เหยง 16
|
|
« ตอบ #5325 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2555, 20:06:16 » |
|
กลับมาก็พบกับข่าวนี้ครับ ถือว่าเป็นข่าวดี เนื่องจากเป็นการรุก ไม่ใช่การตั้งรับสถานการณ์แบบครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา“มหาดไทย” สั่ง “24 ผู้ว่าฯ” ทำแผนรับมือน้ำท่วมเฉพาะหน้า เพื่อรายงาน “ครม.นกขมิ้น”ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 18:49:34 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงมหาดไทยได้ออกหนังสือเวียนที่ มท 0212.1/ว 485 สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 24 จังหวัด ได้ “เตรียมการ ติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” เพื่อให้ทางจังหวัดเตรียมการติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อรายงานต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในการเดินทางมาตรวจเยี่ยมระหว่างวันที่ 13 — 17 ก.พ.นี้
โดยเป็นจังหวัดพื้นที่ต้นน้ำ 10 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และพะเยา สำหรับพื้นที่กลางน้ำมี 6 จังหวัด พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร และชัยนาท ในขณะที่พื้นที่ปลายน้ำตอนบนมี 8 จังหวัด สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และนครนายก
อย่างไรก็ตาม หนังสือเวียนสั่งการมีใจความอีกว่า ให้จังหวัดดำเนินการติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ มีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ 1. จัดเตรียมข้อมูลการทำแผนป้องกันอุทกภัยเฉพาะหน้าก่อนฤดูฝน ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้ขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืชที่ขวางทางเดินของน้ำ การทำแก้มลิงการกักเก็บน้ำ โดยให้บูรณาการกับแผนปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผนบริหารจัดการทรัพยากรของน้ำ ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)
2.ให้เร่งรัดการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครัวเรือนละ 5, 000 บาท ให้เสร็จโดยเร็วและให้จัดเตรียมข้อมูลผลการดำเนินการปัญหาและอุปสรรค
และ 3. ให้ประสานงานกับหน่วยงาน ส่วนราชการในจังหวัดจัดทำแผนงาน โครงการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในระยะยาวของจังหวัด โดยข้อสั่งการ 3 ข้อทางผู้ว่าจังหวัดทั้ง 24 จังหวัดต้องรายงานให้ทางนายกรัฐมนตรีทราบ ในวันที่มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมระหว่าง 13 — 17 ก.พ. นี้ ลงนามโดย นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย
นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีกระทรวงมหาดไทยรับหน้าที่ดูแลการจัดหาพื้นที่รับน้ำและจ่ายเงินชดเชย ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบเรื่องที่ทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้วางแผนการเวนคืน เพื่อทำพื้นที่ระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) แต่กรมโยธาธิการและผังเมืองน่าจะมีแผนจัดการ ร่วมกับ กยน.อยู่แล้ว
นายประชา กล่าวว่า สำหรับแผนเฉพาะหน้ารับมืออุทกภัย ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผวจ.) ทั้ง 24 จังหวัด ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบใน 3-4 เดือน จะปล่อยให้ผักตบกองหน้าบ้าน แล้วไหลไปยังเขตจังหวัดอื่นไม่ได้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้ทุกจังหวัดต้องเคลียร์เส้นทางน้ำ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เพราะอีก 3 เดือนจะเข้าสู่ฤดูฝน เพราะฉะนั้นแก้มลิงธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง ต้องถูกขุดลอกและขยายอย่างเร่งด่วน ซึ่งผวจ.สามารถสั่งการได้ บูรณาการได้ทั้งกระทรวง ทบวง กรม รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
