|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553, 07:24:23 » |
|
ด่วน…พังเรียบร้อยเรือเหาะ”350ล้านตรวจการณ์ใต้ซื้อบินได้แค่ 10 กิโลซ้ำรอย GT200 ระงับใช้”เรือเหาะ” 350ล้าน ตรวจการณ์ 3จว.ใต้ ทดลองบินได้ไม่นานต้องส่งซ่อม ส่อซ้ำรอย”จีที200″ สะพัด “เรือเหาะ” 350 ล้าน ตรวจการณ์ 3 จว.ชายแดนใต้ ซื้อจากสหรัฐฯ เพิ่งทดลองบินมีปัญหาต้องซ่อม กองทัพระงับใช้ชั่วคราว 2 สัปดาห์แล้ว เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ รายงานข่าวแจ้งว่า ทางกองทัพมีคำสั่งให้ระงับใช้ชั่วคราว “เรือเหาะตรวจการณ์” หรือ บอลลูนยักษ์ ที่ ครม.ได้อนุมัติให้จัดซื้อ 1 ลำ จากบริษัท แอร์เรียอินเทอร์เนชั่นแนล ของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยงบประมาณ 350 ล้านบาท ให้แก่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
หลังจากกองทัพบกก็ได้ขึ้นทดลองใช้บินเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ที่ยังติดตั้งกล้องตรวจการณ์ไม่เสร็จ โดยทำการบินประมาณ 10 กิโลเมตร รอบค่ายกองพลทหารราบที่ 15 จ.ปัตตานี เบื้องต้นการทำงานของเครื่องยนต์ในครั้งแรกปกติ แต่ต่อมาพบมีปัญหาบางจุดที่ต้องซ่อมแซมจึงให้ระงับการใช้มาเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้ว
ที่มา: http://99it.co.cc/?p=895
แต่วันนี้ กองทัพบก กำลังจะเซ็นรับมอบ ในวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2553 ที่ จ. ปัตตานี เงินทั้งหมดนี้ คือเงินภาษีอากรของประชาชน สุดท้าย ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง ก็รับค่าคอมมิชชั่น กันไป ไม่มีใครมองเห็นประโยชน์ของประเทศชาติ
ปัจจุบัน กองทัพของสหรัฐฯ ไม่เคยใช้บอลลูน หรือเรือเหาะ ตรวจอากาศ โฆษณาสินค้า ฯ ประเภทนี้ ในราชการสงคราม
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553, 07:44:11 » |
|
Unmanned Aerial Vehicle (UAV; also known as a remotely piloted vehicle or RPV, or Unmanned Aircraft System (UAS)) is an aircraft that flies without a human crew on board the aircraft.
นี่คือภาพเครื่องบินตรวจการณ์ไร้มนุษย์ ของกองทัพอากาสสหรัฐฯ อังกฤษ และเยอรมัน
กองทัพบกไทย ไปซื้อบอลลูน ใช้ตรวจอากาศ ใช้โฆษณาสินค้า มาใช้ได้งานราชการลับได้อย่างไร?? หรือว่า ทุกวันนี้ กองทัพ ยังใช้ช้าง ม้า ลา ง้าว ดาบ หอก ปืนแก๊ป กระสุนดินดำ ฯลฯ กันอยู่EDWARDS AIR FORCE BASE, Calif. - The first 17 members of ACC are being trained by Edwards' testers to learn how to fly the Global Hawk unmanned aerial vehicle. Training has been ongoing here for the past few months and is projected to be complete by midsummer. A MQ-9 Reaper, a hunter-killer surveillance UAV used by the United States Armed Forces and British Armed Forces, especially in Iraq and Afghanistan A Rheinmetall KZO of the German Army, used for target acquisition and reconnaissance
|
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 08:47:54 » |
|
หุหุ
|
|
|
|
TAE2540
Full Member
ไม่มีคำว่าสายเสียแล้ว สำหรับความรักที่แท้จริง
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2540
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 507
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 17:18:21 » |
|
กองทัพเค้าคิดดี คิดถูก เราคิดผิด
หรือพวกเราคิดถูก คิดดี แต่กองทัพหง่าวเกินที่จะคิดดี คิดถูก
ว้าา !! ทำไมมันไม่ค่อยเมกเซนต์เลย คิดอะไรของพวกท่านนี่ ทหารๆ ทั้งหลาย เรียนมาตั้งมากมาย คิดได้ตั้งขนาดนี้...
