25 พฤศจิกายน 2567, 20:42:55
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 675 676 [677] 678 679 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3579103 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 13 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16900 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2561, 12:47:32 »



สวัสดี ทุกท่านครับ

วันที่ 19-20 กรกฎาคม ได้ไปร่วมแข่งขันกอล์ฟอาชีพ รายการ Manop Thabvibool Invitation ที่สนามกอล์ฟ Royal Hill นครนายก
วันที่ 2 ของการแข่งขัน ได้ออกรอบกับคุณหมอชาญปรีชา   จันทร์จำนงค์  ท่านเป็นโปร.กอล์ฟ และศัลยแพทย์ ได้ปรึกษากับท่าน ว่าจะผ่าตัดหมอนรองกระดูกดีหรือไม่  ตอนแรกท่านตอบว่า ถ้ายังทนได้ก็ไม่ต้องผ่าตัด

แต่ภายหลังท่านเห็นฟีล์ม X-ray ท่านเปลี่ยนใจบอกว่า  case นี้ มันเห็นการทับเส้นประสาทชัดเจนมาก  ถ้าผ่าตัดรับรองหายแน่นอน ผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องได้  แต่ยังมีเวลาตัดสินใจ

ทำให้พี่สิงห์   เกิดความลังเลใจ  อยากผ่าตัดขึ้นมาทันทีเลย!

ในก้วนมีสามท่าน เป็นวิศวกร สองท่าน และศัลยแพทย์ หนึ่งท่าน ยังทำงาน ทั้งสามคน และเป็นโปร.กอล์ฟ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16901 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2561, 18:46:16 »



วันนี้ มาทำงานที่โรงงเรพระพรหม นครศรีธรรมราช
รีด HC80 เหมาะสำหรับทำพื้นอาคาร span ไม่เกิน 4:00ม. ไม่ต้องใช้นั่งร้านค้ำยัน ขณะเทคอนกรีตทับหน้า
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16902 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2561, 18:49:55 »



เมื่อวันที่ 22-23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ไปอำเภอจอมทอง เชียงใหม่ ไปสอนหนังสือ และตอบคำถามที่มีปัญหา ทางด้านการใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จ มี่ PPS concrete

พักที่สนามกอล์ฟอินทนนท์  และตีกอล์ฟ กับ คุณประพันธิ์  MD ของ PPS concrete

สนามนี้ ชาวเกาหลีมาเช่าสนาม ครับ ตอนนี้มีนักกอล์ฟเกาหลีเริ่ม มากันแล้ว อีกหนึ่งเดือน คงไม่สามารถไปพักที่สนามได้ เพราะจะมีแต่ชาวเกาหลี ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16903 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2561, 07:16:24 »



สวัสดี ทุกท่านครับ

สุดสัปดาห์นี้ เป็นวันอาสาฬหะบูชา และเข้าพรรษา
พี่สิงห์  จะหาสถานที่สงบ เพื่อใึกฝนตนเอง ไม่ให้หลง ไม่ให้ไหลไปกับจิตตนเอง หรือความคิด-อารมภ์ ที่เกิดจากการผัสสะทางอายตนะ

อายตนะ มันก็ทำหน้าที่จองมันตามธรรมชาติ แต่จิตมนุษย์มันใฝ่รู้  อยากเข้าไปมีส่วนร่วม อยาก...มากมาย ล้วนตามมาซึ่งความวุ่นวาย ความทุกข์  ต้องปล่อยผ่านไป รู้ - วาง ทันที(ไม่คิด) ด้วยการมีสติ

จะมีสติได้  ก็ต้องฝึกสติ เจริญสติให้มาก ๆ จนสติมันเกิดตลอดเวลา รู้-วางได้

เมื่อมีสติ  ก็ทำสติให้เป็นสมาธิ อย่างน้อยให้ละจากนิวรณ์ ทั้ง ๕ ได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16904 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2561, 20:46:13 »




วันอาสาฬหบูชาน้อมใจให้ระลึกถึงการแสดงธรรมครั้งแรกของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นเสมือนการประกาศแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า แม้เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตาย แต่เราทุกคนสามารถพ้นทุกข์ได้ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย นั้นมิใช่ปัญหามากเท่ากับความยึดติดถือมั่นในกายและใจ หรือตัณหาในรูปธรรมและนามธรรม ปล่อยวางหรือละตัณหาได้เมื่อใด ทุกข์ก็มิอาจบีบคั้นจิตใจได้อีกต่อไป แม้ต้องแก่ เจ็บ และตาย แต่ใจก็ไม่ทุกข์อีกต่อไป

หนทางสู่ความพ้นทุกข์นั้นพระองค์ได้แสดงอย่างแจ่มชัดด้วยข้อปฏิบัติที่เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นเสมือนบันไดสู่ความเห็นแจ้งในสัจธรรม จนปล่อยวางสิ่งทั้งปวงได้ ดังมีประจักษ์พยานคืออริยสงฆ์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยพระอัญญาโกณฑัญญะ

ทำบุญในวันอาสาฬหบูชาแล้ว อย่าลืมตั้งใจมั่นที่จะฝึกฝนตนโดยเฉพาะ ๓ เดือนหลังจากนี้อันเป็นช่วงเข้าพรรษา เพื่อให้ได้รับประโยชน์คุ้มค่าแก่การเกิดเป็นมนุษย์ นั่นคือความสงบเย็นเป็นอิสระจากทุกข์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16905 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2561, 19:49:01 »



ผู้หลงอยู่แต่ในความคิด เป็นทาสของจิต!

ทั้ง ๆ ที่รู้ดี  นี่ละมนุษย์ ที่ยังไม่พ้นภัย ยังมีความอยาก  คือหลงกระทำไปตามความคิด เพราะตัวกู  ของกู  นั่นเอง

มันยากจริง ๆ

ไม่ควรอยู่ในสังคมหนือ ! ไม่ใช่ เพราะขาดสติไง! สติมันไม่แก่กล้า เพราะยังมีตัวกู !

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16906 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2561, 10:34:07 »



จงเอาชนะจิต ตนเองด้วย การมีสติ เกิดปัญญา ใช้ตัวช่วย
- ศรัทธา
- ฉันทะ
- วิริยะ
- จิตตะ
- วิมังสา
เถิดเรา ทุกสิ่งล้วนเป็นความต้องการของจิต  ที่มันไม่อยากหลุดพ้น  มันอยากอิสสละ ตามที่มันต้องการ

ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  และดับไปเป็นธรรดา ขึ้นอยู่กับเหตุ-ปัจจัย  ทำดี ต้องได้ดี ทำไม่ดีก็ได้ไม่ดี เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดานั่นเอง   ความคิด อารมภ์ มันย่อมเกิดเพราะเรามีอายตนะ เราต้องผัสสะ  แต่ถ้าไม่มีเรา มันก็ดับไปเป็นธรรมดาของมันอยู่แล้ว 
ดังนั้น จงสร้างสติให้มาก ให้มาก ให้มาก เพียงรู้ มันก็ดับของมันเอง ในปัสสะทางอายตนะ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16907 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2561, 06:03:39 »




ให้ความรักและกำลังใจ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มิได้ต้องการคนแนะนำสั่งสอน แต่ต้องการเพื่อนหรือคนที่เข้าใจความรู้สึกของเขามากกว่า  ดังนั้นแทนที่จะพูดในสิ่งที่ตนอยากพูด  ผู้ดูแลและญาติมิตรควรเปิดใจฟังผู้ป่วย โดยเฉพาะรับฟังความทุกข์ของเขาให้มาก ๆ  และฟังโดยไม่ตัดสินว่าเขาอ่อนแอ ใจไม่สู้ ไม่รู้จักปล่อยวาง  แต่ควรยอมรับเขาอย่างที่เป็น   (โดยเตือนใจตนเองไปพร้อม ๆ กันว่า หากฉันล้มป่วยอย่างเขา ก็คงเป็นเหมือนเขา ไม่ได้ดีไปกว่าเขาเท่าไหร่)  หากคิดจะช่วยเขา ก็ควรช่วยเขาจากจุดที่เขากำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จากจุดที่เขาควรเป็น  ขณะเดียวกันแทนที่จะเรียกร้องหรือแนะนำให้เขาปล่อยวาง  สิ่งแรกที่ผู้ดูแลและญาติมิตรควรทำคือวางความคาดหวังว่าเขาน่าจะเป็นอย่างนั้นหรือทำอย่างนี้

พระไพศาล วิสาโล
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16908 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2561, 13:30:20 »



วันอาทิตย์นี้ ช่วยกันส่งใจ เป็นกำลังใจให้เธอ
โปร.พรอนงค์  เพชรล้ำ
ให้ได้แช้มป์แรกใน Lpga และเป็นแช้มป์เมเจอร์ด้วย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16909 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2561, 20:56:34 »

  มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร
Menu
 มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร / Dhamma / ธรรมะ บทสวดมนต์ / ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6  (อ่าน 62576 ครั้ง)
มกราคม 17, 2011, 04:48:20 PM
ออฟไลน์ เด็กมุก
Administrator
กระทู้: 207
ดูรายละเอียด  เครื่องทำตรายาง

ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
ฌาน 4
1.ปฐมฌาน   2.ทุติยฌาน   3.ตติยฌาน   4.จตุตถฌาน

คำว่า "ฌาน" แปลว่า "การเพ่ง

1.ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ
วิตก  (ความตรึก ) การจดจ่ออยู่แต่ในการบริกรรมหรือการภาวนา เช่น พุทโธๆ แบบหนักแน่น
วิจาร (ความตรอง) การผ่อนคลายจากการวิตกข้างต้นลงได้ มีสติรู้บริกรรมได้แบบพริ้วไหวแผ่วเบา                     
ปิติ ความเอิบอิ่มใจที่เกิดขึ้น แสดงออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น เห็นแสง กายสั่นโยกคอนเป็นต้น
สุข ความสุขกายสบายใจ  กายเบาใจเบาเหมือนปุยนุ่น ไม่รู้สึกเจ็บปวด (กายละเอียดลมหายใจละเอียดกายหยาบหายไป)
เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ แบบหนึ่งเดียว มีสติรู้อยู่เพียงลำพัง ไร้ซึ่งความคิดใดๆรบกวน (ตกอยู่ในห่วงแห่งภวังคจิต)

2.ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือ
ปิติ คือความเอิบอิ่มใจ 
สุข ความสุขกายสบายใจ 
เอกัคคตารมณ์  จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ได้แก่การที่เราสามารถละ วิตก  , วิจาร ลงได้ นั่นเอง
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้า ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ ได้ตามลำดับโดยไม่ต้องมานั่ง วิตก วิจารอีก

3.ตติยฌาน มีองค์ 2 คือ 
สุข
เอกัคคตารมณ์
เพราะปิติสงบระงับไป ความสุขจึงมี จิตของผู้ปฏิบัติเยือกเย็นและสงบมากยิ่งขึ้น
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึง สุข และเอกัคคตารมณ์ ได้ตามลำดับโดยไม่ต้องมานั่ง วิตก วิจารและปิติอีก ก้าวข้ามไปสุขได้โดยพริบตาเดียวความชำนาญแบบนี้เรียกว่า ตติยฌาน

4.จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือ
อุเบกขา
เอกัคคตา
แม้ความสุขจะหายไป  แต่ใจจะปรากฏเป็นอุเบกขาคือการวางเฉยเพิ่มเข้ามา ที่เรียกว่า เป็นอุเบกขาฌาน อันเป็นอาการของปัญญาปรากฏขึ้นภายในจิตพร้อมกับเอกัคคตา คือจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่หวั่นไหว
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึง เอกัคคตารมณ์ ได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งบริกรรม วิตก วิจาร ปิติและสุขอีก ก้าวข้ามไปเอกัคคตารมณ์ ได้โดยในพริบตาเดียวความชำนาญแบบนี้เรียกว่า จตุตถฌาน

สรุปการทำให้ครบองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตารมณ์  ได้ เรียกว่าเข้าถึง ปฐมณาน
การชำนาญสามารถละ วิตก วิจาร เข้าถึง ปิติ ได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า ทุติยณาน
การชำนาญสามารถละ ปิติ เข้าถึงสุขได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า ตติยณาน
การชำนาญสามารถละ สุข เข้าถึง เอกัคตารมณ์  ได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า จตุตถณาน (ณาน4)
ฌานทั้ง  4 ประการนี้ ท่านเรียกว่า รูปฌาน (รูปสมาบัติ)

ส่วนใหญ่ชอบหลงกัน มักคิดว่าตนเองถึงณาน4 แล้ว ทั้งๆที่ยังเป็นแค่ ปฐมฌาน (มีองค์5) วิตก,วิจาร,ปิติ,สุข,เอกัคคตารมณ์ 
ตราบใดยังนั่งบริกรรมมีองค์ 5 อยู่ตราบนั้นก็ยังไม่ใช่ ณาน4 เพราะณาน  4 ต้องมีองค์ 2 คือ อุเบกขา กับเอกัคคตารมณ์
กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึง เอกัคคตารมณ์ ได้ทันทีนั่นแหละคือ จตุตถฌาน

ณานละเอียดชั่นสูง
อรูปณาน 4 (อรูปสมาบัติ)

อากาสานัญจายตนะ (ถืออากาศเป็นอารมณ์)
วิญญานัญจายตนะ (ถือวิญญาณเป็นอารมณ์)
อากิจจัญจายตนะ (ถืออาการแห่งความไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
เนวะสัญญานาสัญญายตนะ (ถืออาการแห่งการมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เป็นอารมณ์)
รูปณาน4 อรูปณาน4 เรียกว่าสมาบัติ ๘  ทำได้ก็สามารถ ทรงอภิญญา ๕ ได้

นิโรธสมาบัติ

        นิโรธสมาบัติ  ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้  ต้องเป็นพระอริยเจ้าขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามีเป็นต้นไป  และพระอรหันต์เท่านั้น  และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน  ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน  ท่านที่ได้สมาบัติแปด  เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้  ต้องได้มรรคผลถึงอนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

ผลของสมาบัติ

        สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว  ยังให้ผลแก่ทานที่บำเพ็ญกุศล ต่อท่านที่ได้สมาบัติด้วย  ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑบาต  ตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัยวิปัสสนาญาณ  และเข้าฌานสมาบัติ  เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ใส่บารตในตอนเช้า    ผลของสมาบัติมีดังนี้

                ๑.นิโรธสมาบัติ  สมาบัตินี้ เข้าคราวหนึ่งใช้เวลาอย่างน้อย  ๗  วัน  อย่างสูงไม่เกิน  ๑๕วัน  ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจานิโรธสมาบัตินี้    จะได้ผลในวันนั้น  หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นเศรษฐีในวันนั้นเลยทีเดียว

                ๒.ผลสมาบัติ   เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า  ท่านออกจากผลสมาบัติแล้วสมาบัตินี้เข้าออกได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ  ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็นอยู่  คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง

                ๓.ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ  จะทรงฐานะไว้ด้วยดี  ไม่ยากจนกว่าเดิม  มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

นิวรณ์ 5
สิ่งที่ทำให้ไม่ได้ ณาน หรือสมาธิ เรียกว่า นิวรณ์
นิวรณ์  แปลว่า เครื่องกั้น หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความ ตั้งใจปฏิบัติไป

นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ

   1. กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
   2. พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง
   3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
   4. อุทธัจจะกุกกุจจะ  ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบนิ่งแห่งจิตใจ กระวนกระวายใจ
   5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ความลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจในธรรม




ลำดับแห่งสมาธิ
ขณิกสมาธิ ( สมาธิชั่วคราว )
อุปจารสมาธิ (สมาธิเฉียดฌาน) เกือบแน่วแน่
อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่) มี ๔
1.ปฐมฌาน (วิตก, วิจารณ์,ปิติ, สุข, เอกกัคคตา)
2.ทุติยฌาน (ปิติ , สุข, เอกัคคตา)
3.ตติยะฌาน ( สุข,เอกัคคตา)
4.จตุตถะฌาน (อุเบกขา,เอกัคคตา)

วิปัสสนาญาณ 9 : วิปัสสนา แปลว่า การทำให้แจ้ง ญาณ แปลว่า ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่ทำให้ดับทุกข์ ดับกิเลสได้สิ้นเชิง มี 9 อย่าง
                        1) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนาม
                        2) ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
                        3) ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ความรู้อันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
                        4) อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นโทษ
                        5) นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นด้วยความหน่าย
                        6) มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ความรู้หยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
                        7) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้อันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
                        Cool สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ความรู้อันเป็นโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
                        9) สัจจานุดลมิกญาณ หมายถึง ความรู้ที่เป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์



อภิญญา 6
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญา หมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

   1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
   2. ทิพพโสต มีหูทิพย์
   3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
   4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
   5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
   6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

อภิญญา 5 ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) ข้อ 6 มีเฉพาะในพระอรหันต์

ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายความว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2011, 05:05:28 PM โดย เด็กมุก »
 บันทึกการเข้า
 สวัสดี...ผู้เยี่ยมชม...กด + Thank You ให้หรือยัง

ประวัติศาสตร์ไทย
สปริงเกอร์ไทยแลนด์
ปั๊มน้ำ
ออกแบบเว็บไซต์,เช่าโฮสท์
เครื่องทำตรายาง
มกราคม 18, 2011, 12:54:34 PM ตอบกลับ #1
ออฟไลน์ <<B'oO..
กระทู้: 917
MSN Messenger - boo_jeemokkoa@hotmail.com
ดูรายละเอียด    อีเมล์