ส่วนแนวคิดเรื่องการเวนคืนที่ดินสำหรับทำแนวฟลัดเวย์นั้น นายประชา กล่าวว่า เห็นด้วย เพราะพื้นที่ราบลุ่มในจังหวัด สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยานั้นถือว่าถูกน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งก็ต้องเจรจาต่อรองเพื่อจ่ายเงินชดเชยให้กับประชาชนในพื้นที่ว่าอัตราที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ตารางวาละเท่าใด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือพื้นที่ของนายทุน ที่อาจอาศัยประโยชน์จากการจ่ายเงินชดเชยในอัตราดังกล่าว ทั้งที่มีพื้นที่ว่างและไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร รอเพียงให้น้ำท่วมและรับเงินชดเชยอย่างเดียว
“จะทำฟลัดเวย์ให้เสร็จปีเดียว เป็นไปได้ยาก คิดน่ะมันเร็ว แต่ทำจริงไม่ง่ายหรอก ความคิดเห็นผมแก้มลิงเร็วที่สุด แต่ฟลัดเวย์ต้องอย่างน้อย 3-4 ปี เพราะต้องหาพื้นที่ ประกวดราคา จัดซื้ออะไรอีก แต่เรื่องนี้ช้าไม่เป็นไร แต่ถึงเวลาต้องเริ่มต้นแล้ว ซึ่งกรมโยธาฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขาก็สำรวจไว้หมด รอให้ กยน.เคาะเท่านั้น” นายประชา กล่าว
รองปลัดกระทรวงมหาดไทยยังได้กล่าวถึงการเร่งรัดงบประมาณสำหรับโครงการเร่งด่วน ว่าขณะนี้ยังคงลงไปไม่มากเนื่องจากหลายโครงการยังซ้ำซ้อนกันระหว่างโครงการของผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานของแต่ละกระทรวงประเมินราคามา แต่ในสัปดาห์นี้จะเร็วขึ้น เนื่องจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลงไปดูยังสำนักงบประมาณด้วยตัวเอง ส่วนการประกวดราคานั้น จะปรับขั้นตอนด้วยการให้ประมูลบริษัทที่รับเหมาโครงการล่วงหน้า เมื่องบประมาณลงมาก็สามารถเซ็นสัญญาได้ทันที ไม่ต้องรองบประมาณลงมาก่อนเหมือนในอดีตhttp://www.ryt9.com/s/nnd/1338196
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5326 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2555, 20:09:53 » |
|
อ่านข่าวเปรียบเทียบกัน เผื่อผิดพลาดครับ........มท.ฉีกหน้า รบ.ชี้ ฟลัดเวย์รออีก 4 ปี สั่ง 24 ผู้ว่าฯหลอนทัวร์นกแก้ว 6 กุมภาพันธ์ 2555 19:07 น. มหาดไทย ออกหนังสือเวียน สั่ง 24 ผู้ว่าฯ ทำแผนรับมือน้ำท่วมระยะสั้น รอรายงาน “ทัวร์นกแก้ว” ช่วงกลางเดือนนี้ ยันไม่รู้เรื่อง กยน.มอบหมาย มท.เป็นเจ้าภาพจัดทำฟลัดเวย์ ลั่น เป็นโครงการระยะยาว ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ปี แบมือรองบชดเชยจัดสรรพื้นที่รับมือน้ำหลาก วันนี้ (6 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงมหาดไทย ได้ออกหนังสือเวียนที่ มท 0212.1/ว 485 สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 24 จังหวัด ได้ “เตรียมการ ติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” เพื่อให้ทางจังหวัดเตรียมการติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อรายงานต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการเดินทางมาตรวจเยี่ยมระหว่างวันที่ 13-17 ก.พ.นี้ โดยเป็นจังหวัดพื้นที่ต้นน้ำ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และ พะเยา สำหรับพื้นที่กลางน้ำมี 6 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร และ ชัยนาท ในขณะที่พื้นที่ปลายน้ำตอนบนมี 8 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และนครนายก อย่างไรก็ตาม หนังสือเวียนสั่งการมีใจความอีกว่า ให้จังหวัดดำเนินการติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ มีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ 1.จัดเตรียมข้อมูลการทำแผนป้องกันอุทกภัยเฉพาะหน้าก่อนฤดูฝน ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้ขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืชที่ขวางทางเดินของน้ำ การทำแก้มลิงการกักเก็บน้ำ โดยให้บูรณาการกับแผนปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผนบริหารจัดการทรัพยากรของน้ำ ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) 2.