Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 15:14:45 » |
|
"อกพี่กลัดหนอง พี่หมองดั่งคลองแสนแสบ เจ็บจำดังหนามยอกแปลบ แปลบ แสบแสนจะทน โอ้ว่ากังหัน ทุกวันมันพัดสะบัดวน อยากจะรู้จิตคน จะหมุนกี่หนต่อวัน..."ณ วันนี้ "ไอ้ขวัญ-อีเรียม" คู่รักอมตะ "แผลเก่า" แห่ง "คลองแสนแสบ" จะมีชีวิตรอดมั้ยนี่? คนรุ่นเก่า อย่างพี่แก้ว พี่สิน พี่แอ๊ะ พี่ป๋อง พี่ตะวัน พี่เปี๊ยก พี่เจี๊ยบ พี่โด่ง พี่เหยง หมอเสียด ฯลฯ อาจจะมีโอกาสไปชมภาพยนตร์ เรื่อง "แผลเก่า" ที่ทำเงินมากที่สุดในสมัยนั้น ออกฉายครั้งแรก เดือน ธค. 2520 ที่โรงภาพยนตร์อินทรา ย่านประตูน้ำ นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี นันทนา เงากระจ่าง เป็นภาพยนตร์ ฟิล์มขนาด 70 มม. ก่อนหน้านี้ เป็นภาพยนตร์เพียง 16 มม.
"แผลเก่า" ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ เป็นจำนวนถึง 7 ครั้งด้วยกัน เพลง "แสนแสบ" เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ ที่โด่งดังเรามาลองทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง “ไอ้ขวัญ-อีเรียม” คู่รักแห่งทุ่งบางกะปิ ที่มีบทโรแมนติกว่ายน้ำเล่นกอดกันในคลองแสนแสบ ทำให้ชื่อเสียงของคลองนี้ โด่งดังเป็นที่สุด
เรามาทำความรู้จักกับคลองแสนแสบ ว่าเป็นมาเช่นไร
คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับได้กว่าหนึ่งร้อยเจ๊ดสิบสามปีมาแล้ว ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี และมีชื่อเรียกว่า "สงครามอันนัมสยามยุทธ"
เมื่อก่อนคลองคงจะดำสกปรกกว่านี้ แต่เมื่อปี 2533 สมัยที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองยังเป็นผู้ว่าฯ กทม. ก็ได้เปิดเส้นทางการเดินเรือในคลองแสนแสบนี้ขึ้นเพื่อแบ่งเบาการจราจรที่ติดไม่ขยับ และเชื่อว่าการนำเรือมาแล่นนั้นจะช่วยบรรเทาเบาบางน้ำเน่าเสียในคลองได้
คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว และเป็นเส้นทางเรือโดยสารคลองแสนแสบ แต่ปัจจุบันมีปัญหามลภาวะในน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและทิ้งขยะลงในแม่น้ำ
ผ่านมาเกือบ 20 ปี น้ำในคลองก็ยังคงเน่าเหมือนเดิม เพราะชุมชนริมคลองส่วนใหญ่ก็ยังคงปล่อยน้ำเสียลงคลอง แต่เรือคลองแสนแสบก็ได้ติดตลาดเป็นเส้นทางคมนาคมยอดฮิตอีกเส้นทางหนึ่ง เพราะเรือนั้นแล่นผ่านจุดสำคัญๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งหลายแห่งก็เป็นจุดที่รถติดอย่างหนัก เริ่มจากท่าวัดศรีบุญเรือง บางกะปิ ใกล้ๆสถาบันนิด้า ไปจนถึง ท่าผ่าฟ้าลีลาศ
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 15:28:50 » |
|
มาตรฐานที่ใช้ในการบ่งบอก เพื่อวัดค่าน้ำดีน้ำเสีย ตัวหนึ่งก็คือ ปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำ Dissolved Oxygen (DO) จะต้องมีมากกว่า 6 มิลลิกรัม/ลิตร หรือ 6 ppm (parts per million) ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ถึงจะมีชีวิตอยู่ในน้ำได้
น้ำสะอาดโดยทั่วๆไป ที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส ความลึกยังไม่เกิน 1000 ฟุต จะมีปริมาณอ๊อกซิเจน ถึง 8.4 ppm หรือ 8.4 มิลลิกรัม/ลิตร
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 16:53:17 » |
|
ภาพถ่าย บริเวณท่าเรือวัดศรีบุญเรือง เขตบางกะปิ สัตว์น้ำพวก ปลา- หอย ที่หลุดออกมาจากบึง และคลอง ของสถาบันนิด้า มายังตลองแสนแสบ จะตายในเวลาไม่นาน บางภาพจะเห็นปลาตัวเล็กๆ และหอย พยายามที่จะว่ายน้่า และหายใจบนผิวน้ำ เพราะน้ำในคลองแสนแสบ ขาดอ๊อกซิเจนอย่างมาก และก็เป็นน้ำเน่า ที่เต็มไปด้วยสารและแก๊สพิษต่างๆ เข่น คาร์บอนไดอ๊อกไซค์ คาร์บอนมอนอคไซค์ ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซค์ แก๊สมีเทน ฯลฯวันวาเลนไทน์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ เศร้าจัง
|
|
|
|
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 22:39:15 » |
|
