ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:13:30 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #51 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:14:09 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #52 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:14:57 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #53 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:16:03 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #54 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:17:14 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #55 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:18:17 » |
|
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:21:40 » |
|
คลองด่าน .. เกี่ยวไหมคะ ??
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #57 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:23:47 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #58 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:24:22 » |
|
เกือบเกี่ยวครับ ... แต่พอจะเกือบเกี่ยว ก็ถอยดีกว่า เลยไม่เกี่ยว ^_^
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #59 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:27:48 » |
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #60 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 07:27:21 » |
|
ขอบคุณครับ น้องหะยี และ ดร. มนตรี ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น และนำสิ่งที่มีประโยชน์ มาแบ่งปันให้ชาวซีมะโด่งโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี แนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร
1. มาตรการด้านการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
1.1 การแก้ไขปัญหาระยะสั้น เป็นการดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ และเร่งแก้ไขปัญหาน้ำเสียเฉพาะจุดในระยะเวลาอันสั้น จึงมีการก่อสร้างโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำขนาดเล็ก
1. โรงควบคุมคุณภาพน้ำอ่อนนุช 2. โรงควบคุมคุณภาพน้ำพระราม 9
นอกจากนี้ สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ ยังมีโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำขนาดเล็กที่ได้รับโอนจากการเคหะแห่งชาติ จำนวน 12 แห่ง 1. โรงควบคุมคุณภาพน้ำห้วยขวาง 2. โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางนา 3. โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองจั่น 4. โรงควบคุมคุณภาพน้ำรามอินทรา 5. โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 1 6. โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 2 7. โรงควบคุมคุณภาพน้ำหัวหมาก 8. โรงควบคุมคุณภาพน้ำท่าทราย 9. โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองเตย 10. โรงควบคุมคุณภาพน้ำร่มเกล้า 11. โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางบัว 12. โรงควบคุมคุณภาพน้ำบ่อนไก่
1.2 การแก้ไขปัญหาระยะยาว มาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาว เป็นการดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ โดยใช้แผนหลักการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครเป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติ โดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เอื้ออำนวยให้มีการก่อสร้าง โดยจะรวบรวมน้ำเสียจากชุมชน เข้าสู่โรงบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่คูคลอง และแม่น้ำจ้าพระยา กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม จำนวน 7 พื้นที่ 6 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่รวม 191.7 ตารางกิโลเมตร สามารถบำบัดน้ำเสียโดยรวมได้ทั้งสิ้นประมาณ 992,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้แก่ 1. โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา 2. โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ 3. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ ดินแดง 4. โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี 5. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ หนองแขม 6. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ ทุ่งครุ 7. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ จตุจักร
1.3 แผนการดำเนินงานในอนาคต ได้มีการจัดทำแผนงานการบำบัดน้ำเสียรวมเพิ่มเติมในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 5 (ปี พ.ศ.2545 - 2549) โดยจะดำเนินการก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียรวมอีก 3 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 150 ตารางกิโลเมตร สามารถบำบัดน้ำเสียได้รวม 823,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้แก่
1. โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย 2. โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี 3. โครงการบำบัดน้ำเสียบางซื่อ
2. มาตรการด้านกฎหมาย ได้มีการตรวจสอบ ควบคุม และติดตามคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร สถานประกอบการประเภทต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรมและ สถานที่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีกฏหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพน้ำที่กรุงเทพมหานครได้นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ที่สำคัญ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 2. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 3. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 4. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 5. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ฯลฯ
3. มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์
เนื่องจากปัญหาน้ำเสีย ไม่สามารถแก้ไขได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐบาล เอกชน และประชาชนทั่วไป การประชาสัมพันธ์มีความสำคัญยิ่งต่อการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล และรายงานสถานการณ์ให้ทุกฝ่ายได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในปัญหาน้ำเสีย และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาน้ำเสีย กิจกรรมประชาสัมพันธ์เรื่องปัญหาและการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เป็นกิจกรรมที่สำนักการระบายน้ำดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยลำพัง และได้รับการส่งเสริมมากยิ่งขึ้น เมื่อปัญหาน้ำเสียทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การประชาสัมพันธ์เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่ได้ดำเนินการมาแล้ว ได้แก่ 1. จัดทำเอกสาร และสื่อประชาสัมพันธ์ ประเภทต่างๆ เช่น โปสเตอร์ วีดีโอ แผ่นปลิว แผ่นพับ และเอกสารทางวิชาการต่างๆ ในเรื่องมลพิษทางน้ำ กฏหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมลพิษ วิธีการบำบัดน้ำเสีย และผลกระทบของปัญหาน้ำเสีย (เอกสารขอรับได้ที่กลุ่มงานวิเคราะห์คุณภาพน้ำ สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ) และข้อมูลคุณภาพน้ำและคุณภาพน้ำตะกอนน้ำเสียของแหล่งน้ำสาธารณะและแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินระบบบำบัดน้ำเสีย ค่าใช้จ่ายการเดินระบบบำบัดน้ำเสียและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร และการจัดเก็บค่าธรรมเนียม และกลุ่มงานระบบข้อมูลและบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียม สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ 2. การให้บริการทางวิชาการในรูปของการเข้าร่วมสัมมนา บรรยายทางวิชาการ ต้อนรับผู้ดูงาน สนับสนุนข้อมูล และเอกสารวิชาการ แก่นักศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ 3. เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในรูปการแสดงนิทรรศการในที่ต่าง ๆ 4. ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่นปลูกฝังทัศนคติให้เยาวชนรัก และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 5. ดำเนินการฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้ให้แก่เจ้าของหรือผู้ดูและระบบบำบัดน้ำเสีย และเจ้าของสถานประกอบการรวมทั้งนักเรียน นักศึกษา ครู ประชาชนทั่วไป และเจ้าหน้าที่ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ที่มา :http://dds.bangkok.go.th/factory.htm
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #61 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 07:54:39 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #62 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 08:29:46 » |
|
http://www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=RDG4540031การศึกษาเรื่องการศึกษากับการสร้างจิตสำนึก : กรณีคลองแสนแสบ มีที่มาจากการที่นักวิจัยได้ร่วมงานพัฒนากับชมรมรวมใจภักดิ์รักษ์ต้นไม้ แม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อม โดยมี ดร.โกวิท วรพิพัฒน์เป็นประธานชมรมในช่วงแรก เริ่มงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ณ คลองแสนแสบย่านมีนบุรีและหนองจอกที่มีปัญหาหลักคือผักตบชวาแน่นเต็มคลองและมีการทิ้งของเสียลงคลองการรณรงค์ต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากคลองมากขึ้นทั้งในด้านการอุปโภคและการสัญจร อย่างไรก็ตามพบว่าชาวบ้านยังมีพฤติกรรมทิ้งของเสียลงคลองและเมื่อหน้าฝนน้ำจะชะล้างผืนนาที่มีสารพิษจากยากำจัดศัตรูพืชลงคลองทำให้ระบบนิเวศน์ในคลองเสียไป ดังนั้นหากไม่มีการสร้างจิตสำนึกใดๆคลองแสนแสบบริเวณรอบนอกที่ยังมีสภาพดีอยู่คงจะเสียในไม่ช้า
หากมีการใช้เป็นบทเรียนแก่แหล่งน้ำอื่นที่ยังสามารถรักษาไว้ไม่ให้เน่าเสียจนยากจะเยียวยาเหมือนกรุงเทพฯชั้นในน่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย กล่าวได้ว่าความสำเร็จของชมรมฯที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง ได้แก่ นโยบายภาครัฐต่อการรักษาแหล่งน้ำทั่วประเทศซึ่งเป็นมิติด้านกว้าง แต่ในมิติด้านลึกคือเรื่องของการสร้างจิตสำนึกให้รักษาแหล่งน้ำในที่นี้คือคลองแสนแสบยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้สามารถเติมเต็มในส่วนที่ขาด ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบให้เยาวชนและชาวบ้านผ่านการศึกษาที่เกิดขึ้นในชุมชนริมคลองแสนแสบ
วัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ ศึกษากระบวนการถ่ายโอนภูมิปัญญาในการรักษาคลองแสนแสบจากชุมชนกมาลุลอิสลามสู่ชุมชนศาลาแดง ศึกษากระบวนการทำหลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบ ศึกษากระบวนการสร้างความตระหนักในปัญหาคลองแสนแสบและการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบอย่างยั่งยืน และศึกษามิติอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลอง และหลักสูตรท้องถิ่น โดยจะทำการศึกษาที่ชุมชนศาลาแดง หมู่ 5 เขตหนองจอก และหมู่ 9 เขตกระทุ่มราย ใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี คือ ตั้งแต่ 15 มกราคม 2545- 15 มกราคม 2546
