หน้าแรกเว็บบอร์ด
แนะนำตัว
เพิ่ม/แก้.ข้อมูลส่วนตัว
ห้องโถงรวมรุ่น
Webสมาคมฯ
ปฏิทินนัดหมาย
สมัครสมาชิก
26 พฤศจิกายน 2567, 04:47:19
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
[สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A
A
A
A
ระเบียบปฎิบัติ
Entire Forum
This board
This topic
Members
Entire Site
Languages
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
วิกฤติแพทย์ล้น ควรเป็นข้อดี ที่ทำให้ ร.พ.สามารถมีแพทย์มาให้เลือกเข้าทำงานได้
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: วิกฤติแพทย์ล้น ควรเป็นข้อดี ที่ทำให้ ร.พ.สามารถมีแพทย์มาให้เลือกเข้าทำงานได้ (อ่าน 6174 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
วิกฤติแพทย์ล้น ควรเป็นข้อดี ที่ทำให้ ร.พ.สามารถมีแพทย์มาให้เลือกเข้าทำงานได้
«
เมื่อ:
17 พฤษภาคม 2553, 22:06:33 »
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา
เปิดเผยสถานการณ์การผลิตแพทย์ ว่า ปัจจุบันมีการเร่งผลิตแพทย์จำนวนมาก
โดยมีแพทย์จบใหม่ปีละประมาณ 2,500 คน จากเดิมผลิตเพียงปีละ 200 คน
ขอขอบคุณ น.ส.พ.ไทยรัฐ วันจันทร์ ที่ 17 พ.ค.2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thairath.co.th/content/edu/83416
ในขณะที่มีประชากรเกิดใหม่น้อยลงเหลือเพียงปีละ 7-8 แสนคน จากเดิมที่มีปีละประมาณ 1 ล้านคน
หากเป็นเช่นนี้ในอีก 15 ปี อาจส่งผลให้แพทย์มีจำนวนล้น และแพทย์ ที่จบใหม่อาจจะตกงาน
เหมือนกับหลายประเทศ เช่น
ทวีปยุโรปที่แพทย์ต้องไปขับรถแท็กซี่ หรือประเทศอินเดียที่ต้องส่งแพทย์ออกไปต่างประเทศ
ถึงปีละ 6 หมื่นคน และว่านโยบายเกี่ยวกับการผลิตแพทย์ควรที่จะมองไปข้างหน้า 15 ปี
จะทำให้มองเห็นภาพว่าแพทย์ที่ผลิตในปัจจุบันขาดหรือเกิน หรือไม่ได้ขาดแคลน
แต่ปัญหาอยู่ที่การกระจายแพทย์ไม่ดี โดยส่วนตัวเห็นว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนแพทย์มาก
แต่ในพื้นที่ต่างจังหวัดกลับมีจำนวนแพทย์น้อย
แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องของการกระจายแพทย์ด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง
ควรพัฒนาโรงพยาบาลในรูปแบบเครือข่าย โดยให้แพทย์ประจำอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือ
โรงพยาบาลประจำจังหวัด และจัดเวรหมอประจำการตลอด 24 ชั่วโมง
ส่วนในพื้นที่ชุมชน ควรมีเพียงคลินิกหรือศูนย์สุขภาพชุมชนขนาดไม่ใหญ่
โดยแต่ละแห่งเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาล และพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยที่ดี
ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีกระแสข่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.)