สวัสดีครับน้องวณิชย์ เรื่องแผลเก่านี้ก่อนนำมาสร้างเป็นภาพยนต์ในปี พศ 20 เคยถูกนำมาแสดง เป็นละครทางโทรทัศน์ช่องไทยทีวีบางขุนพรมมาก่อน จำได้ว่าตอนนั้นประมาณปี พศ.2504 หรือปี พศ 2505 ประมาณนั้น(ผมกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น) ทั้งบทและการแสดงละครดีมากผู้ชมหน้าจอทีวีนั่งดูไปนํ้าตาไหลไป (บทสุดท้ายตอนพระเอกถูกยิงตกลงไปในคลองแสนแสบ และนางเอกกระโดดนํ้าลงไปหาพระเอกกอดกันจมนํ้า เสียชีวิตด้วยกันทั้งคู่ เป็นตำนานความรักอมตะของชายหญิงคู่หนึ่งแห่งคลองแสนแสบ) ผู้แสดงนำฝ่ายชาย ในตอนนั้นคือคุณกำธร สุวรรณปิยะ ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงคือคุณนันทวรรณ เมฆใหญ่ ผู้แสดงเป็นผู้ร้ายคือคุณ สมจินต์ ธรรมทัตน์ หลังการแสดงละครเรื่องนี้จบลงต่อมาคุณกำธรและคุณนันทวรรณกลายเป็นคู่รักกันจริงๆ และได้แต่งงานครองรักกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ภายหลังเมื่อนำมาสร้างเป็นภาพยนต์ผมก็ไปดูอีกครั้ง มีความเห็น เหมือนกับหลายๆคนว่าบทและการแสดงไม่ประทับใจเหมือนกับดูละครในโทรทัศน์ หากสมมุติว่าอ้ายขวัญกับ อีเรียมกลับชาติมาเกิดใหม่และมาเห็นนํ้าในคลองแสนแสบเน่าเหม็นแบบนี้ ทั้งสองคงต้องกลั้นใจตายและไม่ขอ กลับมาเกิดอีกอย่างแน่นอน
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 22:42:20 » |
|
พี่วณิชย์ก็มีอารมณ์ขันไม่น้อยเลยนะคะเนี่ย .. อ่านไป ก็เครียดไปและยิ้มไป ค่ะ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 22:46:59 » |
|
ผมเพิ่งเคยได้นั่งเรือจริงๆจังๆ ก็สามครั้งครับ คลองแสนแสบยาวมากๆ แต่ก็เน่าตลอดสาย นั่งเรือแต่ละที เสียวไม่ให้น้ำกระเด็นถูกตัว (แต่ก็เป็นไปได้ยาก)
แล้วจะพอมีวิธีในการเพิ่มออกซิเจนให้คลองแสนแสบไหมคับเนี่ย
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 23:22:46 » |
|
โฮ..... ออนไลน์ มาพร้อมกัน 3 คนเลย พี่แก้ว น้องหะยี และน้องสน
พี่แก้ว ผู้ชายอกสามศอก บอกว่า "ชมหน้าจอทีวีนั่งดูไปนํ้าตาไหลไป" แล้วพี่แก้ว น้ำตาไหลบ้างมั้ยครับ ถามจริงๆ?
น้องหะยีครับ เรื่องนี้ เป็นเรื่องเครียดนะ เป็นปัญหาหนึ่งของแผ่นดิน เรื่องน้ำเสีย อากาศเสีย การจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ มิน่าหล่ะ ถึงไม่ยอมขับรถ ทราบมั้ยว่า ที่นิวยอร์ค แก้ไขเรื่องน้่ำเสียกันอย่างไร? วันนี้ ยังจะไม่ถามเรื่องแก้ไขรถติด
น้องสนครับ เป็นนักวิทยาศาสตร์ เราต้องมาช่วยกันคิด ช่วยกันหาทางแก้ อาจจะมีชาวซีมะโด่งความคิดๆดีๆ มาช่วยกัน เราจะมีทางออกกันอย่างไร?
มีแต่คำถาม พี่น้องซีมะโด่งคนอื่นๆ จะมีทางแก้ไขอย่างไร? ที่น้องสนถามมาครับ
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 23:35:46 » |
|
พี่วณิชย์ครับ สมัยทำงานแรกๆ ยังไม่มีรถขับ นั่งเรือมาทำงานประจำ น้ำก็เน่าอย่างนี้ละครับ
ตอนนี้ใช้รถมา 18 ปี แล้ว ก็เห็นยังไม่เปลี่ยนเลยครับ รอฟังแนวทางอยู่ครับ เพราะไม่มีความรู้เลย
ผมรู้แต่ว่า อีเรียมกับไอ้ขวัญตอนสุดท้าย...ใช้ซีม่าเป็นโหลเลยครับ
|
|
|
|
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 00:14:35 » |
|
น้องวณิชย์ตอนนี้มีเวลาพักเรี่องการเมืองในเว็บ cmadong ก็เลยต้องหาเรื่องเบาๆมาคุยกันไปเรื่อยๆก่อน เรื่องละครแผลเก่า
ที่ดูเมื่อเกือบห้าสิบปีที่แล้วนั้น จำได้ว่ามานั่งหน้าจอทีวีขาวดำดูกันทั้งบ้านรวมทั้งญาติข้างบ้านด้วย(สมัยก่อนเครื่องรับโทรทัศน์
ประเทศเรายังผลิตเองไม่ได้ มาจากต่างประเทศราคาแพงมาก โดยเฉพาะที่ต่างจังหวัดบ้านใครมีสักเครื่องเวลามีละครคนข้างบ้าน
ทั้งแขกรับเชิญและที่ไม่ได้รับเชิญก็จะพากันแห่มาชมเต็มบ้าน) ตอนจบของละครเรื่องนี้เศร้ามาก จำได้ว่าพวกผู้หญิงไม่ว่าสาว
แก่แม่หม้ายที่นั่งดูอยู่ต่างอินกับละครมากนํ้าตาไหลเอาผ้าเช็ดหน้าซับนํ้าตากันใหญ่ ผมตอนนั้นยังเด็กอยู่นั่งดูกับเขาด้วยก็
รู้สึกว่าละครมันเศร้าตอนพระเอกกับนางเอกตายพร้อมกันแต่ก็ไม่อินเท่ากับเขา ยังรู้สึกแปลกใจว่าโห!ทำไมต้องเศร้าถึงกับนํ้าตา
ไหลกันเป็นเต่าเผาขนาดนี้ฟ๊ะ อาจเป็นเพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีหนังมีละครให้ดูมากมายหลากหลายเหมือนสมัยนี้ นานๆมีละคร
หรือมีหนังดีมาฉายที่โรงหนังทีหนึ่งเกือบทุกบ้านแห่กันมาดู พอดูจบแล้วยังมาพูดคุยต่อกันถึงหนังละครที่ดูมาแล้วเจ็ดวันยังไม่
เลิกเลย
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 05:03:35 » |
|
เท่าที่เห็นก็คือ มีการปล่อยน้ำเสียจากบ้านเรือนลงในคลองแสนแสบตลอดเวลา
นอกจากบ้านเรือนแล้ว ก็ยังมีนำเสียประเภทอุตสาหกรรม อาบอบนวด บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ครับ
|
|
|
|
YOTSAWIN
Hero Cmadong Member
หอพักรักของข้า...
