20 กันยายน 2567, 20:16:51
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 230 231 [232] 233 234 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2519823 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 57 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5775 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555, 19:01:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 16 มีนาคม 2555, 18:15:39
ได้ดูข่าวลุงขอทานบริจาคเงิน .. รู้สึกตื้นตันใจมากค่ะ     sorry

น้องหยี

คนไทยใจบุญเป็นที่สุด ขึ้นชื่อไปทั่วโลกทีเดียว เมื่อเทียบชั้นกับชาติอื่นๆ
ประการสำคัญ ผู้รับบริจาค สมควรใช้เงินอย่างมีคุณค่า ดังเช่นกรณี ลุงเอี่ยม คัมภิรานนท์
ได้รับจนเหลือ จึงบริจาคต่อ นับว่าประเสริฐหลายๆ


ถ้าจำไม่ผิด พี่เคยโพสต์ภาพเสื้อชูชีพของช่อง 3 หลังจากน้ำเลิกท่วม
มีการปิดป้ายขายตัวละ 350 บาท
อนาจใจที่ของบริจาค นำมาขายแทนการบริจาคต่อให้ผู้ประสบภัยรายอื่นนำไปใช้ต่อ !!
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #5776 เมื่อ: 16 มีนาคม 2555, 21:40:02 »

            คุณเหยง วันนี้ไม่มีพยากรณ์อากาศหรือ ฝนไม่มีเลยวันนี้ ไม่ว่าง กำลังเก็งกำไรพืชผลอยู่??
      บันทึกการเข้า

Mai25
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525

« ตอบ #5777 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555, 08:46:05 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 16 มีนาคม 2555, 19:01:08
อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 16 มีนาคม 2555, 18:15:39
ได้ดูข่าวลุงขอทานบริจาคเงิน .. รู้สึกตื้นตันใจมากค่ะ     sorry

น้องหยี

คนไทยใจบุญเป็นที่สุด ขึ้นชื่อไปทั่วโลกทีเดียว เมื่อเทียบชั้นกับชาติอื่นๆ
ประการสำคัญ ผู้รับบริจาค สมควรใช้เงินอย่างมีคุณค่า ดังเช่นกรณี ลุงเอี่ยม คัมภิรานนท์
ได้รับจนเหลือ จึงบริจาคต่อ นับว่าประเสริฐหลายๆ


ถ้าจำไม่ผิด พี่เคยโพสต์ภาพเสื้อชูชีพของช่อง 3 หลังจากน้ำเลิกท่วม
มีการปิดป้ายขายตัวละ 350 บาท
อนาจใจที่ของบริจาค นำมาขายแทนการบริจาคต่อให้ผู้ประสบภัยรายอื่นนำไปใช้ต่อ !!


สวัสดีค่ะ  ช่วงก่อนที่ลุงยังเดินได้ เดินมาซื้อหอยทอด พวกเราพาข้ามถนน  ลุงบอกไม่ต้องหรอก ลุงยังช่วยตัวเองได้ 
      บันทึกการเข้า
ti2521
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,987

« ตอบ #5778 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555, 23:29:48 »

.....สวัสดีครับ พี่เหยง

     คิดเป็นสัดส่วนการบริจาคกับทรัพย์ที่มีอยู่ของลุงเอี่ยม น่าจะติด กินเนสบุ๊ก ได้นะครับ

     คิดถึง ห้องพี่สิงห์ มาทันทีครับ  สาธุ สาธุ สาธุ.....
      บันทึกการเข้า

เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ
สำหรับผม
อย่างไรก็ได้
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #5779 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 20:34:39 »

         คุณเหยง     วันนี้น.ส.พ ลงรูปลุงเอี่อมมีตำรวจคุ้มกันแล้วนะ
                         คุณเหยงตามลงไปสื่อข่าวด้วยหรือไงไม่มาลงพยากรณ์อากาศ
      บันทึกการเข้า

Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #5780 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 20:50:57 »


สวัสดียามค่ำครับ....... พี่เหยง...พี่อร..พี่ต้อย..พี่ทราย..พี่ตี๋..น้องหยี..น้องใหม่ และพี่น้องทุกท่าน

ลุงเอี่ยมกลายเป็นคนดังไปแล้วครับ....

ช่วงนี้รับเงินบริจาควันละหก-เจ็ดหมื่นบาท
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5781 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 21:53:14 »

สวัสดีครับ


คืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง เรียกว่าหนักเอามากๆ ทีเดียว
เน็ตล่มตั้งแต่วันนั้น ได้โทรแจ้ง TOT ในวันรุ่นขึ้น(วันเสาร์) จนท.ก็ออกมาแก้ไขให้
ใช้ได้ในเย็นเมื่อวานนี้ ใช้ได้แต่ไวร์เลส คอมพ์ตั้งโต๊ะ จึงยังไม่สามารถเข้าเน็ตได้
จนวันนี้ ช่างตรวจซ่อมอีกครั้งหนึ่ง ช่วงบ่ายจึงใช้ WLan ได้ จึงได้เริ่มเข้าเน็ต หลังจากเป็นไก่หงอยซะ 2 วัน
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5782 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 21:55:47 »

แหลม

ลุงเอี่ยม เสียความเป็นส่วนตัวไปแล้วครับ
และอาจมีอันตรายจากการได้รับบริจาคทรัพย์ให้ด้วย
เพราะแต่ละวันมีผู้ไปชม ถ่ายภาพ และบริจาคให้มากมาย

แต่ในมุมกลับ ถือได้ว่า ลุงเอี่ยม อยู่อย่างพอเพียง เพราะไม่มีห่วงหรือครอบครัวให้เป็นกังวล
พอมีเกินก็บริจาคให้วัด ถือเป็นแบบอย่างของคนไม่ยึดติดแบบหนึ่งครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5783 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 21:57:37 »

สำหรับพวกเรา ตามแบบได้ คงแค่
บริจาคให้วัด มูลนิธิ, ทำบุญ ตักบาตรแด่พระภิกษุ สารเณร แม่ชี, ทำบุญให้คนยากไร้ ฯลฯ
เท่าที่ไม่เดือดร้อน ด้วยยังมีภาระครับ
      บันทึกการเข้า
ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #5784 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555, 08:26:17 »

ทำบุญจะได้บุญ ต้องไม่เบียดเบียนตัวเอง
 หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #5785 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555, 08:33:33 »

สวัสดีครับพี่เหยงและสมาชิกทุกท่าน

 รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5786 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555, 08:51:25 »

สวัสดี อจ.ทราย, หนุน

ภาคใต้ฝั่งบ้านคุณต้อย(ภาคใต้ฝั่งตะวันตก) มีฝนมากขึ้นถึงร้อยละ 40, ภาคตะวันออกและภาคอีสาน มีฝนร้อยละ 30
ภาคอื่นไม่รวมภาคเหนือ มีฝนเล็กน้อย แต่คงไม่ช่วยให้คลายร้อนได้มากเท่าใช้แอร์คอนดิชั่น
ภาคเหนือ ร้อนจัด ฟ้าหลัว ฝุ่น-ควัน-หมอก ยังเป็นปัจจัยหลักที่กระทบสุขภาพ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศประจำวันที่ 20 มีนาคม 2555 เมื่อเวลา 04:00 น. 
ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนเป็นแห่งๆ ในระยะนี้

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง  อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก ทางตอนบนของภาคอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5787 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555, 19:40:31 »

วันนี้อ่านไทยโพสต์ออนไลน์มาครับ
ชอบมากเรื่อง "สามก๊ก" วิจารณ์ว่า จบลงด้วยอักษรเพียงตัวเดียว ??...เชิญอ่านตามครับ