แนวคิดที่ใช้ศึกษาได้แก่ แนวคิดแบบองค์รวมกับการสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมกระบวนการทางวัฒนธรรมและศาสนากับการรักษาคลองแสนแสบ คลองแสนแสบกับบริบทที่เกี่ยวข้อง กระบวนเรียนรู้ของชุมชนกับหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งแนวคิดทางด้านการศึกษาใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้แบบพุทธิปัญญาและการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม การบูรณาการวิชา และการศึกษาปัจจัยเงื่อนไขของการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ ปัจจัยนำเข้าได้แก่สภาวะพื้นฐานของโรงเรียนและชุมชนผ่านกระบวนการของการทำหลักสูตรท้องถิ่นในเด็ก การศึกษาดูงานในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบอย่างยั่งยืน เป็นที่มาของคำถามหลักในการวิจัยที่ว่า กระบวนถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนกมาลุลอิสลามกับชุมชนศาลาแดงมีการขับเคลื่อนอย่างไรและได้ผลอย่างไร หลักสูตรท้องถิ่นของชุมชนศาลาแดงที่ร่วมกันทำระหว่างครูกับชาวบ้านมีลักษณะใดจะช่วยแก้ปัญหาคลองแสนแสบได้มากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะให้ชาวชุมชนศาลาแดงตระหนักในปัญหามลพิษในคลองแสนแสบและเกิดจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบให้มีสภาพดีอย่างยั่งยืน มิติด้านอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้เรื่องจิตสำนึกในการรักษาคลองหรือไม่ และส่งผลต่อหลักสูตรท้องถิ่นอย่างไรระเบียบวิธีในการวิจัยที่ใช้เป็นเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เชิงปริมาณได้แก่ การตรวจคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบและการประเมินผลทัศนคติของนักเรียน อาจารย์และชาวบ้านต่อหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมงานวิจัยต่างๆ
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เป็นแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ที่นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมกับโรงเรียนและชุมชนเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบทั้งในรูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมอื่นๆที่มีในชุมชน ผ่านวิธีวิจัย ประการแรกเป็นการสัมภาษณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประการที่สองเป็นการสังเกตโดยตรงและแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีกรอบการสังเกตคือ ฉาก พฤติกรรม กิจกรรม ความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมและการให้ความหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกและจัดระบบ รวมทั้งการตีความหมายของข้อมูล การนำเสนอข้อมูลใช้วิธีพรรณนาผลการศึกษาพบว่าการถ่ายโอนภูมิปัญญาระหว่างชุมชนกมาลุลอิสลามมาสู่ชุมชนศาลาแดงยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากเป็นการก้าวข้ามขั้นตอนที่ชุมชนศาลาแดงต้องตระหนักในปัญหาของคลองแสนแสบเสียก่อน แต่ได้มีการวางรากฐานของวิธีคิดในการรักษาคลองแสนแสบผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ชุมชน แลผ่านการบรรยายของอิหม่ามวินัย สะมะอุนแห่งมัสยิดกมาลุลอิสลาม
นอกจากนี้ได้ข้อสรุปว่าภูมิปัญญาในการรักษาคลองแสนแสบของชุมชนศาลาแดงน่าจะระเบิดจากข้างในมากกว่าการรับมาจากภายนอก เนื่องจากมีศักยภาพเพียงพอกระบวนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นภาคเรียนที่ 1/2545 ได้หลักสูตรเรือกับวิถีชีวิตของชุมชนศาลาแดง ซึ่งมี 6 หน่วย ประกอบด้วย เรือกับวิถีชีวิตของชุมชนศาลาแดง ประวัติชุมชนศาลาแดง ประเพณีและการละเล่นพื้นบ้าน กำจัดจุดอ่อนก่อนแข่งเรือ การว่ายน้ำและพายเรือ และ มัคคุเทศก์น้อย ซึ่งเมื่อประเมินผลโดยอาจารย์ประจำหน่วยและนักวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ผลการประเมินอยู่ในระดับดีแทบทุกหน่วย ส่วนข้อเสนอแนะคือควรมีการโยงเข้ากับการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบด้วย ส่วนหน่วยที่อาจารย์ไม่สันทัดเช่นมัคคุเทศก์น้อยได้เปลี่ยนเป็นเกษตรธรรมชาติซึ่งตรงกับความต้องการของชุมชนและความถนัดของอาจารย์
ส่วนกระบวนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นในภาคเรียนถัดมา มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในภาคเรียนที่แล้ว ทดลองการบูรณาการวิชาหลักสูตรท้องถิ่นเข้าสู่วิชาแกน ทดสอบแนวคิดหลักสูตรท้องถิ่นพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อาจารย์สามารถบูรณาการวิชาแกนกับหลักสูตรท้องถิ่นได้ ส่วนการทดลองทำ”หลักสูตรของหนู”ได้จุดประกายให้สังคมได้ขบคิด และได้ท้าทายให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรของหนูให้เป็นจริงในโรงเรียนที่ศึกษารวมทั้งโรงเรียนอื่นๆผ่านทางสื่อมวลชนกระบวนการสร้างความตระหนักในปัญหาคลองแสนแสบและการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบ แบ่งเป็นกิจกรรมของกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ใหญ่ ซึ่งทั้งสองกลุ่มสามารถสร้างการแลกเปลี่ยนพูดคุยในเรื่องการพัฒนาของชุมชนมากขึ้น และทำให้มีจิตสำนึกร่วมในการรักษาคลองแสนแสบมากขึ้นส่วนมิติอื่นๆที่มีผลต่อกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบและหลักสูตรท้องถิ่นพบว่ามีทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ มิติด้านศาสนาและวัฒนธรรม มิติทางด้านการเมืองการปกครอง มิติทางด้านการสื่อสารและมิติทางด้านเศรษฐกิจ
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปคือ พัฒนาแนวคิดหลักสูตรของหนูให้เป็นจริง และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมพลังชมรมเกษตรธรรมชาติหนองจอกและเพื่อสร้างการพัฒนาจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการทางศาสนาและวัฒนธรรมในกลุ่มคนไทยพุทธให้มากขึ้น ฝ่ายการศึกษาสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครชั้นนอก รวมทั้งโรงเรียนที่อยู่ริมคลองแสนแสบ เขตกรุงเทพฯชั้นนอก รวมทั้งโรงเรียนอื่นๆที่มีบริบทใกล้เคียงกันสามารถนำ”วิธีคิด”ในการรักษาแม่น้ำลำคลองผ่านการศึกษาไปปรับใช้ได้ นอกจากนี้เสนอให้ชมรมรวมใจภักดิ์รักษ์ต้นไม้ แม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อม ได้ปรับวิธีการรณรงค์การรักษาคลองแสนแสบด้วยการเสริมสร้างพลังให้โรงเรียนและชุมชนสามารถรักษาคลองแสนแสบด้วยตนเอง โดยในขั้นต้นใช้การหาข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนและชุมชนที่มีศักยภาพ ตามด้วยการเสริมสร้างพลังให้โรงเรียนและชุมชนรักษาคลองแสนแสบด้วยวิธีการที่มีความต่อเนื่อง