เตรียมเปิดคณะแพทยศาสตร์
ขณะนี้ยังไม่มีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งใดเสนอเรื่องมายังแพทยสภาเพื่อขออนุมัติ
หลักสูตรแพทยศาสตร์ มีเพียงมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งส่งจดหมายแจ้งให้ทราบว่า
ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการร่างหลักสูตรแล้ว และ
การที่แพทยสภาจะรับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งใด
จะพิจารณาตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโรงพยาบาลรองรับให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ และ
หากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองหลักสูตร แต่จัดการเรียนการสอนไม่ได้มาตรฐาน
แพทยสภามีสิทธิ์ที่จะยุบคณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นได้
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
ผมมองว่า เมื่อมีแพทย์มาก จะเป็นโอกาศดีที่จะคัดเลือกแพทย์ให้ทำงานได้ตรงกับงานได้
แพทย์จบใหม่ ปีละ 2500 คนสามารถให้มาประจำ ร.พ.อำเภอ เพราะ คนไข้เมื่อป่วย นั้น 90%
นั้นเพิ่งเริ่มป่วย รักษาได้ด้วยแพทย์จบใหม่ เรียน 6 ปีสามารถให้การดูแลได้เกือบหมด
ส่วนแพทย์เฉพาะทาง ที่ไม่สามารถตั้งแผนกให้ตรวจเฉพาะทางได้ ต้องทำงาน
ตรวจคนไข้ทุกคนที่มารักษา ทำให้แพทย์ทำงานไม่ตรงสาขาที่เรียนมาทำให้เครียดกัน
ควรให้ย้ายกลับไปอยู่ในแผนกเฉพาะทางที่เรียนมาจะเป็นการใช้คนให้ตรงกับงาน
Put Right Man to the Right Job
ถ้าทำเป็นรูปเครือข่าย ที่อาจารย์ ศ.นพ.สมศักดิ์ เสนอ น่าจะเป็นรูป
ร.พ.อำเภอ ใช้แพทย์ทั่วไป ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นแพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
ทำงานได้แบบองค์รวมในกิจกรรมสาธารณสุข 4 คือ
ส่งเสริมสุขภาพ ป้ัองกัน รักษา และ ฟื้นฟูสุขภาพ
ส่วนแพทย์เฉพาะทางควรให้ไปรวมกันที่ ในแผนกเฉพาะที่ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์
พร้อม
นำเครื่องมือเฉพาะทางราคาแพง ที่นำมาใช้คนเดียวที่ ร.พ.อำเภอนำไปใช้ร่วมกันในแผนก
จะเป็นการใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า และ
ใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต สร้างเครือข่ายสาธารณสุข ให้ทุก ร.พ.เชื่อมโยงในเครือข่าย
แพทย์สามารถล็อกอินเข้าไปที่ ร.พ.ใดก็ได้ในเครือข่ายจะทำให้คนไข้เกินความสามารถของ
แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์ครอบครัว ที่มีอยูน้อยเพียงไม่ถึง 10 %
สามารถพบแพทย์เฉพาะทางที่ ร.พ.อำเภอ หรือ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ที่ต้องการให้พบได้
โดยให้รักษาโดยแพทย์สามารถล็อกอินเข้ามาดูประวัติ และสั่งการรักษาได้ โดยไม่ต้องเดินทาง
มาพบกันได้ เป็นการอำนวยความสะดวกประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งของประชาชน และ ของรัฐบาลด้วย
หมายเหตุ
ถ้ามีเครือข่ายสาธารณสุขเกิดขึ้นจริง สถานีอนามัย ยกฐานะเป็น
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีแพทย์จาก ร.พ.อำเภอ ในอำเภอนั้นรับผิดชอบ ให้คำปรึกษา และ
มาช่วยรักษาทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยให้พยาบาลเวชปฏิบัติอย่างน้อย 2 คนอยู่ประจำ เพื่ออยู่เวรได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ทำหน้าที่
