน้ำ : บทบรรณาธิการ



            แหล่งย่านสำคัญของชุมชนริมน้ำในอดีตซึ่งมักเป็นที่รวมของ วัด โรงเรียน อาคารพาณิชย์ทำมาค้าขาย ส่วนใหญ่แล้วนิยมสร้างเขื่อนริมน้ำเอาไว้เพื่อประโยชน์ 2 ด้านด้วยกัน คือ กันตลิ่งพัง และบรรเทาความรุนแรงจากกระแสน้ำเหนือที่จะไหลหลากในช่วงหน้าน้ำบ่าเข้าท่วมชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมอยู่เป็นประจำจนเป็นเรื่องปกติ เช่นนี้ แล้วการสร้างบ้านแปงเมืองที่อยู่ชิดใกล้กับทางน้ำผ่าน จึงคำนึงถึงการอยู่ร่วมกับสภาพธรรมชาติให้ได้เป็นสำคัญ แทนที่จะมุ่งเอาชนะธรรมชาติอย่างในปัจจุบัน
   
              เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งนี้ มีบทเรียนสำคัญหนึ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันพิจารณาไตร่ตรองเพื่อบรรจุไว้ในแผนแม่บทเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียในฤดูกาลหน้าคือ การสร้างพนังหรือคันกั้นน้ำสองฝั่งแม่น้ำเพื่อปกป้องแหล่งเศรษฐกิจของจังหวัดต่างๆ ที่แม่น้ำสายหลักไหลผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต้องรองรับน้ำเหนือจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และการระบายน้ำจากเขื่อนใหญ่ ซึ่งแม้ว่า คันกั้นน้ำจะสามารถป้องกันชุมชนเอาไว้ได้ในตอนแรก แต่ท้ายที่สุดเมื่อปริมาตรน้ำมีมากจริง ก็ไม่สามารถรับมือเอาไว้ได้ คันกั้นน้ำทั้งหลายจึงเป็นแต่เพียงสิ่งก่อสร้างชะลอน้ำ เปลี่ยนทางน้ำ และในที่สุดกลายเป็นเขื่อนย่อยๆ ที่กักเก็บน้ำเอาไว้จนเน่าเสีย
   
              ปรากฏการณ์พนังกั้นน้ำ นอกจากได้สะท้อนความพยายามเอาตัวรอดของแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี ชนิดที่อาจเรียกได้ว่า ตัวใครตัวมันแล้ว ยังตีแผ่ประจานการทำงานของรัฐบาลว่า ขาดการวางแผนระดับชาติเพื่อบรรเทาเบาบางผลกระทบจากภัยธรรมชาติ จนกลายเป็นการแก้ปัญหาวันต่อวัน ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปซ่อมแซมพนังกันน้ำต่างๆ ที่พังพินาศลงเพราะกระแสน้ำเชี่ยวกราก หรือว่าชาวบ้านร่วมกันทำลายก็ตาม การแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ ความพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านี้ ย่อมยากที่จะปฏิเสธได้ว่า ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากคันกั้นน้ำจำนวนมากมายมหาศาลที่ผุดขึ้นตามความคิดอ่านของชุมชนต่างๆ ที่ไร้แผนควบคุม หรือกำหนดทิศทางเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
   
              กรณีคันกั้นน้ำของแต่ละชุมชนคือบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่ง ที่รัฐบาลจำเป็นต้องจัดทำประชาพิจารณ์ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์วิจัยรวมทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นักวิชาการด้านน้ำทั้งหลายเพื่อบรรจุไว้ในแผนแม่บทว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นธรรม เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ สภาพการเอาตัวรอดหรือเห็นแก่ชุมชนตนเองเท่านั้นอาจลุกลามออกไป จนเกิดการเผชิญหน้ากันรุนแรงมากขึ้น ขณะที่การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมยิ่งล้มเหลวและสร้างความเสียหายเลวร้ายลงทุกปี.


http://www.komchadluek.net/detail/20111017/111987/บทเรียนคันกั้นน้ำ.html
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3591 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 15:31:37 »

  
       

ทำได้แน่นอนครับ ดร.สุริยา ปีหน้ายังทัน แต่งตั้งให้คนปฏิบัติธรรมอย่างผม เป็นรัฐมนตรีเท่านั้นครับ           




ท่านรัฐมนโท อาจารย์ถาวร   โชติชื่น และคุณพิเชษฐ์   เชื่อมวราศาสตร์ ที่ปรึกษารัฐมนโท  แต่งตั้งคนไม่มีความรู้เรื่องน้ำอย่างผม นายมานพ   กลับดี เป็นผู้ดูแลสั่งการ เขื่อนต่างๆและป้องกันไม่ให้น้ำท้วมเขตเศรษฐกิจ ซิครับ ผมรับรองผมสามารถกระทำได้จริงๆ  ผมปฏิบัติธรรม ต้องอยู่ใน ศิล   สมาธิ  ปัญญา  ไม่คดโกง  มีจิตเที่ยงธรรม ปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์  สามารถทำได้ครับ

                      สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3592 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 15:44:46 »

สถานการณ์น้ำปัจจุบันและการป้องกันแก้ไขในพื้นที่กรุงเทพฯ

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2011 เวลา 12:43 น. กองประชาสัมพันธ์ กทม.

                    ผู้ว่าฯ กทม. ห่วงพื้นที่กรุงเทพเหนือ ด้านเขตสายไหม ดอนเมือง แม้สถานการณ์น้ำยังไม่วิกฤตแต่ยังไม่ปลอดภัย ต้องเฝ้าระวัง 24 ชม.