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #63 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 11:00:11 » |
|
น้องหะยี โครงการบำบัดน้ำเสีย ยังไม่ทันจะเริ่มเลย โครงการอภิมหาโกงเริ่มก่อนย้อนไปในอดีตเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วได้มีอภิมหาโคตรโกงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนเกี่ยวโยงด้วย โดยได้นำเอาปัญหาน้ำเสียมาบังหน้าซึ่งประเทศไทยได้ประสบปัญหาน้ำเสียมาเป็นเวลานาน โดยน้ำเสียนั้นมาจากหลายปัญหา เช่น การทิ้งขยะลงแม่น้ำ การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในแม่น้ำ นักการเมืองเหล่านี้ได้อาศัยช่องโหว่ของการจัดตั้งระบบบ่อบำบัดน้ำเสียโกงกินเงินประเทศกัน
โครงการบำบัดน้ำเสียนี้อาจถือได้ว่าเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่เคยก่อสร้างขึ้นในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย โดยเมื่อก่อสร้างในระยะแรกแล้วเสร็จจะสามารถบำบัดได้ในอัตราวันละ 525,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทั้งนี้เมื่อโครงการดำเนินจนถึงระยะสุดท้ายจะสามารถบำบัดได้ถึง 1,785,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2538 ให้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย 2 ฝั่ง โดยฝั่งตะวันตกให้ก่อสร้างที่ ต.บางปลากด ส่วนฝั่งตะวันออกให้ก่อสร้างที่ ต.บางปูใหม่ ในวงเงินลงทุน 13,612 ล้านบาท
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมีการเสนอให้ยุบรวมระบบบำบัดน้ำเสียจาก 2 ฝั่ง ให้เหลือเพียงฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการประหยัดการลงทุนเกี่ยวกับค่าที่ดินและง่ายต่อการบำรุงรักษาประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนได้มีการเสนอให้ใช้ที่ดินบริเวณ ต.คลองด่าน
ซึ่งเดิมได้ให้กรมโยธาธิการก่อสร้างฝั่งตะวันตกและกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้างในฝั่งตะวันออกหลังมีมติใหม่ออกมาได้มีการแต่งตั้งให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ก่อสร้างเพียงฝ่ายเดียว โดยให้ประสานแผนงานกับกรมโยธาธิการและกรมอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นระบบที่ประหยัดที่สุด
เดิมที่ดินตั้งอยู่หมู่ 11 ต.คลองด่าน ด้านทิศใต้ ถนน สุขุมวิท บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 58 พื้รที่เป็นดินเลน เป็นที่ลุ่มชุ่มน้ำ น้ำทะเลท่วมถึง ใบเอกสารที่ดินในบริเวณพื้นที่ที่มีผู้ถือครองเป็นใบ สค. 1 กว่า 90% ที่เหลือเป็นใบ น.ส. 3 การใช้ประโยชน์ในที่ดินชาวบ้านใช้ปลูกไม้โกงกางและไม้แสมที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติ และส่วนหนึ่งขุดบ่อเลี้ยงกุ้งธรรมชาติ ไม่มีบ้านเรือนราษฎรปลูกอาศัยในบริเวณพื้นที่มาก่อน จะมีเพียงกระต๊อบเล็กของชาวบ้านปลูกไว้เฝ้าบ่อกุ้งอยู่ห่างกันเพียงไม่กี่หลัง สภาพพื้นที่เป็นป่าชายเลนติดกับทะเล
การจัดซื้อที่ดินสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านมีเงื่อนงำหลายประการ ประการแรก คือ มีการเปลี่ยนที่ก่อสร้างโครงการที่ ต.บางปลากด กับ ต.บางปูใหม่ เป็นที่ ต.คลองด่าน ทำให้ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเข้าทางปืนกลุ่มธุรกิจการเมืองที่ต้องการขายที่ดินของตนเอง ประการที่สอง คือ ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าชายเลนและเป็นเขตป่าอนุรักษ์จึงไม่สามารถออกโฉนดได้ เมื่อกลุ่มบริษัทการค้าผู้รับเหมา(NVPSKG)ซื้อที่ดินเสร็จก็โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กรมควบคุมมลพิษเพื่อรับเงินค่าที่ดินจำนวน 1,956 ล้านบาท ประการที่สาม คือ ที่ดินมีราคาสูงกว่าปกติเพราะสำนักที่ดินจังหวัดสมุทรปราการประเมินราคาที่ดิน 17 แปลง ในราคาไร่ละ 480,000 บาท แต่กลับมาย้อมแมวขายในราคาไร่ละ 1.03 ล้านบาท ประการที่สี่ คือ การอนุมัติงวดเงินเพื่อจัดซื้อโดยมิชอบ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินจำนวนที่มากกว่าเดิมในการซื้อที่ดินถึงเท่าตัว ทั้งๆที่เดิมบอกไว้ว่าเป็นการประหยัดขึ้นในการสร้างที่เดียว ประเด็นที่ห้า คือ การเลือกผู้รับจ้างเป็นบริษัทรับเหมาของนักการเมืองกันเอง จำนวนหลายบริษัทอาทิเช่น บริษัทสี่แสงการโยธา(1979) จำกัด บริษัทประยูรวิศว์การช่าง จำกัด
บริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้ได้แก่ กลุ่มผู้รับเหมา(NVPSKG)โดย N คือ บริษัทนอร์ธเวส วอเตอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(ของอังกฤษ) ,V คือ บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด(ของนายพิษณุ ชวนะนันท์) , P คือ บริษัทประยูรวิศว์การช่าง จำกัด(ของตระกูลลิปตพัลลภ) , S คือ บริษัทสี่แสงการโยธา(1979) จำกัด(ของนายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล ซึ่งแนบแน่นกับ นายบรรหาร ศิลปอาชา) , K คือ บริษัทกรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด(นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล หลานของนายวิจิตร ชวนะนันท์) , G คือบริษัทเกตเวย์ ดิเวลลอปเมนต์ จำกัด(คนอยู่ในบริษัทคลองด่านมารีน แอนด์ ฟีชเชอร์รี จำกัด) นอกจากนี้ยังมีบริษัทไทยเรืองอุตสาหกรรม(คือการรวมตัวกันของบริษัท VSK) บริษัทปาล์มบีช ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด(นายวัฒนาและนายสมพร อัศวเหม และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นผู้ถือหุ้น) บริษัทคลองด่านมารีน แอนด์ ฟีชเชอร์รี จำกัด(ของนายอิศราพร ชุตาภา)และได้มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องคือกรมควบคุมมลพิษสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนยีและสิ่งแวดล้อม
