|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4276 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 21:29:05 » |
|
ในโกดังก็เริ่มเก็บของ โดยนำแพซึ่งใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร ต่อเอาไว้เผื่อบรรทุกของล่องหนีน้ำ วันนี้ใช้หินเจียรตัดแยกออกจากัน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4277 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 21:29:48 » |
|
งานอื่น เช่นงานซ่อมแซมตัวอาคาร พื้นคอนกรีต ตามมา เพื่อให้สามารถทำงานได้
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4278 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 21:37:23 » |
|
ข้อมูลน้ำของจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ อาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2554
มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ 2,915 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 86 ลบ.ม./วินาที
ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้ 22 ซ.ม. โดย 21 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 138 ซ.ม.
รวมวันนี้เป็นวันที่ 22 ระดับน้ำลดลงรวม 160 ซ.ม.หมายเหตุ; น้ำที่ท่วมยังอยู่ในทุ่ง และพยายามไหลคืนกลับสู่คลอง หนอง บึง และแม่น้ำสายหลัก ในทุ่งนายังมองไม่เห็นคันนา ถนนหลายสายยังมีน้ำท่วมขังอยู่
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4279 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2554, 09:16:16 » |
|
ชาวหอทุกท่าน
กำลังเตรียมตัวออกเดินทางไปนครปฐมครับ คาดว่าเที่ยงจะถึงอำเภออุ๋ทอง จะแวะเข้าไปเยี่ยมศพที่วัดเขาพระ แล้วค่อยออกเดินทางต่อไปนครปฐม หากจัดเวลาได้ วันพุธจะพยายามไปร่วมงานเป็นครั้งสุดท้ายด้วยครับ
ขออนุญาตหยุดสัก 3 วันครับ เพราะไม่ทราบว่าที่นครปฐมจะมีเน๊ตให้เข้าหรือไม่ หากเข้าได้จะแวะมาครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4280 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2554, 09:21:36 » |
|
ข้อมูลน้ำนครสวรรค์ในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2554
มวลน้ำผ่านนครสวรรค์ในวันนี้ 2,861 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 64 ลบ.ม./วินาที
ระดับน้ำท่วมลดลงวันนี้ 9 ซ.ม. โดย 22 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 160 ซ.ม.
รวมวันนี้เป็น 23 วันระดับน้ำลดลงรวมทั้งสิ้น 169 ซ.ม.[/size]
|
|
|
|
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์
กระทู้: 9,865
|
|
« ตอบ #4281 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2554, 10:31:52 » |
|
เดินทางปลอดภัยครับน้องเหยง
|
iss u.Don"t be sure that the world is wide until you check it out by your self.
|
|
|
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์
กระทู้: 9,865
|
|
« ตอบ #4282 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2554, 10:34:35 » |
|
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 06:09 กองทัพประเมิน“ยิ่งลักษณ์”สอบตกแก้น้ำท่วมแจงยิบ12เหตุผล
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กองทัพประเมิน "ยิ่งลักษณ์" สอบตกแก้น้ำท่วม แจงละเอียด 12 เหตุผล"ขาดภาวะผู้นำ-สั่งใครไม่ได้-การเมืองครอบ-ปกปิกข้อมูลประชาชน"
ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง และกรุงเทพมหานคร(กทม.) ส่งผลต่อการตั้งคำถามถึงความรู้สามารถในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล โดยเฉพาะภาวะความเป็นผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งล่าสุดก็มีการประเมินกันในแวดวงกองทัพด้วย
แหล่งข่าวระดับสูงจากกองทัพ เปิดเผยเมื่อวานนี้ (6 พ.ย.) ว่า ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของไทย ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือและถกเถียงกันในระหว่างการประชุมนายทหารระดับสูงของกองทัพ โดยเห็นตรงกันว่า นายกฯ ขาดความเด็ดขาดและกล้าตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ ส่งผลให้มวลน้ำมหาศาลถาโถมเข้าสู่กทม. และนำพาให้ประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างหนัก
ทั้งนี้ แหล่งข่าวระดับสูงจากกองทัพ ได้สรุปข้อผิดพลาดของนายกฯ ในการบริหารจัดการน้ำท่วม มีทั้งหมด 12 ข้อ ประกอบด้วย 1.ขาดประสบการณ์ในการบริหารราชการ และไม่เข้าใจในการใช้เครื่องมือทางฝ่ายบริหารที่มีอยู่ ทั้งในส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2.เลือกใช้กฎหมายที่มีอยู่ไม่ถูกต้องต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บริหารจัดการ ขณะที่รัฐบาลเองไม่กล้าที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่ต้น
