20 กันยายน 2567, 16:30:11
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 169 170 [171] 172 173 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2518942 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 40 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4250 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2554, 22:51:13 »

ศอส.สรุปน้ำท่วม ตายพุ่ง 442 ราย เดือดร้อนกว่า 2 ล่านคน
4 พฤศจิกายน 2554, 17.34 น.

ศอส.สรุปภัยพิบัติน้ำท่วม พบพื้นที่ประสบภัยรวม 25 จังหวัด 145 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 2,096,521 คน เสียชีวิต 442 ราย สูญหาย 2 ราย พื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 10 ล้านไร่ ถนนใช้สัญจรไม่ได้เกือบ 300 เส้นทาง

อ่านข่าวทั้งหมดที่.....

http://www.thairath.co.th/content/pol/214281
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4251 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 11:23:24 »

ข่าววันนี้.......

น้ำห้าแยกลาดพร้าวเริ่มเข้า ม.เซนต์จอห์น
วันเสาร์ ที่ 05 พฤศจิกายน 2554 เวลา 1:10 น

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 00.45 น.สถานการณ์น้ำบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ฝั่งถนนพหลโยธินนั้น น้ำได้ท่วมขึ้นสูงประมาณ 50 ซม.เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พหลโยธิน ได้ปิดการจราจรถนนพหลโยธินขาออกแล้ว และให้ผ่านเฉพาะรถใหญ่ โดยน้ำได้เริ่มท่วมขังไปถึงบริเวณมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นบางส่วน ขณะที่สถานการณ์น้ำฝั่งถนนวิภาวดี ยังอยู่บริเวณแยกรัชวิภา และยังไม่เคลื่อนไปถึงบริเวณห้าแยกลาดพร้าว แต่เริ่มมีน้ำผุดตามท่อ และพื้นดินบริเวณขนส่งหมอชิตเก่า
 
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=174135
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4252 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 11:29:47 »

เมื่อคืนนี้ มีรุ่นน้องฝึกงานกับ ปตท.กลับจากกรุงเทพมานครสวรรค์ บอกว่า
ตึก ปตท. มีการเตรียมเรือเร็วติดเครื่องไว้จำนวน 20 ลำมานานพอสมควรแล้ว
ไว้เพื่อรับผู้บริหารออกจากตึก หากน้ำท่วมถึง และขณะนี้น่าจะได้ใช้แล้ว
เนื่องจากน้ำผ่านห้าแยกลาดพร้าวไปแล้ว อีกทั้งเซ็นทรัล ลาดพร้าวก็ประกาศปิดไปตั้งแต่เมื่อวาน(วันศุกร์)
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4253 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 13:12:21 »

อ่านเต็มๆ จากเดลี่นิวส์ออนไลน์ ครับ........
ใครสั่งกักน้ำ ประตูน้ำบางโฉมศรีพังรอบสอง ใครทะเลาะกันบ้าง ??


หัวน้ำรุกขยายวงกลืนกทม.ชั้นในส่อไม่รอด! แยกลาดพร้าวจมแล้ว
วันเสาร์ ที่ 05 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10:12 น

    'หัวน้ำ'ทะลุห้าแยกลาดพร้าวจมเรียบร้อยจ่อไล่ถล่มสุทธิสาร-สะพานควาย-ห้วยขวาง อีกสายมุ่งหน้าเข้าท่าพระฝั่งธนบุรี ขณะที่เขตดินแดงกับย่านรัชดาไม่รอดน้ำเจิ่งนองถนน ส่วนจรัญฯเจอน้ำเน่าขยะลอยเกลื่อน ชาวปิ่นเกล้าวอนจนท.ช่วยตรวจตราบ้านเรือน ผวาโจรยกเค้าเกลี้ยง “สิงห์บุรี” ระทึกอีกหน ประตูบางโฉมศรีแตก ปล่อยให้น้ำทะลัก “ชลิต” ฉะ “สุขุมพันธ์ุ” เรื่องขอเครื่องสูบน้ำไม่ได้ ท้าเอาเอกสารมาดู “ผู้ว่าฯกทม.” ยันไม่ได้พูด มั่นใจ “บิ๊กแบ็ก” กู้ถนนวิภาวดีฯ-พหลโยธินได้แน่ ชี้ใช้ทางคู่ขนานวิภาวดีฯเป็นฟลัดเวย์ระบายน้ำไปบึงมักกะสันไม่ใช่เรื่องง่าย “ศปภ.” ยันไม่ย้ายศูนย์มั่นใจแห้งสนิทชัวร์ วอนอย่าทำลายคันกั้นน้ำ “กทม.” ชี้ทุกเขตระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ย้ำยังมีเหลือบางเขตที่ไม่จม ขณะที่อธิบดีกรมชลเล่นแง่ไม่ยอมเปิดประตูคลอง 8-10 อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา ก่อนตัดปัญหาให้ตร.ถือกุญแจประตูระบายน้ำ
   
สถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร  (กทม.) คืบคลานโอบล้อมเข้าสู่ใจกลางกรุงเกือบทุกพื้นที่ ถนนหลายสายจมบาดาลจนต้องปิดการจราจร ไม่ว่าจะเป็นถนนวิภาวดีรังสิตที่ขยายวงกว้าง ถนนพหลโยธินระดับน้ำเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง โดยหัวน้ำที่มาตามถนนวิภาวดีฯได้ไหลทะลักเข้าไปในถนนรัชดาภิเษกเรียบร้อย เตรียมมุ่งหน้าเข้าถล่มห้าแยกลาดพร้าวตามลำดับ ซึ่งฝั่งตรงข้ามเป็นกระทรวงพลังงาน ที่ทำการของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แห่งใหม่ เจ้าหน้าที่ต้องรีบนำ  หินคลุกไปเทตั้งแต่ทางลงโทลล์เวย์ห้าแยกลาดพร้าว เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนวิภาวดีฯฝั่งขาเข้า ไหลทะลักเข้ามาฝั่งขาออก
   
ขณะที่ฝั่งธนฯน้ำจากคลองทวีวัฒนา ได้ไหลกลืนถนนเพชรเกษม เขตบางแคตลอดสาย เพื่อที่จะรุกเข้าไปชั้นใน จนเกือบจะถึงแยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ โดยก่อนหน้านี้ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ลงจากสะพานพระราม 7 เรื่อยไปจนถึงแยกพาต้าปิ่นเกล้าได้ปิดการจราจรไปโดยปริยาย รถยนต์ไม่สามารถแล่นผ่านได้ ต้องใช้รถยีเอ็มซีของทหารเท่านั้น ส่วนชาวบ้านต้องหันมาต่อแพและเรือใช้แทนรถ ส่วนกรณีการใช้ “บิ๊กแบ็ก” หรือถุงทรายยักษ์วางกั้นตามทางรถไฟ ข้างคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อชะลอการไหลของน้ำให้เข้าสู่กรุงเทพฯช้าลง โดยเจ้าหน้าที่เริ่มวางมาตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 3 พ.ย. รวม 1,960 กระสอบ เป็นระยะทางกว่า 3 กม. ขณะนี้ระดับน้ำวัดจากจุดที่วางกระสอบพบว่าได้ลดลงราว 4 ซม.

น้ำทะลุห้าแยกลาดพร้าว
   
ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 พ.ย. ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ขณะนี้ระดับน้ำบนถนนวิภาวดีฯ และถนนพหลโยธินยังไหลทะลักเข้ามาเป็น   วงกว้าง โดยหัวน้ำได้ไหลทะลุมาถึงห้าแยกลาดพร้าวเรียบร้อยแล้วโดยมีระดับสูง 40-50 ซม. การจราจรใช้ได้เพียงช่องทางเดียวคือ   เลนขวาสุด โดยหัวน้ำได้ไหลมุ่งหน้าไปแยกสุทธิสาร-สะพานควาย และย่านห้วยขวางใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งมีถนนตัดหลายสาย อีกทั้งเป็นย่านเศรษฐกิจ โดยน้ำส่วนหนึ่งได้เลี้ยวแผ่กว้างไปหน้าห้างเซ็นทรัลฯ สาขาลาดพร้าว ทำให้การจราจรติดขัด เพราะรถยนต์ทุกชนิดต้องเลี่ยงออกทางขวา เนื่องจากเลนซ้ายมีน้ำท่วมขังประมาณ 20 ซม. และมีทีท่าว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับขยายไปฝั่งตรงข้าม ประกอบกับน้ำในท่อระบายน้ำได้ผุดขึ้นมาสมทบ โดยน้ำยังได้เข้าไปในกองบังคับการตำรวจปราบปราม (ข้างแดนเนรมิตเก่า) เนื่องจากหัวน้ำจากถนนพหลโยธินได้ไหลมาสมทบ คาดว่าภายในเย็นนี้ถนนตลอดทั้งสายในบริเวณดังกล่าว จะเต็มไปด้วยน้ำรวมทั้งภายในซอยแยกต่าง ๆ 2 ข้างทางน้ำจะไหล    เข้ามาท่วมเป็นวงกว้าง

ผ่านหน้าบริษัทปตท.ไปเรื่อย
   
ส่วนบนถนนวิภาวดีฯ ขาออก น้ำได้ไหลผ่านด้านหน้าอาคารกระทรวงพลังงาน สถานที่ตั้งของศปภ.แต่ไม่ได้ไหลเข้าไปด้านใน เนื่องจากเจอหินคลุกที่เจ้าหน้าที่นำมากั้น เช่นเดียวกับหน้าบริษัทปตท.จำกัด เริ่มมีน้ำจากท่อระบายน้ำได้ผุดขึ้นมาผสมทำให้ระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากนั้นกระแสน้ำได้ไหลผ่านไปจนถึงด่านเก็บเงินโทลล์เวย์ลาดพร้าว โดยระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 ซม. รถเล็กวิ่งผ่านได้ค่อนข้างช้า สำหรับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นบนถนนวิภาวดีฯ ส่งผลให้การสัญจรรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าวเป็นไปค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะที่สถานีพหลโยธิน ที่มีช่องทางเข้าสถานี 5 ช่องทาง ประกอบด้วยช่องทางฝั่งลาดพร้าวซอย 4 ประตูทางเข้าฝั่งเซนต์จอห์นซึ่งได้ปิดให้บริการแล้ว ประตูทางเข้าฝั่งสวนสมเด็จย่าปิดในบางส่วน ประตูทางเข้าฝั่งห้างยูเนี่ยนมอลล์ และประตูทางเข้าฝั่งลาดพร้าวซอย 1 ยังเปิดให้ดำเนินการตามปกติ

จรัญฯน้ำเน่าขยะเกลื่อน
   
ขณะที่สถานการณ์ระดับน้ำในเขตฝั่งธนฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระดับน้ำยังท่วมสูงหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ลงสะพานพระราม 7 ถนนจรัญสนิทวงศ์ยาวตลอดแนว จนถึงคลองบางกอกน้อย มีระดับน้ำสูงระหว่าง 80-140 ซม. และน้ำเริ่มเน่าเหม็น ชาวบ้านต้องต่อแพต่อเรือโดยเอาวัสดุที่พอหาได้ ทั้งโฟม กะละมัง ถังน้ำมันที่นอนมาทำเป็นยานพาหนะ ขณะเดียวกันพนักงานเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร ได้นำเรือออกมาช่วยเก็บขยะที่ลอยเกลื่อนและเริ่มส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ

ปิ่นเกล้าอ่วมจี้ ตร. ดูบ้าน
   
ส่วนบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระ     ปิ่นเกล้า ซึ่งยังมีผู้พักอาศัยในบ้านบนชั้น 2     เป็นจำนวนมาก โดยขณะนี้แยกอรุณอมรินทร์มีระดับลึกกว่า 130 ซม. จนเรียกได้ว่าบริเวณดังกล่าวเป็นคลองอรุณอมรินทร์ไปแล้ว ขณะที่ช่วงแยก 35 โบว์ล ไปจนถึงแยกอรุณอมรินทร์ทั้ง     2 ฝั่งเต็มไปด้วยน้ำ รวมถึงภายในซอยต่าง ๆ ที่เป็นหมู่บ้านราคาแพง ระดับน้ำสูงตั้งแต่เอวไปจนถึงหน้าอก อาทิ หมู่บ้านบุญพงษา 1 ซอยสมเด็จพระปิ่นเกล้า 17 ที่ชาวบ้านบางส่วนขึ้นไปพักอาศัยบนชั้น 2 ของตัวบ้านต้องพากันอยู่อย่างหวาดผวา เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจตราดูแลรักษาความปลอดภัย

มุ่งหน้าถล่มแยกท่าพระ
   
สำหรับถนนเพชรเกษมหลังจากน้ำในคลองทวีวัฒนา ได้ไหลทะลักถล่มศาลายากับพุทธมณฑล ก่อนจะลามเข้าไปในเขตภาษี เจริญ ผ่านหน้าสถานีดับเพลิงบางแค และมหาวิทยาลัยสยาม ที่ขณะนี้มีน้ำท่วมเต็มพื้นที่ เจ้าหน้าที่จึงต้องปิดการจราจรตั้งแต่สะพานข้ามคลองราชมนตรี ไปจนถึงหน้ามหาวิทยาลัยสยาม โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าห้างเดอะมอลล์บางแคนั้น ระดับน้ำได้ท่วมสูงไม่ต่ำกว่า 100 ซม. รถเล็กไม่สามารถแล่นผ่านไปมาได้ ต้องอาศัย    รถจีเอ็มซีของทหารที่คอยวิ่งรับส่งประชาชนเท่านั้น โดยหัวน้ำได้ไหลบ่ามุ่งหน้าไปทาง แยกท่าพระ คาดว่าอีกไม่กี่ชั่วโมง บริเวณแยกท่าพระและใกล้เคียงต้องจมบาดาล เช่นเดียวกัน

เขตดินแดง-ศาลอาญาไม่รอด
   
จากนั้นเวลา 16.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ระดับน้ำได้เริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ โดยเริ่มจากถนนรามอินทรา ตั้งแต่วงเวียนบางเขนไปจนถึงแยกวัชรพล รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้ มีเพียงรถประจำทางและรถของเจ้าหน้าที่ทหารเท่านั้น  ส่วนหัวถนนนวมินทร์ตัดกับกม.8 รามอินทรา มีน้ำเอ่อท่วมสูงเช่นกัน แต่รถยังสามารถสัญจรไปมาได้ การจราจรค่อนข้างติดขัด
   
ทางด้านถนนรัชดาภิเษกตั้งแต่แยกรัชโยธิน ไปจนถึงสะพานข้ามคลองบางซื่อ มีน้ำท่วมสูงเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้า    ศาลยุติธรรมและศาลอาญารัชดา มีน้ำขังเป็นจำนวนมาก ทำให้รถที่วิ่งข้ามสะพานคลองบางซื่อมา ต้องกลับรถใต้สะพานกลับรถหน้าอาคารจอดรถผู้โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน เนื่องจากจุดนี้น้ำท่วมสูงประมาณ 50 ซม. อย่างไรก็ตามเนื่องจากน้ำในคลองบางซื่อที่เพิ่มระดับขึ้น ส่งผลให้ชุมชนริมคลองบางซื่อ แขวงและเขตดินแดง กทม. ต่างได้รับผลกระทบไม่แพ้ที่อื่น โดยก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา น้ำจากคลองบางซื่อได้ไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนชุมชนสูงประมาณ 30 ซม. ประชาชนต้องเร่งเสริมกระสอบทรายตามบ้านเรือน อย่างไรก็ตามถนนรามคำแหงและสวนสยาม ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พังประตูน้ำคลองสามวายังคงเป็นปกติ มีเพียงด้านหน้าของสวนสยามเท่านั้น ที่มีน้ำล้นท่อระบายน้ำท่วมขังประมาณ 10-20 ซม.