Re: ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
 ^4thx^
 บันทึกการเข้า
"Khee-Bu-Joo"

กรุณากดคำว่า +Thank You
แทนการขอบคุณด้วยนะครับผม
หน้า: [1]   ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
 มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร / Dhamma / ธรรมะ บทสวดมนต์ / ฌาน 4 , อรูปณาน 4, นิโรธสมาบัติ, วิปัสสนาญาณ 9, อภิญญา 6
กระโดดไป: 

SMF 2.0.12 | SMF © 2011, Simple Machines
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร
มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร, ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น กู้ภัยธงแดง มุกดาหาร © 2018
All rights reserved
 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16910 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2561, 05:38:42 »



สุขจากใจ

แม้มีน้อย ไม่ร่ำรวย ก็มีความสุขได้ เป็นสุขที่พบได้กลางใจเรา   เป็นเพราะมองไม่เห็นความสุขดังกล่าว  ผู้คนจึงพากันดั้นด้นแสวงหาความสุขที่อยู่นอกตัว  แต่ไม่ว่าจะมีหรือได้มากเท่าไร ก็ไม่พบความสุขที่แท้   ต่อเมื่อหยุดแสวงหาสิ่งภายนอก หันกลับมามองตน วางใจให้ถูก  ดูแลใจให้ดี ก็จะพบความสุขอันประเสริฐได้ไม่ยาก  เป็นความสุขที่สัมผัสได้แม้ประสบกับความเจ็บป่วย พลัดพราก หรือยากไร้

พระไพศาล วิสาโล
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16911 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2561, 19:54:00 »

พี่ละออ บุญสา
รัฐศาสตร์ หัวหน้าหอคนแรก
แระธานชมรมฯ คนแรก
อายุ 87 ป่วยหนัก อยู่ห้อง 406 รพ เมโย(เปาโล)เกษตร ห้อง406
เบอร์โทร ผู้ดูแล (อารี) 084423 7347
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16912 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2561, 11:24:56 »



พี่ละออ   บุญสา
ได้จากไปเมื่อเช้าวันที่ 15 สิงหาคม  นี้ด้วยอาการสงบ

จะมีพิธีรดน้ำศพ ในเวลา 16:00 น . ศาลา ๑๕ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน
จะมีพิธีสวดพระอภิธรรมกร้ากีบศพ ในเวลา 18:00 น .

ฌาปนกิจศพ วันที่ 20 สิงหาคม

ขอเรียนเชิญ  ชาวซีมะโด่งทุกท่าน ที่ยังระบึกถึงกัน ไปร่วมงานด้วยครับ

สวัสดี
หมายเหตุ คืนวันที่ ๑๔ สิงหาคม ได้โทรศัพท์  ไปสอบถามคุณอารีย์  ผู้ซึ่งรับหน้าที่ดูและพี่ละออ   บุญสา 
แจ้งให้ทราบว่า พี่ละออ   ไม่รับรู้อะไรเลย   ลูก ๆ มาเยี่ยมก็ไม่รับรู้ อันใด
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16913 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2561, 16:06:40 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16914 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2561, 16:12:48 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16915 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2561, 16:20:32 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16916 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2561, 19:07:21 »



เป็นที่ชัดเจนแล้วนะครับว่า โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข สามารถเปิดให้บริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาและสามารถเก็บค่าบริการได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนที่เจ็บป่วย(และสามารถจ่ายค่าบริการได้) ไม่ต้องมาพบแพทย์เฉพาะทางในเวลาปกติ ซึ่งแออัด และรอพบแพทย์เป็นเวลานาน เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รพ.ที่เปิดบริการนี้ก็สามารถมีเงินบำรุงเพิ่มเพื่อนำไปพัฒนาบริการให้ดีขึ้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยรวม
การเปิดคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลา เป็นการใช้สถานที่เดียวกันกับห้องตรวจโรคในเวลาปกติ โดยเลือกเปิดในแผนกที่ผู้ป่วยในเวลาหนาแน่นและแออัด มีแพทย์เฉพาะทางที่สามารถมาให้บริการนอกเวลาได้ ซึ่งรพ.คงต้องทำประชาพิจารณ์ในส่วนของแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วยทั่วไป ถึงความเป็นไปได้ที่จะเปิด ค่าบริการควรจะเก็บเท่าไรจากผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้ป่วย ขณะเดียวกันรพ.ก็ต้องมีเงินบำรุงเหลือหลังจากจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ให้บริการนอกเวลา โดยยึดระเบียบและวิธีดำเนินการฯที่กระทรวงกำหนด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบบริการในอนาคต  รพ.ที่ยังไม่ได้เปิดคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลา ควรรีบดำเนินการเพื่อให้เปิดได้ทันภายในเดือนตุลาคม 2561 นี้นะครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16917 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2561, 14:45:10 »

ความรู้สึกตัวหรือความรู้ตัว เป็นพื้นฐานให้เกิด “รู้” อีกชนิดหนึ่ง คือ รู้ความจริง หรือเห็นธรรมชาติของกายและใจตามความเป็นจริง เห็นกระทั่งว่า มันไม่ใช่ “กู”หรือ “ของกู”    ดังนั้นจึงช่วยไถ่ถอนจิตจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนได้   กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อใดที่รู้สึกตัว  “ตัวกู”ก็หายไป  แม้ปุถุชนยากที่จะรู้สึกตัวได้ต่อเนื่อง แต่ละวัน ๆ อาจหลงมากกว่ารู้ แต่ความรู้สึกตัวที่เพิ่มพูนขึ้น ย่อมช่วยลดความยึดติดถือมั่นในตัวตน  ความทุกข์จึงบรรเทาเบาบางตามไปด้วย สิ่งที่มาแทนที่คือความปกติสุข สดชื่น เบิกบาน

“รู้ตัว” และ “รู้ความจริง” คือสิ่งที่ช่วยให้ใจเป็นสุขได้อย่างแท้จริง  ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน  เช่นเดียวกับการฝึกจิตจนรู้ความจริงของกายและใจ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16918 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2561, 13:26:48 »

คำว่า “ปฏิบัติธรรม” คืออย่างไร?
มาทำความเข้าใจให้ถูก

     “ปฏิบัติธรรม” ก็คือ เอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ เอามาใช้ดำเนินชีวิต ทำการทำงาน คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงนั่นเอง

เมื่อปฏิบัติธรรม ก็หมายถึงว่า เอาธรรมมาใช้ในชีวิตจริง หรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิบัติ

คำว่า “ปฏิบัติ” นี้ เดิมนั้นแปลว่า “เดินทาง” มาจากภาษาบาลี ของเดิมนี้มีคำคล้ายๆกันอีกคำหนึ่งคือ “ปฏิปทา”
   
ปฏิปทา แปลว่าอะไร จะเห็นได้ในคำว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” ที่เราแปลกันว่า “ทางสายกลาง” มัชฌิมา แปลว่า สายกลาง และปฏิปทา แปลว่า ทาง คือ ที่ที่จะเดิน คำว่าปฏิปทา ก็คือที่ที่จะเดิน

คำว่า ปฏิปทา กับคำว่า ปฏิบัติ นี้เป็นคำเดียวกัน รากศัพท์อันเดียวกัน ถ้าเป็นกริยาก็มีรูปเป็น ปฏิปชฺชติ เช่นในคำว่า “มคฺคํ ปฏิปชฺชติ” แปลว่า เดินทาง

เพราะฉะนั้น ปฏิปชฺชติ มาเป็น ปฏิบัติ หรือเป็น ปฏิปทา ก็ตาม ก็แปลว่า การเดินทาง หรือแปลว่า ทางที่เดิน

ถ้าเป็นการเดินทางก็นิยมใช้ในรูปว่า “ปฏิปตฺติ” หรือไทยใช้ว่า “ปฏิบัติ” ถ้าเป็นทางที่เดินก็นิยมใช้ “ปฏิปทา” เพราะฉะนั้น เราเอาถ้อยคำสำหรับสิ่งที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง มาประยุกต์ใช้ในทางนามธรรม

เพราะฉะนั้น #การปฏิบัติธรรม_ก็คือ_เอาธรรมมาใช้ในการเดินทางชีวิต_หรือเอามาช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง หรือเอามาช่วยในการเดินทางชีวิต เพื่อให้การดำเนินชีวิตนั้นเป็นไปด้วยดี

การปฏิบัติธรรมก็จึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่ที่วัด ไปอยู่ที่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิ อะไรอย่างนั้น ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง #เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ในขั้นลึก_ในการที่จะฝึกฝนจิตใจอย่างจริงๆจังๆ ถ้าจะเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น ก็เรียกว่าเป็นการปฏิบัติแบบ intensive เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง

ที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เรานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