                    กทม. เตรียมเพิ่มความสูงแนวป้องกันคลองหกวาอีก 20 ซม. รวมเป็น 50 ซม. และเพิ่มความยาวอีก 1 กม. เพื่อความมั่นใจหลังจากร่วมกับกองทัพบก
 
                    กองทัพอากาศ และประชาชน สร้างแนวคันกั้นน้ำบริเวณคลองหกวา เขตสายไหม สูง 30 ซม. ระยะทาง 6 กม. เสร็จเรียบร้อยแล้ว

                    กทม. จะยกระดับถนนเลียบคลองสอง สูงขึ้น 30 ซม. ระยะทาง 1.25 กม. และบริเวณ ถ.สายไหม 85 สูงขึ้น 30 ซม. ระยะทาง 1.5 กม. เป็นแนวป้องกัน ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันออกได้เพิ่มกระสอบทรายอีก 6 แสนใบ

                    วันนี้ เวลา 13.30 น. ผู้ว่าฯ กทม. จะลงพื้นที่ช่วยน้องๆ จิตอาสาบรรจุกระสอบทราย ณ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะ 4 ถ.เพชรเกษม เขตบางแค จากนั้น 15.00 น. ตรวจแนวป้องกันน้ำท่วมรอบถนนเลียบคลองหกวาสายล่าง ช่วงประตูระบายน้ำคลอง 2 ฝั่ง กทม. เขตสายไหม
                    กทม. จัดนักสังคมสงเคราะห์ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำ และสำรวจความต้องการช่วยเหลือในพื้นที่ 3 เขต ได้แก่ หนองจอก มีนบุรี และทวีวัฒนา

                    กทม. จัดส่งยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 1,500 ชุด และน้ำดื่ม จำนวน 1,500 โหล ที่ได้รับบริจาคจากประชาชนนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ จังหวัดนครสวรรค์

                    คาดการณ์ 17–18 ต.ค. 54 ฝนตกหนักกระจาย 60% ของพื้นที่กรุงเทพฯ จากนั้นจะเบาบางลง.


เรียนท่าน ผู้ว่า กทม.
                           จำคำเตือนของผมเอาไว้ให้มั่น ท่านเอาชนะเจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมไม่ได้ด้วยวิธีนั้นอย่างเดียว ท่านต้องหาทางให้เจ้า "ซึนามิเงียบ" ของผมลงทะเลโดยด่วนด้วยครับ ผันน้ำทางด้ามทิศเหนือออกทางขวาให้มากเข้าไว้เท่าที่จะทำได้ อย่ามาต่อสู้ด้วยคันกั้นน้ำเลย
                           และอย่าลืม ท่านสร้างคันกั้นน้ำด้วยกระสอบทรายสูงเท่าใด ท่านต้องสร้างฐานให้กว้างสามเท่า จึงจะรับเจ้า "ซึนามิเงียบ" ตัวนี้ได้ครับ
                           โชคดีท่านผู้ว่า กทม.
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #3593 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 16:43:35 »

ผู้เชี่ยวชาญชี้น้ำท่วมในไทยสะท้อนวิกฤติผู้นำ"ยิ่งลักษณ์"
17 ตค. 2554 11:14 น.


เวบไซต์ทูเดย์ออนไลน์ได้เผยแพร่บทความของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยประจำศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์วันนี้ ระบุว่า ประเทศไทยกำลังประสบภัยน้ำท่วมที่คาดว่าเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 50 ปี โดยภาคเหนือและภาคกลางจมอยู่ใต้กระแสน้ำ และรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรกำลังพยายามปกป้องกรุงเทพฯจากน้ำท่วม ด้วยการสร้างพนังกั้นน้ำและขุดลอกคูคลอง แต่ดูเหมือนว่าความพยายามเหล่านี้ดำเนินการช้า

เกินไป พื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯเผชิญกับน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว และหากไม่มีแผนการฉุกเฉินรองรับ กรุงเทพฯชั้นในเสี่ยงเผชิญกับหายนะได้ภายในไม่กี่วัน

นายปวิน ระบุว่า น้ำเริ่มน้ำทั่วประเทศตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม แต่เพิ่งสู่ระดับวิกฤติในต้นเดือนนี้เมื่ออยุธยา ศูนย์กลางนิคมอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วมหนัก มีผู้เสียชีวิตในหลายจังหวัดเกือบ 300 คน และนาข้าวเสียหายกว่า 10% และกระทรวงการคลังคาดว่าความเสียหายจากภัยพิบัติอาจสูงถึง 120,000 ล้านบาท ความเสียหายมากมายขนาดนี้ แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์เพิ่งยอมรับเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าอุทกภัยครั้งนี้เป็นภัยพิบัติแห่งชาติและเพิ่งตั้งศูนย์ปฏบิติการรับมือวิกฤติ ทำให้คนไทยเริ่มเกิดคำถามในใจว่าวิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่เกี่ยวกับการรับมือกับภัยพิบัติอย่างไร แต่ยังเป็นวิกฤตภาวะผู้นำด้วย

แม้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์พยายามลงไปตรวจพื้นที่ประสบภัยและพบปะผู้ประสบภัยเพื่อให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะเร่งให้ความช่วยเหลือ แต่นั่นอาจยังไม่เพียงพอพิสูจน์ความเป็นผู้นำ นอกจากนี้นายปวิน ระบุว่า นส.ยิ่งยักษณ์ไม่มีข้ออ้างว่ารัฐบาลเพิ่งเข้ารับตำแหน่ง เพราะเธอมัวแต่ยุ่งอยู่กับเรื่องการเมืองอื่นๆมากมาย

รัฐมนตรีทุกคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบรรเทาภัยพิบัติกลับไม่ได้ออกหน้าตั้งแต่แรกเริ่ม และเมื่อถูกกดดัน ก็ออกมาเสนอแนวทางแก้ไขที่ขัดแย้งกันเองจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ประสบภัย ไม่มีแนวทางแก้ไขที่เป็นระบบบูรณาการ หรือไม่มีนโยบายในระดับชาติ

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือ เอดีบี บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นความล้มเหลวในไทยอย่างเดียว แต่เป็นความล้มเหลวของของการบรรเทาอุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแทนที่จะเร่งแก้ไขที่ต้นตอ กลับไปมุ่งเน้นการสร้างพนังกั้นน้ำเพื่อปกป้องพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เกษตร

ประเทศไทยขาดแคลนแผนบริหารจัดการวิกฤติระยะยาว เพราะมีหลายคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ เช่น หากฝนตกหนักกว่านี้ จะมีแผนอพยพคนอย่างไร ประเทศจะผ่านพ้นวิกฤติได้เมื่อไหร่ แผนฟื้นฟูที่อยู่อาศัยจะเป็นอย่างไรหลังน้ำลด และรัฐบาลพร้อมจะจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ประสบภัยอย่างไร

ดร.สมิธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ บอกว่า ปัญหาขณะนี้ คือ การบริหารจัดการน้ำ เรามีการกักเก็บน้ำมากเกินไปในเขื่อนในช่วงต้นฤดูฝน และตอนนี้ปลายฤดูฝนแล้ว จึงระบายน้ำออกมาปริมาณมากพร้อมกัน ทำให้เกิดน้ำท่วม สิ่งที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ผลจากภัยพิบัติธรรมชาติ แต่เป็นเพราะไม่ได้มีการประเมินกันตั้งแรกว่าจะมีปริมาณฝนมากขนาดนี้และควรจะเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนเท่าไหร่ และมีการประเมินผิดพลาดว่าจะเกิดการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง


http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=534385&lang=&cat=
 
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #3594 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 18:18:02 »

แถลงรายละเอียดยังไม่ตรงกันเลย ลืมเตี๊ยมกันไว้ แล้วอะไรคือความจริง ??

ศปภ.ยันกองทัพกู้นวนครได้แล้ว คาดระบายน้ำได้หมดใน 1 วัน
17 ตุลาคม 2554 16:37 น.

 
       โฆษกรัฐบาล เผย สถานการณ์น้ำท่วมนิคมอุตสาหรรมนวนคร ล่าสุด มีน้ำไหลท่วมแล้ว 10% ของพื้นที่ มีโรงงานได้รับเสียหายแล้ว 10 โรง ยันกองทัพเข้ากู้สถานการณ์ในพื้นที่ที่เหลือได้แล้ว เชื่อระบายน้ำออกได้หมดภายใน 1 วัน หากไม่มีปริมาณน้ำหนุนเข้ามา หรือมีฝนที่ตกลงมาซ้ำ ด้าน “วรรณรัตน์” โพล่ง 277 โรงงานนวนครจมน้ำ แรงงานหนึ่งแสนแปดหมื่นคน เตือนนิคมอุตสาหกรรมบางพลี ลาดกระบัง และที่ฉะเชิงเทรา เตรียมรับมือ
       
       เวลา 15.05 น.วันนี้ (17 ต.ค.) นายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศปภ.ได้ออกประกาศให้โรงง่านอุตสาหกรรมหยุดการเดินเครื่องจักร และอพยพคนงานประชาชนออกจากพื้นที่โดยเร่งด่วนว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำได้ปรับระดับสูงขึ้น ซึ่งรายงานล่าสุดน้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ในเขตนิคมนวนคร ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมี 10 โรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมสูงถึง 1.5-2 เมตร ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้ทุกหน่วยงานระดมสรรพกำลังกอบกู้พื้นที่ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ขณะพื้นที่ส่วนใหญ่อีก 90 เปอร์เซ็นต์นั้นทางกองทัพไทยได้เข้าควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว โดยกองทัพไทยได้นำเฮลิคอปเตอร์ชีนุก ขนตู้คอนเทนเนอร์ไปสร้างพนังกั้นน้ำแนวที่ 2 เพราะพนังกั้นน้ำชั้น 1 เกิดรูรั่ว ทำให้น้ำทะลักเข้าพื้นที่ ขณะนี้กองทัพไทยสามารถกั้นน้ำในแนวที่ 2 ได้แล้วบางส่วน แม้ว่าจะมีปริมาณน้ำหลุดรั่วเข้ามาอีกเล็กน้อย ก็สามารถสูบน้ำออกมาได้ อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าประชาชนอยู่ในภาวะที่เสี่ยงภัย จึงขอให้ประชาชนที่มีความพร้อมในการอพยพออกจากพื้นที่ ยังคงปฏิบัติตามประกาศเดิมของ ศปภ.ก่อนหน้านี้
       