หนุ่มอ้างถูกไอ้เข้งับขา
   
ขณะเดียวกันได้มีข่าวแพร่ออกมาว่า มีชาวบ้านโดนจระเข้กัดในย่านหลักสี่ เกี่ยวกับเรื่องนี้นายอาทิตย์ พันสูตร อายุ 29 ปี ชาวบ้านในชุมชนตลาดหลักสี่อ้างว่า เมื่อคืนที่ผ่านมาได้ถูกจระเข้กัดระหว่างลงไปหยิบของที่บันไดริมคลองเปรมประชากร หลังห้างไอทีสแควร์ หลักสี่ ช่วงนั้นเกิดนึกอยากรู้ความลึกของน้ำ จึงใช้เท้าซ้ายจุ่มลงไปในน้ำ แต่กลับรู้สึกเจ็บจี๊ดเหมือนถูกกัดขึ้นมาทันที ด้วยความสงสัยเลยจุ่มเท้าขวาลงไปพิสูจน์อีกที แต่คราวนี้กลับถูกกัดที่ต้นขาขวาอย่างแรง จึงรีบดึงขาขึ้นจากน้ำ ปรากฏว่าเป็นแผลเหวอะถึงกระดูกชั้นไขมันทะลักออกมา ต้องรีบใช้มือปิดแผลไว้แล้วตะโกนให้คนช่วยส่งโรงพยาบาลเย็บถึง 112 เข็ม แม้ช่วงนั้นจะมืด แต่จำได้ว่าขณะถูกกัดเห็นสิ่งมีชีวิตว่ายออกไป จนเกิดน้ำวน จึงคาดว่าสัตว์ที่ทำร้ายน่าจะเป็นจระเข้

ไม่เชื่อมีจระเข้หลักสี่
   
ขณะที่นายประพันธ์ ลีปายะคุณ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กล่าวว่า จากการสอบถามแพทย์เจ้าของไข้ทราบว่า แผลของผู้ที่อ้างว่าถูกจระเข้กัด มีลักษณะเรียบคล้ายถูกของมีคม แต่หากเป็นฟันของจระเข้ลักษณะแผลน่าจะฉีกหลุดลุ่ย จึงไม่เชื่อว่าจะเป็นจระเข้จริง อย่างไรก็ตามได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปพิสูจน์ โดยนำโครงไก่ไปแช่ในน้ำบริเวณดังกล่าวแล้ว ซึ่งยังไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด

ประตูน้ำบางโฉมศรีพัง
   
ขณะที่ต่างจังหวัดหลายจังหวัดเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ มีเพียงแค่น้ำท่วมขัง โดยระดับน้ำได้เริ่มลดลง แต่แล้วจู่ ๆ ชาวสิงห์บุรีก็ระทึกขวัญขึ้นอีกครั้ง หลังจากเมื่อช่วงเช้ากระแสน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้พังกำแพงคอนกรีต     ใต้สะพานที่เชื่อมต่อกับประตูระบายน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี เป็นแนวกว้าง 6 เมตร สูง 1 เมตร จากนั้นมวลน้ำมหาศาลได้ไหลทะลักลงสู่คลองเชียงราก ซึ่งจะส่งผลให้น้ำล้นเอ่อเข้าท่วม ต.เชียงราก, โพธิ์ชัย และ ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี และ ต.หัวไผ่ อ.เมือง ซึ่งเป็น เขตติดต่อกับ อ.ท่าวุ้ง-อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน สำหรับจุดเกิดเหตุล่าสุดอยู่ใกล้กับจุดที่ก่อนหน้านี้ แนวคันกั้นน้ำได้แตกออกจนน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมหลายตำบล ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้พยายามหาทางซ่อมแซม แต่คาดว่าน่าจะลงมือได้ในวันที่ 5 พ.ย. ส่วนที่ จ.สุพรรณบุรี นายวิโรจน์ คณูวัฒนา นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสองพี่น้อง ได้ระดมเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านและจิตอาสานำกระสอบทรายไปปิดรอยรั่วแนวกั้นริมถนนราษฎร์เจริญที่พังเสียหาย พร้อมกับนำเครื่องสูบน้ำมาเร่งระบายน้ำออก คาดว่าคงใช้เวลาราว 5 ชม.จะสามารถซ่อมแนวกั้นได้ตามเดิม

เปิดศึกโต้กันในวงประชุม    
   
ต่อมาเวลา 09.00 น. วันเดียวกันที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม. ชั้น 6 สำนักการระบายน้ำ กทม. 2 ดินแดน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ และนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้เดินทางมาประชุมติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และการทำงานของศูนย์ระบบป้องกันน้ำท่วมของ กทม. โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.และข้าราชการระดับสูงของกทม.ให้การต้อนรับ จากนั้นนายสัญญา ชีนิมิต ผอ.สำนักการระบายน้ำกทม. ได้รายงานรายละเอียดการทำงานทั้งหมดของระบบการระบายน้ำใน กทม.ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความเครียด
   
ขณะที่นายชลิต อธิบดีกรมชลประทาน ได้รายงานว่า การระบายน้ำเป็นไปตามแผนที่กรมชลประทานวางไว้ โดยน้ำทางฝั่งตะวันออก ได้ระบายออกทางคลองหกวาสายล่าง และคลองแสนแสบไปยังแม่น้ำบางปะกง ซึ่งขณะนี้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงมาก แม้ว่าน้ำจะลงไปทิศทางข้างล่างต่ำกว่าคลองแสนแสบ ซึ่งทำให้มีผลกระทบบ้าง แต่ยังอยู่ในทิศทางที่เราควบคุมได้ ส่วนทางด้านตะวันตก เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา น้ำในแม่น้ำท่าจีนเริ่มต่ำกว่าตลิ่งบ้างแล้ว ทางกรมชลประทานจึงได้เริ่มเปิดระบายน้ำแล้ว ส่วนการอุดรูรั่วตามรอยแตกบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ก้าวหน้ากว่าแผนไปพอสมควร

“ชลิต” ฉะ “สุขุมพันธ์ุ”
   
“แต่อยากขอกราบเรียนเรื่องที่ผู้ว่าฯกทม. ได้ออกข่าวทางทีวีเมื่อคืนนี้ว่า ได้ขอเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ เพื่อไปช่วยกทม.ทางด้านภาษีเจริญ และขอให้กรมชลประทานช่วยเปิดประตู แต่ไม่ได้รับการตอบสนองเลย เรื่องนี้อาจจะคลาดเคลื่อน เพราะเราเช็กหมดแล้วว่าในที่ประชุม ศปภ.ทุกวันไม่มีการพูดเรื่องนี้ ผมเช็กหนังสือทั้งหมดที่เข้ามาทางกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรฯไม่มีเลย ผมอยากทราบหนังสือ  ไม่เช่นนั้นกรมชลประทานจะเสียหาย” นายชลิต กล่าว 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อนายชลิตพูดเช่นนี้ ทาง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ ได้พยายามชี้แจงว่าไม่ได้พูดอย่างนั้น แต่นายชลิต ยืนยันด้วยน้ำเสียงเคร่งเครียดว่า ผู้ว่าฯพูดซึ่งทำให้เราเสียหายมาก เพราะถ้ากรมชลประทานต้องช่วย เราก็ช่วยอยู่แล้ว ตนจึงอยากทราบว่าข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ว่าฯขอไปทางใคร ถ้าทำให้เราเสียหายก็อยากให้ผู้ใหญ่แก้ข่าวให้เราด้วย กระทั่งบรรยากาศทำท่าจะบานปลาย เพราะมีการโต้เถียงกันไปมาชนิดคำต่อคำ นายกรัฐมนตรีจึงได้พยายามไกล่เกลี่ยให้ว่าขอให้ใช้เวทีการประชุมในคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ เป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจและพูดคุยกันดีกว่า จากนั้นผู้ว่าฯกทม.ได้ให้นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม. ชี้แจงว่าทาง กทม.ได้ขอเครื่องสูบน้ำผ่านไปยัง ศปภ. ไม่ได้ขอที่กรมชลประทานโดยตรง นายกรัฐมนตรีจึงได้บอกว่า ถ้าเช่นนั้นจะไปตรวจสอบกันได้ อย่างไรก็ตามนายชลิตยังไม่ยอม โดยได้พูดว่า “ท่านนายกฯครับกรมชลประทานขอความเป็นธรรมด้วย เพราะสื่อออกไปแล้วเราเสียหายมาก อย่างน้อยขอให้ช่วยแก้ข่าวให้กรมชลประทานด้วย เพราะเราโดนมาตลอด”

ขอเครื่องสูบน้ำปมเหตุ
   
เมื่อนายชลิตพูดจบ  ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ ได้พูดสวนทันที และมองหน้านายชลิตด้วยสายตาไม่พอใจว่า “ไม่มีอะไรต้องแก้ข่าว นักข่าวถามว่าได้หรือยัง ตนก็บอกว่ารออยู่ แล้วไม่จริงหรือครับที่รออยู่” ทั้งนี้เมื่อเหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะทำงานเจรจาปัญหาความไม่เข้าใจของมวลชน จึงได้พูดไกล่เกลี่ยให้ว่าครั้งนี้แล้วก็แล้วไป      ต่อไปเมื่อทำหนังสือส่งตรงมาที่ ศปภ. ให้ทำสำเนาส่งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย จะได้      ไม่มีปัญหา ตนอยากให้ประนีประนอมมากที่สุด แต่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุไม่ยอมและพูดสวนกลับว่า ไม่มีแล้วไปแล้ว ตนไม่ได้ดูถูกดูหมิ่นกรมชลประทาน แต่ตนกำลังรออยู่ ทั้งนี้ท้ายที่สุดนายกรัฐมนตรีจึงได้ตัดบทอีกครั้งว่า เรา   มาทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้ประเทศเหมือนกัน ถือว่าทุกคนมีเจตนาดี ส่วนรายละเอียด    ให้ไปติดตามกัน ขณะที่ พล.ต.อ.ประชาชี้แจงว่า กำลังหาหนังสือที่ทาง กทม.บอกว่าส่งมาให้ ตอนนี้ยังหาไม่เจอ ตนจะขอไปตรวจสอบอีกที

“นายกฯปู” รีบเคลียร์จับแยก
   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ดึงทุกฝ่ายเข้าสู่เนื้อหาการประชุมต่อ โดยได้สอบถามผอ.สำนักระบายน้ำว่า คิดว่าพื้นที่ไหนบ้างในกทม.เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย นายสัญญาชี้แจงว่า ทางด้านฝั่งตะวันตกคิดว่าน้ำจะลามท่วมไปเรื่อย ๆ ส่วนด้านตะวันออกตนยังไม่ค่อยมั่นใจ เพราะน้ำได้ล้นคันกั้นที่เราทำมาบางส่วนแล้ว ตอนนี้น้ำเริ่มมีผลกระทบกับพื้นที่ตะวันออกทั้งหมดแล้ว เรายังดำเนินการไม่ได้ตามเวลาที่ตั้งเป้าไว้ ตอนนี้ที่เรายันอยู่เพราะระบบสูบริมน้ำทั้งหมด แต่เพียงซื้อเวลาไปเท่านั้น ถ้าสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ น้ำจะลามเข้ามาเรื่อย ๆ ส่วนการใช้บิ๊กแบ็ก ด้านเหนือของ กทม. นั้น ตนยังหนักใจเพราะน้ำยังเข้ามาตอนนี้ถึงลาดพร้าวแล้ว ถ้ายังยันไม่อยู่จะเข้ามาลามทั้งหมดถึงใจกลางเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราห่วง ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า การทำงานมี 2 ส่วนคือ กรมชลประทานหน่วงน้ำเอาไว้ และการทำแนวกระสอบทรายยักษ์กั้น ซึ่งถ้าเสร็จน่าจะดีขึ้น แต่เราเจอปัจจัยใหม่ ๆ ทุกวัน จึงต้องมานั่งคุยกัน เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหา
 
“ปลอดประสพ”เฉ่งผู้ว่าฯกทม.
   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายของการประชุมได้เกิดการถกเถียงกันอีก 1 คู่ ระหว่างนายปลอดประสพกับผู้ว่าฯกทม. เนื่องจากนายปลอดประสพได้แสดงความข้องใจ ที่กทม.ยังไม่ยอมแจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมอพยพ โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งตะวันตกที่บอกว่าจะถูกน้ำท่วมทั้งหมด เพราะควรจะต้องมีการแจ้งเตือนก่อน หากปล่อยให้ท่วมแล้วประกาศ ประชาชนจะเดือดร้อน แต่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ชี้แจงว่า ไม่เคยพูดแม้แต่ครั้งเดียวว่ากทม.จะท่วมทั้งหมด เพราะตนมั่นใจว่ากทม.จะไม่ท่วมทั้งเมือง จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้ยกระดับการเตือนในขณะที่ยังไม่เกิดปัญหา เพราะจะทำให้ประชาชนตื่นตระหนก แต่กทม.ได้ติดตามข้อมูลน้ำตลอด หากพื้นที่ไหนเริ่มมีปัญหา 70% เราจะประกาศให้อพยพทันที ดังนั้นเราต้องชั่งน้ำหนัก ระหว่างการสร้างความเดือดร้อนให้กับคนที่ยังไม่มีปัญหาอะไรเลย กับความจำเป็นที่ต้องให้เวลาอพยพ ซึ่งที่ผ่านมาเราสร้างความสมดุลเรื่องนี้ได้ดีพอสมควร ส่วนระบบการระบายน้ำของกทม.นั้น เราสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่กทม.จากฝนตกหนักหรือน้ำล้นตลิ่ง ไม่ใช่เพื่อระบายน้ำจากเหนือไปใต้
 
ยัน“บิ๊กแบ็ก”กู้วิภาวดี-พหลได้
   
จากนั้นเวลา 10.20 น. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ภายในกระทรวงพลังงาน  พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดที่ท่วมถนนวิภาวดีรังสิต และบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ใกล้กับที่ทำการของศปภ. ว่า การจะย้ายที่ตั้งของศปภ.หรือไม่นั้นเป็นเรื่องของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พิจารณา แต่ตนคิดว่าคงไม่มีการย้ายศูนย์ดังกล่าว โดยเราได้จัดทางลงจากทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์เชื่อมทางเข้าที่ทำการ ศปภ. ซึ่งเป็นการถมถนนให้สูงขึ้นอีก 1.1 เมตร ส่วนรถที่จะออกจากศปภ.ให้ใช้เส้นทางเดียวกัน วิ่งสวนขึ้นไปบนทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ สำหรับกรณีของรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นมีระบบป้องกันที่ถูกออกแบบไว้มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว และรถไฟฟ้าใต้ดินยังสามารถวิ่งให้บริการได้ แต่มีการปิดทางลงที่บางสถานีเท่านั้น
   
รมว.คมนาคม กล่าวอีกว่าสำหรับการวางแนวกระสอบทรายยักษ์ (บิ๊กแบ็ก) ตามแนวคลองรังสิตนั้นจะเสร็จในบ่ายวันนี้ (4 พ.ย.) โดยขณะนี้จะมีรถไฟอีก 4 เที่ยว แบ่งเป็นเช้า-บ่าย ช่วงละ 2 เที่ยว ขนกระสอบทรายดังกล่าว และจะมีการวางกระสอบทราย 600,000 ใบเสริมแนวของบิ๊กแบ็ก  นอกจากนี้ส่วนที่ต่อจากบิ๊กแบ็กในบริเวณดอนเมือง ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิตประมาณ 100 เมตร จะใช้ถังน้ำมัน 100 ใบ นำมาบรรจุทรายให้เต็ม แล้วนำมาเป็นกำแพงกั้นน้ำ รวมถึงใช้กระสอบทรายขนาดเล็กวางไว้ด้านบน เพื่อทำเป็นกำแพงเชื่อมต่อกับกำแพงของสนามบินดอนเมือง ถ้าทำตรงนี้เสร็จจะทำให้น้ำที่เข้ามีจำนวนน้อยกว่าน้ำที่ออก สถานการณ์จะคลี่คลายลง ทั้งนี้การระบายน้ำออกนั้นมี 2 ส่วน คือ 1.ส่วนที่จะถูกสูบออกลงคลองรังสิตเพื่อให้ไหลไปแม่น้ำเจ้าพระยา 2.น้ำที่ไหลเข้ามาพื้นที่ด้านในซึ่งมาถึงห้าแยกลาดพร้าวแล้วนั้น จะถูกสูบออกไปโดยระบบของกทม.
 
