Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 08 มีนาคม 2553, 10:54:33 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 20:36:31 » |
|
การประชุมครม.เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 53 มีการอนุมัติให้ใข้กฎหมาย และเห็นชอบแผนงานโครงการ ที่สำคัญ ดังนี้ ฯลฯ @ อนุมัติประชุมประเทศลุ่มน้ำโขง ครม.อนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 1 (1st MRC Summit) ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2553 ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 103,568,360 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกันของผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ในการดำเนินการตามความตกลงว่า ด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาค และเพื่อเพิ่มความร่วมมือกับประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนบน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพพม่า และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ประเด็นที่สำคัญในการบริหารจัดการลุ่มน้ำระหว่างลุ่มน้ำนานาชาติ ฯลฯ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1268132731&grpid=03&catid=no
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 10 มีนาคม 2553, 07:54:08 » |
|
ทุกปัญหา แก้ได้ด้วย สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา และ มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามด้านที่ 3 ให้ทำจริง
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3970.0.html
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 10 มีนาคม 2553, 10:17:20 » |
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553, 10:37:49 » |
|
ที่มา: ผู้จัดการ วันพฤหัสบดี ที่ 11 มีนาคม 2553
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 12 มีนาคม 2553, 07:51:54 » |
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 15 มีนาคม 2553, 12:56:30 » |
|
เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์--ขณะที่เกิดปรากฎการณ์น้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลงต่ำสุดครั้งประวัติการณ์ พร้อมกับเสียงโจมตีจีนกักน้ำไว้ในเขื่อนร่วม 10 หลังที่ตั้งอยู่บริเวณตอนบนของแม่น้ำโขงในประเทศจีน เป็นเหตุสร้างความเดือดร้อนแก่กลุ่มชาติลุ่มน้ำโขง ทั้งกัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย ในครั้งนี้
ในกรุงปักกิ่ง ก็มีการรายงานถึงผลกระทบจากโครงการเขื่อนใหญ่เป็นข่าวเล็กๆ โดยผู้แทนประชาชนของจีนได้เผยถึงความเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติที่กลัวมากจากเขื่อนสามโตรก หรือซันเสีย (Three Gorges) ซึ่งเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลกที่จีนได้สร้างขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั่วโลกเช่นกัน
สื่อจีน เป่ยจิง ไทมส์ เผยว่า นาย ถัง ซีเว่ย รองนายกเทศมนตรีนครฉงชิ่ง ได้แถลงต่อที่ประชุมสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน (เอ็นพีซี) หรือรัฐสภาระหว่างการประชุมประจำปีในสัปดาห์นี้ ระบุว่าขณะนี้พื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำของเขื่อนสามโตรก กำลังประสบปัญหาน่าวิตก จากภัยพิบัติทางธรณีวิทยา การกลายสภาพเป็นทะเลทราย และมลพิษน้ำ
นับจากเขื่อนสามโตรกผุดขึ้นมา ก็มีรายงานข่าวแผ่นดินถล่มบ่อยครั้ง ซึ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเป็นผลกระทบจากเขื่อน และในการแถลงต่อรัฐสภา นายถัง รองพ่อเมืองฉงชิ่ง สรุปข้อมูลล่าสุดว่า ได้เกิดภัยพิบัติทางธรณีวิทยาแล้ว 252 ครั้งในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนสามโตรก นอกจากนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญยังได้คาดการณ์กันว่าอาจเกิดภัยพิบัติในบริเวณอ่างเก็บน้ำอีก 2,500 แห่ง หากน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้จีนได้ระงับแผนการเพิ่มระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสามโตรกในเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา ซึ่งตามแผนฯจะเพิ่มถึง 175 เมตร เนื่องจากกลัวภัยพิบัติแผ่นดินถล่มจะสูงขึ้นตามด้วย นอกจากนั้น ระดับน้ำที่เพิ่มยังอาจทำให้รอยแยกจากแผ่นดินถล่มเดิม เกิดปริแยกออกไปอีก เนื่องจากดินบริเวณรอบเขื่อนจะยิ่งอิ่มน้ำ และอ่อนตัวลง
