02 กรกฎาคม 2567, 05:25:59
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 53 54 [55] 56 57 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3340355 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 31 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1350 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 09:34:14 »



ฐานราก "ธรรมจักร"
ที่พระอาจารย์ขอร้องให้ช่วยหิ้วกระป๋องเทคอนกรีต จำนวนสี่คิวบิคเมตร พี่สิงห์ยืนตรง Slop กล้ามเนื้อฝ่าเท้าจึงพลิก เส้นเอ็นพลิก บวม

                         พี่สิงห์สามารถแยกแยะออกได้ คือ รูปกายเจ็บมาก เราก็ต้องรักษา แต่ใจเราไม่ได้เจ็บ เพราะใจไม่มีตัวตนแต่มันทำให้เราคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ต่อทำให้เราไปยึดติดกับกิเลสเดิมที่มีอุปาทาน(ยึดมั่นถือมั่นที่เคยได้รับมาก่อน) จิตใจก็เจ็บทนไม่ได้เพราะมันเคยจำเรื่องเจ็บแบบนี้มาก่อน มันเลยคิดมาก พอคิดมากใจก็ยอมแพ้สู้ความเจ็บไม่ได้
                          กายเจ็บ คือเจ็บเท้า บวม พี่สิงห์ก็รักษาด้วยการทายาแก้ปวด บวม ทาและนวดบ่อยๆ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้เลือดลมเดินโดยใช้ท่าโยคะ คอยยืดเหยียกมันบ่อยๆ เพื่อลดอาการบวม
                          จิตต์ใจพี่สิงห์ไม่ได้ป่วยตาม ถามว่ามันเจ็บไหมเวลาเดินจงกรม เจ็บครับ แต่พี่สิงห์สร้างความรู้สึกตัว มีสติ เวลาเท้าเหยียบพื้นดินก็กำหนดรู้ว่าเหยียบดิน มีสติ มันเจ็บก็รู้สึกว่าเจ็บ แต่พี่สิงห์ไม่ได้ไปคิดต่อ คือไม่ปรุงแต่งต่อ ว่ามันเจ็บอย่างนั้น มันทนไม่ไหว มันก้าวไม่ไหว มันจะบวมมากขึ้น หรือพิการ  พี่สิงห์กำหนดรู้ได้ว่าเจ็บเมื่อฝ่าเท้าแตะพื้น เพียงแต่กำหนดรู้แล้วก็ปล่อยลืมไปเป็นอดีต มันก็ไม่เจ็บต่อ(หยุดคิดต่อ) มีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวที่มือ(สร้างความรู้สึก) อยู่กับปัจจุบัน ทำอย่างนี้ จนมันเกิดสมาธิ(ความตั้งมั่น)ในจิต มันก็ลืมความเจ็บปวดไปเลย สามารถเดินจงกรมได้เป็นชั่วโมงๆ เคลื่อนไหวด้วยมือเป็นชั่วโมงๆ ทำอย่างนี้ มันจึงไม่รู้สึกเจ็บ
                          แต่ถ้าจิตต์พี่สิงห์ไปคิดถึงแต่ความเจ็บ ที่เราเคยได้รับมาก่อน(อดีตที่ผ่านมา) มันก็จะทนอยู่ไม่ได้ ดังนั้นพี่สิงห์ไม่คิดถึงอดีต ให้มันลืมความเจ็บปวด มาอยู่กับปัจจุบันคือการเจริญสติ กำหนดรู้ว่าเจ็บ แล้วก็ปล่อยมันไป จิตมันก็ลืมความเจ็บไปเองตามธรรมชาติถ้าเราไม่ไปคิดต่อ ทำอย่างนี้ พี่สิงห์ก็แก้ความเจ็บได้ สามารถเดินจงกรมรอบวัดเนื้อที่ 500 ไร่ได้
                            ปัจจุบันเท้าพี่สิงห์ก็ยังบวมและเจ็บเวลาเดิน แต่จิตพี่สิงห์ไม่ได้ไปหลงอยู่กับความคิด หรือเป็นทาษความคิดยึดติดกับความเจ็บปวดนั้น พี่สิงห์ก็สามารถเดินเล่นกอล์ฟ เดินไปไหนได้ เจ็บแต่ไม่คิด มันก็ไม่เจ็บครับ เพราะมันเกิดจากใจเราบอกว่าเจ็บ แต่ใจมันไม่มีตัวตนมันจะเจ็บได้อย่างไร จงอยู่ในอิริยาบถปัจจุบันมีสติ ความเจ็บทำอะไรเราไม่ได้ครับ



ฐานปฏิบัติธรรม เจริญสติสร้างความรู้สึก ของแต่ละคน นั่งเคลื่อนไหวด้วยมือ สลับกับการเดินจงกรม



ทางเดินจงกรมรอบวัด ใช้เวลาเดินหนึ่งชั่วโมง เป็นการออกกำลังกายยามเช้า เดิน 06:30-07:30 น.
แต่จริงๆ แล้วทางเดินขรุขระมาก ไม่เรียบ ขึ้นๆ ลงๆ ตามเนินดิน มีก้อนหินเล้กๆ แยะ ต้องเดินแบบมีสติ ถ้าไม่ระวัง ใจลอย ล้มได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1351 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 10:08:40 »

 


ศาลาธรรมวัตรเช้า-เย็น ฟังธรรม และปฏิบัติธรรม         


                         
                           โปรแกรมการปฏิบัติธรรมวัดป่าสุคะโต ประจำวัน
                                      03:00 น. ตื่นนอน
                                      04:00 น. ทำวัตรเช้า
                                      04:30 น. ฟังเทศน์
                                      05:00 น. ปฏิบัติธรรมบนศาลา
                                      06:30 น. ลงฐานปฏิบัติธรรม หรือเดินจงกรมรอบวัด
                                      07:30 น. สวดมนต์ ฟังธรรม รับประทานอาหารเช้า
                                      09:00 น. ปฏิบัติธรรมที่ฐาน
                                      11:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
                                      12:00 น. ปฏิบัติธรรมที่ฐาน
                                      16:00 น. ดื่นน้ำปานะ
                                      18:00 น. ทำวัตรเย็น
                                      18:30 น. ฟังธรรม
                                      19:00 น. ปฏิบัติธรรม
                                      21:00 น. นอน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1352 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 10:15:55 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร
                          ถ้าสนใจเรื่องการปฏิบัติธรรม ขอเวลาพี่สิงห์หนึ่งชั่วโมง พี่สิงห์จะไปสอนให้ที่บ้าน ขอแผนที่บ้าน หรือส่งที่อยู่มาให้พี่สิงห์  พี่สิงห์จะส่งหนังสือ เทป ไปให้ฟัง ครับส่งที่อยู่มาที่ www.singhamanop@gmail.com ครับ
                          สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1353 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 10:16:16 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 18 มกราคม 2554, 11:59:45
ก่อนอื่น สุขสันต์วันเกิดย้อนหลัง ค่ะ พี่ป๋อง มีความสุขมากๆ  แก่ เฒ่า น้อยๆๆนะคะ
สวัสดีค่ะพี่สิงห์ ดีใจที่พี่สิงห์กลับมาสนทนาธรรมกับน้องๆอีก
มีคำถามให้พี่สิงห์ช่วย ชี้แนะด้วย ค่ะ ที่พี่สิงห์เขียนไว้ว่า

 " เป็นอันว่าในการมาปฏิบัติธรรมที่วัดป่าสุคะโตครั้งนี้ ผมได้รับเวทนาจากทุกข์อย่างแสนสาหัส(อยู่ในอิริยาบถยืน ข้อเท้าบิด เพื่อช่วยเทปูนฐานกงจักรจำนวนคอนกรีตสี่คิวสองชั่วโมง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบวม อยาดต่อการเดิน) ผมก็สามารถละเวทนาที่เกิดขึ้นกับผมได้ด้วยการมีสติ และสามารถแทงตลอดในธรรม สิ้นข้อสงสัย ได้ครบทุกประการ ตามที่ได้ตั้งใจในการมีศรัทามาปฏิบัติธรรมที่วัดป่าสุคะโต ครั้งนี้ "
พี่สิงห์ทำอย่างไร จึงสามารถละเวทนาที่เกิดขึ้นได้ด้วยการมีสติ และแทงตลอดในธรรมอย่างไรคะ
นอกจากการที่จะกำหนดสติด้วยการยกมือเป็นจังหวะแล้ว พี่สิงห์ใช้ธรรม ข้อใดอย่างไร จึงละเวทนาได้ คะ
เพราะตอนนี้สะโพกหักค่ะ นั่ง นอนอยู่บนเตียงมา เกือบ ๒  เดือน แล้ว พยายามจะใช้ธรรม เท่าที่ทราบและศึกษามาเพื่อให้เจ็บน้อยลง โกรธน้อยลงอยู่
โกรธคนทำให้เราเจ็บตัว ลำบาก ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้ว  ใช้อภัยทานค่ะ ก็พอได้เป็นพักๆ โดยพยายามคิดว่า ก็เพราะเขามีบาปมากแล้วในชาตินี้ จึงต้องเกิดเป็นขโมยขโจร
แต่ความเจ็บนี่ ยังใช้ธรรมข้อไหนไม่สำเร็จเลย
แนะนำหน่อยค่ะ  ไม่ต้องขนาดให้ละเวทนา หรอกนะคะ แค่ว่าทำอย่างไร ที่จะทำให้เราเจ็บน้อยลง
หากไม่รบกวนเวลาพี่มากนักนะคะ
ขอบคุณค่ะ

พี่สิงห์คะ เจ็บเท้าที่พี่สิงห์เขียนเพิ่มมาเพียงกำหนดจิตว่าเราไม่เจ็บเท่านั้นหรือคะ ไม่ใช้ธรรมอื่น เลยหรือคะ
จะปรับใช้ กับคำถามที่ถามมานี้ได้หรือคะ
ลองมาแล้วยากมากคะ ยังเจ็บอยุ่ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1354 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 11:32:40 »