สามก๊กจบลงที่อักษรเดียว
ถูกทุกข้อ    20 มีนาคม 2555 - 00:00

เรียน คุณสามวา สองศอก ที่รักนับถืออย่างยิ่ง
       หลังจากที่ผมเขียนจดหมายครั้งล่าสุดไปถึงคุณสามวาเมื่อปลายเดือนที่แล้วก็ออกเดินทางไปต่างจังหวัดเสียหลายวัน กลับมาอ่านหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ย้อนหลังก็พบข่าวต่างๆ ที่เป็นข่าวเกี่ยวข้องกับการบ้านการเมืองเป็นหลักส่วนใหญ่ ทั้งยังเป็นข่าวสำคัญๆ ไม่น้อยกว่าสิบข่าว ซึ่งผมพยายามคัดกรองเก็บเอามาวิพากษ์ให้คุณสามวาฟังพร้อมกับเพื่อนสมาชิกคอลัมน์ (ซึ่งระยะนี้มีสำนวนและความรู้สึกร้อนแรงไปตามๆ กัน)
       เนื่องจากสมาชิกคอลัมน์ส่วนใหญ่มีอุดมการณ์ที่สอดรับคล้องกันแทบทั้งสิ้น จะมีคนที่พยายามจะเขียนเรื่องราวมาลดอุณหภูมิบ้านเมืองลงบ้างก็ไม่กี่คน  ที่เห็นชัดเจนก็คือ สมาชิก "วัชระ วีระวงศ์" ที่เขียน "ร้อยมาลัยเพลงประทับใจมาเต็มหน้า" ทำให้ผมเองที่กำลังระอุอยู่เหมือนกัน ค่อยๆ เย็นลงบ้าง อย่างนี้น่าจะขอบใจคุณวัชระเอาไว้ให้เป็นที่ประจักษ์ วันหลังก็อยากจะเห็นคุณ "คนไทยหัวใจเพลง" เขียนเรื่องเพลงเบาๆ มาลงให้อ่านบ้างนะครับ
       เมื่อสัปดาห์ปลายเดือน ผมมีโอกาสไปพบกับเพื่อนที่เขามีกิจการค้าขายต่างประเทศเพิ่งจะเดินทางกลับมาจากเมืองจีน เพื่อนคนนี้ทำงานค้าขายประเภทที่ผมขอเรียกว่า "บุญพาณิชย์" คือสร้างสินค้าที่เป็นบุญแก่คนและสัตว์ที่เรียกว่า "สหะเภสัช" (ยาให้แก่คนและสัตว์ เป็นศัพท์ที่ผมคิดขึ้นเอง)
       เขาเป็นคนไทยเชื้อสายจีน โคตรของเขาก็เหมือนกับโคตรของผม คือ บรรพบุรุษเป็นคนจีนโพ้นทะเลที่อพยพจากเมืองจีนในสมัยสงครามฝิ่น เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารประเทศสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สร้างตัวจากความยากจนมีเพียงเสื่อผืนหมอนใบ (ความจริงคนจีนยุคนั้นไม่มีทั้งเสื่อและหมอน มีเพียงเสื้อผ้าเก่าๆ ชุดเดียว มี "ไถ้" (ถุงผ้า) เคียนเอว ภายในบรรจุทองคำแท่งเล็กๆ คนละแท่งสองแท่งมาเป็นทุนรอนค่าเรือสำเภาข้ามน้ำข้ามทะเลมานานไม่น้อยกว่า 3 เดือน)
       คนจีนยุคนั้นขึ้นจากเรือมาบุกเบิกป่าจากริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงปลายถนนเยาวราช/ราชวงศ์เป็นหลัก มือทั้งสองข้างเต็มไปด้วยเลือดที่ไหลจากบาดแผลที่หนามจากตำมือทุกวัน จนพอมีที่สร้างกระต๊อบมุงจากเล็กๆ อาศัย
       ทั้งนี้ ด้วยพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระราชทานที่ดินทำกินให้คนจีนอพยพได้บุกเบิกเอา โดยเสียปี้หรือเบี้ยค่ารัชชูปการให้แผ่นดินด้วยความรู้สึกจงรักภักดี โคตรของผมกับของเพื่อนจึงมีความรู้สึกรักชาติสยาม  (ไทย) มากเท่ากับหรือยิ่งกว่าแผ่นดินจีนที่เป็นชาติของตัวเอง มีความจงรักภักดีในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกรัชกาลนานมาเป็นร้อยปี ไม่มีเสื่อมคลาย
       คนไทยเชื้อสายจีนในแผ่นดินนี้ทุกคน นับแต่คนไทยเชื้อสายจีนในย่านถนนเยาวราช/ราชวงศ์ ซึ่งเป็นแกนหลักสมัยเริ่มต้นชีวิตของคนจีนทุกแซ่ในเมืองไทย ต่างก็มีความจงรักภักดีในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทุกคน (แม้จะนับถือศาสนาพุทธสายมหายานก็ตาม)
       เนื่องจากเรามีอายุใกล้กัน มีอุดมการณ์ในความรักชาติ (ไทย) เท่าๆ กัน  เวลาว่างก็หาสถานที่สงบๆ ในมุมร้านน้ำชา/กาแฟ สนทนาเรื่องราวทั้งส่วนตัวและบ้านเมืองกันแทบทุกครั้งที่ว่างจากกิจการงาน การพบกันทุกครั้งผมและเขาจะแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ เขาเรียนจบเพียง ป.3 ผมเรียนจบปริญญาตรี เขาอ่อนกว่าผม 15 ปี เพราะผมอายุ 80 ปี เขาอายุ 65 ปี แต่เชื่อไหมครับว่า เขามีความรอบรู้มากกว่าผมจนเกือบจะเปลี่ยนให้เขาเรียนจบปริญญาเอก แต่ผมจบเพียง ม.6
       เพื่อนคนนี้ปัจจุบันมีโรงงาน มีบริษัทใหญ่โตเดินทางไปต่างประเทศเกือบทั่วโลก แทบทุกเดือนมีรายได้เดือนละหลายร้อยล้านบาท เขามีความสามารถพูดภาษาจีนได้แทบทุกภาษาที่ใช้ในจีน เช่น ภาษากลางแต้จิ๋ว ไหหลำ ฮกเกี้ยน  ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ
       ผมอ่านหนังสือสามก๊กจบ 3 ครั้ง เขาอ่านหนังสือสามก๊กจบ 5 ครั้ง แล้วถามผมว่า ที่มีคำพูดว่า "ถ้าใครอ่านหนังสือสามก๊กจบแล้วอย่าไปคบ เพราะมีแต่เล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย ปลิ้นปล้อน มันจริงไหม" ผมก็ตอบเขาไปว่า กับคนอื่นผมไม่ทราบ แต่ตัวผมเองไม่เคยมีนิสัยอย่างนั้น อาจจะเปลี่ยนอย่างเดียวคือ "พูดจริงและปากหมาเกินไป" เท่านั้น เขาหัวเราะแล้วก็ถามผมอีกว่า ผมเชื่อไหมว่า หนังสือสามก๊กทั้งหมดจบลงที่อักษรตัวเดียว
       โดนคำถามนี้ ผมก็งงเป็นไก่ตาแตก เพราะหนังสือที่ผมอ่านคือหนังสือสามก๊กฉบับดั้งเดิมที่แปลโดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เจ้ากรมท่าซ้าย (จีน)  พิมพ์โรงพิมพ์หมอบลัดเลย์ แบ่ง 3 ตอน ตอนละเล่ม แต่ละเล่มหนา 1 นิ้ว  หนังสือขนาด 16 หน้ายกโบราณ เล่มละไม่น้อยกว่า 200 หน้า ตัวหนังสือ (ไทย)  นับเป็นคำแล้วมันจะสรุปเป็นภาษาจีนได้คำเดียวยังไง
       เขาตอบว่าได้ครับ สรุปว่า หนังสือสามก๊ก เป็นเรื่อง "ลี่" คำเดียว ผมยอมรับว่าผมไม่รู้ ทั้งยังให้เขาเขียนตัวอักษรจีนที่เขาว่าให้ เขาก็เขียนให้ดู (ผมไม่ได้ลอกเอามาให้ดูเกรงจะเพี้ยน) เขาแปลให้ฟังว่า "ลี่" คือคำไทยที่เขียนว่า "ผลประโยชน์" ทุกอย่างเป็นผลประโยชน์ทั้งสิ้น แต่ละก๊กก็มุ่งผลประโยชน์ และอวสานลงด้วยผลประโยชน์
       ประเทศไทยเรา รัฐบาล สภา องค์กร มวลชน ฯลฯ ทุกอย่างล้วนอยู่ด้วยผลประโยชน์ทั้งสิ้น เหตุเพราะทุกคน (ไทย) มีแต่ความ "โลภ" (ไม่รู้จักพอ) เขายังแถมปรัชญาจีนมาให้ผมฟังอีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่าลู่ซิน นักปราชญ์จีนเขียนไว้ว่า "จือ จุ๊ ซิน จื่อ เลอะ (รู้พอจะเกิดสุข)  อู๋ ฉิว พิน จื่อ เกา (ไม่ขอจะก่อเกียรติ) แล้วยังแถมบอกนัยถึงความสุรุ่ยสุร่าย ไม่มัธยัสถ์ รู้อดออมของคนไทยด้วย ถ้อยคำอันเป็นปรัชญาของ "ลู่ซิน" อีกบทหนึ่งว่า "ในภัตตาคาร บ้านคนรวย มีเหล้ามีอาหารบูดเน่า บนถนนมีคนที่อดอยากล้มตาย"

       เขาแถมท้ายถ้อยคำที่ "หนัก" เอาไว้ว่า "คนไทยสมัยใหม่ ดูไปก็ไม่ใช่คน  เพราะเขียนคำว่า "คน" ด้วย "ค ควาย" แทนที่จะเขียนด้วย ฅ บนแป้นพิมพ์ดีดหรือบนบอร์ดภาษาของคอมพิวเตอร์ก็ไม่มีตัว ฅ
       อักษรตัวนี้ยังอยู่ในตำรา ก ไก่ ให้เด็กอ่าน แต่ไม่เอามาใช้ เขาถามว่า ถ้า ฅน เขียนด้วย ค ควาย มันจะเป็น ฅน ไปได้ยังไง มันต้องเป็นควายวันยังค่ำ คนไทยเดี๋ยวนี้จึงพูดกันไม่รู้เรื่อง ทะเลาะกันตั้งแต่คนเดินถนน ไปจนถึงในสภาฯ ที่พูดว่า "ท่านผู้ทรงเกียรติ" เขาบอกว่า "พวกในสภาฯ ไม่มีเกียรติ เขาเรียกได้เพียง ผู้ทรงเกือก" เท่านั้น
       เขามีเรื่องคุยกับผมอีกเยอะ วันหลังจะเก็บความมาเล่าให้ฟังอีก ขอบคุณครับ
                                คนไทย หัวใจรักชาติ

ตอบ คนไทย หัวใจรักชาติ
       ถ้าทุกคนทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ก็คงไม่ต้องทะเลาะกันให้เลือดนองแผ่นดินเหมือนทุกวันนี้ แต่มีคนบางกลุ่มที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของคนคนเดียว  จึงเกิดปัญหาไม่สิ้นสุด


http://www.thaipost.net/news/200312/54276



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5788 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555, 20:05:58 »