ชี้ทำฟลัดเวย์ไม่ทันแล้ว
   
ต่อข้อถามว่าเมื่อทำแนวกั้นบิ๊กแบ็กแล้ว จะทำให้น้ำที่จะไหลไปฝั่งตะวันตกของกทม. มีมากขึ้นหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า ไม่เกี่ยวกันเพราะน้ำส่วนนี้จะไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเป็นการไหลผ่านคลองรังสิต ส่วนปัญหาการจราจรในกทม.ที่จะเป็นอัมพาต จากปัญหาน้ำท่วมที่ขยายตัวมากขึ้นในขณะนี้ ตนยอมรับว่าจะเกิดปัญหานี้แน่นอน ทั้งนี้ตนได้แจ้งให้ศปภ.ว่า ต้องมีการประกาศให้ประชาชน ได้รับทราบสถานการณ์ขณะนี้ว่าเป็นอย่างไร ส่วนข้อถามว่าจะพิจารณาข้อเสนอของฝ่ายวิชาการ ที่ให้ใช้ช่องทางคู่ขนานถนนวิภาวดีรังสิต ตามแนวทางด่วนเป็นฟลัดเวย์ในการระบายน้ำไปยังบึงมักกะสัน เพื่อช่วยในการระบายน้ำออกสู่ทะเลหรือไม่ รมว.คมนาคมระบุว่า การที่น้ำเดินทางจากดอนเมือง ผ่านดินแดงไปยังบึงมักกะสันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะใช้เวลานานซึ่งน้ำที่เข้าท่วมบริเวณห้าแยกลาดพร้าวในตอนนี้ เป็นน้ำที่มาทางคลองระบายน้ำไม่ได้
   
เมื่อถามว่ากังวลเรื่องของระบบน้ำประปาหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวว่า เรากำลังทำอยู่ไม่มีปัญหา การประปานครหลวง (กปน.) กำลังกั้นน้ำที่ท่วมไม่ให้เข้าไปในส่วนที่ใช้ผลิตน้ำประปา และเขามีระบบสำรองทั้งที่โรงผลิตน้ำประปาบางเขนและคลองมหาสวัสดิ์ ถ้าการทำแนวบิ๊กแบ็กเสร็จสิ้นทุกอย่างจะควบคุมได้ ทั้งในเรื่องของน้ำประปารวมถึงกรณีของน้ำที่ไหลท่วมถนนวิภาวดีรังสิตและพหลโยธิน
 
“ศปภ.” ยันไม่ย้ายศูนย์หนี
   
ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวแสดงความมั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วมเข้ามาถึงภายในบริเวณกลุ่มอาคาร ปตท.โดยเฉพาะตึกเอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของกระทรวงพลังงานและศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) อย่างแน่นอน โดยได้มอบหมายให้ ปตท.วางแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์มาเป็นเดือน เพราะประเมินล่วงหน้าแล้วว่าน้ำจะท่วมมาถึงถนนด้านหน้าอาคาร ไม่เช่นนั้นเราคงไม่กล้าเสนอให้ใช้เป็นสถานที่ตั้งของ ศปภ. ทั้งนี้หากมีน้ำเข้าท่วมในพื้นผิวการจราจรและพื้นที่โดยรอบ ก็ประเมินว่าจะสูงไม่เกิน 50-80 ซม. ซึ่งไม่กระทบต่อการสัญจรเข้า-ออก เนื่องจากได้ทำถนนสูงกว่า 1 ม.เชื่อมต่อกับทางลงทางด่วนดินแดง-วิภาวดีฯ เข้าสู่ด้านหน้าอาคาร ศปภ. โดยตรงอีกทั้งยังมีทางเข้า-ออก ด้านหลังของอาคารซึ่งเชื่อมต่อกับทางด่วนด่านกำแพงเพชร 2 ได้ด้วย และบนอาคารยังมีลานจอดเฮลิคอป เตอร์ อีกทั้งเตรียมพร้อมเรื่องของระบบน้ำประปา ไฟฟ้า อาหารการกินเรียบร้อย ตนจึงกล้ารับประกันว่าอาคารกระทรวงพลังงานปลอดภัยสำหรับใช้เป็นสถานที่ตั้งของ ศปภ.ซึ่งได้เรียนนายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ววอนอย่าทำลายคันกั้นน้ำ
   
เช่นเดียวกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทยให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า ศปภ.เป็นที่ทำงานที่สามารถย้ายได้หรือไปไหนมาไหนได้ไม่ใช่ปัญหา ไม่ใช่ว่าศูนย์ต้องอยู่ที่ใดที่หนึ่งแล้วย้ายจะเกิดความล่มจม แต่รัฐบาลตั้งศูนย์นี้เพื่อดูแลประชาชน ปัญหาขณะนี้จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและปริมณฑล ต่อข้อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ศปภ.จะย้ายไปปริมณฑล เพื่อให้ยังสามารถดำเนินการได้ นายยงยุทธตอบว่า ยังไม่ได้คิดไปไกลขนาดนั้น วันนี้เป็นห่วงชีวิตประชาชนมากกว่า ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำประปาที่มีสีและกลิ่นนั้น กระทรวงมหาดไทยในฐานะที่ดูแลการประปานครหลวงได้ทำงานอย่างเต็มที่ รวมทั้งประสานกับตำรวจเพื่อลาดตระเวน และคอยซ่อมแซมคันกั้นน้ำอยู่ตลอดเวลา ตนอยากขอร้องประชาชนว่าอย่าทำลายคันกั้นน้ำ เพราะจะทำให้ประชาชนจำนวนมากเดือดร้อนมากขึ้น
 
แจ้งอพยพเพิ่มอีก 4 แขวง
   
ต่อมาเวลา 11.00 น. วันเดียวกัน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. แถลงข่าวภายหลังร่วมประชุมกับคณะผู้บริหาร ที่ศูนย์ระบบป้องกันน้ำท่วมสำนักการระบายน้ำ กทม. ว่า ขณะนี้ตนได้ประกาศให้เขตจตุจักรในพื้นที่รวม 4 แขวง ประกอบด้วย แขวงลาดยาว, เสนานิคม, จันทรเกษม และแขวงจตุจักร ริมคลองเปรมด้านตะวันตก ริมทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันออกเป็นพื้นที่อพยพ นอกจากนี้ได้ประกาศให้แขวงหนองแขม ในเขตหนองแขม เป็นพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติม ภายหลังที่ประกาศให้แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม เป็นพื้นที่อพยพก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันสถานการณ์ขยะในขณะนี้เริ่มเข้าสู่สภาวะวิกฤติ เพราะกทม.ไม่สามารถจัดเก็บได้ตามเป้า ดังนั้น 3 วันจากนี้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยในพื้นที่เขตที่มีน้ำท่วม และไม่สามารถจัดเก็บขยะได้เอง จะส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักสิ่งแวดล้อมลงไปเก็บขยะ ที่ค้างไว้ให้แล้วเสร็จทั้งหมด ทั้งทางเรือและรถยนต์ โดยได้ดัดแปลงรถขยะโดยนำท่อไอเสียยกสูงจำนวน 60 คัน เพื่อเตรียมใช้งานในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม จึงถือว่าการเก็บขยะเป็นภารกิจสำคัญ ทั้งนี้จังหวัดต่าง ๆ ได้เตรียมส่งเรือมาช่วยเหลือ กทม. โดยมี 4 จังหวัด ที่ส่งเรือมาให้กทม.แล้วประกอบด้วย จ.ปราจีนบุรี, ราชบุรี, นครสวรรค์ และ จ.สุโขทัย นอกจากนั้นยังมีอีก 17 จังหวัดที่เตรียมช่วยเหลือเพิ่มเติม
 
ทุกเขตระดับน้ำสูงขึ้น
   
สำหรับสถานการณ์น้ำขณะนี้ ระดับน้ำในคลองหลายแห่งยังทรงตัว โดยที่คลองสองระดับน้ำอยู่ที่ 2.88 เมตร คลองทวีวัฒนาอยู่ที่ 2.72 เมตร คลองรังสิตมีน้ำลดลงอยู่ที่ 3.60 เมตร คลองมหาสวัสดิ์อยู่ที่ 2.88 เมตร ขณะนี้ยังมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมอยู่แล้วมีระดับน้ำสูงขึ้น อาทิ เขตบางเขนระดับน้ำสูงขึ้น 20-50 ซม. เขตจตุจักรน้ำสูงขึ้น 20 ซม. เขตหลักสี่น้ำสูงขึ้น 30 ซม.-1.2 เมตร เขตมีนบุรีน้ำสูงขึ้น 10-35 ซม. เขตคลองสามวาน้ำสูงขึ้น 60-90 ซม. เขตหนองจอกน้ำสูงขึ้น 5-10 ซม.
 
ย้ำไม่จมหมดทั้งเมือง
   
ผู้ว่าฯ กทม. ระบุอีกว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในกทม.ขณะนี้ ปัจจุบันปริมาณน้ำแผ่ขยายวงกินพื้นที่กว้างมากขึ้น แต่คิดว่าสถานการณ์น้ำจากพื้นที่ตอนเหนือที่แผ่ขยายมายังพื้นที่ส่วนกลางของ กทม.คงจะไม่รุนแรง ถ้าศปภ.และกทม.ร่วมมือกันจนสามารถบริหารจัดการทางด้านตะวันออกได้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือพื้นที่ด้านตะวันตก เพราะปริมาณน้ำจากฝั่ง จ.นนทบุรีและนครปฐมยังเข้ามามาก เราต้องพยายามแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ตนพูดมาหลายครั้งว่าระบบการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กทม.หรือกรมชลประทาน ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าฝั่งตะวันออก
   
ต่อข้อถามว่าแสดงว่ามีความเป็นไปได้ว่า พื้นที่ทั้งหมดของฝั่งตะวันตกจะถูกน้ำท่วม ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวปฏิเสธว่า ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่มีปัญหา เช่น เขตบางขุนเทียน จอมทอง ซึ่งกทม.จะทำให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้มีปัญหา เรายังหวังว่าจะปกป้องพื้นที่ในหลายเขตได้ อย่างไรก็ตามตนคงตอบไม่ได้ว่าจะมีกี่เขตในกทม.ที่ปลอดภัย เพราะตนไม่ชอบทำนาย เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งยากที่จะหยั่ง มันไหลไปที่ไหนได้มันก็ไป อีกส่วนหนึ่งต้องดูว่าปริมาณน้ำจะเข้ามาเท่าไหร่ ถ้าน้ำเข้ามามากจะดันให้แผ่ขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ
   
ต่อข้อถามว่าแสดงว่ากทม.ยอมรับแล้วใช่หรือไม่ว่าประสิทธิภาพการระบายน้ำที่มีอยู่ กับปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาไม่สามารถรับมือได้  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตอบว่า ระบบการระบายน้ำของ กทม.มีขึ้นมาเพื่อระบายน้ำท่วมขังจากปริมาณฝนที่ตกหนัก และน้ำล้นตลิ่ง ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อระบายน้ำจากเหนือไปใต้ กทม. ระบายได้ส่วนหนึ่งประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม. จากเหนือไปใต้ คือ 7  ล้าน ลบ.ม.ในฝั่งพระนคร และ 3 ล้าน ลบ.ม.ด้านฝั่งธนบุรี ซึ่งถือว่าน้อยมาก ดังนั้นถ้าน้ำมาจากด้านเหนือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเราทำได้ แต่ถ้าผ่านมาทางจุดอ่อน ซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตของ กทม. เราไม่สามารถทำอะไรได้ โดยเฉพาะที่หลักหก จ.ปทุมธานี หรือบริเวณบางกรวย บางบัวทอง คลองมหาสวัสดิ์บางส่วน จุดอ่อนต่าง ๆ เหล่านี้อยู่นอกเขต กทม.ซึ่งการทำงานร่วมกันของ กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะสั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ ต้องแก้ปัญหาในระยะยาวร่วมกัน
 
ฉุนอธิบดีกรมชลไม่เปิดประตู
   
จากนั้นเวลา 11.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมายัง ศปภ. พร้อมกับเรียกประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทานเข้าร่วมด้วย รายงานข่าวแจ้งว่าในที่ประชุมนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความไม่พอใจอธิบดีกรมชลประทาน ที่โยกโย้ไม่ยอมเข้าไปดำเนินการปิดประตูระบายน้ำบริเวณคลอง 8-10 ทั้งที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จไปตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. แต่ทางกรมชลประทานอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา อาทิ ไม่มีเจ้าหน้าที่จากกรมการปกครองไปเจรจากับมวลชน หรือหาตัวคนถือกุญแจประตูระบายน้ำไม่เจอ นอกจากนี้คนที่ถือกุญแจประตูระบายน้ำ ยังอ้างว่าหากปิดแล้วจะไม่กล้าถือกุญแจไว้เพราะกลัวอันตราย เนื่องจากมวลชนต้องการให้เปิด หลังจากที่ถกเถียงกันเป็นเวลานานพอสมควร นายกรัฐมนตรีจึงได้กล่าวสรุปว่า เรื่องการถือกุญแจประตูระบายน้ำนั้น ให้รักษาการผู้ว่าฯปทุมธานีเป็นคนตัดสินใจ โดยขอให้นัดหมายผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งตำรวจ ฝ่ายปกครอง และกรมชลประทาน ในเวลา 14.00 น. และต้องดำเนินการปิดประตูระบายน้ำให้ได้ภายในวันเดียวกันนี้ (4 พ.ย.) ขณะที่รักษาการผู้ว่าฯปทุมธานี แจ้งว่าจะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นคนถือกุญแจประตูระบายน้ำ
   
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะทำงาน 3 ฝ่ายที่ ศปภ.มอบหมายให้ไปเจรจากับมวลชน เปิดเผยถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกทม. กับกรมชลประทาน เรื่องหนังสือขอเครื่องสูบน้ำ ว่า เป็นความเข้าใจผิดในเรื่องขั้นตอนการส่งเอกสาร ความจริงนายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม.ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไปยัง ศปภ.ส่วนหน้าที่มีนายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานแล้ว เพราะกทม.เข้าใจว่า ศปภ.ส่วนหน้ากำกับดูแลกทม. แต่เอกสารดังกล่าวไม่ได้ส่งมาที่ ศปภ.ใหญ่ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการว่า ต่อไปการขอความร่วมมืออะไร ให้ส่งเอกสารไปที่ ศปภ.ส่วนหน้า แล้วขอให้สำเนาเอกสารอีกชุดมายัง ศปภ.ใหญ่ด้วย
 
แฉต้นเหตุทำน้ำท่วมครั้งใหญ่
   
รายงานข่าวแจ้งว่า ภายในไม่เกินสัปดาห์หน้านี้ พื้นที่ของกรุงเทพฯ ทั้งหมดจะท่วมอย่างแน่นอน ไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพฯ ชั้นในแต่ระดับน้ำอาจจะสูงแค่ไม่เกิน 50 ซม. เนื่องจากเอาวิกฤติของน้ำมาเล่นเกมการเมือง ส่วนต้นตอที่ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เพราะมีนักการเมืองระดับชาติคนดัง สั่งไม่ให้กรมชลประทานผันน้ำเข้า จ.สุพรรณบุรี แต่สั่งให้ผันน้ำออกเจ้าพระยาตอนล่างให้มากขึ้น และระบายน้ำออกจากเขื่อนให้น้อยลง โดยอ้างว่ารอให้ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสียก่อน แต่ความจริงต้องการไม่ให้น้ำเข้าในไร่ข้าวจำนวน 3,000 ไร่ที่ใกล้จะเก็บเกี่ยว จึงสั่งให้กรมชลฯเก็บน้ำไว้ในเขื่อนก่อน แม้ว่าจะมีคำเตือนจากกรมอุตุฯว่าจะมีพายุเข้ามาอีก 3 ลูก
 
ทบ. จัดรถรับส่งวิภาวดีฯ
     
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้สั่งให้กองทัพบกจัดยานพาหนะ รับส่งประชาชนตามเส้นทางต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางถนนวิภาวดีรังสิต ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ซึ่งหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยกองทัพบกได้จัดรถมาคอยรับส่งประชาชนในเขตถนนวิภาวดีฯ รวมถึงพนักงานเดลินิวส์ด้วย
 
น้ำใจต่างชาติช่วยคนไทย
   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดาโต๊ะ พาดูกา ฮัจญี คามิส บิน ฮัจญี ทามิน เอกอัครราชทูตบรูไน ประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์ องค์สุลต่านแห่งบรูไน  พระราชทานเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ
   