ดังนั้น ถ้าตนมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเล่าเรียน เล่าเรียนให้ได้ผล ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เช่น เล่าเรียนโดยมี อิทธิบาท ๔
มีฉันทะ พอใจรักในการเรียนนั้น
มีวิริยะ มีความเพียร ใจสู้
มีจิตตะ เอาใจใส่ รับผิดชอบ
มีวิมังสา คอยไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ ทดลองให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป
อย่างนี้ก็เรียกว่า “ปฏิบัติธรรม” หรือในการทำงานก็เหมือนกัน

แม้แต่ออกไปในท้องถนน ไปขับรถ ถ้าขับโดยรักษากฎจราจร ขับเรียบร้อยดีไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลึกเข้าไป แม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใสสบายใจในเวลาที่ขับรถนั้นได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมในระดับต่างๆ

แล้วแต่ว่าใครจะสามารถเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหนเพียงไร ก็เรียกว่า “ปฏิบัติธรรม” ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนมีหน้าที่ต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้อง

แม้แต่การนั่งฟังปาฐกถานี่ ก็มีการปฏิบัติธรรม เมื่อตั้งใจฟัง ฟังเป็น ใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่รับฟังนั้น ทำให้เกิดปัญญาขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น

เป็นอันว่า การปฏิบัติธรรมนี้ เป็นเรื่องที่กว้างมาก หมายถึง การนำเอาธรรมมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต หรือการทำกิจทำงานทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ถูกต้อง ให้ดี ให้เกิดผลเป็นประโยชน์ เพื่อจะได้เข้าถึงชีวิตที่ดีงามมีความสุขที่แท้จริงนั่นเอง เป็นการ“ปฏิบัติธรรรม”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : หนังสือ “ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง”
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16919 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2561, 15:22:47 »





      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16920 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2561, 08:29:42 »

ความทุกข์ใจของผู้คนทุกวันนี้เกิดจากความหลงเป็นสำคัญ  ความโกรธ เกลียด เศร้า วิตก กังวล เครียด จึงสามารถครอบงำ เผาลน และทิ่มแทงจิตใจได้   ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งหลง และยิ่งหลงก็ยิ่งทุกข์  แต่เมื่อใดที่มีสติ รู้สึกตัวขึ้นมา ใจก็หลุดจากอารมณ์เหล่านั้นทันที  การนำความรู้สึกตัวมาแทนที่ความหลง เป็นหนทางออกจากทุกข์ ที่ทุกคนทำได้  ความรู้สึกตัวนี้แหละเป็นพื้นฐานของการรู้ความจริงของกายและใจอย่างแจ่มแจ้ง เป็น “รู้” ที่จะทำลาย “หลง”ได้อย่างสิ้นเชิง จนไม่มีทุกข์หลงเหลือ


ทุกท่านสามารถสร้างความรู้สึกตัว ให้เกิดขึ้นกับท่านได้ ได้ถึงขั้นตลอดเวลา เมื่อท่านคิด ท่านก็รู้สึกตัว ทันที สามารถที่จะหักห้ามใจไม่หลงกระทำตามความคิด หรืออารมภ์ที่มาปรุงแต่งจิต(เจตสิก)ของท่านได้ ด้วยการรู้สึกตัวนี่ละ

แต่มันไม่ง่าย ภาวนาปั๊ปแล้วจะรู้สึกตัวเลย ยังไม่ใช่ ท่านต้องมี
- ศรัทธา
- ศีล
-  วิริยา
- อยู่อย่างพอเพียง(เพื่อหักห้ามใจ)
- มีสติ
- ทำสติให้เป็นสมาธิ
- ใช้ปัญญา
- ไม่หวังอะไรทั้งนั้น ทำไป ๆ ๆ แล้วแต่วาสนา แต่เมื่อทำเหตุ-ปัจจัยให้ดี ให้พร้อมผลมันต้องดีแน่นอน ดั่งพระอานนท์ ท่านบอกว่า การปฏิบัติเจริญสติปัฏฐาน ๔ เปรียบได้กับแม่ไก่ฟักไข่ เมื่อเชื้อสมบูรณ์  แม่ไก่ฟักสมบูรณ์(เหตุ-ปัจจัยดี) เมื่อถึงเวลาหนึ่ง แม่ไก่จะปราถนาไม่ให้ลูกไก่เกิด หรือเกิด ก็บังคับไม่ได้ ลูกไก่ก็จะจิกเปลือกไข่ออกมาเอง นั่นแล

ดังนั้น ทุกท่านจงทำเหตุ-ปัจจัยในการเจริญสติ ให้ต่อเนื่องมั่นคงเถิด ท่านจะได้รับผลดีตามมาคือการรู้ตัวทั่วพร้อม ผัสสะทางอายตนะปุ๊ป ท่านก็รู้สึกตัวได้ปั๊ป เร็วพอ ๆ กันได้เช่นกัน ท่านจะเห็นความจริงในกาย ในใจของท่านเอง มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน ไม่จำกัดกาล เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู่เบิกบาน ด้วยสติ นี่ละ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16921 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2561, 06:48:32 »

彡 เสี่ยเจริญคนที่รวยที่สุดในประเทศกับความพอ

ก่อนไปอินเดียหลวงพ่อรูปหนึ่ง ท่านบอกกับเสี่ยเจริญว่า...

"โยมไปดูนะ ว่าชีวิตของจัณฑาลที่อินเดียนั้น ย่ำแย่ขนาดไหน เผลอๆ สุนัขในวัดของอาตมา ยังมีคุณภาพชีวิตดีกว่าขอทานที่อินเดียอีก"

เสี่ยเจริญได้แต่เก็บความสงสัยไว้ในใจ เพราะการไปอินเดียในครั้งนั้น เขาตัดสินใจไม่หาข้อมูลใดใดเกี่ยวกับประเทศอินเดียเลย...

ภาพชีวิตที่เห็นตรงหน้า หลายครั้งทำให้สะเทือนใจมาก จนไม่อาจยกกล้องขึ้นมาบันทึกภาพ

หลายๆ เรื่องจากคำบอกเล่าจากไกด์ชาวอินเดีย แทบทำให้เขาจินตนาการไม่ถูกถึงความเศร้าในโชคชะตาที่มนุษย์คนหนึ่งพึงมี...

หลวงพ่อท่านถามเขาว่าเห็นขอทานแล้วรู้สึกอย่างไร เสี่ยเจริญตอบท่านว่ารู้สึกสงสารและเศร้าใจ สังเวชใจ

หลวงพ่อมองหน้าเขาแล้วท่านก็เอ่ยขึ้นว่า
"เห็นก็เพียงเห็น อย่าไปตัดสินว่าเขาทุกข์หรือจนกว่าเรา อย่าไปคิดเองเออเองว่าเขาลำบากกว่าเรานะโยม"

"ค่าของคนอยู่ที่ไหน"

คำถามนี้เสี่ยเจริญคิดว่าเราต้องย้อนกลับไปถามตัวเองก่อนว่า เราวัดคุณค่าของความเป็นคนจากอะไร?

วัดจาก "คุณค่า" หรือ "มูลค่า"

ถ้าเราวัดคุณค่าของคนจาก "มูลค่า" สิ่งที่เขาครอบครองแน่นอน...คนรวยย่อมถูกตัดสินว่ามีชีวิตที่ดีกว่าคนจน เศรษฐีย่อมน่าจะมีความสุขสบายกว่าชีวิตขอทาน และคนที่ครอบครองทรัพย์สินมากมายมหาศาล น่าที่จะเป็นที่ยอมรับนับถือมากกว่าคนจนหมอนหมิ่นถิ่นแคลน

แต่ถ้าเราวัดค่าของคน จาก "คุณค่า"
คงต้องย้อนกลับมาถามกันใหม่ว่า

"อะไรคือความแตกต่างของความเป็นมนุษย์"

ถ้ามองในมิตินี้ ทั้งกษัตริย์และยาจก ทั้งนายกและจับกัง ทั้งนายแพทย์ พระเถระ นายทหารระดับสูง พลตำรวจ ทนายความ นักแสดง นักพูด พ่อค้าแม่ขาย ครู นักมวย ฯลฯ

ทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้ ไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลยในความเป็นเพื่อนร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย...

เสี่ยเจริญก็ตาย หมาก็ตาย แมวก็ตาย ควายก็ตาย

ความตายที่มีคุณค่ากับความตายที่ว่างเปล่าเศร้าโศกมีอะไรที่แตกต่าง ?