ออฟไลน์
รุ่น: RCU27
คณะ: ศิลปกรรมศาสตร์
กระทู้: 1,159
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 06:54:52 » |
|
ผมเคยลองนั่งเรือสมัยเรียน เพื่อท่องเที่ยว ปรากฏว่าโดนน้ำสาดเละเลยครับ เลยเข็ด
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 07:11:55 » |
|
ดูหนังเรื่องแผลเก่า ยุคที่นันทนา เงากระจ่าง เป็นนางเอก สรพงษ์ ชาตรี เป็นพระเอก .. ตอนนั้น หะยียังเป็นเด็กมาก ๆ ..
นั่งดูหนังไปตามภาพที่ปรากฏ .. แบบไม่คิดอะไรเล้ยยยยยยยยย
กลับมาย้อนดูอีกครั้งตอนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว จึงถึงบางอ้อกับฉากที่ไอ้ขวัญกับอีเรียมลงไป .. เล่นในน้ำ .. หยั่งงี้ หยั่งงี้ .. อิอิอิ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 574
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 07:39:07 » |
|
ประมาณปี 33-34 ผมยังเคยได้กินกุ้งน้ำจืด ที่ตกได้จากคลองแสนแสบ เป็นคลองแสนแสบ บริเวณหนองจอกครับ ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังจะมีหรือไม่
ผมจบโททาง วิศวสิ่งแวดล้อม จากจุฬา เลยเข้าใจเรื่องนี้พอสมควรครับ การแก้ไข ไม่ใช่ไม่มีทาง แต่คงต้องใช้เงินมหาศาล......ลลลลล
|
I think, therefore I am.
|
|
|
iamfrommoon
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 07:41:24 » |
|
สวัสดีตอนเช้าค่ะพี่วณิชย์
แผลเก่านั้นได้ยินแบบเป็นตำนานจริงๆ แล้วก็พอจะทันยุคชุติมา แต่ยังเรียนมัธยม ฮี่ๆ...ตอนได้ยินยังนึกเลยมันคงจะน่าเล่น
แต่สมัยนั้นก็มีข่าวมาแล้วว่า มันเน่าเหม็นเหลือเกิน จนกระััทั่งพจมานปุ๊กกี้ ถือชะลอม ถักเปีย เข้ามาเมืองกรุงตอนพฤษภาทมิฬ รุ่นของน้องที่หอเราจะเรียกรุ่นกันว่า "รุ่นพฤษภาทมิฬ" เพราะรหัส 35 ยุคนั้นพอดี ภูมิใจในประวัติศาสตร์ตัวเองว่า เข้าจุฬาฯ ปีแห่งความโศกพอดี ฮ่าๆๆ...
แล้วก็ได้นั่งเรือด่วนจากประตูน้ำไปหาเืพื่อนทีี่เรียนรามฯ ตอนปี 1 แม่เจ้า...คลองแสนแสบที่เราไ้ด้ยินได้ฟังในตำนานทั้งเพลงทั้งหนัง มันจะดำ เหม็นได้ขนาดนี้เลยหรือเนี่ย อึ้งไปเลยค่ะ ที่สำคัญแฮ่ๆ เข็ดแล้วอ่ะ เสียดาย ที่เรามักจะมาแก้ไขในภายหลัง ยังดีที่ไม่สายมากเกินไป ตอนนี้น้ำเริ่มดีขึ้นกว่าเดิม (วัดจากน้ำตรงร้านก๋วยเตี๋ยวเรืออนุสาวรีย์ชัยฯ ค่ะ)
เราต้องสอนให้รุ่นหลังตระหนักในการรักษ์สิ่งแวดล้อม การหวงแหนธรรมชาติที่เรามี และพ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่างค่ะ
|
@@ธรรมชาติสร้างความขัดแย้ง เพื่อให้คนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ดียิ่งขึ้น@@@
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 07:43:52 » |
|
พี่เจียม เล่าให้ฟังบ้างซิครับ
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 08:43:20 » |
|
ถ้าขวัญกะเรียมสมัยนี้ คงเป็นโรคผิวหนังกันไปหมด
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, 08:49:02 » |
|
ในอดีต แม่น้ำเทมส์ ( River Thames) ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ ด้วย เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิ้ง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น ก็เคยประสบปัญหามลภาวะ (Water Pollution) แทบไม่ต่างอะไรกับคลองแสนแสบบ้านเรา แต่ก็ได้รับการแก้ไขได้ในที่สุด ... โดย Thames Water ( http://www.thameswater.co.uk/ ) เป็น Key หลักในการแก้ไขปัญหานี้จนสำเร็จ
ประมาณช่วงปี 2536 ... Thames Water (UK) และ Berli Jucker PLC. (Thailand) ได้ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท Berli Jucker Thames Water Co., Ltd.
งานแรกที่เริ่มในเมืองไทยคือ สัมปทานจาก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมครบวงจร ...