3.เรื่องกำหนดตัวบุคคล หรือจัดองค์กรในการเข้ามาดูแลศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ใช้คนไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องน้ำเข้ามาแก้ไข โดยเฉพาะ ผอ.ศปภ. แทนที่จะเป็นกระทรวงมหาดไทย แต่เป็นกระทรวงยุติธรรม
4.บทบาทของฝ่ายการเมืองมีลักษณะเป็นการทำเพื่อหวังผลทางการเมือง บนความทุกข์ของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการแจกของ โดยแจกให้เฉพาะคนกลุ่มคนเสื้อแดง หรือผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลเป็นหลัก ทำให้เกิดความขัดแย้งของประชาชนในหลายจุด
5.ความไม่เข้าใจของนายกฯ และรัฐมนตรี และศปภ. ต่อภูมิศาสตร์ หรือภูมิสถาปัตย์ หรือกายภาพของประเทศ ว่าทิศทางเดินทางของน้ำควรเดินไปทางไหน ซึ่งไม่เข้าใจธรรมชาติของน้ำ และธรรมชาติของภูมิภาค
6.รัฐบาลไม่เลือกพื้นที่ หรือจัดระดับความสำคัญว่า รัฐบาลจะให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่สงวนไม่ให้เกิดความความเสียหาย แต่รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป็นตัวตั้ง แทนที่จะเอามิติทางสังคมของประเทศไทยเป็นตัวตั้ง
7.การบริหารจัดการน้ำของนายกฯ แก้ปัญหาแบบคล้ายๆ ขายผ้าเอาหน้ารอด คือการเอาคนในพื้นที่ไปอยู่ท้ายน้ำ และเอาคนไปอยู่เส้นทางน้ำผ่านทั้งหมด จึงทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นทวีคูณ แม้แต่ ศปภ.ยังต้องอพยพและไปอยู่ท้ายน้ำเหมือนกับการอพยพประชาชน
8.รัฐบาล และ ศปภ.ปกปิดข้อมูลที่สำคัญบางอย่างกับประชาชน คือปริมาตรน้ำที่มีอยู่ พูดภาษาราชการเกินไป แทนที่จะบอกว่าขณะนี้ระดับไหนถึงไหน ขณะที่ปริมาตรน้ำเข้ามาใน กทม. แจ้งกันในเฟซบุ๊ก ทำให้ข้อมูลข่าวสารได้รับเพียงประชาชนคนชั้นกลางที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ประชาชนที่หาเช้ากินค่ำไม่เคยรับรู้เรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
9.การเมืองระหว่างรัฐบาลกับผู้ว่าฯ กทม.ที่ใช้เวทีบริหารจัดการน้ำ มาชิงพื้นที่ทางการเมือง ส่งผลให้การบูรณาการทั้งระบบล้มเหลว
10.วิธีการของรัฐบาลที่เรียกว่าจับราชการแยกออกจากกัน ด้วยการสร้างอาณาจักรตำรวจ ขึ้นมาแข่งกับทหาร โดยมอบหมายภารกิจของทหารให้ตำรวจทำ แทนที่จะให้จับโจรผู้ร้าย
11.การสื่อสารของรัฐบาลไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในการนำเสนอให้ประชาชนได้รับรู้ ที่ผ่านมารัฐบาลเสนอข้อมูลแบบซ้ำไปซ้ำมา
และ 12.เรื่องการขุดเจาะถนนเพื่อระบายน้ำถือว่ามีความจำเป็น แต่รัฐบาลปฏิเสธที่จะทำเรื่องดังกล่าว
นายทหารระดับสูงจากกองทัพ ยังยืนยันด้วยว่า แม้กองทัพจะมองเห็นจุดด้อย และวิจารณ์การบริหารของนายกฯ แต่พรรคเพื่อไทยและกลุ่มคนเสื้อแดง ไม่ต้องกลัวว่าทหารจะออกมาปฏิวัติ เพราะในสถานการณ์แบบนี้ กองทัพต้องเลือกที่จะช่วยเหลือประชาชนก่อน และที่สำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ออกมาย้ำหลายครั้งว่า ทหารไม่ปฏิวัติแน่นอน
|
iss u.Don"t be sure that the world is wide until you check it out by your self.
|
|
|
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์
กระทู้: 9,865
|
|
« ตอบ #4283 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2554, 10:39:53 » |
|
โวยชายฉกรรจ์พังประตูน้ำป้องบ้านนายกฯ
Posttoday.com 07 พฤศจิกายน 2554 เวลา 18:20 น. |
ชาวบ้านบางกะปิโวยชายฉกรรจ์พังประตูคลองตาหนังเชื่อมบึงกุ่ม-บางกะปิ ป้องบ้านนายกฯ เตรียมเจรจาผอ.สำนักระบายน้ำ 8 พ.ย.นี้
เขตบางกะปิเชิญตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมหารือ
หลังจากเมื่อค่ำวันที่ 6 พ.ย. เกิดเหตุชายฉกรรจ์ 12 คนบุกเข้าไปพังประตูคลองระบายน้ำคลองตาหนัง ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเขตบึงกุ่มและบางกะปิ ส่งผลให้น้ำไหลเข้าพื้นที่เขตบางกะปิอย่างฉับพลัน สร้างความไม่พอใจให้ชุมชนทั้งสองเขต ทำให้เมื่อเวลา 14.00น. วันนี้ นายสิน นิติธาดากุล ผอ.สำนักงานเขตบางกะปิ เชิญ นายสุรเทพ ยุคุณธร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม ตัวแทนชาวบ้านสองเขตเข้าเจรจา
นอกจากนี้ยังได้เชิญ นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ นายแมน เจริญวัลย์ สก.เขตบึงกุ่ม พรรคประชาธิปัตย์ และ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศส.ส.เขตบึงกุ่ม พรรคเพื่อไทย เข้าร่วมหาทางออก แต่นายพลภูมิไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุม
ผอ.เขตบางกะปิ ชี้แจงถึงเหตุการณ์พังประตูระบายน้ำคลองตาหนัง ว่าทำให้น้ำไหลเข้าพื้นที่เขตบางกะปิอย่างรวดเร็วและถ้าไม่ซ่อมทันการณ์ก็จะมาถึงห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ จึงต้องรีบซ่อมประตูระบายน้ำเพื่อชลอดน้ำที่จะเข้ามาถึงจุดสำคัญ
ขณะที่ ผช.ผอ.เขต บึงกุ่ม ยอมรับว่าได้รับการร้องเรียนจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง จึงได้ส่งหนังสือไปถึงสำนักระบายน้ำ กทม.เพื่อพิจารณา แต่ยืนยันว่า เขตบึงกุ่มไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปพังประตูระบายน้ำ แต่เป็นความรับผิดชอบของสำนักระบายน้ำ
ด้าน นายธำรงศักดิ์ สมวงศ์ อดีตสารวัตรกำนัน เขตบางกะปิตัวแทนชาวบ้านเขตบางกะปิอ้างว่า กลุ่มชายฉกรรจ์ที่เข้ามารื้อเป็นคนของนักการเมือง อยากให้ส.ส.เพื่อไทย ได้ชี้แจงรู้จักหรือไม่
“ชาวบางกะปิยินดีให้น้ำจากส่วนบนระบายเข้าคลองตาหนังอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่มาพังทำลายและทำให้น้ำไหลอย่างเฉียบพลัน ชาวบ้านไม่ทันตั้งตัวขนของ อพยพ ผมคิดว่าพวกท่านเป็นห่วงตัวนายกฯกันมากกว่า เชื่อว่านายกฯเสียสละอยู่แล้ว”นายธำรงศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ตามเส้นทางน้ำที่กำลังท่วมจากย่านนวมินทร์ ผ่านบึงกุ่ม จะต้องผ่านพื้นที่บ้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซอยโยธินพัฒนา แขวงบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม จนชาวบ้านต่างวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มคนที่มารื้อประตูระบายน้ำเพื่อไม่ให้ท่วมบ้านนายกฯ
ขณะที่ตัวแทนชาวบ้านเขตบึงกุ่ม กล่าวว่า ขณะนี้ชุมชนหลังวัดนวลจันทร์น้ำท่วมสูงกว่า 80 ซม. ได้ตระเวนไปดูการระบายน้ำคลองต่างๆ ก็ข้องใจตรงคลองตาหนังถึงกระจุกตัวไม่ถูกระบาย ถ้าน้ำท่วม บ้านนายกฯก็ต้องโดนท่วมแน่
นายแมน กล่าวว่า การที่น้ำจะท่วมบ้านของใครไม่ใช่ประเด็น ที่ตนเองสนใจคือทุกคนกำลังเดือดร้อนทั่วกันหมดแล้ว
ด้าน นายณัฏฐ์ กล่าวว่า อยากให้การพูดคุยวันนี้เป็นไปด้วยดี ไม่ต้องการให้เกิดบานปลายเป็นกรณีพิพาท เหมือนกับประตูคลองสามวา แต่จะทำอย่างไรให้ชาวบางกะปิเตรียมตัวทันและจะช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องบึงกุ่มอย่างไร
ทั้งนี้ นายสิน ผอ.เขตบางกะปิ กล่าวว่า ชาวบางกะปิยินดีให้ระบายน้ำผ่านเส้นทางนี้อยู่แล้ว แต่ประเด็นว่า จะระบายในระดับใด และผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือสำนักระบายน้ำ กทม. ดังนั้นในวันพรุ่งนี้(8 พ.ย.) เวลา 11.00 น. ขอให้จัดตัวแทนชาวบ้านฝ่ายละ 4 คน มาร่วมหาทางออกอีกครั้งโดยจะเชิญผอ.สำนักระบายน้ำเข้าร่วมเจรจาด้วย
ต่อมานายแมน เจริญวัลย์ สก.เขตบึงกุ่ม พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่เขตบึงกุ่มมีความน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะบริเวณชุมชนคลองลำเจียกซึ่งอยู่ใกล้บ้านพักของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเป็นจุดที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เคยไปใช้สิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้ง ขณะนี้ถูกน้ำท่วมระดับ 30-40 ซม.แล้ว
นอกจากนี้บริเวณคลองใกล้บ้านพักของนายกรัฐมนตรีเริ่มมีปัญหาแล้ว โดยเฉพาะคลองตาหนังและประตูระบายน้ำบางกะปิที่เชื่อมต่อกับเขตบึงกุ่ม กำลังประสบปัญหาเรื่องการเปิดปิดประตูระบายน้ำที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เนื่องจากชาวบ้านบางกะปิไม่ต้องการให้เปิด แต่ชาวบึงกุ่มต้องการให้เปิดเพื่อระบายน้ำออก ดังนั้นจึงต้องให้สำนักการระบายน้ำเป็นคนกลางในการตัดสิน
“หากไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องการเปิดปิดประตูระบายน้ำบางกะปิได้ รวมทั้งไม่สามารถระบายน้ำลงสู่คลองแสนแสบได้ทัน ก็มีโอกาสที่จะท่วมถึงบ้านนายกฯ ได้ โดยระดับน้ำอาจสูงถึง 50 ซม.” นายแมน กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้น้ำจะท่วมถึงถนนหน้าบ้านนายกฯ แต่เนื่องจากบ้านพักของนายกฯ มีความสูงกว่าพื้นผิวถนน ทำให้คาดว่าอาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยกเว้นชุมชนโดยรอบที่อาจถูกน้ำท่วมทั้งหมด
สำหรับสถานการณ์โดยรวมขณะนี้ที่บริเวณถนนนวลจันทร์ ซึ่งรับน้ำมาจากซอยวัชรพลและคู้บอน ระดับน้ำเริ่มเอ่อขึ้นมาตามท่อระบายน้ำแล้ว ทำให้ต้องปิดศูนย์อพยพนวลจันทร์และย้ายไปยังศูนย์อพยพนวมินทร์
|
iss u.Don"t be sure that the world is wide until you check it out by your self.