นางคริสตี้ เคนนี่ย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มอบเรือยาง 8 ลำ เสื้อชูชีพ 100 ตัว ให้กับตำรวจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่วนที่สนามบินสุวรรณภูมิ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม มารับมอบสิ่งของ เช่น เรือยางและมอเตอร์ ที่นายเหวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีน ส่งมาช่วยเหลือคิดเป็นเงินไทย 500 ล้านบาท  ขณะที่จ.ปทุมธานี นายยุทธศักดิ์ ศิริกุล ผอ.องค์กรแคมปัสนานาชาติ พากลุ่มต่างชาติอาสา กว่า 40 ประเทศ กว่า 40 คน เข้าไปให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในหมู่บ้านเมืองเอก อ.เมืองปทุมธานี
 
“เบิร์ด”ลุยแจกข้าวกล่อง
   
กลุ่มศิลปินอาสาจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) นำทีมโดยเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ตูน-ยอด บอดี้สแลม  ก้อย-รัชวิน สอง พาราด็อกซ์ วงสวีทมัลเล็ท แอร์-ต๋า เดอะมูสส์ ฟักแฟง โน มอร์ เทียร์  และกองทัพบกลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยย่านบางใหญ่ บางกรวย และบางบัวทอง จ.นนทบุรี เพื่อแจกจ่ายข้าวกล่อง น้ำดื่ม นมกล่อง นมผงสำหรับเด็ก ยาสามัญประจำบ้าน  ผ้าอนามัย ฯลฯ
 
นายกฯตั้ง9กก.ฟื้นฟูอุทกภัย
   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าช่วงค่ำวันเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 230/2554 ลงวันที่ 4 พ.ย. เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการและกลไกการปฏิบัติงาน ฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยเป็นการปรับโครงสร้างการทำงานของ ศปภ. ใหม่ แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือระยะเร่งด่วน 1-2 เดือนในช่วงวิกฤติน้ำท่วม จะให้ ศปภ.ชุดเดิมที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมในฐานะผอ.ศปภ.เป็นประธานทำหน้าที่ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และส่วนที่ 2 เป็นระยะสั้น 1 ปี เพื่อฟื้นฟูเยียวยาให้ประชาชน ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 9 ชุด ประกอบด้วย
1.คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

2.คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (กคฐ.) มี รมว.คมนาคม เป็นประธาน

3.คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน (กศอ.) มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน
   
4.คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านฟื้นฟูคุณภาพชีวิต (กคช.) มีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯ เป็นประธาน

5.คณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อยปลอดภัยและการจราจร (กรจ.) มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ เป็นประธาน

6.คณะกรรมการบริหารศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการ (กปก.) มี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม เป็นประธาน

7.คณะกรรมการสื่อสารสาธารณะ (กสส.) มีนายธงทอง จันทรางศุ เป็นประธาน

8.คณะที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการน้ำ (คปน.) มีบุคคลที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธาน และ

9.คณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (กบภ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้ให้มีศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยอาจว่าจ้างบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=174140&categoryID=561
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4254 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 14:01:22 »

มาเพิ่มเติมครับ....เขาว่า "น้ำลด ตอผุด" น่าจะเป็นจริง

สิ่งประจักษ์ "น้ำท่วม" เพราะใคร?
เปลว สีเงิน 5 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

        มีเรื่องอยากคุย-อยากเล่า-อยากบอกเยอะ มนุษย์ด้วยกันจะได้เตรียมตัว-เตรียมใจกันทัน เพราะนี่มันก็ใกล้เวลา "นรก-สวรรค์" กำหนดเข้ามาทุกทีแล้ว เผอิญมีผู้ส่งข้อเขียน "ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต" ใน FB มาให้อ่าน ประจวบกับระยะนี้ขบวนการ "ไพร่จัณฑาล" สร้างข่าว โดยใช้ "ชื่อเขื่อนใหญ่ ๒ แห่ง" เป็นแพะ หวังให้ชาวบ้านที่พวกเขาหลอกใช้หลงเชื่อ "เป็นตัวการ" ปล่อยน้ำให้ท่วม หวังทำลายรัฐบาล "น้องสาวทักษิณ"
       อารยชนทั้งหลายฟังแล้วก็เศร้าใจ กับอนันตริยกรรมที่เขาเหล่านั้นสร้างขึ้น เรียกว่าเลวทรามหยาบช้า สุดที่อภัยฟ้า-อภัยดิน จะมีให้ได้!
       ผมก็เห็นข้อเขียน ดร.พิชายนี้ "ทำความจริงประจักษ์" ได้ดี ไม่ใช่การตอบโต้ ไม่ใช่การแก้ต่างคำป้ายสีพวกไพร่จันฑาลนั้น หากแต่ทรงศักดิ์แห่งตน ด้วยการลำดับความเชิงวิเคราะห์บน "ข้อมูลประจักษ์" ให้รับรู้-รับทราบ เพื่อการเข้าใจที่ถูกต้องตามเป็นจริง ผมขออนุญาตนำเผยแพร่ ดังนี้
เกมอำนาจกับการจัดการน้ำ
ปัญญาพลวัตร โดย...ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
       ในสังคมใด เมื่อมนุษย์ผู้ใดกลุ่มใดโชคดีมีอำนาจขึ้นมา แต่ขาดภูมิปัญญา ใช้อำนาจไม่เป็นและใช้ไปอย่างผิดทาง ก็จะสร้างความหายนะแก่สังคม และท้ายที่สุดอำนาจก็จะหวนกลับมาทำลายตนเอง ดังที่กำลังเกิดขึ้นกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์
       ขณะที่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีฝึกงาน กำลังสาละวนและละล้าละลังในการจัดการกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของเธอ ก็หมกมุ่นกับการช่วงชิงอำนาจกับฝ่ายทหาร โดยด้านหนึ่งวิพากษ์ทหารว่าเสพติดอำนาจ และอีกด้านหนึ่งก็สนับสนุนให้ ส.ส.ในสังกัดดำเนินการแก้ พ.ร.บ. กลาโหม เพื่อช่วงชิงอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารระดับสูง จากเดิมที่อยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการ ให้มาอยู่ภายใต้นักการเมือง
       ด้วยความที่หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหาแนวทางและวิธีการที่จะช่วยเหลือพี่ชายให้กลับสู่ประเทศไทยโดยปราศจากความผิด ความอ่อนหัดไร้ประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดิน ความจำกัดของความรอบรู้ในปัญหาและระบบงานราชการ ส่งผลให้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาของ "ผู้นำจำเป็น” ของประเทศไทย เกิดความล่าช้าและผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และการใช้อำนาจก็เป็นไปอย่างกล้าๆ กลัวๆ และไร้ทิศทาง
       ปัญหาวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปัจจุบัน ได้แสดงตัวออกมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และปรากฏอย่างชัดเจนในเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา พายุหลายลูกที่พัดผ่านประเทศไทยตอนบนก่อให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปีก่อนๆ ทำให้หลายจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ต้องประสบกับชะตากรรมอันเลวร้ายของการถูกน้ำท่วม ตามมาตรฐานของหลักการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนต่างๆ เมื่อน้ำไหลเข้าเขื่อนจำนวนมากก็ต้องเพิ่มปริมาณการระบายน้ำออกมา แต่ในครั้งนี้หลักการดังกล่าวกลับเกิดขึ้นอย่างล่าช้าเพราะมี "อำนาจ” บางอย่างสั่งให้เจ้าหน้าที่เขื่อนกักน้ำไว้ก่อน และกำหนดให้ระบายน้ำออกมาราวกับว่าเป็นสถานการณ์ปกติ จนกระทั่งถึงจุดที่ใกล้วิกฤติของเขื่อน จึงได้มีการเพิ่มปริมาณการระบายน้ำออกจากเขื่อน อำนาจที่ว่านั้นมิใช่อำนาจลึกลับใดๆ แต่เป็นอำนาจซึ่งดำรงอยู่ในคณะรัฐมนตรีนั่นแหละ
       เหตุผลที่มีการสั่งกักน้ำไว้ก่อน หากมองในแง่บวกก็คือ เป็นเจตนาดีที่ไม่ต้องการให้มี "มวลน้ำ" ไหลลงสู่แม่น้ำในปริมาณที่มาก น้ำจะได้ไม่ท่วม แล้วค่อยๆ ทยอยเพิ่มปริมาณการระบายน้ำในภายหลัง แต่เจตนาดีเหล่านี้ย่อมมีแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง นั่นก็คือการรักษาคะแนนนิยมในกลุ่มประชาชนภาคเหนืออันเป็นฐานเสียงของรัฐบาล และในท้ายที่สุด กลับทำให้เกิดมหาอุทกภัยซึ่งสร้างความหายนะแก่ประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
       ความแปลกประหลาดของการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในครั้งนี้ มีร่องรอยให้สืบสาวจากข้อมูลที่ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลสัมภาษณ์เอาไว้ นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลระบุว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2554 มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเฉลี่ย 1,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อเดือน รวมห้าเดือนมีน้ำเข้าไปอยู่ในเขื่อนภูมิพลประมาณ 5,000 ล้าน ลบ.ม. แต่ในช่วงห้าเดือนนั้นเขื่อนระบายน้ำออกมาเพียงเดือนละ 100 กว่าล้าน ลบ.ม.เท่านั้น รวมห้าเดือนก็ระบายออกประมาณ 500 ลบ. ม. หรือมีน้ำเข้าเขื่อนมากกว่าน้ำที่ระบายออกมาถึงประมาณ 10 เท่า
       ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาในช่วง 5 เดือน เฉลี่ยประมาณแค่ 5 ล้าน ลบ.ม.ต่อวันเท่านั้น แต่ในเดือนตุลาคมได้มีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในช่วง 1-4 ตุลาคม เพิ่มเป็น 40-60 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ต่อมาระหว่างวันที่ 5-11 ตุลาคม เพิ่มเป็น 100 กว่าล้าน ลบ.ม.ต่อวัน และในช่วง 12-19 ตุลาคม ลดลงเหลือประมาณ 50-80 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน รวมอย่างคร่าวๆ น้ำในเขื่อนภูมิพลที่ระบายออกมาเฉพาะ 16 วันของเดือนตุลาคม มีประมาณ 1,200 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 2 เท่ากว่าของช่วงห้าเดือน (150 วัน) ซึ่งปล่อยออกมาเพียงประมาณ 500 ล้าน ลบ.ม.
       สำหรับพายุที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมมี 2 ลูก คือปลายเดือนมิถุนายนมีพายุไหหม่า ต่อมาในปลายเดือนกรกฎาคมก็เกิดพายุนกเตน พายุสองลูกนี้นำน้ำจำนวนมหาศาลเข้าประเทศไทย แต่ที่น่าประหลาดใจคือ การปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลก็ยังปล่อยเท่าๆ กับเดือนพฤษภาคม
       เป็นไปได้ว่า ระหว่างนั้นนักการเมืองผู้ทรงอำนาจทั้งหลายคงไม่มีเวลาเพียงพอในการดูแลจัดการปัญหาเรื่องน้ำในเขื่อน เพราะมัวแต่แข่งขันเลือกตั้งช่วงชิงอำนาจ แม้ว่าน้ำได้ท่วมในบางพื้นที่บางจังหวัดแล้ว สิ่งที่นักการเมืองทำก็คือ การฉวยโอกาสอาศัยความเดือดร้อนของประชาชนเป็นแหล่งในการหาเสียงสร้างคะแนนนิยมเท่านั้น ไม่มีการเตรียมการใดที่จะรับมือกับมหันตภัยที่กำลังคุกคามอยู่แม้แต่น้อย
       รัฐบาลใหม่ของคุณยิ่งลักษณ์ตั้งขึ้นมาต้นเดือนสิงหาคม ปัญหาเรื่องน้ำก็ยังเป็นเรื่องเล็กสำหรับรัฐบาล ส่วนปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ การหาทางในการช่วยเหลือทักษิณ ชินวัตร ให้กลับเข้ามาในประเทศไทยโดยปราศจากความผิดติดตัว การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อกระชับอำนาจให้แข็งแกร่ง การเจรจาและจัดงานบันเทิงเฉลิมฉลองเตะฟุตบอลร่วมกับผู้นำประเทศกัมพูชา การสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ การช่วยเหลือเยียวยาสาวกของเสื้อแดง การพยายามแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม และการหาแนวทางต่างๆ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้
       สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องปัญหาน้ำท่วมก็มีบ้าง เช่น การรับบริจาค การออกไปเยี่ยมเอาของไปแจกผู้ประสบภัยบางคนบางพื้นที่ เพื่อสร้างภาพเป็นนายกฯ นางงามแจกของ แต่ยังไม่เห็นความตระหนักในการแก้ปัญหา และการคิดอย่างเป็นระบบเชิงบูรณาการเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมแม้แต่น้อย เราจึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนอื่นๆ ทั้งที่เขื่อนเหล่านั้นมีน้ำเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลจากพายุทั้งสองลูกที่เข้ามา
       ต่อมาในปลายเดือนกันยายน พายุก็ได้เข้ามาประเทศไทยอีก 2 ลูกคือ ไห่ถาง กับเนสาด และต้นเดือนตุลาคม พายุนาลแกก็พัดเข้ามา พายุทั้งสามทำให้ฝนตกหนักและน้ำจำนวนมหาศาลไหลเข้าเขื่อน จากการที่เขื่อนปล่อยน้ำน้อยก่อนหน้านั้น ทำให้ความสามารถในการรับน้ำใหม่ที่เข้ามามีต่ำลง เขื่อนจึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำอย่างมหาศาลตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมเป็นต้นมา
       ถึงกระนั้นรัฐบาลก็ยังคงสับสนและมะงุมมะงาหราอยู่ ทำอะไรไม่ถูกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ และเพิ่งมาคิดจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ขึ้นมา โดยมีหน้าที่ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย และประกาศแจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำเป็นหลัก
       การตั้งชื่อและกำหนดหน้าที่ของ ศปภ.ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลมีวิธีคิดในการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบเสี่ยงและมีแนวทางในเชิงการตั้งรับ คือคิดเพียงแต่ว่าเมื่อน้ำท่วมแล้วจะช่วยอย่างไร ฟื้นฟูอย่างไร รวมทั้งแค่แจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำเท่านั้น โดยไม่ได้คิดถึงว่าจะจัดการหรือควบคุมมวลน้ำจำนวนมหาศาลอย่างไร เพื่อบรรเทาความรุนแรงและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม การทำงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบใน ศปภ.สะท้อนถึงตัวตนที่อ่อนหัด ทำงานไม่เป็นในการรับมือและแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น
       ในความคิดของผม หลักการสำคัญของการจัดการมวลน้ำที่ท่วมขังมีอยู่ 3 ประการ คือ การผลักดันมวลน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การควบคุมน้ำให้อยู่ในพื้นที่ซึ่งสร้างผลกระทบน้อยที่สุดไว้ชั่วคราว และการป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่สำคัญ การจะดำเนินการตามหลักการทั้งสามนั้น อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนบางกลุ่ม และอาจสร้างความขัดแย้งขึ้นมาได้ ดังนั้น การใช้อำนาจตามปกติจึงไม่สามารถจัดการตามหลักการทั้งสามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อการจัดการขาดประสิทธิภาพ สิ่งที่ตามมาก็คือ คะแนนนิยมรัฐบาลลดลงเรื่อยๆ ขณะที่กองทัพกลับได้รับคะแนนนิยมเพิ่มเติมจากการลงไปช่วยเหลือประชาชนทุกรูปแบบ ทั้งการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในบางพื้นที่ และการช่วยเหลืออื่นๆ แก่ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมอยู่แล้ว แม้ว่ากองทัพจะเป็นกลไกของรัฐ แต่เป็นกลไกที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และแกนนำเสื้อแดงมองด้วยสายตาไม่เป็นมิตรเท่าไรนัก มีความระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าทหารจะทำรัฐประหาร
       ดังนั้นเมื่อทหารมีคะแนนเพิ่มขึ้น ก็สร้างความหวั่นวิตกแก่ทักษิณ ชินวัตร ผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาล เป็นเหตุให้เขาต้องออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ทำลายความน่าเชื่อถือของทหารโดยระบุว่า "ทหารเสพติดอำนาจ” และต่างชาติไม่ยอมรับการรัฐประหาร ทั้งที่ผู้เสพติดอำนาจอย่างโงหัวไม่ขึ้น ทำลายหลักประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลมากที่สุดคนหนึ่ง ก็คือตัวทักษิณเองนั่นแหละ การเดินเกมเพื่อช่วงชิงอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารระดับสูง จึงกลายเป็นเกมสำคัญของทักษิณ หากเขาชนะในเกมนี้ ทักษิณก็จะควบคุมการแต่งตั้งโยกย้ายทหารได้ทั้งหมดผ่านน้องสาวที่เป็นหุ่นเชิดของเขา แต่ความฝันของเขาอาจเป็นฝันสลาย เพราะอาจถูกพลังอันมหาศาลของสายน้ำทำลายลงไป ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ
       ความจริงเรื่องน้ำอยากให้ทุกท่านทราบ และช่วยกันโพสต์ต่อไป เอาเฉพาะลิงก์ก็ได้
       วันที่ 24 มิ.ย. น้ำในเขื่อนที่ตากมีอยู่ 7,500 ล้านลูกบาศก์เมตร   
       วันที่ 22 ก.ค. น้ำในเขื่อนที่ตากมีอยู่ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร   
       วันที่ 19 ส.ค. น้ำในเขื่อนที่ตากมีอยู่ 9,800 ล้านลูกบาศก์เมตร
       วันที่ 2 ก.ย. น้ำในเขื่อนที่ตากมีอยู่ 10,600 ล้านลูกบาศก์เมตร
       วันที่ 14 ต.ค. น้ำในเขื่อนที่ตากมีอยู่ 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
       แสดงว่ารัฐบาลชุดก่อนไม่ได้สั่งเก็บ และไม่มีทางที่จะสั่งปล่อยได้ ปัญหาคือ รัฐบาลชุดนี้รู้ว่าน้ำมากและพายุจะเข้าแต่ไม่พร่องน้ำออกมา
       ข้อมูลดิบ (ตามที่แนบ file) ท่านสามารถดูได้ที่ water.egat.co.th/old-web/sumdam-rep/dam-bb/graph-bb.htm
       ครับ...นี่คือบทวิเคราะห์ด้วย "ข้อมูลประจักษ์" ด้านหนึ่งของ ดร.พิชาย ก็ยังมีบทวิเคราะห์ด้วย "หลักฐานประจักษ์" จากอีกหลายๆ ท่านที่ผมอ่านพบ แล้วจะค่อยๆ นำน้ำขาวมาไล่น้ำครำ.


