11 พฤศจิกายน 2567, 00:45:29
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: The Alumni of C'madong - Working Record...  (อ่าน 10330 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:54:34 »


http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4192.0.html

            จากโครงการฯนี้เยาวชนไทยในชนบทจะได้รับการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา โดยสาระสำคัญคือการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา ซึ่งโครงการต้นแบบนี้ เริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยเทคโนโลยีหลักที่ใช้คือ ไวแม็กซ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันนี้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนจำนวนหลายหมื่นคน บริเวณพื้นที่รัศมีโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวนทั้งสิ้น 21 โรงเรียน จะเป็นเยาวชนกลุ่มแรกที่ได้ใช้งานไวแม็กซ์

           การนำไวแม็กซ์ มาใช้ในด้านการศึกษาจะช่วยเติมเต็มและต่อยอดด้านการศึกษาให้กับเยาวชนไทยช่วยลดช่องว่างด้านการเรียนรู้  เนื่องด้วย ไวแม็กซ์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่มีรัศมีการรับส่งสัญญาณกว้างไกล สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้หลายตารางกิโลเมตร และยังมีความเร็วสื่อสารขอมูลสูงกว่าเทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบันหลายเท่า  ทั้งนี้ ไวแม็กซ์ สามารถรองรับการให้บริการระบบงานต่างๆได้เป็นอย่างดี อาทิ การสื่อสารข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet) ข้อมูลภาพ (Video) และข้อมูลเสียง (VoIP)       อีกทั้ง ไวแม็กซ์ ยังสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการบริการแบบมีสายเช่นในอดีต

          ไวแม็กซ์ในโครงการฯนี้ใช้เพื่อการสื่อสารและประยุกต์ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อาทิเช่น การใช้งานระบบห้องสมุดดิจิตอล (E-Libraries) ระบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom)        ซึ่งเป็นการจำลองห้องเรียน บทเรียน องค์ความรู้ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันมาเรียนกันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารไร้สายไวแม็กซ์  ซึ่งจะส่งผลให้ลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ก่อให้เกิดการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere-Anytime) ในลักษณะปฏิสัมพันธ์จริงระหว่างคุณครู และนักเรียนด้วยสื่อผสม (Multimedia-Edutainment) ทั้งภาพ เสียงและเนื้อหา ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนไปในคราวเดียวกัน เป็นการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายครู อาจารย์และนักเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของครู อาจารย์และนักเรียน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย


          โดยโครงการนี้ อาศัยรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนในชุมชนทั้ง 21 โรงเรียน โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. ทั้งนี้นอกเหนือจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา กล่าวคือ เด็กจะไม่เป็นเพียงผู้เรียนแต่เพียงอย่างเดียวแต่ยังสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนรู้จากคุณครู (Supply-Side Learning) มาทำการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับคุณครูผู้สอนและระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันไม่จำกัดแต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังสามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปันระหว่างเพื่อนต่างห้องเรียนและ แลกเปลี่ยนแบ่งปันกันระหว่างโรงเรียน (Collaboration) ได้อีกด้วย ก่อให้เกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ระหว่างเด็กนักเรียนด้วยกันเอง (Demand-Side Learning) นำไปสู่กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development) ในที่สุด


          ซึ่งในอนาคตยังสามารถที่จะขยายรูปแบบและหลักการ ปฏิบัติในลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปัน เช่นนี้ เพื่อการสร้างความรู้ การสร้างงาน การพัฒนาอาชีพของชุมชน โดยหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมดนี้ได้อิงตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษา ...
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #1 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:55:03 »



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #2 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:55:30 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:56:00 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:56:25 »



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #5 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:56:57 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #6 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:57:19 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #7 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2553, 23:57:58 »

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #8 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553, 00:00:43 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=UybWQ1zZcvQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=UybWQ1zZcvQ</a>
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #9 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553, 00:01:31 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=YKx_OutTWjI" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=YKx_OutTWjI</a>
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #10 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553, 00:02:14 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=tJagfc4O590" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=tJagfc4O590</a>
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #11 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553, 09:39:51 »


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #12 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553, 09:45:11 »


E-Commerce Magazine: http://www.ecommerce-magazine.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2885&Itemid=65

เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับเยาวชนในชนบท เกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้น รวมถึงเกิดเครือข่ายในการสร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนได้ จะดีแค่ไหน

 
เทคโนโลยี WiMAX คือเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายแบบล่าสุด ปัจจุบันหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้มีการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์กันไปแล้ว เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทยยังอยู่ในขั้นตอนของใบอนุญาตเพื่อการทดสอบ โดยมีผู้ได้รับอนุญาตทดสอบจำนวนหลายราย ซึ่งรวมกลุ่มถึงทีทีแอนด์ที ด้วย

ดร.มนตรี เจริญศรี ผู้อำนวยการโครงการไวแมกซ์ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า WiMAX เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง ที่มีรัศมีการรับส่งสัญญาณกว้างไกล สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้หลายตารางกิโลเมตร และยังมีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูงกว่าเทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบันหลายเท่า


หากเปรียบเทียบเทคโนโลยี กับระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G แล้ว รัศมีของ WiMAX สามารถครอบคลุมพื้นที่บริการประมาณ 48 กิโลเมตร ได้กว้างกว่า 3G ถึง 10 เท่า และมีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 5 เท่าทีเดียว

จุดเด่นของ WiMAX คือ ระยะทางที่ไกล ความเร็วที่สูง และไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณ ทำให้การติดตั้งอินเทอร์เน็ตในสถานที่ต่างๆ ทำได้ง่าย เพียงติดตั้งอุปกรณ์เสียบปลั๊กก็ใช้งานได้แล้ว ดังนั้น จึงสามารถตอบสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกล ที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปถึง ตลอดจนสนองความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้ว