คุณค่าความหมายที่ทำให้ความตายของคนๆ หนึ่งแตกต่างจากคนอีกคนหนึ่ง นั่นคือ  "สิ่งที่เขาได้ทำก่อนตาย" หรือที่เราเรียกว่า "หน้าที่ของความเป็นมนุษย์" นั่นเอง

ถ้าใครสักคนเดินตกบันไดแล้วขาหัก ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นขอทานหรือนักกีฬาทีมชาติ ต่างก็เจ็บเหมือนกัน

วินาทีที่เขาใกล้ตาย ขอทานอาจไม่ห่วงอะไรเลย เพราะทุกข์กับชีวิตมานานจนชินชา ตายแบบไม่ต้องห่วงหาอาลัยอาวรณ์ใดใด

ในขณะที่เศรษฐีพันล้านหมื่นล้านแบบเสี่ยเจริญอาจนอนตายตาไม่หลับ ห่วงทั้งลูกหลานที่รอแย่งชิงมรดก ห่วงกิจการที่ตนเองสร้างมาทั้งชีวิตว่าใครจะสืบทอดความยิ่งใหญ่

แบบนี้...ไม่รู้ใครทุกข์กว่าใครนะครับ

วันท้ายๆ ของการเดินทางในอินเดีย
เสี่ยเจริญมองขอทานเป็น "ครู"

เขาไม่เคยเห็นขอทานคนไหนตื่นเช้ามา แล้วเดินเอาเชือกไปผูกคอตายใต้ต้นไม้ เพื่อหนีความทุกข์เข็ญที่มีในชีวิต

เขาเห็นแต่ขอทานที่รู้ "หน้าที่" ของตน เห็นใครเดินมาก็เข้าไปขอ ขอข้าว ขอเงิน ได้ก็ดีใจ ไม่ได้ก็นั่งรอต่อไปอย่างไม่ทุกข์ร้อนใดใด

หิวก็ทน มีข้าวก็กิน กินอิ่มแล้วนอน
สืบพันธุ์ไปตามมีตามเกิด

เราอาจมองว่านี่เป็นชีวิตที่ชวนสังเวช หรือเป็นชีวิตที่ไร้ค่า

แต่เสี่ยเจริญอยากให้เรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง ชีวิตที่ดีที่เราใฝ่ฝันและปรารถนา บางคนเกิดตายอีกสิบชีวิต ยังไม่อาจบรรลุความฝันของตัวเองที่ตั้งไว้

อยากเรียนจบในสถาบันที่ดี อยากมีแฟนสวย หล่อ มีลูกน่ารักสักสองคน อยากรวย อยากมีบ้านสวยๆ มีรถเท่ๆ มีมือถือรุ่นใหม่ให้ใช้

อยากเป็นคนอินเทรนด์ไม่ตกยุค อยากเป็นคนที่ติดตามข่าวสารได้ตลอดเวลา อยากได้รับความรักจากคนรอบข้าง ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากป่วย ไม่อยากตาย

ยิ่งเราอยากเท่าไหร่
ดูเหมือนเราจะยิ่งทุกข์มากเท่านั้น

ไม่ใช่ทุกข์เพราะ "ไม่มี" แต่ทุกข์เพราะ "ไม่รู้จักพอ

เครดิตห้องธรรม:ครูบาอาร์ท


สวัสดี ทุกท่าน ครับ
ทุกครั้งที่มีคนพูดว่า " น่าสงสารขอทานอินเดีย"
ผมจะบอกว่า "คุณดูดวงตา  ขอทานอินเดียซิ  เขาไม่ได้ทุกข์ แบบที่คนคิดเลย  เขาพอใจในสิ่งที่มี ที่เป็น  การขอทานเป็นหน้าที่ตามธรรมชาติของเขา ที่ต้องหาเลี้ยงชีพตนเอง  
ดังนั้น เราอย่าไปตัดสิน   ด้วยความคิดของตนเอง  คนคิดไม่เหมือนกัน  บางทีคุณอาจจะทุกข์  มากกว่าขอทานอินเดียเสียอีก !"
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16922 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2561, 18:30:40 »

บทสวดมนต์ พระมาลัยสูตร

...ภาคท่องแดนสวรรค์...

  ภาคสวรรค์ พระมาลัยถามพระอินทร์ว่าเทพบุตรองค์นี้ทำบุญด้วยอะไร จึงมีบริวารมาก พระอินทร์ตรัสตอบว่า

  เทพบุตรองค์นี้เป็นชาวนาในลังกาทวีป เห็นกาก็ให้ข้าวกากิน ทำให้มีบริวารเป็นร้อย
  เทพบุตรอีกองค์หนึ่งทำบุญแก่มนุษย์ ทำให้มีบริวารเป็นพัน
  เทพบุตรอีกองค์หนึ่งถวายบิณฑบาตสามเณร ทำให้มีบริวารเป็นหมื่น
  เทพบุตรอีกองค์หนึ่งถวายบิณฑบาตพระสงฆ์ ทำให้มีบริวารถึง2 หมื่น 

 


เนื้อความ

หลังจากที่พระมาลัยกลับมาถึงวัด และฉันอาหารเช้า เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็นั่งคิดอยู่ในใจว่า

"สถานที่ให้เกิดธรรมสังเวช 7 แห่ง คือ ที่พระศาสดาประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ เสด็จลงจากดาวดึงส์ปรินิพพาน และสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาททั้ง 5 นั้น เราได้ถวายสักการบูชาเสมออยู่แล้ว

ยังเหลือแต่พระจุฬามณีสถาน ซึ่งเป็นที่มวยพระเกศธาตุ ของพระบรมศาสดาประดิษฐานอยู่บนสวรรค์นั้น เรายังมิได้ขึ้นไปนมัสการเลย พอดีครั้งนี้เราได้ดอกบัวมา 8 ดอก ควรที่จะนำดอกบัวนี้ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณีสถาน ในดาวดึงส์สวรรค์ดีกว่า"

เมื่อคิดดังนั้นแล้ว พระเถระก็เข้าจตุตถฌาน บันดาลให้ร่างของท่านเหาะลอยล่องขึ้นสู่อากาศมิทันช้า เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และมาปรากฏอยู่ ณ ลานพระจุฬามณีเจดีย์เบื้องหน้าไพชยนต์ปราสาท ของพระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ พระเถระยกหัตถ์ขึ้นนมัสการพระจุฬามณี ทั้ง 8 ทิศ บูชาด้วยดอกอุบลทั้ง 8 ดอก แล้วกระทำประทักษิณ 3 รอบ พร้อมทั้งนั่งลงนมัสการ กราบไหว้ทั้ง 8 ทิศ เสร็จแล้วนั่ง ณ ที่ข้างพระเจดีย์มุมหนึ่ง

ขณะนั้น พระอินทร์ซึ่งประทับอยู่ในทิพยวิมาน ทรงดำริในพระทัยว่า วันนี้เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เราจะออกไปถวายเครื่องสักการบูชา พระจุฬามณี สักหน่อย ครั้นแล้วก็มีเทวบัญชาาประกาศ ให้มวลนางสวรรค์กัลยาทั้งหลายทราบ พร้อมทั้งจัดแจงแต่งองค์ เสด็จออกจากปราสาท ตรงไปยังพระจุฬามณีเจดีย์สถาน ติดตามด้วยเทพบุตร เทพธิดาซึ่งเป็นบริวารจำนวนมาก

ครั้นแล้วก็เสด็จเข้าไปในลานพระเจดีย์ ทรงกระทำประทักษิณครบ 3 รอบ แล้วทรุดองค์ ถวายอภิวาท ทรงตั้งเครื่องสักการบูชาไว้ ณ ที่วางเครื่องบูชา แล้วเสด็จออกมาประทับ ณ ที่มุมด้านหนึ่งของพระเจดีย์ เพื่อเปิดโอกาสให้บริวารเข้านมัสการต่อไป

พอดีขณะนั้นเอง พระองค์ทอดพระเนตรมาเห็นพระมาลัย นั่งสงบเสงี่ยมอยู่ ณ มุมพระเจดีย์ด้านขวา ทำให้ฉงนสนเท่ห์ในพระทัยว่า พระผู้เป็นเจ้าองค์นี้มาจากที่ไหน และมาได้ยังไง จึงตัดสินใจลุกจากที่ประทับ ตรงไปนมัสการพระเถระ แล้วตรัสปราศรัยขึ้นว่า

"พระคุณเจ้าขอรับ พระคุณเจ้ามาจากไหน"

"ขอถวายพระพร อาตมาภาพมาจากชมพูทวีป มหาบพิตร" พระมาลัยตอบอย่างทันที

"ชมพูทวีป?" พระอินทร์ทวนคำ "พระคุณเจ้า หมายถึงที่ไหนขอรับ?"

"หมายถึงโลกมนุษย์ มหาบพิตร โลกมนุษย์ซึ่งมีต้นหว้าสูงใหญ่ ยิ่งกว่าต้นไม้อื่นใดทั้งหมด เป็นต้นไม้ประจำทวีป จนได้นามว่า ชมพูทวีป นั่นแหละ มหาบพิตร"

"พระคุณเจ้าทราบไหมว่า ชมพูทวีป ของพระคุณเจ้านั้นกว้างยาวเท่าไหร และมีสัตว์อาศัยอยู่มากน้อยเท่าใด ขอรับ?"

