20 กันยายน 2567, 18:29:59
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 167 168 [169] 170 171 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2519273 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 33 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788

« ตอบ #4200 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 12:27:17 »



          สวัสดีครับเหยง

                  ประเทศไทยของเราวันนี้ประชาชนโดยส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนกันอยู่ คงไม่มีเวลา

 มานั่งคิดถึงความสุขการไปท่องเที่ยวพักผ่อนกินอยู่กันแบบสบายใจ
ปัญหาเรื่องที่อยู่และการเดินทางก็มีความ

 ทุกข์กันทั้งหมด   อีกปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือตอนนี้บ้านเมืองของเรากฎหมายที่มีอยู่นำมาบังคับใช้ไม่ได้

 ตอนนี้บ้านเมืองเรามีแต่กฎหมู่เท่านั้นที่ใหญ่ที่สุด

                                             www.thairath.co.th/content/eco/212894




 
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #4201 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 12:54:58 »


สวัสดียามบ่ายครับ... พี่เหยง..พี่แก้ว และพี่น้องทุกท่าน

ด้วยเพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่เห็นถึงความสำคัญของหน้าที่ความรับผิดชอบและวินัยน่ะครับ พี่แก้ว

พวกสร้างปัญหาคือ... พวกอยากรับแต่ชอบ ผิดไม่รับ.

      บันทึกการเข้า
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #4202 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 13:44:41 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 02 พฤศจิกายน 2554, 12:54:58

สวัสดียามบ่ายครับ... พี่เหยง..พี่แก้ว และพี่น้องทุกท่าน

ด้วยเพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่เห็นถึงความสำคัญของหน้าที่ความรับผิดชอบและวินัยน่ะครับ พี่แก้ว

พวกสร้างปัญหาคือ... พวกอยากรับแต่ชอบ ผิดไม่รับ.


ขณะที่คนส่วนใหญ่กำลังมีทุกข์ อดอยาก ขาดแคลนอาหาร อดมื้อกินมื้อ
แต่คนบางกลุ่มบางจำพวกยังสวาปาม กินอยู่อย่างสบายไม่อินังขังขอบในความทุกข์ระทมขมขื่นของคนอื่น
จิตใจเขาทำด้วยอะไรหนอ...
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4203 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 14:36:52 »

มันมาแล้ว ... คิดไว้แล้วว่ามันต้องมา ...








ถึง งามวงศ์วานแล้วครับ
 ...

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4204 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 15:41:16 »

พี่แก้ว พี่ตะวัน แหลม ดร.มนตรี และทุกท่านครับ

พวกเราส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนในเบื้องต้นจากภัยน้ำท่วมคือ อาการการกินที่แพงขึ้น
น้ำท่วมไร่ สวน นา ส่งผลเสียหายกับวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ผัก ไข่ แพงขึ้น
ผลกระทบตามมาคือ การเดินทางที่มีอุปสรรคจากน้ำที่ไหลท่วมถนน เซาะคอสะพานขาด

ผู้ที่ถูกกระทบหนักขึ้นคือ คนที่ถูกน้ำท่วมบ้าน ทำให้ข้าวของในบ้านเสียหาย
สิ่งของหลายอย่างต้องซื้อใหม่ สิ้นเปลืองเงินเพิ่มเข้าไปอีก กว่าจะลืมตาอีกครั้งต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน

หนักหนาสาหัสเพิ่มขึ้นคือ ครอบครัวที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ในช่วงเกิดน้ำท่วม
ทั้งที่ถูกไฟฟ้าดูด จมน้ำ เจ็บป่วยจนไม่สามารถไปหาหมอได้...อนาถใจเป็นที่สุด

และทุกคนมาถูกย่ำยีหัวใจอีก เมื่อมีข่าวการอมของบริจาค ซึ่งไม่น่าเกิดขึ้นโดยบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็น ส.ส.
เราเลือกตัวแทนของประชาชน เพื่อมาอมของเพื่อประชาชน
แถมยังมี ส.ส. ประเภทเอา "เท้าราน้ำ" อีก, ไม่ทำไม่ว่า แต่ยังกัดกันไม่ยอมเลิก

เวรกรรมสำหรับคนไทย และประเทศไทยครับ

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4205 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 15:43:46 »

ยกกราฟกรมชลฯมัดแน่น“รัฐบาลปู”
วันพุธ ที่ 02 พฤศจิกายน 2554 เวลา 14:48 น
 
 
รมว.ทส.เงา ปชป.ยกกราฟกรมชลฯ มัด “รัฐบาลปู”บริหารน้ำพลาด ทำท่วมกันทั่วประเทศ แฉช่วงทำบางระกำโมเดลรู้สัญญาณแล้ว แต่กลับเฉย

วันนี้ ( 2 พ.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ มีการประชุม ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหารือถึงสถานการณ์อุทกภัย  ภายหลังการประชุม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเงา พรรคประชาธิปัตย์  นำแผนภูมิการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิตต์ ของศูนย์ปฏิบัติการจัดสรรน้ำ สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ  กรมชลประสาน มาประกอบการแถลงข่าวกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์ระบุเข้ามาบริหารประเทศตอนที่น้ำเริ่มเต็มเขื่อนแล้ว ว่า สำหรับเขื่อนภูมิพล ปริมาณกักเก็บได้สูงสุดที่ 13,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะเห็นได้ว่าในวันที่ 10 ก.ค.54  ซึ่งเป็นวันยุบสภา ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลอยู่ระดับเดียวกับเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด เนื่องจากก่อนหน้ามีความแห้งแล้งมาก

หลังจากนั้นวันที่ 10 ส.ค.54 น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ เกิดฝนตกจากพายุเริ่มเข้ามา ปริมาณกักเก็บอยู่ที่ 9,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเมื่อเห็นว่ามีแนวโน้มน้ำมาก รัฐบาลต้องระบาย แต่เข้าใจว่าตอนนั้นรัฐบาลมีนโยบายจำน้าว หากปล่อยน้ำทำให้จมนาข้าว ประชาชนจะไม่มีข้าวไปจำนำ จึงมีการเก็บน้ำไว้ โดยวันที่ 28 ส.ค.54 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ไปดูบางรำกำโมเดลซึ่งในขณะนั้นกักเก็บอยู่ที่ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตรแล้ว  ดังนั้นหลังวันที่ 10 ส.ค.54ไปแล้ว ถือเป็นภาระของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ “ที่สำคัญคือการระบายน้ำหลังที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปดูบางระกำโมเดลกลับไม่ระบายเท่าที่ควร โดยมีการระบายน้ำไม่เกิน 40 ล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นระดับการระบายปกติ  แต่กลับมาระบาย 100 ล้านลูกบาศก์เมตรตอนต้นเดือนต.ค. 54 ซึ่งน้ำกักสูงสุดที่ 13,500 ล้านลูกบาศก์เมตรแล้ว จะมาโทษรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เลย เพราะเรายุบสภาฯตอนที่น้ำมีอยู่ครึ่งเขื่อน”นายสาทิตย์กล่าว

นายสาทิตย์กล่าวต่อว่า   สำหรับเขื่อนสิริกิตต์กักน้ำอันดับ 2 ของประทศ ปริมาณกักเก็บเต็มที่ที่ 9,600 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานะขณะมีการยุบสภากักเก็บไว้ที่  7 พันกว่าล้านลูกบาศก์เมตร วันที่น.ส.ยิ่งลักษณ์มาเป็นนายกฯอยู่ที่ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  และปริมาณน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น รัฐบาลควรเร่งระบายน้ำออก แต่ไม่ทำ และระบายต่ำกว่าที่ควรเป็น ทำให้ปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม 2554 ปริมาณน้ำแตะ 9,600 ล้านลูกบาศก์เมตรถึงจะเริ่มระบาย ทั้งนี้ตนจะทำเรื่องนี้เป็นเอกสารและคลิปแพร่ทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กด้วย  สำหรับการตัดสินใจระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและสิริกิตต์ซึ่งดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้น จะมีคณะกรรมการในการตัดสินใจ โดยรัฐบาลคือผู้ตัดสินใจสูงสุด โดยมีมติครม.ที่สามารถตัดสินใจร่วมกับคณะกรรมการฯได้ เพราะทั้ง 2 เขื่อนกักน้ำไว้มาก และในขณะนั้นมีเสียงเรียกร้องให้ระบายน้ำให้มาก แต่เข้าใจว่ามีประเด็นบางอย่างทำให้รัฐบาลไม่ระบายออกและการคาดการณ์ที่ผิด และในการประชุมครม. จะมีการรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนทุกสัปดาห์ ดังนั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์จึงรับรู้เรื่องปริมาณน้ำในเขื่อนทุกสัปดาห์และสามารถตัดสินใจได้ทันที อีกทั้งยังมีรมว.เกษตร รมว.พลังงาน และผู้เกี่ยวข้องอยู่ในครม.อยู่แล้ว 