       นายวิมกล่าวต่อว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับการดำเนินการเสริมแนวกั้นน้ำที่จะเข้าสู่ กทม.เพิ่มเติม บริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ คลองเปรมประชากร และคลอง 1 โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าจะเสริมแนวกั้นน้ำดังกล่าวให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าสู่พื้นที่ กทม.ชั้นใน รวมทั้งมีการเปิดประตูระบายน้ำในบางพื้นที่ให้มากขึ้น เพราะระดับน้ำทะเลที่หนุนสูงได้ปรับระดับลดลงแล้ว จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการเร่งระบายน้ำในพื้นที่ที่ถูกท่วมขังลงสู่ลำคลองและระบายสู่แม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า ในส่วนน้ำที่ท่วมขังอยู่ในนิคมนวนครจะสามารถระบายออกได้หมดภายใน 1 วัน หากไม่มีปริมาณน้ำหนุนเข้ามา หรือมีฝนที่ตกลงมาซ้ำ
       
       “ขอให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ กทม.สบายใจได้ในเรื่องของการดูแลแนวกั้นน้ำต่างๆ ว่ายังสามารถควบคุมอยู่ในอัตราที่ปลอดภัยได้” นายวิมระบุ
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า หากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่นิคมนวนครได้ จะกระทบต่อพื้นที่ใดบ้าง นายวิมกล่าวว่า น้ำจะออกไปทาง จ.ปทุมธานี โดยเข้าทางคลองเปรมประชากร ไหลไปสู่ อ.สามโคก ก่อนเข้าสู่ประตูเชียงรากน้อย โดยจะพยายามสร้างพนังกั้นน้ำไม่ให้ไหลไปสู่พื้นที่อื่น และทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ต้องบังคับน้ำให้ไหลลงสู่คลองให้ได้ ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีคูคลองหลายเส้นจึงเชื่อว่าจะไม่กระทบพื้นที่อื่น โดยเฉพาะพื้นที่ก่อน ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ที่มีคลองขนาดใหญ่ดักทางน้ำอยู่ ดังนั้น ถ้าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลง และน้ำในทะเลไม่หนุนสูง น้ำที่มาทาง ม.ธรรมศาสตร์ ก็จะไม่ไหลถึงหมู่บ้านไวท์เฮ้าส์ ม.กรุงเทพ หรือ รังสิต ส่วนการระบายน้ำในนิคมนวนครก็อาจจะมีติดขัดอาคารบ้านเรือนที่ถมสูงขึ้นมาบ้าง แต่เชื่อว่า หากสามารถใช้คูคลองเป็นทางระบายน้ำได้ สถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว ซึ่งในส่วนของกรมชลประทานก็มีความมั่นใจว่า จะสามารถระบายออกได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
       
       ขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ.กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของมาตรการการเคลื่อนย้ายประชาชนไปสู่ศูนย์พักพิงเป็นการสร้างความลำบากให้แก่ประชาชน แต่ก็ถือเป็นความจำเป็น เพราะไม่สามารถที่จะประมาทให้เสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตของพี่น้องประชาชนได้ ทั้งนี้เมื่อประชาชนออกจากพื้นที่แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าควบคุมพื้นที่ทันที เพื่อระวังป้องกันบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนที่จำเป็นต้องอพยพออกมา
       
       ด้าน นายแพทย์ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า รัฐบาลจะป้องกันและต่อสู้กับสถานการณ์น้ำให้ถึงที่สุด หลังแนวกั้นชั้นที่ 1 ไม่สามารถต้านกระแสน้ำได้ ซึ่งขณะนี้ได้เร่งสร้างแนวกั้นชั้น 2 และ 3 เพื่อไม่ให้เข้าพื้นที่สำคัญชั้นในของการนิคมนวนคร โดยการประเมินความเสียหายเบื้องต้น มีบริษัทได้รับความเสียหาย 227 โรงงาน พนักงานได้รับผลกระทบกว่าหนึ่งแสนแปดหมื่นคน ซึ่งวันนี่ที่ประชุม นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกฝ่ายเร่งระดมความช่วยเหลือ สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหานิคมต่างๆ หลังน้ำลดจะเร่งฟื้นฟูให้เร็วที่สุด ทั้งนิคมอุตสาหกรรมบางพลี ลาดกระบัง และที่ จ.ฉะเชิงเทรา ได้เตรียมป้องกันไว้แล้ว ส่วนความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นในส่วนภาคอุตสาหกรรมและแรงงาน ดูแลเรื่องนี้เร่งด่วน ส่วนเรื่องสิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีโรงงานที่ได้รับผลกระทบนั้นจะมีมาตรการยกเว้นภาษีที่เท่าเทียมกัน แม้จะเป็นพื้นที่ที่ห่างจาก กทม.


 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000132366
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #3595 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 18:33:34 »

ยังมีที่ไหนอีก ที่น้ำยังท่วมไปไม่ถึง ??

“มูล-ชี” ล้นท่วมสุรินทร์ขยายวง 9 อำเภอ-เดือดร้อนอื้อ นาข้าวสูญ 6.6 หมื่นไร่
17 ตุลาคม 2554 16:01 น.