|
|
|
|
Pae
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 11:33:10 » |
|
ขี่ช้าง จับตั๊กแตน
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 18:05:00 » |
|
เป็น ตัวอย่างหนึ่่งของ เรื่อง โง่ ในวงจรอุบาทว์ จน-โง่-เจ็บ
ที่พวกเราที่มีสิทธิ 1 เสียงในระบอบประชาธิปไตย ต้องตรวจสอบ
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 12:48:04 » |
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553, 10:51:59 » |
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553, 14:50:52 » |
|
เฉพาะ"บอลลูน"แพงกว่า ร่วม 200 ล้านบาท เติมฮีเลียมสุดแพง ครั้งละ 3 ล้านบาท แวดวงธุรกิจเรือเหาะตั้งข้อสงสัย "สกาย ดรากอน" ของกองทัพบกส่อแพงเกินจริง อาจเป็นการซื้อของมือสอง เหตุสั่งซื้อเดือนเม.ย. ได้ของใน 2 เดือน ทั้งที่กระบวนการสั่งผลิตลำใหม่ใช้เวลาเกือบปี ส่วนบอลลูนยักษ์ของ "แอร์ชิพ เอเซีย" ที่นำเข้ามาก่อนหน้า ขนาดใกล้เคียงกัน ราคาแค่ 30 กว่าล้าน แต่ของทหารเฉพาะตัวบอลลูน 260 ล้าน แพงกว่า 8 เท่า ด้าน กอ.รมน.ภาคที่ 4 ยอมรับป่านนี้ยังใช้งานไม่ได้
โดยที่ยังคงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของโครงการจัดซื้อ "เรือเหาะตรวจการณ์" เพื่อใช้ในภารกิจแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลถึงราคาเรือเหาะที่แพงเกินจริง เพราะบริษัท กันตนา กรุ๊ป ซื้อมาถ่ายทำภาพยนตร์ในราคาเพียง 30 ล้านบาท แต่ขายต่อให้กองทัพบกในราคาถึง 350 ล้านบาท แต่ต่อมาผู้บริหารบริษัทกันตนาฯ ออกมาชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง เพราะทางบริษัทเช่าบอลลูนมาจากบริษัทแอร์ชิพ เอเซีย นั้น
ล่าสุดพบข้อมูลว่า กองทัพบกโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในฐานะที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ใช้งบประมาณจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ ไม่ได้ซื้อเรือเหาะต่อจากบริษัทกันตนาฯ หรือบริษัทแอร์ชิพ เอเซีย แต่ทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทเอเรียล อินเตอร์เนชันแนล คูเปอเรชัน (Arial International Cooperation) โดยเรือเหาะลำนี้ผลิตโดยบริษัท Worldwide Aeros Corp. ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่น Aeros 40D S/N 21 หรือ สกาย ดรากอน (SKY DRAGON)
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตจากบุคคลในแวดวงธุรกิจเรือเหาะว่า ราคาเรือเหาะที่กองทัพจัดซื้อน่าจะแพงเกินไป เพราะเรือเหาะของบริษัทแอร์ชิพ เอเซีย ที่นำเข้าและจดทะเบียนก่อนที่กองทัพจะจัดซื้อ และมีขนาดใกล้เคียงกับเรือเหาะ สกาย ดรากอน นั้น มีราคาเพียง 30-35 ล้านบาทเท่านั้นเอง