เรื่องที่สอง กรรมของชาวรากหญ้า

เป็นเรื่องของการรับจำนำข้าว ที่มีผลทำให้ข้าวสารมีราคาแพง ชาวบ้านต้องเดือดร้อนซื้อข้าวสารบริโภคในราคาแพง
ปัญหาต่อมาคือ ราคาข้าวสารเพื่อส่งออกแพงเกิน จนประเทศเพื่อนบ้านสามารถขายข้าวแข่งขันกันเรา
จนเราเสียลูกค้าไปเป็นจำนวนมาก
ที่สำคัญข้าวสารในคลัง อคส. เสื่อมคุรภาพ เพราะการเก็บรักษาที่ไม่ดีของเจ้าของโกดัง
รวมทั้งมีการลักข้าวสารออกไปขาย หรือลักเปลี่ยนเอาข้าวสารคุณภาพต่ำมากองไว้แทน
และเอาข้าวสารคุณภาพดีออกไปขาย แถมยังได้ค่าฝากเก็บทุกเดือน


กรรมของชาวรากหญ้า
ท่านขุนน้อย                      20 มีนาคม 2555 - 00:00

      อุณหภูมิอากาศช่วงนี้...ร้อนระดับแอร์กี่เอาไม่อยู่ ต้องอาศัยแต่แอร์สาวๆ เท่านั้น ถึงพอจะได้ชื่นมื่น ชื่นสะดือกันบ้าง ด้วยแนวโน้มเช่นนี้ โอกาสที่จะเกิดภาวะน้ำแล้ง ชักน่ากลัวยิ่งกว่าภาวะน้ำท่วมขึ้นมาซะแล้ว การเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อน เพื่อป้องกันภาวะน้ำท่วม ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ไปๆ-มาๆ มันจะกลายเป็นการทำลายต้นทุนน้ำ ก่อให้เกิดปัญหาการบริหาร จัดการ ตามมาติดๆหรือไม่ อย่างไร ก็ยังมิอาจสรุปได้...
                               ---------------------------------------------
       แต่ที่แน่ๆ ก็คือ บรรดาเกษตรกรชาวรากหญ้า ผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติทั้งหลาย นับตั้งแต่ได้ร่วมแรง ร่วมใจ เทคะแนนเสียงให้รัฐบาลชุดนี้จัดตั้งขึ้นมา แทนที่จะได้ประสบกับความสุข ความสบาย สามารถรูดปรื๊ด...รูดปรื๊ด กันได้อย่างเป็นน้ำ เป็นเนื้อ โดยลักษณะอาการมันกลับดูจะยิ่งซวยหนักเข้าไปทุกที นอกจากผลผลิตการเกษตรเมื่อปีที่แล้วจะถูกน้ำท่วมเสียหาย ชนิดไม่มีโอกาสได้รับเงิน ค่าประกัน ดังที่เคยได้รับจากรัฐบาลที่แล้ว เอาเลยแม้แต่น้อย ราคาข้าวที่เคยฝันๆ เอาไว้ว่า เข็นออกไป จำนำ เมื่อไหร่ได้ 15,000 หรือ 20,000 บาททันที นอกจากมันจะไม่เหลือข้าวเอาไว้จำนำแล้ว ยังต้องโดนหักค่าหัวคิว ค่าโน่น ค่านี่ แต่ละรายจึงได้แต่นั่ง รูดเสา...เข่าทรุด เพราะผลกรรมที่ตัวเองได้กระทำเอาไว้ ชนิดไม่กล้าปริปาก ได้แต่กลืนเลือด กลืนน้ำตา กันไปตามสภาพ...
                              -------------------------------------------------
       ยิ่งเมื่อเจอเข้ากับความแล้งปีนี้...แนวโน้มที่จะตาย...เป็ง...ตาย ไปไม่กลับ-หลับไม่ตื่น-ฟื้นไม่มี-หนีไม่พ้น ยิ่งมีความเป็นไปได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ความพยายามที่จะเร่งผลผลิตให้มากๆ เข้าไว้ โดยมีราคาจำนำที่สูงโด่เด่เป็นตัวรองรับ และตัวสร้างแรงกระตุ้น นอกจากจะส่งผลให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดด แพร่ขยายเพราะ ความโลภ เป็นที่ตั้ง การขาดแคลนน้ำบริโภค และน้ำที่ใช้ในการเกษตร ยิ่งกลายเป็นตัวกระหน่ำซ้ำเติม ให้ยิ่งเจ็บปวด รวดร้าว ทรมานหนักขึ้นไปอีก เพราะราคาจำนำข้าวที่ตั้งเอาสูงปรี๊ดเช่นนี้ แทนที่จะทำให้เกษตรกรชาวไทยรวยขึ้นๆ กลับทำให้แต่ละราย ล้วนแล้วแต่รวยแต่เขือไปตามๆ กัน ในขณะที่เกษตรกรเพื่อนบ้าน กลับได้รับอานิสงส์จากนโยบายจำนำข้าวของไทย ทั้งส่งออก ทั้งสวมตอ รวยไม่เสร็จ จนตราบเท่าทุกวันนี้...
                           -------------------------------------------------------
       ดังเช่นที่นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คุณ ชูเกียรติ โอภาสวงศ์ เปิดเผยเอาไว้เมื่อวานนี้นั่นแหละว่า เพียงแค่นำเอาตัวเลขเปรียบเทียบการส่งออกข้าวไทยเมื่อปีที่แล้วกับปีนี้ มาเทียบเคียงกันดู สามารถสรุปได้อย่างชัด
เจน ชนิดไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่า นโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งเกษตรกรชาวไร่ ชาวนา ทั้งผู้ส่งออก และผู้บริโภคข้าว ในประเทศ อย่างเป็นลูกระนาด จากปริมาณส่งออกปีที่แล้ว ที่ข้าวไทยสามารถส่งออกได้ถึง 1,800,000 กว่าตัน มาปีนี้เหลือปริมาณการส่งออกเพียงแค่ 900,000 กว่าตันเท่านั้น หรือลดลงไปถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ข้าวของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการตั้งราคาจำนำข้าว หรือ การปั่นตลาด ของไทย ต่างเพิ่มปริมาณการส่งออก หรือไม่ก็นำเอาข้าวต่างประเทศ มาสวมตอเป็นข้าวไทย ชนิดรวยเช็ด รวยไม่รู้เรื่องไปตามๆ กัน...
                        -----------------------------------------------------
       ผลกรรมที่บรรดาเกษตรกรชาวรากหญ้าทั้งหลายได้กระทำเอาไว้ ด้วยการเทคะแนนให้กับรัฐบาลรูดปรื๊ด...รูดปรื๊ด ในคราวนี้ จึงก่อให้เกิดข้อสรุปดังที่นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุเอาไว้ว่า...“สรุปได้ว่า โครงการจำนำข้าว นอกจากได้ทำให้คนไทยทั่วประเทศต้องกินข้าวแพงขึ้นแล้ว ยังทำให้การส่งออกข้าวไทยลดลง อีกทั้งยังส่งผลให้รัฐบาลมีสต็อกข้าวเกินไปกว่าปริมาณที่ควรจะเป็นอย่างมากมายมหาศาล แต่สิ่งเหล่านี้อาจมีส่วนดีอยู่บ้างตรงที่ถือเป็นการสร้างอานิสงส์ให้ประเทศอื่นๆ สามารถลืมตา อ้าปาก ในตลาดข้าวได้บ้าง...” พูดง่ายๆ ว่า ด้วยกุศลผลบุญที่เผื่อแผ่ไปให้กับผู้อื่น ประชาชนคนไทยพึงต้องรับกรรมไปทั้งประเทศ อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้เลย...
                        ------------------------------------------------------------
       การรับประทานข้าวแพง แถมยังไม่เหลือข้าวเอาไว้จำนำอีกต่างหาก นอกจากจะทำให้ผู้ส่งออกรายย่อย พังพินาศลงไปเป็นอันดับแรก ยังส่งผลให้เกษตรกรชาวนา ชาวไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อข้าวตัวเองมาบริโภคซะอีกต่างหาก ย่อมต้องเดือดร้อนตามไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้ เพราะไม่เพียงแต่ข้าวแพงเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในทุกวันนี้ มันก็ดันแพงระเบิดไม่น้อยไปกว่าข้าวเช่นกัน อันเนื่องมาจาก ราคาน้ำมัน มันกลายเป็นตัวฉุดกระชากราคาสินค้าทุกชนิด ให้พุ่งโด่เด่ จนนักกระชากราคาสินค้าอย่างคุณน้อง ปู ยิ่งลักษณ์ คิดจะฉุดกระชากยังไง...ก็คงฉุดไม่อยู่ และภาวะเช่นนี้ ใช่ว่ามันจะดำรงอยู่แค่ชั่วประเดี๋ยว ประด๋าวเท่านั้น แม้ว่ารัฐบาลท่านจะพยายามทำลืมๆ กันไป แต่ในอีกไม่นานไม่ช้า มันย่อมกลายเป็นเรื่องที่ ลืมไม่ลง กันได้ง่ายๆ...
                           -------------------------------------------------------------
       เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันในอนาคตข้างหน้า ยากเหลือเกินที่มันจะจมดิ่งลงมาได้อีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าหากมันถูกทำให้ผูกติดอยู่กับสถานการณ์สงครามในอิหร่าน ที่ยังคาดเดากันไม่เสร็จว่า มันจะอุบัติขึ้นมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิกลางปีนี้ หรือช่วงปลายปี หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันผ่านไป ระดับราคาโดยเฉลี่ยที่วิ่งอยู่ที่ประมาณ 120 ดอลลาร์กว่าๆ ต่อบาร์เรล ย่อมทำให้ประเทศซึ่งพึ่งพาการบริโภคน้ำมันสั่งเข้าสูงที่สุดในโลก อย่างประเทศไทยแลนด์ แดนสยามของหมู่เฮา ย่อมมีแต่ตายกับตายลูกเดียวเท่านั้น...เจอเข้ากับภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำมัน 3 ดอกซ้อนๆ ขนาดระดับ ซูเปอร์ วูเมน ยังต้องถอนหายใจ...แล้วระดับคุณน้อง ปู ยิ่งลักษณ์ จะไปเหลือหรือ...
                       ----------------------------------------------
       ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้จาก สุภาษิตจีน...ท่านจะป้องกันนกแห่งความทุกข์มิให้มันบินข้ามศีรษะท่านไม่ได้ แต่ท่านสามารถป้องกันมิให้มันทำรังบนศีรษะท่านได้...
                      -----------------------------------------------
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5789 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555, 21:23:37 »