ก.ย.ปี 37 (อายุ 26 ปี) ผมเริ่มงานในตำแหน่ง Regional Manager รับผิดชอบนิคมในเขตภาคกลาง (ลาดกระบัง บางปู ฯลฯ ) ปี 39 ได้ Promote เป็น Operation - Technical Services Manager เริ่มเข้าไปรับผิดชอบ การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในนิคมทั่วประเทศรวมถึงโครงการโรงบำบัดน้ำเสียของกทม. โครงการโรงบำบัดน้ำเสียภูเก็ต (JV กับ ช.การช่าง) ฯลฯ
จะหาเวลาว่างมาแชร์ประสบการณ์นะครับ ^_^
|
|
|
|
|
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 574
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2553, 09:24:21 » |
|
อันที่จริง ถึงแม้ผมจะได้เรียนสาขาวิศวสิ่งแวดล้อม ตอนมาเรียนต่อ และวิทยานิพนธ์ที่ทำ ก็ได้มีการเผยแพร่ในวารสาร และห้องสมุดของสภาวิจัยแห่งชาติ รวมถึงห้องสมุดอื่นๆ อีกหลายที่มาก แต่ผมก็ไม่เคยทำงานทางสาขาสิ่งแวดล้อมเลยครับ ทำงานด้านโยธาตลอด เสียดายอยู่เหมือนกันครับ ภายหน้าถ้ามีโอกาสจะนำวิทยานิพนธ์หาทางประยุกต์ใช้ วิทยานิพนธ์ของผมชื่อ การผลิตก๊าซมีเทนจากขยะ โดยกระบวนการชีวภาพแบบไร้อากาศสองขั้นตอน
อีกเรื่องที่ขอเล่าให้ฟัง (อย่าหาว่าผมโม้นะครับ) ผมได้เขียนบทความลงมติชนเมื่อ 25 ตุลาคม 52 เรื่องเมื่อทรายไทยจะไปสิงคโปร์ เป็นการเสนอมุมมองอีกด้านเรื่องโครงการขุดทรายที่ตะกั่วป่า ที่ตอนนี้ถูกระงับไปแล้ว (ชั่วคราว)
เมื่อลงไปแล้วทางบริษัทที่จะขุดยัง mail มาชี้แจงกับผมเลย อ้างถึง ดร. AIT ถึงสองคน แล้วก็มีคน mail มาสนับสนุนผมหลายคน ผมยังคิด (เข้าข้างตัวเอง) ว่าเป็นเพราะบทความของผม ทำให้กระแสจุดติด จนนำไปสู่สาธารณะในวงกว้าง ทำให้โครงการไม่หวานหมูอีกต่อไป เนื่องจากมีการนำไป link เป็นจำนวนมาก เผยแพร่ใน net
ที่เขียนบทความลง นสพ. เป็นเพราะทนไม่ได้จริงๆ
ขออนุญาตนำ link มาให้ดูครับ เผื่อพี่น้องจะสนใจ http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=20&s_id=1860&d_id=1860&page=1&start=1
เล่าสู่กันฟัง เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ผม(คิด)ว่าได้มีโอกาสทำเพื่อประเทศชาติ (คิดยิ่งใหญ่ไปไหมเนี่ย.......)
ขอบคุณครับ
|
I think, therefore I am.
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2553, 17:11:09 » |
|
ขอบคุณครับ พี่ปรีชา น้องสน ครูตุ๋ย น้องหะยี น้องปุ๊กกี้ น้องยา น้องเจี๊ยบ-ยศวินท์ น้องสมชาย-Intania 17 น้องเจียม-Intania 18 และพี่น้องซีมะโด่งคนอื่นๆ
แสดงว่า พวกซีมะโด่งเราก็มีความสนใจและเป็นห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมของบ้านเมืองเราในขณะนี้ คลองแสนแสบ เป็นตัวอย่างหนึ่ง เป็นกระจกเงาสะท้อน ถึงความล้มเหลว ในระบบราชการ ระบบการเมืองของประเทศไทย
แต่ละปี เรามีนักเรียนนักศึกษา ไปแข่งขันคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกค์ ชีวะ ในต่างประเทศ ได้เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง คล้องเต็มคอกลับมาประเทศไทย
เรามีนักวิชาการ มีบัณทิต เอาทุนไปเรียนต่างประเทศ นานาประเทศ ปีๆหนึ่งหลายร้อยหลายพันคน เป็นเวลานานร่วม 100 ปีมาแล้ว แสดงว่า เรามีคนไทยเป็นล้านๆ คนที่ผ่านการศึกษามาจากต่างประเทศ ไปดูงานต่างประเทศ ล้วนแต่ผลาญเงินภาษีอากรของประชาชน ไปไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่
เรามีนักการเมือง เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ เน้นว่ากระทรวงสำคัญ แต่จบการศึกษามากจากวิทยาลัยครูชานเมือง จบจากวิทยาลัยอาชีวะศึกษา แล้วมาชุบตัว จนจบในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก จากจุฬาฯ บ้าง จากธรรมศาสตร์บ้าง จากนิด้า บ้าง จากรามคำแหง บ้าง พูดภาษาอังกฤษได้แค่ Yes, No, OK, CocaCola, Pizza, 7up
นักการเมืองพวกนี้หรือครับ ที่มีวิสัยทัศน์ ที่จะแก้ไขปัญหาระดับชาติบ้านเมือง ไม่ใช่แค่สอบ TOEFL ให้ผ่าน 500 คะแนน ก็พอแล้ว ต้องสอบให้ผ่านในระดับ 800 คะแนน นี่คือ ตย. รัฐมนตรีในประเทศด้อยพัฒนา ไปต่างประเทศก็ไม่กล้าไป เพราะพูดภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง แค่สั่งอาหารสักจาน โซดาสักแก้ว ก็คุยไม่รู้เรื่อง ต้องเอาเลขานุการ เอาล่ามไป