“ขอบอกไปยังรัฐบาลว่าไม่ควรนำเรื่องความล้มเหลวนี้มากลบเกลื่อนความผิด ถ้าคนในรัฐบาลจะโต้แย้งผมและปชป. ก็ยินดีไปชี้แจงทุกในเวที วันนี้เป็นความพยายามกลบความล้มเหลวในการบริหารจัดกรน้ำ โดยการโยนความผิดให้รัฐบาลปชป. น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ยอมรับเองว่ามีพายุเข้ามาหลายลูก และถ้าดูตัวเลขแล้วมันฟ้องว่าล้มเหลวในการบริหารเพราะไม่ได้ระบายน้ำออก นอกจากนี้มีบทความของอาจารย์คนหนึ่งเขียนในหนังสือพิมพ์ “มติชน” ซึ่งเป็นข้อมูลผิดเพี้ยนหาว่ารัฐบาลที่แล้วระบายน้ำน้อยไป จะระบายได้อย่างไร เพราะน้ำมันต่ำกว่าปกติ และสื่อต่างประเทศเองก็วิเคราะห์ตรงกันว่า ข้อมูลบางอย่างในการตัดสินใจของรัฐบาล มีนักการเมืองและฝ่ายการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และก่อนน้ำจะมาถึงกทม. รัฐบาลประเมินผู้ได้รับผลกระทบไว้ที่ 2 ล้านครอบครัว แต่วันนี้น้ำมาถึงแล้ว คาดว่าจะเพิ่มเป็น 5 ล้านครอบครัว แต่ละครอบครัวจะมีสมาชิกอีก ดังนั้นตัวเลขผู้ตกงานจะถึง 2 ล้านคน นั่นหมายถึงปากท้องคนจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลจะอยู่ไหวหรือไม่ผมไม่แน่ใจ”นายสาทิตย์กล่าว.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=173617&categoryID=8
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4206 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 15:47:06 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 02 พฤศจิกายน 2554, 15:41:16
พี่แก้ว พี่ตะวัน แหลม ดร.มนตรี และทุกท่านครับ

พวกเราส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนในเบื้องต้นจากภัยน้ำท่วมคือ อาการการกินที่แพงขึ้น
น้ำท่วมไร่ สวน นา ส่งผลเสียหายกับวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ผัก ไข่ แพงขึ้น
ผลกระทบตามมาคือ การเดินทางที่มีอุปสรรคจากน้ำที่ไหลท่วมถนน เซาะคอสะพานขาด

ผู้ที่ถูกกระทบหนักขึ้นคือ คนที่ถูกน้ำท่วมบ้าน ทำให้ข้าวของในบ้านเสียหาย
สิ่งของหลายอย่างต้องซื้อใหม่ สิ้นเปลืองเงินเพิ่มเข้าไปอีก กว่าจะลืมตาอีกครั้งต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน

หนักหนาสาหัสเพิ่มขึ้นคือ ครอบครัวที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ในช่วงเกิดน้ำท่วม
ทั้งที่ถูกไฟฟ้าดูด จมน้ำ เจ็บป่วยจนไม่สามารถไปหาหมอได้...อนาถใจเป็นที่สุด

และทุกคนมาถูกย่ำยีหัวใจอีก เมื่อมีข่าวการอมของบริจาค ซึ่งไม่น่าเกิดขึ้นโดยบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็น ส.ส.
เราเลือกตัวแทนของประชาชน เพื่อมาอมของเพื่อประชาชน
แถมยังมี ส.ส. ประเภทเอา "เท้าราน้ำ" อีก, ไม่ทำไม่ว่า แต่ยังกัดกันไม่ยอมเลิก

เวรกรรมสำหรับคนไทย และประเทศไทยครับ




ครับพี่ ... ด้วยความเคารพครับ sorry
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4207 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 16:03:49 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 01 พฤศจิกายน 2554, 11:22:37
อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 31 ตุลาคม 2554, 14:12:32
ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรคื ในวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์วันนี้ 3,420 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 112 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมในวันนี้ลดลง 10 ซ.ม. โดย 15 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 75 ซ.ม.
และเมื่อรวมวันนี้เป็น 16 วัน ระดับน้ำท่วมลดลงรวม 85 ซ.ม.


หมายเหตุ: ระดับน้ำท่วมที่ลดลง 85 ซ.ม. นั้น จากการไปเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่า
ระดับน้ำในแม่น้ำสูงกว่าผิวถนนเล็กน้อย แต่ในพื้นที่แอ่้งกระทะในเมืองถือได้ว่า ยังสูงและไหลเข้าท่วมเมืองได้อยู่ครับ


ข้อมูลน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ ในวันอังคารที่ 1 พฤสจิกายน 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ เท่ากับ 3,334 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 96 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้อีก 10 ซ.ม. โดย 16 วันที่ผ่านมาลดลงสะสมที่ 85 ซ.ม.

เมื่อรวมวันนี้เป็นวันที่ 17 ระดับน้ำลดลงจากที่ท่วมสูงสุดรวมทั้งสิ้น 95 ซ.ม.


ข้อมูลน้ำจังหวัดนครสวรรค์ ในวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2554

มวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ในวันนี้ที่ 3,232 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้ 102 ลบ.ม./วินาที

ระดับน้ำท่วมลดลงในวันนี้ 12 ซ.ม. และ 17 วันที่ผ่านมาลดลงสะสม 95 ซ.ม.

รวมวันนี้เป็น 18 วันระดับน้ำลดลงทั้งสิ้น 107 ซ.ม.


หทายเหตุ: ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่ง 36 ซ.ม.แล้ว แต่ยังสามารถไหลท่วมในพื้นที่ลุ่ม หรือพื้นที่ที่เป็นท้องกระทะได้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4208 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 16:17:29 »

เหตุการณ์ที่คลองสามวา........


ถ.หทัยราษฎร์น้ำล้นคันท่วมถนน ยาว 3 กม.
2 พฤศจิกายน 2554 12:59 น.


เจ้าหน้าที่ตำรวจคุ้มกันประตูระบายน้ำคลองสามวา (ภาพจากกองประชาสัมพันธ์กทม.) 

       ผู้ว่าฯ กทม.ตรวจการซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองสามวา เร่งป้องกันน้ำไหลบ่าท่วมนิคมอุตสาหกรรมตะวันออก ถนนรามอินทรา และถนนรามคำแหง ถ.หทัยราษฎร์ น้ำล้นคันท่วมถนนยาว 3 กม.
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้เดินทางไปตรวจการซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองสามวา ถนนหทัยมิตร เขตคลองสามวา  โดยมีกองบัญชาการตำรวจนครบาลส่งกำลังตำรวจคุ้มกันประตูระบายน้ำคลองสามวา และให้เจ้าหน้าที่ กทม.เร่งเข้าไปซ่อมแซมประตูที่ชำรุดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำบ่าเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมย่านตะวันออก ถนนรามอินทรา และถนนรามคำแหง พร้อมตรวจคันกั้นน้ำที่ถนนหทัยราษฎร์ น้ำล้นคันแล้วท่วม 5-10 ซม. ยาว 3 กม.
       
       จากนั้นเวลา 11.30 น. ผู้ว่าฯ กทม.ตรวจความเสียหายบริเวณริมคลองหนึ่งตะวันตก หมู่บ้านราชพฤกษ์ เขตมีนบุรี รวมถึงตรวจคันกั้นน้ำที่ถนนหทัยราษฎร์ ซึ่งมีน้ำล้นคันท่วมถนนประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 3 กม


จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000139645
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4209 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 16:20:28 »

คุณมิ้ง17 ระวังไว้ด้วยครับ

เตือนสมุทรสาคร เตรียมรับมือน้ำท่วม
29 ตุลาคม 2554 00:33 น.

 
       น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ มุ่งสู่คลองภาษีเจริญ จะท่วมสมุทรสาครสูง 1-2 เมตร ภายใน 10 วัน ส่วนสมุทรปราการน้ำจะล้นท่วมในเมือง ปากน้ำ และริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผวจ.เตือน กระทุ่มแบน บ้านแพ้ว และอ.เมืองสมุทรสาคร รับมือน้ำท่วม 2-3 วันนี้
       
       เวลา 00.10 น. รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่า ขณะนี้น้ำทะเลหนุนสูง เป็นข่าวที่น่ากังวล ทำให้คนตกใจ เมื่อมีคันกั้นน้ำชำรุด น้ำจะท่วมแรงมาก จึงต้องระวังเรื่องคันกั้นน้ำเป็นพิเศษ ส่วนน้ำเหนือจะมาหนักทางตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
       
       ขณะนี้สถานการณ์น้ำที่นครสวรรค์ดีขึ้นมาก เริ่มทำความสะอาดกันแล้ว ส่วนน้ำที่อยุธยา ปทุมธานี ประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตรยังเอ่อท่วมอยู่ ที่อ.บางไทร จ.อยุธยา มีปริมาณน้ำ 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์ยังทรงๆ มีลดลงเล็กน้อย ส่วนสภาพอากาศลมมรสุมตะวันอกเฉียงเหนือยังแรง ขณะที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุดจะเริ่มลดระดับลง
       
       เรื่องการระบายน้ำ ทางด้านตะวันตกของกทม. ต้องรับน้ำมาก แต่มีระบบระบายน้ำที่ไม่ดี ขณะที่ทางด้านตะวันออกรับน้ำน้อยกว่า แต่คูคลองสามารถป้องกันได้ ได้เสนอแนะให้รัฐบาล เร่งสูบน้ำจากคลองหกวา ออกไปสู่จุดระบายน้ำที่ดีสุดคือที่คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ลงไปที่คลองด่านก่อนลงทะเล
       
       ขณะที่ทางด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ มีแต่คลองขวางเอียง หรือขวางตรง เมื่อน้ำมามาก ก็จะเอ่อข้ามทุกคลองมาตลอด ทั้งคลองพระพิมล คลองประปา คลองทวีวัฒนา ตลองมหาสวัสดิ์ จะมาลงที่คลองภาษีเจริญ คลองสนามไชย สรรพสามิต รอน้ำที่ล้นคันคลอง ต้องท่วมก่อน และลงทะเลไป อาศัยการสูบน้ำเพื่อลงแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา
       
       สถานการณ์เลวร้ายสุดที่อาจเกิดขึ้น ทางด้านจ.สมุทรสาคร คลองจะรับน้ำเหนือมา ซึ่งจะล้นแน่ๆ และเมื่อล้นคลองแล้ว ต้องเข้าจ.สมุทรสาคร คลองภาษีเจริญ ก็จะล้นและท่วมสมุทรสาคร ระดับความสูง 1 เมตร จะท่วมจ.สมุทรสาครเกือบทั้งหมด บางส่วนอาจจะสูง 1-2 เมตร ปริมาณน้ำตอนนี้อยู่คลองมหาสวัสดิ์ ใช้เวลาที่น้ำจะลงมาไม่เกิน 10 วัน น้ำจะถึงคลองภาษีเจริญ หลังจากนั้นลงมาท่วม จ.สมุทรสาคร
       