สวัสดีครับ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         การเจ็บนั้นมีสองแบบ คือ
                         ๑). การเจ็บทางร่างกาย เราก็ต้องยอมรับความจริงมัน เพราะมันป่วย เจ็บจริงๆ เป็นธรรมชาติ ไม่มีใครเลี่ยงพ้นแม้พระพุทธเจ้า เราก็ต้องไปพบหมด รักษา รับประทานยา ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อให้มันทุเลาหรือหายขาดได้ พี่สิงห์ทราบดีว่าการเจ็บปวดจากกระดูกนั้นมันทรมานขนาดที่พี่สิงหืเข้าใจดีของคำว่า "เจ็บปวดเข้ากระดูกดำ" พี่สิงห์เคยประสพมาแล้วแทบจะฆ่าตัวตายเลยเพราะทนไม่ไหวจริงๆ
                         ๒). การเจ็บทางใจ ถ้าใจเราเจ็บก็ต้องแก้ด้วยการปฏิบัติธรรม แต่กรณีนี้ใจมันไม่ได้เจ็บป่วยเลย มันเป็นเพียงแต่เจ็บทางร่างกายเท่านั้นที่มันทนไม่ได้ ขอให้มีสติ คิดด้วยปัญญา ว่าใจเราไม่ได้ป่วย เรารู้สึกเจ็บ(เป็นเรื่องธรรมชาติ) แต่เราต้องมีใจที่เข้มแข็ม อดทน มีความเพียร เอาชนะความอยาก อุปทานที่เราเคยยึดมั่นถือมั่น ในเวลาที่เราไม่เจ็บนั้นมาเป็นอารมณ์ทำให้ใจมันพาไป ขอเพียงมีสติ กำหนดรู้ถึงความเจ็บปวดนั้น แต่ต้องไม่ไปคิดสร้างภาพตามที่ใจมันคิดถึงความเจ็บ ทรมาร ทนไม่ได้ อย่างโนนอย่างนี้ อย่าไปคิดตามมัน ถ้าคิดตามมันมันก็เจ็บก็ทุกข์ เราก็จะตกเป็นทาษทางความคิดของตัวเราแยกไม่ออก มันก็ทรมานตลอดเวลา แต่ถ้าเราเพียงกำหนดรู้เวลามันเจ็บ ตัดทิ้งไม่คิดตามที่ใจมันคิด ด้วยการมาสร้างความรู้สึกตัวจากอิริยาบถต่างๆที่เรากำลังทำอยู่ คืออยู่กับปัจจุบัน ทำอะไรก็ได้ ใจมันก็จะไม่คิดถึงความเจ็บนั้น เพราะมีสติอยู่ที่อิริยาบถนั้น มันก็ไม่เจ็บ ที่มันเจ็บทรมานอยู่นั้น เพราะใจเราไปจดจ่อคิดๆๆๆๆๆๆๆๆ อยู่ในกองทุกข์ที่เจ็บอยู่นั้นโดยไม่รู้ตัว มันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น ต้องถอนความคิดออกมาสร้างความรู้สึกตัวให้มีสติ อยู่กับอิริยาบถปัจจุบัน ตลอดเวลา ค่อยๆสร้างความรู้สึก ให้ใจเราแยกอารมณ์สติ กับความเจ็บที่มันคิดๆๆๆๆๆๆๆ ออกจากกันให้ได้ ใช้เพียงเท่านี้ครับ อย่างพระพุทะเจ้า พระโมคคัลลานะ เจ็บแสนสาหัสปางตาย ท่านให้สวดโภชฌงค์ ๗ ไม่ใช่สวดแต่ให้คิดและปฏิบัติทางจิตให้จิตมันสงบ มีสมาธิ จิตมันก็ไม่คิดเรื่องเจ็บ คือ มีสติ ธรรมวิจัย(เฟ้นธรรมเพื่อให้จิตจดจ่อ) มีวิริยะ(ความเพียร ความอดทน) มีปีติ มีปัสสัทธิ(ความสงบ) มีสมาธิ(อยู่ในธรรม) และอุเบกขา(ไม่รับรู้อารมณ์) ให้จิตปฏิบัติอย่างนี้ มันก็จะลืมความเจ็บปวดได้ ไม่ใช่ให้ท่องจำ แต่ปฏิบัติทางจิต ครับ
                            ถ้าใจหรือจิตมันมีสติ เป็นสมาธิ แล้ว อารมณ์จากความเจ็บมันทำอะไรไม่ได้หรอกครับ เพราะมันเจ็บจากที่ใจเรามันคิดปรุงแต่งขึ้นมาตามความรู้สึกเก่าๆที่เคยผ่านมา ใจยังไปยึดติดกับอารมณ์เก่าๆ อันนั้นเอามาคิดต่อ มันก็เลยกลายเป็นทุกข์ทางใจ เป็นทาษความคิด หรือหลวงพ่อคำเขียนท่านว่า หลงอยู่ในความคิดตัวเอง เป็นกับดักอยู่อย่างนั้น มันก็เลยทุกข์ตลอดไปครับ การปฏิบัติทางจิตต์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ครับ ต้องมีความเพียร มีความอดทน และมีปัญญา ถึงจะเอาชนะ ตัณหา(ความอยาก) อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาที่เคยได้รับ ไปติดอยู่กับมัน ฝังรากลึก)ได้
                             นัดเวลากันพี่สิงห์จะไปหา บ่ายวันอาทิตย์เย็นๆพอมีเวลาว่างครับ
                             สวัสดี
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #1355 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 16:54:50 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 มกราคม 2554, 08:33:07
อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sittipong เมื่อ 18 มกราคม 2554, 22:14:49
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 18 มกราคม 2554, 14:47:04
ท่านรองฯ ถาวร คงภาระกิจเยอะมีเรื่องอื่นให้จำมากมาย จนจำ password ไม่ได้ จึงเข้าเว็ปไม่ได้ครับ
ท่านรองกะลังตั้งใจฟังประสบการณ์พี่สิงห์อยู่ ว่าจะเหมือนกับของท่านรองไม๊ ชิมิ ก็พี่สิงห์ว่าท่านรองเหนือกว่าพี่สิงห์แล้ว

                พีี่สิงห์ เล่าทั้งหมดที่อยากรู้ และสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ท่านรองและภรรยา ฟังแล้ว แต่ยังไม่หมดในรายละเอียด ครับ  ปรากฎว่า ท่านรองไม่ทราบว่า พระไพศาล  วิสาโล เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ไม่ทราบว่าหลวงพ่อคำเขียนเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อเทียน เป็นผู้สร้างวัดป่าสุคะโต และไม่รู้จักหลวงพ่อคำเขียน  ด้วยครับ

                วันที่ 24-25-26 มกราคมนี้ ไปเชียงใหม่-เชียงราย ครับ
                 สวัสดี
อาจารย์ถาวรไม่ยึดติดกับตัวครูผู้เป็นตัวตนแล้ว เหลืออยู่แต่การเจริญสติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1356 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 16:56:28 »



ขอเชิญชวนชาวซีมะโด่ง ร่วมปฏิบัติธรรม ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ ครับ
โอกาสแบบนี้ที่หลวงพ่อคำเขียน  สุวัณณฺโณ และพระอาจารย์ทรงศิลป์   สุจิณฺโณ มาเป็นเป็นวิปัสสนาจารย์ไม่ง่ายเลย
วันนี้ผมนั่งเครื่องบินมานครศรีธรรมราช ได้นั่งคู่กับคุณหมอบัญชา ผู้ดูแลหอจดหมายเหตุสวนโมกข์กรุงเทพฯ คุรหมอพูดถึงเรื่องนี้ด้วย
บังเอิญพี่สิงห์ติดไปจาริกแสวงบุญที่อินเดีย-เนปาล จึงร่วมไปไม่ได้ แต่ขอเรียนเชิญ ดร.สุริยา  ทัศนียานนท์ ไปแทนครับ


2 Days Retreat
อบรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
“ดูกายเห็นจิต ดูความคิดเห็นธรรม”
หลักสูตรระยะสั้น (2 วัน) ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน
จัดเป็นอาจริยบูชา 100 ปี ชาตกาลหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
สถานที่ : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนจตุจักร

วันเสาร์ที่ 12 และอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554
วันเสาร์ ตั้งแต่ 08.30-17.00 น.
วันอาทิตย์ ตั้งแต่ 08.30-11.00 น.
เวลาการฝึกอบรม
หลวงพ่อคำเขียน สุวัณฺโณ
พระอาจารย์ทรงศิลป์ สุจิณฺโณ
จากวัดป่าสุคะโต เมตตาเป็นวิปัสสนาจารย์
ท่านผู้สนใจเข้าฝึกอบรม แจ้งชื่อและขอทราบรายละเอียดได้ที่
มูลนิธิบ้านอารีย์ 02 6197474 และ 02 2797838 หรือ
ลงชื่อที่ห้องสมุดธรรมะบ้านอารีย์
(โปรดระบุ: อาหารกลางวันจะนำมาเอง หรือให้เจ้าหน้าที่จัดหาให้)

ระเบียบปฏิบัติ
1. สำรองชื่อที่ห้องสมุดธรรมะบ้านอารีย์ รับจำนวน 100 ท่าเท่านั้น
เพื่อไม่เป็นการขัดขวางการปฏิบัติของท่านอื่น ก่อนลงชื่อ กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านไม่ติดธุระ 2 วันนี้
2.วันอบรม โปรดลงทะเบียนที่ห้องภาวนา 2 ชั้น 2 หอจดหมายเหตุฯ ก่อนเวลา 08.30 น. มิเช่นนั้นจะให้ผู้ลงชื่อสำรองเข้าอบรมแทน
3. การแต่งกาย สุภาพ ไม่ใส่เสื้อ กางเกงรัดรูป หรือขาสั้น แขนกุด