ให้เร่งรัดการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท ให้เสร็จโดยเร็วและให้จัดเตรียมข้อมูลผลการดำเนินการปัญหาและอุปสรรค และ 3.ให้ประสานงานกับหน่วยงาน ส่วนราชการในจังหวัดจัดทำแผนงาน โครงการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในระยะยาวของจังหวัด โดยข้อสั่งการ 3 ข้อ ทางผู้ว่าฯทั้ง 24 จังหวัด ต้องรายงานให้ทางนายกรัฐมนตรีทราบ ในวันที่มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมระหว่าง 13-17 ก.พ.นี้ ลงนามโดย นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีกระทรวงมหาดไทย รับหน้าที่ดูแลการจัดหาพื้นที่รับน้ำและจ่ายเงินชดเชย ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบเรื่องที่ทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้วางแผนการเวนคืน เพื่อทำพื้นที่ระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) แต่กรมโยธาธิการและผังเมืองน่าจะมีแผนจัดการ ร่วมกับ กยน.อยู่แล้ว นายประชา กล่าวว่า สำหรับแผนเฉพาะหน้ารับมืออุทกภัย ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผวจ.) ทั้ง 24จังหวัด ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบใน 3-4 เดือน จะปล่อยให้ผักตบกองหน้าบ้าน แล้วไหลไปยังเขตจังหวัดอื่นไม่ได้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้ทุกจังหวัดต้องเคลียร์เส้นทางน้ำ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เพราะอีก 3 เดือนจะเข้าสู่ฤดูฝน เพราะฉะนั้นแก้มลิงธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง ต้องถูกขุดลอกและขยายอย่างเร่งด่วน ซึ่ง ผวจ.สามารถสั่งการได้ บูรณาการได้ทั้งกระทรวง ทบวง กรม รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ส่วนแนวคิดเรื่องการเวนคืนที่ดินสำหรับทำแนวฟลัดเวย์นั้น นายประชา กล่าวว่า เห็นด้วย เพราะพื้นที่ราบลุ่มในจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา นั้น ถือว่าถูกน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งก็ต้องเจรจาต่อรองเพื่อจ่ายเงินชดเชยให้กับประชาชนในพื้นที่ว่าอัตราที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ตารางวาละเท่าใด แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ พื้นที่ของนายทุน ที่อาจอาศัยประโยชน์จากการจ่ายเงินชดเชยในอัตราดังกล่าว ทั้งที่มีพื้นที่ว่าง และไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร รอเพียงให้น้ำท่วมและรับเงินชดเชยอย่างเดียว “จะทำฟลัดเวย์ให้เสร็จปีเดียว เป็นไปได้ยาก คิดน่ะมันเร็ว แต่ทำจริงไม่ง่ายหรอก ความคิดเห็นผมแก้มลิงเร็วที่สุด แต่ฟลัดเวย์ต้องอย่างน้อย 3-4 ปี เพราะต้องหาพื้นที่ ประกวดราคา จัดซื้ออะไรอีก แต่เรื่องนี้ช้าไม่เป็นไร แต่ถึงเวลาต้องเริ่มต้นแล้ว ซึ่งกรมโยธาฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขาก็สำรวจไว้หมด รอให้ กยน.เคาะเท่านั้น” นายประชา กล่าว รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ยังได้กล่าวถึงการเร่งรัดงบประมาณสำหรับโครงการเร่งด่วน ว่าขณะนี้ยังคงลงไปไม่มาก เนื่องจากหลายโครงการยังซ้ำซ้อนกันระหว่างโครงการของผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานของแต่ละกระทรวงประเมินราคามา แต่ในสัปดาห์นี้จะเร็วขึ้น เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงไปดูยังสำนักงบประมาณด้วยตัวเอง ส่วนการประกวดราคานั้น จะปรับขั้นตอนด้วยการให้ประมูลบริษัทที่รับเหมาโครงการล่วงหน้า เมื่องบประมาณลงมาก็สามารถเซ็นสัญญาได้ทันที ไม่ต้องรองบประมาณลงมาก่อนเหมือนในอดีตจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000016806
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5327 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2555, 20:31:27 » |
|