WiMAX ลดช่องว่างทางการศึกษา


 ทีทีแอนด์ที เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในการนำเทคโนโลยี WiMAX มาประยุกต์ใช้งานจริงในโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้เมืองเชียงรายกลายเป็นเมืองไร้สายความเร็วสูงเพื่อการศึกษาซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย


ดร.มนตรีกล่าวว่า โครงการต้นแบบของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงนี้ เป็นการนำ WiMAX มาใช้ในด้านการศึกษาเพื่อช่วยเติมเต็มและต่อยอดด้านการศึกษาให้กับเยาวชนไทยในท้องที่ห่างไกล เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา รวมถึงสถาบันการศึกษาทั่วประเทศในอนาคตด้วย เพราะสามารถรองรับการให้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet) ข้อมูลภาพ (Video) และข้อมูลเสียง (VoIP)


ดร.มนตรีกล่าวเสริมว่า WiMAX จะช่วยพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ ช่วยลดช่องว่างด้านการศึกษาระหว่างนักเรียนในเมืองและนักเรียนในชนบทให้เหลือน้อยที่สุด เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จะช่วยในการสื่อสารและประยุกต์ใช้งานร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียน รวมถึงช่วยในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วย


ยกตัวอย่างเช่น การใช้งานระบบห้องสมุดดิจิตอล (E-Libraries) ระบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ซึ่งเป็นการจำลองห้องเรียน บทเรียน องค์ความรู้ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารไร้สาย ทำให้คุณครูกับนักเรียนสามารถ ลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา


นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดประสิทธิภาพด้านการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ อีกทั้งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการสื่อสารอีกเป็นจำนวนมาเมื่อเทียบกับรูปแบบการสื่อสารปกติในปัจจุบัน เช่น ระบบการประชุมออนไลน์ หรือ Web Conference การสื่อสารแบบ VoIP เป็นต้น


ดร.มนตรีกล่าวว่า โครงการนี้ นักเรียนจะไม่เป็นเพียงผู้เรียนแต่อย่างเดียว แต่ยังสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนรู้จากคุณครูมาทำการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับคุณครูผู้สอน และระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันโดยไม่จำกัดเพียงในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังสามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปันคุณครูผู้สอนและระหว่างเพื่อนต่างห้องเรียน และแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันระหว่างโรงเรียนได้อีกด้วย โดยผ่านเว็บบอร์ด และโปรแกรมแชตรูม


ซึ่งกิจกรรมเช่นนี้จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างเด็กนักเรียนด้วยกันเอง และนำไปสู่กระบวนการการพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงประสบการณ์ชีวิตหลังจากการจบการศึกษา ในอนาคตโครงการฯ นี้ยังสามารถขยายรูปแบบออกไปในลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปั้น เช่น การสร้างความรู้ สร้างงาน และพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง



โอกาสทอง ความสะดวกสบาย ในเมืองไร้สายความเร็วสูง


ด้วยข้อจำกัดของการใช้งานระบบ ADSL ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจำกัดชุมสาย ระยะทางระหว่างผู้ใช้กับชุมสาย รวมถึงจำนวนของโอเปอเรเตอร์ที่สามารถให้บริการได้ ทำให้กลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่อาศัยถูกจำกัดไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น การนำ WiMAX มาใช้จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้มากขึ้น และเกิดบริการต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย เช่น การดูทีวีหรือวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต และการพูดคุยผ่านทางอินเทอร์เน็ต (VoIP) เป็นต้น


ดร.มนตรี กล่าวว่า หากสิ้นปีนี้ กทช.ได้อนุมัติให้สามารถใช้เทคโนโลยี WiMAX ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว ทีทีแอนด์ที จะดำเนินการต่อยอดโครงข่าย WiMAX ที่ทำการติดตั้งไว้ในจังหวัดเชียงรายให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างครบถ้วน และสร้างโซลูชั่นเพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ได้


ดร.มนตรีกล่าวต่อว่า ทีทีแอนด์ทีจะนำประโยชน์จาก WiMAX มาพัฒนาเป็นโซลูชั่นให้แก่ลูกค้าองค์กร โดยยึดหลัก 3 อย่างคือ ลดค่าใช้จ่าย สะดวกสบาย และเพิ่มรายได้ ยกตัวอย่างห้างสรรพสินค้า เมื่อลูกค้าเดินเข้ามาในห้างสรรพสินค้าจะมี Pop-up โฆษณาสินค้า ประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นของทางห้าง ตลอดจนสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านแคตตาลอคออนไลน์ที่ปรากฏบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือทันที


นอกจากนี้ สามารถนำประโยชน์จากความเร็วของ WiMAX มาช่วยการในการติดต่อสื่อสารขององค์กรที่มีสำนักงานสาขาจำนวนมากได้ด้วย โดยใช้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ VoIP ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนค่าโทรศัพท์ขององค์กรอีกด้วย


ดร.มนตรีกล่าวต่อว่า สำหรับผู้ใช้ทั่วไปเทคโนโลยี WiMAX จะช่วยให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไม่มีติดขัด ต่อไปคอนเทนท์จะเกิดขึ้นจำนวนมหาศาลเนื่องจากความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เข้าถึงคอนเทนท์ได้รวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนท์วิดีโอ หรือทีวีอินเทอร์เน็ต