อนุโมทนา
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1357 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 17:31:37 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 มกราคม 2554, 11:32:40
สวัสดีครับ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         การเจ็บนั้นมีสองแบบ คือ
                         ๑). การเจ็บทางร่างกาย เราก็ต้องยอมรับความจริงมัน เพราะมันป่วย เจ็บจริงๆ เป็นธรรมชาติ ไม่มีใครเลี่ยงพ้นแม้พระพุทธเจ้า เราก็ต้องไปพบหมด รักษา รับประทานยา ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อให้มันทุเลาหรือหายขาดได้ พี่สิงห์ทราบดีว่าการเจ็บปวดจากกระดูกนั้นมันทรมานขนาดที่พี่สิงหืเข้าใจดีของคำว่า "เจ็บปวดเข้ากระดูกดำ" พี่สิงห์เคยประสพมาแล้วแทบจะฆ่าตัวตายเลยเพราะทนไม่ไหวจริงๆ
                         ๒). การเจ็บทางใจ ถ้าใจเราเจ็บก็ต้องแก้ด้วยการปฏิบัติธรรม แต่กรณีนี้ใจมันไม่ได้เจ็บป่วยเลย มันเป็นเพียงแต่เจ็บทางร่างกายเท่านั้นที่มันทนไม่ได้ ขอให้มีสติ คิดด้วยปัญญา ว่าใจเราไม่ได้ป่วย เรารู้สึกเจ็บ(เป็นเรื่องธรรมชาติ) แต่เราต้องมีใจที่เข้มแข็ม อดทน มีความเพียร เอาชนะความอยาก อุปทานที่เราเคยยึดมั่นถือมั่น ในเวลาที่เราไม่เจ็บนั้นมาเป็นอารมณ์ทำให้ใจมันพาไป ขอเพียงมีสติ กำหนดรู้ถึงความเจ็บปวดนั้น แต่ต้องไม่ไปคิดสร้างภาพตามที่ใจมันคิดถึงความเจ็บ ทรมาร ทนไม่ได้ อย่างโนนอย่างนี้ อย่าไปคิดตามมัน ถ้าคิดตามมันมันก็เจ็บก็ทุกข์ เราก็จะตกเป็นทาษทางความคิดของตัวเราแยกไม่ออก มันก็ทรมานตลอดเวลา แต่ถ้าเราเพียงกำหนดรู้เวลามันเจ็บ ตัดทิ้งไม่คิดตามที่ใจมันคิด ด้วยการมาสร้างความรู้สึกตัวจากอิริยาบถต่างๆที่เรากำลังทำอยู่ คืออยู่กับปัจจุบัน ทำอะไรก็ได้ ใจมันก็จะไม่คิดถึงความเจ็บนั้น เพราะมีสติอยู่ที่อิริยาบถนั้น มันก็ไม่เจ็บ ที่มันเจ็บทรมานอยู่นั้น เพราะใจเราไปจดจ่อคิดๆๆๆๆๆๆๆๆ อยู่ในกองทุกข์ที่เจ็บอยู่นั้นโดยไม่รู้ตัว มันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น ต้องถอนความคิดออกมาสร้างความรู้สึกตัวให้มีสติ อยู่กับอิริยาบถปัจจุบัน ตลอดเวลา ค่อยๆสร้างความรู้สึก ให้ใจเราแยกอารมณ์สติ กับความเจ็บที่มันคิดๆๆๆๆๆๆๆ ออกจากกันให้ได้ ใช้เพียงเท่านี้ครับ อย่างพระพุทะเจ้า พระโมคคัลลานะ เจ็บแสนสาหัสปางตาย ท่านให้สวดโภชฌงค์ ๗ ไม่ใช่สวดแต่ให้คิดและปฏิบัติทางจิตให้จิตมันสงบ มีสมาธิ จิตมันก็ไม่คิดเรื่องเจ็บ คือ มีสติ ธรรมวิจัย(เฟ้นธรรมเพื่อให้จิตจดจ่อ) มีวิริยะ(ความเพียร ความอดทน) มีปีติ มีปัสสัทธิ(ความสงบ) มีสมาธิ(อยู่ในธรรม) และอุเบกขา(ไม่รับรู้อารมณ์) ให้จิตปฏิบัติอย่างนี้ มันก็จะลืมความเจ็บปวดได้ ไม่ใช่ให้ท่องจำ แต่ปฏิบัติทางจิต ครับ
                            ถ้าใจหรือจิตมันมีสติ เป็นสมาธิ แล้ว อารมณ์จากความเจ็บมันทำอะไรไม่ได้หรอกครับ เพราะมันเจ็บจากที่ใจเรามันคิดปรุงแต่งขึ้นมาตามความรู้สึกเก่าๆที่เคยผ่านมา ใจยังไปยึดติดกับอารมณ์เก่าๆ อันนั้นเอามาคิดต่อ มันก็เลยกลายเป็นทุกข์ทางใจ เป็นทาษความคิด หรือหลวงพ่อคำเขียนท่านว่า หลงอยู่ในความคิดตัวเอง เป็นกับดักอยู่อย่างนั้น มันก็เลยทุกข์ตลอดไปครับ การปฏิบัติทางจิตต์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ครับ ต้องมีความเพียร มีความอดทน และมีปัญญา ถึงจะเอาชนะ ตัณหา(ความอยาก) อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาที่เคยได้รับ ไปติดอยู่กับมัน ฝังรากลึก)ได้
                             นัดเวลากันพี่สิงห์จะไปหา บ่ายวันอาทิตย์เย็นๆพอมีเวลาว่างครับ
                             สวัสดี
   ขอบคุณพี่สิงห์มากที่กรุณาให้แนวทาง  จะพยายาม ทำตามที่แนะนำมานะคะ  ขอธรรมทานที่พี่สิงห์กรุณาให้มา ส่งผลให้พี่สิงห์ แข้มแข็งในธรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนะคะ
  อรต้องขอบพระคุณพี่สิงห์เป็นอย่างมากที่จะกรุณาสละเวลามาพบ  แต่ไม่กล้ารบกวนพี่สิงห์หรอกนะคะ เนื่องจากอรกระดูกยังไม่ติดค่ะเพราะเข้าเฝือกไม่ได้ เนื่องจากเป็นสะโพก เวลาเดิน เจ็บมากใช้walker เดิน ได้สั้นๆ ในบ้านเวลาแกว่งตัวก็เจ็บค่ะ นั่งได้สัก ชั่วโมงก็เก่งแล้ว  ต้องนั่งบ้างนอนบ้างบนเตียง ค่ะ ยังไปไหนเองไม่ได้ จึงต้องหาธรรมช่วยไงค่ะ ถึงได้รบกวนถามพี่สิงห์ ไม่แน่นะคะ เจ็บตัวคราวนี้อาจจะเป็นเหตุให้อรเห็นธรรมได้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิมมากก็ได้ หากมีปัญหาจะรบกวนเขียนถามมาอีกค่ะ
ขอบพระคุณในความกรุณา ของพีสิงห์คะ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1358 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 17:58:04 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 มกราคม 2554, 10:15:55
สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร
                          ถ้าสนใจเรื่องการปฏิบัติธรรม ขอเวลาพี่สิงห์หนึ่งชั่วโมง พี่สิงห์จะไปสอนให้ที่บ้าน ขอแผนที่บ้าน หรือส่งที่อยู่มาให้พี่สิงห์  พี่สิงห์จะส่งหนังสือ เทป ไปให้ฟัง ครับส่งที่อยู่มาที่ www.singhamanop@gmail.com ครับ
                          สวัสดี
พี่สิงห์คะ ความที่เชื่อตัวเองว่า คอยตามคำตอบของพี่อยุ่เช้า เย็น เลยลงมาดูที่หน้าสุดท้าย
ไม่ได้เห็นหน้านี้ของพี่ก่อน แต่กลับไปอ้างถึงแล้ว ไปตอบ หน้าสุดท้ายของพี่แล้ว
เสียใจที่ข้ามหน้านี้ไป ได้เห็นเพราะจะกลับไปทบทวนที่พี่เขียนอีกครั้งจึงพบ
และดีใจมากที่พบ แสดงถึงความเอาใจใส่ การดูแล ที่พี่มีต่อน้อง และน้องๆ
 เห็นข้อความนี้ของพี่แล้ว ประทับในน้ำใจ ในความกรุณาของพี่มาก  ค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ
      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #1359 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 20:05:51 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 19 มกราคม 2554, 16:54:50
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 มกราคม 2554, 08:33:07
อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sittipong เมื่อ 18 มกราคม 2554, 22:14:49
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 18 มกราคม 2554, 14:47:04
ท่านรองฯ ถาวร คงภาระกิจเยอะมีเรื่องอื่นให้จำมากมาย จนจำ password ไม่ได้ จึงเข้าเว็ปไม่ได้ครับ
ท่านรองกะลังตั้งใจฟังประสบการณ์พี่สิงห์อยู่ ว่าจะเหมือนกับของท่านรองไม๊ ชิมิ ก็พี่สิงห์ว่าท่านรองเหนือกว่าพี่สิงห์แล้ว

                พีี่สิงห์ เล่าทั้งหมดที่อยากรู้ และสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ท่านรองและภรรยา ฟังแล้ว แต่ยังไม่หมดในรายละเอียด ครับ  ปรากฎว่า ท่านรองไม่ทราบว่า พระไพศาล  วิสาโล เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ไม่ทราบว่าหลวงพ่อคำเขียนเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อเทียน เป็นผู้สร้างวัดป่าสุคะโต และไม่รู้จักหลวงพ่อคำเขียน  ด้วยครับ

                วันที่ 24-25-26 มกราคมนี้ ไปเชียงใหม่-เชียงราย ครับ
                 สวัสดี
อาจารย์ถาวรไม่ยึดติดกับตัวครูผู้เป็นตัวตนแล้ว เหลืออยู่แต่การเจริญสติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
สงสัยจะเหลือเรา(ไม่ได้รวมพี่ป๋องน๊า)ค้างอยู่ในนรกคนเดียว ลุ้นไม่ขึ้นเลย อิๆ
พี่สิงห์คะ แล้วจะมีโอกาสได้กินข้าวด้วยกันมั๊ยคะ คุณอู๊ดฝากถามค่ะ
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1360 เมื่อ: 19 มกราคม 2554, 20:44:40 »

สวัสดีค่ะคุณน้องเอมอร ที่รัก
                         กำลังใจ และจิตต์ใจที่เข้มแข็งเท่านั้น จึงจะสามารถเอาชนะความเจ็บปวดได้ครับ ตามโภชฌงค์ ๗ พี่สิงห์จะส่ง CD ของหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อคำเขียน และพระไพศาล พร้อมทั้งหนังสือของหลวงพ่อเทียนไปให้อ่านเล่น เพื่อว่าชอบใจจะได้ปฏิบัติธรรมได้ เพราะมีเวลา จะเพลินเสียอีกที่มีอะไรทำ แก้เหงา ไม่ต้องนอนแกล่วอย่างเดียว แต่ต้องรอให้พี่สิงห์กลับกรุงเทพฯก่อน พี่สิงห์อยู่นครศรีธรรมราช
                         ถ้าแผลหายดี กระดูกต่อแล้ว อย่าลืมสร้างกล้ามเนื้อให้ไปรับแรงแทนกระดูกครับ คุณหมออุดม  ที่โรงพยาบาลจอมทอง  กระดูกสันหลังแตก ท่านยังไม่ยอมผ่าตัดเลย ใช้วิธีสร้างกล้ามเนื้อไปรับแรงแทน ยังสามารถทำงานได้อย่างคนปกติ  พี่สิงห์กระดูกทับเส้นปราสาท ไม่ผ่าตัด แต่สร้างกล้ามเนื้อมาทดแทน  จนลืมไปแล้วว่าตัวเองมีปัญหากระดูกสันหลัง พยายามอยู่กับปัจจุบัน ให้จิตอยู่ในอิริยาบถของเรา กิน ทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัว รวมทั้งกายใจ ให้มีสติ จะทำให้ลืมความเจ็บปวดได้ อย่าไปคิดถึงมัน ค่อยๆ พยายามตัดความเจ็บปวดให้ได้ไปเรื่อยๆ อย่าท้อถอย เอาชนะใจเราให้ได้ครับ  พี่สิงห์ยินดีรับใช้เสมอครับ
                         ราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1361 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 10:17:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 มกราคม 2554, 20:44:40
สวัสดีค่ะคุณน้องเอมอร ที่รัก
                         กำลังใจ และจิตต์ใจที่เข้มแข็งเท่านั้น จึงจะสามารถเอาชนะความเจ็บปวดได้ครับ ตามโภชฌงค์ ๗ พี่สิงห์จะส่ง CD ของหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อคำเขียน และพระไพศาล พร้อมทั้งหนังสือของหลวงพ่อเทียนไปให้อ่านเล่น เพื่อว่าชอบใจจะได้ปฏิบัติธรรมได้ เพราะมีเวลา จะเพลินเสียอีกที่มีอะไรทำ แก้เหงา ไม่ต้องนอนแกล่วอย่างเดียว แต่ต้องรอให้พี่สิงห์กลับกรุงเทพฯก่อน พี่สิงห์อยู่นครศรีธรรมราช
                         ถ้าแผลหายดี กระดูกต่อแล้ว อย่าลืมสร้างกล้ามเนื้อให้ไปรับแรงแทนกระดูกครับ คุณหมออุดม  ที่โรงพยาบาลจอมทอง  กระดูกสันหลังแตก ท่านยังไม่ยอมผ่าตัดเลย ใช้วิธีสร้างกล้ามเนื้อไปรับแรงแทน ยังสามารถทำงานได้อย่างคนปกติ  พี่สิงห์กระดูกทับเส้นปราสาท ไม่ผ่าตัด แต่สร้างกล้ามเนื้อมาทดแทน  จนลืมไปแล้วว่าตัวเองมีปัญหากระดูกสันหลัง พยายามอยู่กับปัจจุบัน ให้จิตอยู่ในอิริยาบถของเรา กิน ทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัว รวมทั้งกายใจ ให้มีสติ จะทำให้ลืมความเจ็บปวดได้ อย่าไปคิดถึงมัน ค่อยๆ พยายามตัดความเจ็บปวดให้ได้ไปเรื่อยๆ อย่าท้อถอย เอาชนะใจเราให้ได้ครับ  พี่สิงห์ยินดีรับใช้เสมอครับ
                         ราตรีสวัสดิ์ครับ
สวัสดีตอนสายๆ ค่ะพี่สิงห์
ขอบพระคุณมากค่ะพี่สิงห์ จะปฏิบัติตามที่พี่กรุณาแนะนำ
หากพอเดินได้ดีแล้ว จะขอรบกวนทานข้าวกับพี่บ้างจะได้มีเวลาสนทนากัน ให้มากกว่า ๑ ชั่วโมง
ทำงานให้สนุก อย่าให้มีใครทำให้พี่ไม่สบายใจได้อีก
เดินทางปลอดภัยนะคะ
สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1362 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 12:25:16 »

                       
สวัสดีครับคุณน้องเอมอร และชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
คำสอนของพระพุทะเจ้าสรุปอยู่ในแผ่นกระดาษนี้แผ่นเดียวจริงๆ ขอให้ท่าน"โยนิโสมนสิการ"ด้วยความแยบยลด้วยปัญญา ท่านจะทราบได้เอง
พี่สิงห์สรุปสั้นให้ดูครับ


ปฏิจจสมุปบาท
                          หลักการ อิททัปปัจจยตา และ ปฏิจจสมุปาบาท หรือวงจรทุกข์ ถ้าเข้าใจมันแล้วจะสามารถแยกแยะได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เกิดจากสาเหตุเป็นปัจจัย จึงมีผลตามมา ดังนั้นถ้าจะแก้ต้องแก้ที่เหตุ และต้องแยกแยะให้ออกว่าอะไรเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ อะไรเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ทุกข์ เพราะทุกข์จากธรรมชาติแก้ไม่ได้เราต้องพบต้องประสพอยู่ทุกวันต้องพคงมี พึงเป็นเลี่ยงไม่ได้ ส่วนอุปทานขันธ์ ๕ ทุกข์ นั้น เป็นทุกข์ที่เกิดจากใจที่ไปยึดติดกับสิ่งที่เคยได้รับเลยติดใจ ไม่ใช่ทุกข์จากธรรมชาติ สามารถตัดทิ้งได้ คือละตัณหา พยายาม โสนิโสมนสิการ ให้แยลยลด้วยปัญญา จะทราบได้เองและสามารถปฏิบัติได้