แต่ก่อนน้องน้ำจะมา..ระวังภัยแล้งซะก่อน.......ปภ.เตือนให้ระวังภัยแล้ง ก่อนเผชิญวิกฤตน้ำท่วมรอบ 26 กุมภาพันธ์ 2555 18:05 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนปีนี้ก่อนเจอน้ำท่วม เตรียมรับมือภัยแล้ง สั่งตั้งศูนย์อำนายการเฉพาะกิจทุกภาคส่วน วันนี้ (6 ก.พ.) นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี หลายพื้นที่ของประเทศไทยมักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำไว้อุปโภค บริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน อีกทั้งสถานการณ์ภัยแล้ง มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน ปภ.จึงได้ประสานให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ระดับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งให้จัดทำบัญชีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง แผนแจกจ่ายน้ำและกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงสำรวจวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้บรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้งให้อยู่ในสภาพร้อมใช้งาน ตรวจสอบแหล่งน้ำภาชนะเก็บกักน้ำให้มีใช้อย่างเพียงพอ ตลอดจนขุดลอก คู คลอง และแหล่งน้ำสาธารณะให้สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น รณรงค์ให้ประชาชนจัดเตรียมภาชนะกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และใช้น้ำอย่างประหยัด สำหรับการเกษตรให้วางแผนเพาะปลูกพืชให้เหมาะกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ทั้งนี้ ในการช่วยเหลือให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดลองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมขอให้จังหวัดถือว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เป็นนโยบายสำคัญที่ต้องเร่งกำหนดมาตรการและให้ความช่วยเหลือ โดยบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9550000016772
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5328 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2555, 21:49:10 » |
|
ดูข่าว Thai PBS เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา เป็นข่าวปัญหาน้ำยังท่วมขังในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเกษตรกรยังไม่สามารถปลูกข้าวนาปรังได้ หลังจากเกิดภัยน้ำท่วมใหญ่ในปีที่แล้ว
มีข้อมูลว่า จังหวัดสุพรรณบุรียังมีน้ำท่วมยังอยู่อีก 4 อำเภอคือ เมืองสุพรรณ อู่ทอง บางปลาม้า และสองพี่น้อง โดยรวมพื้นที่ 130,000 ไร่ ปริมาณน้ำถึง 200 ล้าน ลบ.ม.
และมีพื้นที่อื่นที่ยังมีน้ำท่วมอยู่คือ นครปฐม(อ.บางเลน) นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา (และน่าจะมีในบางพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ด้วย)
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5329 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2555, 23:06:04 » |
|
เมื่อสักครู่ ดูข่าว Sky Report ของช่อง 3 ซึ่งเดินทางไปดูเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ปล่อยน้ำในเขื่อนตามแผนของ กยน. เขื่อนภูมิพล มีน้ำ 80.89% จะปล่อยน้ำวันละ 60 ล้าน ลบ.ม./วัน ไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย. 55 เพื่อให้เหลือน้ำอีกร้อยละ 50 เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ 72.58% จะปล่อยน้ำ 49 ล้าน ลบ.ม./วัน ไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย. 55 เพื่อให้เหลือน้ำอีกร้อยละ 45
อย่างไรก็ตาม หากปีนี้ฝนน้อยและไม่เกิดภัยน้ำท่วม ปีนี้ ประเทสไทยเกิดภาวะภัยแล้งเป็นแน่ ?? !!!@~
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5330 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2555, 23:07:09 » |
|
สับสนดีครับ ระหว่าง "ภัยแล้ง" VS "น้ำท่วม" ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5331 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2555, 09:09:15 » |
|
สภาวะอากาศประจำวันนี้...........