http://www.thaipost.net/news/051111/47632
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4255 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 14:02:41 »

ขออนุญาตไปใช้บริการนวดแผนไทย ที่ รพ.เก้าเลี้ยวสัก 2 ชั่วโมงครับ เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการเดินตรวจงานรอบบ้านและโกดังครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4256 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 17:40:38 »

กลับมาจากแพทย์แผนไทย รพ.เก้าเลี้ยว มารายงาน ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ครับ..



อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2554, 16:21:39
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 03 พฤศจิกายน 2554, 11:40:05
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 02 พฤศจิกายน 2554, 16:03:49
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 01 พฤศจิกายน 2554, 11:22:37
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 31 ตุลาคม 2554, 14:12:32
ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรคื ในวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์วันนี้ 3,420 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 112 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมในวันนี้ลดลง 10 ซ.ม. โดย 15 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 75 ซ.ม.
และเมื่อรวมวันนี้เป็น 16 วัน ระดับน้ำท่วมลดลงรวม 85 ซ.ม.


หมายเหตุ: ระดับน้ำท่วมที่ลดลง 85 ซ.ม. นั้น จากการไปเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่า
ระดับน้ำในแม่น้ำสูงกว่าผิวถนนเล็กน้อย แต่ในพื้นที่แอ่้งกระทะในเมืองถือได้ว่า ยังสูงและไหลเข้าท่วมเมืองได้อยู่ครับ


ข้อมูลน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ ในวันอังคารที่ 1 พฤสจิกายน 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ เท่ากับ 3,334 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 96 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้อีก 10 ซ.ม. โดย 16 วันที่ผ่านมาลดลงสะสมที่ 85 ซ.ม.

เมื่อรวมวันนี้เป็นวันที่ 17 ระดับน้ำลดลงจากที่ท่วมสูงสุดรวมทั้งสิ้น 95 ซ.ม.


ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ ในวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ที่ 3,232 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 102 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้ 12 ซ.ม. และ 17 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 95 ซ.ม.

รวมวันนี้เป็น 18 วันระดับน้ำลดลงทั้งสิ้น 107 ซ.ม.


หทายเหตุ: ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่ง 36 ซ.ม.แล้ว แต่ยังสามารถไหลท่วมในพื้นที่ลุ่ม หรือพื้นที่ที่เป็นท้องกระทะได้

ข้อมูลน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ วันนี้ (พฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2554)

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์วันนี้ 3,140 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้อีก 92 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้อีก 12 ซ.ม. โดย 18 วันที่ผ่านมา ระดับน้ำลดสะสม 107 ซ.ม.

รวมวันนี้เป็น 19 วัน ระดับน้ำลดลงทั้งหมด 119 ซ.ม.

หมายเหตุ ระดับน้ำลดต่ำกว่าตลิ่งรวม 48 ซ.ม. แต่ยังสูงพอจะท่วมพื้นที่แอ่งกระทะในเมืองได้

ข้อมูลน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ 3,065 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 75 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้ 10 ซ.ม. โดย 19 วันที่ผ่านมาระดับน้ำลดลงสะสมที่ 119 ซ.ม.

รวมวันนี้เป็น 20 วัน ระดับน้ำลดลงทั้งหมด 129 ซ.ม.


หมายเหตุ: ระดับน้ำลดต่ำกว่าตลิ่งรวม 58 ซ.ม. แต่ยังท่วมในทุ่ง ไร่ นา และพื้นที่ลุ่มต่ำอยู่

ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ในวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2554

มวลน้ำผ่านจังหวัดนครสวรรค์วันนี้ 3,001 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 64 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้ 9 ซ.ม. โดย 20 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 129 ซ.ม.

รวมวันนี้เป็น 21 วัน ระดับน้ำท่วมลดลงทั้งสิ้น 1.38 ซ.ม.


หมายเหตุ: ระดับน้ำยังท่วมในท้องนา บางแห่งยังมองไม่เห็นคันนา ระดับน้ำขณะนี้ไม่สามารถท่วมเขตเทศบาลนครนครสวรรค์อีกแล้ว
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4257 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 18:09:04 »

งานมหกรรม "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ราษฎร์ รัฐร่วมใจ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดนครสวรรค์"
จัดขึ้นบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ เวลาประมาณ 10.30 น.



หมายเหตุ: ฉากแดงหมดจนดูหน้าตาผู้คนแทบไม่ออกเลย
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4258 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 18:19:09 »

"ปู" บีบน้ำตาอ้อนคนปากน้ำโพ ยกเป็นจังหวัดแบบอย่างความอดทน
5 พฤศจิกายน 2554 16:29 น.

 
        "ยิ่งลักษณ์" ร่ำไห้ขณะลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมนครสวรรค์ ยันไม่ท้อ เพราะได้กำลังใจจากประชาชน ยก "คนปากน้ำโพ" เป็นตัวอย่างของความสามัคคี ร่วมต่อสู้กับน้ำท่วม ยันเร่งเดินหน้าฟื้นฟูให้กลับสู่ภาวะปกติ คาดให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
       
       
        คลิกที่นี่ เพื่อฟัง "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ให้สัมภาษณ์ 
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทย , น.ส.ฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกฯ และนายวิบูลย์ สงวนพงษ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์รุ่นแบล็คฮอร์ค ถึงสนามบินเกษตร จ.นครสวรรค์ เพื่อเดินทางโดยขบวนรถยนต์ต่อไปยังศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ และรับฟังบรรยายสรุปภายหลังสถานการณ์อุทกภัยใน จ.นครสวรรค์ เริ่มคลี่คลายลง จาก นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมทั้งเยี่ยมชมการจัดกิจกรรม “บำบัดทุกข์ บำรุงราษฎร์-รัฐรวมใจ เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.นครสวรรค์” โดยมีประชาชนจำนวนมากมาให้การต้อนรับ
       
       นายชัยโรจน์ กล่าวรายงานว่า การเยียวยาฟื้นฟูหลังน้ำลดนั้น ทางจังหวัดได้มีการมอบเงินให้ผู้ประสบอุทกภัย ครอบครัวละ 5,000 บาท ไปแล้ว 34,125 ครัวเรือน เป็นเงิน 170 ล้านบาทเศษ ขณะที่พืชผลการเกษตร ที่คาดว่าจะเสียหาย 903,400 ไร่ จ่ายค่าชดเชยให้กับเกษตรกรไปแล้ว 150,545 ไร่ เป็นเงิน 372 ล้านบาทเศษ ส่วนที่เหลือ 1,450 ล้านบาทเศษ ทางจังหวัดจะสามารถจ่ายได้ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ส่วนการซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง หรือบางส่วนนั้น จะมอบให้รายละไม่เกิน 30,000 บาท คาดว่าจะสามารถจ่ายแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
       
       นายชัยโรจน์ กล่าวต่อว่า สำหรับการฟื้นฟูด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ทางจังหวัดจะทำความสะอาดเมือง และซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูอุตสาหกรรม จะเน้นการประกอบอาชีพและรายได้ โดยภาคเกษตรจะเริ่มฤดูการเพาะปลูก ช่วงเดือนพฤศจิกายน อำเภอละ 100,000 ไร่ จำนวน 15 อำเภอ ส่วนการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร เช่น อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ภายใน 45 วัน ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซ่อมแซม ปรับปรุงถนน สะพาน แหล่งน้ำ โรงเรียน วัด และสถานที่ราชการ คาดว่าจะใช้เวลาในการปรับปรุงไม่เกิน 15 วัน
       
       จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบสิ่งของจากผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคตามแผนฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด อีกทั้งนายกรัฐมนตรี ยังได้มอบเมล็ดพันธุ์พืชแก่ตัวแทนเกษตรกร และมอบเงินช่วยเหลือครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 36,498 ครัวเรือน คิดเป็นเงิน 182 ล้านบาทเศษ
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรี ยังได้ทักทายประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม และได้ร่วมประกอบอาหารกลางวัน คือ ผัดกระเพราหมูสับ รวมทั้งแจกจ่ายให้กับประชาชนที่มารอต้อนรับด้วย
       
       โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวพร้อมน้ำตาคลอ ว่า 2 เดือนหลังจากรับตำแหน่ง มีประชาชนประสบอุทกภัยจำนวนมาก ทำให้รู้สึกห่วงใย เมื่อรู้ว่าทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ก็รู้สึกดี และต้องการให้กำลังใจทุกคน สิ่งที่ผ่านมา 2 เดือน ทำให้เราต้องอดทน เข้มแข็ง ต่อสู้กับมหาอุทกภัยครั้งนี้ และที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้แสดงให้เห็นความรัก ความสามัคคีของประชาชน ที่ร่วมกันต่อสู้ มีธารน้ำใจจากทุกภาคส่วนมาช่วยเหลือ ยังมีอีกหลายจังหวัดที่น้ำท่วม และต้องร่วมกันต่อสู้ จ.นครสวรรค์ เป็นต้นแบบของความอดทน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องฟื้นฟูจิตใจ ด้วยการทำความสะอาด และให้ความช่วยเหลือหลังน้ำลด เพราะนอกจากจะฟื้นฟูจิตใจแล้ว ยังเป็นการฟื้นความเชื่อมั่นของคนไทยและชาวต่างชาติ ที่กำลังจับตาดูการต่อสู้ปัญหาของคนไทย
       
       “การฟื้นฟูดูแลให้ความช่วยเหลือ จะต้องทำให้เรียบร้อยภายใน 45 วัน เพราะประชาชนทนทุกข์มานาน ยืนยันว่า ดิฉันไม่เคยท้อถอย เพราะรู้ว่าทุกครั้งที่ท้อถอย ก็มีกำลังใจจากประชาชน ขอให้ชาวนครสวรรค์เป็นตัวอย่างของจังหวัดอื่นๆ ให้รู้ถึงความเข้มแข็งว่า เราจะฟื้นฟู และเดินหน้าทำให้ทุกอย่างเป็นปกติเหมือนเดิม ด้วยความสามัคคี และทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไป วันนี้เราผ่านโรคร้ายมาแล้ว ถือเป็นวันดีที่จะทำให้ จ.นครสวรรค์ กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว” นายกรัฐมนตรี กล่าวพร้อมน้ำตาคลอ
       
       จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมการเปิดศูนย์ซ่อมแซมรถ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม ของนักเรียนอาชีวะในจังหวัดนครสวรรค์ ก่อนเดินทางต่อไปยังชุมชนวัดพรหมจริยาวาส ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ซึ่งขณะนั้นโดยเฉลี่ยน้ำท่วมสูง 3 เมตร บางจุดสูงถึง 4 เมตร และเปิดศูนย์ซ่อมแซมบ้านเรือนให้กับราษฎร โดย นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมทาสีบ้านของ น.ส.ณัฐนันท์ ศิริวรรณ และนางทัศนีย์ ศิริวรรณ ซึ่งอยู่บริเวณชุมชนวัดพรหมจริยาวาส และได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้นั่งรถตรวจความเสียหาย และการฟื้นฟูหลังน้ำลด ภายในตัวเมืองนครสวรรค์
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างที่ นายกรัฐมนตรี และคณะ นั่งเฮลิคอปเตอร์ไปยังจังหวัดนครสวรรค์ นายกรัฐมนตรี ยังได้บินวนดูการทำแนวคันกั้นน้ำ ด้วยการใช้บิ๊กแบ็ค ที่บริเวณหลักหก อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี และถนนโรคัล โรด ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าหลังจากนี้จะเร่งระบายน้ำภายใน 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตดอนเมือง สายไหม และหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ได้ดีมากยิ่งขึ้น
       
       จากนั้นเวลา 13.15 น. นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางกลับมาถึงยัง กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2) สนามเป้า กรุงเทพมหานคร โดย นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับคณะสื่อมวลชนที่ไปรอทำข่าว ซึ่ง นายกรัฐมนตรี เพียงแค่หันมาโบกมือแก่สื่อมวลชน จากนั้นจึงเดินขึ้นรถยนต์ส่วนตัวออกเดินทางไปทันที อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ว่า นายกฯ จะเดินทางกลับมายังศูนย์ฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมแพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน อีกหรือไม่ ซึ่งคนใกล้ชิดนายกฯ กล่าวว่า นายกฯ ขอออกไปรับประทานอาหาร ซึ่งจะไม่กลับเข้าไปที่ ศปภ.อีกแล้ว


จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000141220
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4259 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 18:27:41 »

"เติ้ง" โวยสุพรรณน้ำก็ท่วม ปัดไม่มีนักการเมืองใหญ่ทำนาที่ศรีประจันต์
5 พฤศจิกายน 2554 17:40 น.