ในโครงการรับจำนำข้าวปี 2551 รัฐบาลรับจำนำข้าวหอมมะลิในราคา กก.ละ 36 บาท (คำนวนเป็นราคาข้าวสารแล้ว)
ต่อมารัฐบาลประกาศขายเพื่อใช้ในประเทศ ให้บริษัททำข้าวถุง เป็นผู้ประมูล
ผู้ชนะการประมูลข้าวสารหอมมะลิ ได้ไปในราคา กก.ละ 22 บาท

(สรุป รัฐบาลขาดทุน 36-22=14 บาททุก กก.ที่ขายออกไป
ไม่รวมค่าฝากโกดัง เป็นรายเดือนอีกเดือนละ 2 บาท/100 กก.
ค่าสีแปรสภาพจากข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารอีก 450 บาท/ข้าวสาร 660 กก.
และค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ ??-ค่าใช้จ่ายเยอะจนคิดไม่ถูก ??)

บริษัทผู้ชนะนำข้าวสารหอมมะลิไปแปรสภาพ ด้วยการขัดสีใหม่ให้ดูขาว แล้วใส่ถุง เพื่อขาย
บรรจุถุงขาย กก. ละ 32-34 บาท
ไม่รวยเดี๋ยวนี้-แล้วจะไปรวยเมื่อไร !! และ ประเทศไทย ไม่ล่มจมวันนี้-แล้วจะไปล่มจมเมื่อไร ??
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #5790 เมื่อ: 20 มีนาคม 2555, 22:32:17 »

                วันนี้คุณเหยงเลคเชอร์ยาวจัง เลือกอ่านไม่ถูก เลยยังไม่ได้อ่านทั้งสองเรื่อง
                แต่เรื่องอากาศค่อนข้างตรงน่ะคือแดดดี ไม่มีฝนและลม นิ่งกันสนิททั้งลมทั้งคน
                หรือว่าผู้คนไปเตรียมไหว้ เชงเม้ง เริ่มวันนี้ 
      บันทึกการเข้า

ti2521
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,987

« ตอบ #5791 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 07:12:30 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 20 มีนาคม 2555, 21:23:37
ในโครงการรับจำนำข้าวปี 2551 รัฐบาลรับจำนำข้าวหอมมะลิในราคา กก.ละ 36 บาท (คำนวนเป็นราคาข้าวสารแล้ว)
ต่อมารัฐบาลประกาศขายเพื่อใช้ในประเทศ ให้บริษัททำข้าวถุง เป็นผู้ประมูล
ผู้ชนะการประมูลข้าวสารหอมมะลิ ได้ไปในราคา กก.ละ 22 บาท

(สรุป รัฐบาลขาดทุน 36-22=14 บาททุก กก.ที่ขายออกไป
ไม่รวมค่าฝากโกดัง เป็นรายเดือนอีกเดือนละ 2 บาท/100 กก.
ค่าสีแปรสภาพจากข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารอีก 450 บาท/ข้าวสาร 660 กก.
และค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ ??-ค่าใช้จ่ายเยอะจนคิดไม่ถูก ??)

บริษัทผู้ชนะนำข้าวสารหอมมะลิไปแปรสภาพ ด้วยการขัดสีใหม่ให้ดูขาว แล้วใส่ถุง เพื่อขาย
บรรจุถุงขาย กก. ละ 32-34 บาท
ไม่รวยเดี๋ยวนี้-แล้วจะไปรวยเมื่อไร !! และ ประเทศไทย ไม่ล่มจมวันนี้-แล้วจะไปล่มจมเมื่อไร ??

.....ประจำครับ พี่เหยง.....
      บันทึกการเข้า

เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ
สำหรับผม
อย่างไรก็ได้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5792 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 12:40:18 »

น้องตี๋

คชก. เตรียมจำนำ "กระเทียม" พรรคพวกก็ไปซื้อกระเทียมจาก สปป.ลาว เข้ามารอจำนำกันแล้ว
ส่งสัญญานให้เห็นเลยว่า ข้าวของในประเทศไทยมีราคาแพง และแพงด้วยเหตุค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น
ค่าแรงแพงขึ้น แต่คุณภาพสินค้ากลับต่ำลง ด้วยเหตุคนไทยไม่ใส่ใจในการดูแลคุณภาพเลย
ปลูก"แบบช่างหัวมัน" แต่ขายจะเอาราคาแพงๆ จริงๆ


เดี๋ยวคอยดู "กระเทียมจีน" ถอดกี่เพ้าเปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงเป็น "กระเทียมไทย" เข้าโครงการจำนำให้ดู
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5793 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 12:43:14 »

อ้างถึง
ข้อความของ Dtoy16 เมื่อ 20 มีนาคม 2555, 22:32:17
                วันนี้คุณเหยงเลคเชอร์ยาวจัง เลือกอ่านไม่ถูก เลยยังไม่ได้อ่านทั้งสองเรื่อง
                แต่เรื่องอากาศค่อนข้างตรงน่ะคือแดดดี ไม่มีฝนและลม นิ่งกันสนิททั้งลมทั้งคน
                หรือว่าผู้คนไปเตรียมไหว้ เชงเม้ง เริ่มวันนี้


คุณต้อย

เริ่มเทศกาลเชงเม้งกันแล้ว ด้วยภาระกิจ ทำเลที่อยู่ที่แยกย้ายกันไป
การไหว้จึงเริ่มก่อนวันจริงครึ่งเดือน และเสร็จสิ้นลงในวันที่ 5 เมษายน ของทุกปี
แต่ก่อน พี่น้อง จะรวมกันไหว้พร้อมกัน ในวันเดียวกัน, แต่เดี๋ยวนี้ ต่างคนต่างไหว้กันบ้างแล้ว
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5794 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 13:21:31 »

วันนี้ ดูว่า ฝนจะน้อยลงมากในทุกภาค แต่อากาศร้อน ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีฝนตก ยังต้องระมัดระวังเรื่องลมกระโชกแรง พร้อมกับระวังลูกเห็บด้วยเช่นกัน

พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 21 มีนาคม 2555
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 10:00 น. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มี
อากาศร้อนโดยทั่วไป สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมี ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  ทางตอนบนของภาคอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #5795 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 14:09:16 »

อ้างถึง
ข้อความของ ti2521 เมื่อ 21 มีนาคม 2555, 07:12:30
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 20 มีนาคม 2555, 21:23:37
ในโครงการรับจำนำข้าวปี 2551 รัฐบาลรับจำนำข้าวหอมมะลิในราคา กก.ละ 36 บาท (คำนวนเป็นราคาข้าวสารแล้ว)
ต่อมารัฐบาลประกาศขายเพื่อใช้ในประเทศ ให้บริษัททำข้าวถุง เป็นผู้ประมูล
ผู้ชนะการประมูลข้าวสารหอมมะลิ ได้ไปในราคา กก.ละ 22 บาท

(สรุป รัฐบาลขาดทุน 36-22=14 บาททุก กก.ที่ขายออกไป
ไม่รวมค่าฝากโกดัง เป็นรายเดือนอีกเดือนละ 2 บาท/100 กก.
ค่าสีแปรสภาพจากข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารอีก 450 บาท/ข้าวสาร 660 กก.
และค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ ??-ค่าใช้จ่ายเยอะจนคิดไม่ถูก ??)

บริษัทผู้ชนะนำข้าวสารหอมมะลิไปแปรสภาพ ด้วยการขัดสีใหม่ให้ดูขาว แล้วใส่ถุง เพื่อขาย
บรรจุถุงขาย กก. ละ 32-34 บาท
ไม่รวยเดี๋ยวนี้-แล้วจะไปรวยเมื่อไร !! และ ประเทศไทย ไม่ล่มจมวันนี้-แล้วจะไปล่มจมเมื่อไร ??

.....ประจำครับ พี่เหยง.....