อริยสัจ ๔
                          ความจริง ๔ ประการ คือ
                          ทุกข์ คือสิ่งที่ทนได้อยาก เกิดจาก ทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์จากปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ทุกข์จากประสพกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ทุกข์จากพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ
                          สมุทัย คือต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา(ความอยาก)
                          นิโรธ คือความดับทุกข์ต้องแก้ที่เหตุ คือละตัณหาให้ได้
                          มรรค คือทางสายกลาง ในการปฏิับติเพื่อให้พ้นทุกข์ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ  สัมมาสังกัปโป-ความดำริชอบ สัมมาวาจา-การพูดจาชอบ สัมมากัมมันโต-การทำการงาชอบ สัมมาอาชีโว-การเลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายาโม-ความพากเพียรชอบ สัมมาสะติ-การระลึกชอบ สัมมาสะมาธิ-การตั้งใจมั่นชอบ

กฎไตรลักษณ์
                         อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา คือทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง ไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้ จึงเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เมื่อเป็นทุกข์มันก็ไม่มีตัวมีตนที่แท้จริง เมื่อไม่มีตัวมีตนแล้ว เราก็ไม่ควรที่จะไปยึดมั่นถือมั่นกับมัน หมายความว่า อย่าไปยึดติดกับสิ่งต่างๆที่ รูป-นาม เราเคยได้รับจากการสัมผัสทางอายตนะ ๑๒ คือ ตาเห็นรูป หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ใจได้สัมผัสทางใจ ที่นาม(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เคยเข้าไปยึดติด คือติดใจในรสของกิเลสคือความอยากต่างๆนั้น(ตัณหา ได้แก่ กามตัณหาที่เกิดดจากกาย-วาจา ภาวตัณหาที่เกิดจากใจ วิภาวตัณหาที่จิตไม่อยากหลุดพ้น) ให้พิจารณาอย่างนี้ให้เข้าใจตามนี้

มหาสติปัฏฐาน
                         คือการเจริญสติ การทำที่สุดแห่งทุกข์เพื่อหวังผลนิพพาน หมายความว่า จะพบความเป็นปกติของจิต เช่นเดียวกับตอนแรกปฏิสนธิมีรูป-นามครบบริบูรณ์ และเวลาก่อนจะตาย ทุกคนสามารถจะรู้ได้ เมื่อสติสมบูรณ์อยู่กับปัจจุบัน จิตเป็นปภัสสร หรือจิตเป็นเกษม จะมีนามรูปที่เป็น "ธรรมกาย" อยู่ท่ามกลางความสงบ ผ่องใส บริสุทธิ์ของธรรมชาติ จิตจะอยู่เหนือสุข จิตจะอยู่เหนือทุกข์ นี่คือสิ่งที่เราทุกคนสามารถจะไปถึงได้ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ ท่านเทศน์ให้ฟัง
                          ๑. พิจารณากายในกาย ด้วยวิธีเคลื่อนไหวในอิริยาบถหลัก หรืออิริยาบถย่อย หรือลมหายใจเข้า-ออก หรือ..... ก็ให้มีสติ
                          ๒. พิจารณาเวทนาในเวทนา กรณีของคุณน้องบังอร ให้นึกถึงความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเราทั้งกายและใจ พิจารณาให้มันเห็นแก่นแท้ของกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ อนังจัง ทุกขัง อนัตตา (ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเราทั้งกายและใจนั้น แท้จริงมันไม่เที่ยงไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้ มันไม่มีตัวไม่มีตน ดังนั้นอย่าไปยึดติดกับมันในความคิดเดิมๆ ปล่อยมันไป มันก็จะสลายของมันไปเองนี่คือกฎธรรมชาติ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้)
                          ๓. พิจารณาจิตในจิต เมื่อนามรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มันรู้สึกเจ็บปวดทั้งกายและจิตใจให้รับรู้เท่านั้น ดูอารมณ์เราให้เห็นธรรมะ พยายามทำอุเบกขา ให้ได้ควมเจ็บมันก็จะผ่านไป
                          ๔. พิจารณาธรรมในธรรม กรณีของคุณน้องบังอร ให้ยกธรรม โภฌงค์ ๗ มาพิจารณา คือสติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มาพิจารณาให้ใจมันลืมความเจ็บปวดให้เป็นธรรม
                          การพิจารณานั้น ให้พิจารณาดูกาย ๓๐% พิจารณาดูใจ ๗๐% ด้วยการมีสติ พิจารณาในรูปให้รูแจ้งเห็นจริงตามกฎไตรลักษณ์คือ อนิงจัง  ทุกขัง  อนัตตา นี่คือจุดสุดท้ายของการเจริยสติ "ปัญญาญาณ" จะเกิดขึ้นเอง รู้ได้ด้วยตัวเอง ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1363 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 12:27:46 »


กุญแจดอกเอก
ธรรมะของหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ

********** ธรรมชาติแห่งพุทธะในตัวคนแต่ละคน อาจเปรียบได้กับผลไม้แต่ละผล หรือเมล้ดข้าวเปลือก ถ้าหากได้เอาลงเพราะในดินที่ชุ่มเย็น มีเงื่อนไขต่างๆ พอเหมาะ ก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้น ให้ดอกออกผลได้เช่นกัน ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของข้าวเมล้ดนั้นๆ เป็นเหตุปัจจัย
********** การตรัสรู้ เหมือนดอกไม้อาศัยแสงตะวัน เมื่อตะวันส่องแสงมายังพื้นโลก เมื่อความร้อนกับความเย็นกระทบกัน จึงเกิดความอบอุ่น ดอกไม้ก้เลยบานได้ตามต้องการ
********** พุทธะหรือโพธิจิตนี้ เมื่อได้รับการกระทบกระตุ้นระดับหนึ่ง จะตื่นขึ้นและผลิบาน จึงเรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งมนุษย์ทุกคนไปถึงได้
********** การเจริญสติ อันเป็นฐานของการเจริญสมาธิ เจริญปัญญา จะทำให้ธาตุพุทธะในตัวเราแตกตัว และเบ่งบาน
********** การรู้สึกตัวนั้น เป็นไม้ขีดไฟ เทียนไข นั้นก็คือ มันคิดเรารู้ เราพยายามจุดสองอย่างนี้ จุดแล้วก็สว่างขึ้นมา ก็เดินหนีออกจากถ้ำ ไม่เข้าไปอยู่ในถ้ำ ถึงจะต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำ ก็ต้องไม่ให้มันมืดต่อไป ต้องรู้สึกตัวทันที นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม
********** การรู้สึกตัวนี้ ให้รู้สึกลงไป เมื่อมันไหวขึ้นมาให้รู้สึกตามความเป็นจริงที่มันเคลื่อนไหวนั้น เมื่อมันหยุดก็ให้รู้สึกทันทีว่ามันหยุด อันนี้เรียกว่า สงบ สงบแบบรู้สึก
********** เราจะสร้างโบสถ์สักหลังหนึ่ง ยังไม่เท่าเราพลิกมือขึ้นอย่างนี้ครั้งเดียว แล้วรู้สึกตัว ทำอย่างนี้ดีกว่าการสร้างโบสถ์หลังหนึ่ง เพราะอันนี้มันรู้แต่สร้างโบสถ์ ไม่รู้อะไรเลย
********** ความรู้สึกตัว เป็นรากเหง้าของบุญ ความไม่รู้เป็นรากเหง้าของบาป
********** การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม อย่าไปแสวงหาที่ๆมันไม่มี แสวงหาตัวเรานี้ ให้เราทำความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ นี่แหละ จะรู้จะเห็น
********** ความสงบที่แท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เราหยุดการแสวงหา ต่อเมื่อเราไม่ต้องวิ่งหาบุคคลอื่นนั้นเรียกว่า ความสงบ
********** ความสงบมีอยู่แล้วโดยไม่ต้องทำขึ้น เป็นความสงบจาก โทสะ โมหะ โลภะ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นแก่เรา สติจะมาทันที เนื่องจากสติ สมาธิ ปัญญา อยู่ที่นั่นแล้ว โทสะ โมหะ โลภะ จึงไม่มี ถ้าบุคคลใดไม่เจริญสติ ไม่ได้ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น บุคคลนั้นจะไม่มีมัน ทั้งๆ ที่มันมีอยู่ที่นั่นแล้ว
********** เพียงแต่เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้ เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อรู้ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้ บางครั้งเธอไม่รู้ มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้
********** การรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของร่างกาย คือการเจริญสติ สมาธิคือการตั้งใจ
********** ใช้สติดูจิตใจ ไม่ว่าความคิดอะไรเกิดขึ้น เห็นมันทันที และเราจะรู้ถึงความหลอกลวง รู้ทันเวลา รู้การป้องกัน และรู้การแก้ไข รู้ถึงการเอาชนะความคิดปรุงแต่ง ศีลจะเกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง ไม่ใช่คนดอกที่รักษาศีล แต่ศีลต่างหากที่รักษาคน
********** ให้ลืมตาทำ เคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ให้มันรู้ มันเป็นการไหลไปตามธรรมชาติของมัน ตาก็ไม่ต้องบังคับให้มันหลับ ให้มันกะพริบขึ้นลงได้ตามธรรมชาติ เหลือบซ้าย แลขวาก็ได้ มันจึงเป็นการปฏิบิตธรรมกับธรรมชาติ และมันก็รู้กับธรรมชาติจริงๆ
********** ถ้ารู้สึกในการเคลื่อนไหวได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม ซักเสื้อผ้า ล้างถ้วย ล้างชาม ถ้ารู้สึกที่มันเคลื่อนไหวในขณะนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมได้
********** พุทธศาสนาคือ มารู้สึกต่อการเคลื่อนการไหวในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั่นแหละ คือมันรู้สึกในการเคลื่อนไหวของกายและใจ เป็นญาณเข้ามารู้  รู้สึกที่เนื้อที่ตัวตื่นตัว มันจะเป็นใหญ่ในตัวของมันได้เอง รู้สึกใจตื่นใจ มันจะเปลี่ยนแปลงเป็นใหญ่ในใจของมันได้เอง เมื่อมันเปลี่ยนแปลง มันก็เหมือนกับเราหงายของที่คว่ำขึ้นมา มันก็เห็นว่า มีอะไรอยู่ที่ตรงนั้น
********** คำว่าติดต่อกันเหมือนลูกโซ่นั้น ไม่ใช่แต่ว่านั่งอยู่ในห้องกรรมฐานเพียงอย่างเดียว จะไปไหนมาไหน อาบน้ำ ซักเสื้อ ซักผ้า ก็ให้มีสติดูการเคลื่อนไหวของรูปกาย และมีสติดูจิตดูใจอยู่เสมอ นั่นแหละท่านเรียนกว่า ปฏิบัติให้ติดต่อเหมือนลูกโซ่
********** ทันทีที่ความคิดเกิดขึ้น ปัดมันทิ้งออกไปทันที และให้มาอยู่กับความรู้สึกตัว
********** ความคิดยิ่งเร็ว สติปัญญาก็ยิ่งเร็ว ความคิดยิ่งลึก สติปัญญาก็ยิ่งลึก ถ้าทุกวันสองอย่างนี้ยิ่งลึกเท่ากันแล้วกระทบกัน แตกโพละออกมาเลย เรียกว่า โพลงตัวออกมา ซึ่งสภาวะอันนี้มันมีอยู่แล้วในคนทุกคน
********** วิธีแห่งการปฏิบัติ คือการรู้สึกตัวเท่าทันความคิด ร่างกายของเราทำงานไปตามหน้าที่ แต่จิตของเราจะต้องดูความคิด
********** การเห็น การรู้ความคิด เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน การรู้คือการเข้าไปในความคิดและความคิดก็คงดำเนินต่อไป เมื่อเราเห็นความคิด เราสามารถหลุดออกมาจากความคิดนั้นได้
********** เมื่อเราเห็นความคิดในทุกขณะ ไม่ว่ามันจะคิดเรื่องใดก็ตาม เราเอาชนะมันได้ทุกครั้งไป แล้วเราจะมาถึงจุดหนึ่ง ที่บางสิ่งภายในจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
********** การรู้ความคิด จึงเป็นความรู้ของ อวิชชา สำหรับผู้มีปัญญา การรู้และการเห็น สามารถแยกออกจากกันได้ นั่นคือวิชชา ปัญญาและวิชชาจะแยกความคิดออกจากกันได้ และนั่นคือที่สุดของทุกข์
********** ตัวนึกคิดนี่แหละคือสมุทัย มรรคคือการเอาสติมาดูความคิด นี่คือข้อปฏิบัติ
********** การที่เราเห็นความคิดนี่เอง เป็นต้นทางพระนิพพานแล้ว เมื่อมันคิดวูบขึ้นมาเราก็เห็นปั๊ป อันกระแสความคิดนี้มันไวนัก ไวกว่าแสง ไวกว่าเสียง ไวกว่าไฟฟ้า ไวกว่าอะไรทั้งหมด เมื่อได้เห็นสมุฏฐานความเร็ว ความไวของความคิดแล้ว เรียกว่า อรรถบัญญัติ
********** ให้เห็นความคิด อย่าไปห้ามความคิด และอย่าไปยึดถือ ให้ปล่อยมันไป นี่คือการเห็นความคิด คิดแล้วให้ตัดปุ๊บเลย เหมือนการวิดน้ำออกไปจากก้นบ่อ ทำอย่างนี้นานๆ เข้าสติจะเต็มและสมบูรณ์ คิดปุ๊บเห็นป๊บ อันนี้แหละคือระดับความคิด ที่เรียกว่า ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด
********** ให้รู้จักสมุฏฐานของความคิด เมื่อเรารู้จักสมุฏฐานของความคิดแล้ว เราจะได้ปฏิบัติจุดนี้เข้าไป เมื่อเราปฏิบัติจุดนี้แล้ว มันจะไปตามทางของมันเอง เมื่อไปตามทางนั้นแปลว่าเห็นถูกต้อง ก็ต้องถึงจุดหมายปลายทาง
********** ที่เราต้องการความสงบหรือพุทธะ เราไม่ต้องไปทำอะไรให้มาก เพียงให้ดูต้นตอของชีวิตเมื่อมันคิดมา อย่าเข้าไปในความคิด ให้ตัดความคิดออกให้ทัน
********** วิธีการยกมือขึ้น คว่ำมือลง เป็นวิธีเจริญสติ เป็นวิธีเจริญปัญญา เมื่อได้สัดได้ส่วนสมบูรณ์แล้ว มันจะเป็นเองไม่ยกเว้นใครๆ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ เด้กๆก็ทำได้ ผู้ใหญ่ก็ทำได้ นุ่งผ้าสีอะไรก็ทำได้ ถือศาสนาลัทธิอะไรก็ทำได้ เรียกว่า ของจริง
********** วิธีที่จะจัดการกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น เราไม่ต้องไปคิดหาว่า ความโกรธ ความโลภ ความหลง อยู่ที่ไหน เราเพียงกลับเข้ามาดูจิตดูใจของเรา ก็จะทำลายความโกรธ ความโลภ ความหลง ได้เอง
********** ศีลคือความปกติ ศีลคือผลของจิตใจที่เป็นปกติ นี้เป็นสิ่งเดียวกับสติ สมาธิ ปัญญา วิธีการปฏิบัติคือ การรู้สึกตัวเท่าทันความคิด เมื่อความคิด ความทุกข์ หรือความสับสนเกิดขึ้น อย่าได้พยายามหยุดมัน แต่ให้สังเกตมัน
********** หนทางไปสู่ความสิ้นสุดของทุกข์นี้ เป็นหนทางที่ง่าย เหตุที่ยาก เพราะเราไม่รู้มันอย่างแท้จริง เราจึงมีแต่ความลังเล และสงสัย
********** พระพุทธเจ้าก็คือ คนทุกคน เพราะพืชพันธุ์ที่จะทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้านั้น มีอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ยกเว้น
********** ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น หรือไม่ก็ตาม พระธรรมนั้นมีอยู่แล้ว เมื่อเห็นสิ่งนี้อย่างแท้จริง เราจะอยู่เหนือความเชื่อที่งมงายทั้งหลาย ตัวเราเท่านั้นที่จะนำชีวิตของเราเอง มิใช่ใดอื่น นี้คือ จุดเริ่มต้นของความสิ้นสุดแห่งทุกข์
********** พระพุทะเจ้าไม่ได้สอนอะไรเลย เพราะมันมีอยู่แล้วทั้งนั้น ขอเพียงว่าให้เรารู้สึกตัวเท่านั้นเอง ความรู้สึกตัวก็มีอยู่แล้ว
********** แท้จริงแล้วนั้น กิเลสมิได้มีอยู่จริง แล้วเราจะไปชนะมันได้อย่างไร สิ่งที่เราต้องทำเพียงอย่างเดียวคือ เราเพียงแต่ดูจิตใจ โดยชัดเจน เผชิญหน้ากับความคิดโดยชัดเจน เมื่อเราเห็นใจอย่างชัดเจน โมหะก็จะไม่มีอยู่
********** ธรรมะคือมนุษย์ เมื่อเรารู้ธรรมะ เราก็จะเข้าใจว่าทุกๆสิ่งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด ทุกๆสิ่งคือสมมุติ นี้คือปัญญาที่เกิดขึ้น
********** การเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง คือการเห็นธรรมะ ฉะนั้นการเห็นธรรมก็คือ เห็นในขณะที่เรากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด เห็นอย่างนี้เห็นธรรมแท้ๆ ไม่แปรผัน
----------------------------------------------
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1364 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 12:29:33 »