       สำหรับ จ.สมุทรปราการ ตอนนี้น่าห่วงที่ อ.เมือง ที่ปากน้ำ และที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา น้ำจะล้นคันกั้นน้ำบางกระเจ้า ท่วมสูงน้อยกว่า 1 เมตร ส่วนที่คลองสำโรงถ้าล้นคันก็จะท่วมเล็กน้อย แต่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่น่ามีปัญหา ต้องระวังนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ลาดกระบัง
       
       ทั้งนี้ นายจุลภัทร แสงจันทร์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดสมุทรสาคร ได้ออกประกาศเตือนประชาชน จ.สมุทรสาคร เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย คือ ขนย้ายสิ่งของขึ้นสู่ที่สูง รวมทั้งย้ายปลั๊กไฟ สวิทช์ไฟฟ้าขึ้นสู่ที่สูง เพื่อลดความสูญเสีย แบ่งเป็นระดับความเสี่ยงของ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.กระทุ่มแบน อ.บ้านแพ้ว และ อ.เมืองสมุทรสาคร หลัง แม่น้ำท่าจีนมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น น้ำเอ่อล้นตามพื้นที่ลุ่ม
       
       อ.กระทุ่มแบน จะมีน้ำท่วมสูง 50-80 ซ.ม. ให้ย้ายของขึ้นที่ระดับความสูง 1.0-1.5 เมตร ภายใน 2-3 วันนี้
       
       อ.บ้านแพ้ว จะมีน้ำท่วมสูง 30-50 ซ.ม. ให้ย้ายของขึ้นที่ระดับความสูง 1.0 เมตร ภายใน 2-3 วันนี้
       
       อ.เมืองสมุทรสาคร จะมีน้ำท่วมสูง 30-50 ซ.ม. ให้ย้ายของขึ้นที่ระดับความสูง 1.0 เมตร ภายใน 3-5 วันนี้


 จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000137757
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4210 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 16:46:47 »

บันทึกไว้ครับ ว่าเป็นไปอย่างนี้ แล้วจะเป็นจริงรึเปล่า ?? !!

น้ำ 8 พันล้านลบ.ม. ยังค้างเหนือกรุง ข้อมูล'ปลอด'ประจานศปภ.

ข่าวหน้า 11 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

            วิกฤติคลองสามวาหวิดจลาจล สรุปเอาใจชาวบ้านยกประตูน้ำ 1 เมตร "ยิ่งลักษณ์" ยังมึนเหมือนเดิม ฝากความหวังคันกั้นน้ำเหนือ กทม. ถ้าไม่แตกอีก 2 วันดีขึ้น เพราะมวลน้ำก้อนใหญ่ไปแล้ว  แต่ "ปลอดประสพ" ยันน้ำ 8 พันล้าน ลบ.ม.ยังค้างอยู่เหนือเมืองกรุง ฝั่งตะวันตกยังต้องพินาศต่อไป กทม.คาด 22 เขตปลอดภัย ขณะที่หัวน้ำกำลังคลึงแยกเกษตรฯ
            สถานการณ์การชุมนุมปิดถนนนิมิตรใหม่ของชาวบ้านกว่า 500 คน ในเขตคลองสามวา บริเวณประตูระบายน้ำคลองสามวา เพื่อเรียกร้องให้มีการเปิดประตูเพิ่มอีก 70 ซม. เป็น 150 ซม. แต่ กทม.เปิดประตูระบายน้ำเพียง 80 เซนติเมตรนั้นปะทุขึ้นอีกครั้ง หลังชาวบ้านไม่พอใจวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อวันก่อน

            เมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์ ชาวบ้านคลองสามวาได้รวมตัวกัน โดยใช้วิธีคล้องแขนเรียงหน้ากระดาน เตรียมตัวหากต้องปะทะกับเจ้าหน้าที่ปราบจลาจลที่เรียงแถวหน้ากระดานตั้งรับ เพื่อเข้าไปยกประตูระบายน้ำให้สูงขึ้นกว่าที่ตกลงไว้ ทำให้เกิดความชุลมุนขึ้น โดยตำรวจได้พยายามคลี่คลายสถานการณ์ โดยขอให้ชาวบ้านส่งตัวแทนเข้าหารือ

            จากการหารือระหว่างตัวแทนชาวบ้านกับนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.เขตมีนบุรี แต่การเจรจาใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง ทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจ และเกิดการผลักดันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล 3 เพื่อเข้าไปทลายคันดินริมประตูระบายน้ำออก เพื่อให้ระดับน้ำในฝั่งคลองสามวาตะวันตกไหลเข้าไปยังเขตมีนบุรี ทั้งนี้ ผลการเจรจาได้ข้อสรุปจะเปิดประตูระบายน้ำสูง 1 เมตร ทำให้ชาวบ้านเกิดความพอใจ

          นายวิชาญยืนยันว่า ทางเขตมีนบุรีไม่ได้กลัวน้ำที่จะเข้ามาจากประตูระบายน้ำคลองสามวา และได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านในเขตมีนบุรีเพื่อร่วมกันรับความเดือดร้อนแล้ว

         ทั้งนี้ การระบายน้ำได้ช้าเนื่องจากมีบ้านเรือนอยู่ริมคลองเป็นจำนวนมาก ที่มาจากการซื้อขายที่ดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม และต้องโทษ ผอ.เขตว่ามีการดูแลเต็มที่แล้วหรือไม่ เพราะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำให้ชัดเจน

          น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราได้ให้หลักการไปว่าไม่เปิด 100 เปอร์เซ็นต์ เราหรี่ลงเพราะเป็นห่วงนิคมอุตสาหกรรม จึงให้ทาง กทม.และคณะบริหารติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำลงไปดู และให้เปิดปริมาณที่ไม่กระทบกับนิคมอุตสาหกรรมบางชัน

          เมื่อถามว่า ล่าสุดเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเขตคลองสามวาได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้สำนักการระบายน้ำกรุงเทพฯ เปิดประตูระบายน้ำเพิ่มอีก 70 เซนติเมตร เป็น 150 เซนติเมตร แต่ กทม.เปิดประตูระบายน้ำ 80 เซนติเมตร แนวทางที่นายกฯ มอบไปเป็นอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ตกลงกันแล้วที่ 80 ซม.เรียบร้อยแล้ว

          ซักว่า มีการขอให้เปิดเพิ่มจากที่เปิดเดิม 70 ซม. ตกลงแนวทางเป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวด้วยสีหน้ามึนงงว่า "อะไรคะ มันร้อยนึงแล้วจะเปิดอีก 70 ซม.ได้ยังไง ถามใหม่ได้ไหมคะ อะไร ยังไง ตรงนี้ไปถามกรมชลฯ ดีกว่าไหมคะ ทำไมต้องมาถาม เดี๋ยวนะคะถามยังไงนะคะ”

          ถามว่า การเยียวยาในพื้นที่จะมีความชัดเจนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จะให้คนที่ลงพื้นที่สามารถมีดุลยพินิจในการที่จะเจรจาได้ และเราขอเรียนว่าบางครั้งไม่ใช่การเยียวยา คือการเยียวยาเรามีระบบการดูแลอยู่แล้ว แต่สุดท้ายแล้วการฟื้นฟูที่ต้องดูแลประชาชนแถบนั้นเราต้องกลับไปแน่นอน

เยียวยา 8 แสนล้าน

          ซักว่า รัฐบาลระบุว่าจะใช้งบประมาณฟื้นฟูเยียวยาทั้งระบบ 8 แสนล้าน จะกู้จากตรงไหนตามโครงการนิวไทยแลนด์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบว่า "ไม่มีคำว่านิวไทยแลนด์ ยังไม่ใช่อย่างนั้น อาจจะเป็นชื่อที่เขาเรียกกันเล่นๆ ซึ่งที่จริงแล้วคือการแก้ไขปัญหาน้ำอย่างถาวร ซึ่งเรามีการตั้งคณะกรรมการอยู่แล้ว โดยจะมีการศึกษารายละเอียด และคงจะประกาศเรื่องงบประมาณอีกครั้ง แต่เบื้องต้นที่เตรียมไว้คือวงเงิน 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่เราจะนำมาเยียวยาเร่งด่วน ทั้งภาคเอสเอ็มอี ธุรกิจรายย่อย และพี่น้องเกษตรกร รวมทั้งการดูแลประชาชนทั้งหมด แต่ยังไม่รวมงบที่จะนำมาบูรณาการโครงการ 25 ลุ่มน้ำ หรือโครงการระยะถาวร"

          เมื่อถามว่า ประเมินสถานการณ์ทิศทางน้ำล่าสุดจะไปทางไหน นายกฯ กล่าวว่า ถ้าเรามีการควบคุมจุดต่างๆ ไม่ให้แนวทางคันกั้นน้ำแตก และสถานการณ์น้ำในวันถึงสองวันนี้น่าจะทรงตัวและค่อยๆ ลดลง หลังจากที่ปริมาณระดับน้ำทะเลลดลง ขณะเดียวกันน้ำในคลองต่างๆ จะระบายได้ดีขึ้น

          ถามว่า เวลานี้เกิดความสับสนเรื่องของมวลน้ำปริมาณมาก ตกลงยังอยู่บนเขื่อนหรืออยู่ที่จุด จ.นครสวรรค์ และพระนครศรีอยุธยา