เมื่อเมืองทั้งเมืองกลายเป็นเมืองไร้สายความไร้สูง คนในเมืองจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ทุกอย่างสามารถสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ทำให้คนในอนาคตจะยิ่งผูกพันกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีเครือข่ายความเร็วสูงนี้จะทำให้ชีวิตประจำวันของคนเราง่ายและสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆ



LTE เทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงตัวล่าสุด


ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี LTE หรือ Long Term Evolution ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเริ่มต้นของระบบ 4G กำลังจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบเครือข่าย IP เช่นเดียวกับ WiMAX  โดยจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งมากกว่าความเร็วของ WiMAX ในตอนนี้สามารถใช้งานต่างๆ ได้เหมือน WiMAX ทุกอย่าง และเร็วกว่าด้วย


จุดเด่นของ LTE คือ เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ GSM ดังนั้น ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือระบบ GSM จึงต้องพัฒนาอุปกรณ์ที่รองรับ LTE คาดว่า เทคโนโลยีนี้จะสามารถจะให้บริการได้อีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า ต่อไปบนหน้าจอมือถือจะอัดแน่นไปด้วยคุณภาพของภาพหรือเสียง รวมถึงปริมาณคอนเทนท์ที่จะเกิดใหม่อย่างมหาศาล


“เมื่อเทคโนโลยี WiMAX กับ LTE เกิดขึ้นและพร้อมใช้งานพร้อมกันเมื่อไหร่ จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการ และจะทำให้วิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไปอย่างมาก” ดร.มนตรี กล่าวปิดท้าย
 


      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #13 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553, 09:54:40 »



ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 6 มิถุนายน 2552



ขณะนี้ การใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยได้เติบโตขึ้นจากหลายปีก่อน จากเดิมเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เคยพูดถึงบรอดแบนด์ 1 ล้านพอร์ต แต่ปัจจุบันเมื่อจำนวนการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่เป็นเป้าหมายต่อไปคือ การทำให้พื้นที่บริการครอบคลุมไปยังทุกส่วนของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือไวแมกซ์ ที่ล่าสุดได้ทดลองให้บริการนำร่องในพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดเชียงราย โดยบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีไวแมกซ์ใช้งาน แต่ส่วนหนึ่งยังไม่ทราบว่าไวแมกซ์นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ประเทศไทยพร้อมให้บริการหรือไม่ แล้วเมื่อผู้ให้บริการได้รับอนุญาตจาก กทช.ให้ดำเนินการให้บริการเชิงพาณิชย์ จะพร้อมเปิดให้บริการได้เมื่อใด

ผู้ที่ตอบคำถามนี้ได้ คงหนีไม่พ้น ดร.มนตรี เจริญศรี ผู้อำนวยการโครงการไวแมกซ์ บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ผู้รับผิดชอบโครงการ และเป็นแกนหลักคนหนึ่งของไทยในไวแมกซ์ฟอรัม ส่วนมุมมองต่อภาพรวมโครงสร้างอินเทอร์เน็ตเมืองไทย และการนำไวแมกซ์ไปใช้งานจะเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้ ณ บัดนี้...

IT Digest: มุมมองภาพรวมของโครงสร้างเครือข่ายบรอดแบนด์เมืองไทย

ดร.มนตรี: ขณะนี้ ตลาดอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีศักยภาพ (Potential Market) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอัตราส่วนประชากรต่อจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปี 2551 อยู่ที่ 20.5% และจํานวนผู้ใช้บริการมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 มีจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น 13,416,000 ราย เพิ่มสูงขึ้นถึง 483.3% เทียบกับปี 2543 สําหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ มีแนวโน้มขยายตัวแบบก้าวกระโดด ด้วยอัตราส่วนประชากรต่อจํานวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในปี 2551 อยู่ที่ 1.6% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 17.3% ในปี 2556 ในขณะที่ตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ มีจํานวนผู้ใช้งานลดลงอย่างชัดเจนนับจากปี 2548 เป็นต้นมา

เนื่องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ประจําที่ หรือ ฟิกซ์ไลน์ เช่น ทีทีแอนด์ทีเห็นว่า โทรศัพท์ประจำที่มีศักยภาพตลาดที่ลดลง จึงหันมาให้ความสนใจ และเตรียมที่จะส่งเสริมกิจกรรมการตลาดในบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น และต้องการขยายไปสู่การให้บริการ IP-based transit แก่ผู้ให้บริการรายย่อย รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้บริการไวแมกซ์ (WiMAX) ในอนาคต เพื่อกระตุ้นความต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง และขยายจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าว ชัดเจนในเขตพื้นที่เมืองใหญ่ หรือ พื้นที่เชิงพาณิชย์มากกว่าในระดับภูมิภาคที่ การใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ยังคงขยายตัวเข้าแทนที่อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำได้ช้ากว่า เนื่องจากข้อจํากัดด้านโครงข่ายและเทคโนโลยี

IT Digest: ปัญหาและอุปสรรคในการขยายโครงข่าย และการให้บริการรอดแบนด์

ดร.มนตรี: สำหรับในประเทศไทย รูปแบบการให้บริการบรอดแบนด์ ยังเป็นการให้บริการที่เน้นในเขตชุมชนอยู่ เนื่องจากพิจารณาในเชิงความคุ้มค่าต่อการลงทุน (Return on Investment) และปัญหาหลักๆ คือ สายเคเบิลทองแดงของไทยนั้น มีประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยจุดนี้แก้ปัญหาได้โดยการเปลี่ยนจากสายทองแดง เป็นเคเบิลไยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออปติคแทน แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในขณะนี้ WIMAX เป็นคำตอบของทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับการขยายการบริการ และโครงข่ายที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