สวัสดีครับคุณน้องเอมอร ที่รัก จะชาวซีมะโด่งทุกท่าน
                         ผมนำคำสอนของหลวงพ่อเทียน   จิตฺตสุโภ ซึ่งสอนให้ญาติโยมฟังเพื่อ "ทำความรู้สึกตัว" หรือ "เจริญสติแบบเคลื่อนไหว" มาแนะนำให้ทุกท่านได้ลองทำ อาจจะถูกกับจริตของท่านก็ได้ครับ เชิญติดตาม


การทำความรู้สึกตัว

ความรู้สึกตัว
             
                
                สติ หมายถึง ความระลึกได้ ไม่ใช่ระลึกชาติแล้วชาติก่อนนะ ระลึกได้เพราะการเคลื่อน การไหว การนึก การคิดนี่เอง จึงว่า สติ - ความระลึกได้   สัมปชัญญะ - ความรู้ตัว
                
                บัดนี้เราไม่ต้องพูดอย่างนั้น เพราะคนไทยไม่ได้พูดว่า "สติ"
                
                "ให้รู้สึกตัว" นี่! หลวงพ่อพุดอย่างนี้ ให้รู้สึกตัว การเคลื่อนการไหว กะพริบตาก็รู้ หายใจก็รู้ นี่ จิตใจมันนึกคิดก็รู้ อันนี้เรียกว่า ให้มีสติก้ได้ หรือว่า ให้รู้สึกตัวก็ได้
                
                ความรู้สึกตัวนั้น จึงมีค่ามีคุณมาก เอาเงินซื้อไม่ได้ ให้คนอื่นรู้แทนเราไม่ได้ เช่น หลวงพ่อกำมือ อยู่นี่ คนอื่นมองไม่เห็นว่าความรู้สึกของหลวงพ่อเป็นอย่างไร? รู้ไหม? ไม่รู้เลย แต่คนอื่นมองเห็นว่า หลวงพ่อกำมือ แต่ความรู้สึกที่มือหลวงพ่อสัมผัสกันเข้านี่ คนอื่นไม่รู้ด้วย คนอื่นทำ หลวงพ่อก็เห็น แต่หลวงพ่อรู้ด้วยไม่ได้
              
                นี้แหละใบไม้กำมือเดียว คือ ให้รู้การเคลื่อนไหวของรูปกายภายนอก และให้รู้การเคลื่อนไหวของจิตใจที่มันนึกคิด

การสร้างจังหวะ
             
                การเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญานั้น ต้องมี "วิธีการ" ที่จะนำตัวเราไปสู่ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญาได้ การทำทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีวิธีการ จึงจะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้
              
                ดังนั้นการมาที่นี่ต้องพยายาม ไม่ต้องนั่งนิ่งๆ สอนกันแนะนำกัน ให้มีวิธีทำ โดยเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ทำเป็นจังหวะ
              
                วิธีทำนั้น ก็ต้องนั่ง แต่ไม่ต้องหลับตา อันนี้มีวิธีทำ นั่งพับเพียบก้ได้ นั่งขัดสมาธิก้ได้ นั่งเก้าอี้ก้ได้ นอนก็ได้ ยืนก็ได้ ทำความรู้สึกตัว...
              
                พลิกมือขวาตะแคงขึ้น...ทำช้าๆ ...ให้รู้สึก ไม่ใช่(พูด) ว่า "พลิกมือขวา" อันมากเกินไป เพียงแต่ว่า ให้รู้สึกเท่านั้นเอง พลิกมือขึ้น...ให้รู้สึก หยุดไว้ ยกมือขึ้น...ให้รู้สึก  ให้มันหยุดก่อน ให้มันหยุด มันไหวไห...ให้รู้ ขึ้นครึ่งตัวนี่...ให้มันรู้ แล้วก็เอามาที่สะดือ
              
                อันนี้มีจังหวะซ้าย-ขวา เป็น ๖ จังหวะ เวลาเอามือออกมาก็ซ้าย-ขวา รวมกันเข้ามี ๘ จังหวะ อันนี้เป็นจังหวะ เป็นจังหวะ                

                การเจริญสตินั้น ท่านว่าให้ทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ก็ทำความรู้สึกนี่เอง เมื่อพูดถึงความรู้สึกแล้ว ก็พูดวิธีปฏิบัติพร้อมๆ กันไป


                อันนี้เป็นวิธีปฏิบัติ เป็นการเจริญสติ เราไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนในพระไตรปิฎกก้ได้ การไปศึกษาเล่าเรียนในพระไตรปิฎกนั้น มันเป็นพิธี คำพูดเท่านั้น มันไม่ใช่เป็นการปฏิบัติเพื่อความเห็นแจ้ง การปฏิบัติเพื่อความเห็นแจ้ง ทำอย่างนี้แหละ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1365 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 13:07:22 »

การเดินจงกรม

                       เดินจงกรม ก็หมายถึง เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง ให้เข้าใจว่าเดินจงกรมเพื่ออะไร? เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ คือนั่งนานมันเจ็บแข้งเจ็บขา บัดนี้ เดินมาก มันก้เหมื่อยหลังเหมื่อยเอว นั่งด้านหนึ่ง เขาเรียกว่าเปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนให้เท่าๆกัน นั่งบ้าง นอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง อิริยาบถทั้ง ๔ ให้เท่าๆกัน แบ่งเท่ากันหรือไม่แบ่งเท่ากันก้ได้ เพราะว่าเราไม่มีนาฬิกานี่ น้อยมากอะไร ก็พอดีพอควร เดินเหนื่อยแล้ว ก้ไปนั่งก้ได้ นั่งเหนื่อยแล้ว ลุกเดินก้ไดเ

                       เวลาเดินจงกรม ไม่ให้แกว่งแขน เอามือกอดหน้าอกไว้ หรือเอามือไขว้ไว้ข้างหลังก็ได้
                  

                       เดินไปเดินมา ก้าวเท้าไปก้าเท้ามา ทำความรู้สึกตัว แต่ไม่ได้พูดว่า "ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ" ไม่ต้องพุด เพียงเอาความรู้สึกเท่านัน