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 เมื่อเวลา 04:00 น. ลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นและ
อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศา ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่งในระยะนี้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-12 ก.พ. ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรกหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ ทางตอนบนของภาค อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5332 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2555, 09:40:06 » |
|
กทม.เล็งยกระดับถนน 4 เส้น กั้นน้ำท่วม เริ่มมิ.ย. -ส.ค. วันอังคารที่ 07 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 06:44 น. สุวิภา บุษยบัณฑูร ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ นายวินัย ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการสำนักโยธา กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่าสำนักโยธามีแผนที่จะยกระดับถนนเพื่อกั้นน้ำท่วมจำนวน 4 สาย ซึ่งไม่ใช่ 20 สายตามที่มีการเสนอข่าวก่อนหน้า ได้แก่ 1.ถนนสุวินทวงศ์ 2.ถนนหทัยมิตร 3.ถนนราชอุทิศ และ 4.ถนนพุทธมณฑลสาย 3
"เฉพาะถนนพุทธมณฑลสาย 3 ซึ่งปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งเส้น ดังนั้นกทม.จึงมีแผนที่จะยกระดับถนนเส้นนี้ประมาณ 50 เซนติเมตรในระยะทาง 10 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือจะดำเนินการยกถนนประมาณ 1 กิโลเมตร" ผู้อำนวยการสำนักโยธา
สำหรับโครงการยกระดับถนนสำนักการโยธา จะรอการจัดสรรงบประมาณคาดว่าจะเริ่มเดือน เม.ย. จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาในเดือน พ.ค. เมื่อได้เอกชนที่ชนะการประกวดราคา การดำเนินการจะเริ่มเดือนมิ.ย.-ส.ค. อย่างไรก็ตามงบประมาณการดำเนินการขณะนี้ยังไม่ชัดเจน เพราะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะประชาชนที่จะได้รับผลกระทบหรือไม่หากมีการยกระดับถนนให้สูงขึ้นตามแผนโครงการดังกล่าวhttp://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=106273&catid=176&Itemid=524
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #5333 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2555, 18:22:47 » |
|
ยกถนนพุทธมณฑล สาย 3 อีก 50 ซม. จะรอดรึ ? เหยง เพราะปีนี้ระดับน้ำบนผิวถนนสูงตั้ง 1.8 เมตรน่ะ หรือว่ามีคำอธิบายการแก้ปัญหาจากการหาทางออกแบบนี้?