และก่อนหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจีนได้ชี้ว่าปัญหาภัยพิบัติทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นลางบ่งชี้ถึง “ปัญหาที่ไม่อาจคาดหมาย” จากผลกระทบเขื่อนสามโตรก ดังนั้น นครฉงชิ่งจึงได้เสนอแผนโยกย้ายคนออกจากพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำอีก 4 ล้านคนระหว่าง 10 ปีข้างหน้านี้ มากกว่าการอพยพในช่วงก่อสร้างเขื่อนถึง 3 เท่า! โดยแผนนี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเมื่อปีที่แล้ว
เขื่อนสามโตรก เป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในพื้นที่หุบเขาซีหลิงเสีย เมืองอี๋ชัง ในมณฑลหูเป่ย ที่มีระบบนิเวศวิทยาที่เปราะบาง ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับเขตตะวันออกเฉียงเหนือของมหานครฉงชิ่ง ความมโหฬารของเขื่อนสามโตรก เฉพาะตัวเขื่อนมีความยาวร่วม 3 กิโลเมตร และต้องปล่อยน้ำท่วมเมืองต่างๆที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแยงซีเกียง 116 เมือง เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำซึ่งมีความยาว 640 กิโลเมตร ในตอนนั้น จีนต้องโยกย้ายประชากรออกจากพื้นที่ 1.4 ล้านคน ซึ่งได้ทุบสถิติด้านการย้ายคนออกจากพื้นที่ครั้งใหญ่สุดในโลกเช่นกัน จีนใช้เวลาสร้างเขื่อนยักษ์นี้นาน 15 ปี เริ่มจากปี 2537 โดยเฟสสุดท้ายแล้วเสร็จเมื่อปี 2552 สำหรับงบประมาณก่อสร้างเขื่อนสามโตรกที่เปิดเผย เท่ากับ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ.
ที่มา : http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000034492
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 24 มีนาคม 2553, 09:42:52 » |
|
เมื่อจีนพร้อมร่วมโต๊ะ 'ประชุมสุดยอดแม่น้ำโขง' โดยกาแฟดำ ข่าวบอกว่ารัฐบาลจีน จะส่งผู้แทนระดับรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม สุดยอดผู้นำลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างครั้งที่ 1 ที่เรียกว่า MRC (Mekong Region Commission) Summit ท่ามกลางข่าวความแล้งของ "มหานทีแม่โขง" อย่างน่าเป็นห่วงนั้น นี่เป็นข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
เพราะจะเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลจีน เห็นความสำคัญของปัญหา ของประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างมากพอ ที่จะส่งคนระดับสูงที่มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือที่จะทำให้ระดับนำที่ปักกิ่งเห็นปัญหาอย่างแท้จริง จากมุมมองของประเทศอีกห้า ประเทศที่เป็นเจ้าของร่วมของแม่โขงที่มีต้นน้ำในจีน และมีความยาว 4,800 กิโลเมตรที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของคนใต้น้ำหลายสิบล้านคน รายละเอียดของข่าวบอกว่าการประชุมสุดยอดแม่น้ำโขงครั้งนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน นี้ ที่หัวหิน
ขณะเดียวกันผมก็ได้ข่าวว่าวันที่ 3 เมษายน นี้ จะมีชาวบ้านในเขต อ.เชียงแสน อ.เชียงของ และอ.เวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยชาวอีสาน ที่อาศัยริมฝั่งโขงประมาณ 300 คนจะเดินทางมายื่นหนังสือ ณ สถานทูตจีน ที่กรุงเทพฯ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ ว่า "แม่น้ำโขงต้องไหลอย่างอิสระ"