ผมถึงอยากเอายานอนหลับไปให้รัฐบาลกินไงล่ะครับพี่เหยง เฮียตี๋
จะได้หลับๆ ซะบ้าง ไม่ใช่ตื่นตลอด คิดตลอด ทำโน่นทำนี่ตลอด
กลัวว่ารายได้จะใช้ไม่พอถึงชาติหน้ารึไงก็ไม่รู้


 จ๊าากกก เค้าไม่ยอม ขึ้นเลย
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5796 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 14:17:46 »

สวัสดีครับ พี่แก้ว

ช่วงนี้วันหยุดยาวไม่ค่อยจะมี จะหาโอกาสทัวร์ไกลไม่ค่อยได้เลย
พี่มีความเห็นอย่างไรครับ ??
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5797 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 14:49:17 »

คุณต้อย

สองเรื่องยังไม่ได้อ่าน แถมเรื่องปวดหัวเพิ่มให้อีกเรื่องหนึ่งครับ
อีกเรื่อง ที่ไม่มีทีท่าว่าจะมีความคืบหน้า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาให้ผ่าน และผ่านสภาพเป็น พรบ. ไปแล้ว


“ปราโมทย์ ไม้กลัด” วิพากษ์แผนรับมือน้ำท่วม “ปูแดง” ฉบับขัดพระราชดำริ
21 มีนาคม 2555 09:07 น.


       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - อาการไร้ความเชื่อมั่นต่อแผนรับมือกับวิกฤตอุทกภัยของรัฐบาลไทยที่ฉายผ่านภาพการย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และสิ่งทอ ซึ่งตัดสินใจโบกมือลาประเทศไทยไปยังเวียดนามและอินโดนีเซีย สะท้อนจริงว่า มาตรการเตรียมรับมือวิกฤตอุทกภัยครั้งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นซ้ำรอยปี 2554 โดยการทุ่มเทงบมหาศาลกว่า 3.5 แสนล้านบาท ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นใดๆ ให้แก่นักลงทุนต่างชาติและคนในชาติว่าจะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
       
       การทุ่มงบประมาณมหาศาลอย่างไร้ทิศทาง หรือความไม่เชื่อมั่นที่ต่างชาติมีต่อการแก้ปัญหาอุทกภัยของรัฐบาล ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องจากทุกสารทิศ และเสียงที่วิพากษ์รัฐบาลอย่างไม่เกรงกลัว ตรงไปตรงมา ของ “ปราโมทย์ ไม้กลัด” อดีตอธิบดีกรมชลประทาน หนึ่งในคณะกรรมการ กยน. ที่ตีแผ่ให้เห็นความจริงว่า โครงการและมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาเป็นเพียงแนวคิดที่ร่างไว้บนกระดาษและหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยขาดการลงพื้นที่สำรวจอย่างจริงจัง ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญการปกปิดข้อมูลผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ที่อาจถูกใช้เป็นพื้นที่รับน้ำรวมทั้งแนวฟลัดเวย์ในอนาคตนั้น อาจจะขัดกับสิ่งที่ ปราโมทย์ เน้นย้ำว่า “ต้องไม่ลืมยึดหลักสำคัญที่พระองค์ท่านรับสั่งไว้ว่า อย่าโยกย้ายความเดือดร้อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง”
       
       3.5 แสนล้านกับโครงการที่ว่างเปล่า
       
       “การพูดแต่ฟลัดเวย์ มีแต่การวาดภาพว่าไปทางนั้นทางนี้ ยังเป็นแต่เพียงแนวคิด เป็นแต่เพียงการวาดอยู่ในแผนที่ ผมจึงบอกว่าปี 2555 มันยังไม่มีอะไรชัดเจน แต่ที่พูดนี่ผมก็ไม่ได้หมายความว่าปี 2555 จะมีน้ำท่วมอีกนะ แต่มันก็มีการรับมือ เพิ่มขึ้นมาจาก ปี 2554 นิดหน่อย ปรับปรุงของเก่า ขุดลอกคูคลอง ทำแผนบริหารเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ให้ดีขึ้น”
       
       การแก้ปัญหาที่เหมาะสมในระยะเริ่มต้นตามความเห็นของปราโมทย์ จึงมิใช่การมุ่งแก้ไปที่การทุ่มงบประมาณเพื่อเมกะโปรเจคอย่างการเตรียมฟลัดเวย์ที่ยังไม่มีรูปธรรมชัดเจน แต่อ้างว่าเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เพราะนั่นเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาในระยะยาว สิ่งสำคัญเร่งด่วนที่สุด ณ ตอนนี้คือการที่รัฐบาลต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ต้องผสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการให้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางน้ำ พื้นที่ที่คาดว่าจะให้เป็นพื้นที่ชะลอน้ำ ทั้งอธิบายหรือตอบคำถามประชาชนในสิ่งที่เขาต้องการรู้ โดยเฉพาะคำถามจากชาวนาชาวไร่ที่ว่า หากบ้านเขาต้องถูกน้ำท่วมอีกก็เพื่อป้องกันไม่ให้กรุงเทพฯ น้ำท่วมใช่หรือไม่? ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ รัฐต้องตอบคำถามประชาชนให้ได้
       
       “ต้องเข้าใจด้วยว่าสิ่งก่อสร้างหรือเครื่องมือกลไกต่างๆ ถ้าจะให้แล้วเสร็จภายใน 5 เดือน 6 เดือน มันเป็นไปไม่ได้ แต่รัฐบาลไม่พูด เมื่อรัฐบาลไม่พูด พี่น้องประชาชนไม่เข้าใจ มันก็ยุ่ง หรือยกตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรมที่เขาต้องทำคันกั้นน้ำ แล้วรัฐบาลมีหลักประกันอะไรบ้างสำหรับพื้นที่น้ำนองอื่นๆ ยอมรับว่าการจะให้มันเรียบร้อยทุกพื้นที่ยังเป็นที่น่าหนักใจ
       
       “รัฐบาลไม่ชอบพูด ซึ่งผมว่ารัฐบาลต้องพูดต้องอธิบาย ถ้าพูดเพียงว่า 'มีแผนแล้ว' 'ปี 2555 ไม่มีปัญหา' อ้าว! ทำไมพูดอย่างนั้น ผมพูดได้เลยว่าที่มีอยู่นั้นเป็นเพียงแนวคิด เป็นเพียงความคิดที่อยากจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น เรื่องพื้นที่รับน้ำหลากก็เป็นเพียงแนวคิด ผมพูดได้อย่างเดียวว่าเป็นแนวคิดที่อยากจะทำ แต่ความอยากจะทำมันต้องผ่านอะไรอีกเยอะ
       
       เช่น พื้นที่รับน้ำหลากก็มีแนวคิดที่อยากหาพื้นที่จำนวนมากไว้รอรับน้ำที่ไหลบ่ามาจากข้างบน เพื่อมากักไว้ ถ้าเป็นแนวคิดที่ไม่มีปัญหาก็ดีไป แต่ถ้ามันกระทบกับสังคม กับผู้คน จะตอบเขาได้หรือเปล่า หากเขาถามว่าที่ทำไปนี่เพื่อป้องกันกรุงเทพมหานครใช่ไหม? เพื่อป้องกันนิคมอุตสาหกรรมใช่ไหม? ถ้ารัฐบาลบอกว่าไม่ใช่? แล้วที่ไม่ใช่นั้นคืออะไร? ผมอยู่ในกยน.ก็จริง แต่ก็ต้องพูดว่าเหล่านี้เป็นเพียงแนวคิด ทุกสิ่งทุกอย่างมันตอบคำถามได้ ท่านต้องพูดออกมา ต้องชี้แจงประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการดูแลปัญหาที่จุดใดจุดหนึ่งหรือการดูแลเศรษฐกิจที่มันเหมือนกับว่าโยกย้ายความเดือดร้อนไปหาเขา ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ต้องยอมเสียเวลา เพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ต้องยอมรับว่าการจัดการที่ดีต้องใช้เวลา ไม่ใช่ ทำได้ในระยะเวลาสั้นๆ”
       
       นอกจากนั้น อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ได้ยกตัวอย่างเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชนโดยบอกเล่าถึงการทำงานในอดีตที่น้อมนำแนวพระราชดำริเป็นหลักสำคัญในการทำงานซึ่งก็มุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจกับประชาชนเป็นหลัก
       
       “เมื่อครั้งที่ผมน้อมนำแนวพระราชดำริมาพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก เกิดเป็นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จุดเริ่มต้นกว่าจะทำนี่ ใช้เวลาเยอะ กระทบกับคนมากมาย เพราะน้ำจะท่วมที่อยู่เขา เราก็ต้องมีการศึกษาให้รอบคอบ ว่ามีประชาชนกี่ครอบครัวที่จะโดนผลกระทบ เราต้องศึกษาปัญหาของเขาทั้งหมด แล้วก็มาหาคำตอบ ว่าคุณจะแก้ไขสิ่งที่เขาได้รับความเดือดร้อนอย่างไร คุณก็ต้องไปหาเขา ไปทำความเข้าใจ รัฐบาลต้องไม่ทอดทิ้ง ตอนนั้นต้องใช้เวลาถึง 3 ปีกว่าแนวคิดจะตกผลึกแล้วนำเสนอ ครม. ดังนั้น การแก้ปัญหาครั้งนี้มันเป็นเรื่องใหญ่ยักษ์ คุณต้องศึกษาอย่างละเอียดและอธิบายประชาชนให้เข้าใจ ในการที่คุณจะผลักความเดือดร้อนไปให้เขาในบางส่วน ถ้าคุณมีแนวคิด คุณก็ต้องทำแนวคิดให้ละเอียดก่อน จากนั้นก็วางยุทธศาสตร์ในการเข้าไปหาชาวบ้าน”
       