                       เดินจงกรม ก้อย่าไปเดินไวเกินไป อย่าไปเดินช้าเกินไป เดินให้พอดี

                       เดินไปก็ให้รู้...นี่เป็นวิธีเดินจงกรม ไม่ใช่ว่าเดินจงกรมเดินทั้งวันไม่รู้สึกตัวเลย อันนั้นก็เต็มทีแล้ว เดินไปจนตายมันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เดินอย่างนั้น
                        เดินก้าวไป ก้าวมา "รู้" นี่ เรียกว่า "เดินจงกรม"

                         การปฏิบัติ ให้นั่งสร้างจังหวะให้มากๆ เป็นกลัก(หลวงพ่อเทียนท่านทำอย่างมากเลย) จนร่างกายมันทนไม่ไหวจึงสลับกับการเดินจงกรม เดินจนไม่ไหวก็สลับมานั่งสร้างจังหวะ สลับไปสลับมาแบบนี้ ทำให้เป็นลุกโซ่ ต่อเนื่อง

                        

 กรณีคุณน้องเอมอร ขณะนี้ นั่งลำบาก นอนลำบาก ใช้วิธีกำมือ-เหยียดมือ หรือ คว่ำมือ-หงานมือ ทั้งมือซ้าย มือขวา สลับกันก็ได้ แต่ทำช้าๆ เวลาขยับก็ให้รู้สึกตัวทุกครั้ง สติก็จะเกิดขึ้นและพัฒนาเป็นสมาธิ ใจมันคิดก็ให้มันคิดไปแต่อย่าไปคิดตามมัน ขั้นแรกมันคิดขึ้นมา สลัดมันทิ้งไป ให้สร้างการสลัดทิ้งให้เร็วเท่ากับที่ใจมันคิด  นี่ละการกฏิบัติธรรมละ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1366 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 13:25:48 »

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน



                   การเจริญสตินี้ ต้องทำมากๆ ทำบ่อยๆ นั่งก็ทำได้ นอนทำก้ได้ ขึ้นรถ ลงเรือ ทำได้ทั้งนั้น
                   เวลาเรานั่งรถเมล์นั่งรถยนต์ก็ตาม เราเอามือวางไว้บนขา พลิกขึ้น - คว่ำลงก็ได้ หรือเราไม่อยากพลิกขึ้น - คว่ำลง เราเพียงเอามือสัมผัสนิ้วอย่างนี้ก้ได้ สัมผัสอย่างนี้ ให้มีความตื่นตัว ทำช้าๆ หรือจะกำมือ - เหยียดมือ อย่างนี้ก้ได้

                   ไปไหนมาไหน ทำเล่นๆ ไป ทำเพื่อความสนุก นี่อย่างนี้ทำมือเดียว อย่าทำพร้อมกันสองมือ ทำมือขวา มือซ้ายไม่ต้องทำ ทำมือซ้ายมือขวาไม่ต้องทำ

                   "ไม่มีเวลาที่จะทำ" บางคนว่า
                   "ทำไม่ได้ มีกิเลส" เข้าใจอย่างนั้น
                   อันนี้ถ้าเราตั้งใจแล้ว ต้องมีเวลา มีเวลาเพราะเราหายใจได้ เราทำการทำงานอะไรให้มีความรู้สึกตัว เช่น เราเป็นครูสอนหนังสือ เวลาเราจับดินสอมาเขียนหนังสือ...เรามีความรู้สึกตัว เขียนตัวหนังสือไปแล้ว...เราก็รู้
                   อันนี้เป็นการเจริญสติแบบธรรมดาๆ ศึกษาธรรมะกับธรรมชาติ

                   เวลาเราทานอาหาร เราเอาช้อนเราไปตักเอาข้าวเข้ามาในปากเรา...เรามีความรู้สึกตัว ในขณะเคี้ยวข้าว...เรามีความรู้สึกตัว กลืนข้าวเข้าไป ในท้องไปในลำคอ...เรามีความรู้สึกตัว อันนี้เป็นการเจริญสติ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1367 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 13:26:29 »

การทำให้ติดต่อกันเหมือนลูกโซ่



                       ที่อาตมาพูดนี้ อาตมารับรองคำสอนของพระพุทธเจ้า และรับรองวิธีที่อาตมาพูดนี้ รับรองจริงๆ ถ้าพวกท่านทำจริงๆ แล้วทำให้มันติดต่อกันเหมทอนลุกโซ่ หรือเหมือนนาฬิกาที่มันหมุนอยู่ตลอดเวลา
                       แต่ไม่ใช่ว่าทำอย่างนี้ ให้มันเหมือนลุกโซ่ หมุนอยู่เหมือนกับนาฬิกานี่ ไม่ให้ไปทำการทำงานอื่นใดทั้งหมด ให้ทำความรู้สึก ทำจังหวะ เดินจงกรม อยู่อย่างนี้ตลอกเวลาหรือ - ไม่ใช่อย่างนั้น
                       คำว่า "ให้ทำอยู่ตลอดเวลา" นั้น คือเราทำความรู้สึก ซักเสื้อซักผ้า ถูบ้านกวาดบ้าน ล้างถ้วยล้างจาน เขียนหนังสือ หรือซื้อขายก้ได้ เพียงเรามีความรู้สึกเท่านั้น แต่ความรู้สึกอันนี้แหละ มันจะสะสมเอาไว้ทีละเล็กทีละน้อย เหมือนกับเรามีขันหรือมีโอ่งน้ำ หรือมีอะไรก็ตามที่มันดี ที่รองรับมันดี ฝนตกลงมา ตกทีละนิดทีละนิด เม้ดฝนเม็ดน้อยๆ ตกลงนานๆ แต่มันเก็บได้ดี น้ำก็เลยเต็มโอ่งขันขึ้นมา

                       อันนี้ก็เหมือนกัน เราทำความรู้สึก ยกเท้าไป ยกเท้ามา ยกมือไป ยกมือมา เรานอนกำมือ เหยียดมือ ทำอยู่อย่างนั้น หลับแล้วก็หลับไป เมื่อนอนตื่นขึ้นมา เราก็ทำไป หลับแล้วก็แล้วไป ท่านสอนอย่างนี้ เรียกว่าทำบ่อยๆ อันนี้เรียกว่า เป็นการเจริญสติ

สรุปวิธีปฏิบัติ

                       ถ้าทำจังหวะให้ติดต่อกันเหมือนลูกโซ่ มีความรู้สึกอยู่ทุกขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อน ไหว อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น
                       แต่เรามาทำจังหวะ พลิกมือขึ้น คว่ำมือลง ยกมือไป เอามือมา ก้ม เงย เอียงซ้าย เอียงขวา กะพริบตา อ้าปาก หายใจเข้า หายใจออก รู้สึกอยู่ทุกขณะ จิตใจมันนึกมันคิด รู้สึกอยู่ทุกขณะ
                       อันนี้แหละวิธีปฏิบัติ คือให้รู้ตัว ไม่ให้นั่งนิ่งๆ ไม่ให้นั่งสงบ คือให้มันรู้

                       รับรองว่าถ้าทำจริง ในระยะ ๓ ปี อย่างนาน ทำให้ติดต่อกันจริงๆ นะ อย่างกลาง ๑ ปี อย่างเร็วที่สุดนับแต่ ๑ ถึง ๙๐ วัน อานิสงส์ไม่ต้องพูดถึงเลย ความทุกข์จะลดน้อยไปจริงๆ ทุกข์จะไม่มารบกวน
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1368 เมื่อ: 20 มกราคม 2554, 13:28:34 »

พี่สิงห์ค่ะ
 ได้ทำจังหวะมือ ตามรูปที่พี่สิงห์ post  มาแล้วค่ะ
เข้ากระทู้นี้ ถามพี่สิงห์ พอดีน้องธวัชชัยอนุเคราะห์ให้หนังสือหลวงพ่อเทียน ตามที่mail บอกพี่มาก็ลองทำดู ตามหนังสือคะ
ปรากฎว่ากำหนดจิตได้ง่ายกว่า การกำหนดลมหายใจค่ะ
โพฌชงค์  ๗ นั้นกำลังศึกษาอยู่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1369 เมื่อ: 21 มกราคม 2554, 10:55:57 »

สวัสดีคุณน้องเอมอร ที่รัก
                         วันนี้พี่สิงห์มี "ธรรมะ" และคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากเพื่อเป็นกำลังใจให้เธอเอาชนะความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ของเธอ  ลองอ่านดูนะครับ อย่างน้อยเธอยังมีพี่สิงห์เป็นเพื่อนใจเสมอ  ถ้ามีเวลาอยากให้เข้าไปที่เวบของวัดป่าสุคะโต  ฟังเทศน์ของพระไพศาล   วิสาโล ให้มากเพราะท่านสอนโดยยกตัวอย่างปัจจุบัน เข้าใจได้ง่าย เธอจะก้าวหน้าในการปฏิบัต เป็นเทปบันทึกเวลาหลวงพ่อเทศน์หลังจากทำวัตรเช้า ครับ
                         พี่สิงห์ขอเป็นเพื่อนใจ  เป็นกำลังใจให้เธอเสมอ ครับ

องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้    
                   
                         พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า ธรรมที่เป็นใหญ่แห่งการตรัสรู้ (พุทธ คือ ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  ผู้ไกลจากกิเลส) ประกอบด้วย
                         ๑. ความเชื่อมั่น ต้องมีความเชื่อมั่นในแนวทางที่พระองค์สอนว่าสามารถพ้นทุกข์ สู่นิพพานได้
                              กรณีของเธอ เธอต้องเชื่อมั่นและมีศรัทธาว่า แนวทางสร้างความรู้สึกตัวของหลวงพ่อเทียนนั้น จะทำให้เธอมีสติ คลายทุกข์ได้จริง
                         ๒. ความเพียร ต้องมีความพยายามอดทน  ตั้งใจกระทำให้มากๆ
                              กรณีของเธอ เธอต้องกระทำให้มาก ๆ จนชนะตัณหา(ความอยาก) ให้ได้ จนไม่มีอุปาทาน คือยึดมั่นในกิเลสเก่าๆที่เคยเป็น เคยมี เคยชอบ เคยสุข เธอจงเอาชนะใจตนเองให้ได้
                         ๓. ปัญญา จงใช้ปัญญาไตร่ตรอง ว่าทำไม?เราต้องสร้างจังหวะ เจริญสติ เพราะการใช้ปัญญา จะสามารถเอาชนะตัณหา(ความอยาก) ได้ ยึดหลัก อะไร?จะมันเกิดขึ้น ต้องมีสาเหตุทั้งนั้น มันไม่ได้เกิดขึ้นเอง ถ้าจะแก้ต้องแก้ที่ต้นเหตุ เป็นการตัดรากตัณหาไปเลย
                              กรณีของเธอ ต้องใช้ปัญญา สาเหตุ เพราะความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเราทั้งกาย-ใจ มันทนไม่ได้ ทุกข์ทางกายก็ให้คุณหมอรักษาโดยการรับประทานยา .......... ตามที่คุณหมอแนะนำ ไม่บกพร่อง แต่ทุกข์ทางใจนั้น ต้องพึ่งการเจริญสติตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน ขอให้มีความเพียรในการกระทำ มีแต่จิตอยู่ ณ ปัจจุบันเท่านั้น วินาทีเดียวก็เป็นอดีตไปแล้วไม่ต้องคิดถึงมัน เธอจะรักษาทุกข์ทางใจได้ด้วยตัวเอง ความเจ็บป่วยของเธอจะไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อเธออีกเลย