และจะเรียกร้องให้รัฐบาลจีนเปิดเผยข้อมูลการจัดการเขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนบน โดยให้คำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่น่าติดตามคือระหว่างที่จะมี MRC Summit ที่หัวหินนั้น องค์กรภาคประชาชน และองค์การพัฒนาเอกชนที่ติดตามตรวจสอบเรื่องแม่น้ำโขง จะจัดเวทีคู่ขนานขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรุงเทพฯ ในช่วงวันที่ 1-2 เมษายน โดยจะเปิดเวทีวิชาการ เพื่อระดมนักนิเวศวิทยาจากประเทศแม่โขงตอนล่างทั้งไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เรื่องร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกัน อีกทั้งยังมีเวทีชาวบ้านให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในจีน มาพูดคุยถึงผลกระทบและความวิตกกังวลต่อแผนการสร้างเขื่อนในจีน
ความจริง จีนไม่ได้เป็นสมาชิกของ MRC และที่ผ่านมาก็ไม่เข้าร่วมประชุม จึงทำให้ประเทศสองฟากฝั่งแม่โขงข้างล่าง ได้แต่นั่งบ่นกันเองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตอนด้านบนของสายน้ำนี้ แต่ปีนี้ เมื่อน้ำแล้งมากตั้งแต่ทางใต้ของจีนลงมาตลอดสองฝั่งของแม่โขง และเมื่อเสียงร้องเรียนจากไทยดังกระหึ่มขึ้นเป็นกิจจะลักษณะเป็นครั้งแรก อีกทั้งนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของไทยก็ยกเรื่องนี้พูดคุยกับผู้ช่วยรัฐมนตรีของจีนที่มาเยี่ยมเยือนเมื่อต้นเดือน
ร้อนถึงทางจีน ต้องออกมาแถลงข่าวเป็นครั้งแรกในประเด็นนี้ ด้วยการปฏิเสธว่าเขื่อนของจีน ด้านบนนั้นเป็นสาเหตุหลักของการแห้งขอดของแม่น้ำโขงตอนล่าง อีกทั้งยังยืนยันว่าปริมาณน้ำจากจีนเข้าสู่แม่น้ำโขง นั้น มีเพียงประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น นอกนั้นเป็นปริมาณน้ำจากประเทศต่างๆ ตอนล่างของสายน้ำนี้
คุณศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกว่า ยังระบุไม่ได้ว่าเขื่อนในจีนเป็นต้นเหตุทำให้ระดับน้ำทั้ง 18 สถานีครอบคลุมตั้งแต่ท้ายเขื่อน "จิ่งหง" ของจีนลงมาจนถึงลาว ไทย เวียดนาม พม่า พบว่าในรอบ 30 ปี มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำก่อน และหลังสร้างเขื่อนในจีนแล้วเสร็จอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อมูลของ 6 สถานีในไทย อาทิเช่น อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ก่อนมีเขื่อนในจีนช่วงแล้งระดับน้ำต่ำสุด 2.3 เมตร แต่หลังสร้างเขื่อน 2.2 เมตร โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เหลือเพียง 1 เมตร
ประเด็นโต้แย้งระหว่างองค์กรเอกชน และผู้เชี่ยวชาญของประเทศลุ่มน้ำโขงกับรัฐบาลจีน จะต้องได้รับการถกแถลงกันอย่างกว้างขวาง และเมื่อจีน เปิดประตูเพื่อการ "พูดคุย" กันเรื่องแม่น้ำโขงอย่างเปิดเผย และในระดับนโยบายเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมเป็นโอกาสที่จะได้เสาะแสวงหาความจริงกันอย่างลุ่มลึกและโปร่งใสเสียที
ผมจึงถือว่านี่คือการประชุม "สุดยอดแม่โขง" ครั้งนี้คือมิติใหม่ของการเริ่มต้นแก้ปัญหาของ "สายน้ำพยศ" สายนี้อย่างเป็นรูปธรรมเสียที หวังว่า "พี่ใหญ่" ทางตอนบนของแม่น้ำโขง จะเปิดใจกว้างฟังความเห็นและข้อมูลจาก "เพื่อนร่วมสายน้ำ" อย่างเปิดกว้าง และด้วยวิสัยทัศน์ของประเทศ ที่กำลังขยายบทบาทอย่างน่าตื่นตาตื่นใจไปทั่วโลก
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20100324/106507/เมื่อจีนพร้อมร่วมโต๊ะ-ประชุมสุดยอดแม่น้ำโขง.html
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 27 มีนาคม 2553, 08:46:51 » |
|
|
|
|
|
thanitkhom
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
รุ่น: 2543
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 99
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 27 มีนาคม 2553, 09:08:38 » |
|
น่าติดตามมากๆ ครับเรื่องนี้
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 29 มีนาคม 2553, 08:00:58 » |
|
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 02 เมษายน 2553, 09:26:07 » |
|
ยังติดตามอยู่นะครับพี่