 
        "บรรหาร" บอกสุพรรณน้ำก็ท่วมหมด แต่ชาวบ้านชินกับสภาพเลยอยู่กันได้ ปัดไม่มีนักการเมืองเช่าที่ดินทำนาที่ศรีประจันต์ โต้แทนกรมชลฯ ไม่ได้รับหนังสือผู้ว่าฯ กทม. เหตุส่งไปก.มหาดไทย จึงไม่ทราบเรื่อง เอาใจ "ยิ่งลักษณ์" ให้คะแนนสอบผ่านแก้วิกฤตน้ำ บอกตั้งใจจริงแก้ปัญหาแต่น้ำไม่เข้าใครออกใคร ปรับครม.ให้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่
       
       วันนี้(5 พ.ย.) ที่พรรคชาติไทยพัฒนา นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงว่า สำหรับการแก้ปัญหาตอนนี้ใช้เครื่องสูบน้ำที่มีอยู่เร่งระดมก็ไม่โทษใคร ต้องช่วยกันทุกฝ่าย อย่าบอกว่าฝ่ายโน้นผิด ฝ่ายนี้ผิด กรมชลฯก็ทำเต็มที่ เมื่อวานนี้ประตูระบายน้ำบางโฉมตีก็พัง 7-8 ม. ซึ่งก็ไม่มาก เชื่อว่าวันจันทร์จะซ่อมเสร็จ ส่วนจุดต่าง ๆ 13 จุดที่คลองพระยาบันลือ และเหนือคลองอีก 2-3 จุด วันที่ 12 ก็จะซ่อมเสร็จหมด หากเป็นอย่างนี้อยากบอกว่าขณะนี้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ลดลงมากแล้ว ระดับน้ำที่ อ.บางไทร เหลือแค่ 3,000 ลบ.ม.ต่อวินาที เมื่อก่อนเรากลัวว่าน้ำจะท่วมกทม.จึงผันเข้าทุ่งเลย ทั้งทุ่งซ้าย ทุ่งขวา ผันไปเรื่อยและก็ไปกองที่ทุ่ง ตอนนี้ ไม่มีน้ำฝนแล้ว มีแต่ น้ำทุ่งและน้ำท่อ มาจากท่อแล้วตอนนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่ผมอยากจะเรียนให้ทราบ
       
       นายบรรหาร กล่าวว่า ก็อยากแวะไปหา กทม. เมื่อคืนวันที่ 3 พ.ย. เวลา 5 ทุ่ม ผู้ว่ากทม. ให้สัมภาษณ์ว่าได้ขอเครื่องสูบน้ำจากกรมชลฯ ไปแล้วแต่ไม่ให้ ให้ไปถามกรมชลฯเอาเอง ผมก็เอาหนังสือมาดู ก็เห็นว่า 3 พ.ย. หนังสือปลัดกทม.ทำไปถึงกระทรวงมหาดไทย แทนที่จะทำไปถึง ศปภ.ก็ไม่ทำ และรัฐมนตรีมหาดไทยก็มารู้ว่าวันที่ 4 ตอนเช้า แต่ผู้ว่าฯ กทม. ก็ล่อกรมชลฯ ตั้งแต่คืนวันที่ 3พ.ย.ท่านผู้ว่ากทม.ท่านก็เป็น ม.ร.ว. อย่าถือยศเลย โทรตรงไปที่อธิบดีกรมชลประทานเลยว่าจะขอเท่าไหร่ ค่านี้ก็จบ แต่พอไปว่าอย่างนี้ทำให้คนเข้าใจผิด นึกว่ากรมชลฯไม่ให้เครื่องสูบน้ำ ทั้งที่กรมชลฯ ตอนนี้เครื่องสูบน้ำก็ไม่มีต้องไปขอจากต่างจังหวัด นี่คือข้อเท็จจริงไม่ได้ว่าอะไร โทรหารัฐมนตรีเกษตรก็ได้ รับรองให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
       
       นายบรรหาร กล่าวว่า ตอนนี้ต้องช่วยกันอย่างทางด้านตะวันตก คลองภาษีเจริญ ครึ่งหนึ่งกทม.รับผิดชอบ อีกครึ่ง กรมชลฯรับผิดชอบ ผันน้ำลงสมุทรสาครและลงทะเลให้ทันท่วงทีแต่ตอนนี้มีปัญหาเรื่องขยะที่มีมากเหลือเกิน น้ำก็มีมากเหลือเกิน แต่ก็ไม่เดิน ตอนนี้ตะวันตก ปัญหาแย่กว่าตะวันออก ทั้งไม่มีคันกั้นน้ำ เขื่อน หรือคูคลอง มันจึงไหลมากองอยู่ตรงนี้ ถ้าเทียบกับตะวันออก จะมีระบบพอสมควร และที่มีปัญหาเพิ่มอีกอย่างก็คือ เมื่อมีคันคนที่อยู่เหนือคันก็ทะลายคัน เหนือคันก็อยากให้คนอยู่ใต้คันได้ท่วมบ้าง แม้ที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี หรือที่ประตูระบายน้ำ(ปตร.) คลองข้าวเม่า ที่ทำให้น้ำลงมาท่วมนิคมโรจนะ ก็เป็นแบบนี้ เป็นระบบที่เราก็ต้องเห็นใจชาวบ้าน แต่เราก็ต้องช่วยกันเชื่อว่าอีกไม่นานก็คงจะคลี่คลาย ตอนนี้อย่างที่อยุธยาก็เริ่มแห้งแล้ว ที่แม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้น้ำก็ลงมาไม่มาก ตอนนี้ต้องนั่งเช็คระดับน้ำทุกวัน
       
       เมื่อถามว่าที่ต้องแถลงเพราะโดนว่าสุพรรณน้ำไม่ท่วม นายบรรหารกล่าวว่าตอนนี้สุพรรณไปหมดแล้ว ไปดูด้วยหรือมั๊ยละ เอาแค่ทุ่งบางปลาม้าเป็นเวิ้งยิ่งกว่านครสวรรค์เสียอีก แต่บังเอิญทุ่งเหล่านี้น้ำท่วมทุกปีแต่ไม่มาก กว่าจะแห้งก็มกราคม แต่ชาวบ้านเขาชิน เพราะรู้ว่าน้ำจะมา แต่หลังจากมืเขื่อนกระเสียวน้ำก็ไม่ท่วม ดีขึ้น “ว่าสุพรรณน้ำไม่ท่วม ขอบิณฑบาตรได้มั้ย ลองไปพูดให้คนสุพรรณฟังรับลองว่าเข้าไม่ได้ เขาจะเอาไม้ตีกระบาลพวกคุณนะสิ"
       
       เมื่อถามว่าได้ให้นำแนะนำนายกฯอย่างไรในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม นายบรรหารกล่าวว่า ตนไม่เกี่ยว ไม่ได้เป็นที่ปรึกษานายกฯ แต่ก็รู้สึกเห็นใจนายกฯ เมื่อที่ปรึกษาแนะนำอะไร ท่านก็ฟังและก็ต้องฟังกรมชลประทานด้วย แต่เผอิญปีนี้น้ำมีมาก พายุเข้าตั้ง 5 ลูก ทำให้น้ำในเขื่อนมีปริมาณมาก ประกอบกับประตูระบายน้ำบางโฉมศรีพัง กรมชลฯไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องเอาทหารเข้าไปช่วย ศปภ.ก็ทำอะไรไม่ได้
       
       เมื่อถามว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนายกฯ ควรทำอย่างไร นายบรรหาร กล่าวว่า นายกฯท่านก็ประนีประนอม แต่ประชาชนก็มีสิทธิ์ปกป้องพื้นที่ของตนเอง ทั้งเหนือคัน ใต้คัน ประชาธิปไตยก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ที่ผ่านมาก็มีคนไปบอก ไปเกลี้ยกล่อม แต่ชาวบ้านเขาก็ไม่เชื่อ มันก็ต้องยอมรับเมื่อเหตุมันเกิดก็ต้องช่วยกัน อย่าโทษกันเลย ถ้าจะโทษก็ต้องไปโทษฝน โทษใต้ฝุ่นทำให้น้ำมาเหลือคณานับ
       
       "ผมก็ต้องเห็นใจ เห็นหน้านายกก็รู้สึกสงสาร เป็นผู้หญิง หน้าตาไม่โรยเลย แถมยิ้มแย้มแจ่มใส ลงไปหาประชาชน อ้อนวอนอย่าทลายคันกั้นน้ำ บางทีก็ยกมือไหว้ ท่านก็บริหารอย่างเต็มที่ แต่เผอิญท่านไม่มีเซ้นต์ทางนี้ แต่ท่านมีทางธุรกิจ เมื่อฟังจากที่ปรึกษาหลายฝ่ายก็ต้องตัดสินใจลงไป อย่างทำท่อรอดถนน 5 เส้น เมื่อทำไม่ได้ ท่านก็ไม่ทำ ท่านทำเต็มที่ แต่น้ำไม่เข้าใครอออกใคร มันต้องใช้เวลาคิดว่าน้ำจะลงได้ก็ประมาณ 1 เดือน เดือนนี้ก็ไม่ลง"นายบรรหาร กล่าว
       
       เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวเรื่องการปรับครม.ของพรรคชาติไทยพัฒนา นายบรรหาร กล่าวว่า ตนไม่รู้การจะทำอะไรอยู่ที่ผู้ใหญ่ เขาจะพูดกัน ส่วนที่มีการกล่าวหาว่ารมว.เกษตรฯให้ข้อมูลน้ำที่ผิดพลาดนั้น ตนไม่พูด เดี๋ยวก็โต้กันไปมาก ใครเป็นคนพูด หาตัวคนพูดได้หรือไม่ ส่วนอนาคตจะเป็นอย่างไรตนไม่ทราบ เพราะเป็นเรื่องผู้ใหญ่จะพูดกัน เขาคงไม่ทำอะไรผลีผลาม ของอย่างนี้และยามวิกฤติอย่างนี้ ก็ต้องช่วยกัน อย่าไปโทษกันเลย สื่อก็ต้องช่วยด้วย
       
       เมื่อถามว่าดูเหมือนฝ่ายพรรคเพื่อไทยจะมองว่ากรมชลฯ อยู่คนละพรรคทำให้การทำงานไม่เป็นเอกภาพ นายบรรหารกล่าวว่า ไม่เกี่ยวคนละเรื่องกัน กรมชลฯให้ข้อมูลตลอดเวลาเมื่อถามว่าเมื่อผู้ว่ากทม.กับรัฐบาลมีปัญหาในการทำงานร่วมกัน อนาคตควรเป็นพรรคเดียวกันหรือไม่ นาบรรหารกล่าวว่าอยู่ที่ประชาชนจะเลือกใครเวลาลงสมัคร ส่วนตัวมองว่าดีทุกฝ่าย ใช้ได้ทุกฝ่ายแต่ขอให้โทรบอกกันเรื่องเครื่องสูบน้ำตนไปเล่นงานอธิบดีกรมชลฯแทบแย่จนรู้ว่ามีหนังสือมา ในภาวะวิกฤติเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ถ้าตนทำงานวันเดียวก็เสร็จ ไม่เอาขั้นตอนหรอก สั่งก่อนเดี่ยวหนังสือก็ตามหลัง
       
       เมื่อถามว่านายกฯ หลังรับฟังข้อมูลแล้วมีปัญหาเรื่องการสั่งการที่ถูกต้องและเด็ดขาดในการสั่งการหรือไม่ นายบรรหารกล่าวว่า นายกฯเป็นคนรอบครอบ ต้องฟังหลายฝ่ายก่อนตันสินใจ ถ้าพรวดพลาดก็จะมีปัญหา ท่านก็เด็ดขาดอยู่ เท่าที่ตนดูก็ไม่พลาด ทำงานทั้งวันทั้งคืนด้วย ถ้าเป็นตนก็หน้าเหี่ยวตายแต่นี้นายกฯยังยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อถามว่านายกฯไม่เด็ดขาดในการตัดสินใจกรณีคลองข้าวเม่า นายบรรหาร กล่าวว่า มันปิดไม่ได้เพราะราษฏรมาเป็นร้อยถือปืนคนละกระบอก ทหารตำรวจก็ทำอะไรไม่ได้เดี๋ยวก็ยิงกันตายก็ยิงกันตาย ยุ่งตาย
       
       เมื่อถามว่าเสถียรภาพ ของรัฐบาลหลังน้ำลดจะเป็นอย่างไร นายบรรหารกล่าวว่า ต้องไปถามฝ่ายค้าน ตนตอบแทนไม่ได้ หรือไม่ก็ต้องไปทำประชามติประชาชน ความเชื่อมั่นของรัฐบาลไม่น่าจะคลายลงเพราะคนเสื้อแดงยังสนับสนุนเยอะ แลเชื่อว่าจะดูแลรัฐบาลได้
       
       นายบรรหาร กล่าวว่า หลังน้ำลดควรที่จะต้องมาพิจารณาแนวทางป้องกันอุทกภัยไม่ให้สร้างความเสียหายเช่นนี้อีก โดยเห็นว่าในระยะเร่งด่วนทำได้ทำได้ 1-2 ปี คือการสร้างคันกั้นน้ำรักษาชุมชนเมือง เหมือนจังหวัดอ่างทอง โดยที่อยุธยาก็ต้องทำคันกั้นน้ำรอบเกาะเมือง และในจุดต่างที่ล่อแหลม และควรมีการขุดคลองเพื่อผันน้ำเจ้าพระยาออกทะเล เป็นเจ้าพระยาสายที่สอง และในส่วนของแม่น้ำสะแกกรังก็จำเป็นต้องมีการสร้างเขื่อนแม่วงศ์ รวมทั้งตัดคลองลัดแม่น้ำท่าจีนเหมือนคลองลัดโพธิ์เพื่อร่นระยะทางเดินของน้ำลงสู่ทะเลโดยเฉพาะในช่วง จ.นครปฐมลงมา ส่วนบริเวณฟรัดเวย์ด่านตะวันออก นั้น ก็ควรไปดูว่าพื้นที่ไหนที่เป็นเส้นทางให้น้ำผ่านและมีอุปสรรคอย่างไร เพื่อที่จะได้แก้ไขทั้งหมด


จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000141241
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4260 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 19:24:20 »

อมน้ำ-บริหารผิด? สื่อเผยหลักฐานน้ำเขื่อนมัดคอ รบ.เพื่อไทย
3 พฤศจิกายน 2554 14:06 น.

 

       โพสต์ทูเดย์ชี้แกนนำรัฐบาล-ส.ส.เพื่อไทยพยายามหาแพะน้ำท่วมใหญ่ ไล่ตั้งแต่ภัยธรรมชาติ กฟผ. กรมชลประทาน พุ่งเป้า “ธีระ-บรรหาร” ปกปิดข้อมูล ส่วน “สุขุมพันธุ์” เจอข้อกล่าวหาขวางไม่ให้น้ำไหลลงทะเล “จตุพร” ปราศรัยโทษ ปชป.-ทหารกักน้ำจนต้องตอบโต้ เชื่อสุดท้ายเป็นบูเมอแรงกลับมาทิ่มรัฐบาล เผยตารางลำดับเวลาชี้ชัด “รบ.ปู” บริหารพลาด-พายุซ้ำ ทำให้น้ำเต็มเขื่อน
       
       จากกรณีที่มีสื่อของกลุ่มเสื้อแดงบางส่วนได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำในเขื่อนภูมิพล-เขื่อนสิริกิติ์ โดยโทษว่าเป็นต้นเหตุของเหตุอุทกภัยใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพ วานนี้ (2 พ.ย.)โพสต์ทูเดย์ตีพิมพ์รายงานพิเศษในหัวข้อ “พท.โยนบาปหาแพะบูเมอแรงฆ่าตัวเอง” โดยเห็นว่ายิ่งนานวันยิ่งเห็นการบริหารงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เป็นปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)ที่มีทีมงานมากให้ข้อมูลผิด ประชาชนสับสน ศปภ.หมดความเชื่อถือ ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ก็ไร้อำนาจแก้ปัญหาและพูดไม่ตรงกับที่ประเมินไว้
       
       ทั้งนี้ สิ่งที่นางสาวยิ่งลักษณ์จะเผชิญหลังน้ำลดคือ การทวงถามความรับผิดชอบจากการแก้ปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนเกิดความเสียหายมหาศาล ซึ่งคนเป็นผู้นำรัฐบาลไม่สามารถอยู่เฉยได้หรือกล่าวโทษให้เป็นเรื่องภัยธรรมชาติอย่างเดียว หากย้อนไปดูก่อนสถานการณ์เริ่มวิกฤต พลพรรคเพื่อไทยพยายามหาแพะ เพื่อชี้นำให้ประชาชนเห็นว่า ความเสียหายครั้งนี้ไม่ใช่เพราะรัฐบาล หากแต่เป็นเรื่องภัยธรรมชาติ ถือเป็น แพะตัวที่ 1
       
       ต่อมารัฐบาลยังมีข้อแก้ตัวว่าปัญหาน้ำท่วมมาจาก กฟผ. หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในฐานะดูแลเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ที่ไม่ยอมปล่อยน้ำออกมาก่อนจะมีพายุเข้าหลายลูก รอจนน้ำเข้ามาในเขื่อนให้มากแล้วค่อยระบายน้ำออก กลายเป็นมวลน้ำก้อนใหญ่ถล่มกรุง กฟผ.จึงเป็น แพะตัวที่ 2
       