ความเชื่อมโยงของกลุ่มนี้เริ่มจาก นายวัฒนา อัศวเหมได้ซื้อที่จากประชาชนในราคาไร่ละ 20,000 บาทในนามบริษัทเหมืองแร่ลานทอง จำกัด จำนวนหนึ่งและได้ขายที่ดินให้บริษัท ปาล์มบีชในราคาไร่ละ 100,000 กว่าบาท และได้กว้านซื้อพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อนำไปทำเป็นสนามกอล์ฟ จากนั้น บ.ปาล์มบีชได้ขายต่อให้บริษัทคลองด่านในราคาไร่ละ 200,000 กว่าบาท จากนั้นบริษัทคลองด่านได้ขายต่อให้บริษัทผู้รับเหมา(NVPSKG)ในราคาไร่ละ 400,000 กว่าบาทและได้ขายต่อให้กับกรมควบคุมมลพิษในที่สุด โดยขายในราคาไร่ละ 1 ล้านกว่าบาท รวมทั้งหมด 1,903ไร่ ซึ่งราคาจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเปลี่ยนมือผู้ถือโฉนดจากราคาไร่ละ 20,000 บาท เป็นไร่ละ 1 ล้านกว่าบาท ทำให้สูญเสียค่าที่ดินไปเป็นจำนวนเงิน 1,956 ล้านบาท จากเดิมค่าที่ดินประเมินเอาไว้ที่ 900 ล้านบาทจากนั้นบริษัทไทยเรืองอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตท่อบำบัดน้ำเสียซึ่งบริษัทไทยเรืองอุตสาหกรรมเป็นบริษัท(VSK)รวมตัวกันและบริษัทผู้รับเหมา(NVPSKG)เป็นผู้ดำเนินการสร้าง หลังจากเปลี่ยนมติให้ก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านแทนเป็นเหตุให้ต้องเพิ่มงบประมาณจากเดิม 12,866 ล้านบาท เป็น 22,955 ล้านบาท โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากค่าก่อสร้างท่อเพื่อรวบรวมน้ำเสียจากฝั่งตะวันตกมาบำบัดที่ฝั่งตะวันออก และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการวางท่อเพื่อระบายน้ำทิ้งลงในอ่าวคลองด่าน และเพื่อเป็นค่าซื้อที่ดินสำหรับที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย
เดิมการซื้อขายเปลี่ยนมือราคาที่ดินในบริเวณพื้นที่ที่ใช้สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเรียงตามลำดับ พ.ศ. มีดังนี้ วันที่ 29 เม.ย. 2503 ได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ส.ค. 1 เลขที่180/98 ระหว่างนายสังวรณ์ จั่นเพชร กับ นายปุย นางสุชิน โห้ประไพ ผู้ซื้อในราคาไร่ละ 200 บาท จำนวน 37 ไร่ วันที่ 28 มิ.ย. 2517 นายปุย นางสุชิน โห้ประไพ ได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวขายยกแปลงให้กับ นายสมศักดิ์ ชนสารสินป์ ในราคา 245,375 บาท ตกราคาประมาณไร่ละ 6,578 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2531 นายวัฒนา อัศวเหม ก็ได้ซื้อที่ดินในบริเวณพื้นที่หมู่ 11 ต.คลองด่านไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2531-2533บริษัทปาล์มบีชได้กว้านซื้อพื้นที่บริเวณหมู่ 11 ต.คลองด่านโดยเป็นพื้นที่ที่ใช้บำบัดน้ำเสียที่คลองด่านในปัจจุบันและได้ทำกันเป็นกระบวนการต่อไปเรื่อยๆ
นอกจากเรื่องที่ดินและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขแล้ว การเลือกตั้งพื้นที่บริเวณ ต.คลองด่านเป็นที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสียและท่อต่อระบายน้ำเสียลงในทะเลบริเวณอ่าวคลองด่านก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน โดยชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านการดำเนินงานตามโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง กระทั่งวุฒิสภาได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามตรวจสอบโครงการนี้ ซึ่งพบประเด็นปัญหาต่างๆคือ 1. ปัญหาทางด้านกฎหมาย 2. ปัญหาทางด้านวิศวกรรม และ 3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เนื่องด้วยตัวทีมงานมีโอกาสได้เข้าไปทำข่าวที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้หยิบยกประเด็นที่น่าสนใจในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจมากเมื่อ 10 ปีที่แล้วมารายงานเหตุการณ์ให้ผู้อ่านได้รับทราบ เพราะทางทีมงานเห็นว่าเป็นข่าวที่มีความน่าสนใจแต่ได้ผ่านมาแล้ว 10 ปี ซึ่งข่าวนี้ยังไม่จบแต่มีความคืบหน้าขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งมีการยื่นเอกสารข้อมูลการทุจริตให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในข้อหาทุจริตเรื่องการจัดซื้อที่ดินเกินราคาจริงมานานหลายปี แต่คดีก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า จนคดีที่ดินจำนวน 6 แปลง หมดอายุความแล้วเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2546 แม้จะดูเหมือนเส้นทางจัดการการทุจริตอภิมหาใหญ่ยักษ์มูลค่า 2.3 หมื่นล้านโครงการนี้ จะส่อแววหาผู้รับผิดไม่ได้ แต่เราก็หวังว่ารัฐจะไม่นิ่งนอนใจที่จะจัดการกับเรื่องนี้ เพราะการปราบปรามทุจริตในวงการรัฐก็เป็นนโยบายหนึ่งที่รัฐบาลชูมาตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาและจะชูไปอีก 4 ปีข้างหน้า หอข่าวฯซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นใหม่จึงฝากความหวังไว้กับผู้ใหญ่ เราจะคอยติดตามว่าเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปยังไง จะจับกุมผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือประเทศไทยจะต้องสูญเปล่าไปกับเงินกว่าสองหมื่นล้านบาทหรือไม่ หรือจะมีทางออกประการใดบ้างนั้น คงต้องติดตามกันดู
หนังสืออ้างอิง 1. เฉลา ทิมทอง (2546) . เปิดโปงโคตรขี้โกงบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน . คำให้การต่อกรม สอบสวนคดีพิเศษ 2. แนวหน้า . เปิดรายงานอภิมหาโคตรโกง . 16 มิถุนายน 2546 3. ศัลยา ประชาชาติ (2546) . มติชนสุดสัปดาห์ . ไอ้ก้านยาวกู้ภาพไอ้ก้านหนุ่มลุยปราบโกงคลองด่าน 2 หมื่นล้านแฉนักการเมือง-ผู้รับเหมาพัวพัน . (น.16) 17 มกราคม 2546 ฉบับที่ 1170 4. มติชนสุดสัปดาห์ . เพลงดาบไอ้ก้านยาวเสียบอัศวเหมทะลุชาติไทย-ชาติพัฒนา สังเวยคลองด่าน . (น.12) 13 มิถุนายน 2546 ฉบับที่ 1191 5. มติชน . สอบสวนพิเศษ เริ่มลุยต่อคลองด่านภาค 3 เตรียมเรียกเลขาฯครม.สอบไม่แก้มติ ครม. . (น.12) 29 มิถุนายน 2546 6. ไทยรัฐ . คดีคลองด่านเจอตอ . (น.19) 27 มิถุนายน 2546
ที่มา: http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/webjrshow/webhorkor47/news_social_1.htm
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #64 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 11:18:24 » |