วัดความดัน ซักประวัติอาการนำ แล้วให้แพทย์เข้ามาตรวจทางเทคโนโลยี่สารสนเทห์ เช่น
โทรศัพท์มือถือ/ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุข
Virtual Private Network:VPN
แพทย์ที่เป็นสมาชิกจะเข้าเครือข่ายได้ต้องได้รับอนุญาต จากกระทรวงฯได้รับ Password/User name
สามารถจะล็อกอินเข้าไปที่ใดก็ได้ในเครือข่าย
ทำให้สามารถกระจายความสามารถการรักษาพยาบาลออกไปได้ทุกแห่งในเครือข่าย
อยากพบแพทย์เฉพาะทางด้านใด
ก็เรียนเชิญแพทย์ท่านนั้นล็อกอินเข้ามาใน ร.พ.ที่ผู้ป่วยอยู่ได้
จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดบุคลกร ทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการรักษาจากการ
ดูวิธีของแพทย์เฉพาะทางได้ เมื่อมารักษาให้ที่ ร.พ.แล้วจะให้การรักษาต่อได้ทันที
มีปัญหาสามารถเรียนเชิญแพทย์เฉพาะทางเข้ามาตรวจรักษาให้ทางเครือข่ายได้ทันที
พวกเราคิดว่าอย่างไร ใช้เครือข่าย วางคนให้ตรงกับงาน และ ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมด้วย
จะทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้าตาม Ottawa Charter เมื่อปี 2529 เกิดขึ้นได้จริงไม่เกินปี 2555
ดู สุขภาพดีถ้วนหน้าตาม Ottawa Charter เมื่อปี 2529 ปีนี้ 2553 ผ่านมา 24 ปีแล้ว ที่
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
กระทู้: 3,256
Re: หวั่นวิกฤติแพทย์ล้น หลังรัฐเร่งผลิตเกิน แนะให้ทำเป็นรูปเครือข่าย
«
ตอบ #1 เมื่อ:
18 พฤษภาคม 2553, 09:41:38 »
ดีใจจัง ที่เเพทย์ ล้น ล้นให้มากเถอะค่ะ ประชาชนจะได้รับการดูแลจากแพทย์ได้มากๆๆๆ
ให้แพทยืได้มีเวลากับคนไข้ได้มากขึ้น
เพราะแค่แพทย์ได้คุยกับคนไข้ คนไข้ก็หายจากโรคไปครึ่งหนึ่งแล้ว
ร.พ พีแอ๊ะขาดแพทย์จนไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร
พี่หาญและลูกทำงานกันจนหลังเเอ่นแล้วค่ะ
ประเทศไทย ใช้งานเเพทย์มากเกินไปไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน
ภาครัฐมักโจมตี ว่าเอกชนซื้อตัวเเพทย์ ซึ่งในสภาพปัจจุบัน
แพทย์สมองไหลจาก เอกชนไป อยู่ ภาค รัฐค่ะ เพราะรัฐให้ ผลประโยชน์เท่าๆกับภาคเอกชน
หรือให้มากกว่าด้วยซ้ำ
ซึ่งไม่ว่ากัน เพราะเราอยากให้ประชาชนเข้าถึง การรักษาโดยแพทย์ ได้ง่ายๆ
ร.พ พี่แอ๊ะเท่ากับฝึกแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ และบุคลากรสาธารณสุขให้รัฐ ด้วยซ้ำ
โดยพนักงานของพี่แอ๊ะหาก ร.พภาครัฐ ประกาศรับคนเมื่อไร
เด็กของพี่แอ๊ะจะไปสอบแล้วผ่านทั้งนั้นเพราะเราฝึกไว้ดีและเก่งแล้ว
ใครๆก็อยากเป็นข้าราชการ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
กระทู้: 3,256
Re: หวั่นวิกฤติแพทย์ล้น หลังรัฐเร่งผลิตเกิน แนะให้ทำเป็นรูปเครือข่าย
«
ตอบ #2 เมื่อ:
18 พฤษภาคม 2553, 10:20:38 »
ทวีปยุโรปที่แพทย์ต้องไปขับรถแท็กซี่ หรือประเทศอินเดียที่ต้องส่งแพทย์ออกไปต่างประเทศ
ถึงปีละ 6 หมื่นคน
ใ
ให้มีแพทย์ไทย เยอะๆ ตกงานกันบ้างนั่นแหละดี
อยากเห็นแพทย์ ไทย ไปขับเเท๊กซี่ เหมือน อินเดีย และ ปินส์และ ยุโรปบ้าง
แพทย์ไทย จะได้เลิกเป็นชนชั้นวิเศษ ซะที
บางคนพอพยาบาลตาม ให้มาตรวจคนไข้ ก็ด่าพยาบาล เอาโอพีดีการ์ดเขวี้ยงพยาบาล
จนคนไข้ร้องไห้ สงสารพยาบาล
แพทย์เด็กรุ่นหลังๆ หนักไม่เอา เบาไม่สู้
อยากทำงานสบายๆ แต่ให้ได้เงินมากๆ
ไม่ค่อยเจอแพทย์รุ่นใหม่ที่มี น้ำอด น้ำทน และเสียสละเพื่อคนไข้เลย
