22 พฤศจิกายน 2567, 22:15:16
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความคิดเห็นพี่น้องชาวหอ เรื่องจัดตั้งชมรมพุทธฯ ประจำหอในจุฬาฯ  (อ่าน 6497 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tiantaro
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2553, 04:20:54 »

ผมคิดว่า หอพักจุฬาฯ น่าจะมีการจัดตั้งชมรมพุทธฯ ขึ้นมาประจำหอพัก เพื่อให้นิสิตได้ร่วมสวดมนต์ นั่งสมาธิกันภายในหอพัก และจัดกิจกรรมธรรมสัญจร ไปยังสถานที่ต่างๆ อาทิ ไปทำบุญ ถวายสังฆทาน นั่งสมาธิ บำเพ็ญประโยชน์ หากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ท่านใด สนใจและเห็นด้วยกับผม ช่วยแสดงความเห็น และ/หรือ แจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อไว้ด้วยจะดีมากครับ ตอนนี้ผมรวบรวมผุ้ที่สนใจได้ประมาณ 10 คนแล้วครับ

 ปิ๊งๆ หลั่นล้า บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #1 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2553, 04:25:36 »

ตื่นเช้าจัง ลุกมาทำวัตรเช้าหรือครับ
เดี๋ยวพี่จะนอนแล้ว
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
tiantaro
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2553, 04:29:07 »

ผมอยากให้มีชมรมพุทธฯ ประจำหอในมากเลย  จะได้มีเพื่อนสวดมนต์ด้วย ไปทำบุญด้วยกัน อะไรประมาณนี้ครับ
      บันทึกการเข้า
Neng-สวยเว่อ
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2553, 04:34:13 »

หะหะหะหะ

คือว่า อยู่ตึกพุดซ้อนค่ะ
ต้องการห้องพระมากๆเลยค่ะ
อยากสวดมนต์ดังๆ นั่งสมาธินานๆ
จะสวดมนต์เสียงดังในห้องก้ไม่ได้ นั่งสมาธิก็ลำบากใจนิดหน่อย
ที่อยากสวดมนต์ดังๆเนี่ยไม่ใช่อะไรค่ะ แค่อยากให้เทวดาหรือผีสางแถวนั้นมาร่วมโมทนา
สาธุ สาธุ ค่ะ ^^

 หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า
tiantaro
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2553, 04:34:59 »


พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฎิบัติเป็นแบบแผนไ้ว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญานสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฎิบัติธรรม ของเก่าดั้งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฎิบัติธรรมของเก่ามิให้คลาย เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป

สมดังปณิธาน ของสมเด็จสังฆราช ไก่เถื่อน และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฎิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฎิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาล โดยพระราหูเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสฌเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดีต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๑-๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฎิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่กรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับมาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป
ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรคมาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อแสดงปัญญาให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา ศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เรื่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง การปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฎิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฎิบัติเสื่อมถอยลง

ต่อมาล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งพระภิกษุไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ และสมถะพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงมีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความรู้ไม่ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็นสามคาบว่า

สัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา

ดังเช่น..... หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญานสังวรมหารเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

โทรศัพท์-โทรสาร ๐-๒๔๖๕-๒๕๕๒ , ๐๘๙-๓๑๖-๒๕๕๒

http://somdechsuk.com/

      บันทึกการเข้า
tiantaro
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2553, 05:02:30 »

ประวัติวัดราชสิทธาราม

วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร

ซอยอิสรภาพ ๒๓ แขวงวัดอรุณ อำเภอบางกอกใหญ่ กรุงเทพ ๑๐๖๐๐


http://www.somdechsuk.com/download/wat_plub_history.pdf







พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า
(สุกไก่เถื่อน)


บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท
วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (พลับ)


ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ประจำยุครัตนโกสินทร์


http://www.somdechsuk.com/download/bio_somdechsuk_brief.pdf
      บันทึกการเข้า
เพื่อนเดียว-69
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu69
กระทู้: 152

« ตอบ #6 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2553, 10:40:32 »

เห็นด้วย
ชุดกรรมการควรประกอบด้วยองค์ 5
      บันทึกการเข้า

หน้าที่ของมนุษย์ คือการศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม เพื่อยอมรับธรรม

ธรรม คือธรรมชาติของรูปนาม
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><