|
โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านบนความต่อสู้ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ (บทสัมภาษณ์ น.ส.ดาวัลย์ จันทรหัสดี จากสำนักข่าว Master News 14 ตุลาคม 2545) โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน อาจเป็นเรื่องราวที่คนทั่วไปลืมเลือนแล้ว เพราะข่าวคราวที่เงียบหายไปนาน แต่สำหรับชาวบ้าน ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ คงยากที่จะลืม เพราะเกี่ยวพันโดยตรงกับวิถีชีวิตของพวกเขา แม้ว่าที่ผ่านมา ได้มีการยอมรับจากหลายหน่วยงาน ทั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา , คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ รวมทั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เจ้าของเงินกู้ ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการทุจริตและมีผลกระทบด้านลบต่อวิถีชีวิตชุมชนของชาวบ้าน แต่นายกรัฐมนตรีก็ยังสั่งให้ก่อสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จ โดยอ้างว่ามีการเบิกจ่ายงบประมาณในการก่อสร้างที่ตั้งไว้ 23,7000 ล้านบาท ไปเกือบหมดแล้ว และขณะนี้โครงการแล้วเสร็จไปกว่าร้อยละ 94
นางสาวดาวัลย์ จันทรหัสดี ตัวแทนชาวบ้าน ต.คลองด่าน ที่คัดค้านโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน กลับแสดงความไม่เห็นด้วยที่รัฐสั่งให้สร้างต่อโดยระบุว่า “โครงการดังกล่าวก่อสร้างไม่เสร็จถึงร้อยละ 94 ตามที่รัฐบาลอ้าง ความจริงแล้วน่าจะเสร็จเพียงแค่ร้อยละ 60 เท่านั้น เพราะสภาพพื้นที่ของโครงการยังไม่มีการเก็บงาน และวิศวกรของโครงการเอง ได้ไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาว่า โครงการแล้วเสร็จแค่ร้อยละ 65 เท่านั้น หรือถ้าเสร็จจริงตามที่รัฐบาลอ้างก็ควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ส่วนเรื่องงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายไปมากแล้วนั้น อยากถามว่า ถ้าทราบว่ามีการทุจริตก็ยังจะให้มีการเบิกจ่ายกันต่อไปอีกหรือ” พร้อมกันนี้นางสาวดาวัลย์ยังได้แนะนำว่า รัฐควรสั่งหยุดการก่อสร้างประมาณ 7 เดือน เพื่อตรวจสอบโครงการทั้งหมด รวมทั้งงบประมาณในการก่อสร้างด้วย เพราะจากข้อมูลของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ระบุว่า ยังมีเงินเหลือจากการเบิกจ่ายสำหรับโครงการนี้อีกกว่า 9,000 ล้านบาท
“หากรัฐบาลจะดำเนินการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียต่อ ก็ทำไป ชาวบ้านไม่สามารถทำอะไรได้ เพียงแต่ว่าผู้รับเหมาโครงการ จะวางท่อรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ถนนสุขุมวิท กม.57 ไปยังโรงบำบัด รวมระยะทางประมาณ 1.5 กม. ไม่ได้ เพราะชาวบ้านเห็นพ้องต้องกันว่าท่อรับน้ำเสียเปรียบเสมือน “หัวใจ” ของโครงการหากไม่มีท่อก็ไม่สามารถส่งน้ำเสียไปบำบัดได้ ถึงบ่อบำบัดจะสร้างเสร็จ แต่ถ้าท่อรับน้ำไม่เสร็จชาวบ้านก็อยู่ได้ แต่ถ้าท่อเสร็จ วิถีชีวิตของชาวบ้านกว่า 100,000 คน จะถูกทำลาย หากผู้รับเหมาจะวางท่อ คงไม่มีการเจรจา” นางสาวดาวัลย์กล่าว และว่า “แน่จริงให้มันเอาเครื่องมือลง…ถ้ารัฐบาลยังดึงดันเอาชนะชาวบ้านอยู่ จะนำไปสู่ความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะชาวบ้านพยายามอย่างที่สุดที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติทุกอย่างแล้ว” คำถามที่ตามมาคือ แล้ว จ.สมุทรปราการ ควรมีระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่ นางสาวดาวัลย์ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สมควรจะมีอย่างที่สุด แต่ควรตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เกิดมลพิษ หรือในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ หรือไม่ก็ควรสร้างที่บางปูและบางปลากดตามที่ Montgomery & Watsan ได้ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ กลับสร้างที่คลองด่าน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว นอกจากนี้ รัฐยังจัดการน้ำเสียไม่ถูกวิธี กล่าวคือ ไม่ควรนำน้ำเสียของชุมชนมารวมกับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เพราะน้ำเสียชุมชนสามารถบำบัดด้วยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่น้ำเสียจากโรงงานมีโลหะต่างชนิดกัน ซึ่งต้องมีการบำบัดที่แตกต่างกันไป แต่โครงการนี้กลับรับภาระการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดมาเป็นของรัฐ ซึ่งไม่มีใครเขาทำกัน นอกจากนี้ ใน จ.สมุทรปราการ ไม่ควรมีบ่อบำบัดน้ำเสียเพียงแค่แห่งเดียว แต่ในแต่ละชุมชนควรจะมีบ่อบำบัดเป็นของตนเอง รัฐควรกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือมลภาวะให้กับชุมชน
ใช่ว่าจะเอาแต่ค้านอย่างเดียว แต่ชาวบ้านกลับมีทางออกให้รัฐบาลด้วย กล่าวคือ เสนอให้มีการปรับแก้โครงการจากโรงบำบัดน้ำเสียมาเป็นศูนย์วิจัยและแพร่ขยายพันธุ์สัตว์น้ำอ่าวไทยตอนบน และเป็นมหาวิทยาลัยประมง เพราะพื้นที่นี้เหมาะสมมาก โดยนำบ่อบำบัดที่มีก้นบ่อเป็นซีเมนต์ ปรับให้เป็นศูนย์วิจัยสัตว์น้ำจืด บ่อที่มีก้นบ่อเป็นดิน เป็นศูนย์วิจัยสัตว์น้ำกร่อย และทะเลเป็นศูนย์วิจัยสัตว์น้ำเค็ม ถือเป็นการทำทั้ง 3 ด้าน นอกจากนี้ ควรมีแหล่งวิจัยป่าชายเลนและหน่วยเฝ้าระวังของจุฬาฯ ด้วย แนวคิดดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งบ่อบำบัดอาคาร สิ่งก่อสร้างและพื้นที่ในโครงการทั้งหมด สิ่งที่ชาวคลองด่านเสนอมานี้ ใช่เป็นเพียงความคิดที่เป็นไปไม่ได้ หากแต่อ้างอิงหลักวิชาการเรื่องระบบนิเวศน์วิทยา เพราะชาวบ้านสมัยนี้ไม่ได้ใช้กำลังเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการศึกษา มีความรู้ และมีข้อมูลอย่างถูกต้อง โดยได้รับการชี้แนะจากองค์กรเอกชนและข้าราชการที่ทนเห็นการทุจริตไม่ไหว หลายคนมีการศึกษาระดับปริญญาตรี และหลายคนมีความรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งภาครัฐอาจคิดไม่ถึง