          น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวด้วยน้ำเสียงเบื่อหน่าย คล้ายไม่อยากจะอธิบายว่า "เดี๋ยวให้นักวิชาการอธิบายดีกว่าไหม เอาเป็นว่าเราคุยรวมๆ ก่อนดีไหม ตรงนี้จะให้ผู้รู้กรมชลประทานอธิบายเพิ่มเติม แต่โดยรวมสิ่งที่เราพูดกันว่ามวลน้ำก้อนใหญ่นั้นเป็นสิ่งที่ดีขึ้น มวลน้ำก้อนใหญ่ได้ถูกระบายลงไปตามคันคลองต่างๆมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำที่อยู่ในเขื่อนบริเวณ จ.นครสวรรค์, ชัยนาท มีปริมาณคงที่ และค่อยๆ ลดลงตามลำดับ ฉะนั้นสิ่งที่เราเป็นห่วงว่ามวลน้ำก้อนใหญ่จะลดลงไป แต่ไม่ได้หมายความว่ามวลน้ำจะหมดไป คงจะค่อยๆ ไหลและผ่านระบบประตูน้ำและการสูบน้ำ

           ซักว่า กรุงเทพฯ จะไม่วิกฤติไปมากกว่านี้ใช่หรือไม่ นายกฯ ตอบสั้นๆ คาดว่าอย่างนั้น

           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่นายกฯ เดินทางกลับไป คนใกล้ชิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้พยายามเดินมาชี้แจงกับสื่อมวลชน ถึงข้อพิพาทของชาวบ้านที่ต้องการให้เปิดประตูระบายน้ำที่คลองสามวา โดยล่าสุดปัญหาได้ยุติลง โดยนายกฯ ได้เซ็นตามข้อเสนอของ กทม.และชาวบ้านที่ตกลงจะเปิดประตูระบายน้ำ 1 เมตรแล้ว จากนั้นได้สอบถามถึงคำถามที่ทำให้นายกฯ มีสีหน้าไม่พอใจ

           นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ชี้แจงกรณีที่มีเสียงสะท้อนจากประชาชนในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ยังถูกน้ำท่วมว่าเริ่มถูกทอดทิ้ง เพราะเจ้าหน้าที่มาระดมป้องกันพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ทอดทิ้งประชาชน เพราะขณะนี้ได้มีการแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ทีม โดยการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็จะมีอีกกลุ่ม ขณะที่ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ดูแลประชาชนก็จะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง

ยังมีน้ำอีกมหาศาล

            ในขณะที่นายกฯ ให้ข้อมูลว่าสถานการณ์ในอีก 2-3 วันจะดีขึ้น แต่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการ ศปภ.กลับระบุว่า ขณะนี้ยังมีปริมาณมวลน้ำจากภาคเหนือประมาณ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ค้างอยู่บริเวณทางด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ คาดว่ามวลน้ำดังกล่าวจะกระจายไปทางด้านตะวันออกและตะวันตกของ กทม. โดยมีน้ำบางส่วนไหลท่วมทุ่งเป็นจำนวนมาก และต้องรอให้แสงแดดส่องลงมาที่มวลน้ำที่ค้างอยู่ในทุ่ง สุดท้ายจึงจะระเหยไปตามสภาพบรรยากาศ หรืออาจมีการนำเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำจากพื้นที่เหล่านี้ย้ายไปยังจุดหนึ่ง แล้วส่งต่อลงไปตามแม่น้ำสายหลัก

            อย่างไรก็ตาม สรุปประเมินได้เบื้องต้นว่าตอนนี้มีมวลน้ำเหนือ กทม.ที่ยังตกค้างทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับคงต้องใช้ระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ ถึงจะระบายน้ำมวลนี้กลับเข้าสู่แม่น้ำสายหลัก จากนั้นจึงลงสู่ทะเลอ่าวไทย และสุดท้าย กทม.จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

           นายปลอดประสพยังกล่าวต่อว่า พื้นที่ทางทิศเหนือของ กทม.คงต้องเจอกับสภาพน้ำทะลักเข้าท่วมต่อไป เนื่องจากยังคงต้องรับปริมาณน้ำที่มาจาก จ.ปทุมธานีและคลองต่างๆ ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม.จะหนักหน่อย เพราะจะได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของ จ.นนทบุรี และปทุมธานี โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ดังนั้นปริมาณน้ำจะไหลแผ่ขยายเป็นวงกว้าง เรียกได้ว่าประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ จนเกือบเต็มพื้นที่ของฝั่งธนบุรี ทั้งนี้ บ้านพักอาศัยของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ย่านบางบอนก็น่าจะถูกน้ำท่วมเช่นกัน จากนั้นมวลน้ำนี้ก็จะไหลผ่าน จ.สมุทรสาคร และ จ.นครปฐม อย่างแน่นอน แต่จะเป็นไปในลักษณะค่อยๆ ไหล ไม่มีการไหลเข้าท่วมแบบตั้งตัวไม่ทัน

           ที่อาคารกระทรวงพลังงาน ศปภ.แจ้งว่า ศปภ.มีความจำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นหลายประตู เช่น ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ คลองสามวา ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำผ่านพื้นที่ชุมชนเมือง ของกรุงเทพฯ มากขึ้น และจะทำให้ชุมชนที่อยู่ริมคลองดังกล่าวมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ 10-50 ซม. ประกอบกับคลองเปรมประชากรซึ่งต้องรับน้ำจากคลองรังสิตที่ไหลบ่าตลอดเวลา รวมทั้งมีปริมาณน้ำสะสมอยู่บริเวณคันคลองเปรมประชากรและพื้นที่ริมคลองอยู่มาก ซึ่งจากกรณีดังกล่าวจะทำให้พื้นที่ชุมชนริมคลองได้รับผลกระทบ ได้แก่ เขตสายไหม, คันนายาว, สะพานสูง, บึงกุ่ม, สวนหลวง, บางกะปิ, ดอนเมือง, หลักสี่, จตุจักร, บางซื่อ ต้องเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการขนย้ายทรัพย์สิน หรือสิ่งของมีค่าไว้ที่สูงต่อไป

           ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงสถานการณ์น้ำภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารว่า ช่วงน้ำทะเลหนุนสูงได้ผ่านพ้นไปแล้ว และจะมาอีกครั้งกลางเดือน พ.ย. เรื่องน่าเป็นห่วงมากที่สุดตอนนี้ คือ ระดับน้ำท่วมดอนเมืองและหลักสี่ที่สูงขึ้นได้ขยายพื้นที่กว้างกว่าเดิม และที่ฝั่งธนบุรี เขตบางพลัด, ทวีวัฒนา, ตลิ่งชัน รวมถึงบางแค มีปริมาณน้ำเยอะมากและยังไม่นิ่ง จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
    "ผมมีนิสัยไม่ดีอย่างหนึ่งคือ จะไม่ยอมบอกว่าขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤติถ้าไม่วิกฤติจริง และถ้ามีคนบอกว่าเราได้ผ่านพ้นสถานการณ์เลวร้ายไปแล้ว หรือกู้สถานการณ์ได้แล้ว แต่ผมจะไม่ยอมพูดอย่างนั้นถ้าเรายังไม่ผ่านไปได้จริง" ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