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 15 เมษายน 2553, 04:44:38 » |
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2553, 11:41:32 » |
|
คนกรุงเตรียมใจรับเมืองใต้บาดาล ทาง 2 แพร่งอนาคตกรุงเทพฯย้ายเมืองหลวง - สร้างเขื่อนยักษ์ โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2553 http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9530000151750
คำทำนายทั้งจากหมอดูและนักวิชาการ ที่ออกมาระบุว่า กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทยจะจมน้ำภายใน 10 ปี กำลังจะเป็นความจริงแล้ว ล่าสุด “นายพรเทพ เตชะไพบูลย์” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์”และยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นความจริง! ก่อนหน้านี้สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลก พบว่า เมืองชายฝั่งทะเล 21 แห่งจากทั้งหมด 33 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับ น้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัย โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งกรุงเทพมหานคร ติดโผเมืองใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง คือ ระดับ 5 ที่จะเกิดภัยธรรมชาติ เนื่องจากภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ข้อมูลดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการชื่อดังไม่ว่าจะเป็น “สมิทธ ธรรมสโรช” ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ , “ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา” นักวิทยาศาสตร์, “ พิจิตต รัตตกุล” ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC ) และนักวิชาการอีกหลายท่าน ซึ่งทุกคนเห็นพ้องและพยากรณ์ตรงกันว่าอีกไม่เกิน 10 ปีเมืองหลวงของประเทศไทยจะกลายเป็น “มหานครใต้บาดาล” “ทั้งหมดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันกับเรา ก็อยู่ที่ว่า มันจะเป็น 10 ปีกว่ามันจะจมหรือมากกว่านี้ ตอนนี้เรายังไม่เห็นภาพชัดเจน เพราะเราดูดน้ำออกมาได้ตลอด และเรายังมี คิงไซส์ หรือ แนวกันน้ำ ระดับ 2.50 เมตรรองรับอยู่” พรเทพ บอก รายงานจาก กทม.ระบุว่า ปัจจุบันที่ดินครึ่งหนึ่งในกรุงเทพฯ อยู่ใต้ระดับน้ำทะเล และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในลักษณะที่ปริ่มน้ำ ซึ่งพรเทพ ระบุว่า สาเหตุหลักของเรื่องนี้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก นั่นคือ การทรุดตัวลงของดินในกรุงเทพฯ ปีละ 2 ซม.เนื่องจากการดูดน้ำบาดาลไปใช้ไม่ต่ำกว่าพันบ่อต่อวัน และระดับน้าทะเลที่เพิ่มขึ้นปีละ 1 ซม. ทั้งหมดนี้ก็รวมเป็น 3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นอัตราปรกติ แต่สิ่งที่น่าวิตกก็คือ ข้อมูลที่รองผู้ว่าฯ กทม.ที่ดูแลเกี่ยวกับการป้องกัน และ แก้ปัญหาน้ำท่วมเปิดเผยมาตรงๆ ว่า ความเชื่อที่ว่า แนวกันน้ำจะป้องกันน้ำไหลบ่าจะสามารถรองรับไปได้อีก 20 ปีนั้นเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยไปแล้ว “จากภาวะโลกร้อน ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ระดับน้ำเพิ่มมากขึ้น 40% ยกตัวอย่าง เดิมที่เราคาดว่ากันว่า ฝนจะตกในเดือนนี้ 180 มิลลิเมตร แต่ความจริงตกถึง 210 มิลลิเมตร หรือทั้งปีน่าจะตกแค่ 1,400 มิลลิเมตร แต่วันนี้มันตก 1,800 มิลลิเมตร มันทำให้ผมเป็นห่วงแนวกั้นน้ำ อย่าว่า 20 ปีเลย แค่ 10 ปีจะรองรับถึงหรือเปล่า เพราะระดับน้ำขึ้นไปอยู่ที่ 2.20 เมตรแล้ว” บางขุนเทียน รูโหว่น้ำทะลัก รองผู้ว่าฯ กทม. ชี้ว่า ช่องโหว่ที่จะทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นนครใต้บาดาล ก็คือ “บางขุนเทียน” ซึ่งมีการกัดเซาะจากน้ำทะเลไปรวดเร็วเกินกว่าที่คาดคิดไว้ “คุณเชื่อไหม วันนี้น้ำทะเลกัดเซาะแผ่นดินไปกว่า 300 ตร.กม.