"เท่าที่อาตมาทราบ ชมพูทวีปนั้นกว้างยาวได้หมื่นโยชน์ โดยประมาณ มหาบพิตร เป็นมหาสมุทรเสีย 4,000 โยชน์ ป่าหิมพานต์เสีย 3,000 โยชน์ ส่วนอีก 3,000 โยชน์เป็นถิ่นมนุษย์อาศัยอยู่ และมีสัตว์อาศัยอยู่จำนวนมาก แบ่งออกเป็น 4 จำพวกด้วยกันคือ สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า สัตว์หลายเท้า และสัตว์ไม่มีเท้า"

"แหม! พระคุณเจ้าช่างจดจำเก่งเหลือเกิน" พระอินทร์รับสั่งชม "พระคุณเจ้าชื่ออะไรขอรับ?"

"อาตมาภาพมีนามว่า มาลัย มหาบพิตร" พระมาลัยตอบ "มหาบพิตรคงไม่ยออาตมาภาพอีกกระมังว่าชื่อเพราะ?"

"ไม่ยอหรอก พระคุณเจ้า แต่จะขอถามต่อไปว่า ชื่อพระคุณเจ้าหมายความว่าอย่างไร?"

"อาตมาภาพเกิดที่เกาะมาลัย บ้านไม้จันทน์แดง มหาบพิตร ชื่อของอาตมาภาพจึงตั้งตามชื่อเกาะ"

"แล้วพระคุณเจ้าขึ้นมาถึงสวรรค์ของข้าพเจ้านี้ พระคุณเจ้ามาโดยวิธีใดขอรับ?"

"อาตมา มาด้วยอำนาจฌานสมาบัติ เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็มาถึงที่นี่" พระมาลัยชี้แจง "เออ แล้วมหาบพิตร ยังไม่ได้บอกอาตมาเลย มหาบพิตร ชื่ออะไร?"

พระอินทร์หัวเราะพลางตอบว่า "ข้าพเจ้าเป็นคนหลายชื่อขอรับ หากจะนับให้ถ้วน ก็มีถึง 7 ชื่อด้วยกัน คือ มาฆะ ปุรินทะ สักกะ วาสวะ สหัสเนตร สุชัมบดี และ เทวานมินทร์"

"ทำไมมหาบพิตรถึงได้มีชื่อมากมายยังงั้นเล่า อธิบายให้อาตมาฟังหน่อยได้ไหม?"

"ได้ขอรับ พระคุณเจ้า" พระอินทร์ตกลงทันที "เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้ามีชื่อว่า มฆมาณพ ครั้นมาเกิดบนสวรรค์ จึงได้ชื่อว่า มาฆะ เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นมนุษย์นั้น ข้าพเจ้าให้ทานก่อนใครเสมอ จึงได้ชื่อว่า ปุรินทะ และเมื่อเวลาให้ทาน ข้าพเจ้าให้ทานด้วยความเคารพ จึงได้ชื่อว่า สักกะ ข้าพเจ้าเป็นสามีของนางสุชาดา จึงได้ชื่อว่า สุชัมบดี และข้าพเจ้าเป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์นี้ จึงได้ชื่อว่า เทวานมินทร์

"แล้วมหาบพิตรทำบุญอะไรไว้หนักหนา จึงได้มาเกิดเป็นพระอินทร์เล่า?" พระมาลัยซักต่อไป

"ข้าพเจ้าทำบุญหลายอย่างหลายประการ พระคุณเจ้า แต่ที่สำคัญที่สุดคือ วัตรบท 7 ประการ ข้าพเจ้าถือปฏิบัติมิได้ขาดจนตลอดชีวิตขอรับ"

"มหาบพิตรได้โปรดบอกหน่อยเถะว่า วัตรบท 7 ประการ นั้น คืออะไรบ้าง เผื่ออาตาม จะได้จดจำนำไปบอกชาวโลก ผู้อยากเป็นพระอินทร์ให้ปฏิบัติตามอย่างท่านบ้าง"

"แหม! ท่าน ได้ยังงั้นก็ดีนะซี พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าอยากจะให้ชาวโลกทำอย่างข้าพเจ้าเหลือเกิน" น้ำเสียงของพระอินทร์ เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ราวกับจะไม่กลัวว่า จะมีใครมาเกิดเป็นพระอินทร์ ชิงตำแหน่งของตนไปกระนั้นแหละ"

"วัตรบท 7 ประการ ที่ข้าพเจ้าถือปฏิบัติมานั้นคือ เลี้ยงพ่อแม่โดยความเคารพประการหนึ่ง มีความอ่อนน้อมยำเกรงต่อผู้เฒ่าผู้แก่ในตระกูล ไม่ดูหมิ่นท่านประการหนึ่ง พูดแต่คำที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ส่อเสียดยุแยงตะแคงรั่วคนอื่น ไม่ตระหนี่เหนียวแน่น ตั้งอยู่ในความสุจริตซื่อตรง และไม่ยอมตกเป็นทาสของความโกรธ ถึงเกิดขึ้นก็พยายามข่มไว้จนได้ ด้วยอำนาจคุณความดีที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญมานี่แหละ ข้าพเจ้าจึงได้มาบังเกิด ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ พระคุณเจ้า"

"คำว่า ดาวดึงส์ หมายความว่าอย่างไร มหาบพิตร?" พระมาลัย คงซักเรื่อยไป

"หมายความว่า พิภพนี้มีเทวดาเกิดขึ้น ครั้งแรก 33 องค์ แล้วเทดาองค์อื่นๆ จึงเกิด ขอรับ พระคุณเจ้า"

"ดาวดึงส์นี่คงกว้างใหญ่มากนะ มหาบพิตร?"

"กว้างหมื่นโยชน์ขอรับ พระคุณเจ้า และมีกำแพงสูง สิบหกโยชน์ล้อมรอบ มีประตูอีกพันหนึ่ง ข้างในประดับด้วยสวนดอกไม้ และสระโบกขรณี ที่เที่ยวเล่นพักผ่อนหย่อนใจของพวกเทวดาขอรับ"

"แล้วมีต้นไม้อะไรประจำทวีปบ้างไหม มหาบพิตร?"

"มีไม้ปาริฉัตตพฤกษ์ หรือ เรียกสามัญว่า ไม้แคฝอย เป็นต้นไม้ประจำทวีป ขอรับ"

"ต้นใหญ่ขนาดไหน มหาบพิตร?"

"ต้นใหญ่มากขอรับ วัดรอบลำต้นประมาณ 16 โยชน์ สูงถึงคาคบ 50 โยชน์ มีกิ่งใหญ่ 4 กิ่ง แผ่ไปไกล กิ่งละ 50 โยชน์ สูงขึ้นไปได้ร้อยโยชน์ พระคุณเจ้า"

"แหม! ต้นใหญ่จังเลย มหาบพิตร แล้วใต้ร่มต้นไม้แคฝอยนี่ มีอะไรบ้างหรือเปล่า?"

"มีซี พระคุณเจ้า มี บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เป็นแท่นที่นั่งของข้าพเจ้าซึ่งชาวโลกรู้จักกันดี ถ้ามีเหตุเดือดร้อนขึ้นในเมืองมนุษย์ แท่นนี้จะแข็งกระด้าง ไม่อ่อนนุ่มเหมือนเวลาปกติ เป็นเครื่องหมายบอกให้ข้าพเจ้ารู้ว่า มีเรื่องร้ายเป็นเหตุเภทภัยแก่ผู้มีบุญ ในเมืองมนุษย์ขึ้น แล้วจำต้องลงไปช่วยขอรับ"

"แท่นนี้กว้างใหญ่ขนาดไหน มหาบพิตร?"

"ยาว 60 โยชน์ กว้าง 50 โยชน์ หนา 15 โยชน์ มีสีแดงเหมือนดอกชะบา และ หงอนไก่ พระคุณเจ้า"

"แล้ววิมานที่มหาบพิตรอยู่นั่น มีชื่อว่าอะไร?"

"ชื่อ เวชยันต์มหาปราสาท สูงพันโยชน์ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว 7 ประการ และมีวิมานทองอีกหลังหนึ่ง อยู่ภายในเวชยันต์มหาปราสาทนั้น สูง 700 โยชน์ ประดับประดาด้วยแก้ว 7 ประการ ขอรับ พระคุณเจ้า"

"มหาบพิตรอยู่คนเดียวหรือมีคนอื่นอยู่ด้วย?"