จนถึงวันนี้โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านยังดำเนินการก่อสร้างต่อไป ขณะที่ชาวคลองด่านก็เตรียมรับมือสู้กับผู้รับเหมาโครงการ การเผชิญหน้ากันของทั้งสองฝ่ายจะจบลงอย่างไร เป็นคำถามที่ไม่มีใครคาดเดาคำตอบได้
ที่มา: http://www.the-thainews.com/misc/journal/jn141045_1.htm
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก นายวัฒนา อัศวเหม และพวกรวม 10 คน ๆ ละ 3 ปี ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินคลองด่าน ศาลแขวงดุสิต ได้อ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโจทก์ยืนฟ้องกิจการร่วมค้า เอ็นวีพี เอสเคจี เป็นจำเลยที่ 1 กับพวกรวม 19 คน โดยมี นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นจำเลยที่ 19 ฐานร่วมกับฉ้อโกงที่ดิน กรณีร่วมกันทุจริตจัดซื้อที่ดินอำเภอคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นคลองสาธารณะและป่าชายเลน เพื่อก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน โดยวันนี้ จำเลยทุกคนเดินทางมาฟังคำพิพากษา ยกเว้น นายวัฒนา
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า จำเลยกับพวกอาศัยตำแหน่งและโอกาส แสวงหาประโยชน์เชื่อมโยงกัน จากการใช้เงินซื้อที่ดินจากชาวบ้าน และขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษ จึงพิพากษาจำคุก นายวัฒนา และจำเลยที่ 3, 5, 7, 9. 11, 13, 14, 15, 17 คนละ 3 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลยที่เหลือ ปรับคนละ 6,000 บาท เนื่องจากเป็นบริษัทนิติบุคคล นอกจากนี้ ศาลยังสั่งให้จับกุม นายวัฒนา มาลงโทษให้ได้โดยเร็ว ทั้งนี้ จำเลยที่ถูกพิพากษาจำคุกได้ยื่นหลักทรัพย์ 1 ล้านบาท ขอประกันตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20091112/86144/ศาลจำคุกวัฒนา-อัศวเหมกับพวก3ปีทุจริตที่ดินคลองด่าน.html
วันนี้ (18 ส.ค. 2552 ) เมื่อเวลา 14.00 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดย ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ผู้พิพากษาอาวุโส เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะ 9 คน ในคดีทุจริตที่ดินคลองด่าน นัดอ่านคำพิพากษา คดี อม.2/2550 ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย และประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใด มอบให้ หรือหามาซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น และเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 157, 33 และ 84 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 2 จากนั้น ศาลฎีกาฯได้ตัดสินโดยมีมติ 8-1 ให้จำคุกนายวัฒนา 10 ปี ไม่รอลงอาญากรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายวัฒนา ใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษ เพื่อก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ สำหรับคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก ตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท หรือประหารชีวิต โดยเมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาครั้งแรก นายวัฒนา ได้หลบหนีไปอยู่ในประเทศกัมพูชา ไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาตามกำหนดนัด ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับ นายวัฒนา และปรับนายประกันจำนวน 2,200,000 บาท
ที่มา: http://www.siam2you.com/index.php?option=com_fireboard&Itemid=57&func=view&catid=19&id=342
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #65 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 09:51:20 » |
|
ขออนุญาตแทรกหน่อยนะครับ พอดีอ่านพบข้อความที่พี่วณิชย์แสดงความเห็นไว้ตั้งแต่หน้าที่1 รู้สึกไม่เห็นด้วย (ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ผมไม่เก่งภาษาอังกฤษ) แต่ส่วนใหญ่ ที่ไม่เห็นด้วยก็คือ การเก่งภาษาอังกฤษหรือไม่เก่ง ไม่ใช่คำตอบของความมีปัญญาครับ ตัวอย่างเรือง GT200 ที่พี่ยกมาเป็นคำตอบอยู่แล้วครับ ลองไปเปิดดูคลิปที่นายกอภิสิทธิ์พูดถึง GT200 ก่อนที่จะมีการพิสูจน์กันในเมืองไทยดูซิครับ (ผมเคยดูในCmadong.comนี้ มีคนนำมาแปะ ไม่ทราบว่าอยู่ไหนแล้ว) ภาษาในโลกมีมากมาย เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล คนที่ทำหน้าที่บริหาร ไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาหรอกครับ แต่ต้องมีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ กล้า และจริงใจ (ซึ่ง ผมชื่นชมนายกอภิสิทธิ์ ในความกล้า แม้แต่เรื่องGT200 หลังจากพิสูจน์แล้ว ท่านก็กล้าปฎิเสธเครื่องนี้ในทันที)
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #66 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 10:25:13 » |
|
นั่นเป็นเพราะนายกอภิสิทธิ์ เป็นนักเรียนอังกฤษ ซึ่งต้องเก่งภาษาอังกฤษแน่นอนครับ จึงได้มีวิสัยทัศน์กล้าตัดสินใจ ... บ่างชั้นครูเริ่มออกโรงแล้ว
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
พศินน์
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2535
คณะ: วิศวฯ
กระทู้: 511
|
|
« ตอบ #67 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 16:42:43 » |
|
สวัสดีครับพี่ๆ
ชอบ นิยายเรื่อง "แผลเก่า" มากๆ อ่านตั้งแต่สมัยเด็กๆ เลยพลอยให้ได้อ่าน ผลงานของเจ้าของบทประพันธ์ "ไม้เมืองเดิม" คลาสสิค จริงๆ
ผมประกอบอาชีพในแวดวงนี้ ก็เลยขออนุญาต มาเก็บเกี่ยวความรู้ จากพี่ด้วยครับ
พี่หยี ครับ จำได้ว่าชุติมา เล่นเรื่องนี้ ดังมากๆ คนติดละคร กันจริงๆ ดูในรูปที่ post แล้ว ก็ อดคิดแบบพี่หยีว่าไม่ได้ ... พี่สมชาย ครับเห็นด้วยว่าไทย น่าจะเสียรู้เรื่องทราย คล้ายๆ เสียรู้เรื่อง แทนทาลัม มาก่อนแล้ว แต่ว่าพี่สมชาย เป็นญาติ กับ อ.สมศักดิ์ ที่ มธ. หรือปล่าว?
|
sound mind in sound body
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #68 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 17:22:57 » |
|
หวัดดีค่ะ น้องซอย ไม่ได้เจอกันตั้งนาน
สบายดีนะคะ ..