 
       สุรินทร์ - ฝนตกหนักต่อเนื่อง น้ำจากแม่น้ำมูล-น้ำชี และลำน้ำสาขา ล้นไหลทะลักท่วมเมืองช้างขยายวงกว้าง ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว 9 อำเภอ 68 ตำบล 563 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,969 ครัวเรือน นาข้าวเสียหาย 66,678 ไร่ มันสำปะหลังเสียหาย 29,420 ไร่
       
       วันนี้ (17 ต.ค.) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ รายงานสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ว่า จังหวัดสุรินทร์มีอำเภอที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัยแล้ว 9 อำเภอ 68 ตำบล 563 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์, อ. สำโรงทาบ, อ.ท่าตูม, อ. ชุมพลบุรี,อ.รัตนบรี, อ.จอมพระ, อ.สังขะ, อ.กาบเชิง และ อ.ศรีณรงค์ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,969 ครัวเรือน นาข้าวเสียหาย 66,678 ไร่ มันสำปะหลังเสียหาย 29,420 ไร่ บ่อปลาเสียหาย 42 บ่อ ถนนได้รับความเสียหายจากการถูกน้ำกัดเซาะผิวจราจร และการสัญจรไปมาไม่สะดวก 105 สาย ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้ มีผู้ถูกน้ำไหลเชี่ยวพัดตกลงไปในคลองน้ำ หาศพยังไม่พบ 1 ราย ที่ อ.ศรีณรงค์
       
       ขณะนี้หลายพื้นที่มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ติดลุ่มน้ำมูล ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตร เส้นทางการสัญจรหลายแห่งได้รับความเสียหาย ราษฎรได้รับความเดือดร้อน
       
       โดย อ.เมืองสุรินทร์ ฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โครงการชลประทานสุรินทร์ได้ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง และมีน้ำไหลล้นสปิลล์เวย์ ไหลลงสู่ลำน้ำชี ทำให้ลำน้ำชีมีปริมาณน้ำสูงขึ้นเฉลี่ย 10-15 เซนติเมตร (ซม.) เอ่อท่วมพื้นที่นาข้าวและถนนในการสัญจรบางแห่ง ในเขต ต.เฉนียง ต.นอกเมือง ต.คอโค ต.ตระแสง ต.ท่าสว่าง คาดว่า หากยังมีการระบายน้ำและมีฝนตกในพื้นที่ จะให้น้ำมีปริมาณสูงไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร เส้นทางสัญจรโดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลคอโค และขณะนี้ถนนทางเข้าหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ บ้านยาง หมู่ 21 น้ำท่วมถนนทางเข้าหมู่บ้านแล้ว ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา
       
       สำหรับถนนภายในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ มีน้ำท่วมขังเนื่องจากการระบายไม่ทัน ได้แก่ ถนนเส้น สนามกีฬาศรีณรงค์, หมู่บ้านซิตี้แลนด์, สี่แยกห้างบิ๊กซี, แม็คโคร, เทสโก้ โลตัส
       
       อ.ชุมพลบุรี น้ำมูลและน้ำจากลำพลับพลา มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระดับน้ำพื้นที่ซึ่งน้ำท่วมอยู่แล้วเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ย 5-10 เซนติเมตร น้ำไหลเอ่อท่วมพื้นที่นาข้าวและถนนในการสัญจรเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ตำบลสระขุด ต.เมืองบัว ต.ยะวึก ต.กระเบื้อง ต.ศรีณรงค์ ต.ชุมพลบุรี ต.นาหนองไผ่ ต.หนองเรือ และ ต.ไพรขลา และ ถนนในพื้นที่ตำบลสระขุด เมืองบัว และตำบลกระเบื้อง น้ำท่วมขังบ้านเรือนทำให้ทรัพย์สินเสียหาย จำนวน 20 หลัง
       
       อ.ท่าตูม ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 5-10 เซนติเมตร แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นาข้าวและถนนในการสัญจรบางแห่งในพื้นที่ตำบลบะ ต.ทุ่งกุลา ต.กระโพ ต.พรมเทพ ต.โพนครก ต.หนองบัว ต.หนองเมธี และ ต.ท่าตูม ซึ่งท่วมอยู่แล้วมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น น้ำเอ่อท่วมพื้นที่นาข้าวขยายเป็นวงกว้าง ถนนในหลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถนนในพื้นที่ตำบลบะ ถนนสายบ้านปรีงไป อ.ท่าตูม รถไม่สามารถวิ่งผ่านได้ และมีบ้านเรือนราษฎร ตำบลโพนครก ถูกน้ำท่วมขัง จำนวน 57 ครัวเรือน
       
       อ.รัตนบุรี น้ำในลำห้วยทับทัน ซึ่งไหลมาบรรจบกับน้ำมูล มีปริมาณสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำในพื้นที่นาข้าวที่ท่วมอยู่แล้วเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยวันละ 3-5 เซนติเมตร ในพื้นที่ตำบลน้ำเขียว ต.แก ต.กุดขาคีม ทับใหญ่ หนองบัวทอง ดอนแรด และน้ำได้เอ่อไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎรในพื้นที่ตำบลทับใหญ่แล้ว
       
       อ.กาบเชิง เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้มีน้ำปริมาณมากท่วมขังไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลคูตัน ต.ด่าน ต.ตะเคียน ต.แนงมุด และโคกตะเคียน ประมาณ 29,420 ไร่ และคาดว่า ยังมีฝนตกในพื้นที่คาดว่าจะมีมันสำปะหลังเสียหายเพิ่มขึ้น
       
       อ.สำโรงทาบ ปริมาณน้ำในห้วยทับทันและห้วยเกาะแก้วเพิ่มสูงขึ้น ทำให้พื้นที่ตำบลสำโรงทาบ ต.เกาะแก้ว ต.หนองฮะ ต.หมื่นศรี ซึ่งมีน้ำท่วมขังอยู่แล้วมีปริมาณสูงเพิ่มขึ้น คาดว่า จะมีพื้นที่นาข้าวและถนนในการสัญจรเสียหายเพิ่มขึ้น
       