"ข้าพเจ้าอยู่กันหลายคน พระคุณเจ้า มีมเหสีของข้าพเจ้า 4 คนคือ นางสุธัมมา นางสุจิตรา นางสุนันทา และ นางสุชาดา กับนางฟ้า อีกประมาณ สองโกฏิห้าล้าน ขอรับ"

"โอโฮ้! มหาบพิตรมีชายามากถึงสองโกฏิห้าล้าน แต่พระองค์ยกย่องให้เป็นมเหสีเพียง 4 คนเท่านั้น นางทั้งสี่นี่ พระองค์ทรงรักมากใช่ไหม?"

"มิใช่หรอก พระคุณเจ้า เรื่องของเรื่องเป็นเพราะบุญกุศลที่ได้ทำไว้เมื่อชาติก่อนต่างหาก ข้าพเจ้าจะเล่าให้ฟัง

เมื่อข้าพเจ้าเป็นมฆมาณพอยู่นั้น ข้าพเจ้าได้สร้างศาลาขึ้นหลังหนึ่ง อัครมเหสีทั้งสี่นี้ มีน้ำใจเลื่อมใสเป็นอันดี นางสุจิตรา ได้ปลูกสวนดอกไม้ไว้ข้างศาลา นางสุนันทา ได้ขุดสระไว้สำหรับให้ผู้คนที่สัญจรไปมาพักที่ศาลา ได้อาบน้ำชำระกาย นางสุธรรมา ได้สร้างช่อฟ้า แต่งเติมศาลาให้สวยงาม ส่วน นางสุชาดา ได้รักษาศีลโดยเคร่งครัด นางทั้งสี่ ได้ทำบุญกุศลต่างๆ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ก็ได้บังเกิดบนสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติร่วมกับข้าพเจ้า"

นางสุจิตรา มีสวนจิตรลดา กว้างได้ 500 โยชน์ นางสุนันทา มีสระนันทโบกขรณี กว้างยาวได้ 500 โยชน์ นางสุธรรมา มีโรงธรรมเทวสภา กว้างยาวได้ 300 โยชน์ วัดโดยรอบได้ 900 โยชน์ สูง 500 โยชน์ พื้นโรงธรรมสภานั้น ปูด้วยแก้วผลึกและแก้วอินทนิล ด้วยบุญกุศลที่นางได้ทำไว้นั่นเอง"

"แหม! น่าอัศจรรย์จริง มหาบพิตร เออ! แล้วบนสวรรค์นี่มีสัตว์เดรัจฉานบ้างหรือเปล่า?"

"ไม่มีขอรับ พระคุณเจ้า"

"เอ๊! ถ้ายังงั้นที่อาตมาเคยได้ยินเขาเล่าว่า พระองค์เวลาเสด็จออกไปชมสวน ทรงช้างเอราวัณ นี่น่ะ ในเมื่อบนสวรรค์ไม่มี พระองค์จะเอาช้างเอราวัณมาจากไหน?"
 

ช้างเอราวัณ มิใช่สัตว์เดรัจฉานหรอก พระคุณเจ้า เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง มีนามว่า เอราวัณเทพบุตร เมื่อใดข้าพเจ้าจะไปเที่ยวสวน เอราวัณเทพบุตร ก็เนรมิตกาย เป็นช้างเอราวัณ เป็นพาหนะที่นั่งของข้าพเจ้า

เดิมที เอราวัณเทพบุตรนี้ ได้กระทำบุญร่วมกับข้าพเจ้ามา เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเป็น มฆมาณพ พร้อมด้วยพวกเพื่อน 77 คน กับช้างอีก 1 เชือก ตอนสร้างศาลา ข้าพเจ้าได้ใช้ลากไม้ มาสร้างจนเสร็จ และเมื่อเสร็จแล้ว ศาลานั้นปูด้วยกระดาน 33 แผ่น ข้าพเจ้าได้บอกช้างว่า ถ้าเห็นใครขึ้นมาบนศาลา และนั่งลงบนแผ่นกระดานของใครแล้ว พาคนนั้นไปยังบ้านของตน ให้เจ้าของแผ่นกระดานเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ

พระคุณเจ้าขอรับ ช้างตัวนี้มีจิตเลื่อมใสในการกุศล ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของข้าพเจ้าตลอดมา ครั้นตายจากชาตินั้น ได้ขึ้นมาเกิดบนสวรรค์ มีชื่อว่า เอราวัณเทพบุตร ส่วนเพื่อนของข้าพเจ้า ทั้ง 33 คนนั้น ก็ได้มาเกิดบนสวรรค์นี้ด้วยเหมือนกัน"

"ตกลงว่า แม้แต่ช้าง หากมีจิตเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ก็สามารถเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ได้ใช่ไหม มหาบพิตร?"

"ถูกแล้วขอรับ พระคุณเจ้า ทุกอย่างสำคัญที่ใจ หากตั้งใจมั่นเสียอย่าง สิ่งที่ปรารถนาย่อมได้เสมอ"

"จริงอย่างพระองค์ว่า แล้วทีนี้อาตมาอยากทราบว่า พระจุฬามณีเจดีย์นี้ พระองค์สร้างไว้เอง หรือว่าใครสร้างไว้?"

"ข้าพเจ้าสร้างไว้เอง พระคุณเจ้า สร้างไว้ให้เป็นที่ไหว้สักการบูชา ของหมู่เทวดาทั้งหลาย"

"ในพระเจดีย์นี้บรรจุอะไรไว้ มหาบพิตร?"

"ในพระเจดีย์จุฬามณี บรรจุ พระเกศโมลี กับ พระเขี้ยวแก้ว ของ พระพุทธเจ้า ขอรับ"

"มหาบพิตรได้มาจากไหน?"

"พระเกศโมลี ข้าพเจ้าได้มาแต่ครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกผนวช ทรงตัดมวยพระโมลี แล้วอธิษฐานว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอมวยพระโมลีนี้ จึงลอยอยู่เหนืออากาศ อย่าได้ตกลงพื้นดินเลย ตอนนั้น ข้าพเจ้าจึงเอาผอบทองคำ ลงไปรองรับ พระเกศโมลี ขึ้นมาบรรจุไว้ในเจดีย์นี้ขอรับ พระคุณเจ้า"

"แล้วพระเขี้ยวแก้วล่ะ มหาบพิตร พระองค์ได้มายังไง"

"ข้าพเจ้าได้มาจากที่แบ่งปันพระบรมธาตุ พระคุณเจ้า"

"ใครเป็นคนถวายพระองค์?"

"ก็ โทณพราหมณ์ นะซิ พระคุณเจ้า"

"จริงหรือ มหาบพิตร?"

"จริงซี พระคุณเจ้า" พระอินทร์ยืนยันเสียงแข็ง

"เห็นจะผิดไปกระมัง มหาบพิตร" พระเถระสวนขึ้นอย่างรู้เท่าทัน "อาตมาได้ทราบว่า พระอินทร์ลักพระเขี้ยวแก้วของโทณพราหมณ์ ตะแกไม่เห็นพระเขี้ยวแก้ว เสียใจถึงกับสลบล้มพับลงมิใช่หรือ? พระองค์ไปลักของเขามาจริงแล้วรับเสียดีๆ เถอะน่า"

เมื่อถูกเล่นงานอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวเช่นนั้น พระอินทร์ก็รีบแก้ตัวขึ้นทันควัน

"พระคุณเจ้าขอรับ ขอถามหน่อยว่าโทณพราหมณ์ ได้พระเขี้ยวแก้วมาจากไหน?"

"ก็ได้มาจากกองพระบรมธาตุนะซี มหาบพิตร ตะแกเห็นว่า พระเขี้ยวแก้วนี้ สมควรที่แกจะได้ จึงเก็บซ่อนไว้ในมวยผมของแก แล้วตวงพระบรมธาตุ แจกแก่กษัตริย์ทั้ง 7 นคร ครั้นแจกเสร็จแล้ว พระเขี้ยวแก้วบนศีรษะหายไป แกเสียใจจนสิ้นสติ แต่หาได้ทูลให้กษัตริย์ทั้งหลายทราบไม่ ได้แต่ขอทะนานทอง ซึ่งตวงพระบรมธาตุไป แต่มาภายกลัง ก็ทราบกันไปทั่วโลกว่า พระอินทร์ลักพระเขี้ยวแก้ของแกไป"

"ข้าแต่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าขอชี้แจงให้พระคุณเจ้าทราบ ความจริง อันพระเขี้ยวแก้ว ของพระพุทธองค์นั้น เป็นแก้วอันหาค่ามิได้ คนใดคนหนึ่ง มีบุญญาธิการมาก สมควรจะได้ ก็ได้ไปด้วยเดชานุภาพของเขา ซึ่งข้าพเจ้าเอง ได้พระเขี้ยวแก้วนี้มา ก็ด้วยบุญญาธิการของข้าพเจ้าโดยแท้"

"แต่ถึงกระนั้น ก็ยังจัดว่า พระองค์ขโมยเขามาอยู่ดี เพราะถือเอาของที่คนอื่นเขาไม่ได้ให้โดยแท้"

"แต่ถ้าของนั้นมีอิทธิฤทธิ์สามารถที่จะเหาะ จากเจ้าของ มาอยู่ในมือข้าพเจ้าเองเล่า พระคุณเจ้า จะจัดว่าข้าพเจ้า ขโมยเขามายังงั้นหรือ?"