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #69 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 06:32:07 » |
|
นี่คือมลพิษทางทะเล ที่ยังไร้ทางป้องกันและแก้ไข
|
|
|
|
พศินน์
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2535
คณะ: วิศวฯ
กระทู้: 511
|
|
« ตอบ #70 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 16:25:57 » |
|
สวัสดีครับพี่ หยี สบายดีครับแต่ภาระกิจหนาแน่น เลยไม่ค่อยได้เข้าเวบ cmadong มีโอกาสจะไปแจมกับพี่ๆ สักวัน , โครงการคลองด่าน ผมเองก็มีโอกาสได้ร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงาน สมัยยังหนุ่มน้อย แต่ทำในส่วนของ งานวางท่อรวบรวมน้ำเสีย บริเวณถนนศรีนครินทร์ จากแยกศรีเทพา ไปยังแยกไฟฟ้าฯ และบางส่วนในเทศบาลนครฯ และถนนสุขุมวิท แถวๆ โรงเรียน นายเรือ , เสียดายที่โครงการ นี้มีปัญหา ก็หวังว่าจะมีทางออก และแก้ไขปัญหานำ ส่วนที่ก่อสร้างไปแล้ว นำกลับมาใช้ประโยชน์ โครงการนี้ทำให้ผมมีความรู้เรื่องการ ทำ pipe jacking และการก่อสร้างบ่อ แบบสร้างบนดิน แล้วขุดจมบ่อ ลึกลงไปในดิน ประมาณ 18 เมตร เพื่อจะได้ดันท่อ ศก. 3 เมตร
|
sound mind in sound body
|
|
|
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 574
|
|
« ตอบ #71 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 16:45:06 » |
|
ขับรถไปขอนแ่ก่นเมื่อวานบ่ายสอง เพิ่งกลับมาถึงบ้าน เห็นคำถามของน้องพศินน์ ว่าผมเป็นญาติกับ สมศักดิ์ ณ. มธ. หรือป่าว
คำตอบคือ ไม่ได้เป็นญาติกันครับ เพราะสมศักดิ์ เป็นน้องชายแท้ๆ ครับ
แต่ว่า ขอให้รู้จักผมจากสิ่งที่ผมเป็น ไม่ใช่สิ่งที่สมศักดิ์ เขียนนะครับ เพราะไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันครับ
ยินดีที่รู้จักครับ
|
I think, therefore I am.
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #73 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:04:18 » |
|
จากภาพ มีชาวจุฬาฯ 2 คน
1. (อดีต) ผู้จัดการนิคมฯ บางปู ปัจจุบัน ท่านดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการ การนิคมฯ ... บัญชี จุฬาฯ 2. ผมเอง ภาพแรก เสื้อฟ้า กางเกงดำ หน้าตาดี ^_^จากภาพ: เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องเติมอากาศ
การศึกษาเรื่องอัตราการถ่ายเทออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศลงไปน้ำเสียเพื่อทดสอบหาความสามารถในการเติมอากาศลงในน้ำของเครื่องเติมอากาศโดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบการเติมอากาศใหม่ของน้ำสะอาด (Reaeration of Deoxygenation Clean Water) เพื่อทดสอบหาค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนที่สภาวะมาตรฐาน (SOTR) และค่าประสิทธิภาพการเติมอากาศที่สภาวะมาตรฐาน (SAE) โดยกำหนดตัวแปรคือ
ขนาดของบ่อทดสอบ ความลึกน้ำทดสอบ ความจุน้ำรวม อุณหภูมิของน้ำทดสอบ ค่า pH น้ำ อุณหภูมิอากาศทั่วไป ความดันบรรยากาศทั่วไป ลักษณะการติดตั้งเครื่องเติมอากาศ
โดยกำหนดวิธีการวัดปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) ระยะห่างของ DO Meter จากจุดจ่ายอากาศ จุดที่ 1 ถึงจุดที่ n
กำหนดระดับความลึกจากผิวน้ำของหัววัดค่า DO 1.00 ม. โดยจะทำการบันทึกค่า DO และค่าอุณหภูมิของน้ำตั้งแต่วินาทีที่ 0 ถึง นาทีที่ 30
การทดสอบจะกระทำ 2 ซ้ำ จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ตาม Standard for the Measurement of Oxygen Transfer in Clean Water ของ ASCE สรุปเครื่องเติมอากาศมีค่า SOTR เท่ากับ .... kgO2/hr และ SAE เท่ากับ .... kgO2/hr/kW หรือ .... kgO2/hr/HP
เมื่อเปรียบเทียบกับสมมุติฐานที่ว่าเครื่องเติมอากาศดังกล่าวจะค่า SAE ประมาณ 1.5 kgO2/hr/kW
ก็จะทราบว่าเครื่องเติมอากาศดังกล่าวมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หรือไม่?
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #74 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:15:42 » |
|
ภูเก็ต: บีเจที ร่วมสานฝันเกาะภูเก็ตให้เป็นไข่มุกแห่งอันดามันอย่างแท้จริง
"บริหารการจัดการระบบน้ำเสียรวมและระบบกำจัดของเสีย สิ่งปฏิกูลต่างๆให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการอนุรักษ์และจัด การแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการ การจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการใช้สอยของเมือง"
(จากข้อความส่วนหนึ่งของแผนนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเทศเมืองภูเก็ต ปี 2540-2544)
จากแผนนโยบายดังกล่าว บีเจที จึงถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำหน้าที่ในการบริหารระบบบำบัดน้ำเสียให้แก่ชาวเมืองภูเก็ต ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้เริ่มปฏิบัติการในพื้นที่ตั้งแต่ วันที่ 9 เมษายน 2540 เป็นต้นมา และคาดว่าจะสามารถบริหารระบบบำบัดน้ำเสีย ให้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ของชาวเมืองภูเก็ตให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็น "อัญมณีไข่มุกแห่งทะเลอันดามัน" อย่างแท้จริงภาพ: ขณะดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ภูเก็ต (ภาพนี้ฝีมือถ่ายของผมเอง กล้องอัตโนมัติ ใช้ฟิล์ม สมัยก่อน ไม่ค่อยชัดนะครับ)
|
|
|
|
|