คาดรอด 22 เขต

           นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เผยแนวทางการรื้อประตูระบายน้ำคลอง 9, 10, 11, 12 และ 13 รวมถึงกรมชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มที่สถานีสูบน้ำคลองหกวาสายล่าง ที่คลอง 13 เพื่อเร่งระบายลงสู่แม่น้ำบางปะกงกว่าวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้สถานการณ์น้ำที่คลองสองและคลองหกวาสายล่างขณะนี้มีแนวโน้มดีขึ้น คาดจะทำให้พื้นที่กรุงเทพฯ 22 เขต มีแนวโน้มที่น้ำจะไม่ท่วม 80% ได้แก่ บางขุนเทียน, บางบอน, ทุ่งครุ, ราษฎร์บูรณะ, จอมทอง, ภาษีเจริญ, วัฒนา, ดินแดง, สาทร, ราชเทวี, พญาไท, ปทุมวัน, ป้อมปราบศัตรูพ่าย, สวนหลวง, ประเวศ, สะพานสูง, บางกะปิ, บึงกุ่ม, ห้วยขวาง, วังทองหลาง, บางซื่อ และบางกอกน้อย
           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ย่านถนนนวมินทร์ มีน้ำที่ล้นมาจากคลองย่อยและท่อระบายน้ำ ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังประมาณ 20 เซนติเมตร แต่การจราจรบริเวณถนนนวมินทร์ แยก กม.8 ยังสัญจรได้ตามปกติ ส่วนเขตลาดพร้าวมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน หลังทัพหน้าของน้ำเดินทางถึงแยกเกษตรฯ แล้ว ทั้งด้านถนนวิภาวดีรังสิตและพลโยธิน รวมทั้งคลองลาดพร้าวที่เริ่มเอ่อ
           นายบพิตร แสงแก้ว ผอ.เขตลาดพร้าว กล่าวว่า ขณะนี้ทางเขตยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงที่คาดว่าจะมีน้ำไหลทะลักเข้าท่วม โดยทางเขตได้ซ่อมเสริมแนวคันกั้นน้ำเพื่อสมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น พร้อมเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้สามเครื่องเพื่อระบายน้ำออก หากสถานการณ์รุนแรงก็คงต้องเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากพื้นที่โดยเร่งด่วน ซึ่งทางเขตได้เตรียมการโดยมีศูนย์พักพิงใน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดลาดพร้าว, โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า, โรงเรียนเทพวิทยา, โรงเรียนคลองทรงกระเทียม, โรงเรียนเพชรถนอม และโรงเรียนลอยสายอนุสรณ์ ทั้งนี้ ทางเขตได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเตรียมความพร้อมไว้ตลอดเวลา
           พ.ท.วันชนะ สวัสดี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.)  ได้เคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของกองทัพบก คือ รถสายพานลำเลียงพล (รสพ.) M-113 จำนวน 16 คันเพื่อไปเก็บรักษา หลังมีน้ำเอ่อล้นจากคลองบางบัวเข้ามายังบริเวณ ถ.พหลโยธิน ซึ่งอยู่ด้านหน้า ร.11 รอ. โดยจะลำเลียงขึ้นรถบรรทุกชานต่ำผ่านเส้นทาง ถ.พหลโยธิน ขึ้นทางด่วนประชานุกูล ลงทางด่วน ถ.พระราม 2 มุ่งตรงไปที่กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน 3 รอ.) อ.เมืองฯ จ.เพชรบุรี จึงแจ้งให้ประชาชนได้ทราบเพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก
           "การเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ในครั้งนี้ เป็นเพียงการนำไปเก็บรักษาไว้ยังสถานที่ปลอดภัย เนื่องจากภายในราบ 11 เริ่มมีน้ำเอ่อล้น และเป็นพื้นที่เสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม ดังนั้น จึงได้มีการเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ว่าให้ดูแลรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ยืนยันว่าเป็นเพียงการเคลื่อนย้ายเพื่อไปเก็บรักษาตามปกติ ไม่ได้มีนัยทางการเมือง ซึ่งประชาชนที่พบเห็นก็ขอว่าอย่าได้ตื่นตระหนกตกใจ" พ.ท.วันชนะกล่าว
            ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า ไม่ได้ใช้คำว่าหนี แต่เป็นการใช้คำว่าขนของ เหมือนบ้านท่านกำลังจะถูกน้ำท่วม เราก็ต้องขนของไปเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย เราไปช่วยข้างหน้า ข้างหลังเราก็ต้องดูแลของเรา เพราะรถถังที่เคลื่อนย้ายมันราคาแพง ไม่ใช่คันละล้าน แต่คันละเป็นร้อยล้าน ของอย่างนี้ถ้ามันจมน้ำมันไม่คุ้มค่า จะให้ตนทำอย่างไร จะปล่อยให้ยุทโธปกรณ์ท่วมไปด้วยคงไม่ได้ แต่คนไม่ได้หนี ถ้าคนหนีก็คงไปกันหมดแล้ว แต่นี่อยู่กันเต็มไปหมด ทหารไม่เคยหนี หนีไม่ได้
            ผบ.ทบ.กล่าวว่า ส่วนกรณีที่คนในพื้นที่สายไหมทำลายพนังกั้นน้ำ ขณะนี้กองทัพได้ทำความเข้าใจกับประชาชนแล้ว ซึ่งมีหลายจุดที่มีการรื้อและพังทลาย แต่เราได้เข้าไปทำความเข้าใจและอธิบาย ซึ่งก็ดีขึ้นและมีจำนวนลดลงมาก ถ้าเราไปพังพนังกั้นน้ำทั้งหมด น้ำจะเข้ากรุงเทพฯ ทั้งหมด เราต้องรู้จักการเสียสละ การอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่, พลเรือน, ตำรวจ, ทหาร อย่ามาเลือกที่รักมักที่ชังกันตอนนี้มันไม่ได้
    "อย่างที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ว่าประมาณ 7-10 วัน ซึ่งจะรอดูสถานการณ์อีกครั้ง ช่วงนี้ต้องคิดกันว่าจะทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วมกันได้ ทั้งฝ่ายการเมือง, ข้าราชการ, ทหาร, ตำรวจ, พลเรือน ต้องช่วยกันทำหน้าที่ดูแลประชาชน เรื่องอื่นเลิกคิดไปก่อน เราต้องคิดว่าจะสร้างความเข้มแข็งให้กับส่วนราชการและประชาชนได้อย่างไร วันนี้ต้องอยู่ร่วมกับน้ำให้ได้ก่อน ดูแลอย่างไรไม่ให้อดอาหาร อดน้ำ เราต้องแก้ด้วยการบูรณาการทุกส่วนราชการ ทหารไม่ต้องการเป็นพระเอก แต่ขอเป็นผู้ช่วยให้สำนักงานเขต กทม., รัฐบาลมาเป็นพระเอก มันเป็นหน้าที่ของทหาร ทหารมีหน้าที่ในการสนับสนุน" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว.


http://www.thaipost.net/news/011111/47417
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4211 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 17:34:22 »

ความคืบหน้าในการซ่อมประตูน้ำคลองสามวา

ซ่อมประตูระบายน้ำคลองสามวาฉลุย ชาวบ้านให้ความร่วมมือดี ไม่มีป่วน ตร.คุมเข้ม
วันที่ 02 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 14:45:00 น.

 

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการซ่อมคันกั้นน้ำบริเวณข้างประตูระบายน้ำคลองสามวา วันที่ 2 พฤศจิกายนว่า สำนักการระบายน้ำได้นำเสาเข็มปักลงไปบริเวณที่พังลง พร้อมกับเร่งขนย้ายกระสอบทรายมากองไว้ที่บริเวณเชิงสะพาน เพื่อเตรียมที่จะนำไปวางเป็นคันกั้นน้ำ ล่าสุดมีความคืบหน้าแล้วประมาณร้อยละ 60 ส่วนบริเวณถัดไปจากประตูระบายน้ำ หรืออีกฝั่งหนึ่ง ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการแต่อย่างใด ซึ่งทั้งหมดจะเร่งดำเนินการซ่อมแซมให้แล้วเสร็จภายในวันนี้ โดยสถานการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีชาวบ้านมาก่อความวุ่นวายท่ามกลางการดูแลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่ระดับน้ำตรงประตูระบายน้ำถือว่ายังคงทรงตัว


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320220007&grpid=00&catid=&subcatid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4212 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 18:51:33 »

แผนที่ทหารล่าสุด!น้ำล้อมกทม.ไว้หมดแล้วประชิดสุวรรณภูมิ
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 15:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กรมแผนที่ทหาร โชว์ภาพมวลน้ำล่าสุด แสดงให้เห็นปริมาณน้ำที่อยู่รอบกทม. ประชิดสุวรรณภูมิ แต่มีคลองขวาง

จากภาพแผนที่ ถ่ายเมื่อ 29 ต.ค.และปรับปรุงอีกครั้ง 1พ.ย.แสดงให้เห็นว่าน้ำ(สีฟ้า)ได้ล้อมรอบกรุงเทพ โดยเฉพาะในฝั่งตะวันออก ที่ตีโอบเข้ามา ประชิดกับสุวรรณภูมิ...เพียงแต่จะเห็นลำคลอง ที่ขวางกั้นไว้ ซึ่งเป็นระบบที่น่าจะป้องกันได้อย่างดี และที่ผ่านมาก็ได้ว่าระบบคันกั้นน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่น่าจะส่งผลอย่างไร ขณะที่ภาพแผนที่ดอนเมือง น้ำได้ท่วมไปแล้ว

อีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือพื้นน้ำอยู่เหนือ กทม.ยังกินบริเวณกว้าง หลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับว่า แนวกั้นต่างๆจะรับมือได้มากน้อยแค่ไหน และระบบการระบายน้ำจะเป็นไปตามที่วางแผนกันหรือไม่

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการน้ำ ได้ชี้แจงกรณีมวลน้ำที่มีการถกเถียงกันว่ายังมีเหลืออยู่เหนือ กทม.มากน้อยแค่ไหน ว่าตั้งแต่สุโขทัยลงมา ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้ำกระจายอยู่ราว 12,000 ล้านลบ.ม. แต่เป็นน้ำหลากตามท้องทุ่งตามปกติที่กักขังเพื่อการเกษตร และน้ำในระบบแม่น้ำลำคลองเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงราว 3,000 ล้านลบ.ม. ที่จะหลากลงมาหา กทม. เท่านั้น ปกติน้ำในระบบทางภาคเหนือลงมาจะมีราว 12,000 ล้านลบ.ม. แต่ปีนี้มีมากถึง 16,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้ได้ระบายลงทะเลแล้วราว 4,000 ล้านลบ.ม. จึงเหลือราว 12,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งเราพยายามจัดการให้ลงทะเลมากที่สุด

     กรณีนี้มองว่า น้ำจะลงมาเป็นก้อนนั้น จะเกิดขึ้นในกรณีพิเศษ เช่นมีฝนตกหนักทางตอนเหนือเท่านั้น ไม่อย่างนั้นก็จะหลากลงมาในอัตราความเร็วที่แน่นอน ซึ่งมีแนวโน้มจะหลากช้าลงแล้ว

 คณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำฯ อธิบายว่า ตลอดคืนวันที่ 31 ต.ค.นี้ ศปภ. ได้ระดมกำลังทหาร-เจ้าหน้าที่ กทม. ขนกระสอบทรายและเครื่องจักรหนักสร้างแนวคันกั้นน้ำรูปตัวยู จากปากคลองเปรมประชากรฝั่งใต้ ถึงบริเวณ ต.หลักหก เมืองเอกเป็นความยาว 3.5 กิโลเมตร คาดว่าหากสร้างคั้นกั้นน้ำพื้นที่ปากคลองเปรมประชากรฝั่งใต้เสร็จทันภายใน วันที่ 1 พ.ย. จะช่วยหยุดน้ำเสียทะลักลงคลองประปาได้ รวมทั้งช่วยชะลอการทะลักของน้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ดอนเมืองได้

 เนื่องจากปริมาณน้ำรั่วจากคลองรังสิตผ่านถนนพหลโยธิน คงที่ไม่เกิน 15 ล้านลบ.ม.ต่อวัน อย่างไรก็ตาม วันนี้แยกลาดพร้าวยังเสี่ยง แต่มั่นใจว่า ถ้าคลองบางเขน คลองหลักสี่ไม่แตก น้ำก็มาไม่ถึง ยอมรับว่าประชาชนยังตื่นตระหนก แต่ระดับน้ำในคลองรังสิตกำลังลดลงเรื่อยๆ แต่ยังช้าอยู่ โดยลดเพียง ระดับวันละ 1 เซนติเมตร ถ้าน้ำลดระดับได้อีก 50 เซนติเมตร กทม. ส่วนใหญ่ปลอดภัย