|
|
|
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์
กระทู้: 9,865
|
|
« ตอบ #4284 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2554, 22:02:48 » |
|
บริหารผิด-ตัดสินใจพลาด...น้ำท่วมใหญ่จากการเมืองล้วนๆ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากมหิดล วิเคราะห์ตัวเลขปริมาณน้ำและทิศทางการไหล ก่อนสรุปน้ำท่วมใหญ่เกิดจากบริหารผิด-ตัดสินใจพลาด และปมการเมือง
รศ.สุชาติ นวกวงศ์ อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนในเว็บไซต์เฟซบุ๊ค เสนอมุมมองเรื่องน้ำท่วมใหญ่ที่กำลังสร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าในขณะนี้ โดยเปิดข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาเกิดจากการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาทางการเมือง หาใช่การพร่องน้ำจากเขื่อนตามที่มีการกล่าวหากัน
ที่มาของมวลน้ำ
"น้ำในปีนี้มากจริงครับ เขื่อนภูมิพลระดับเก็บกักปกติประมาณ 13,400 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ประมาณ 7,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีฝนตกมากในช่วงเดือน ก.ค. น้ำจึงเริ่มสะสมในเขื่อนดังกล่าวจนเกือบเต็ม
ประมาณเดือน ส.ค.น้ำยังไม่เต็มเขื่อน แต่ฝนตกเติมโดยพายุ สรุปว่ามีน้ำเริ่มเต็มเขื่อนปลายเดือน ส.ค. ส่วนเดือน ก.ค.เริ่มน้ำท่วมที่บางระกำ จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย และ จ.พิจิตร น้ำเริ่มไหลมากขึ้นในแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน จนที่สุดกลางเดือน ก.ย.น้ำไหลผ่านที่ จ.นครสวรรค์ ประมาณ 4,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยากรู้ว่าน้ำไหลวันละกี่ล้านลูกบาศก์เมตร ให้เอา 86,400 ไปคูณ
ดังนั้นมีน้ำไหลผ่านที่นครสวรรค์วันละ 4,400 x 86,400 = 380,160,000 ลูกบาศก์เมตร รวมระยะเวลา 40 วัน (20 ส.ค.ถึง 30 ก.ย.) จึงมีน้ำผ่านที่นครสวรรค์รวมตัวเลขคร่าวๆ 380,160,000 x 40 = 15,206,400,000 ลูกบาศก์เมตร (เลขกลมๆ คือ 15,000 ล้านลูกบาศก์เมตร) และนี่คือที่มาของตัวเลขน้ำ 1.5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรที่พูดกัน
น้ำเหล่านี้ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ ลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาที่ จ.ชัยนาท และก่อนถึงเขื่อนเจ้าพระยา น้ำได้ล้นแม่น้ำออกไปในทุ่งและที่ต่ำ เหลือน้ำที่ผ่านเขื่อนเจ้าพระยาที่ชัยนาท 3,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำมาที่เขื่อนเจ้าพระยา 3,800 x 86,400 = 328,320,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งก็คือปริมาตรน้ำรวม 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรนั่นเอง
การพร่องน้ำหรือไม่พร่องน้ำในเขื่อนไม่เกี่ยว สำคัญที่ตัวเลขรวม ต้องตั้งใจติดตาม แล้วจะรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับระบบการจัดการน้ำในช่วง 2 เดือนมานี้
ตัวเลขที่จะวิเคราะห์ต่อไปนี้ ขอให้เป็นตัวเลขสถิติภายใน 40 วันเท่านั้น ส่วนตัวเลขอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังเป็นช่วงปลายน้ำท่วมและน้ำล้น
สุพรรณฯแห้ง-บางโฉมศรีแตก
จาก จ.นครสวรรค์ น้ำล้นทุ่งไป 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เหลือมีน้ำมาที่เขื่อนเจ้าพระยา 3,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมาที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยากทราบว่าเป็นตัวเลขต่อวันเท่าใดให้เอา 86,400 ไปคูณทุกที่และทุกครั้ง
ส่วนทางขวาของเขื่อนเจ้าพระยามีคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำท่าจีน โดยปกติถือเป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาของเขื่อนเจ้าพระยา ตามปกติรับน้ำได้ประมาณ 300-500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ในช่วงน้ำที่วิเคราะห์ (40 วัน) คลองมะขามเฒ่าไม่เปิดระบายน้ำ ดังนั้นน้ำ 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (คิดแค่ 400 เท่านั้น) จึงต้องมารวมกับน้ำในเขื่อนเจ้าพระยา วิ่งผ่านเขื่อนเจ้าพระยา กลายเป็น 4,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ล้นความสามารถของลำน้ำเจ้าพระยา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือ 43,200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันน้ำ ส่วนเกินต่อวันนี้ไปไหน มันก็ต้องวิ่งไปฝั่งตะวันออก ไปทางฝั่งลพบุรี ไป อ.ท่าวุ้ง