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5334 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2555, 18:34:55 » |
|
อจ. ทราย
บกผิวถนนสูงถึง 50 ซ.ม. จะมีผลทำให้ขอบถนนสูงขึ้นกว่าพื้นถนนสายรอง(สายแยกเข้าหมู่บ้านต่างๆ)มาก เกาะกลางถนนก็ต้องปรับสูงขึ้น
อีกประการหนึ่ง การปล่อยให้น้ำท่วมซ้ำ โดยให้สูงเท่าของปีที่แล้ว เราคงให้อภัยกันไม่ได้แน่ๆ ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5335 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 09:19:19 » |
|
เช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ วันนี้หมอกหนามากครับ บนถนน ไม่สามารถมองเห็นเกิน 30 เมตร ขับรถโปรดระมัดระวังเป็นพิเศษครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5336 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 09:19:56 » |
|
ขออนุญาต เข้าเมืองไปทำธุระสัก 2 ชั่วโมงครับ เดี๋ยวกลับมาต่อครับ
|
|
|
|
pusadee sitthiphong
|
|
« ตอบ #5337 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 09:22:10 » |
|
อนุญาต อิๆ แล้วเจอกานนะ
|
pom shi 2516
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #5338 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 12:25:14 » |
|
นั่นนะสิคะ ตกลงไม่รูอะไรแน่ คงต้องบริหารตัวเองไปก่อน ปล่อยให้คนอื่นบริหาร คงไม่รอดแน่ ที่ว่าบริหารตัวเองน่ะ หมายถึง การหอบคน และของเตรียมพร้อมเมื่อน้ำมานะคะ
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #5339 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 13:39:25 » |
|
ครับพี่เอมอร ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง นอกจากภาครัฐ คุยว่าจะจัดให้แล้ว แต่กลัวจะเอาอยู่แบบเก่าแล้วท่วมเสียหายไปถ้วนหน้า
เราจึงต้องเตรียมพร้อมด้วยครับ กลัวเอาอยู่เป็นข้ออ้างเหมือนเดิม
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #5340 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 15:57:47 » |
|
สวัสดีค่ะพี่เหยง พึ่งเข้ามาค่ะตามอ่านซะ.......หลายหน้าค่ะ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5341 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 18:54:42 » |
|
สวัสดีครับ พี่'อร คุณป้อม น้องน้ำอ้อย และคุณหมอสำเริง
ออกไปดูถนนสายหนึ่งครับ สายคลองคาง-บางกะแห ถูกน้ำท่วมขัง 4 เดือนเต็ม ดีที่พื้นฐานดีใช้ได้ จึงไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ มากเท่าที่คิดทางหลวงชนบทต้องนำไม้มาปักแสดงถึงจุดสิ้นสุดของถนน แทนแผงกั้นเดิมที่ล้มเพราะน้ำและหายไป?? ถนนบางส่วน ถูกน้ำเซาะหายไป ต้องเอาวงปูนขนาดใหญ่มาตั้งกันรถตกถนน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5342 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 18:59:07 » |
|
พยากรณ์อากาศเย็นนี้ คาดว่าภาคอีสาน ภาคตะวันออกจะมีฝนตกหนักครับ....
พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 16:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศลาวแล้ว คาดว่าจะแผ่เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในคืนนี้ (8 ก.พ.55) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงวันที่ 9-11 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรในระยะนี้ พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนคราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5343 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 19:13:49 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5344 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2555, 19:24:39 » |
|
สวัสดี คุณครูเริง
พบกันวันคืนสู่เหย้าครับ
|
|
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #5346 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2555, 15:09:09 » |