 
โพชฌงค์ ๗
             พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ก่อนที่ท่านจะทรงตรัสรู้ท่านใช้ "โพชฌงค์ ๗" อย่างมาก ในการทำความเพียรทางจิต จนกระทั้งทรงตรัสรู้
                         ๑. สติ คือความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถทวนระลึกนึกถึง หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องหรือต้องใช้ต้องทำในเวลานั้น ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุมตั้งแต่การมีสติกำกับตัว ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังกำหนดพิจารณาเฉพาะหน้า จนถึงการหวนระลึกรวบรวมเอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้วหรือสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้ต้องทำ มานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา
                             กรณีขอคุณน้องเอมอร  พี่สิงห์แนะนำให้ใช้แนวทางเคลื่อนไหวด้วยมือ เป็นตัวล่อเป้า สร้างความรู้สึกตัว ในการเจริญสติ หรืออยู่ในอิริยาบถ ในกิจวัตรประจำวันให้มีความรู้สึกตัวตลอดเวลาเป็นการเจริญสติหรือปฏิบัติธรรม เพื่อให้มีสติตลอดเวลา จนสามารถเอาชนะความทุกข์ที่เกิดจากกาย และใจ จนหมดความกังวล ไม่คิดมาก หมดอุปาทาน คือความยึดมั่นในสิ่งที่เคยฝังใจในทุกเรื่องโดยเฉพาะความทุกข์ จนปล่อยวางได้ คือหมดความอยากทางกาย ทางวาจา ทางใจ จนลืมควมเจ็บปวด เพราะทุกข์นั้นเป็น อนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา ความทุกขืก็จะคลายลง
                         ๒.ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัย  ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้  หรือธรรมที่สติระลึกรวมมานำเสนอนั้น ตามสภาวะ เช่น ไตร่ตรองให้เข้าใจความหมาย จับสาระของสิ่งที่พิจารณานั้นได้ ตรวจตราเลือกเฟ้นเอาธรรมหรือสิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ หรือสิ่งที่ใช้ได้เหมาะดีที่สุดในกรณีนั้น ๆ หรือมองเห็นอาการที่สิ่งที่พิจารณานั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจตามสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์ ตลอดจนปัญญาที่มองเห็นอริยสัจจ์
                             กรณีของเธอนั้น ให้ยกเวทนา คือความทุกข์จากการเจ็บปวดทางกาย ทางใจขึ้นมาพิจารณาแบบ"โยนิโสมนสิการ" คือพิจารณาด้วยปัญญาอันแยบคายโดยละเอียด จนรู้ได้ด้วยตัวเองไปสู่จุด อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา เธอจะปล่อยวางได้ การใช้ธัมมวิจยะ นั้น เพราะเวลาเราสร้างความรู้สึกอยู่นั้นเราไม่สามารถที่จะให้จิตอยู่กับการกระทำนั้นมีสมาธิได้นานๆ เราไม่สามารถไปหยุดความคิดเราได้ ถึงแม่เราจะจับความคิดที่จิตมันคิดได้เกิดปุ๊บจับป๊บ เราทำได้ก็จริงแต่จิตมันจะทุรนทุรายไม่ยอมรับทำให้เรามึนหัวมีสมาธิได้ไม่นาน เราจึงต้องปล่อยให้มันคิดแต่เราตั้งใจคิดด้วยการมีสติเลือกเฟ้นธรรมมาคิด แต่ข้อควรระวัง อย่าลืมสติ จนทำให้มันหลงไปติดกับความคิดนั้นเสีย ไม่ถูกต้อง
                         ๓. วิริยะ คือความเพียร หมายถึงความแกล้วกล้า เข้มแข็ง กระตือรือร้นในธรรมหรือสิ่งที่ปัญญาเฟ้นได้ อาจหาญในความดี มีกำลังใจ สู้กิจ บากบั่น รุดไปข้างหน้า ยกจิตไว้ได้ ไม่หดหู่ ถดถอยหรือท้อแท้
                              กรณีของเธอเวลาปฏิบัติใหม่ๆ จะรู้สึกง่วงนอน มึนหัว ปวดเหมื่อย เป็นเพราะจิตมันโดนเขย่า จึงถูกต่อต้าน พยายามทำให้ใจสบาย ๆ ดูรอบ ๆ ตัวเรา ปล่อยวาง ไม่เพ่ง ไม่จดจ่อ ทำให้เป็นธรรมชาติ ทำให้มาก ๆ ที่จิตมันเป็นอย่างนั้นเพราะอุปทานเก่าที่เราไปยึดมั่นถือมั่นจากความสะดวดสบายในการเป็นอยู่ของเรา พอเรามาสร้างความรู้สึกมันเลยต่อต้าน ด้วยทำให้เกิดกิเลส คืออยากเลิกกระทำจึงแสดงออกมาในรูปความง่วง มึนหัว ปวดเหมื่อย ดังนั้นเธอต้องเอาชนะความอยากอันนี้ให้ได้ ถ้าเธอสามารถที่จะเอาชนะความง่วง ความมึน ความปวด ลงได้ ถ้าเธอผ่านได้เธอจะรู้ว่า จิตมันสงบ สว่าง สดชื่น แจ่มใส ลืมความง่วง ความมึนหัว ความเจ็บปวดไปเลย
                         ๔. ปิติ คือความอิ่มใจ หมายถึงความเอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ปรีย์เปรม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง แช่มชื่น ซาบซ่าน ฟูใจ
                              กรณีของเธอ เมื่อสร้างความรู้สึกตัว จนมีสติ เป็นสมาธิ เธอจะสุขใจ ว่าตัวเองทำได้ แต่อย่าไปหลงอยู่กับสุขนั้น ให้รับรู้เท่านั้น
                         ๕. ปัสสัทธิ คือความสงบกายใจ หมายถึงความผ่อนคลายใจ สงบระงับ เรียบเย็น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย
                              กรณีของเธอ เธอจะพบว่า พอเรามีสติ เป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว เธอจะรู้สึกปิติ คือดีใจที่ทำได้ แต่เธออย่าไปหลงกับความดีใจอันนั้น จะเป็นความหลงเข้าไปในความคิด เป็นทาสความสุขไปอีก ขอให้ทำจิตให้สงบรับรู้กับปีตินั้น เพียงเท่านั้น
                         ๖. สมาธิ คือความมีใจตั้งมั่น หมายถึงความมีอารมณ์หนึ่งเดียว จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ทรงตัวสม่ำเสมอ เดินเรียบ อยู่กับกิจ ไม่วอกแวก ไม่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน
                              กรณีของเธอ มีความรู้สึกตัวอยู่ที่การสร้างจังหวะ จะทำให้เธอมีใจเป็นสมาธิ ปล่อยสบายๆ เดี๋ยวสมาธิก็นานขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ เมื่อมีสมาธิ จิตมันก็จะไม่ไปคิดถึงความเจ็บป่วย เธอก็จะรู้สึกสบาย
                         ๗. อุเบกขา คือความวางทีเฉยดู หมายถึงความมีใจเป็นกลาง สามารถวางทีเฉย นิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับงานแล้ว และสิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดีตามแนวทางที่จัดวางไว้หรือที่มันควรจะเป็น ไม่สอดแส่ ไม่แทรกแซง
                             กรณีของเธอ อย่าให้จิตมันไปจดจ่ออยู่ที่ความเจ็บทั้งทางกายและใจ พยายามให้จิตจดจ่ออยู่ที่การสร้างความรู้สึก ทำใจให้เป็นปกติ เท่านั้นเองครับ ความเจ็บปวดก็จะหายไปเอง คือลืมคิดถึงมัน

                           คุณน้องเอมอร กรุณาอ่านคำนำในหนังสือ "แด่เธอผู้รู้สึกตัว" คุณหมอ ที่ออกเงินค่าพิมพ์นั้นเจ็บป่วยคงมากกว่าเธอแยะ ได้แต่นอนอยู่บนเตียง คุรหมอใช้การสร้างความรู้สึกตัวแนวหลวงพ่อเทียน นี้ช่วยเอาชนะจิตใจตัวเองจนเห็นธรรม ครับ ตอนนี้เธอมีเวลาลองใช้โอกาสที่มี สร้างความรู้สึกตัวแบบคุณหมอบ้าง อาจจะพบ "ธรรม" ที่แท้จริงได้ ขอเพียงมีความเชื่อมั่น มีศรัทธาต่อแนวทางหลวงพ่อเทียน มีความเพียรพยายาม อดทน และใช้ปัญญา คงจะเอาชนะใจตัวเองได้ จนเห็น "ธรรม" คือ ทุกสิ่งล้วน อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา ความเจ็บป่วยทางใจก็จะหมดไปครับ
                            สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #1370 เมื่อ: 21 มกราคม 2554, 18:19:41 »