(ดูภาพแผนที่ขยายได้ที่ ไฟล์เอกสารประกอบ)

 
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20111102/417075/แผนที่ทหารล่าสุด!น้ำล้อมกทม.ไว้หมดแล้วประชิดสุวรรณภูมิ.html
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4213 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 18:53:20 »

วันนี้ คุณถาวร และติ๋ม จะขึ้นเครื่องกับจากปารีส
พรุ่งนี้คงถึงเมืองไทย
น้ำกำลังจ่อสบามบินสุวรรณภูมิพอดี...คงรอดน่า
แต่ที่บ้านไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ??
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4214 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 20:54:28 »

คุณชำนาญ Rx16 ต้องรอไปอีกสักหน่อย....

color=#130000]ผู้ประกอบการนิคมนวนครคาดกลาง พ.ย.เข้าสูบน้ำออก [/color]
วันพุธที่ 02 พฤศจิกายน 2011 เวลา 20:47 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ   


นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัทนวนคร จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า จะเข้าไปสูบน้ำออกจากนิคมอุตสาหกรรม เมื่อระดับน้ำท่วมลดลงจากระดับน้ำในเขื่อนประมาณ 70 ซม.ถึง 1 เมตร คาดว่าประมาณกลางเดือนนี้จะเข้าไปดำเนินการได้ จากการประเมินมีสถานประกอบการ 7 แห่งพร้อมจะดำเนินการ และคาดว่ากระบวนการฟื้นฟูนิคมฯจะแล้วเสร็จภายใน 45 วัน จึงจะเริ่มผลิตได้
       
"เชื่อว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ก่อนปีใหม่  สำหรับแนวคิดการสร้างคันกั้นน้ำถาวรความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 6 เมตร 50 เซนติเมตร เบื้องต้นน่าจะใช้งบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือเรื่องสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้"นายนิพิฐกล่าว


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=91188:2011-11-02-13-47-45&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4215 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 22:39:30 »

ประตูน้ำคลองสามวา ทำการซ่อมเสร็จแล้ว
ส่วนการวาง Big bag วางได้ 2 ก.ม. คงเหลืออีก 2 ก.ม.เศษ คาดว่าพรุ่งนี้จะเสร็จ


ซ่อมประตูระบายน้ำคลองสามวาเสร็จแล้ว
2 พฤศจิกายน 2554 21:08 น.

 
       ประตูระบายน้ำคลองสามวาทั้งฝั่งตะวันตก - ออก ซ่อมเสร็จแล้ว กำลังเสริมแนวป้องกันการกัดเซาะ คาดเสร็จภายในคืนนี้ ซึ่งสถานการณ์ตลอดทั้งวันที่ผ่านมา เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีความวุ่นวายใดๆ
       
       วันนี้ (2 พ.ย.) ความคืบหน้าการซ่อมแซมบริเวณหูช้างของประตูระบายน้ำคลองสามวา ทั้งด้านทิศตะวันตก และทิศตะวันออก โดยตลอดทั้งวันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากสำนักการระบายน้ำ ได้เร่งนำเสาเข็มตอกลงไป และนำทรายบรรจุกระสอบวางเป็นแนวคันกั้นน้ำ รวมไปถึงได้นำแผ่นเหล็กชีทไพล์ ขนาบข้างอีกครั้ง เพื่อความแข็งแรงของแนวคันกั้นน้ำ
       
       โดยล่าสุดขณะนี้ หูช้างของประตูระบายน้ำทั้ง 2 ฝั่ง ได้ซ่อมแซมเสร็จแล้ว และได้มีการนำแผ่นเหล็กชีทไพล์ กั้นเป็นแนวยาวจนถึงบริเวณเชิงสะพาน และนำยางมะตอยมาสร้างเป็นแนวคันกั้นน้ำอีกชั้น เพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำ หากมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าการเสริมแนวคันกั้นน้ำดังกล่าว จะแล้วเสร็จภายในกลางดึกของวันนี้
       
       ทั้งนี้สำหรับสถานการณ์ทั่วไปตลอดทั้งวันที่ผ่านมา เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีความวุ่นวายใดๆ เกิดขึ้น ส่วนระดับน้ำบริเวณประตูระบายน้ำในขณะนี้ เหนือประตูระบายน้ำวัดได้ที่ 1.90 ม. และด้านล่างประตูระบายน้ำวัดได้ที่ 1.40 ม. ซึ่งถือว่าระดับน้ำได้เพิ่มปริมาณขึ้น


จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000139971
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4216 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 22:49:57 »

ซ่อมประตูระบายน้ำคลองสามวาเสร็จแล้ว
วันพุธที่ 02 พฤศจิกายน 2011 เวลา 22:06 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ   
 

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการซ่อมแซมบริเวณหูช้างของประตูระบายน้ำคลองสามวา ทั้งด้านทิศตะวันตก และทิศตะวันออก โดยตลอดทั้งวันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากสำนักการระบายน้ำ กทม.ได้เร่งนำเสาเข็มตอก และนำทรายบรรจุกระสอบวางเป็นแนวคันกั้นน้ำ รวมไปถึงได้นำแผ่นเหล็กชีทไพล์ ขนาบข้างอีกครั้ง เพื่อความแข็งแรงของแนวคันกั้นน้ำ
 
ล่าสุด  การซ่อมแซมหูช้างของประตูระบายน้ำทั้ง 2 ฝั่ง ได้ซ่อมแซมเสร็จแล้ว โดยสถานการณ์ทั่วไปตลอดทั้งวันที่ผ่านมา  ไม่มีมวลชนมากดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=91196&catid=176&Itemid=524
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4217 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2554, 22:53:29 »

วันนี้เป็นวันแรกที่ผมหยุดเครื่องปั๊มน้ำทุกตัว ตั้งแต่เวลา 4 ทุ่ม ในขณะที่ด้านนอกรั้ว ระดับน้ำนอกรั้วยังสูงกว่าพื้นดินอีกประมาณ 30-50 ซ.ม.

การหยุดปั๊มทุกตัวเพื่อทดสอบว่า ภายใน 6 ชั่วโมง ยังจะมีน้ำซึมเข้ามาในบริเวณโกดังอีกหรือไม่

ซึ่งหากยังมีน้ำซึมเข้ามาก อาจต้องปรับให้เครื่องปั๊มน้ำสูบน้ำออกให้เท่ากับที่ซึมเข้ามาครับ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4218 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554, 08:39:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 02 พฤศจิกายน 2554, 22:53:29
วันนี้เป็นวันแรกที่ผมหยุดเครื่องปั๊มน้ำทุกตัว ตั้งแต่เวลา 4 ทุ่ม ในขณะที่ด้านนอกรั้ว ระดับน้ำนอกรั้วยังสูงกว่าพื้นดินอีกประมาณ 30-50 ซ.ม.

การหยุดปั๊มทุกตัวเพื่อทดสอบว่า ภายใน 6 ชั่วโมง ยังจะมีน้ำซึมเข้ามาในบริเวณโกดังอีกหรือไม่

ซึ่งหากยังมีน้ำซึมเข้ามาก อาจต้องปรับให้เครื่องปั๊มน้ำสูบน้ำออกให้เท่ากับที่ซึมเข้ามาครับ


รอฟังผลครับ ... (มีลุ้นนิด ๆ)    ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4219 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554, 09:14:06 »

ดร.มนตรี

เดี่ยวจะมาตอบครับ
พอดีมีรถเฉี่ยวชนกันบริเวณหน้าบ้าน (อีกแล้ว) ขอไปดูสักหน่อยครับ
      บันทึกการเข้า
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #4220 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554, 09:49:49 »

ระหว่างรอน้องเหยงมารายงานผล ขอนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ เผื่อมีประโยชน์บ้าง นะครับ

จุลินทรีย์ก้อนนี้มีชีวิต (ตอนที่ ๑)

มาปั้นก้อนจุลินทรีย์เพื่อชาติ ด้วยหัวใจและรอยยิ้มแห่งความหวัง


ในขณะที่ผมขับรถลงภาคใต้ ท่ามกลางระดับน้ำในกรุงเทพมหานครที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางความสิ้นเนื้อประดาตัวของผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากภาคเหนือตอนล่างลงมาถึงภาคกลาง ท่ามกลางความเหนื่อยยากลำบากกายของบรรดาทหารและอาสาสมัครโดยเฉพาะเยาวชนหนุ่มสาวผู้เสียสละ ท่ามกลางความเอือมระอาของสาธารณชนต่อความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเดือนๆในการจัดการปัญหาต่างๆของรัฐ ท่ามกลางความขัดแย้งในใจของคนกรุงเทพและปริมณฑลที่ใจหนึ่งยังอยากอยู่รักษาทรัพย์สินบ้านเรือน กับอีกใจหนึ่งที่กำลังเผชิญกับความอดอยากทั้งน้ำสะอาดและอาหาร รวมไปถึงภัยอันตรายต่างๆสารพัด จนต้องแตกกระสานส่านเซ็น ดูแล้วประหนึ่งว่า “เราเสียกรุงฯครั้งที่สาม”