ถ้าเป็นแบบนี้ เราก็ผลิตได้แต่ตัวถึงรถตุ๊กๆ เครื่องยนต์ซื้อของญี่ปุ่น ไดฮัทซุ มาใส่เอา ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องที่จะต่อเรือเดินทะเล สร้างยานไปดวงจันทร์ เรื่องใกล้ๆตัว เครื่องตรวจระเบิด GT200 เครื่องมือกวาดล้างป่าช้าแบบฝรั่ง ไม่มีแบตเตอรี่สักก้อน จะเอาพลังงานที่ไหนไปทำงาน ซื้อมาได้ไง ราคาตั้งหลายแสน จนถึงล้านกว่าบาท ทั้งโกงกิน ทั้งโดนฝรั่งต้ม ต้นทุนแบบนี้ ไม่ถึง 30 เหรียญ (1พันบาท)
สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีเทคโนโลยี่ไม่แพ้ใคร แต่พอเรื่องตรวจอาวุธ ตรวจวัตถุระเบิด ตรวจยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นของกองทัพ หรือหน่วยงานอิมมิเกรชั่น ยังใช้สุนัขดมกลิ่นทั้งสิ้น ไม่มี GT200 หรือ ADE651 ได้โปรดเถอะ กองทัพและ กระทรวงมหาดไทย อย่าแถอีกเลย
ผู้ผลิตที่ GT200 หรือ ADE651 ประเทศอังกฤษ ก็โดนจับติดคุกไปแล้ว พวกนี้ ไม่ได้ติดตามอ่านข่าวรึไง ยังดักดานที่จะใช้เครื่องมือดังกล่าว ให้ทหารชั้่นผู้น้อยไปตายแทนในแต่ละวัน เศร้าและอเน็จอนาถใจ
เราต้องการ การเมืองที่มีธรรมภิบาล สะอาด โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่มีคอร์รัปชั่น เก็บภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ข้าราชการชั้นผู้น้อย เสมียน ครู อาจารย์ แพทย์ พยาบาล มีรายได้ที่ยุติธรรม และมากพอต่อการครองชีพ
เมื่อไหร่ เราจะมีวันน้ัน ปัญหาเรื่องมลภาวะ เรื่องการจราจรติดขัด แก้ไขได้แน่อน เพราะมีแบบอย่างในต่างประเทศมาแล้วทั้งสิ้น เราสามารถที่จะเรียนจากแบบอย่างที่ล้มเหลว และที่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ ทั้งนั้น ระบบการเมืองจะต้องมีธรรมภิบาล ระบบราชการมีธรรรมาภิบาล ปัญหาทุกอย่าง เราสามารถที่จะแก้ไขได้
วันพรุ่งนี้ จะนำเรื่องราว การบำบัดน้ำเสียในต่างประเทศ ซึ่งมีถึง 3 ตอน ใน 3 เมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา ว่าเขาทำกันอย่างเช่นไร เราจะนำมาใช้แก้ไขปัญหาคลองแสนแสบ คลองทุกแห่ง และแม่น้ำทุกสาย ในประเทศไทย ได้หรือไม่? ติดตามอ่านกันต่อไป
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2553, 17:55:09 » |
|
คิดถึงค่ะ ..
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2553, 18:05:19 » |
|
รออ่านบทความของพี่วนิชอย่างใจจดจ่อเลยครับ เขียนได้โดนใจมากเลยครับ 55
พูดภาษาอังกฤษได้แค่ Yes, No, OK, CocaCola, Pizza, 7up
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 09:05:08 » |
|
Reveal THE SECRETS OF NEW YORK!!! เปิดโปง ความลับของมหานครนิวยอร์ค ที่ไม่ค่อยมีใคร ได้เห็นมาก่อน ขออภัยที่แองเจลิโน่ ถ้าต้องล้ำเส้น อดีตเจ้าถิ่นนิวยอร์คเก้อร์ แม่งูหะยี อิอิอิ ทำไมต้องเป็นมหานครนิวยอร์ค?? เพราะมหานครนิวยอร์คเก่าแก่มาถึง 386 ปี (หลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล็กน้อย) เป็นเมืองใหญ่ มีประชากรอยู่หนาแน่นโดยเฉลี่ยหนาแน่นที่สุดของสหรัฐอเมริกา กรุงวอชิงตัน ดีซี อาจจะเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา ก็จริง แต่มหานครนิวยอร์ค เป็นเมืองหลวงของโลก ใครที่มาเที่ยวอเมริกา ต้องมาสัมผัสนิวยอร์ค ถ้าไม่มาสัมผัสนิวยอร์ค ก็เสมือนหนึ่งมายังไม่ถึงอเมริกา
ฉายาของมหานครนิวยอร์ค The Big Apple The Concrete Jungle The Never Sleep City The Capital of the World
มหานครนิวยอร์ค New York City (NYC) ประกอบไปด้วย 5 boroughs คือ แมนฮัตตัน บล๊องซ์ บรุ๊คลิน ควีนส์ และสแตทตั้น มีประชากรไม่ต่ำกว่า 8.3 ล้านคน ใน พื้นที่ 786 ตร.กม. ประวัติของมหานครนิวยอร์ค
นิวยอร์ค เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมืองอินเดียแดง เผ่า Lenape มาก่อน นักเดินเรือสำรวจชาวอิตาลี Giovanni da Verrazzanoรับจ้างจากกษัตริย์ฝรั่งเศส ก็มาพบแมนฮัตตันเป็นครั้งแรก หลังจากชาวดัชท์ก็มาตั้งเป็นตลาดการค้าขนสัตว์ทางตอนใต้ของแมนฮัตตัน ตั้งแต่ปี 1614 (=พ.ศ. 2157 หลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2098-2148) ได้ขอซื้อที่ดินมาจากชาวอินเดียแดงพื้นเมือง เปลี่ยนชื่อเป็น "Nieuw Amsterdam" ในปี 1664 ก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เลยเปลี่ยนชื่อมาเป็น New York เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ของประเทศอังกฤษ English Duke of York and Albany
