สมัยประมาณปี 34 จบ ใหม่ๆ ตอนนั้นยังทำงานที่ บมจ. ล็อกซ์เลย์ ของเฮียธงชัย ล่ำซำ ศิษย์เก่า วิทยา จุฬาฯ
สิงคโปร์ ... เป็นประเทศแรก ที่ผมได้รับความรู้ เพิ่มเติม เรื่องการจัดการน้ำ ... โดยเข้าร่วมประชุม สัมมนา เชิงปฏิบัติการ ร่วมกับ ไต้หวัน มาเลเซีย ฯลฯ
ราวๆ ปี 36-37 มาเลเซีย ขอมาดูงานที่นิคมฯ
ไปสิงคโปร์ ครั้งล่าสุด ... เมื่อรับเชิญไปบรรยายให้กับ WiMAX Forum Asia ปีที่แล้ว ... เมษาฯ ปีนี้ก็จะไปบรรยายเรื่อง 4G ที่ไต้หวัน ในขณะที่ 3G บ้านเรายังฝุ่นตลบไปกันไม่ถึงไหน ไม่เป็นไร ถือว่า ช่วยกันพัฒนาโลก
(
http://asia.wimax-vision.com/ )
---------------------------------------------
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4444.0.htmlสิงคโปร์ สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่ง
เพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ 33 ปีก่อนได้พิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า
การปฏิรูปการศึกษา คือกลไกสำคัญที่จะสร้างศักยภาพของชาติให้สามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นประเทศเดียวที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในยุคเศรษฐกิจถดถอยของเอเชีย
จากประเทศเล็ก ๆ ที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพคือกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผู้นำของสิงคโปร์ได้ทุ่มเทงบประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา และดำเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก
ผลจากการปฏิรูปการศึกษา ทำให้การศึกษาของสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับว่ามีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ในจำนวนประชากรที่มีอัตราการรู้หนังสือ 91.3 % นั้น ร้อยละ 47.2 จะรู้สองภาษาหรือมากกว่า ในด้านศักยภาพการแข่งขัน นักเรียนมัธยมศึกษาของสิงคโปร์สามารถทำคะแนนได้เป็นที่ 1 ของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง และมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานระดับกลางที่มีทักษะฝีมือดีที่สุดในเอเชีย ประชากรมีรายได้ต่อหัวปีละ 26,400 เหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี เป็น 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำของโลกที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยมาใช้อย่างกว้างขวาง และเมื่อ เร็ว ๆ นี้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา
ยุทธศาสตร์และความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์กำลังก้าวสู่การปฏิรูปการศึกษาที่มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ก้าวหน้าท้าทาย มิติใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ที่สำคัญมีดังนี้
1) การปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ "เทคโนโลยีสารสนเทศ 2000 : วิสัยทัศน์การเป็นเกาะแห่งอัจฉริยะ" (IT 2000 : A Vision of an Intelligent Island) โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์ IT 2000 หรือ "IT 2000 Masterplan" ซึ่งกำหนดเป้าหมาย พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ส่งเสริมกลไกทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงสังคมทั้งในระดับชาติและระดับโลก และส่งเสริมศักยภาพของบุคคล โดยมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National IT Committee) และคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Computer Board) หรือ NCB เป็นองค์กรสำคัญในการปฏิรูปดังกล่าว
2) การปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้สิงคโปร์ เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดแผนเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Technology Plan : NTP) เพื่อสร้าง "Singapore Technology Corridor" ให้เป็นที่ตั้งสถาบันและศูนย์การวิจัยและพัฒนา แหล่งอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าสูงทางเทคโนโลยี และสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบในการดำรงชีวิต จัดตั้ง Science Park เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มี Technology Month เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมในการวิจัยและพัฒนา โดยมีการมอบรางวัลเกียรติยศระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่บุคคลและภาคธุรกิจ เอกชน นอกจากนั้น ยังกำหนดแผนพัฒนาสังคม โดยเน้นการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสร้างความเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ในการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Board) หรือ NSTB เป็น องค์กรสำคัญ
3) การปฏิรูปนวัตกรรม ได้ส่งเสริมนักนวัตกรรมเพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ กำหนดแผนพัฒนานวัตกรรม (Innovation Development Scheme) และแผนให้ความช่วยเหลือนักนวัตกรรม (Innovator’s Assistance Scheme : IAS) ในการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ จัดตั้งสมาคมนักนวัตกรรม (Innovators’ s Club) และศูนย์นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Center for Strategic Process Innovation : CSPI) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดฝึกอบรมโดยนำนวัตกรรมต่าง ๆ ไปใช้ เพื่อให้องค์กรปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ในการส่งเสริมนวัตกรรมมี NSTB เป็นผู้วางแผนดำเนินงานและให้การสนับสนุน
4) การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (Skill Development) ได้กำหนดแผนสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนจัดฝึกอบรมให้แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานโดยรัฐให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือด้านงบประมาณ และให้สถาบันการศึกษาทางเทคนิค (Institute of Technical Education : ITE) ร่วมกับภาคธุรกิจจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับความรู้และทักษะฝีมือแรงงาน
5) การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) หรือ NUS ได้พัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2000 จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการวิจัย
NUS ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย และผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 5% แรกของสถาบันยอดเยี่ยมของโลก สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) หรือ NTU ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการศึกษาระดับนานาชาติ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 NTU ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ NTU ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 สถาบันเทคโนโลยียอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ส่วนสถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Institute of Education : NIE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NTU ก็มุ่งสร้างความเป็นเลิศในการวิจัยการศึกษา โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เรียกว่า "NIE Center for Educational Research : NIECE" และศูนย์ผู้บริหารที่เรียกว่า "Principals’ Education Center" เพื่อให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาวิชาชีพครูและผู้บริหารโรงเรียนในระดับนานาชาติ
*** เงื่อนไขความสำเร็จ วิสัยทัศน์ผู้นำ นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญลำดับแรกที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองอนาคตได้อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาได้ตรงจุด