น้ำนี้วิ่งไปทางตะวันตกไม่ได้อีก เพราะประตูน้ำพลเทพ (จ.ชัยนาท) ที่อยู่ต่ำลงมาไม่เปิด ประตูพลเทพนี้ถ้าเปิดน้ำก็จะวิ่งไปทุ่งเดิมบางนางบวช ศรีประจันต์ (จ.สุพรรณบุรี) แต่ประตูพลเทพก็ไม่เปิดหรือเปิดน้อย ดังนั้นน้ำทั้งหลายส่วนเกินจึงต้องวิ่งไร้ทิศทางไปทุ่งฝั่งตะวันออก นั่นคือวิ่งไปทุ่ง อ.บ้านหมี่ อ.ท่าวุ้ง ของ จ.ลพบุรี และอำเภออื่นๆ ของ จ.ชัยนาทและสิงห์บุรี ทั้งๆ ที่ในทุ่งที่กล่าวมาก็มีน้ำฝนน้ำทุ่งอยู่บ้างแล้ว
นี่คือสาเหตุที่มาของประตูบางโฉมศรีแตก เพราะประตูน้ำต้องรับแรงอัดของน้ำที่มากเกินเหตุ
เส้นทางน้ำเข้ากรุง
ขณะเดียวกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้น้ำมาเติมอีกอย่างน้อย 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (วันละ 103,680,000 ลูกบาศก์เมตร) จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ถึงเวลานี้น้ำทุกส่วนล้นตลิ่งแม่น้ำ ข้ามฟากไปนิคมโรจนะ นิคมไฮเทคและอื่นๆ
น้ำที่ล้นแม่น้ำก็ล้นเข้าไปเป็นน้ำทุ่ง น้ำมหาศาลที่ล้นเข้าทุ่งประมาณ 1,500-1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คิดเป็นมวลน้ำอย่างน้อย 5,000-6,000ล้านลูกบาศก์เมตรในรอบ 40 วัน เข้าทุ่งด้านบนของกรุงเทพฯ แยกเป็น 2 ส่วน ไปทางตะวันออก 1 ส่วน และตะวันตก 1 ส่วน ถ้าจับหารสองก็จะได้ส่วนละ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ตะวันออกไปตามคลองรังสิตและรวมกับน้ำคลองระพีพัฒน์ ส่วนน้ำฝั่งตะวันตกมุ่งหน้าตามทิศของคลองพระพิมล คลองหนึ่งที่ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ และคลองบางบัวทอง ที่สุดคลองบางบัวทองทนไม่ได้แตก เป็นมหาวิปโยคอยู่ทุกวันนี้
ส่วนน้ำในคลองระพีพัฒน์ ประมาณ 200-300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทียังคงไปทางใต้ ไประพีพัฒน์แยกตก แยกใต้ และรวมกับน้ำทุ่งรังสิต กดดันคลองสามวาอยู่ในขณะนี้ คลองสามวาจะรอดหรือไม่คงต้องลุ้นกันว่าคลองก่อนหน้านั้นคือคลองหกวารอดหรือเปล่า แต่เข้าใจว่าขณะนี้คลองหกวารอดแล้ว เพราะแรงกดดันน้อยลง เนื่องจากประตูคลองสามวารั่วโดยจงใจ
น้ำท่วมทุ่งจากบางบัวทองยังคงมุ่งหน้าต่อไปที่คลองมหาสวัสดิ์ซึ่งเป็นคลองเชื่อมระหว่างคลองบางกอกใหญ่กับแม่น้ำท่าจีน ส่วนหนึ่งของคลองมหาสวัสดิ์อยู่ในเขตกรุงเทพฯ เข้าใจว่า กทม.ทราบดีว่าน้ำทุ่งที่ไหลมามีปริมาณมาก เพราะไม่ใช่น้ำบางบัวทองอย่างเดียว น้ำจากทุ่งคลองพระยาบันลือ คลองพระพิมลก็ขอมาร่วมด้วยช่วยกัน
ในส่วนตัวผมไม่เชื่อตัวเลข 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรอยู่แล้ว เพราะเป็นตัวเลขที่โอเวอร์เกินเหตุ เพราะน้ำตั้งมากมายยังคงเป็นน้ำท่าในแม่น้ำเจ้าพระยา วันละ 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เท่ากับ 276,480,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) ยังคงไหลลงทะเลไป
พนังกันน้ำของคลองมหาสวัสดิ์ ที่วัดปรุณาวาส เขตทวีวัฒนา ทนไม่ไหว แตกก่อน ทำให้เกิดน้ำท่วมเขตทวีวัฒนา และโดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล าลายาที่ผมทำงานอยู่ (มหิดลยังเอาอยู่ คำพูดของนายกฯ) และลุกลามไปทั่วในพื้นที่กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรสาคร
บริหารผิด-ตัดสินใจพลาด
ปัญหาที่ต้องวิเคราะห์คือไม่มีน้ำเข้าทุ่งที่ อ.เดิมบางนางบวช ศรีประจันต์ ดอนเจดีย์ อ.เมืองสุพรรณฯ และบางระจันด้วย พื้นที่ตรงนี้ประมาณ ต่ำๆ 5 แสนไร่ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 800 ล้านตารางเมตร ถ้ายอมให้น้ำ เข้าไปขังในทุ่งสูง 1.5 เมตร จะได้น้ำขังในทุ่งในรอบ 40 วันเท่ากับ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือไม่ก็ควรให้น้ำส่วนนี้ไหลไปตามแม่น้ำท่าจีน ไหลผ่านลำน้ำผ่านทุ่งดังกล่าวไปผ่านสุพรรณฯ
คำถามคือไม่มีการชะลอน้ำในทุ่งดังกล่าว ทำไมถึงไม่มี เมื่อไม่มีการชะลอน้ำด้วยเหตุต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว หรือมีแต่น้อยมากจนมวลน้ำไม่สมดุลกัน น้ำส่วนที่ไม่สมดุลนี้จึงเทรวมไปฝั่งตะวันออก รวมไหลเป็นวิปโยค และยังมีส่วนเกินถูกกักขังด้วยพนัง ถูกบังคับด้วยขั้นตอนต่างๆ การไหลของน้ำจึงผิดเพี้ยนไม่มีรูปแบบ