       อ.จอมพระ ระยะนี้มีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทำให้มีน้ำท่วมพื้นที่นาข้าวในพื้นที่ ตำบลเมืองลีง และบริเวณลำห้วยระวี ตำบลลุ่มระวี และถนนในหลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา
       
       อ.ศรีณรงค์ มีน้ำท่วมขังนาข้าวและถนนในการสัญจรบางแห่งในพื้นที่ตำบลศรีสุข ตรวจ ณรงค์ คาดว่าหากยังมีฝนตกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจะมีพื้นที่ประสบภัยเพิ่มขึ้น
       
       อ.สังขะ มีน้ำท่วมพื้นที่นาข้าวและถนนได้รับความเสียหายบางแห่งในพื้นที่ตำบลสะกาด ต.ทับทัน ต. เทพรักษา ต.บ้านชบ ต.ขอนแตก ต.กระเทียม ต.บ้านจารย์ ต. ตาตุม ต.ตาคง และในเขตเทศบาลตำบลสังขะ เนื่องจากระบายไม่ทัน คาดว่า จะมีพื้นที่ประสบภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
       
       ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ ภาคเอกชน และประชาชน ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้ ธนาคารออมสินมอบถุงยังชีพ จำนวน 147 ชุด ให้แก่ราษฏรตำบลบะ อ.ท่าตูม, จังหวัดสุรินทร์ มอบถุงยังชีพให้แก่ อำเภอรัตนบุรี 5,000 ชุด อำเภอท่าตูม 4,100 ชุด อำเภอสำโรงทาบ 600 ชุด และ อำเภอชุมพลบุรี 2,500 ชุด รวมทั้งสิ้น 12,200 ชุด
       
       ล่าสุด วันนี้ (17 ต.ค.) เวลา 15.00 น.ทางจังหวัดสุรินทร์ ได้เรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วน ที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม


 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000132328
 
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #3596 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 19:21:42 »

มาติดตามข่าวค่ะ
ห้องนี้ให้ความรู้เรื่องน้ำจากข้อมูลหลายทางค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #3597 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 21:12:23 »

วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2554 เวลา 20.53 น.

ข้อมูลล่าสุด พื้นที่กรุงเทพมหานคร  


                                   20.45น. กทม.มีฝนอ่อนที่เขตบางขุนเทียน จอมทอง ทุ่งครุ ธนบุรี ตลิ่งชัน กลุ่มฝนอ่อน อ.เมืองสมุทรปราการ เคลี่อนเข้า บางนา พระโขนง คลองเตย ยานนาวา

                                   ระดับน้ำชายแดน กทม. ด้านปทุมธานีและคลองเปรมประชากรอยู่ในระดับปกติ

                                   วันนี้กทม.เร่งสร้างแนวกระสอบทราย ตอนคลองหกวาสายล่างเพื่อเป็นแนวกั้นน้ำชั้นที่ 2 คาดว่าจะเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่างยังเป็นปกติ 17 ต.ค. 2554 ...



                   -   คืนนี้ คนกรุงเทพมหานคร ยังนอนตาหลับไปได้อีกสอง-สามวันครับ เพราะว่า เจ้า "ซึนามิเงียบ" กำลังจัดกำลังเสริม กำลังเดินทางมาด้วยความเร่งรีบ เพราะไม่มีกองโจรใดๆ มาทำให้เสียเวลาเดินทางเลย ขอเวลาตั้งตัวก่อน

                    -   กทม.เร่งทำคันกั้นน้ำสำรองก่อน ที่น้ำจะมานั้นเป็นความคิดที่ดี  ทำตอนน้ำมานั้นมันเป็นไปลำบากครับ กระแสน้ำแรง ต้านไม่อยู่

                    -   แต่ข้อสำคัญ  หยุดมันยาก เพราะมีกำลังสำรองหนุนอย่างต่อเนื่อง ท่านต้องตัดตอน หาทางให้มันไปที่อื่นให้ได้มากที่สุด อย่าไปกักด้วยคันกั้นน้ำ เอาไม่อยู่หรอก ผมยังยืนยันตามนี้  ทำทางให้มันไปเท่าที่จะทำให้ได้มากที่สุด  ผมไม่มีอำนาจสั่งการ  ไม่ได้ลงพื้นที่  ไม่มีแผนที่คลอง  ไม่มีอะไรทั้งนั้น ครับ  จึงไม่สามารถช่วยได้เลย  

                         ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3598 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 21:56:06 »

แผนที่อากาศ วันนี้ (17 ต.ค. 54) ครับ



จากแผนที่อากาศจะเห็นได้ว่า บริเวณภาคอีสาน แถวๆ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และภาคตะวันออก แถวๆ สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ...ระยะ 1-2 วันนี้ จะมีฝนตกหนักจะทำให้เกิดน้ำท่วม ได้ครับ
 so sad



อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 17 ตุลาคม 2554, 18:33:34
ยังมีที่ไหนอีก ที่น้ำยังท่วมไปไม่ถึง ??

“มูล-ชี” ล้นท่วมสุรินทร์ขยายวง 9 อำเภอ-เดือดร้อนอื้อ นาข้าวสูญ 6.6 หมื่นไร่
17 ตุลาคม 2554 16:01 น.