IT Digest: ไวแมกซ์ เหมาะสมกับเมืองไทยมากน้อยแค่ไหนและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยได้ใช้ไวแมกซ์ช้ากว่าเพื่อนบ้าน

ดร.มนตรี: จากเหตุผลที่เล่าไปแล้ว ด้วยข้อจำกัดของการใช้งานระบบ ADSL ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจำกัดชุมสาย ระยะทางระหว่างผู้ใช้กับชุมสาย รวมถึงจำนวนของโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการได้ ทำให้กลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่อาศัยถูกจำกัด ไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการ รวมถึงการพยายามทำให้สัญญาณอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เข้าถึงพื้นที่ในชนบท

ดังนั้น การนำ WiMAX มาใช้จะตอบโจทย์ดังกล่าว และเกิดบริการต่างๆ ที่เรียกกันว่า ทริปเปิ้ลเพลย์ คือ บริการเสียง บริการภาพ และบริการเนื้อหา ในเครือข่ายเดียวได้มากขึ้นด้วย เช่น การพูดคุยผ่านทางอินเทอร์เน็ต (VoIP) เป็นต้น ซึ่งก้าวต่อไปของการพัฒนาคือการทำให้เป็น Home Gateway ขณะนี้ ในกลุ่มยุโรป และสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศที่เจริญแล้วในเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน ได้มีการเปิดให้บริการแล้ว สำหรับไวแมกซ์แล้วจำเป็นต้องได้รับไลเซนต์ หรือ ใบอนุญาตการให้บริการ หากยังไม่มีไลเซนต์ ก็ยังไม่สามารถให้บริการไวแมกซ์ได้ นั่นคือสาเหตุที่คนไทยได้ใช้งานไวแมกซ์ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน

IT Digest: จากการลองใช้งานจริงที่ ม.แม่ฟ้าหลวง ตอบสนองความต้องการได้อย่างไรบ้าง

ดร.มนตรี: โครงการที่ ม.แม่ฟ้าหลวงมีชี่อว่า “โครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ กทช. โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา อีกทั้งยังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สู่โรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ชนบท ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายครู ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และ เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาอาชีพของชุมชนในชนบท

จากโครงการฯ นี้เยาวชนไทยในชนบทจะได้รับการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา โดยสาระสำคัญคือการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา โดยโครงการต้นแบบนี้ เริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยเทคโนโลยีหลักที่ใช้ คือ ไวแมกซ์ ที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันนี้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนจำนวนหลายหมื่นคน บริเวณพื้นที่รัศมีโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวนทั้งสิ้น 21 โรงเรียนจะเป็นเยาวชนกลุ่มแรกที่ได้ใช้งานไวแมกซ์

การนำไวแมกซ์ มาใช้ในด้านการศึกษา จะช่วยเติมเต็ม และต่อยอดด้านการศึกษาให้กับเยาวชนไทย ช่วยลดช่องว่างด้านการเรียนรู้ เนื่องด้วย ไวแม็กซ์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่มีรัศมีการรับส่งสัญญาณกว้างไกล สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้หลายตารางกิโลเมตร และยังมีความเร็วสื่อสารข้อมูลสูงกว่าเทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบันหลายเท่า ทั้งนี้ ไวแมกซ์ สามารถรองรับการให้้บริการระบบงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ การสื่อสารข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet) ข้อมูลภาพ (Video) และข้อมูลเสียง (VoIP) อีกทั้ง ไวแม็กซ์ ยังสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการบริการแบบมีสายเช่นในอดีต

ไวแม็กซ์ในโครงการฯ นี้ใช้เพื่อการสื่อสารและประยุกต์ ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อาทิเช่น การใช้งานระบบห้องสมุดดิจิตอล (E-Libraries) ระบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ซึ่งเป็นการจำลองห้องเรียน บทเรียน องค์ความรู้ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันมาเรียนกันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารไร้สายไวแม็กซ์ ซึ่งจะส่งผลให้ลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ก่อให้เกิดการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere-Anytime) ในลักษณะปฏิสัมพันธ์จริงระหว่างคุณครู และนักเรียนด้วยสื่อผสม (Multimedia-Edutainment) ทั้งภาพ เสียงและเนื้อหา ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนไปในคราวเดียวกัน เป็นการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายครู อาจารย์และนักเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของครู อาจารย์และนักเรียน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย

โครงการนี้ อาศัยรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนในชุมชนทั้ง 21 โรงเรียน ด้วยการสนับสนุนจาก กทช.ทั้งนี้นอกเหนือจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาที่ เด็กจะไม่เป็นเพียงผู้เรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนรู้จากคุณครู (Supply-Side Learning) มาทำการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับคุณครูผู้สอน และระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน แบบไม่จำกัดแต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังแลกเปลี่ยนแบ่งปันระหว่างเพื่อนต่างห้องเรียน และแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันระหว่างโรงเรียน (Collaboration) ได้อีกด้วย

สิ่งที่กล่าวมาก่อให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ระหว่างเด็กนักเรียนด้วยกันเอง (Demand-Side Learning) นำไปสู่กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development) ในที่สุด ในอนาคตยังขยายรูปแบบและหลักการ ปฏิบัติในลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปัน เช่นนี้ เพื่อการสร้างความรู้ การสร้างงาน การพัฒนาอาชีพของชุมชน โดยหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมดนี้ ได้อิงตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษา

IT Digest: ทิศทางของทีทีแอนด์ที กับการใช้บรอดแบนด์ ผ่านไวแมกซ์

ดร.มนตรี: หาก กทช. ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้เทคโนโลยี WiMAX ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว ทีทีแอนด์ที จะดำเนินการต่อยอดโครงข่าย WiMAX ให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างครบถ้วนพัฒนาเป็นโซลูชั่นด้านการศึกษา คือ สมมุติว่า กทช.ออกใบอนุญาตภายใน ก.ค.2552 ทีทีแอนด์ทีจะให้บริการไวแมกซ์ได้ภายใน 6 เดือน หรือปลายปี 2552 หลังจากปรับปรุงโครงข่ายเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้แล้ว ยังจะสร้างโซลูชั่นเพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ได้ โดยจะนำประโยชน์จาก WiMAX มาพัฒนาเป็นโซลูชั่น ที่จะยังประโยชน์ให้แก่ลูกค้าในเชิงธุรกิจอีกด้วยโดยยึดหลัก 3 ประการสำหรับลูกค้าคือ 1.ลดค่าใช้จ่าย 2.สะดวกสบาย และ3.เพิ่มรายได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า เมื่อลูกค้าของห้างเดินเข้ามาในห้างสรรพสินค้าจะมี Pop-up โฆษณาสินค้า ประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นของทางห้าง ตลอดจนสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านแคตตาล็อคออนไลน์ ที่ปรากฏบนหน้าจออุปกรณ์เคลื่อนที่ อาทิ เน็ตบุ๊คหรือ โทรศัพท์มือถือที่รองรรับไวแม็กซ์ ได้ทันที

นอกจากนี้ สามารถนำประโยชน์จากไวแมกซ์ มาช่วยการในการติดต่อสื่อสารขององค์กรที่มีสำนักงานสาขาจำนวนมากได้ด้วย โดยใช้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ VoIP ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนค่าโทรศัพท์ขององค์กร รวมถึงการพัฒนาโซลูชั่นด้านความปลอดภัยเช่นระบบกล้องวงจรปิดไร้สาย ซึ่งจะทำให้ระบบการรักษาความปลอดภัยมีประหยัดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น

IT Digest: กลยุทธ์ของทีทีแอนด์ที ต่อการผลักดันสังคมไทยสู่องค์ความรู้เป็นอย่างไร

ดร.มนตรี: การผลักดันสังคมไทยสู่สังคมแห่งความรู้ หรือ Knowledgebase Society นั้นจำเป็นต้องร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน สำหรับทีทีแอนด์ที มองแนวคิดในเชิงของสังคมแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปัน โดยพื้นฐานนั้นสอดคล้องกับแนวคิดและการดำเนินการในโครงการต้นแบบฯ ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และกทช. โดยการเริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาสื่อและองค์ความรู้ การสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม ผลผลิต (Productivities) และคุณภาพการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนตลอดจนความยั่งยืนของโครงการฯ

IT Digest: หาก กทช.ไม่ออกใบอนุญาตไวแมกซ์ในปีนี้ ยังมีเทคโนโลยีทางเลือกอื่นๆ เพื่อให้บริการลูกค้าอีกหรือไม่

ดร.มนตรี: ขณะนื้ ระหว่างรอใบอนุญาตไวแมกซ์ ทีทีแอนด์ทีได้จับมือกับพันธมิตรคือ อินเทลและเบนคิว จัดทำโครงการ “MAX IQ โน๊ตบุ๊คอัจฉริยะ” “Max IQ โน๊ตบุ๊กอัจฉริยะ – ใช้เน็ตไม่อั้น” ผ่านบริการ Maxnet บรอดแบนด์และไวไฟ “Max IQ โน๊ตบุ๊กอัจฉริยะ – โทรหากันฟรี” บนบริการ VoIP และ “MAX IQ โน๊ตบุ๊คอัจฉริยะ – ความรู้ดีๆจาก E-Book Online” เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพใน การสอบเข้ามหาวิทยาลัย การเรียน และความรู้ทั่วไป ที่น่าสนใจอีกมากมาย เพื่อการสร้างสรรค์สังคมแห่งความรู้

จากประสบการณ์ที่เราได้ร่วมทำโครงการศูนย์ต้นแบบทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติ โดยมีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและกทช. เป็นผู้ริเริ่ม นั้น เราพบว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในโครงการฯ เพื่อการเข้าถึง หนังสือหรือบทเรียนออนไลน์ เยาวชนจะได้รับการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา โดยสาระสำคัญ คือ การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน

สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ลดข้อจำกัดด้านเวลา และสถานที่ก่อให้เกิดการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere-Anytime) ในลักษณะปฏิสัมพันธ์จริงระหว่างครู และนักเรียนด้วยสื่อผสม (Multimedia-Edutainment) ทั้งภาพ เสียงและเนื้อหา ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนไปในคราวเดียวกัน ถือเป็นการเตรียมบริการและคอนเทนท์ต่างๆ ให้พร้อมรอรับการให้บริการ เพื่อที่เมื่อมีการให้บริการจริง จะได้ไม่ต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่

IT Digest: มองการทำงานของกระทรวงไอซีที และกทช.ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และอยากให้เร่งดำเนินการด้านใดบ้าง