แล้ว และเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเราพยายามจะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การคืนสภาพป่าชายเลนแต่ก็ไม่ได้ผล” พรเทพ บอกว่า ปัญหาใหญ่และอุปสรรคสำคัญที่เขาประสบในการสกัดกั้นการรุกคืบของน้ำทะเลจากอ่าวไทยก็คือ เอ็นจีโอและกลุ่มคนที่มีแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาติ เขาเปิดเผยว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับแนวทางหรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะหยุดการไหลบ่าจากน้ำทะเล ไม่ว่าจะเป็นการทำคิงไซส์ การสร้างเขื่อน หรือวิธีอื่นๆ เพราะมองว่าจะไปทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ...และวิธีเดียวที่เอ็นจีโอเหล่านี้เห็นด้วย ก็คือ การทิ้งวัสดุที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็น หิน ยาง หรือ เอาเสาไปปัก เพื่อทำให้เกิดการสะสมของดินตะกอน ซึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของป่าชายเลน “วิธีเหล่านี้ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล เพราะเรามาทำตั้งแต่ปี 2523 แต่ก็หยุดการเพิ่มของระดับน้ำไม่ได้ เพราะสู้ธรรมชาติไม่ไหว ถ้าเราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ก็ต้องย้ายเมืองหลวง เอามั้ย หรือไม่ ก็สร้างเขื่อนมี 2 ทางเลือก ถ้าไม่ทำทุ่งครุ และกรุงเทพฯ จะอยู่ใต้น้ำแน่นอน” เขาระบาย จับตาฮอลแลนด์โมเดล พรเทพ บอกว่า โมเดลของประเทศฮอลแลนด์ ที่จัดการกับปัญหาระดับน้ำทะเลเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดในขณะนี้ เพราะประเทศฮอลแลนด์เป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ประชาชนก็ไม่เดือดร้อน “ผมเพิ่งไปฮอลแลนด์มา ในที่สุดเขาก็ต้องสร้างเขื่อนขึ้นมากั้นเลย แล้วทำสถาบันสัตว์น้ำ จะเพาะปลา ปู ป่าโกงกางก็ทำไป เพราะถ้าใช้วิธีเดิมยังไงก็สู้ธรรมชาติไม่ได้ ไม่ว่าจะทุ่มเงินไปกี่หมื่นล้านบาทก็ตาม นักอนุรักษ์ควรปรับเปลี่ยนวิธีคิด ถ้าต้องการรักษาชีวิตคน รักษาบ้านคน ก็ต้องทำเขื่อนกั้นน้ำขึ้นมา” แนวคิดโดยส่วนตัวของพรเทพนั้น เขาต้องการสร้างเขื่อนยักษ์แนวปากน้ำ ตั้งแต่บางขุนเทียน ปากน้ำ ไปจรดสมุทรปราการ ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณหลายหมื่นล้านบาท โดยรัฐจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ “ประเทศฮอลแลนด์ ยังทำเขื่อนทั้งประเทศ ทำเป็นภูเขากั้นน้ำขึ้นมาเลย ต่ไม่แนในอนาคตอาจจะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ขึ้นมาที่ดีกว่านี้ก็ได้” ทั้งนี้ แนวคิดการสร้างเขื่อนยักษ์ของพรเทพนี้ ได้มีการถกเถียงและประชุมหลายครั้ง โดยมีคณะกรรมาธิการหลายชุดจากสภากรุงเทพมหานคร และมีหลายโปรเจกต์แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม พรเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันน้ำท่วมไม่เพียงการสร้างเขื่อนเท่านั้น แต่ก ทม.กำลังการวางผังเมืองใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้ในปีหน้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ “ผังเมืองใหม่ที่อยู่ระหว่างจัดทำนี้ จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมดว่า เราจะหนีน้ำท่วม ฝนตกได้อย่างไร จะมีแหล่งรับน้ำอย่างไร จะมีควบคุมการเจริญเติบโตอย่างไร ที่สำคัญผังเมืองใหม่จะช่วยเรื่องโลกร้อน เรื่องฝนตก เรื่องน้ำท่วมขัง ตรงไหนสูงต่ำ เราจะจำกัดความเจริญอย่างไรไม่ให้กั้นทางน้ำไหล คาดว่า เดือนพฤษภาคมปีหน้านี้จะประกาศใช้ได้” ด้าน “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้กับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเทศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร ถ้าจะให้รถวิ่งได้ ประเด็นคันดินต้องกั้นน้ำทะเล พอเราถมคันดินแล้วต้องมีป่าชายเลน การออกแบบก็แล้วแต่ หลายวัตถุประสงค์ คาดว่างบประมาณที่ใช้จะอยู่ที่หลักหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ไม่ได้รวมค่าเวนคืน ค่าก่อสร้าง 80 กม. บางขุนเทียน สมุทรปราการ ถึงสมุทรสงคราม ส่วนทางออก สำหรับน้ำเหนือ ต้องหาพื้นที่ให้น้ำอยู่ เป็นที่พักน้ำ ในบริเวณแถวภาคกลาง ไม่สามารถสร้างเขื่อน ระดับน้ำทะเล อาจจะต้องหาพื้นที่สร้างเขื่อนดินเป็นต้น ประสบการณ์จากเนเธอร์แลนด์ นั้นจะเป็นในลักษณะป้องกันต้องทำคันดินยกสูงขึ้นมา 5 เมตร พื้นที่ไหนที่เหมาะก็ทำคันดินไม่ให้น้ำทะเลเข้ามา