"เรือเหาะที่มีขนาดใกล้เคียงกับที่กองทัพจัดซื้อมากที่สุด คือเรือเหาะลำที่บริษัทแอร์ชิพ เอเซีย นำเข้ามา โดยมีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ ราคาราว 30-35 ล้านบาทเท่านั้น"
เฉพาะ"บอลลูน"แพงกว่าร่วม 200 ล้าน แหล่งข่าวซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจเรือเหาะ อธิบายต่อว่า เรือเหาะของบริษัทแอร์ชิพ เอเซีย มีขนาดยาว 34 เมตร ขณะที่ของกองทัพ ตามสเปคที่นำเสนอสู่สาธารณะก่อนหน้านี้ มีขนาดยาว 47.35 เมตร ซึ่งก็ถือว่าไม่ใหญ่กว่ากันมากนัก แต่ราคาเฉพาะตัวบอลลูนกลับสูงถึง 230-260 ล้านบาท
"เรือเหาะ 1 ลำ มีองค์ประกอบ 2 ส่วนหลักๆ คือ ตัวบอลลูน กับส่วนที่เป็นห้องนักบินติดเครื่องยนต์ ซึ่งเรือเหาะทุกลำจะมีเหมือนกันหมด ส่วนกล้องตรวจการณ์จะเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จากเอกสารที่กองทัพเคยเปิดเผยออกมาระบุว่าเฉพาะตัวเรือบอลลูนมีราคา 260 ล้านบาท แต่เท่าที่ผมทราบในวงการที่พูดกันคือ 230 ล้านบาท ก็เท่ากับแพงกว่าเรือเหาะของแอร์ชิพ เอเซีย ถึง 200 ล้าน จึงมีเสียงวิจารณ์กันในหมู่คนที่รู้เรื่องเรือเหาะว่า ทำไมถึงเอากำไรกันมากมายขนาดนี้"
เติมฮีเลียมสุดแพงครั้งละ 3 ล้าน
แหล่งข่าวคนเดิม ยังให้ข้อมูลอีกว่า กระบวนการผลิตบอลลูนของเรือเหาะแต่ละลำไม่ค่อยต่างกันนัก หรือจะเรียกว่าเหมือนกันทั้งโลกก็ว่าได้ เพราะบอลลูนที่ได้มาตรฐานสากลแทบจะผลิตจากแหล่งเดียวกันหมด คือชั้นในเป็นตาข่ายป้องกันอะตอมก๊าซฮีเลียมรั่ว ส่วนชั้นนอกโดยมากเป็นสีครีม เพื่อป้องกันรังสียูวี ไม่ให้เกิดความร้อนจนทำให้ฮีเลียมขยายตัวเร็ว
"บอลลูนลอยได้เพราะอัดก๊าซฮีเลียมเข้าไป ส่วนเครื่องยนต์ที่ติดอยู่กับห้องนักบินจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้บอลลูนเดินหน้าช้าหรือเร็ว ขณะที่แพนหางเป็นตัวบังคับขึ้นและลง ก๊าซฮีเลียมนั้นเติมกันครั้งละ 7-8 แสนบาท แต่ของกองทัพได้ข่าวว่าเติมครั้งละ 3 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเพราะอะไรถึงแพงกว่าที่ควรจะเป็น"
สงสัย ทบ.ซื้อเรือเหาะมือสอง จากข้อมูลค่อนข้างชัดเจนว่า เรือเหาะของกองทัพไม่ได้ซื้อต่อจากบริษัทในประเทศ แต่ในวงการธุรกิจเรือเหาะก็ยังตั้งข้อสงสัยว่า เป็นเรือเหาะที่ผลิตขึ้นใหม่จริงหรือไม่
"การผลิตเรือเหาะแต่ละลำ จะต้องมีการขึ้นทะเบียนว่าผลิตปีไหน อย่างไร เรือเหาะที่กองทัพบกซื้อ ถ้าเป็นของใหม่จริงต้องมีหลักฐานการขึ้นทะเบียน ถ้าไม่ใช่ของใหม่ก็ตรวจสอบได้ ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยก็เพราะการสั่งซื้อเรือเหาะแต่ละลำต้องใช้ระยะเวลาในการผลิต สั่งแต่ละครั้งเกือบหนึ่งปี แต่กองทัพบกมีเวลาเพียงพอแค่ไหนที่จะผลิตของใหม่ หรือใหม่เฉพาะเครื่องยนต์" แหล่งข่าวกล่าว