นิวยอร์ค ก็อยู่ในความดูแลของประเทศอังกฤษ ตั้งแต่นั้นมากว่าร้อยปีเศษ จนกระทั่งในวันที่ 4 กรกฎาคม ปี 1776 อาณานิคม 13 แห่ง ประกาศเป็นอิสระภาพออกจากประเทศอังกฤษ ตั้งตนเป็นประเทศใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา นิวยอร์คซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด เคยเป็นเมืองหลวง ระหว่างปี 1787-1790 อยู่ราวๆ 4 ปี
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 09:27:46 » |
|
ในปี 1849 มีการระบาดของอหิวาตกโรค Cholera epidemic เฉพาะที่นิวยอร์คมีคนตายไปกว่า 5,000 คน อันเนื่องมาจากสุขอนามัยที่ไม่ถูกต้อง การขจัดขยะ น้ำเสีย ต่างก็ทิ้งลงไปในแม่น้ำแมนฮัตตัน ซึ่งไม่แตกต่างกับ การทิ้งขยะ การปล่อยน้ำเสีย ลงในลำคลองและแม่น้ำในประเทศไทยในปัจจุบันนี้สักเท่าไหร่ จึงเป็นที่มาของระบบการกำจัดน้ำเสียในระบบใหม่ ของมหานครนิวยอร์ค
|
|
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 10:28:57 » |
|
เย้!! ในที่สุดพี่วนิชย์ก็มาเปิดเผยความลับแล้ว โหลดทิ้งไว้ก่อนครับ สอบเสร็จตอนเย็นจะกลับมาอ่าน ลุ้นๆๆ
|
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 10:31:00 » |
|
แหง่วโหลดลงเครื่องไม่ได้ เอิ้กๆๆ สำเนียงเพิ้นเว้าดีอีหลีเลยครับพี่
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 11:41:49 » |
|
น่าสนใจครับพี่วณิชย์
แต่ถ้าจะให้ดีช่วยสรุปย่อๆ ที่คุณ Choi แกพูดถึงก็ดีครับ
|
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:36:47 » |
|
เขานำเสนอได้เยี่ยมมากเลย อย่างกะกำลังดูหนัง เสียงชัดแจ๋ว ภาพชัดมาก
|
|
|
|
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์
รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:40:09 » |
|
ขออนุญาติ อ่านก่อนนะครับ
|
ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:47:41 » |
|
เธอสวยสู้เจ๊หะยี ของพวกเราได้มั้ย?
|
|
|
|
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์
รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 16:50:08 » |
|
ไม่กล้าตอบ กลัวหัวแตกครับพี่วณิชย์
|
ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 18:18:00 » |
|
ตอบให้ก็ได้ .. ไข่นุ้ยเจตน์ ..
หากอายุเท่ากัน รับรองว่าเจ๊ฉ่อย (Choi) แกต้องหลบให้หะยีแบบตกถนนไปเล้ยย แต่นี่ .. อาศัยว่า she อ่อนเยาว์กว่า เราจึงพ่ายไปเพราะสังขารและริ้วรอย ..
ฮ่า ฮ่า ..
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 18:19:08 » |
|
พี่วณิชย์คะ .. หะยีอยู่ NY มาหลายปี ไม่เคยได้ให้ความสนใจเรื่องเหล่านี้เลย ขอบคุณที่ช่วยมาเสริมความรู้ให้นะคะ ..
หายโง่ไปอีกหนึ่งเรื่องนะเรา ..
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553, 02:14:49 » |
|
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553, 21:34:46 » |
|
เรียน พี่วณิชย์ 16 ่ขอ copy รูป ชุดนี้ ได้หรือไม่คะ ขอบพระคุณค่ะ
|
|
|
|
TAE2540
Full Member
ไม่มีคำว่าสายเสียแล้ว สำหรับความรักที่แท้จริง
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2540
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 507
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553, 21:51:54 » |
|
เพิ่งได้เปิดหูเปิดตากับเรื่องราวที่พี่วณิชย์นำมาให้อ่าน
ดีจังเลยครับ ห้องนี้วิชาการดีจริง / จัง
ผมเห็นคลองแสนแสบ ก็มีท่อ อะไรซักอย่าง โผล่กลางคลอง คิดว่าเป็นตอนกำลังสร้าง คาดว่าจะทำบ่อบำบัดน้ำเสีย ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าครับ
ไม่รู้ว่าผลาญงบไปเยอะแค่ไหน (คิดแง่ร้ายจัง) สุดท้ายก็ยังไม่เอาจริงเอาจังอยู่ดีครับ ทำไงดี ชาตินี้จะได้เห็นคลองแสนแสบที่มีเด็กๆ กระโดดเล่นน้ำได้อย่างสบายอุราหรือเปล่า
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 10:05:11 » |
|
เรียน น้อง BU_MEE
เนื้อหาสาระ รูปภาพ ทุกอย่างที่เอามาให้เพื่อนชาวซีมะโด่ง ได้ดูกัน วัตถุประสงค์ ก็คือเพื่อเผยแพร่ให้ทุกคนได้ทราบ ที่นี้ เป็นแห่งแรก ที่เอามาโพสท์ จะทำได้ดีกว่าที่ นสพ. ทั่วๆไป สามารถที่จะชมวิดีโอ จาก youtube ได้ด้วย
น้อง BU_MEE สามารถที่จะเอาไปเผยแพร่ต่อไปได้เลยครับ ไม่หวงเลยครับ โดยเฉพาะใครที่ทำงานอยู่ที่ กทม. กระทรวงวิทยาศาศตร์ กรมควบคุมมลพิษ เอาลิงค์ส่งไปให้ผู้บริหารดูได้เลย หน่วยงานเหล่านี้ ควรจะที่จะเปิดหูเปิดตา เพื่อหาแนวทางแก้ไข เรื่องน้ำเสีย ที่ทิ้งลงในลำคลอง ลงในแม่น้ำได้แล้ว