ส่วนใหญ่เอาเงินนำหน้าเกือบทั้งนั้น
ถามอาจารย์ในร.ร แพทย์ว่าได้สอนแพทย์ เรื่องนี้กันบ้างไหม
อาจารย์บอกว่าหาอาจารย์มาสอนวิชาทั่วไปก็ยากมากแล้ว
ไม่มีใครอยากมาเป็นครูแพทย์กันค่ะ
บันทึกการเข้า
ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
ฟ้องแพทย์ได้ทำให้แพทย์ต้องระวังไม่รู้ต้องปรึกษาหรือส่งต่อทำให้คนไข้ปลอดภัยขึ้น
«
ตอบ #3 เมื่อ:
22 กรกฎาคม 2553, 20:06:35 »
ขอขอบคุณเวบไทยรัฐวันพุธ 14 ก.ค.2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thairath.co.th/content/edu/96052
แต่งดำ วอนนายกฯ ถอนร่าง ก.ม.ฟ้องแพทย์ หวั่นคนไข้ตายมากขึ้น
หมอลาออกไม่อยากเสี่ยงรักษากลัว "ถูกฟ้อง" เพราะถ้ารัฐบาลไม่พิจารณาให้ดี
ปล่อยให้กฎหมายฉบับนี้ออกมา จะกลายเป็นบูมเมอแรงกลับไปที่รัฐบาล....
เมื่อวันที่ 13 ก.ค. พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
แห่งประเทศไทย นำตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร และ
นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 6 คน แต่งชุดดำ
เข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึก
ขอให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...
ออกจากการพิจารณาของสภาฯ เพื่อนำมาทำประชาพิจารณ์ถึงผลดี ผลเสียของ พ.ร.บ.นี้
แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้ เข้าพบ โดยมอบหมายให้ตัวแทนของนางอัญชลี วาณิชเทพบุตร
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มารับจดหมายแทน
พญ.เชิดชูกล่าวว่า รู้สึกเสียใจที่นายกรัฐมนตรีมีท่าทีเช่นนี้ การมาขอพบครั้งนี้ต้องการ
แค่ยื่นจดหมายซึ่งใช้เวลาเพียง 1-2 นาที หลังจากที่เครือข่ายตัวแทนสภาวิชาชีพ หมดหวังกับ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รมว.สาธารณสุข ที่พูดกับสภาวิชาชีพเหมือนหลอกเด็ก เช่น
ให้ไปล่ารายชื่อคนที่เกี่ยวข้องมาให้ได้ 80%ว่าไม่มีความสุขกับ พ.ร.บ.นี้ จึงจะยอมถอนร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้จากสภาฯ จึงจำเป็นต้องมาพบผู้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีซึ่งก็คือนายกรัฐมนตรี เพราะ
หาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ จะเกิดความเสียหายต่อประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะแพทย์
พยาบาลและบุคลากรวิชาชีพจะพากันลาออก เพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงที่จะต้องถูกฟ้อง
ด้าน นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมแพทย์ รพ.ศูนย์/ รพ.ทั่วไป กล่าวว่า
ผลกระทบที่ตามมาจากกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลต่อประชาชนโดยตรง เช่น
ในอนาคตแพทย์อาจจะไม่รับคนไข้หนัก โดยเฉพาะคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง เพราะ
เสี่ยงถูกฟ้อง วิธีที่ทำได้ก็คือ ส่งต่อคนไข้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มี
การเสียชีวิตของคนไข้บนรถพยาบาลมากขึ้น
จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้เป็นต้นร่างที่ดี อยู่ในเงื่อนไข
ที่ทุกฝ่ายรับได้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง เพราะ
ถ้ารัฐบาลไม่พิจารณาให้ดี ปล่อยให้กฎหมายฉบับนี้ออกมา จะกลายเป็นบูมเมอแรงกลับไป
ที่รัฐบาล และคนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือประชาชน.
XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
พวกเราคิดว่าอย่างไร พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...ที่จะออกมา
ให้ผู้ให้บริการสุขภาพต้องรับโทษด้วย
เพื่อให้การดูแลด้านสาธารณสุข ต้องปลอดภัย
ในการทำสถานพยาบาลให้ปลอดภัยกระทรวงสาธารณสุข ให้ทุก ร.พ.ที่เปิดบริการต้องมี
ใบรับรองเป็นโรงพยาบาลคุณภาพเพื่อสามารถตรวจสอบการดำเนินการได้และให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ
ในแนวทาง ร.พ.คุณภาพ ทุกการดำเนินการต้องเขียนเป็นเอกสาร ให้กรรมการคุณภาพตรวจสอบว่า
มีคุณภาพเพื่อรับเป็นเอกสารคุณภาพไว้อ้างอิง เป็นการตรวจสอบ ตามวงจรคุณภาพ ว่าเป็นไป
ตามแนวทางคุณภาพในวงจรคุณภาพหรือไม่
ถ้าไม่ทำตามเอกสาร เกิดเสียหายขึ้น มีโทษด้วย แต่ถ้ามีเหตุผลอันสมควร อาจไม่ต้องรับโทษได้
ร.พ.คุณภาพ
คือ ร.พ.ที่มีการกำหนดแนวทางการทำงาน เป็นลายลักษณ์อักษรโดยผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ร่วมกับ
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ (ส.ร.พ.) ได้ร่วมจัดทำเป็นเอกสารการทำงานอย่างมีคุณภาพ
ไว้อ้างอิง ให้กรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.เอง และ ภายนอก(ส.ร.พ.) ใช้ตรวจสอบ ว่า ร.พ.ได้
ปฏิบัติตาม แนวทางในเอกสาร ที่ได้รับการรับรองได้ครบถ้วนจริง
ก็จะได้รับใบประกาศรับรอง
"โรงพยาบาลคุณภาพ"
จาก สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ(ส.ร.พ.)
หลังจากได้ใบรับรองแล้ว จะต้องรักษาคุณภาพไว้ตามที่ได้รับการรับรองต่อไป โดยจะต้องมี
การตรวจสอบภายใน จากกรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.เอง เป็นระยะ ให้สามารถคงรักษาคุณภาพ ได้
เหมือนที่เขียนไว้ในเอกสาร และ
คณะกรรมการตรวจสอบจากภายนอก จะมีการเข้ามาตรวจสอบ ตามระยะเวลา เพื่อยืนยันคุณภาพ
ว่ายังคงมีคุณภาพตามเอกสารอ้างอิงอยู่ ถ้าไม่เป็นไปตามเอกสารอ้างอิงก็จะให้แก้ไข เมื่อแก้ไขได้
ก็จะได้ต่อใบรับรองคุณภาพ ต่อไป
ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า ร.พ.ได้ทำหน้าที่เป็นร.พ.คุณภาพ ได้ถูกต้อง
ได้แก่
1.คำชม ร.พ.เพิ่มขึ้น คำติ ร.พ.ลดลง
(ร.พ.คุณภาพ จะมี
ตู้รับฟังความคิดเห็นการได้รับบริการทุกจุด ให้คนมารับบริการประเมิน ร.พ.)
2.คนไข้ ปลอดภัย
จากการ ลดโรคแทรกซ้อน ลดความผิดพลาด จากการรับบริการลง
จากการที่ ร.พ.คุณภาพต้องนำความผิดพลาดมาประชุม"การประเมินความเสี่ยง:Risk Management"
อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ให้เกิดซ้ำอีก
3.เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความสบายขึ้น
มีเอกสารคุณภาพเขียนวิธีทำงานให้ไว้ปฏิบัติตาม
ทำให้เหมือนมีผู้นำทางให้เดิน โอกาศผิดพลาด โดนฟ้องร้อง จะน้อยลง
ถ้าทำตามเอกสารคุณภาพ ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว
ดูเพิ่มเติม ได้ที่
แนวทางการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ของ คณะกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพ(ส.ร.พ.) ที่เวบ..