 
       สุรินทร์ - ฝนตกหนักต่อเนื่อง น้ำจากแม่น้ำมูล-น้ำชี และลำน้ำสาขา ล้นไหลทะลักท่วมเมืองช้างขยายวงกว้าง ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว 9 อำเภอ 68 ตำบล 563 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,969 ครัวเรือน นาข้าวเสียหาย 66,678 ไร่ มันสำปะหลังเสียหาย 29,420 ไร่
      
       วันนี้ (17 ต.ค.) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ รายงานสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ว่า จังหวัดสุรินทร์มีอำเภอที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัยแล้ว 9 อำเภอ 68 ตำบล 563 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองสุรินทร์, อ. สำโรงทาบ, อ.ท่าตูม, อ. ชุมพลบุรี,อ.รัตนบรี, อ.จอมพระ, อ.สังขะ, อ.กาบเชิง และ อ.ศรีณรงค์ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,969 ครัวเรือน นาข้าวเสียหาย 66,678 ไร่ มันสำปะหลังเสียหาย 29,420 ไร่ บ่อปลาเสียหาย 42 บ่อ ถนนได้รับความเสียหายจากการถูกน้ำกัดเซาะผิวจราจร และการสัญจรไปมาไม่สะดวก 105 สาย ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้ มีผู้ถูกน้ำไหลเชี่ยวพัดตกลงไปในคลองน้ำ หาศพยังไม่พบ 1 ราย ที่ อ.ศรีณรงค์
      
       ขณะนี้หลายพื้นที่มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ติดลุ่มน้ำมูล ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตร เส้นทางการสัญจรหลายแห่งได้รับความเสียหาย ราษฎรได้รับความเดือดร้อน
      
       โดย อ.เมืองสุรินทร์ ฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โครงการชลประทานสุรินทร์ได้ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง และมีน้ำไหลล้นสปิลล์เวย์ ไหลลงสู่ลำน้ำชี ทำให้ลำน้ำชีมีปริมาณน้ำสูงขึ้นเฉลี่ย 10-15 เซนติเมตร (ซม.) เอ่อท่วมพื้นที่นาข้าวและถนนในการสัญจรบางแห่ง ในเขต ต.เฉนียง ต.นอกเมือง ต.คอโค ต.ตระแสง ต.ท่าสว่าง คาดว่า หากยังมีการระบายน้ำและมีฝนตกในพื้นที่ จะให้น้ำมีปริมาณสูงไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร เส้นทางสัญจรโดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลคอโค และขณะนี้ถนนทางเข้าหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ บ้านยาง หมู่ 21 น้ำท่วมถนนทางเข้าหมู่บ้านแล้ว ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา
      
       สำหรับถนนภายในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ มีน้ำท่วมขังเนื่องจากการระบายไม่ทัน ได้แก่ ถนนเส้น สนามกีฬาศรีณรงค์, หมู่บ้านซิตี้แลนด์, สี่แยกห้างบิ๊กซี, แม็คโคร, เทสโก้ โลตัส
      
       อ.ชุมพลบุรี น้ำมูลและน้ำจากลำพลับพลา มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระดับน้ำพื้นที่ซึ่งน้ำท่วมอยู่แล้วเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ย 5-10 เซนติเมตร น้ำไหลเอ่อท่วมพื้นที่นาข้าวและถนนในการสัญจรเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ตำบลสระขุด ต.เมืองบัว ต.ยะวึก ต.กระเบื้อง ต.ศรีณรงค์ ต.ชุมพลบุรี ต.นาหนองไผ่ ต.หนองเรือ และ ต.ไพรขลา และ ถนนในพื้นที่ตำบลสระขุด เมืองบัว และตำบลกระเบื้อง น้ำท่วมขังบ้านเรือนทำให้ทรัพย์สินเสียหาย จำนวน 20 หลัง
      
       อ.ท่าตูม ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 5-10 เซนติเมตร แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นาข้าวและถนนในการสัญจรบางแห่งในพื้นที่ตำบลบะ ต.ทุ่งกุลา ต.กระโพ ต.พรมเทพ ต.โพนครก ต.หนองบัว ต.หนองเมธี และ ต.ท่าตูม ซึ่งท่วมอยู่แล้วมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น น้ำเอ่อท่วมพื้นที่นาข้าวขยายเป็นวงกว้าง ถนนในหลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถนนในพื้นที่ตำบลบะ ถนนสายบ้านปรีงไป อ.ท่าตูม รถไม่สามารถวิ่งผ่านได้ และมีบ้านเรือนราษฎร ตำบลโพนครก ถูกน้ำท่วมขัง จำนวน 57 ครัวเรือน
      
       อ.รัตนบุรี น้ำในลำห้วยทับทัน ซึ่งไหลมาบรรจบกับน้ำมูล มีปริมาณสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำในพื้นที่นาข้าวที่ท่วมอยู่แล้วเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยวันละ 3-5 เซนติเมตร ในพื้นที่ตำบลน้ำเขียว ต.แก ต.กุดขาคีม ทับใหญ่ หนองบัวทอง ดอนแรด และน้ำได้เอ่อไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎรในพื้นที่ตำบลทับใหญ่แล้ว
      
       อ.กาบเชิง เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้มีน้ำปริมาณมากท่วมขังไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลคูตัน ต.ด่าน ต.ตะเคียน ต.แนงมุด และโคกตะเคียน ประมาณ 29,420 ไร่ และคาดว่า ยังมีฝนตกในพื้นที่คาดว่าจะมีมันสำปะหลังเสียหายเพิ่มขึ้น
      
       อ.สำโรงทาบ ปริมาณน้ำในห้วยทับทันและห้วยเกาะแก้วเพิ่มสูงขึ้น ทำให้พื้นที่ตำบลสำโรงทาบ ต.เกาะแก้ว ต.หนองฮะ ต.หมื่นศรี ซึ่งมีน้ำท่วมขังอยู่แล้วมีปริมาณสูงเพิ่มขึ้น คาดว่า จะมีพื้นที่นาข้าวและถนนในการสัญจรเสียหายเพิ่มขึ้น
      