ประกอบกับเมื่อพื้นที่ใหญ่อย่างสุพรรณฯไม่ยอมให้น้ำท่วม และยังมีการบังคับน้ำให้ไหลไปท้องที่อื่น น้ำจึงมีการไหลจากการจัดการที่ผิดรูป ที่สุดควบคุมไม่ได้กลายเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี ใหญ่ที่สุดที่ผมเคยเห็นมา
ผมอาจจะถูกคัดค้านโดยบางคนว่าสุพรรณฯเขาก็มีน้ำท่วมนะ ผมก็ไม่ได้ว่าน้ำไม่ท่วม แต่น้ำที่ท่วมนั้นมันท่วมบริเวณที่มันต้องท่วมอยู่แล้ว เช่น บริเวณหน้าตลาด อ.บางปลาม้า หน้าตลาดเก้าห้อง ล่าสุดเอารูปน้ำท่วมที่บ้านท่าระหัดที่ อ.เมืองมาให้ดูเป็นขวัญตาว่าน้ำก็ท่วมสุพรรณฯนะ นั่นเป็นน้ำจิ้ม
ทุ่ง อ.สองพี่น้องของผมน้ำไม่ท่วมทุ่งครับ แต่ปี 2538 ผมขับรถผ่านทุ่งบางลี่ (ทุ่งสองพี่น้องนี่แหละครับ) น้ำท่วมทุ่ง รถผมผ่านแต่เกือบต้องจมกลางทาง ระหว่างสุพรรณฯไป อ.สองพี่น้อง ระยะทางประมาณ 25-30 กิโลเมตร ซึ่งเห็นข้อแตกต่างกันชัดเจนกับปีนี้
สรุปในเบื้องต้นว่าการบริหารจัดการน้ำภายใต้แรงกดดันทางการเมือง ท้องถิ่นและระดับชาติไม่เป็นผลดี เพราะทำให้รูปแบบการไหลของน้ำผิดรูปไป น้ำต้องไหลแบบธรรมชาติ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีภายใต้องค์ความรู้เชิงวิชาการทรัพยากรน้ำ
ฉะนั้นมวลน้ำที่มากมายเมื่อรวมกับการบริหารน้ำผิด การตัดสินใจผิดของผู้นำอีกหลายครั้ง จึงกลายเป็นมหันตภัยน้ำท่วมทุกวันนี้"
|
iss u.Don"t be sure that the world is wide until you check it out by your self.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4286 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 21:30:29 » |
|
พี่ตะวัน
จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีบูธบลูเบอรรี่ ก๊อป ออกมาขายเลย ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4287 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 22:30:18 » |
|
ข้อมูลน้ำวันอังคารที่ 8 พ.ย. 54
มวลน้ำผ่านนครสวรรค์ในวันนี้ 2,784 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 77 ลบ.ม./วินาที
ระดับน้ำท่วมลดลงวันนี้ 13 ซ.ม. โดย 23 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 169 ซ.ม.
รวมวันนี้เป็น 24 วันระดับน้ำลดลงรวมทั้งสิ้น 182 ซ.ม.
............................ ข้อมูลน้ำวันพุธที่ 9 พ.ย. 2554
วันนี้มีมวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 2,718 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 66 ลบ.ม./วินาที
ระดับน้ำท่วมลดลงวันนี้ 12 ซ.ม. โดย 24 วันที่ผ่านมาลดลง 182 ซ.ม.
รวมวันนี้เป็น 25 วัน ระดับน้ำลดลงทั้งสิ้น 194 ซ.ม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4288 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 23:32:24 » |
|
ขอยืนยันครับ ว่าน้ำยังมีอยู่ที่ภาคเหนือ หรือภาคกลางตอนบน หรือนั่นคือ "หางน้ำ" ยังอยู่ครับ
ถ้า "หัวน้ำ" อยู่ที่ กทม. "หางน้ำ" อยู่ที่นครสวรรค์ อีกนานเท่าไหร่ น้ำใน กทม. จึงจะลดละครับ ?? ตอบยากครับ ดูหลักฐานครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4289 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 23:35:37 » |
|
ผมออกเดินทาง 09.10 น.โดยประมาณ ในวันจันทร์ที่ 7 พ.ย. เพื่อจะให้ทันการไปเลี้ยงเพลพระที่วัดเขาพระ อำเภออู่ทอง ปกติ ผมขับรถเส้นทาง"นครสวรรค์-นครปฐม" จะใช้เวลาประมาณ 3 - 3 ชั่วโมงเศษ จากนครสวรรค์ 09.10 น. ถึงอู่ทองช่วง 11.00 น. จึงไม่น่าจะเป็นไปไม่ได้ แต่ผมไปถึงวัดเขาพระ 12.55 น. โดยประมาณ ผิดเวลาไปชั่วโมงกว่าครับ
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4291 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 23:47:10 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4292 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 23:48:28 » |
|
จุดแรกที่แสดงถึงถนน 4 เลน ขาดเพราะแรงน้ำ รวมทั้งยังเห็นน้ำท่วมและไหลข้ามถนนอยู่
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4294 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 23:55:14 » |
|
จากภาพที่นำเสนอ คงพอจะยืนยันได้ว่า ต่างจังหวัดยังทุกข์ระทมอยู่ ที่บรรดาโฆษกบอกกรุงเทพจะดีใน 7 - 15 วัน จะเร็วเกินไปรึเปล่า ??