       แพะตัวที่ 3 คือ กรมชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมกับ แพะตัวที่ 4 คือนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ ที่ดูแลกรมชลประทาน ซึ่งพรรคเพื่อไทย แกนนำ 111 ไทยรักไทย ที่มาช่วยรัฐบาล กล่าวหาว่ากั๊กข้อมูล บอกข้อเท็จจริงแต่น้ำท่า ซึ่งเป็นน้ำที่มากับแม่น้ำ แต่ไม่บอกข้อมูล น้ำทุ่ง ซึ่งเป็นน้ำที่หลากตามท้องทุ่ง ทำให้รัฐบา ประเมินสถานการณ์ผิด เป็นผลให้นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งจมมิด และไหลเข้าท่วมกรุงเทพฯ ขณะนี้ ข้อกล่าวหาอีกกรณี คือ การที่กรมชลประทาน ซึ่งคุมประตูระบายน้ำ (ปตร.) ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ เช่น ปตร.หนองจอก ปตร.คลองประเวศบุรีรมย์ ไม่ยอมเปิดประตู ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลไม่เต็มที่
       
       แพะตัวที่ 5 คือนายบรรหาร ศิลปอาชา เจ้าของพรรคชาติไทยพัฒนาซึ่งควบคุมนายธีระ และกรมชลประทานอีกทอด ถูกกล่าวโทษจากพรรคเพื่อไทยว่าเป็นขาใหญ่ สั่งปิดการระบายน้ำ ปตร.พลเทพ ที่ จ.ชัยนาท กันไม่ให้น้ำเข้า จ.สุพรรณบุรี ฐานเสียงของนายบรรหาร ทำให้การแก้ปัญหาของรัฐบาลผิดแผน น้ำระบายลงฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ไม่ได้
       
       แพะตัวที่ 6 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถูกกกล่าวหาจาก ศปภ. นางสาวยิ่งลักษณ์ และ สส.พรรคเพื่อไทย ว่าไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ด้วยการยอมให้น้ำเหนือไหลลงสู่คลองแสนแสบในกรุงเทพฯ จนนางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องประกาศใช้มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยึดอำนาจจากกรุงเทพมหานคร ใครฝ่าฝืนคำสั่งมีบทลงโทษตามกฎหมาย แม้กระชับอำนาจได้ แต่สถานการณ์กลับหนักกว่าเดิม น้ำมีโอกาสเข้าท่วมกรุงเทพฯ ทุกเขต จากที่ สส.พรรคเพื่อไทย ไม่ห้ามม็อบคลองสามวา จนทำลาย ปตร.คลองสามวา ซึ่งเป็นด่านหน้ากรุงเทพฯ ไปบางส่วน
       
       นอกจากนี้ กลุ่ม สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย นำโดยนายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ออกมากล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ว่า ขวางกระแสน้ำไม่ให้ไหลผ่านกรุงเทพฯ ลง จ.สมุทรปราการ เพื่อระบายสู่อ่าวไทยเร็วๆ ทั้งที่ จ.สมุทรปราการ พร้อมรับน้ำ แต่น้ำจากเมืองกรุงไม่ยอมมาเสียที ขณะที่การปราศรัยของ จตุพร พรหมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ในเวที “ไพร่แดง ลมหายใจที่ไม่แพ้” ที่ อ.เมือง จ.เชียงราย กล่าวว่า เหตุที่น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้มาจากยุคพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งกักน้ำเอาไว้เต็มเขื่อนหลายแห่ง ส่วนทหารที่ขอเข้ามาช่วยแก้น้ำท่วม ถ้าล้มเหลวทหารต้องรับไปด้วย 50% นอกจากนี้ รัฐบาลนี้มีแต่คนจ้องล้มให้ได้ภายในเดือน ธ.ค. แต่โชคดีมีน้ำท่วมใหญ่ก่อน ทำให้ล้มไม่ได้ ซึ่งความหมายของนายจตุพร แพะตัวที่ 7 คือ พรรคประชาธิปัตย์ แพะตัวที่ 8 คือ กองทัพ
       
       ในรายงานพิเศษชิ้นนี้กล่าวว่า การที่น้ำท่วมคือโชคดีของรัฐบาลที่ป้องกันไม่ให้ใครมาล้มได้ แต่เป็นโชคร้ายของประชาชนที่เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ซึ่งเหตุผลของนายจตุพรครั้งนี้ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตอบโต้ว่า ถ้าอย่างนั้นประชาธิปัตย์ก็แกล้งแพ้เลือกตั้ง เพื่อต้องแกล้งวางยาให้น้ำท่วมหรือไม่ ส่วนกองทัพก็นึกไม่ถึงว่าจะกลายเป็นแพะกับเกมโยนบาปครั้งนี้ เพราะเป็นฝ่ายปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนอย่างแข็งขันตามที่รัฐบาลสั่ง และกองทัพก็ได้รับคำชื่นชมสูงว่าเป็นพระเอกตัวจริง
       
       ขณะเดียวกัน แพะตัวที่ 9 คือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์แสดงความเสียใจปัญหาน้ำท่วมว่า ช่วงเขาเป็นรัฐบาล เคยคิดทำโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีเรื่องน้ำรวมอยู่ด้วย แต่ถูกปฏิวัติเสียก่อน ทำให้แก้ไม่ได้ ซึ่งกลยุทธ์โยนบาป ปัดพ้นตัว ไม่ยอมรับว่ากลไกการสั่งการในรัฐบาลเองมีความผิดพลาด เพราะแม้แต่คนในรัฐบาล หรือ ศปภ.เองก็ออกมาแฉกันเองว่าทำงานไร้ประสิทธิภาพ ไม่ทันกู้วิกฤต ยังเอาของบริจาคแปะชื่อเป็นของตัวเอง ไม่กระจายของ ปล่อยให้ของบริจาคจมน้ำ แต่รัฐบาลลืมไปว่าแพะที่แกนนำรัฐบาลกล่าวโทษนั้น คือกลไกแขนขาของรัฐบาล มีนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด และเห็นว่าทุกอย่างเป็นบูเมอแรงกลับมาทิ่มใส่รัฐบาลเอง
       
       หลักฐานมัด รบ.ปูละเลย ปล่อยน้ำเต็มเขื่อน
       
       ขณะที่วันนี้ (3 พ.ย.) หน้าหนึ่งของ นสพ.โพสต์ทูเดย์ได้เผยแพร่ตาราง “อมน้ำ-บริหารผิด” ซึ่งเป็นตารางที่ระบุถึงลำดับเวลาของเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่วันยุบสภา 10 พ.ค. 2554 จนถึง 31 ต.ค. 2554 เปรียบเทียบกับระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เป็นเปอร์เซ็นต์ พร้อมกับแสดงให้เห็นถึงผลกระทบ
       
       ตารางเวลาชี้ให้เห็นว่า ณ วันที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์อยู่ที่ระดับ ร้อยละ 46 และ 51 ตามลำดับ ขณะที่เมื่อถึงวันเลือกตั้ง 3 ก.ค. ระดับน้ำในเขื่อนทั้งสองได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 58 และ 65
       
       อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่คณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถวายสัตย์ปฏิญาณในวันที่ 10 ส.ค. ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 69 และ 85 จากน้ำเหนือที่ไหลบ่าและอิทธิพลของพายุนกเตน อย่างไรก็ตามหลังจากที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินแล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลับไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับอิทธิพลจากพายุไห่ถาง, เนสาด และ นาลแก ส่งผลให้น้ำในเขื่อนทั้ง 2 แห่งเพิ่มขึ้นเต็มความจุในช่วงต้นเดือน ตุลาคม 2554 และในที่สุดก็กลายเป็นมหาอุทกภัยที่ก่อความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมิอาจประเมินค่าได
 
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #4261 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 20:16:43 »


ตามอ่านข่าวแล้วมึนเลย...

ขอบคุณครับ... พี่เหยง
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4262 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 20:17:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 05 พฤศจิกายน 2554, 11:23:24
ข่าววันนี้.......

น้ำห้าแยกลาดพร้าวเริ่มเข้า ม.เซนต์จอห์น
วันเสาร์ ที่ 05 พฤศจิกายน 2554 เวลา 1:10 น

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 00.45 น.สถานการณ์น้ำบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ฝั่งถนนพหลโยธินนั้น น้ำได้ท่วมขึ้นสูงประมาณ 50 ซม.เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พหลโยธิน ได้ปิดการจราจรถนนพหลโยธินขาออกแล้ว และให้ผ่านเฉพาะรถใหญ่ โดยน้ำได้เริ่มท่วมขังไปถึงบริเวณมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นบางส่วน ขณะที่สถานการณ์น้ำฝั่งถนนวิภาวดี ยังอยู่บริเวณแยกรัชวิภา และยังไม่เคลื่อนไปถึงบริเวณห้าแยกลาดพร้าว แต่เริ่มมีน้ำผุดตามท่อ และพื้นดินบริเวณขนส่งหมอชิตเก่า
 
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=174135


น้องน้ำมาถึงปากซอย โชคชัยร่วมมิตร บ้านผมแล้วครับ ....

 ... วันอาทิตย์ พรุ่งนี้ ชวนลูกชาย ไปเป็นจิตอาสา ช่วยชาวบ้าน  สบายเลยครับ ...ไม่ต้องไปไหนไกล


ปล.

สารวัตรจราจร สน.พหลโยธิน ... นี่ก็คน นครสวรรค์ ครับ  จบ. รร.ชาย รุ่นเดียวกับผม

พ.ต.ท.พิษณุ โกสิยวัฒน์
 ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4263 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 21:30:46 »

ดร.มนตรี

พี่ได้เจอกับผู้ที่อยู่บนถนนโกสีย์ใกล้ๆกับร้าน 7-11 หน้าโรงหนังไกรลาสเก่า (เยื้องธนาคารกสิกรไทย)
บอกว่าวันที่น้ำท่วม มิจฉาชีพแกล้งขับเรือชนกระจกร้าน 7-11 จนแตก แล้วเข้าไปเอาเหล้ากับบุหรี่ในร้านไป
ส่วนที่เหลือเป็นผู้ประสบภัย (จากไหนไม่ทราบได้ ??) ตามเข้าไปฉกฉวยทุกอย่างในร้านจนหมด

บรรดาร้านทองก็โดนกลุ่มเรือไปเคาะประตู ถามว่า "มีใครอยู่ไหม ??"
ซึ่งคนที่อาศัยข้างเคียงตอบโต้ด้วยการต่อว่า พวกเขาจึงถอยเรือออกไป
มีคนบอกว่า มีการตรวจเรือพบว่า ในเรือมีแต่อุปกรณ์ตัด งัด แงะ
ส่งผลให้หลายๆ ครอบครัวในหมู่บ้านดรีมแลนด์ สูญเสียข้าวของไป
หลังจากเจ้าของบ้านต้องหนีน้ำออกจากบ้านเพราะน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4264 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 21:33:44 »

อีกปัญหาหนึ่งหลังน้ำลดคือ จะมีการยึดรถจักรยานยนต์ รถยนต์ คืนจำนวนมาก
เพราะรถถูกน้ำท่วม ผู้ผ่อนไม่อยากได้ครอบครองรถอีกต่อไป
รวมทั้งผู้ผ่อนไม่มีรายได้ในช่วงหลังน้ำลด และมีภาระในการส่งเงินให้บัตรเครดิต หรือผ่อนส่งของอื่นๆ
รถที่จมน้ำจึงเป็นสินค้าตัวแรกที่จะถูกลอยแพ

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4265 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 21:35:34 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 05 พฤศจิกายน 2554, 20:16:43

ตามอ่านข่าวแล้วมึนเลย...

ขอบคุณครับ... พี่เหยง


แหลม

เอาไว้เป็น reference เผื่อจะมีรายการลากไส้ หรือ โยนความผิดให้กันและกัน ในช่วงอภิปรายในสภา
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #4266 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2554, 22:39:22 »

ขอบคุณ สำหรับ ข้อมูล ครับ น้องเหยง
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #4267 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 09:16:37 »

 
อ้างถึง   
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 05 พฤศจิกายน 2554, 21:30:46
ดร.มนตรี

พี่ได้เจอกับผู้ที่อยู่บนถนนโกสีย์ใกล้ๆกับร้าน 7-11 หน้าโรงหนังไกรลาสเก่า (เยื้องธนาคารกสิกรไทย)
บอกว่าวันที่น้ำท่วม มิจฉาชีพแกล้งขับเรือชนกระจกร้าน 7-11 จนแตก แล้วเข้าไปเอาเหล้ากับบุหรี่ในร้านไป
ส่วนที่เหลือเป็นผู้ประสบภัย (จากไหนไม่ทราบได้ ??) ตามเข้าไปฉกฉวยทุกอย่างในร้านจนหมด

บรรดาร้านทองก็โดนกลุ่มเรือไปเคาะประตู ถามว่า "มีใครอยู่ไหม ??"
ซึ่งคนที่อาศัยข้างเคียงตอบโต้ด้วยการต่อว่า พวกเขาจึงถอยเรือออกไป
มีคนบอกว่า มีการตรวจเรือพบว่า ในเรือมีแต่อุปกรณ์ตัด งัด แงะ
ส่งผลให้หลายๆ ครอบครัวในหมู่บ้านดรีมแลนด์ สูญเสียข้าวของไป
หลังจากเจ้าของบ้านต้องหนีน้ำออกจากบ้านเพราะน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว


ไม่ทราบว่ามี CCTV ที่7-11 หรือไม่ ถ้ามีจะได้ตามจับกุมได้ถูกคนและต้องดำเนินการลงโทษขั้นสูงสุด
เพื่อให้หลาบจำ และเป็นตัวอย่างให้คนที่คิดจะทำในอนาคต ไม่กล้าทำ
(มีข่าว ว่าจะตามจับผู้ทำลาย คันกั้นน้ำเจ้าพระยา ทำให้ปากน้ำโพเร็ว ท่วมแบบไม่ทันตั้งตัว
ไม่รู้ว่าตามจับได้หรือยัง)
      บันทึกการเข้า
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #4268 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 09:55:35 »

แผนซ้อนแผนสำหรับคนเหลี่ยมจัด ใครได้ประโยชน์จากน้ำท่วมประเทศ?