|
สวัสดีค่ะพี่เหยง มาติดตามพยากรณ์อากาศค่ะ วันนี้ที่บ้านอากาศดีมากค่ะไม่ร้อนไม่หนาว ชอบค่ะ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5347 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2555, 20:42:30 » |
|
ดร.มนตรี
บริเวณที่พี่ไปดูใสคือ ใต้สะพานเดชา ซึ่งเป็นจุดที่น้ำขึ้นสูงและท่วมเข้ามาในถนนและบ่าเข้าเมือง ส่วนนี้สร้างต่อขึ้นไปโดยผ่านด้านหลังของที่ทำการป่าไม้ เรื่อยไปจนถึงธนาคารกรุงไทยจำกัด ตรงตึกน้ำเงิน
ความหนา 90 ซ.ม. เพื่อเป็นตัวต้านกับระดับน้ำที่สูงขึ้น ซึ่งกำแพงสูง 4 เมตร และจมอยู่ในดิน 2 เมตร ดังเช่นที่อ่างทอง กำแพงหนา 20 ซ.ม. และไม่มีส่วนที่จมลงในดิน น้ำมาเพียงพักเดียว กำแพงก็พังล้มไป น้ำทะลักเข้าเมืองทันที
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5348 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2555, 20:48:23 » |
|
น้องน้ำอ้อย ฝนใน กทม. มีร้อยละ 30 ของพื้นที่ คาดว่า คืนวันงาน น่าจะไม่มีฝนมารบกวน
พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 16:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในระยะ 1-2 วันนี้ สำหรับในช่วงวันที่ 9-11 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรในระยะนี้ พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนคราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #5349 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2555, 20:55:16 » |
|
น้ำเก่ายังสูบออกไม่หมด น้ำจากเขื่อนก็ระบายลงมาซ้ำเติม ค่าชดเชยน้ำท่วมบ้าน-ท่วมนา ในครั้งที่ผ่านมา ยังได้รับไม่ครบทุกครอบครัว น้ำเขื่อนก็มาซ้ำเติมอีกแล้วม็อบชาวนาโวยรัฐบาลเมินช่วยระบายน้ำท่วมค้างปีวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13:34 น. ชาวนาเมืองขุนแผน จัดม็อบจี้รัฐบาลและกรมชลประทาน เร่งระบายน้ำท่วมค้างปีออกจากท้องนา เพราะยังมีระดับสูง 1.2 เมตร ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ วันนี้ ( 6 ก.พ.) ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานได้พิจารณากระทู้ถามสดของนายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ที่ถามรัฐบาลเรื่องการแก้วิกฤติน้ำท่วมและน้ำแล้งว่า การแก้ไขวิกฤติน้ำท่วมของลุ่มน้ำทั้ง 25 แห่งทั่วประเทศ เพื่อความเชื่อมั่นต่อสภาอุตสาหกรรมและในการลงทุน นั้นจะมีมาตรการจัดการปัญหาอย่างไร และได้เร่งแผนงานระดับจังหวัดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในช่วง 3 เดือนก่อนจะถึงเดือน ก.ค.นี้ พร้อมอยากให้ผันน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาไปยังเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อระบายน้ำลงทะเล รวมทั้งสั่งการให้ขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันน้ำท่วม
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่า รัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงานเข้าไปดูแลเยียวยาให้ทั่วถึง ส่วนมาตรการการเตรียมพร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วมนั้น ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในเส้นทางแม่น้ำในภาคเหนือทั้งลุ่มน้ำ ปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง ได้ประสานให้จังหวัดเตรียมพร้อมรับมือ แล้วรวมถึงให้จัดโครงการแก้มลิง ที่จะดำเนินการในปี 2555
ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า รัฐบาลมีแผนแม่บท กนย.จะมีการขับเคลื่อนทั้งในระยะสั้น และยาว ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตั้งแต่การฟื้นฟูและสร้างแหล่งเก็บน้ำและบริหารจัดการน้ำของประเทศ เพื่อป้องกันบรรเทาอุทกภัย ตลอดจนการพัฒนาคลังข้อมูล ที่สำคัญพื้นที่รับน้ำนอง นำมาใช้ตัดยอดน้ำเกษตรที่ได้รับจัดการน้ำ สร้างความเข้าใจของประชาชน การจัดการน้ำในเขื่อนหลัก การปรับปรุงเกณฑ์การควบคุมการเก็บกักน้ำทั้งเขื่อนของ กฟผ.และ กฟภ.ตั้งแต่ฤดูแล้ง จะพยายามพร่องน้ำในเขื่อนลงไปเพื่อบรรเทาน้ำท่วม โดยนายกรัฐมนตรีให้ดูตั้งแต่ต้นน้ำ ปลายน้ำ ในช่วงวันที่ 13-17 ก.พ.เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาจังหวัด
“วันนี้ต้องยอมรับแม่น้ำเจ้าพระยาอายุมากและมีข้อจำกัด จึงต้องหาแนวทางระบายน้ำลงสู่ไปทะเลให้มากที่สุด ขยายคลองระพีพัฒน์เพื่อระบายน้ำให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนการขุดลอกคลองก็อยู่ในแผนงาน รัฐบาลได้วางแผนเร่งด่วน และระยะยาว ซ่อมคันกั้นน้ำ ขุดระบายให้น้ำไหลลงทะเลให้เร็วที่สุด จะต้องดูแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถรองรับน้ำได้ปริมาณเท่าไหร่เพื่อลดภาระในการรับน้ำด้วยรวมทั้งระบบเตือนภัยด้วย” รมว.เกษตรฯ กล่าวย้ำ
ส่วนที่หน้าที่ว่าการ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี นายสนม ตาพันธ์ นายก อบต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า พร้อมด้วยชาวนา ต.วัดโบสถ์ ต.มะขามล้ม อ.บางปลาม้า และ ต.บางพลับ อ.สองพี่น้อง กว่า 100 คน เดินทางมาชุมนุมประท้วงเรียกร้อง เนื่องจากในพื้นที่นายังมีน้ำท่วมขังมาตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค.54 เป็นเวลากว่า 5 เดือน และขณะนี้ยังมีน้ำท่วมขังอีกประมาณ 1.20 เมตร จึงมารวมตัวชุมนุมเรียกร้อง และยื่นหนังสือให้ทางอำเภอช่วยประสานงาน ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือชาวนา เพราะขณะนี้ชาวนายังไม่สามารถทำนาได้ และเกรงว่าน้ำละลอกใหม่จะเติมเข้ามาอีกจนไม่สามารถทำนาเก็บเกี่ยวข้าวได้ทันฤดูกาลนี้ และไม่ทันร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม นายนคร ศรีบุศยดี ปลัด อ.บางปลาม้า ออกมารับหนังสือและรับปากว่าจะนำเสนอต่อไปยังนายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผวจ.สุพรรณบุรี เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป
สำหรับข้อเรียกร้องประกอบด้วย ขอให้กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องสูบขนาดใหญ่ และเครื่องผลักดันน้ำในลำคลองระบาย 2 ซ้าย และลำคลองสาขาที่บริเวณในตำบล บางพลับ ในหมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 7 ขอให้ช่วยเร่งรัด การก่อสร้างโครงการคันกันน้ำ บางสาม-โคกยายเกตุให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 และขอให้นายอำเภอบางปลาม้าช่วยเหลือชาวนาใน ต.วัดโบสถ์ หากรัฐบาลจะใช้พื้นที่การเป็นที่รับรองน้ำ
ต่อมานายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา ได้เดินทางมาชี้แจ้งกับชาวนาว่า ที่ผ่านมาทางชลประทานกำหนดไว้ว่าภายในวันที่ 5 ก.พ.55 จะสามารถระบายน้ำในทุ่งนาได้ทั้งหมด แต่พื้นที่ อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำจึงท่วมขังเป็นเวลานาน และในปีที่ผ่านมาแม่น้ำท่าจีน มีปริมาณน้ำมากกว่าทุกปี จึงระบายน้ำจากทุ่งลงสู่น้ำแม่น้ำล่าช้ากว่ากำหนด ขณะนี้ทางชลประทานได้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำกว่า 100 เครื่อง และกำลังเร่งสูบระบายน้ำออกจากทุ่งนาอย่างต่อเนื่อง แต่มีบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ยังไม่สมารถนำเครื่องสูบน้ำเข้าไปติดตั้งในพื้นที่ได้ เนื่องจากระดับน้ำสูงคันกั้นน้ำยังไม่โผล่ขึ้นเหนือน้ำ แต่อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ชลประทานกำลังติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มอีกหลายจุด เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่น้ำแม่ท่าจีน โดยคาดว่าประมาณไม่เกิน 10 วัน จะสามารถระบายน้ำในทุ่งนาได้ทั้งหมด ทำให้ชาวบ้านพอใจ และยอมสลายตัวแยกย้ายกันกลับบ้าน.http://www.dailynews.co.th/thailand/11728
|
|
|
|
|