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4295 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2554, 23:58:17 » |
|
อนึ่ง ผมเองได้เคยเปิดประเด็นเรื่องน้ำจะท่วม กทม. และงานคืนสู่เหย้าในคืนวันเสาร์ที่ 12 พ.ย. น่าจะได้รับผลกระทบ วันนี้เป็นวันที่ 9 พ.ย.แล้วครับ หัวน้ำอยู่เกือบๆ สุทธิสารแล้ว ถนนสายพหลโยธินใช้ไม่ได้ ถนนพระราม 2 กำลังจะจมน้ำในวันพรุ่งนี้
โชคดีที่คณะกรรมการฯ ตัดสินใจเลื่อนการจัดงานออกไปเป็นปีหน้าครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4296 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2554, 08:52:17 » |
|
สวัสดีตอนเช้าของวันพฤหัสบดีที่ 10 พ.ย. 2554 ครับ เมื่อเช้านี้ประมาณเวลาตีสี่เศษๆ ฝนตกหนักมากที่นครสวรรค์ประมาณเกือบชั่วโมงเต็ม ต้องเอาปั๊มไดร์โว่ ไปช่วยสูบน้ำในจุดที่ต่ำสุดหลังโกดังจนถึงบัดนี้ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4297 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2554, 09:01:29 » |
|
ข่าวเลวในเช้านี้................ “รมต.เฝ้าถุงยังชีพ”ต้องตอบ ปล่อย “ปภ.”ซื้อของแพง 10 พฤศจิกายน 2554 07:53 น. รายงานพิเศษการเมืิอง จากรายการของ “สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” ที่สรุปรายละเอียดการใช้เงินรับบริจาคผ่านบัญชีเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปี 2554 เมื่อต้นสัปดาห์ มียอดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 2 พ.ย.2554 รวมทั้งสิ้น 816,323,457.57 ล้านบาท เมื่อรวมกับยอดเงินบริจาคและดอกเบี้ยที่เหลืออยู่ก่อนหน้านี้อีก 60 กว่าล้านบาทแล้ว กองทุนฯ มีเงินรวม 878,487,897.44 ล้านบาท ณ วันที่ 3 พ.ย.2554 ทั้งนี้รวมถึงเงินจากต่างประเทศ เช่น จีน เงินบริจาค 50 ล้านบาทและล่าสุด 40.6 ล้านหยวน ญี่ปุ่น 12 ล้านบาท Honda 112 ล้านบาท EU (European Union) 60 ล้านบาท บาห์เรน 60 ล้านบาท มาเลเซีย 30.9 ล้านบาท ออสเตรเลีย16 ล้านบาท เกาหลีใต้ 6 ล้านบาท อินเดีย 6 ล้านบาท เยอรมัน 1.7 ล้านบาท ครั้งที่ 2 อีก 4.2 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 3 ล้าน ให้สภากาชาดไทย สิงคโปร์ 2.4 ล้านบาท นิวซีแลนด์ 2.4 ล้านบาท เดนมาร์ก 1.6 ล้านบาท ลาว 1.5 ล้านบาท สวิตเซอร์แลนด์ 1 ล้านบาท บังคลาเทศ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่กระทรวงต่างประเทศ ได้รับเงินบริจาคจากคนไทยในต่างประเทศ 4 ล้านบาท สำนักนายกฯ ระบุถึงรายจ่ายของกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.-3 พ.ย.2554 มีจำนวน 507,114,560 ล้านบาท ทำให้มียอดคงเหลือ 371,373,337.44 ล้านบาท โดยรายจ่ายสำคัญของกองทุนฯ คือ การจัดหาถุงยังชีพ 3 รายการ วงเงินรวมกว่า 294.634 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.การจัดหาเครื่องอุปโภค และเครื่องใช้อื่นๆ ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จำนวน 173,124,560 ล้านบาท 2.การจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคในการบรรจุร่วมกับสิ่งของบริจาคสำหรับสนับสนุนภารกิจของ ศปภ.จำนวน 71,510,354.79 ล้านบาท 3.ค่าจัดหาถุงยังชีพของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการถุงยังชีพ จำนวน 1 แสนถุงๆ ละ 500 บาท อีก 50 ล้านบาท แม้ล่าสุด “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ถูกลดชั้น ทำหน้าที่แค่ “ยามเฝ้าถุงยังชีพ” จะออกมาการันตีว่าโปร่งใส เพราะถุงยังชีพราคา 300 บาท และ 800 บาทที่ตกเป็นข่าวโด่งดังว่า “ผิดปกติ” ได้ยกเลิกไปแล้ว!! แถมการตรวจสอบก็โยนไปให้ “ยรรยง พวงราช” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ คนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ตรวจสอบแล้วก็รู้ความจริงได้อย่างไร “จำเริญ ยุติธรรมสกุล” ผู้ตรวจราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)ในฐานะรับผิดชอบสิ่งของบริจาคของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ณ สนามศุภชลาศัย บอกว่า ที่ยกเลิกเพราะ ในช่วงที่ผ่านมาในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมไม่หนัก “ทาง ศปภ.จัดซื้อถุงยังชีพในราคาถุงละ 300 บาท” แม้ล่าสุดท่านจะโบ้ยว่า สื่อ!! บางสำนักฯ ไปเอาถุงราคาต่ำกว่า 300 บาทจากไหนไม่รู้มาเปรียบเทียบ ท่านบอกว่า ศปภ.จำเป็นต้องจัดซื้อถุงยังชีพถุงละ 500 บาท ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ภายในประกอบด้วย อาหารที่ปรุงสำเร็จรูป ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยสามารถบริโภคได้ทันทีและประทังชีวิตได้หลายวัน ส่วนการจัดซื้อถุงยังชีพ 800 บาทต่อถุง ผู้ตรวจ สปน.ยืนยันว่า “กรมป้องและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย” เป็นผู้รับผิดชอบ หากย้อนดู ปภ.มี“ฐานิสร์ เทียนทอง” รมช.มหาดไทย กำกับดูแล มี “ยศวริศ ชูกล่อม” หรือ 'เจ๋ง ดอกจิก' เลขานุการ รมช.มหาดไทย ที่เคยประกาศลั่น ว่า “ผมคุม ปภ.และใหญ่กว่าอธิบดี ปภ.”ช่วยดูแลนโยบาย ดังนั้น การผลิตถุงยังชีพราคา 800 บาทต่อถุง ไม่เกี่ยวกับ ศปภ.ที่ยังคงดำเนินการผลิตถุงยังชีพราคา 500 บาท รายงานฉบับนี้ ยังชี้แจงละเอียดการใช้เงินสำหรับจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคและเครื่องใช้อื่นๆ ของ ปภ.จำนวน 173,124,560บาท ประกอบด้วย 14 รายการ คือ 1.เรือท้องแบนไฟเบอร์กลาส 30 ลำๆ ละ 250,000 บาท รวมเป็นเงิน 7.5 ล้านบาท