ดร.มนตรี: อยากให้กำลังใจคนทำงานทุกคนทั้งภาครัฐบาล เอกชน หรือ กทช. เวลานี้สังคมไทยของเรา ต้องให้กำลังใจกัน เหมือนกับเราเชียร์นักกีฬาไทย ที่ต้องออกไปแข่งขันกับต่างประเทศ เพื่อนำชัยชนะมาสู่ประเทศของเรา เมื่อ 28-29 เม.ย.2552 ที่ผ่านมา ส่วนตัวได้รับเกียรติเชิญ เข้าร่วมการบรรยายในงาน WiMAX Forum Congress ASIA ณ ประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับอีกหลายประเทศทั่วโลก สิ่งที่พบคือความตื่นตัวในการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการพัฒนาประเทศของหลายๆประเทศ อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของไวแมกซ์หากมองไปรอบๆบ้านเราพบว่า (ข้อมูลจาก WCIS: World Cellular Information Services) มาเลเซีย เริ่มให้บริการเมื่อ มิ.ย.2548 กัมพูชา เริ่มให้บริการเมื่อ ก.พ.2549 พม่า เริ่มให้บริการเมื่อ พ.ย.2550 และ ลาว เริ่มให้บริการเมื่อ ก.ย.2551

ในเมื่อประเทศไทยต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในเวทีโลก จึงต้องพยายามรู้เขารู้เรา พิจารณาดูว่าเพื่อนบ้านเขาไปถึงไหน แล้วเราอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ ทั้งภาครัฐและเอกชน อะไรที่ช่วยเหลือเสริมกันได้ควรจะลงมือทำ โดยทุกประเทศที่อยู่ในไวแมกซ์ฟอรัม ต่างมีนโยบายการใช้ไอซีทีพัฒนาประเทศเป็นวาระแห่งชาติ เมืองไทยอาจจะนำเอาตัวอย่างเหล่านี้ มาปรับใช้ ตรงไหนทำได้ หรือไม่ได้ต้องมาช่วยกัน ดังนั้นที่กล่าวมานี้จึงมองว่าเป็นเวลาที่คนไทยต้องให้กำลังใจกัน และช่วยกันมากกว่า

IT Digest: อยากฝากอะไรถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์บ้าง

ดร.มนตรี: ผมมีแนวคิดว่าอยากจะมอบ ซอฟแวร์ห้องเรียนเสมือนจริง และการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องให้กับ โรงเรียนต่างๆ ที่ต้องการ นำไปใช้ในการเรียนการสอน เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ทำขึ้นมานี้ จะมีประโยชน์มากพอสมควร อีกทั้งยังเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา สร้างการเรียนการสอนแนวใหม่ ไม่น่าเบื่อเด็กๆ ไม่ต้องมาอ่านตำราเพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตร่วมด้วยได้ ขณะเดียวกันเมื่อกลับมาที่การใช้อินเทอร์เน็ต ต้องใช้ให้คุ้มค่ากับประโยชน์ที่มีอยู่ เวลานี้การนำไวแมกซ์มาใช้งานยังไม่ช้าเกินไป เพราะเทคโนโลยีนี้ยังใหม่อยู่ได้อีกหลายปี

ขณะที่ การแข่งขันที่มากขึ้นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจากนี้ไป ก็เป็นโอกาสของผู้บริโภค ที่จะเลือกสินค้าที่คุ้มค่า และบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ไม่เป็นการผูกขาด อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกคนในสังคมอยู่ในโลกความเป็นจริง เปิดใจมองว่าสังคมกำลังก้าวไปทางไหน แล้วเราเดินไปร่วมกัน เพราะหากคนในประเทศทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ก็จะเกิดแนวทางการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน และการที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ จะไม่ใช่เรื่องยากที่จะไปให้ถึง...

      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #14 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2553, 12:06:05 »

ขอบคุณ TT&T และน้อง ดร.มนตรีที่สนับสนุนการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาที่ จ.เชียงรายนะคะ
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #15 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553, 18:52:02 »

อ้างถึง
ข้อความของ pusadee sittipong เมื่อ 19 มิถุนายน 2553, 12:06:05
ขอบคุณ TT&T และน้อง ดร.มนตรีที่สนับสนุนการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาที่ จ.เชียงรายนะคะ

สวัสดีครับพี่ป้อม... ขอบคุณครับ

สำหรับโครงการต้นแบบฯ จ.เชียงราย ขออนุญาตให้เครดิต ม.แม่ฟ้าหลวง และกทช. ในฐานะเจ้าของโครงการ ครับพี่
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #16 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2553, 09:11:21 »

Speaker @KL.

WiMAX Forum Southeast Asia Regional Focus 2010 will be held on 22-25 November at Ritz-Carlton, Kuala Lumpur, Malaysia, under the theme of “WiMAX Innovation and Evolution to Accelerate the Growth of Wireless Broadband in Emerging Markets”. Endorsed by WiMAX Forum and fully supported by Malaysian government authorities – MCMC and MOSTI.



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #17 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2553, 13:49:03 »



ที่มา:ไทยรัฐออนไลน์

"วัดฝั่งหมิ่นวิทยา" สงฆ์กลุ่มแรกที่สัมผัสไวแมกซ์

          สาเหตุที่ทำให้พระภิกษุและสามเณรในวัดฝั่งหมิ่นวิทยาเป็นคณะสงฆ์ไทยกลุ่มแรก ที่ได้ใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง"ไวแมกซ์"อย่างจริงจัง คือการที่โรงเรียนวัดฝั่งหมิ่นวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญในจังหวัดเชียงราย ถูกเลือกให้เป็นสถานที่ติดตั้งไวแมกซ์ในโครงการต้นแบบศูนย์ศึกษาทางไกลเพื่อ การศึกษาและพัฒนาชนบทฯ ผลคือพระอาจารย์และสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯแห่งนี้จะได้ใช้ประโยชน์ จากไวแมกซ์ก่อนใครในประเทศไทย
       