       “เรื่องแผนเร่งด่วนไม่ต้องพูดกันหรอก แต่แผนยั่งยืนที่จะวางไว้เพื่ออนาคต ควรจะเอาออกมาวาง และรอให้ตกผลึก การเตีรยมพื้นที่รับน้ำหลักอาจเป็นแนวคิดที่ดี แต่ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดต้องทำอย่างจริงจัง แต่เมื่อทำแล้วมันไม่ดี ก็ต้องพร้อมเปลี่ยนแปลงไปใช้แผนอื่น ส่วนเรื่องทางระบายน้ำอุทกภัยที่ทำให้ลงอ่าวไทยเร็วๆ ถ้าทำได้ครบถ้วนก็จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ผมเองยอมรับในหลักการว่าควรทำ แต่เมื่อยังไม่ได้ศึกษาผลกระทบอย่างละเอียด ก็ยังไม่ควรไปเจาะจง รัฐต้องศึกษาวิเคราะห์อย่างชัดเจนแล้วทำให้เป็นรูปธรรม รวมทั้ง กทม. หรือองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ใช่กทม. ตอนนี้ไม่บูรณาการกันเลย แผนต่างๆ ไม่ใช่ว่าจะศึกษาด้วยความคิดคำนึง แต่ต้องศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกันหมด แต่วันนี้ไม่มีคำตอบทั้งเรื่องสิ่งก่อสร้างและคำตอบสำหรับประชาชน แล้วมันจะไปแก้ปัญหาตามเป้าได้อย่างไร เงิน 3แสนล้านที่กองอยู่จะเอาไปทำอะไร ประชาชนก็สงสัย”
       
       สำหรับการแก้ไขแบบยั่งยืน หรือการเตรียมพื้นที่รับน้ำสำหรับชะลอน้ำหลากก่อนปล่อยออกมาเมื่อน้ำลดนั้น อดีตอธิบดีกรมชลประทาน มองว่า ในต่างประเทศ หากสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบผลักดันน้ำ หรือมีการผลักน้ำเข้าและกักไว้อย่างเป็นระบบแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ใหญ่โตกินอาณาเขตนับล้านไร่ ต่างจากของเรา ระบุไว้เป็นล้านไร่ ของเขาแค่ 50 ไร่ก็ทำได้
       
       ทั้งนี้ ปราโมทย์ ยังย้ำว่า แนวคิดอันว่าด้วยการเตรียมพื้นที่รับน้ำของรัฐบาลชุดนี้ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้รับข้อมูล หรือข้อเท็จจริงว่าพื้นที่อันทรงประสิทธิภาพดังกล่าวนั้น อยู่ในอาณาบริเวณใดบ้าง และจะมีระบบการจัดการอย่างไร ที่ทำให้พื้นที่รับน้ำเกิดขึ้นได้จริง เพราะทุกวันนี้ รัฐยังไม่มีการสำรวจพื้นที่และพูดคุยกับชาวบ้านอย่างจริงจัง
       
       “ไม่รู้ว่าขอบข่ายเป็นยังไง ถ้าทำแล้วชาวบ้านจะได้รับผลกระทบแค่ไหน ยังเป็นเรื่องซับซ้อน วันนี้รัฐบาลบอกว่าหาพื้นที่ แล้วหาแบบไหน ไม่ได้หาแบบละเอียดใช้แต่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และคำนวณทางคณิตศาสตร์ ทั้งที่ควรจะลงพื้นที่แบบละเอียด ดังนั้น วันนี้ผมจึงยังตอบคุณไม่ได้ว่าจะมีสิ่งก่อสร้างอะไรอยู่ในพื้นที่รับน้ำบ้าง รู้แค่คร่าวๆ ว่าควรจะมีการกักน้ำไว้ ไม่ให้ออก เมื่อน้ำด้านนอกคลี่คลายแล้ว จึงค่อยๆ ปล่อยออกมา ผมจึงกังวลว่า การทำพื้นที่รับน้ำขึ้นมาใหม่โดยไม่ชี้แจงชาวบ้านอาจจะก่อความโกลาหล ไม่สามารถช่วยอะไรได้ในปี 2555 หรือในปี 2556 ก็ไม่สามารถช่วยได้อีก”
       
       แนวทางที่ควรทำนั้น ปราโมทย์ ยกตัวอย่างประกอบ เช่นถ้าหากเห็นว่าพื้นที่ที่เหมาะสมคือ อ.วิเศษไชยชาญ จ.สิงห์บุรี ก็ต้องระบุชัดๆ ส่วนลักษณะหรือคุณสมบัติของพื้นที่รับน้ำก็ต้องมีลักษณะเป็นแอ่ง เป็นท้องกะทะ รัฐบาลต้องระบุขอบเขต มีอาณาบริเวณที่ระบุให้ชัด ต้องลงไปคุยกับ อบต. ไปคุยกับแกนนำชาวบ้าน อธิบายรายละเอียดให้เขาเข้าใจชัดเจนว่าถ้าน้ำไหลบ่ามาแล้วจะขอให้น้ำเข้ามาในพื้นที่ของเขา ต้องชี้แจงให้ได้ว่านานกี่วันจึงจะผลักน้ำออกไป เป็นรายละเอียดที่ต้องทำให้เรียบร้อย
       
       “รัฐต้องตอบคำถามชาวไร่ชาวนาให้ได้ การร่างแนวคิดในกระดาษมันดูเหมือนจะง่าย เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่า ปี 2555 พื้นที่น้ำหลากจะรองรับได้ไหม ผมก็ไม่แน่ใจจริงๆ แต่พื้นที่ที่รับน้ำตามธรรมชาตินั้นมีอยู่แล้ว อย่างในปี 2554 มีพื้นที่แบบนี้อยู่เต็มเลย”
       
       ถึงวันนี้ จึงอาจสรุปได้ว่า งบประมาณกว่า 3. 5 แสนล้าน ที่อนุมัติมาเพื่อการแก้ไขรับมือปัญหาอุทกภัยนั้นยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม และรัฐก็ไม่สามารถอธิบายได้ถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน ซึ่งปราโมทย์ เองก็ยอมรับต่อข้อสังเกตดังกล่าวว่า “ใช่ เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ แล้วถ้าสักแต่ว่าจะใช้งบประมาณนี่ ใช้สุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้นะครับ มันต้องมีเป็นแผนงาน ตัวงาน ต้องระบุให้ชัดว่างานอะไร เป็นรูปธรรมอย่างไร หมดงบเท่าไหร่ และมันต้องมีผลของความสำเร็จที่พิสูจน์ได้ พูดไปแล้วผู้คนต้องมองออก ไม่ใช่ว่าใช้จ่ายเงินไปโดยไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม ไม่เช่นนั้น นี่ก็จะเป็นปัญหาต่อไปภายในอนาคต สำหรับพื้นที่รับน้ำหลากที่เป็นโครงการใหม่ซึ่งยังไม่มีอะไรชัดเจนก็เป็นเรื่องของงบประมาณแผ่นดินที่ใช้สุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้”
       
       'พื้นที่รับน้ำ' ปราการธรรมชาติที่ตกสำรวจ
       
       เมื่อเอ่ยถึงพื้นที่รับน้ำ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในแนวทางที่ถูกวางไว้ว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาอุทกภัยในอนาคต ปราโมทย์ อธิบายว่า พื้นที่รับน้ำก็คือพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีลักษณะเป็นท้องกะทะชัดเจน ต้องทำความเข้าใจว่า พื้นที่รับน้ำ ต่างจากพื้นที่น้ำนองอย่างสิ้นเชิง พื้นที่น้ำนองก็คือพื้นที่ราบที่น้ำท่วมถึง ขณะที่พื้นที่รับน้ำต้องสามารถพักหรือกักน้ำไว้ไม่ให้ไหลออกไปได้ในระยะเวลาหนึ่ง
       
       “พื้นที่ลุ่มต่ำมีอยู่ในหลายจังหวัด เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่ต่อเนื่องกันไปเป็นแผง เช่น อ.ผักไห่ บางปะอิน บางไทร วังน้อยทั้งอำเภอ เหล่านี้ไม่ใช่พื้นที่รับน้ำเป็นพื้นที่น้ำนอง เป็นพื้นที่น้ำท่วมถึง น้ำเต็มเป็นหน้ากระดานไปหมด หรืออย่างอ่างทอง ถ้าน้ำล้นตลิ่งเข้าไปก็ท่วมหมด แต่พื้นที่ที่จะเป็นพื้นที่รับน้ำ ต้องเป็นแอ่งท้องกะทะ เป็นที่ลุ่ม เช่น ทุ่งบางโฉมศรี อ.บ้านหมี่ อ.เมืองลพบุรี นี่คือพื้นที่ชะลอน้ำหลาก ที่เราต้องหาทางอุดไม่ให้น้ำไหลลงมาที่แม่น้ำลพบุรี แต่ทุกวันนี้ เมื่อน้ำมันไหลเข้าไปโดยอัตโนมัติแล้วก็กันเอาไว้ไม่อยู่ น้ำก็ล้นมาที่แม่น้ำลพบุรี ไปบรรจบแม่น้ำป่าสักแล้วโจมตีอยุธยา”
       
       ดังนั้น พื้นที่แอ่งท้องกะทะ จึงต้องมีขอบเขต ต้องมีสันเนินเตี้ยๆ กั้นเอาไว้ ให้น้ำเข้าได้แต่ไม่ให้น้ำออก น้ำจะเข้าทางไหนต้องหาให้เจอ แล้วหาทางอุดไว้ เพราะถ้าน้ำไหลเข้ามาแล้วอุดไว้ไม่ได้ มันก็ป่วยการ ไม่มีประโยชน์ ไม่ต่างจากบางไทรหรือปทุมธานี ที่เวิ้งว้างเป็นพื้นที่น้ำนอง ไม่ใช่พื้นที่รับน้ำ เช่นเดียวกับบางปะอิน, เสนา, วังน้อย บางไทร
       