ผมได้แวะเยี่ยมสถานที่แห่งหนึ่งของจังหวัดชุมพร ที่เรียกตัวเองว่า ‘ศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา
ซึ่งเป็นการทำงานของภาคประชาชน ซึ่งคณะทำงานโดย กำนันเคว็ด หรือ ประวิทย์ ภูมิระวิ
ปรารถนาให้ศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาแห่งนี้เป็นเสมือนศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เป็นพิพิธภัณฑ์ของธรรมชาติ จัดการให้มีชีวิต เป็นไปตามความจริง
 สามารถนำไปใช้การได้ ศูนย์ฯแห่งนี้ได้ดำเนินการมาสองปีเศษ
บนพื้นที่ของโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร
อันสืบเนื่องมาจากปัญหาอุทกภัยจากพายุไต้ฝุ่นซีต้า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐
โดยรับสั่งให้ทำบริเวณนี้เป็นแก้มลิงธรรมชาติ ใ
ห้สามารถกักเก็บน้ำให้ได้เพียงพอต่อการบรรเทาปัญหาอุทกภัย และเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง



ผมแวะมาที่นี่ เพื่อให้เราคนไทยด้วยกัน รู้ว่าในอีกมุมหนึ่งของประเทศ ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ยังมีปัญญาความรู้อันได้รับการพิสูจน์แล้ว ยังมีน้ำใจรอช่วยเหลือ ยังมีรอยยิ้มในความหวังต่อเพื่อนร่วมชาติที่กำลังประสบชะตากรรมจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดประหนึ่ง ‘การเสียกรุงครั้งที่สาม’


ผมแวะมาที่นี่ในฐานะอุปนายกของ สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะที่ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ นายกสมาคมมอบหมายตำแหน่งหน้าที่ ประธาน ‘เตรียมอุดมร่วมใจ เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม’ เพื่อเป็นแรงหนึ่งในการร่วมฟื้นฟูชาติของเรา ผมมาที่นี่ด้วยสำนึกของความเป็นนักเรียนเก่าของสถาบันการศึกษาซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งผลิตมันสมองของชาติมาแล้วเกือบแสนคนในระยะเวลา ๗๔ ปี กระจายไปอยู่ตามองค์กรสำคัญๆต่างๆของประเทศ ผมแวะมาที่นี่ในฐานะของผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นองค์อุปถัมภ์ของสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมเท่านั้น แต่ยังพระราชทานความรู้แห่งธรรมชาติและความจริงให้เหล่าพสกนิกรนำไปปฏิบัติจนได้ ผมแวะมาที่นี่เพื่อยืนยันถึงความสำเร็จของศูนย์เรียนรู้ฯแห่งนี้ที่ยึดมั่น ทดลอง และปฏิบัติตามแนวทางของพระราชาจนเป็นผลสำเร็จที่ยืนยันได้จากคำพูดของ ‘กำนันเคว็ด’ ที่ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราอยู่ได้ครับ เราปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เผาถ่าน และอีกมากมาย จนเกือบจะไม่ต้องใช้เงินซื้ออะไรเข้ามาในศูนย์แล้ว ที่ซื้ออยู่ก็จะเป็นประเภทพลังงานซึ่งยังไม่เพียงพอ และกระแสไฟฟ้าเพื่อความสะดวกบ้าง


ขอย้อนกลับไปยังข่าวของหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่เพิ่งผ่านมานี้จากหัวข้อข่าว
‘ทส.ลั่นใช้ ‘อีเอ็ม’ วาระชาติ ดึงกลาโหมแก้ปัญหาน้ำเสีย’
 ในรายละเอียดของข่าวมสรุปได้ดังนี้ นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า คพ.สำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังทั่วประเทศ
คาดว่าจะมีน้ำเน่าเสียในเขตชุมชนประมาณ ๘๖,๐๐๐ ไร่  เขตเกษตรกรรม (นา, ปศุสัตว์) ๒,๓๐๐,๐๐๐ ไร่
รวมทั้งบริเวณบ่อบำบัดขยะในทุกจังหวัดที่น้ำท่วมเสียหายหมด
กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจึงร่วมกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม
 วางแผนจัดการปัญหานี้อย่างเร่งด่วน มีข้อสรุปตรงกันที่จะใช้จุลินทรีย์ (อีเอ็ม) แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย


นายวรศาสตร์กล่าวถึงการจัดการน้ำเสียว่า แยกเป็นสองส่วนคือ ในพื้นที่ที่เป็นบ่อขยะ และบริเวณชุมชน ซึ่งมีประมาณ ๘๖,๐๐๐ ไร่ ต้องใช้อีเอ็มประมาณ ๑๔๐,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร โดยผลิตจากหัวเชื้อประมา ๗๐๐,๐๐๐ ลิตร วิธีดำเนินการคือ จะให้อาสาสมัครที่ขนเครื่องอุปโภคไปแจกจ่ายนำอีเอ็มไปแจกด้วย ... อีเอ็มจะต้องเป็นวาระแห่งชาติ ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ เป็นวิธีการที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด ใช้เวลาสั้นที่สุด และแก้ปัญหาได้เร็วที่สุด  เป็นวิธีการที่ได้รับการรับรองจากองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) ซึ่งผ่านมาก็ใช้ได้ผลในหลายประเทศ


สำหรับที่นี่ ‘ศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา’ หนองใหญ่ ชุมพร --
 กำนันเคว็ดเล่าให้ฟังว่า “เราปั้นก้อนจุลินทรีย์มาหลายเดือนแล้ว ตั้งแต่เห็นข่าวน้ำท่วมทางภาคเหนือตอนล่าง
โดยเฉพาะที่บางระกำ เราไม่มีอะไรจะให้ เราไม่มีอะไรจะช่วยเหลือนอกจากจะบอกว่า ประเทศไทยอยู่ในกำมือพวกเรา
ย้ำ...ประเทศไทยอยู่ในกำมือพวกเรา การลงมือปั้นก้อนจุลินทรีย์เป็นเรื่องเรียบ และง่าย และเกิดประโยชน์สูงสุด”


ก้อนจุลินทรีย์ หรือ อีเอ็มบอลล์ หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียก ‘ดังโงะ’ คือ การนำจุลินทรีย์มาคลุกเคล้ากับสิ่งที่สามารถจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ เช่น กากน้ำตาลและรำ เป็นต้น สามารถใช้อย่างอื่นทดแทนตามสภาพท้องถิ่น กากน้ำตาลจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ระยะต้น จุลินทรีย์จะเติบโตและขยายอย่างรวดเร็วด้วยสารความหวาน และความเป็นสารอาหารก็จะหมดไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงต้องมีอาหารของจุลินทรีย์ในระยะถัดไปนั่นก็คือ รำ ซึ่งควรจะมีทั้งรำหยาบ และรำละเอียด นำมาปั้นให้เป็นก้อนโดยคลุกกับดินทราย เพื่อให้เกาะกันได้ดีและเมื่อทิ้งลงไปในน้ำเสียจะจมลงสู่พื้น ทำให้จุลินทรีย์สามารถบำบัดน้ำเสียนั้นจากพื้นขึ้นสู่ผิว (เพื่อให้ได้ผลต้องฉีดพ่นน้ำจุลินทรีย์บริเวณผิวด้วย) อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่


        ส่วนผสมมีดังนี้


            ส่วนผสมที่ ๑

            รำละเอียด ๑ ส่วน

            แกลบป่น หรือ รำหยาบ ๑ ส่วน

            ดินทราย ๑ ส่วน


        ส่วนผสมที่ ๒

            น้ำหมักจุลินทรีย์ หรือ EM (Effective Microorganism) ๑๐ ช้อนแกง

            กากน้ำตาล ๑๐ ช้อนแกง

            น้ำสะอาด ๑๐ ลิตร


        วิธีทำ

            คลุกเคล้าส่วนผสมที่ ๑ ให้ดี

            ราดด้วยส่วนผสมที่สอง

            ปั้นเป็นก้อนพอประมาณ

            นำไปผึ่งลมให้แห้ง ราว ๓ วันจะเห็นเชื้อราสีขาว

            ครบ ๗ วันเชื้อราที่งอบจะเห็นเป็นเส้นยาวๆ แสดงว่านำไปใช้ได้

            ถ้าไม่ขึ้นเชื้อราแสดงว่าใช้ไม่ได้


            ใส่ถุงรอการนำไปใช้ หรือ รอขนย้ายไปจังหวัดที่ประสบอุทกภัย


            ก้อนจุลินทรีย์ที่ผลิตนี้มีอายุประมาณ ๖ เดือน

            หากจะนำกลับมาใช้หลัง ๖ เดือน ให้นำไปชุบน้ำหมักจุลินทรีย์อีกครั้งก็จะได้คุณสมบัติเดิม


อาจมีการสับสนในคำที่ใช้โดยเฉพาะคำว่า อีเอ็ม ซึ่งเป็นต้นตำรับของ ดร.ฮิงะ ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ค้นพบส่วนผสมของจุลินทรีย์ และขนานนามว่า อีเอ็ม ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Effective Microorganism สามารถศึกษาได้จากเว็บไซด์ของบริษัท เอ็มโร เอเชีย จำกัด


สำหรับน้ำหมักของศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา เป็นน้ำหมักจุลินทรีย์ที่ผลิตเอง เรียกว่า น้ำหมักแปดเซียน


น้ำหมักจุลินทรีย์แต่ละชนิดอาจมีคุณสมบัติแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่ทุกตัวเป็นการใช้วิถืทางธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีทั้งสิ้น นำมาใช้กับประเทศไทยอย่างได้ผลตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๙ ให้ผลดีทั้งด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม การใช้แนวทางจุลินทรีย์ตามธรรมชาตินี้จึงเป็นแนวทางสำคัญยิ่งที่จะพลิกฟื้นประเทศของเราให้หลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ของปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งได้รับการส่งเสริมมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ปุ๋ยเคมีจะให้ผลดีกับการเกษตรในระยะต้น แต่จากนั้นจะต้องใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราคาซึ่งหมายถึงต้นทุนการเกษตรก็สูงขึ้นทุกปี ประกอบกับเคมีจะทำให้ดินเสื่อมไปทีละน้อยๆ ในขณะที่เกษตรกรก็ฝังใจและไม่กลัาหันกลับมาใช้แนวธรรมชาติ เพราะเกรงว่าจะไม่ได้ผล อุทกภัยคราวนี้ดูเหมือนเกษตรกรจะไม่มีทางเลือก จึงเป็นบทพิสูจน์แนวทางเกษตรกรรมครั้งใหญ่ของประเทศ อีกวาระหนึ่ง