ยังมีอีก 2 ตอนครับ ที่จะเอามาลง ขอเวลา 1-2 วัน กำลังรวบรวมข้อมูล ที่เคาท์ตี้หนึ่ง ใกล้ๆนครลอสแองเจลิส สามารถที่จะบำบัดนำเสียจากบ้านเรือน-ธุรกิจ ให้สะอาดเป็นน้ำดื่มได้เลย ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ส่งคนมาดูงาน เพื่อเอาไปทำเป็นแบบอย่าง ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี่ กรองน้ำทะเล ให้เป็นน้ำดื่ม ทำได้ดีและไปไกลมากแล้ว แต่เมืองไทยเรา ยังมีแหล่งน้ำจืดอีกมาก ไม่ต้องลงทุนไปไกลขนาดนั้น
โรงกรองน้ำจืด จากน้ำเค็ม desalination plant มีจำนวน 13,080 แห่งทั่วโลก ผลิตได้ 12,000 ล้านแกลลอน/วัน โรงกรองน้ำทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ UAE ผลิตได้ปีละ 300 ล้าน ลบ.ม./ปี
เมืองไทย ขอแค่กำจัดน้ำเสีย อย่าให้เป็นมลพิษก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะทำให้ก้าวหน้าไปกว่านั้น เอากลับมาใช้ใหม่ได้ ในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม สนามหญ้า ของสนามกีฬา สนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ ฯลฯ
|
|
|
|
Pae
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 11:46:06 » |
|
ผมเคยได้ยินว่า การไฟฟ้านครหลวง เขาสร้างอุโมงค์ เพื่อเดินสายไฟตามแนวคลองครับ ไม่แน่ใจว่า มีโครงการบำบัดน้ำเสียอีกโครงการนึงรึเปล่า
|
|
|
|
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 12:10:22 » |
|
ขอบพระคุณค่ะ ก๊อปไปเรื่อย ๆ แล้วนะคะ
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 16:51:09 » |
|
ระบบการกำจัดน้ำเสียของนครลอสแองเจลิส ขอบคุณพี่ๆน้องๆ ชาวซีมะโด่ง ที่ให้ความสนใจมาอ่านเรื่องเครียดๆ ตั้งแค่พี่ปรีชา น้องสน น้องเต้ น้องเป้ น้องหะยี ครูตุ๋ย น้องสมชาย17 น้องสมชาย-เจียม 18 ดร. มนตรี น้องเจี๊ยบ น้องปุ๊กกี้ น้องเจตน์ น้องยา น้องภูมี ฯลฯ เรื่องน้ำเสียในห้วยหนอง-ลำคลอง-แม่น้ำ เป็นเรื่องที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าพวกเราไม่ให้ความสนใจ ในที่สุด ลำน้ำสาธารณะเหล่านี้ จะกลายเป็นคู-คลองระบายน้ำเสีย และเป็นที่สะสมของสารพิษ แก๊สพิษ จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์น้ำจืด และรุกรานไปยังสัตว์น้ำทะเล และยังจะมีผลต่อพืช และการดำรงชีวิตของมนุษย์ ก็คือคนไทย พี่น้องลูกหลานเรานี้เอง ถ้าคนในรุ่นนี้ ขาดวิสัยทัศน์ ขาดจิตสำนึก หรือจะรอให้เกิดวิกฤติการณ์คนล้มตายเป็นล้านๆ แล้วค่อยมาแก้ปัญหาในวันน้ันหรือ?
เรามีตัวอย่างในต่างประเทศ ที่เขาทำสำเร็จและได้ผลดีมาแล้ว ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ให้นักวิทยาศาตร์-วิศวกรดูงาน แล้วนำสิ่งๆดีๆ ไปแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง กทม. กรมควบคุมมลพิษ และ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ กำลังทำอะไรอยู่? Hello, what's hell you are doing?นครลอสแองเจลิส เป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางฝั่งตะวันตก ติดมหาสมุทรแปซิฟิค ชื่อ Los Angeles เป็นภาษาสแปนนิช ตรงกับภาษาอังกฤษก็คือ The Angels แปลว่า นางฟ้า ฝรั่งหรือคนไทย ก็จะเรียกสั้นๆง่ายๆ ว่า "แอลเอ" ซึ่งมีพลเมืองราว 3.8 ล้านคน ขนาดพื้นที่ 1290.6 ตร.กม.
ชื่อเสียงของนครลอสแองเจลิส ก็คือ ภาพยนตร์ ดนตรี เพราะแอลเอตั้งอยู่ริมทะเล อากาศที่อบอุ่นเมืองอื่นๆ มีแสงแดดเกือบทั้งปี ฝนก็ไม่ค่อยตก จึงเป็นแหล่งของการสร้างและถ่ายทำภาพยนตร์ ฮอลลีวูดคือสัญญลักษณ์ของภาพยนตร์ ดารานักแสดง จึงอาศัยอยู่ในแถบนี้ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ การตัดต่อภาพยนตร์ ดนตรี การบันทึกเสียง จึงอยู่ในฮอลลีวูด เช่น Capitol Records รูปตึก จึงเป็นลักษณะคล้ายแผ่นเสียง ดังภาพ แอลเอ ยังเป็นศูนย์กลางด้านการค้านานาชาติ ธุรกิจ แฟชั่น การศึกษา การกีฬา ฯลฯ
|
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 17:00:59 » |
|
แต่ผมเคยเห็นครับพี่ ในวันที่ไปเยี่ยมแม่ครับ เห็นเด็กโดดเ่ล่นน้ำคลองแสนแสบ เห็นแล้วสยองแทนครับ อารมณ์เด็กๆเนอะ ยังไม่ประสีประสา สงสารจัง
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 21:45:42 » |
|
เห็นด้วยกับพี่สมชาย 17 นะครับ มลภาวะกับเมืองใหญ่ๆ เป็นของคู่กัน จากบทเรียนเรื่องมลภาวะทางน้ำของกทม.ในยุคนั้น ทำให้เรามองไปยังเมืองอื่นๆในประเทศไทย ...