บทความจาก นสพ.ไทยโพสต์ออน์ไลน์ มาฝากครับ

เข็ดแล้วอินเดีย
ถูกทุกข้อ 21 มกราคม 2554 - 00:00

เรียน คุณสามวา สองศอก
     การไปอินเดียครั้งนี้ ฉันตัดสินใจผิดใหญ่หลวงไปใช้บริการแขก ให้ช่วยจองโรงแรมและจัดหารถพร้อมคนขับให้แบบวีไอพี ปรากฏว่าโดนหลอกยับเยิน นึกถึงสุภาษิตไทยขึ้นมาทันควันที่ให้ ตีแขกก่อนตีงู
     รถจัดหาให้ก็บุโรทั่ง ไกด์กับคนขับไม่รู้ทาง แต่ดันแสนรู้พาเลี้ยวไปซื้อของ ทั้งที่สั่งแล้วว่าไม่ต้องพาไปช็อปปิ้งที่ไหนทั้งสิ้น สันดานแขกจับไม่ได้ไล่ไม่ทันเป็นอันต้องเสียรู้ กระทั่งไกด์ของรัฐบาลเองยังหลอกนักท่องเที่ยว จ่ายเงินไปแหม็บๆ 100 รูปี หันมาอีกทีบอกนักท่องเที่ยวอีกคนว่า 40 รูปีก็ได้
     อีกทีคือค่าตุ๊กๆ พอขึ้นไปนั่งบอกว่า 100 รูปี พอตอนลงรถบอกว่า 100 รูปีแค่พาไป พากลับมาแล้วต้องอีก 100 รูปี เหตุเกิดหน้าทัชมาฮาล...
     โรงแรมที่ให้ช่วยจอง แจ้งไปชัดเจนว่าขอราคาคืนละ 2,000-2,500 บาทไทย กะได้นอนดีๆ ชดเชยกับความสกปรก ประมาณได้ว่า 4,000 รูปีก็หรูมากแล้ว แต่ได้นอนโรงแรมจิ้งหรีด เสียรู้เพราะรูปภาพในอินเทอร์เน็ตกับของจริงไม่เหมือนกันเลย หลายแห่งไม่มีน้ำร้อน ไม่มีฮีตเตอร์ อาบน้ำไม่ได้ เพราะตอนกลางคืน 3-5 องศา โดยเฉพาะเนปาลคืนที่ไปประมาณ 2 องศา ทรมานมาก ต้องเอาผ้าปูเตียงมาห่มทับกันหนาว
     เงินที่จ่ายไปเพื่อขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ดูภูเขาเอฟเวอเรสต์ก็ถูกหลอก กลายเป็นพาไปขึ้นเครื่องบินใบพัด ถ่ายรูปไม่ได้เลย ขนาดมีใบเสร็จยืนยันเรียบร้อย ยังโกงแบบหน้าด้านๆ
     ถึงจุดที่ทนไม่ไหวต้องกลับบ้าน ให้แขกคนเดิมเปลี่ยนตั๋วเครื่องบินในประเทศให้ เพราะเขาเป็นคนจอง ทีแรกบอกว่าสายการบินเดิมเต็ม อีกทีบอกว่าเลื่อนจากเช้าเป็นบ่าย ต้องเปลี่ยนสายการบินใหม่ เพราะจะทำให้ไปที่อื่นไม่ทัน ขูดค่าเปลี่ยนตั๋วไปอีก 50 ดอลล์ พอฉันไปถึงสนามบินเห็นคาตาว่าสายการบินเดิมบินเวลาเดิม!
     คนอินเดียเดินขากถุยถ่มน้ำลายชนิดเฉียดหน้า พูดภาษาอังกฤษได้ แต่สำเนียงฟังไม่ได้ ฉันเจอชายอเมริกันคนหนึ่งที่สนามบินเดลี เขาบอกว่าเขาฟังไม่รู้เรื่องเลย ขนาดเขาเคยเร่ร่อนไม่มีที่อยู่ ยังต้องเผ่นกลับก่อน ทั้งที่คือตั้งใจมา 3 อาทิตย์ อยู่ได้แค่ 5 วันเท่านั้น สุดยอดสกปรกต้องยกให้อินเดีย! ฮา...แปลว่าฉันอดทนมากกว่าคนเคยไร้บ้าน เพราะกะไป 14 วัน แต่กลับก่อนกำหนดสามวัน...
     ฉันไปอินเดียไม่ได้ไปปลง เพราะปลงที่ไหนก็ได้ แต่ไม่คาดคิดว่าจะต้องไปเดินตามรอยขี้ ใครต่อใครพากันห้ามและตกใจว่าอย่าไปอินเดียนะ หลายคนฟังแล้วก็เออ...สกปรก ไม่น่าไป แต่ไม่เห็นภาพ ฉันเองฟังแล้วยังคิดว่าทนๆ เอา แต่พอได้เห็นแล้วต้องตกตะลึงพรึงเพริศ จนหาภาษามาบรรยายไม่ได้...
     คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นไปได้ ความสกปรกแสดงถึงวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ไร้ระเบียบ และอาจเลยไปถึงไร้ศักดิ์ศรี เพราะใครไปใครมาก็ต้องเห็นว่าประเทศนี้นรกแตก การซิกแซ็ก ฉวยโอกาส หลอกลวง คดในข้องอในกระดูก เป็นการอยู่แบบไร้เกียรติ และต่ำต้อยที่สุดเท่าที่มนุษย์พึงมี...
     ที่น่าเศร้าใจในฐานะเราเป็นชาวพุทธ คือรูปปั้นพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ข้างถนนฝุ่นจับหนาเขรอะ ข้างๆ คือภูเขาขยะ แดนดินถิ่นพุทธภูมิ แต่คนอินเดียร้อยละ 90 ไม่นับถือศาสนาพุทธ พระพุทธรูปที่อินเดียเป็นแค่สินค้าที่วางขายเกลื่อนกลาดตามทางเท้า พระพุทธเจ้าเป็นแค่สัญลักษณ์ทางการค้าเท่านั้น ปวดใจไหม
     ทั้งประเทศอินเดียฉันยกให้พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นที่สุดในโลก และพระพุทธเจ้าก็อยู่ในใจฉันนี่เอง นอกนั้นขอบอกว่าลาก่อนอินเดียเส็งเคร็ง เข็ดจนตายไม่ไปอีกแล้ว...
     การให้อภัยเป็นวิถีแห่งพุทธ การทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมเป็นวิถีแห่งพุทธ การช่วยเหลือผู้อื่นไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแห่งการหลอกลวงเป็นวิถีแห่งพุทธ
     บริษัททัวร์ที่ฉันใช้บริการคือ Alpine Holiday N Adventure : Flat no 82, Shiva Enclave Pocket-1, Sector-25, Rohini, Behind Queen Marry Public School New Delhi 110085 Tel. 2793-2565 ชื่อ Deepak Ganjoo (มีหลักฐานครบ)
     ขณะนี้กำลังขอให้สถานทูตไทยในอินเดีย สถานทูตอินเดียในไทย การท่องเที่ยวอินเดีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้นาย Deepak คืนเงินส่วนที่ไม่ควรได้กลับคืนมา เพื่อให้สถานทูตไทยในอินเดียไปบริจาคให้เด็กยากจนในอินเดีย
                                                                มามัญญี
ตอบ คุณมามัญญี
     จดหมายที่คุณเขียนติดต่อกันมา 2 ฉบับก็ลงให้หมดแล้ว ผมว่าคนอินเดียคงไม่ได้เป็นอย่างที่คุณว่าทั้งหมด คนที่สะอาด คนที่ไม่หลอกลวง ก็คงพอจะมีอยู่บ้าง แต่ก็เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่คิดจะไปเที่ยวอินเดีย ถ้าแน่ใจว่าทนเรื่องสกปรกหรือกลิ่นเหม็นไม่ได้ ก็ไม่ควรเอาชีวิตไปเสี่ยง   
     ประเทศไทยก็มีสถานที่หลายแห่ง ที่ไร้ระเบียบ สกปรก โสโครก กลิ่นเหม็น ถ้าสมมติว่าเราเป็นนักท่องเที่ยวที่อยากมาดูเมืองไทย ก็คงจะเซ็งชีวิตที่คิดผิดมาเที่ยวเมืองไทย และคงเอาเรื่องไม่ดีไปบอกเล่าหรือไปประจาน เหมือนที่คุณชอกช้ำระกำใจมาจากอินเดียนั่นแหละ


http://www.thaipost.net/news/210111/33169
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1371 เมื่อ: 21 มกราคม 2554, 18:29:39 »

พี่สิงห์ คะ
ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจ เป็นกำลังใจที่มีค่ามาก
เพราะวันนี้เพิ่งไปหาหมอมาค่ะ ปรากฎว่ากระดูกยังไม่ติด หมอยังไม่ให้ลงเท้าเหมือนเดิม ยาวถึงเดือน เม.ย. เลย  
เป็นอันว่าต้องนั่งๆนอนๆอีก ถึงเม.ย.แม้ว่าจะทำใจไปแล้วเพราะหากยังเจ็บอยู่ก็คงไม่ติดเร็วหรอก
ถึงอย่างนั้น  ฟังแล้วกำหนดจิตไม่ติดเลย ฟุ้งน่าดู
แต่เมื่อกลับมาอ่านข้อความของพี่สิงห์แล้วมีกำลังใจขึ้นมากจริงๆ
ได้อ่านโพฌชงค์ ซ้ำๆ หลายครั้ง เนื่องจากยังคิดตาม ไม่ค่อยเข้าใจมากนัก แต่จะพยายามคิดตามค่ะ
เท้าพี่สิงห์ละคะ เป็นอย่างไรบ้าง ยังเจ็บ ยังบวมอยู่หรือไม่ค่ะ
เข้าweb แล้วคะ ได้อ่านแล้วค่ะ
 แต่เสียงdownload ไม่ได้ค่ะ เข้าใจว่า web คงมีปัญหาในblog นั้น ค่ะ แต่จะลองเข้าไปดูบ่อยๆ ค่ะ
ขอบคุณในความกรุณาค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1372 เมื่อ: 21 มกราคม 2554, 21:03:04 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         พี่สิงห์เสียใจด้วยที่กระดูกยังไม่ติด   นึกเสียว่าเมื่อชาติก่อนเราคงไปทำกรรมไว้ ชาตินี้จึงต้องชดใช้กรรมนั้น คงเป็นการชดใช้กรรมชาติสุดท้ายแล้ว จะได้หมดเวรหมดกรรมในชาตินี้  ยังไม่ติดไม่เป็นไร อดทนเข้าไว้ อย่ายอมแพ้ใจตัวเอง พยายามสร้างความรู้สึกให้มากๆ ให้มีสติเข้าไว้เดี๋ยวก็มีสตินานๆ  การปวดก็จะลืมไปเองครับ
                         เท้าพี่สิงห์ยังเจ็บอยู่เวลาเดิน แต่พี่สิงห์ไม่คิดถึงมันเลย ตอนนี้ตื่นตีห้ามานั่งเจริญสติ พอหกโมงสิบห้าก็ไปเดินสายพานสิบห้านาทีฟ้าแจ้งก็ไปรำมวยจีน โยคะ นั่งเจริญสติ เจ็ดโมงครึ่งรับประทานอาหารเช้าเก้าโมงมีคนมารับไปทำงาน ตอนเย็นห้าโมงถึงหนึ่งทุ่ม ขี่จักรยาน รำมวยจีน โยคะ เดินจงกรม กินข้าวตอนหนึ่งทุ่ม สามทุ่มนอน กิจวัตรพี่สิงห์เป็นอย่างนี้ครับเมื่ออยู่ที่นครศรีธรรมราช

                          ขอบคุณ คุณเหยงมากครับที่เอาเรื่องอินเดียมาลงให้รับทราบ ผมมีศรัทธาตั้งใจไปในครั้งนี้ และผมไม่ได้ไปออกนอกเส้นทางมากนัก อยู่แต่บนรถ พุทธสถาน วัด คงมีสิ่งสกปรกไม่มาก ถ้ามีก็ถือว่าทุกสิ่งมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ผมเป็นคนติดดินอยู่แล้ว ลำบากมามาก ครั้งนี้ผมไปกับพระ ดร.มหาสุเทพ ท่านจัดรายการอยู่ที่วิทยุยานเกราะทุกวัน ท่านจัดเดือนละสองครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มีนาคม รถ-คนขับ ก็คนเดียว คันเดียว จัดแต่ละครั้ง 80 คน เติมทุกครั้ง อาหารไทยนำไปจากเมืองไทย ทำโดยคนไทย ถ้ามีปัญหาก็นึกว่าเป็นกรรมของเราครับ ขอบคุณ
                          ราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1373 เมื่อ: 22 มกราคม 2554, 08:06:52 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                        เย็นนี้ผมเดินทางกลับกรุงเทพฯ เวลา 15:55 น.
                        วันจันทร์ที่ 24 มกราคม เวลา 07:30 น. เดินทางไปเชียงราย โดย 1-2-go
                        วันอังคารที่ 25 มกราคม เดินทางไปเชียงใหม่ พักที่โครงการหลวงดอยอินทนนท์
                        วันพุธที่ 26  มกราคม เวลา 17:40 น. ออกเดินทางกลับกรุงเทพฯ
                        วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม เวลา 14:15 น. ออกเดินทางไปนครศรีธรรมราช
                        วันเสาร์ที่ 29 มกราคม เวลา 15:55 น.เดินทางกลับกรุงเทพฯ
                        อาทิตย์หน้าเลยเดินทางหนักหน่อยครับ และไม่ได้กลับสิงห์บุรีไปเยี่ยมแม่ เพราะรับปากเขาไว้แยะว่าจะไปเยี่ยมทั้งเชียงรายสองที่ไปสอนหนังสือให้กับลูกน้องคุณพัชรี และพรรคพวกเครือซีเมนต์ไทยอีกรายหนึ่ง ส่วนที่เชียงใหม่นั้นไปเยี่ยมคุณประพันธ์ และสอนบุคคลากรทบทวนการทำงานคอนกรีตผสมเสร็จและคอนกรีตอัดแรง มีเวลาจะแวะไปโรงพยาบาลจอมทองเพื่อตรวจสอบปริมาณสารอนุมูลอิสสระ สารก่อมะเร็ง และเยี่ยมคุณหมออุดม ด้วยครับ คงไม่มีโอกาสพบคุณน้องป้อม คุณน้องอ้อมทิพย์ และคุณน้องจุ๋ม ครับ
                        เย็นนี้ต้องขออภัยคุณกนกวรรณ-โสภณ ที่จัดงานสังสรรค์ครบรอบวันแต่งงานโดยมีปาร์ตี้ ร้องเพลงกับพวกเราชาวซีมะโด่ง ผมไม่สะดวกจริงๆ ครับ เพราะมีหลายสิ่งต้องกระทำที่บ้าน ต้องขออภัยด้วย
                        สวัสดีทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1374 เมื่อ: 22 มกราคม 2554, 08:59:35 »

สวัสดียามเช้าค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         เช้านี้พี่สิงห์มี "ธรรมมะ" ของพระพุทธเจ้ามาฝากครับ ลองพิจารณาดู
                                                
                                                         ฐานะ ๕ ที่ควรพิจารณาเนือง ๆ

                         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะ ๕ เหล่านี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนือง ๆ คือ :-
                         ๑. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
                         ๒. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
                         ๓. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
                         ๔. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งปวง
                         ๕. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรม(กรรม แปลว่า การกระทำ และผลแห่งการกระทำ) เป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น"

                          พิจารณาจนเกิดดวงตาเห็นธรรม คือเห็นไปตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ ไปสู่ กฎไตรลักษณ์ "อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา"

                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 53 54 [55] 56 57 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><