       คำบอกเล่าของพระมหาวิสณุรักษ์ พระอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนวัดฝั่งหมิ่นวิทยาต่อไปนี้ จะทำให้คุณต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่า การศึกษาในโรงเรียนปริยัติธรรมคงจะครอบคลุมเฉพาะเรื่องธรรมะอย่างเดียว โดยพระอาจารย์ยืนยันความตั้งใจว่า สามเณรที่จบจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญนี้ "ต้องเขียนเว็บเป็น"
       
       "โรงเรียนนี้มีสามเณรมาศึกษากว่า 200 รูป พระอาจารย์ 8 รูป และครูฆราวาส 7 คน พระภิกษุก็ต้องเรียน ต้องพัฒนาความรู้และอารมณ์ เราได้ครูจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมาสอนภาษาจีนด้วย มีทุนเรียนดี มีการทัศนศึกษา มีการทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนฆราวาสในชุมชน จบมาได้วุฒิไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยได้ กระทรวงศึกษาให้การรับรองเหมือนโรงเรียนทั่วไป
       
       หลายคนมองว่าโรงเรียนในวัดน่าจะมีแค่นักธรรมบาลี แต่โรงเรียนนี้เป็นแผนกสามัญศึกษา อยู่ในความคุ้มครองของกระทรวงศึกษาธิการ มีการประเมินคุณภาพ แต่สิ่งที่แตกต่างคือเราไม่มีวิชาพละ ไม่มีลูกเสือเนตรนารีแต่เน้นเรื่องภาษาบาลีแทน จากเตะฟุตบอลก็เปลี่ยนมาเป็นบิณฑบาต จากพละก็เป็นโยคะและเดินจงกรม
       
       จุดมุ่งหมายของการใช้ไวแมกซ์ที่โรงเรียนวัดฝั่งหมิ่นวิทยา เกิดเพราะความต้องการพัฒนาครูและชุมชน ครูทั้งที่เป็นพระภิกษุและฆราวาสกว่า 15 คนของโรงเรียน ขณะนี้ทำสื่อการสอนอย่าง eBook เป็นแล้ว ทางม.แม่ฟ้าหลวงเข้ามาอบรมเรื่องการทำเว็บไซต์ให้ด้วย ร่วมกับการทำ 3D Animation และการจัดรายการวิทยุ ซึ่งตอนนี้ สามเณรของโรงเรียนก็เริ่มจัดรายการวิทยุเพื่อกระจายข่าวสารความรู้แก่ชาว บ้านแล้ว
       
       หลังได้รับไวแมกซ์มาใช้ ยอมรับว่าชุมชนยังขาดความรู้เรื่องโปรแกรมเบื้องต้น แต่ส่วนใหญ่ตื่นเต้น ซึ่งเป็นเรื่องดีที่กลุ่มชาวบ้านอายุ 40-50 ปีมีความตื่นตัว
       
       ไวแมกซ์ทำให้เด็กๆได้ค้นหาข้อมูล ก่อนนี้เน็ตช้าและจำกัดให้ใช้แค่ครู นร.จะใช้งานก็ต้องไปซื้อชั่วโมง 20 บาท มีอินเทอร์เน็ตหูตาก็เปิดกว้าง แค่พิมพ์ก็ค้นหาข้อมูลเจอแล้ว แต่ถ้าเป็น"เว็บต้องห้าม" เราก็ป้องกัน ซึ่งโดยรวมแล้ว เด็กได้เรียนรู้มากขึ้น
       
       อาตมามีความคิดว่า เด็กที่จบจากโรงเรียนนี้ไปจะต้องเขียนเว็บเป็น เด็กหรือสามเณรไม่ได้เป็นพระภิกษุตลอดไป ถ้าจะไม่เป็นพระภิกษุก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ถ้าจะเป็นพระภิกษุก็ต้องเป็นพระภิกษุที่ดี
       
       โรงเรียนจะดูแลไม่ให้สามเณรเข้าเว็บไซต์อนาจาร จะมีพระอาจารย์เดินตรวจตราใกล้ชิด พบเมื่อไรจะทำโทษ ยอมรับว่าเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นสารพัด แต่เชื่อว่าถ้าใช้เทคโนโลยีให้ถูกทางก็จะเป็นประโยชน์
       
       ร้านอินเทอร์เน็ตบางร้าน มีการเปิดประตูหลังให้สามเณรแอบเข้าไปเล่นเกมทางหลังร้านด้วย อาตมาเคยเอาตำรวจไปขู่มาแล้ว
       
       ณ ตอนนี้ ชุมชนที่ใช้ประโยชน์ได้จากเครือข่ายไวแมกซ์คือชุมชนฝั่งหมิ่น สามารถเดินมาขอใช้อินเทอร์เน็ตได้ในวันอาทิตย์ ชุมชนในพื้นที่ไกลๆอาจมีคอมพิวเตอร์อยู่แล้วที่บ้าน
       
       เริ่มต้นใช้งานช่วงแรกมีปัญหาบ้าง แต่บริษัทก็เข้ามาแก้ไข แจ้งไปก็มาแก้ หลายวันมานี้เน็ตไม่หลุดเลย ถือว่าแก้ไขไปก็ดีขึ้นเรื่อยๆ และต้องถือว่าพวกเราเรียนรู้ได้ไว มีการศึกษาเรียนรู้เองเพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนกันระหว่างศูนย์ศึกษาใน โรงเรียนอื่น
       
       ห้องคอมพิวเตอร์ที่ได้จากโครงการนี้เป็นห้องที่สองของโรงเรียน ก่อนหน้านี้ กทช. และทีทีแอนด์ทีได้มาทอดกฐิณสร้างไว้ให้ 21 เครื่องเมื่อปีที่แล้ว แต่ตอนนี้บางเครื่องมีปัญหา
       