สร้างเขื่อนปิดปากอ่าวไทย
ขณะที่ สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ให้มุมมองถึงการรับมือกับสภาวการณ์น้ำท่วมบริเวณที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลว่า การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวเป็นวิธีที่ดีที่สุด รูปแบบต้องเป็นเขื่อนคอนกรีตสูงประมาณ 5 เมตรยาวประมาณ 100-200 กิโลเมตร ตั้งแต่นนทบุรีไปถึงปากคลองประปา เพราะน้ำทะเลจะหนุนไปถึงคลองประปา ควรสร้างวิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอดไปถึงสมุทรปราการ อ้อมไปถึงบางปะกง ส่วนอีกด้านหนึ่ง สร้างจากฝั่งธนบุรี อ้อมมาถึงพระประแดง ไปสมุทรสาคร สมุทรสงคราม หากทำเขื่อนคอนกรีต รถจะสามารถวิ่งบนเขื่อนได้ รวมทั้งตรงปากแม่น้ำทำทางให้เรือสามารถลอดผ่านได้ มีช่องทางระบายน้ำ ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1 แสนล้าน-2 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเขื่อนรูปแบบใด การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ที่สำคัญการสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้ จะมีที่เก็บน้ำในลักษณะของแก้มลิงตามแนวพระ ราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเป็นที่เก็บน้ำ สำรองไว้ใช้ในงานเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอยู่ระหว่างชายฝั่งกับแนวเขื่อน “ในขณะนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์สัตว์น้ำเขตร้อนชื้นของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จะใช้เวลาในช่วง 2 ปีข้างหน้าศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก พร้อมตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2503 เพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการแล้ว” ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวต่อว่า หากสร้างเขื่อนที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความคดเคี้ยว จะทำให้ระยะทางของเขื่อนมีความยาวมากและมีการก่อสร้างที่ลำบาก เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเลน แต่การก่อสร้างเขื่อนบริเวณปากอ่าวไทยจะทำได้ง่าย กว่า เนื่องจากลักษณะของพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นดินทราย สามารถตอกเสาเข็มลงไปได้ ทำให้เขื่อนมีความแข็งแรงทนทาน เขื่อนนี้นอกจากจะเป็นการกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้ามาแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้อีกด้วย โดยรถที่วิ่งมา จากด้านตะวันออกต้องการลง ภาคใต้จะไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ สามารถวิ่งข้ามเขื่อนเพื่อเดินทางลงใต้ได้เลย เป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 100 กิโลเมตร การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตั้งรับ สามารถจะป้องกันน้ำท่วมในหลาย ๆ จังหวัดได้ ตั้งแต่จังหวัดสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม ไปจนถึงบางปะกง ถ้ามีการสร้างกั้นเฉพาะกรุงเทพฯ ก็จะไปท่วม จ.สมุทรปราการไปจนถึงบางปะกง จากนั้นน้ำก็จะไหลย้อนกลับมาเกิดเป็นปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นอีก “ถ้ามีการกั้นน้ำที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างถาวร เพราะน้ำจะไปท่วมฝั่งธนบุรี พระประแดงแทน แล้วไหลย้อนกลับมา รวมทั้งการสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะบดบังทัศนียภาพของโรงแรมและ บ้านเรือนของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นได้ และต้องเวนคืนที่ดินอีกด้วย”
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|