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=18&group=12&gblog=2
ร.พ.พนมสารคาม ที่ผู้โพสต์ ทำงานอยู่ได้รับการพัฒนาและรับรอง เป็นทั้ง ร.พ.คุณภาพ และ
ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ แล้ว และ ได้รับการยกย่อง ให้เป็นร.พ.ต้นแบบ จาก กระทรวงสาธารณสุข
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
Re: วิกฤติแพทย์ล้น ควรเป็นข้อดี ที่ทำให้สามารถเลือกแพทย์เข้าทำงานได้
«
ตอบ #4 เมื่อ:
19 สิงหาคม 2553, 11:42:43 »
วอนหยุดต้านพ.ร.บ.ผู้เสียหายจากการรับบริการสธ.
ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 22 กรกฎาคม 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=80033
ปธ.เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เผยยังเชื่อมั่น
“มาร์ค-จุรินทร์” เคยรับปากผลักดัน ขู่หากล้มร่างพร้อมลุย
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์
วันนี้ ( 22 ก.ค.) ประธานเครือข่ายฯ กล่าวถึงกรณีกลุ่มแพทย์ที่ออกมาคัดค้าน
ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...ว่า
กลุ่มคนไข้ยังรู้สึกเชื่อมั่นที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์
รมว.สาธารณสุข ที่เคยรับปากผลักดันร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ล้านเปอร์เซ็นต์ และอยากขอร้องกลุ่มแพทย์
ที่ออกมาคัดค้านว่า ขอให้นึกถึงหัวอกเขาหัวอกเราบ้าง
เพราะกว่าจะมีร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี หมดงบประมาณในการรับฟังความคิดเห็น
ของประชาชนจำนวนมาก และขอตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงไม่ออกมาคัดค้านก่อนหน้านี้แต่
กลับมาเคลื่อนไหวเมื่อร่างพ.ร.บ.จะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภา
ถ้าล้มร่างในตอนนี้จะเกิดความเสียหายมากกว่าหรือไม่ ในขณะที่สังคมต้องการความปรองดองเช่นนี้
จะผลักให้เข้าไปอยู่ในจุดเดิมหรืออย่างไร เป็นการถอยหลังเข้าคลอง คัดค้านไม่มีเหตุผล
นางปรียนันท์ ยืนยันว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีเจตนารมณ์ทำร้ายแพทย์ อีกทั้งในขั้นตอน
การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็มีเลขาธิการแพทยสภา เป็นหนึ่งในคณะกรรมการด้วย
แล้วร่างกฎหมายฉบับนี้จะออกมาเลวร้ายได้อย่างไร ส่วนตนนั้นก็เข้าไปเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูล
ต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้มีอำนาจตัดสินใด
รวมทั้ง ตั้งข้อสงสัยว่า ตัวแทนแพทยสภาที่ได้เข้าไปร่วมประชุมทุกนัด
ทำไมไม่ชี้แจงให้แพทย์คนอื่นฟังบ้าง หรือมีวาระซ้อนเร้นอะไรหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางกลุ่มแพทย์เตรียมนัดแต่งชุดดำ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า
ขอให้นายกรัฐมนตรีและรมว. กระทรวงสาธารณสุข คิดถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
ขณะนี้คนไข้รอสัญญาณจากนายกฯและรมว.สาธารณสุข เราไม่อยากออกไปประท้วง
แต่ถ้าจะล้มร่างนี้จริงๆ เราก็พร้อมลุย ถ้าจะล้มกันก็ข้ามศพเราไปก่อน
“ถ้ารัฐบาลปล่อยให้ร่างกฎหมายที่นายกฯ เป็นผู้ลงนาม และ รมว.สาธารณสุข รับปากกับคนไข้