       อ.จอมพระ ระยะนี้มีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทำให้มีน้ำท่วมพื้นที่นาข้าวในพื้นที่ ตำบลเมืองลีง และบริเวณลำห้วยระวี ตำบลลุ่มระวี และถนนในหลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา
      
       อ.ศรีณรงค์ มีน้ำท่วมขังนาข้าวและถนนในการสัญจรบางแห่งในพื้นที่ตำบลศรีสุข ตรวจ ณรงค์ คาดว่าหากยังมีฝนตกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจะมีพื้นที่ประสบภัยเพิ่มขึ้น
      
       อ.สังขะ มีน้ำท่วมพื้นที่นาข้าวและถนนได้รับความเสียหายบางแห่งในพื้นที่ตำบลสะกาด ต.ทับทัน ต. เทพรักษา ต.บ้านชบ ต.ขอนแตก ต.กระเทียม ต.บ้านจารย์ ต. ตาตุม ต.ตาคง และในเขตเทศบาลตำบลสังขะ เนื่องจากระบายไม่ทัน คาดว่า จะมีพื้นที่ประสบภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ ภาคเอกชน และประชาชน ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้ ธนาคารออมสินมอบถุงยังชีพ จำนวน 147 ชุด ให้แก่ราษฏรตำบลบะ อ.ท่าตูม, จังหวัดสุรินทร์ มอบถุงยังชีพให้แก่ อำเภอรัตนบุรี 5,000 ชุด อำเภอท่าตูม 4,100 ชุด อำเภอสำโรงทาบ 600 ชุด และ อำเภอชุมพลบุรี 2,500 ชุด รวมทั้งสิ้น 12,200 ชุด
      
       ล่าสุด วันนี้ (17 ต.ค.) เวลา 15.00 น.ทางจังหวัดสุรินทร์ ได้เรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วน ที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม


 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000132328
 

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3599 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2554, 22:08:46 »

พิจารณาจาก ... การคาดการณ์ฝนในระยะ 3 วัน 18 - 21 ต.ค. และข้อมูลน้ำ  ระยะ 3 วันนี้ กทม. น่าจะัยังปลอดภัย ครับ



ข้อมูลจาก The National Centers for Environmental Prediction:

การคาดการณ์ฝนล่วงหน้า 3 วัน พบว่า ในช่วงวันที่ 18 ต.ค. – 21 ต.ค. 54 คาดว่า ทุกภาคจะมีฝนตกกระจายทั่วไป ประมาณ 10-30 มม.


ณ วันนี้ ...

แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 ที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 4,560 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน4,632 ลบ.ม./วินาที) ระดับน้ำ +26.80 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.60 เมตร

เขื่อนเจ้าพระยา สถานี C.13 ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,610 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 3,610 ลบ.ม./วินาที) ระดับน้ำเหนือเขื่อน +17.72 ม.รทก. (เมื่อวาน +17.73 ม.รทก.) ระดับน้ำท้ายเขื่อน +17.55 ม.รทก. (เมื่อวาน +17.55 ม.รทก.)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 38 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 37 ลบ.ม./วินาที)คลองชัยนาท-ป่าสัก (ปตร.มโนรมย์) 38 ลบ.ม./วินาที คลองชัยนาท-อยุธยา (ปตร.มหาราช ) ปิดการระบาย คลองเล็กอื่นๆ ปิดการระบาย โดยรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์ (ปตร.พระนารายณ์) 24 ลบ.ม./วินาที

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 717 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 716 ลบ.ม./วินาที) คลองมะขามเฒ่าอู่ทอง (ปตร.มะขามเฒ่า-อู่ทอง) 41 ลบ.ม./วินาที แม่นํ้าสุพรรณ 448 ลบ.ม./วินาที (ปตร.พลเทพ 360 ลบ.ม./วินาทีคลองเล็กอื่นๆ 88 ลบ.ม./วินาที) แม่น้ำน้อย ปตร.บรมธาตุ 228 ลบ.ม./วินาที

เขื่อนพระรามหก อัตราการไหลเฉลี่ย 628 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 664 ลบ.ม./วินาที)

อ.บางไทร สถานี C.29 อัตราการไหลเฉลี่ย 3,783 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 3,833 ลบ.ม./วินาที)

ปตร.คลองลัดโพธิ์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 53.96 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 54.37 ล้าน ลบ.ม.) อัตราการไหลเฉลี่ย624.52 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 629.34 ลบ.ม./วินาที) ระยะเวลาเปิดการระบายน้ำ 24.00 ชั่วโมง

ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมดวันละ 40.32 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายนํ้าลงแม่น้ำเจ้าพระยาวันละ 2.63 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายกวันละ 3.27 ล้าน ลบ.ม.ระบายน้ำลงแม่น้ำบางปะกงวันละ 6.77 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงอ่าวไทยวันละ 27.65 ล้าน ลบ.ม. (สูบจากคลองชายทะเลลงอ่าวไทยวันละ 21.26ล้าน ลบ.ม. และสูบจากสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิลงอ่าวไทยวันละ 6.39 ล้าน ลบ.ม.)

ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมดวันละ 14.57 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายนํ้าลงแม่น้ำเจ้าพระยาวันละ 0.22 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ 14.35 ล้าน ลบ.ม.

.


สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯและป่าสักฯ วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554





เครดิต: ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 142 143 [144] 145 146 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><