       อาตมามองว่าการใช้เทคโนโลยีในการเผยแผ่พระศาสนาเป็นสิ่งจำเป็น สมัยก่อน การเผยแผ่ศาสนาเป็นไปอย่างลำบาก กว่าจะได้ฟังธรรมต้องเดินทางไกล แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นพระมหาสมปองหรือท่าน ว. วชิรเมธี ก็ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหมดแล้ว อย่างอาตมาคิดอะไรไม่ออก ก็ไปคลิกๆแล้วนำมาเทศน์ต่อได้
       
       คุณโยมลองไปเสิร์ชดู จะเห็นว่าไม่ว่าธรรมะบทไหนก็มี เพราะฉะนั้นการเผยแผ่ธรรมะผ่านอินเทอร์เน็ตล้วนมีข้อดี สาธุชนอยากฟังอะไรก็ได้ฟัง ไม่ต้องเสียค่ารถหรือซื้อหนังสือ เป็นประโยชน์มหาศาล คนไทยอยู่ประเทศไหนก็สามารถฟังธรรมได้ ทำบุญได้ ไม่ใช่ว่าจะทำบุญแล้วต้องมาที่เมืองไทยอย่างเดียว
       
       เทศบาลเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณโรงเรียน เริ่มก่อสร้างด้วยเงิน 1 ล้านบาท แต่ยังมีปัญหาในการของบประมาณและแรงสนับสนุนจาก อบต. เพราะโรงเรียนตั้งอยู่ก้ำกึ่งในเขตเทศบาลและตำบลริมกก เมื่อของบประมาณไปทาง อบต.ริมกกกลับผิดระเบียบและทำไม่ได้
       
       งบประมาณส่วนใหญ่ใช้ไปกับเงินเดือนครูและค่าอาหาร เฉพาะบิณฑบาตรอย่างเดียวไม่พอ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนราว 250,000 บาท ต้องใช้รถรับส่งสามเณรจากต่างวัดเข้ามาเรียนในโรงเรียน นร.สามารถเรียนได้ฟรี เข้า ม.1 เสียเฉพาะค่าประกันหนังสือ 200 บาท และค่าทำบัตรนักเรียนอีก 50 บาท ถ้ายืมหนังสือแล้วส่งคืนครบก็ได้จะได้คืนตอน ม.3 เท่ากับเรียน 3 ปีจ่าย 250 บาท สมุดแจกฟรี บวชฟรี และเรียนฟรี
       
       ตอนนี้โรงเรียนวัดฝั่งหมิ่นวิทยากำลังพัฒนาเว็บไซต์ใหม่ ที่ผ่านมามีการสอนตัดต่อวิดีโอ และมีการส่งหนังสั้นด้านศาสนาเข้าประกวดกับทางกันตนาด้วย ทั้งหมดนี้อาตมาเชื่อว่าเป็นเรื่องดีหากสามารถดึงเด็กมาเข้าวัด มาบวชเพื่อศึกษาได้ อย่างน้อยก็เป็นทางเลือกที่ทำให้เด็กเข้ามาใกล้ชิดวัดมากขึ้นกว่าเดิม"
       
       ชื่อเต็มของโครงการไวแมกซ์เพื่อการศึกษาในจังหวัดเชียงรายคือ โครงการต้นแบบศูนย์ศึกษาทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับงบประมาณและการสนับสนุนจาก กทช. มูลค่า 70 ล้านบาท ให้ศึกษาข้อดีข้อเสียของการจัดตั้งศูนย์ศึกษาทางไกลในโรงเรียนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3 ระบบ ได้แก่ระบบไวแมกซ์ความเร็วเฉลี่ย 4 เมกะบิตต่อวินาที (ติดตั้งใน 8 โรงเรียน) ระบบ ADSL ความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที (12 โรงเรียน) และอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมไอพีสตาร์ ความเร็ว 1 เมกะบิต (1 โรงเรียน)
       
       ระบบไวแมกซ์ใน 8 โรงเรียนเมืองเชียงราย (รวมโรงเรียนวัดฝั่งหมิ่นฯแล้ว) ถูกการันตีว่าเป็นการติดตั้งเพื่อใช้งานจริงด้านการศึกษาครั้งแรกในประเทศ ไทย ดำเนินการติดตั้งโดยกิจการค้าร่วม 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ทีทีแอนด์ที เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัท จัสมิน เทเลคอมซิสเต็มส์ จำกัด และ บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ ใช้อุปกรณ์ของ ซิสโก้ ซิสเต็มส์ เครือข่ายมีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นศูนย์กลาง และมีกทช.เป็นผู้จัดสรรคลื่นความถี่ให้ตลอดระยะโครงการที่ยังเหลืออีก 2 ปี
       
       การประเมินโครงการจะครอบคลุมถึงความสามารถครู นักเรียน และชุมชน โดยจะวัดผลจากคะแนนสอบของครูและนักเรียนว่ามีความสามารถเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร หลังการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในการเรียนการสอน รวมถึงจะมีการวัดดัชนีการรับรู้ข่าวสารของชุมชนว่ามีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง หรือไม่อย่างไร โดยหลังพ้นช่วงโครงการมีแผนจะผลักดันให้กระทรวงศึกษาและองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่นนำไปเป็นต้นแบบในพื้นที่ชนบทของไทยต่อไป
       
       ประวัติ
       
       พระมหาวิสณุรักษ์  วิโรทรํสี
       ตำแหน่ง    ครูใหญ่
       การศึกษา  ปริญญาตรี
       ภูมิลำเนา   จังหวัดสุรินทร์
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><