"ก็พระองค์ใช้ฤทธิ์เดชเรียกร้องเอามานี่นา ทำไมจะไม่มาอยู่ในมือของพระองค์เล่า?"

"แหม! พระคุณเจ้าจะเอาผิดกับข้าพเจ้าให้ได้ยังงั้นหรือ?" พระอินทร์ทรงพ้อ

"เอายังงี้ดีกว่า ข้าพเจ้าจะขอถามพระคุณเจ้าสักข้อ สมมติว่า นกตัวหนึ่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้ และออกไข่ไว้ในรังนั้น ต่อมามีสุนัขตัวหนึ่ง มานั่งเฝ้าอยู่ที่โคนต้นไม้ พร้อมกับภาวนา ขอให้ไข่นกตกลงมาให้มันกินสักใบ ซึ่งในที่สุด ไข่นก ก็ตกจากรังลงมาให้มันกินจริงๆ แบบนี้พระคุณเจ้าจะโทษว่าสุนัขมันขโมยหรือเปล่า ขอรับ?"

"เปล่า มหาบพิตร จะเรียกว่ามันขโมยไม่ได้ นอกจากจะเรียกว่า เป็นโชคปากของมันมากกว่า"

"ถ้ายังงั้น ข้าพเจ้าก็มิได้เป็นขโมย ตอนที่โทณพราหมณ์ ตวงพระบรมธาตุ แจกแก่กษัตริย์ทั้ง 7 พระนครนั้น ข้าพเจ้านำผะอบทอง ลงไปยืนอยู่ข้างหลังแก พลางอธิษฐานว่า หากข้าพเจ้ามีบุญวาสนา ขอให้พระเขี้ยวแก้ว ที่ซ่อนอยู่ในมวยผมของโทณพราหมณ์ จงเสด็จมาอยู่ ในผะอบทองนี้ และไม่ช้าไม่นาน พระเขี้ยวแก้ว ก็เสด็จมาปรากฏอยู่ในผะอบทอง ตามคำอธิษฐานของข้าพเจ้า ให้ข้าพเจ้าได้นำมาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์นี่ขอรับ พระคุณเจ้า แล้วอย่างนี้จะเรียกว่า ข้าพเจ้าขโมยได้ยังไง?"

เมื่อถูกโต้ด้วยเหตุผลอันแยบยลดังนั้น พระคุณเจ้า ก็จนปัญญาที่จะกล่าวหาพระอินทร์ ว่าเป็นขโมยอีกต่อไป แต่กระนั้น ก็ยังไม่หมดความสงสัย จึงซักไซ้เจ้าแห่งสวรรค์ต่อไป


"อันที่จริง มหาบพิตรก็เป็นเทวดาผู้บริบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วย ทิพย์สมบัติทุกสิ่งทุกประการแล้ว แต่เหตุไฉน จึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว มาบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ กระทำการสักการบูชาให้เสียเวลา พระองค์จะปรารถนาสมบัติอะไรอีก ที่มีอยู่นี้ยังไม่พออีกหรือ มหาบพิตร?"

"แล้วพระคุณเจ้าล่ะ? พระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ยังอุตส่าห์มาสักการบูชา พระจุฬามณีเจดีย์ถึงเมืองสวรรค์ พระคุณเจ้าคงปรารถนาอะไรอีกกระมัง?"

"อาตมามิได้ปรารถนาอะไร มหาบพิตร ที่อาตมา ขึ้นมาสักการบูชาพระจุฬามณเจดีย์ครั้งนี้ ก็เพื่อให้เป็นประเพณี เยี่ยงอย่าง พระอริยเจ้า และที่เจดีย์ 7 แห่งในโลกมนุษย์ อาตมาก็ได้ไปทำการสักการบูชามาทั่วแล้ว ถึงเจ็ดครั้ง หาได้ปรารถนาทะยานอยากสิ่งใดไม่ คงต้องการให้เป็นประเพณีของพระอริยเจ้า ตามที่กล่าวมาเท่านั้นเอง"

"ข้าพเจ้าก็ดุจเดียวกัน การที่อัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว มาประดิษฐานในพระจุฬามณีเจดีย์นี้ ก็มิได้ปรารถนาทิพยสมบัติอันใดอีก เพราะที่มีอยู่แล้วก็เกินต้องการ ข้าพเจ้าประสงค์อยู่อย่างเดียวคือ ให้บรรดาเทวดาบนสวรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลาย ได้มีสิ่งเคารพสักการะ สิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ ไม่หลงระเริงประมาทมัวเมาเท่านั้นเองขอรับ พระคุณเจ้า"

"มหาบพิตรคิดถูกต้องแล้ว อาตมาขอชม" ......... <   ข้อมูล :  พระอ.สมพงษ์ วรญาโณ วัดสมรโกฏิ จ.นนทบุรี   >

 



   Home   

 

 
Thailand Web Stat
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16923 เมื่อ: 02 กันยายน 2561, 13:08:23 »

การทำบุญนั้นจุดหมายสำคัญก็เพื่อลดความตระหนี่ บรรเทาความเห็นแก่ตัว หรือลดความยึดติดถือมั่น  หากเราทำบุญเพื่อจะได้นั่นได้นี่เพื่อตัวเอง โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางวัตถุ  ความโลภหรือความเห็นแก่ตัวจะลดลงได้อย่างไร  การทำเพราะนึกถึงผู้อื่น อยากช่วยเหลือผู้อื่น โดยนึกถึงตัวเองแต่น้อย หรือไม่นึกถึงเลยต่างหาก เป็นการทำบุญอย่างแท้จริง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16924 เมื่อ: 03 กันยายน 2561, 11:54:37 »

ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้

มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก ฝึกด้วยไตรสิกขา
ถ้าไม่มีการฝึกแล้วอาจเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน
และถ้าฝึกถึงที่สุดแล้ว ประเสริฐกว่าเทวดา มาร พรหม

การฝึกนั้นฝึกด้วยไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีลเป็นเรื่องของการฝึกพฤติกรรม ขั้นต้นคือไม่เบียดเบียนใคร (ศีล ๕) ซึ่งเมื่อรักษาได้ครบแล้วก็ควรนำไปสู่ศีล(พฤติกรรม)ขออื่น ๆ ซึ่งก็คือการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น มีน้ำใจ มีเมตตาต่อกัน
สมาธิ การฝึกจิตให้มีคุณภาพ แช่มชื่น มีเมตตา มีความอดทน มีสติ
ปัญญา คือการฝึกให้เข้าใจความจริงของฃีวิต(สัจธรรม) รวมถึงรู้จักคิดอย่างแยบคาย ให้สามรถแก้ทุกข์และช่วยเหลือผู้อื่นได้

การอบรมไตรสิกขานั้น เป็นของดี แต่ก็ต้องใช้ให้ถูก ปฏิบัติไม่เป็นหรือไม่ถูกก็เกิดโทษได้ เช่น การรักษาศีลแล้วไปเพ่งโทษ ติเตียนผู้อื่นว่าไม่มีศีลเหมือนตน นอกจากในแง่ของการปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ยังมีในแง่มุมที่ควรครบถ้วนด้วย

ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วจะมีความครบถ้วนด้วย
อย่างเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อนแล้วแผ่เมตตา ไม่ใช่หยุดแค่นั้น (ดีแต่ไม่ครบถ้วน)
ต้องลงมือทำเมตตาให้ปรากฏขึ้นเป็นรูปธรรมด้วย
ลงมือช่วยเหลือด้วยทรัพย์ ให้กำลังใจด้วยปิยะวาจา ช่วยด้วยกำลัง  ร่วมทุกข์ร่วมสุข
ซึ่งก็อยู่ในหลักสังคหวัตถุ ๔ ที่เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนคู่กับพรหมวิหาร ๔
ไม่เป็นเพียง เมตตาในมุ้ง(ดีแต่ไม่ครบถ้วน)

ถอดความจาก ธรรมะรับอรุณวัดป่าสุคะโต จากหลวงพ่อไพศาล วิสาโล วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๑
https://www.youtube.com/watch?v=xYcKTnScOvk&feature=share

ขอบคุณท่าน zen sukato บันทึกเทปและเผยแพร่

.................................................................

ภาพการเดินธรรมยาตราลำปะทาว โดยดำริจากหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ จากความห่วงใยในธรรมชาติ มาสู่การลงมือทำ สนใจ ธรรมยาตราลำปะทาว ดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ https://lampatao.wordpress.com/
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 675 676 [677] 678 679 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><