กักน้ำเขื่อนหวังปั่นกระแสโครงการจำนำข้าว
เพื่อผลประโยชน์ของแขกซาอุ ที่ปลูกข้าวที่สุพรรณฯ ,
หวังงาบงบฟื้นฟู เงินช่วยเหลือจากน้ำท่วม หัวคิวงบชดเชย แจกบรรดาหัวคะแนนให้หาทางงาบ
 ตาม"บางระกำโมเดล" เสียหาย ๑ ไร่ เพิ่มให้เป็น ๑๐ ไร่ ขอแบ่ง ๓ ไร่ Huh?,
กัก ยักยอก โกงของบริจาค ไว้ใช้หาเสียง เอาหน้าแต่ไม่ลงทุน
 โดยการติดชื่อ ส.ส., ป้ายโฆษณา คนจากแดนไกล ทักษิณ ทำให้ขายหน้าไปทั่วโลก ,
แถมบรรดา ส.ส. เลขาฯรมต. ที่ปรึกษา รมต. ได้แสดงอำนาจ กร่าง
 เสนอหน้าออกทีวี แสดงเรียลลีตี้โชว์บนความทุกข์ โดยไม่เสียตังค์,
 ยังมีงบทำเขื่อน พังเขื่อนซื้อถุงทราย ค่าหิน ค่าทราย ค่าเรือ ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่า...อื่นๆให้กินส่วนแบ่ง
 หักค่าหัวคิวอีก นับพันล้านทั้งงบประมาณ งบกลาง เงินบริจาค ในช่วงชุลมุน มั่วๆ เลยโกงสนุกสนาน
 ยังได้มีโอกาสโยนขี้รัฐบาลก่อนว่าวางยาอีก
 เพราะคนเหลี่ยมจัดยังเตรียมแผนสร้างรัฐไทยใหม่ นิวไทยแลนด์
เตรียมกู้เงินอีก ๙ แสนล้านบาทเอาผลาญอีก ๒๐ เปอร์เซนต์ เท่ากับ ๑ แสน ๘ หมื่นล้านบาท
คืนค่าความคิด ที่อีก ๒๐ เปอร์เซนต์ไว้แจกบรรดาลิ่วล้อ
 ตั้งแต่หัวคะแนน ส.ส. ขึ้นมาจนถึงรัฐมนตรี โดยไม่ต้องควักกระเป๋า ไม่ต้องลงทุน
 เงินมันหาง่ายๆอย่างนี้แหล่ะ สำหรับนักการเมือง
แถมยังสร้างต่อรองเลี้ยงนักธุรกิจ ที่เป็นเครือข่ายของตนเองอีก
ใครไม่ใช่พวกก็ไม่ได้งาน ใช้บีบพวกที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ ให้ง้อ ให้รัฐบาล พท.
เป็นแผน ฮุบประเทศผ่านอำนาจรัฐ ผ่านเงินภาษี เงินกู้ โดยสร้างหนี้ให้ลูกหลาน
ไม่คำนึงถึงความหายนะตามที่ปรากฏในขณะนี้
แต่สงสัยให้ยาแรงไป รัฐบาลปูแดง พรรคเพื่อไทย กำลังจะไปตามสายน้ำ
รัฐบาลปูแดงเลยถูกหามเข้า ไอซียู
 สำหรับประชาชนที่เข้าถึงข้อมูล ที่มีความเป็นกลาง
ไม่มีใครไว้วางใจ เหมือนกับ ศปภ. ที่เจ๊ง แล้วเจ๊งอีก หนีแล้วหนีอีก อพยพแล้วอพยพอีก ..
...ต่อนี้รัฐบาลปู พรรคเพื่อไทยและเครือข่ายฯทำได้ คือแถ แหล โทษคนอื่น
โทษฝ่ายค้าน กทม. ชาวบ้าน อำมาตย์ สารพัดที่อ้างที่ใส่ร้าย หาแพะรับบาป
สร้างภาพสร้างสร้างความหวังที่เลื่อนลอย
 เหมือนกับการหาเสียงที่ "ดีแต่โม้"
หลอกลวงชาวบ้าน โฆษณาชวนเชื่อ ล้างสมอง สาวกคนเสื้อแดง ไปเรื่อยๆ
 ปั่นกระแส ด่าคนอื่น ยังแสดงความเป็นอันธพาล ปัดความรับผิดชอบ
 ที่ไม่ใช่คุณลักษณ์ของผู้บริหารมืออาชีพ
แสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริง คือไร้ภาวะผู้นำ
แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยน้ำตา
 แต่ประชาชนตายไปแล้วมากกว่า ๔๐๐ ศพ และยังมีการตายเพิ่มขึ้นทุกวัน
 จาการบริหารที่เป็นแบบเด็กฝึกงาน ชักเข้าชักออก ทำไปแก้ไป คิดใหม่ผิดใหม่
ไม่รู้จะอีกกี่ร้อยศพที่สังเวยความอ่อนหัดของการบริหารประเทศ
อย่าให้ได้ชื่อว่า "โจรกระจอก ๕๐๐ ศพ"
ที่มีทั้งโกง ยักยอก งบ ของบริจาค ปล่อยให้มีคนตายถึง ๕๐๐ ศพ..

คักลอกมาให้อ่านจาก manager online
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #4269 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 09:59:28 »

ข้อมูลดีมากครับ พี่เหยง

กำลังหาแพะ กันอยู่  แพะตัวที่ 1 กฟผ   แพะตัวที่ 2 กรมชลประทาน

ผิดข้อที่ 1 คนผิดตัวจริงคือรัฐบาล  รู้เท่าไม่ถึงการณ์ประมาท เล็งผลเลิศ(รอให้เกี่ยวข้าวก่อน)
ทำให้กักน้ำในเขื่อนเพิ่มไม่ให้ปล่อยลงมา   ถ้ารับเอนอกรับสารภาพ จะถือว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์
 คาดการผิด    แต่นี่ กำลังหา แพะ  ถือว่าเลวมาก

ผิดข้อที่ 2  เมื่อรู้ว่าน้ำมา มาก ท่วมแน่ๆ  หาทางแก้ไขให้บรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ แต่ไม่ทำ
การบรรเทาน้ำท่วม  โดยการระบายน้ำเมื่อหลุดจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ไปยังทุ่งตะวันออก
และทุ่งตะวันตก  ทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อลดมวลน้ำ ที่จะเข้า อยุธยา และ กทม (พี่สิงห์ ได้โพสต์ ความเห็นไว้แล้ว)

แต่ไม่ทำ มีตัวจริงที่อยู่หลังฉาก สั่งไม่ให้ระบายน้ำ ไปยังทุ่งตะวันตก กลัวนาข้าวที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวเสียหาย
และจังหวัดสุพรรณจะน้ำท่วม (มีการถกเถียงกันใน ครม ในเวลานั้น ให้ระบายไปทุ่งตะวันตกด้วย เข้าใจว่า คุณ ปลอดประสพ
เป็นผู้เสนอ  ทางกระทรวงเกษตรไม่ยอม  สุดท้าย ผู้อยู่ ดูไบ เป็นผู้ เคลียร์ ว่าไม่ต้องระบายไปทุงตะวันตก
และให้ทุกคน หยุดพูด และไม่ให้ข่าวออกทาง สือมวลชน)

น้ำ 16000 ล้านลบม จึงบ่าเข้าท่วม ทำลาย นิคมอุตสาหกรรม 7-8 แห่ง เสียหาย 3แสน ถึง5แสน ล้านบาท
ถ้าปล่อบเข้าท่วม ทุ่งตะวันตกด้วย น้ำจะเข้าสู่ทุ่งตะวันตกประมาณ 6000 ล้านลบม ค่าเสียหายจากพืชผลการเกษตร
ประมาณ 3-4 พันล้านบาท
ถ้าปล่อบลงทุ่งตะวันตกด้วย น้ำที่เหลือประมาณ 10000 ล้านลบมจะเข้า อยุธยาและ กทม
นิคมอุตสาหกรรมจะถูกทำลาย น้อยลง ความเสียหายคงน้อยกว่านี้มาก

น้ำท่วมกรุงเทพ จะน้อยกว่านี้ ชั้นในอาจป้องกันได้ จะท่วมเฉพาะชั้นนอกเท่านั้น

ตอนนี้มันสายเสียแล้ว เพราะเขาเสี่ยงที่จะแลก 3-4พันล้าน กับ 5 แสนล้านบาท เพราะคิดไม่ถึงว่าจะเสียหายขนาดนี้
ถ้ารู้ว่าเป็นแบบนี้ เขาอาจไม่ทำอย่างนี้

ผิดข้อที่ 3 เมื่อมวลน้ำจะเข้า กทม แน่ๆ มีเวลาอยู่ ไม่น้อยกว่า7-10 วัน ในการวางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
แต่กับทำไม่้เป็น แก้ปัญหาไม่เป็น ทุกคนจ้องจะออกทีวีเอาหน้า ฟันธงไม่ได้ว่าจะทำอย่างไร กลายเป็น ต่างคนต่างทำ
ไม่ประสานกันเลย   (ผู้รู้มี ไม่ฟัง ฟังแต่นักการเมือง ผู้ซึ่งไม่ค่อยมีความรู้)
เมื่อถึง วันทีน้ำเข้ามา กทม จริง จึงมั่วกันอยู่อย่างนี้ (แต่เริ่มฟัง ผู้รู้มากขึ้น)

ความผิดเหล่านี้
ความเห็นผม เมื่อรู้ว่าตัวเองคาดการผิด จัดการผิดพลาด ควรสารภาพ ไม่ควรหา แพะรับ บาป
ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง  คนไทยทั้งประเทศเป็น แพะ ของคุณอยู่แล้ว

ท้ายนี้ จะขอกล่าวว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เหนื่อย


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4270 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 10:58:31 »

ขอบคุณข้อมูลเชิงวิเคราะห์ของพี่ตะวัน, สมชาย17
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4271 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 11:03:57 »

ลือว่อนเน็ต! ศปภ.ฟาดหัวคิวงบถุงยังชีพ 20-50%
5 พฤศจิกายน 2554 23:52 น.

 

      ASTVผู้จัดการ - ชาวเน็ตกังขาถุงยังชีพ ศปภ.ไม่สมราคา แกะถุงออกมาพบสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมเค้ก ยาแก้ปวด เครื่องอุปโภค ตีราคาแค่ 200-350 บาทเท่านั้น ขณะที่ก่อนหน้านี้สำนักนายกฯ เผยขออนุมติงบ 50 ล้านจัดซื้อถุงยังชีพชุดละ 500 บาท ตั้งข้อสงสัยฟาดหัวคิวจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
       
       วันนี้ (5 ต.ค.) ในเว็บไซต์เฟซบุ๊กได้มีการแชร์ภาพถุงยังชีพที่ติดตราสัญลักษณ์ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเจ้าของภาพที่ใช้นามแฝงว่า “Tukta Perace” ได้ระบุข้อความในภาพว่า ถุงยังชีพแบบ 800 บาท ศปภ. ซื้อไปหนึ่งแสนชุด เป็นเงิน 80 ล้านบาท เปิดดูข้างในถุงมีแค่นี้ ช่วยประเมินให้ทีว่าราคามัน 800 บาทจริงหรือ โดยในภาพดังกล่าวมีสิ่งของประกอบด้วย ข้าวสารขนาด 5 กิโลกรัม 1 ถุง, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 6 ซอง, ขนมปัง 6 ชิ้น, อาหารกระป๋อง 2 กระป๋อง, ยาพาราเซตามอล ชนิดแผง 10 เม็ด 2 แผง, โลชั่นทากันยุง 2 ซอง, ยาสระผม 1 ขวด, กระดาษชำระ 1 ม้วน, ผ้าอนามัย 1 ห่อ, เทียนไข 6 เล่ม และไฟแช็ก 1 อัน
       
       ภาพดังกล่าวถูกส่งต่อในเครือข่ายเฟซบุ้คจำนวนกว่า 1,700 คน โดยไม่นับเฟซบุ๊กอื่นๆ ที่นำภาพไปโพสต์ต่อ รวมทั้งมีการตั้งข้อสังเกตถึงราคาสินค้าที่นำมาบรรจุในถุงยังชีพของ ศปภ. โดยผู้ใช้นามแฝง “OOm Owlet” ได้ลองเปรียบเทียบราคาสินค้า ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปห่อละ 5 บาท 10 ห่อ เป็น 50 บาท, เทียน 10 บาท, แชมพู 12 บาท, ปลากระป๋อง 16 บาท 2 กระป๋องเป็น 32 บาท, ข้าวสารแบบถูก ถุงขนาด 5 กิโลกรัมถุงละไม่เกิน 70 บาท, ผ้าอนามัย ซานิต้า 23 บาท, ทิชชู่ 12 บาท, ไฟแช็ค 8 บาท, ยาแก้ปวดหัว แผงละ 8 บาท 2 แผงเป็น 16 บาท, ขนมปังห่อละ 4 บาท ถ้าซื้อเป็นโหลในแม็คโคร ตกอันละ 3.25 บาท 10 ซองเป็น 40 บาท, ถุงใส่ของสกรีนโลโก้ กิโลกรัมละ 48 บาท ประมาณ 150 ใบ หากคิดแบบแพงตกใบละ 32 สตางค์ต่อถุง และมีโลชั่นกันยุง 2 ซอง 16 บาท
       
       ส่วนเจ้าของนามแฝง “SaNdzz Sureeporn รักในหลวง” ระบุว่า ราคาสินค้าในถุงยังชีพของ ศปภ.ชุดนี้โดยประมาณ เพราะซื้อจำนวนมาก คาดว่าได้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปห่อละ 3.5 บาท 6 ห่อเป็น 21 บาท, ขนมเค้ก 3 บาท 6 ห่อเป็น 18 บาท, ยาพาราเซตามอล แผงละ 5 บาท 2 แผง 10 บาท, เทียน 7 บาท, ครีมกันยุง 7 บาท, ปลากระป๋อง 10 บาท 2 กระป๋อง 20 บาท, ข้าวสารเดาว่าเป็น 50 บาท, ทิชชู 6 บาท, ผ้าอนามัย 10 บาท และค่าถุงพิมพ์ชื่อ ศปภ. 5 บาท อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าชมภาพในเฟซบุ้คดังกล่าวส่วนใหญ่ต่างแสดงความคิดเห็นว่า ราคาสินค้าของถุงยังชีพของ ศปภ.ชุดนี้น่าจะอยู่ในระหว่าง 200-350 บาทเท่านั้น และตั้งข้อสังเกตว่า ศปภ.อาจมีการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่นำไปบรรจุลงในถุงยังชีพเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือไม่
       
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการบริหารจัดการสิ่งของบริจาคและดูแลการบรรจุถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เปิดเผยเมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ได้มีการขออนุมัติจัดซื้อถุงยังชีพเพิ่มเติมในราคาชุดละ 500 บาท จำนวน 1 แสนชุด รวมเป็นเงิน 50 ล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่ได้รับจากการบริจาคของประชาชนและหน่วยงานต่างๆผ่านศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) เพื่อใช้ดำเนินการจัดซื้อ ซึ่งได้รับการอนุมัติหลักการจากปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างขั้นตอนการจัดซื้อ คาดว่าจะได้รับถุงยังชีพชุดแรกประมาณวันที่ 2 พ.ย.นี้ โดยจะทยอยจัดส่งครั้งละประมาณ 1-2 หมื่นชุด
       
       ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า สิ่งของบริจาคที่มาจาก ศปภ. ถูกตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการผ่าน ส.ส.พรรคเพื่อไทย นับตั้งแต่ศูนย์ ศปภ.ปฏิบัติหน้าที่ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง อาทิ กรณีของบริจาคที่มาจากประชาชนถูกนักการเมืองหรือกระทรวงต่างๆ ถูกนักการเมืองและ ส.ส.สอบตกนำกระดาษระบุชื่อว่าตนเองเป็นผู้บริจาคแนบไปด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเสียงทางการเมือง, กรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเขียนข้อความลงในกองสิ่งของบริจาคว่าเป็นเจ้าของ ห้ามเคลื่อนย้าย, กรณีที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก เลขานุการ รมช.มหาดไทยร้องขอเรือบริจาคให้แก่ตนเอง รวมทั้งมีการแถลงข่าวภายหลังว่าของบริจาคทั้งหมดที่เข้ามาอยู่ใน ศปภ. อยู่ในความรับผิดชอบของนายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ซึ่งภายหลังได้ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบเพียงผู้เดียว นอกจากนี้ภายหลังเมื่อน้ำจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ได้เข้าท่วมท่าอากาศยานดอนเมือง ศปภ.ได้ย้ายสถานที่ไปยังอาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ถนนวิภาวดีรังสิต โดยปล่อยให้สิ่งของบริจาค เสื้อผ้าและสุขาลอยน้ำจมอยู่ใต้น้ำอีกด้วย


 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000141314
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4272 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 11:05:04 »

ขออนุญาตไปเลือกนายก อบต.บ้านมะเกลือสัก 1 ชั่วโมงครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4273 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 16:42:31 »

ขณะนี้มีผมเพียงคนเดียวในเว็ป
หลังจากไปเลือกตั้ง นายกฯ อบต.บ้านมะเกลือ จึงเลยเข้าเมืองปากน้ำโพ
พบว่ารถวิ่งไม่ได้หลายจุด เนื่องจากเทศบาลปิดกั้นถนนหลายสาย เพื่อตักขยะขึ้นรถ
วิ่งวนอยู่หลายรอบ ดูบรรยากาศเพราะไม่ได้นำกล้องติดตัวไป
บอกได้เลยครับ กทม.หลังน้ำท่วม ต้องทำความสะอาดนานเป็นเดือนแน่นอน
ขยะเกลื่อนเมือง ดังที่เห็นจากนครสวรรค์ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4274 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2554, 21:17:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 06 พฤศจิกายน 2554, 11:05:04
ขออนุญาตไปเลือกนายก อบต.บ้านมะเกลือสัก 1 ชั่วโมงครับ

เส้นทางห่างจากที่บ้านไม่ถึง 1 ก.ม. ยังมีน้ำท่วมถนนอยู่ครับ น้ำทุ่งกำลังไหลคืนกลับเข้าคลอง
กว่าจะลงแม่น้ำและไหลลงใต้ คงใช้เวลาอีกหลายวัน




ไปเลือกตั้งนายก อบต. และสมาชิก อบต.บ้านมะเกลือ  ตำบลที่อาศัยอยู่

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 169 170 [171] 172 173 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><