       ปราโมทย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ในต่างประเทศก็มีวิธีการทำพื้นที่ชะลอน้ำหลากก่อนที่น้ำจะไหลบ่ามาโจมตีพื้นที่เศรษฐกิจ แต่เมื่อระบุพื้นที่ได้แล้ว เขาทำอย่างมีขอบเขตและมีการสำรวจระดับเนินดินที่จะกั้นน้ำให้ชัดเจน ไม่ใช่ใช้การสำรวจเพียงจากคอมพิวเตอร์ หรือภาพถ่ายดาวเทียม ต่างจากรัฐบาลไทย ที่ ณ ตอนนี้ พื้นที่รับน้ำไม่ต่ำกว่า 2 ล้านไร่ ยังไร้การลงพื้นที่สำรวจอย่างจริงจัง
       
       “ตอนนี้ที่เขาทำรายงานไว้คือ 2 ล้านไร่ ซึ่งเราต้องมองแบบหน่วยย่อยด้วย คือลดลงมาเป็นตารางกิโลเมตร ตารางเมตร ต้องแปลงหน่วยออกมาเป็นตารางเมตร ตารางกิโลกเมตร แล้วต้องถัวเฉลี่ยว่าจะรับน้ำได้เท่าไหร่ คือประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ 2 ล้านไร่ที่คิดกันไว้นี้ มันไม่ใช่ว่าจะหาได้หรือติดกันเป็นแผงใหญ่ ยิ่งในภูมิประเทศแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา หาไม่ได้เลย มันมีแค่เป็นหย่อมๆ หรือผมจะขอยกตัวอย่างพื้นที่ที่ทุ่งบางระกำ นี่แหละคือพื้นที่รับน้ำหลาก เราอาจจะทำที่กั้นน้ำ พักน้ำเอาไว้ ยังไม่ให้น้ำออกในคราวเดียว อุดมันไว้ ให้น้ำขังไว้สักสองเดือน เมื่อแม่น้ำยมเข้าไปแล้วค่อยปล่อยออก นี่คือวิธีที่จะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งทุ่งบางระกำนั้น โดยธรรมชาติแล้วมีความสามารถในการรับน้ำเข้าไปอยู่แล้ว และน้ำก็มักจะขังอยู่ข้างใน”
       
       แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการมองหาพื้นที่ชะลอน้ำในแห่งหนตำบลอื่นๆ นั้น เป็นหนทางที่ ปราโมทย์ มองว่าไม่สำคัญเท่าการบริหารจัดการที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งรัฐบาลและส่วนราชการทุกภาคส่วน ทุกองค์กรรวมถึงกรุงเทพมหานครฯ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาล ควรต้องเตรียมรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นอีกในภายภาคหน้า มากกว่าจะมัวมองหาพื้นที่ที่จะผลักภาระหรือความเดือนร้อนออกไปให้พ้นตัว
       
       “สิ่งสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านตรัสเสมอ และพวกผมจำไว้มั่นคือ 'อย่าโยกย้ายความเดือดร้อนจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง' ต้องแก้ปัญหาให้ได้ ว่าอะไรเป็นอะไร นี่คือสิ่งสำคัญ”
       
       ทุกฝ่ายต้องบูรณาการและเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
       
       หนึ่งในคำถามสำคัญที่ยังตกค้างมาจากวิกฤติอุทกภัยเมื่อปี 2554 นั้น ย่อมไม่พ้นเรื่องของความบกพร่องในการบริหารจัดการน้ำที่มีมวลมหาศาลมากกว่าปีก่อนๆ ทั้งที่ทุกภาคส่วนของรัฐซึ่งควรจะติดตามสถานการณ์เรื่องระดับน้ำทั้งเกาะติดการพร่องน้ำจากเขื่อนอย่างใกล้ชิด กลับมัวกล่าวโทษกันไป-มา หรือมัวแต่ฝากความหวังไว้ที่การพร่องน้ำจากเขื่อนว่าจะสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่รับน้ำไม่ให้เกิดน้ำหลากเมื่อหน้าน้ำมาถึง
       
       ทัศนะจาก ปราโมทย์ ไม้กลัด ที่มีต่อการพร่องน้ำจากเขื่อน รวมถึงปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ในการเกิดอุทกภัย อาจช่วยสะกิดเตือนให้รัฐและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึง กทม. หันมาทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อม ทั้งร่วมมือร่วมแรงกันในการตั้งรับปัญหาได้ดีขึ้นบ้าง
       
       “หากถามว่ามาตรการพร่องน้ำจากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์จะช่วยป้องกันอุทกภัยไม่ให้มาถึงกรุงเทพมหานครได้ไหม? ตอบว่าทำได้แค่ส่วนหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าหากบริหารจัดการน้ำจากเขื่อนแล้วจะแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง นั่นคือต้องดูว่าฝนที่ตกหนักมานั้นตกย่านไหน เช่น ถ้าพฤติกรรมของฝน มันตกหนักในภาคเหนือมากเหมือนปี 2554 เขื่อนทั้ง 2 เขื่อน ก็จะมีโอกาสดักน้ำได้เยอะ แต่ถ้าฝนมันตกมากในภาคกลางตอนบนและภาคกลางตอนล่าง จนเกิดน้ำหลากมาถึงกรุงเทพฯ นี่เป็นปัญหาของกรุงเทพฯโดยตรง ไม่เกี่ยวกับเขื่อนแล้ว เพราะเขื่อนภูมิพล ทำหน้าที่ดักน้ำจากแม่น้ำปิงส่วนยอด ส่วนแม่น้ำปิงตอนปลายท้ายเขื่อนยังมีน้ำอีกเยอะ ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ ก็ดักน้ำจากลุ่มน้ำน่านส่วนยอด ตั้งแต่ลุ่มน้ำน่านตอนปลายท้ายเขื่อนมาจนถึงแม่น้ำยมนี่ เขื่อนสิริกิติ์ ดักไม่ได้เลย ดังนั้น เราต้องดูว่าฝนตกที่ย่านไหนหนักที่สุด
       
       “สำหรับกรุงเทพฯ นั้น เมื่อปีกลายที่ผ่านมา น้ำฝนไม่มีผลโดยตรงต่อทั้งปริมณฑลและกรุงเทพฯ เลย แต่อุทกภัยที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากน้ำเหนือและน้ำทะเลหนุน แต่เมื่อมีฝนตกหนักๆที่บริเวณภาคกลาง และไปประจวบเหมาะกับน้ำทะเลหนุน กับน้ำเหนือด้วยก็เลยไปกันใหญ่ ส่วนน้ำทะเลหนุนนั้นก็เป็นจังหวะตามธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น พฤติกรรมของน้ำจะกลายไปเป็นอุทกภัยหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับหลายเหตุผล ผมยกตัวอย่างปี พ.ศ.2538 ที่น้ำท่วม กทม. มาก เป็นน้ำภาคกลางเยอะ หนอกจอก ลาดกระบัง เจิ่งนองเป็นทะเล นั่นเพราะน้ำฝนที่มาจากเขาใหญ่ มาจากสระบุรี ส่วนปี พ.ศ.2533 น้ำท่วมกทม. เยอะจนทุ่งรังสิตล่มเลย นั่นเพราะน้ำฝนจากภาคกลาง
       
       “ถามว่า กทม. จะเบาใจได้อย่างไร? มันก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ เหล่านั้น ถ้าปี 2554 น้ำมาก แล้ว กทม. จะทำอย่างไรใน ปี 2555 กทม. ก็ต้องยันน้ำไว้ ถ้าน้ำบ่าแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา กทม. ก็ต้องยันให้ดีกว่าปี 2554 เพราะน้ำมีระดับสูง คันกั้นน้ำต้องซ่อมแซม อย่าให้ขาด อย่าให้หลุด แล้วทางน้ำที่จะเบี่ยงไปทางตะวันออกหรือตะวันตก ก็ต้องดูแลซ่อมแซม”
       
       เพราะฉะนั้น กทม.เอง ก็ควรติดตามสถานการณ์น้ำและฝนในทั่วทุกภาคของประเทศอย่างใกล้ชิดมิใช่สนใจเฉพาะเรื่องการพร่องน้ำจากเขื่อน “เราต้องดูพฤติกรรมน้ำ ต้องดูปริมาณฝนตกท้ายเขื่อนที่มักสร้างปัญหา ซึ่งกทม. ก็เคยเผชิญมาหลายครั้ง ทั้งปี พ.ศ.2526, 2533, 2538 นี่แหละ คืออุทกภัย ที่มันไม่ใช่เกิดจากการพร่องน้ำเขื่อน ถ้าฝนตกท้ายเขื่อนเยอะๆ เราจะทำอย่างไร เพราะฉะนั้น คันกั้นน้ำของกทม. ต้องมีความแข็งแรง ไม่ใช่ใช้กระสอบทราบ กระสอบทรายควรจะเลิกได้แล้ว เรามีเวลาเตรียมตัวมาตั้งเยอะ ต้องหาวิธีที่จะกันน้ำให้อยู่ ต้องบริหารชุมชนให้ดี อย่าทะเลาะเบาะแว้ง ถ้าเหนือทุ่งรังสิตกันไม่อยู่ แล้วน้ำโจมตีดอนเมือง ก็เป็นเรื่องอีก น้ำจะต้องผ่านไปทางตะวันออก ก็ต้องปล่อยให้ผ่านอย่าสะกัดกั้น ต้องรีบทำความเข้าใจกับประชาชน ส่วนเรื่องของระดับน้ำทะลหนุนนั้นเป็นจังหวะของเขาตามธรรมชาติ กลางเดือน 11 กลางเดือน 12 เราหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอก ดังนั้น กทม. ต้องมีความพร้อมว่าจะเตรียมรับมืออย่างไร?”
       