แต่หากไม่ได้จัดซื้อของใหม่ จะส่งผลถึงอายุการใช้งาน เพราะเรือเหาะใหม่แต่ละลำมีอายุการใช้งาน 5-7 ปี ส่วนห้องนักบินมีอายุมากกว่า ฉะนั้นหากไปซื้อต่อมือสองมา ราคาที่จัดซื้อก็จะยิ่งแพง เนื่องจากอายุใช้งานจะสั้นกว่าที่ควรจะเป็น
เรือเหาะตรวจการณ์ได้รับอนุมัติจัดซื้อจากรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2552 และมีการลงนามจัดซื้อระหว่างกองทัพบกกับบริษัทเอเรียล อินเตอร์เนชันแนล คูเปอเรชัน เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ปีเดียวกัน จากนั้นเรือเหาะก็ถูกส่งถึงท่าอากาศสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2552
กอ.รมน.ยอมรับระบบยังไม่พร้อมใช้งาน
สำหรับข้อมูลจำเพาะของเรือเหาะลำนี้ คือรุ่น Aeros 40D S/N 21 (SKY DRAGON) ผลิตโดยบริษัท Worldwide Aeros Corp. ประเทศสหรัฐอเมริกา ขนาดกว้าง 34.8 ฟุต (10.61 เมตร) ยาว 155.34 ฟุต (47.35 เมตร) สูง 48/3 ฟุต (13.35 เมตร) ความจุฮีเลียม 100,032 ลูกบาศก์ฟุต (2,833 ลูกบาศก์เมตร) ระยะความสูงที่สามารถปฏิบัติงานได้ 0 -10,000 ฟุต (0-3,084 เมตร) ระยะความสูงปฏิบัติการ 3,000-5,000 ฟุต ความเร็วสูงสุด 88 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วเดินทาง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เครื่องยนต์ 2 คูณ 125 HP 4-Cylinder, Continental IO-240 B ความจุเชื้อเพลิง 76 แกลลอน (300 ลิตร) บินได้นาน 6 ชั่วโมง
เกณฑ์การสิ้นเปลือง ณ ความเร็วสูงสุด 50 ลิตรต่อชั่วโมง ระยะทางที่บินได้ไกลสุด ณ ความเร็วสูงสุด 560 กิโลเมตร ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ 100 LL Grade Aviation Fuel ความจุห้องโดยสาร 4 นาย (นักบิน 2 นาย ช่างกล้อง 1 นาย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 1 นาย)
ทั้งนี้ หลังจากเรือเหาะถูกส่งถึงประเทศไทย ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่จากกองทัพบกไปฝึกการใช้งานเรือเหาะตรวจการณ์กับทางบริษัทผู้ผลิต และได้มีการก่อสร้างโรงจอดที่กองพลทหารราบที่ 15 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อโรงจอดสร้างเสร็จ จึงเคลื่อนย้ายเรือเหาะไปไว้ที่โรงจอดดังกล่าวตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และเริ่มทดลองใช้ ทว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถตรวจรับและใช้งานจริงได้
พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) กล่าวว่า ขณะนี้เรือเหาะยังไม่พร้อมใช้งาน แต่เมื่อพร้อมใช้งานจริงจะมีระบบเชื่อมสัญญาณระหว่างตัวเรือเหาะกับภาคพื้นทั้งหมด 30 จุด ทั้งหน่วยเฉพาะกิจต่างๆ ในพื้นที่ และกองบัญชาการกองทัพบก แต่ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งยังไม่เรียบร้อย
ที่มา: http://www.suthichaiyoon.com/detail/1037
|
|
|
|
|