การจัดการระดับชาติ : พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส


ในสถานการณ์เสียกรุง ต้องละทิ้งบ้านช่องที่ไม่มีใครต้องการจะทิ้ง ต้องไปพักพิงตามศูนย์ต่างๆ ต้องอพยพ หยุดงาน หยุดเรียน มานั่งๆนอนๆรอวันกลับบ้านและกลับไปทำงาน หรือรอโรงเรียนเปิดนั้น ผมขอเสนอให้ทุกคนเสียสละเพื่อชาติ เพื่อผู้ประสบภัย ซึ่งรวมถึงพวกเราทุกคน ในเมื่อแนวทางการใช้ก้อนจุลินทรีย์ หรือ อีเอ็มบอลล์ ได้รับการยอมรับ ทั้งจากภาครัฐ และในระดับสหประชาชาติแล้ว คงไม่ต้องมานั่งถกเถียงกันอีกว่าแนวทางนี้ถูกต้องหรือไม่ ตัวอย่าง ในประเทศก็มีให้เห็นชัดเจน เช่น การบำบัดมลพิษในอ่าวปัตตานี ของกองทัพภาคที่ ๔, การฟื้นฟูนาข้าวน้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมา และสงขลา, การบำบัดน้ำเสียในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครตามโครงการของการเคหะแห่งชาติ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตล้วนแต่เป็นการยืนยันถึงความสำเร็จทั้งสิ้น


นอกจากเครือข่ายที่ใช้แนวทางธรรมชาติทั่วประเทศที่ปั้นก้อนจุลินทรีย์กันตามปรกติแล้ว เราควรใช้โอกาสนี้กับใครบ้างให้มาร่วมมือกันในวันนี้


๑. ผู้ประสบภัยที่ได้อยู่ตามศูนย์พักพิงในต่างจังหวัด หรือศูนย์ในกรุงเทพก็อาจจะได้บ้าง แต่ขณะที่เขียนบทความนี้ขอให้ท่านเอาตัวให้รอดก่อน เพราะแม้กระทั่ง ศปภ.ก็ยังต้องอพยพถอยร่นในวันนี้ (๒๙ ตค.๒๕๕๔ เช่นกัน)

๒. ผู้ที่อพยพ หรือผู้ที่กลับบ้านไปต่างจังหวัด สามารถปั้นอยู่กับบ้านก็ได้ หรือจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆก็ได้

๓. ผู้ที่อพยพไปตากอากาศตามเมืองชายทะเล ทั้งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก ควรทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อเพื่อนร่วมชาติของท่าน ด้วยการปั้นก้อนจุลินทรีย์

๔. ใครก็ได้ที่มีจิตศรัทธา ที่มองเห็นหายนะของการเสียกรุงครั้งนี้ เราสามารถกอบกู้พื้นที่ทั้งหมดด้วยต้นทุนที่ไม่มาก


สำหรับพื้นที่เกษตร พื้นที่ชุมชน พื้นที่กำจัดขยะ ต้องใช้จุลินทรีย์ราว ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (สองพันห้าร้อยล้าน)ก้อน ระยะเวลาบ่ม ๗ วัน น้ำหมักประมาณ ๘ แสนลิตร คนๆหนึ่งถ้าปั้นเก่งๆก็อาจจะได้ราว ๕๐๐ ก้อนต่อวัน คิดแบบประมาณการหยาบๆถ้ามีคนมาเข้าโครงการ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ก็จะได้ ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านก้อน ไม่กี่วันก็เสร็จแล้ว แต่ในทางปฏิบัติคงไม่ได้เป็นเส้นตรงเหมือนกับการคิดเลขข้างต้น ขณะที่ผมเขียนบทความนี้ กรุงเทพมหานครคงอยู่ในภาวะที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเต็มที่ และยังจะท่วมขังรอการระบายและสูบออกไม่น้อยกว่า ๑๕ วันถึงหนึ่งเดือน เพื่อนของผมให้ข้อคิดที่ดีว่า น้ำที่มาแบบท่วมทุ่งนั้นหาทางกลับไม่ค่อยเจอ นั่นแปลว่าเขาจะขังอยู่อีกนาน และเราคงไม่มีปัญญาไปซื้อน้ำมันมาสูบออกจนหมดง่ายๆ เราจึงมีเวลาที่จะปั้นก้อนจุลินทรีย์ครับ เริ่มเสียแต่วันนี้


ก้อนจุลินทรีย์ ไม่ใช่แค่ก้อนดินก้อนทราย แต่ก้อนจุลินทรีย์เป็นสิ่งที่มีชีวิต เติบโตได้ อยากจะพูดว่า รู้สึกได้เสียด้วซ้ำไป ผมจึงเรียกว่า ‘จุลินทรีย์ก้อนนี้มีชีวิต’ มีผู้กล่าวว่า คงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย ๕๐ ปี ถึง ๑๐๐ ปี กว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะสามารถอธิบายความเป็นมาและความเป็นไปของก้อนจุลินทรีย์ได้ แต่คุณประโยชน์นั้นเล่า สามารถพิสูจน์ให้เห็นแล้วได้ในวันนี้ เดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นมาเถอะครับ มาปั้นก้อนจุลินทรีย์


ผมกล่าวเช่นนี้เพื่อจะบอกกับพวกเราทุกคนว่า จงมาปั้นก้อนจุลินทรีย์นี้กันด้วยหัวใจ หัวใจที่มอบให้กับเพื่อนร่วมชาติที่สิ้นเนื้อประดาตัว ที่หมดสิ้นอนาคตเพราะยังมองไม่เห็นหนทางที่จะกลับไปใช้วิถีชีวิตเดิม สูญเสียทั้งรถ,บ้านและชีวิตของสมาชิกในครอบครัว เราจงมาปั้นก้อนจุลินทรีย์นี้ด้วยรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความหวังของชีวิตเฉกเช่น ชาวศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ชุมพร ซึ่งตั้งใจมอบความหวังให้กับชาวไทยผู้ประสบอุทกภัย เราจงมาปั้นก้อนจุลินทรีย์กันด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเฉกเช่นที่ ชาวศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ชุมพร ทำมาเป็นเดือนๆ สะสม รอวันที่จะนำไปมอบให้ใช้ฟื้นฟูแผ่นดินเกิดของเราที่สูญเสียไป จะเพราะภัยธรรมชาติหรือเพราะ ขาดความตั้งใจในการจัดการหรือที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ขาดจุดยืนทางผลประโยชน์ต่อส่วนรวมที่แท้จริง การกล่าวโทษกันในภาวะเช่นนี้อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น มาช่วยกันมองไปข้างหน้าดังที่กำนันเคว็ดกล่าวย้ำกับผมซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ประเทศไทยอยู่ในกำมือพวกเรา ย้ำ...ประเทศไทยอยู่ในกำมือพวกเรา


สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมแล้วที่จะเป็นแรงหนึ่งในการประสานงานการปั้นก้อนจุลินทรีย์เพื่อชาติ ท่านสามารถติดต่อขอความรู้ วิทยากร รวมทั้งวัตถุดิบได้ที่ :


พีรวัศ กี่ศิริ <peerawas.keesiri@gmail.com>

โทรศัพท์ 086-688-1256
ขออนุญาตคุณพีรวัศ นำมาเผยแพร่ และขอขอบคุณในเจตนาที่ช่วยกันกู้ชาติไทยครับ
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
อ้อย 14
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,055

« ตอบ #4221 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554, 09:52:20 »



ตอนนี้ พี่ชรินทร์ หาญสืบสายของเรา กะลังออกรายการASTV ...รายการสภาท่าพระอาทิตย์...!!!! เย้...
      บันทึกการเข้า
อ้อย 14
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,055

« ตอบ #4222 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554, 11:03:49 »


พี่แก้ว ตะวัน และทุกท่าน

                  เห็นด้วยจริงๆค่ะ ในภาวะอย่างนี้ ควรจะร่วมมือกันคนละเล็กละน้อย และถ้าใครมีลูกหลาน น่าจะควรต้องสนับสนุนให้ไปร่วมทำกิจกรรมที่ช่วยเหลือน้ำท่วม เป็นการให้เด็กๆมีจิตกุศลและรู้จักการเสียสละ. เด็กสมัยนี้เขาไม่เคยรู้จักคำว่า"ให้". เพราะเคยแต่ได้ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะปลูกฝัง เสียแต่ตอนนี้ไม่งั้น "ไม่ทัน" แน่นอน

                  ส่วนเรื่องกินเที่ยวเตร่นั้น ช่วงนี้ คงต้องน้อยๆหน่อย เสียแล้วนะคะ....
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4223 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554, 11:13:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 03 พฤศจิกายน 2554, 09:14:06
ดร.มนตรี

เดี่ยวจะมาตอบครับ
พอดีมีรถเฉี่ยวชนกันบริเวณหน้าบ้าน (อีกแล้ว) ขอไปดูสักหน่อยครับ


เมื่อน้ำเลิกท่วม รถยนต์ทุกคันขับด้วยความเร็ว ปัญหาจึงเกิดขึ้นตรงนี้เสมอ







      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #4224 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554, 11:19:53 »

ทีีสุดจึงเรียกรถแบ๊ดโฮของกรมทางหลวงมาขุดหินคลุกที่เคยเทไว้ออก เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุในภายหน้า



      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 167 168 [169] 170 171 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><