ถูกล้มไปตามกระแสคัดค้าน ก็ถือว่าเป็นรัฐบาลหลักลอย
เราขอกฎหมายสักฉบับสำหรับคนไข้เถอะ อย่าต่อต้านเลย หากทางแพทย์มีปัญหาอะไร
อยากให้ส่งตัวแทนไปเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญไปสู้กันในสภาฯดีกว่า” นางปรียนันท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งสองฝ่ายจะมีทางออกร่วมกันในเรื่องนี้ได้หรือไม่
นางปรียานันนท์ กล่าวว่า เราพร้อมรับฟังปัญหาของแพทย์เสมอ และ
ในวันที่ 30 ส.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย มี นพ. สุพรรณ ศรีธรรมมา ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี
เป็นประธาน ที่กระทรวงสาธารณสุข จะมีทุกฝ่ายเข้ามาประชุมร่วมกันเพื่อหาทางออกนี้
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
วิกฤติแพทย์ล้น ควรเป็นข้อดี ที่ทำให้ ร.พ.สามารถมีแพทย์มาให้เลือกเข้าทำงานได้
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
-----------------------------
=> ข่าวประชาสัมพันธ์ของสมาคม
=> ข่าวประกาศทั่วไป
=> งานคืนสู่เหย้า ๒๕๕๗
=> โครงการรินน้ำใจเพื่อหอพักนิสิตจุฬาฯ
=> กิจกรรมเพื่อสังคม
=> กิจกรรมวิชาการ
=> กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
=> กิจกรรมชาวหอ
=> กิจกรรมแกนนำและกิจกรรมรุ่น
=> ข้อบังคับสมาคม และกฎ ระเบียบ
=> การประชุมของสมาคม
-----------------------------
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
-----------------------------
=> เรื่องนี้มีพี่บอก
=> โบราณคดี Cmadong
=> ปฏิทินนัดหมายชาวหอ
=> ห้องซีมะโด่งสัมพันธ์
=> ซีมะโด่งเพื่อสังคม
=> ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
=> ห้องชาวค่ายหอ
=> ห้องชมรมแสงเสียง
=> ห้องธรรมะ...สาธุ....
=> ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
=> ห้องแสงทองของชีวิต
=> ห้องสุขภาพและความงาม
=> ห้องท่องเที่ยวไร้พรมแดน
=> ห้องซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน
-----------------------------
เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย
-----------------------------
=> รุ่น 2507
=> รุ่น 2510
=> รุ่น 2511
=> รุ่น 2513
=> รุ่น 2514 รุ่นนี้มหาอำนาจ
=> รุ่น 2515
=> รุ่น 2516
=> รุ่น 2517
=> รุ่น 2518
=> รุ่น 2519
=> รุ่น 2520
=> รุ่น 2521
=> รุ่น 2522
=> รุ่น 2523
=> รุ่น 2524
=> รุ่น 2525
=> รุ่น 2526
=> รุ่น 2527
=> รุ่น 2528
=> รุ่น 2529
=> รุ่น 2530
=> รุ่น 2531
=> รุ่น 2532
=> รุ่น 2533
=> รุ่น 2534
=> รุ่น 2535 ซี้ปึ๊ก
=> รุ่น 2536
=> รุ่น 2537
=> รุ่น 2538
=> รุ่น 2539
=> รุ่น 2540
=> รุ่น 2541
=> รุ่น 2542
=> รุ่น 2543
=> รุ่น 2544
=> รุ่น 2545
=> รุ่น 2546
=> รุ่น 2547
=> รุ่น 2548
=> รุ่น 2549
=> รวมรุ่น 90-96 รหัส 2550-2556
-----------------------------
ข่าวประกาศ
-----------------------------
===> Countdown งานคืนสู่เหย้า 94 ปีซีมะโด่ง : เสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
===> "รวมภาพงาน" ผูกพัน วันเก่า ๙๔ ปี ซีมะโด่ง
สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><
กำลังโหลด...