       แนวพระราชดำริ 'โมเดล' ที่รัฐบาลควรศึกษา
       
       ท้ายที่สุดหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) และอดีตอธิบดีกรมชลประทาน ไม่ลืมแนะนำรัฐบาลถึงการน้อมนำแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยให้ไว้ ซึ่งไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนสายพระเนตรของพระองค์ท่านก็ยังคงทันต่อสถานการณ์เสมอ
       
       “ผมมองว่ารัฐบาลยังน้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ขับเคลื่อนไม่ชัดเจน แม้ปากก็บอกว่าน้อมนำพระราชดำริมาใช้ แต่ไม่ชัดเจนหรอก หลักการจัดการกับปัญหาอุทกภัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีอยู่หลายประเด็น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ภูมิสังคม แต่ละที่ก็ย่อมต้องมีวิธีการจัดการที่ไม่เหมือนกัน แต่หลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็คือเมื่อเกิดอุทกภัยขึ้นแล้ว ต้องหาทางทำให้มันออกไปเร็ว ๆ นี่เป็นหลักสำคัญของพระราชดำรัส ทำอย่างไรให้มันไหลออกไปเร็ว ๆ อย่าปะทะกับเขตเศรษฐกิจ เขตเมือง แล้วการหาทางให้น้ำมันไปเร็วๆ นี่ทำอย่างไร
       
       ผมขอยกตัวอย่างนอกเขตกทม. อย่างเช่น เขตเศรษฐกิจที่หาดใหญ่ ก็มีการสร้างทางผันน้ำจากคลองอู่ตะเภาลงสู่ทะเลสาบสงขลา เพราะไม่เช่นนั้น น้ำจะโจมตีเขตเศรษฐกิจ แล้วจากนั้นก็ผลักน้ำสู่ทะเลอีกทางหนึ่ง หรือในจังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2540 เกิดอุทกภัย พระองค์ท่านก็บอกให้ทำคลองผันน้ำจากท่าตะเภา ออกไปอ่าวไทยเร็วๆ เพื่อไม่ให้มันไปโจมตีเขตเศรษฐกิจของตัวเมือง”
       
       กรุงเทพฯ ก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่กรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ ซึ่งพระองค์ท่านก็ทรงแนะนำไปแล้ว เมื่อปี 2538 ว่าต้องให้น้ำเดินทางไปตามฟลัดเวย์ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ปล่อยน้ำไปทางฟลัดเวย์โดยให้น้ำผ่านไปโดยเร็ว แต่ถ้าไม่มีฟลัดเวย์ ก็ต้องสร้างขึ้นมา
       
       “ถ้าฝั่งธนบุรีไม่มีทางระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยเลย ก็ต้องคิดสิ จะทำอย่างไร เพราะอุทกภัยนั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะโจมตีทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ตั้งแต่อยุธยา ทุ่งรังสิต แล้วน้ำก็มาอัดอั้นอยู่รวมกันจะผลักน้ำไปแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเดียวก็ไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร? ให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดระดับลง ไม่บ่าตลิ่งเข้ามา แต่เราก็ทำแบบอ่อยๆ ผมก็ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร เหมือนยังไม่มีการแก้ที่ตรงจุดและการแก้ปัญหานั้นไม่ใช่แก้เพียงครั้งเดียว ต้องใช้เวลากันหน่อย
       
       สำหรับการทำฟลัดเวย์ที่มีการเอ่ยถึง ก็ควรต้องทำการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ต้องวิเคราะห์ ศึกษา สำรวจ ออกแบบ ให้ได้ชัดเจน แล้วจึงค่อยสร้าง แม้ต้องใช้เวลาวิเคราะห์ศึกษาสัก 5-6 ปี เราก็อาจต้องทนกันหน่อย รวมแล้วกว่าจะสร้างเสร็จอาจต้องใช้เวลาสัก 10 ปี เพื่อให้ได้มาซึ่งการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ช่วงนี้เราก็อาจต้องอดทน ต้องช่วยกันบริหารจัดการวิกฤตที่เกิดขึ้น ธรรมชาติคงจะไม่โหดร้ายกับเราจนทำให้เกิดเรื่องร้ายได้ทุกปี
       
       “บางแห่งที่มีน้ำไม่เยอะเราก็อาจสร้างอ่างเก็บน้ำดักไว้ได้ แต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น น้ำเยอะสร้างอ่างเก็บน้ำไม่ได้ หรือผมยกตัวอย่างหาดใหญ่ ยกตัวอย่างชุมพร แม้แต่สุไหงโกลกก็มี ยังมีอีกหลายที่ที่เขาทำทางผันน้ำลงไป ซึ่งเป็นหลักตามวิศวกรรมที่เมื่อน้ำมันล้นตลิ่งขึ้นมาเราก็ต้องหาวิธีผลักให้น้ำมันลดออกไปเร็วๆ หรือยกตัวอย่างคลองลัดโพธิ์นั้น ก็สามารถช่วยให้ประชาชนในย่านนั้นไม่ต้องเจอปัญหาน้ำล้นตลิ่ง สุดท้ายแล้ว มันอยู่ที่ว่า ทุกภาคส่วนจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังแค่ไหน”
       
       “แต่ต้องไม่ลืมยึดหลักสำคัญที่พระองค์ท่านรับสั่งไว้ว่า อย่าโยกย้ายความเดือดร้อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง”
        …..


พิมพ์จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000035958
 
      บันทึกการเข้า
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788

« ตอบ #5798 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 15:09:14 »


  สวัสดีครับเหยง

            ช่วงปีสองปีหลังนี้กิจกรรมการรวมกลุ่มสังสรรค์เที่ยวทัศนศึกษาแบบที่เคยทำกันเป็นประจำเมื่อ 3-4 ปีก่อน

นั้นหายไป(ตามความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่ากิจกรรมนี้จะสร้างความรู้จักไกล้ชิดสนิทสนมระหว่างพี่น้องชาวซีมะโด่ง

ได้ดีที่สุด) อยากจะแนะนำกรรมการชุดใหม่นี้น่าจะลองพิจารณาทบทวนนโยบายกิจกรรมของสมาคมฯอีกครั้ง เรื่องกิจ

กรรมอื่นๆตามหลักการเพื่ออุดมคตินั้นปล่อยให้สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ซึ่งเขามีัทั้งกำลังเงินและกำลังคนมากกว่าเขาทำ

ไปเถอะ อย่าไปคิดแข่งทำกับเขาเลยเอาเป็นว่าเราช่วยสนับสนุนเขาก็พอแล้ว น่าจะคิดว่าพวกเราชาว Cmadong มา

รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ใหญ่จริงๆคืออะไร?คำตอบนี้ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วครับ การจัดกิจกรรมเที่ยวทัศนศึกษา

ปีละ 2-3 ครั้งมิใช่เป็นเรื่องไร้สาระหรือเป็นเรื่องเอาแต่สนุกสนานกันดังทีบางคนคิด แต่มันแฝงประโยชน์ตามที่กล่าว

ข้างต้นครับ




 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #5799 เมื่อ: 21 มีนาคม 2555, 19:13:26 »

พี่แก้วครับ

ผมตรวจเช็คดูแล้ว วันหยุดปีนี้มีน้อยวันมากที่สามารถหยุดยาวได้ 4 วันขึ้นไป
ไม่หมือนวันหยุดในรัฐบาลอภิสิทธิ์ วันหยุดแจกกันเป็นว่าเล่น
รัฐบาลปูไม่ชอบให้มีวันหยุดยาว เพราะอยากให้คนไปเล่นหุ้น จะได้เสียเยอะๆ เพราะเขาลงทุนไว้
ปีนี้ มีวันหยุดยาวน้อย ยกเว้นเดือนสิงหาคม 2555 นี้เอง ที่มีวันหยุดติดต่อกัน 4 วัน
เริ่มพฤหัสบดีที่ 2 วันอาสาฬหบูชา
ศุกร์ั้ืที่ 3 วันเข้าพรรษา เสาร์ที่ 4 และอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม ครับ
หากจัดทัวร์นั่งรถ ก็ไปประเทศเพื่อนบ้านได้ อาทิ สปป.ลาว เวียตนาม
ส่วนพม่าต้องนั่งเครื่อง เช่นเดียวกับมาเลเซีย หรือสิงคโปร์ รวมทั้งทัวร์จีนด้วย

เย็นวันนี้ ผมปรึกษาพี่ติ๋ว-จันทร์แจ่ม แล้วครับ เห็นบอกว่า จะปรึกษากับพี่หลิว ในวันที่ 26 นี้
มีอีกรายการคือ จางเสียเจี้ย ซึ่งพี่เป้าอยากไปในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ต่อเดือนมิถุนายนนี้


หากพี่แก้วได้พบกับพี่หลิว ลองเสนอแนวทางรวมทั้งสถานที่ที่จะไปด้วยครับ



      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 230 231 [232] 233 234 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><