2.เรือพาย 209 ลำๆ ละ 5,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,149,500 บาท
3.ห้องสุขาเคลื่อนที่ ทำด้วยไฟเบอร์ 18 ห้องๆ ละ 32,000 บาท รวมเป็นเงิน 576,000 บาท 4.ถุงยังชีพ 10,000 ถุงๆ ละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 5 ล้านบาท 5.สุขากระดาษ 30,088 ชุดๆ ละ 245 บาท รวมเป็นเงิน 7,371,560 บาท
6.ถุงยังชีพถุงละ 800 บาท 100,000 ถุง รวมเป็นเงิน 80 ล้านบาท
7.เต็นท์นอน 2 คนแบบไม่มีชั้นความร้อน 2,700 หลังๆ ละ 925 บาท รวมเป็นเงิน 2,497,500 บาท
8.เต็นท์นอน 2 คน แบบไม่มีชั้นความร้อน 1,200 หลังๆ ละ 1,750 บาท รวมเป็นเงิน 2,100,000 บาท 9.เต็นท์นอน 2 คนแบบมีชั้นความร้อน 3,100 หลังๆ ละ 1,950 บาท รวมเป็นเงิน 6,045,000 บาท
10.เต็นท์นอน 3 คน ทรงสูงแบบมีชั้นความร้อน 3,100 หลังๆ ละ 3,450 บาท รวมเป็นเงิน 4,485,000 บาท
11.เต็นท์นอน 4 คน ทรงสูงแบบมีชั้นความร้อน 1,950 หลังๆ ละ 4,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,800,000 บาท
12.เต็นท์ยกพื้นขนาดนอน 5-6 คน 200 หลังๆ ละ 55,000 บาท รวมเป็นเงิน 11 ล้านบาท 13.สุขาเคลื่อนที่ 800 หลังๆ ละ 32,000 บาท รวมเป็นเงิน 25,600,000 บาท
14.สุขามือถือพลาสติก 30,000 ชุดๆ ละ 400 บาท รวมเป็นเงิน 12 ล้านบาท แทนที่การจัดซื้อจัดจ้างจะฉลุย! แต่น้ำลดตอกลับผุด โดยเฉพาะ“การจัดซื้อสุขากระดาษ” มีการตั้งข้อสังเกตว่า “ส้วมกระดาษของมูลนิธิซิเมนต์ไทย( SCG)” ภาคเอกชนที่ผลิตเพื่อบริจาคฟรีไม่มีการซื้อขาย รวมทั้ง“ส้วมเฉพาะกิจ จากน้ำใจนิสิตจุฬาฯ” ก็ทำกันฟรี แจกกันฟรี ลงทุนกันฟรี “สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” แจ้งว่าที่ ปภ.ขอจัดซื้อจัดจ้างมีราคาชุดละ 245 บาท จัดทำสำหรับบริจาคให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัย แตกต่างกับของ SCG ที่มีราคาอยู่ที่ 111 บาทเท่านั้น ดังนั้นการจัดซื้อสุขากระดาษของ ปภ.ครั้งนี้ จึงมีราคาแพงกว่าของมูลนิธิซีเมนต์ไทยถึง 134 บาทต่อ 1 ชุด ปภ.จัดจัดซื้อทั้งหมด 30,088 ชุด จะมีราคาแพงกว่า 4,031,792 บาท!!!! “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์” บอกถึงการจัดซื้อสุขากระดาษ ของ ปภ.ว่า “เป็นเรื่องที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการหากินบนความทุกข์ของประชาชนที่ประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้ นอกจากเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแล้ว ยังถือว่าเป็นบาปอีกด้วย” แต่มาแปลกใจ ที่รองนายกฯ ยงยุทธกลับบอกว่า ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) มีการดำเนินการจัดซื้อ แม้รายงานของ “สำนักนายกฯ” จะระบุในเอกสารรายงานว่า “ปภ.” เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้าง30,088 ชุด แต่เขาย้ำว่า เรื่องนี้ใครทำอะไรก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นเรื่องที่สังคมคงรับไม่ได้อย่างยิ่งและหากพบว่า มีข้าราชการในสังกัดของกระทรวงมหาดไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง ตนก็จะดำเนินการอย่างเด็ดขาดไม่มีการประนีประนอม ต้องขอดูว่า ที่ว่าไม่มีการประนีประนอม ปัญหา “ถุงยังชีพ-สุขากระดาษ” ราคาสูง ราคาแพงเกินจริง มีการให้ตั้งกรรมการสอบ ล่าสุดมีกระแสข่าว “จะอนุมัติซื้อหัวเชื้ออีเอ็ม” “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ “ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข” เจ้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงกลาโหมแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียภายใน 15 วัน ดูซิว่า ปภ. ศปภ.เขาจะชี้แจงกันอีกอย่างไรจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000143202
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4298 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2554, 09:49:10 » |
|
พยากรณ์อากาศในวันลอยกระทง (วันนี้) ครับ.....กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศประจำวันที่ 10 พ.ย. 2554 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและลาวแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันนี้
ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนที่ผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว 3-5 องศา ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ สำหรับภาคใต้ ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย
พยากรณ์อากาศ ตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน พิจิตร กำแพงเพชรและเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศา และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศา ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร ยโสธร ชัยภูมิ และนครราชศรีมา อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศา สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ภาคกลาง มีเมฆบางส่วน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ และลพบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระบุรี นครนายก สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศา ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศา ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4299 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2554, 10:23:53 » |
|
ฝนกำลังตกลงมาอีกรอบแล้วครับ
|
|
|
|
|