หนึ่งในนั้นก็คือ ภูเก็ต "ไข่มุกอันดามัน" ของเรา จะเล่าให้ฟังในอันดับต่อไปนะครับ
ย้อนกลับมาที่ปัญหาคลองแสนแสบ ...
ในยุคแรกๆที่เราเข้าไปบริหารจัดการในนิคมอุตสาหกรรม ตามสัญญาสัมปทาน จะบริหาร
1. ระบบบำบัดน้ำเสีย
2.ระบบผลิตน้ำประปา
3.ระบบระบายน้ำป้องกันน้ำท่วม
4.การบำรุงรักษาพื้นที่
สิ่งหนึ่งที่เราทำเชิงป้องกันคือ ใช้หลัก Polluter-pays principle "บุคคลที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย" มีเสนอขออนุมัติและได้รับการอนุมัติสำหรับการคิดสูตรค่าใช้จ่ายจากค่าพารามิเตอร์ เช่น BOD COD ฯลฯ โดยเรียกเก็บจากโรงงาน ยิ่งโรงงานปล่อยค่าพารามิเตอร์ที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำเสียสูง ก็เสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าโรงงานมีระบบ Pre Treatment ก่อนปล่อยน้ำเสียเข้าสู่ระบบ ก็จะทำให้ค่าพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ต้องเรียกเก็บต่ำ เป็นต้น
จากภาพ 3 ใน 4 คือ ชาวจุฬาฯ กับงานด้านสิ่งแวดล้อม ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประมาณปี 97
ท่านแรก รศ.ดร. หรรษา สงวนน้อย รองประธานที่ปรึกษาผู้ว่ากทม. (ดร.พิจิตต รัตตกุล) ท่านที่สอง ดร. สราวุธ ชโยวรรณ รองผู้ว่าการ การนิคมฯ
งานด้านนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่จะผลักดันให้งานสำเร็จ
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 21:46:22 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 21:47:46 » |
|
มีบางโรงงานที่ลักลอบปล่อยน้ำเสียลงรางระบายน้ำฝน ... เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการบำบัดน้ำเสีย แต่ก็ไม่ยากในการที่เราจะตรวจพบ และมีบทกำหนดโทษสำหรับโรงงานที่กระทำการลักลอบไม่ปล่อยน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัด จากประเด็นการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงรางระบายน้ำฝนโดยตรง (Direct Discharge) เป็นประเด็นที่เทียบเคียงได้กับสาเหตุหลักของการเน่าเสียของ คลองแสนแสบ ถ้าเป็นโรงงานในนิคมเราตรวจสอบ และมีบทกำหนดโทษที่ชัดเจน ควบคุมได้ แต่ถ้าเป็นกรณีคลองแสนแสบ หากมีการ Direct Discharge จะควบคุมอย่างไร??เคยมีการศึกษาว่าปริมาณน้ำเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมมีเพียง 15-20% ของน้ำเสียทั้งหมดในประเทศเราเท่านั้น ส่วนที่เหลือมาจากไหนเล่า ถ้าไม่ใช่น้ำทิ้งจากเราๆ ท่านๆ นั่นเอง แต่ในอดีตก็เป็นน้ำเสียที่ทิ้งกระจัดกระจาย หรือที่เรียกว่า Non Point Source นั่นเอง ในยุคนั้นจึงเกิดแนวคิดที่จะรวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือน เข้าสู่กระบวนการบำบัด (Water Treatment Plant หรือ โรงควบคุมคุณภาพน้ำ) และเช่นกัน กทม.ได้มีความพยายามที่จะใช้หลักการ Polluter-pays principle ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยคิดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียจากประชาชนโดยตรง โดยคำนวณเป็นสัดส่วนจากมิเตอร์น้ำประปา แต่ในที่สุดก็ทำได้เพียงการรวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือน เข้าสู่กระบวนการบำบัด แต่ไม่สามารถใช้หลักการ Polluter-pays principle โดยรัฐเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการบำบัดเอง และปล่อยน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นแม่น้ำ ต่อไป (ดังภาพ) คลองแสนแสบจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คลองแสนแสบ (Khlong Saen Saep) เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับได้กว่าหนึ่งร้อยหกสิบปีมาแล้ว ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี และมีชื่อเรียกว่า "สงครามอันนัมสยามยุทธ" คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว และเป็นเส้นทางเรือโดยสารคลองแสนแสบ แต่ปัจจุบันมีปัญหามลภาวะในน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ที่มาของชื่อ ว่ากันว่าชื่อคลองที่เรียกว่า "แสนแสบ" นั้นเพราะยุงชุม โดยมีหลักฐานจากบันทึกการเดินทางของนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อนาย ดี.โอ. คิง ความว่า "...คลองนี้ยาวถึง 55 ไมล์ เชื่อมนครกรุงเทพฯ กับแม่น้ำบางปะกง บริเวณที่ราบชนบท... คนพื้นเมืองเป็นคนเชื้อสายมาเลย์... ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรอยู่ก็ตาม มือข้างหนึ่งจะต้องใช้ปัดยุงเสมอ ..." ------------- http://www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=RDG4540031การศึกษาเรื่องการศึกษากับการสร้างจิตสำนึก : กรณีคลองแสนแสบ มีที่มาจากการที่นักวิจัยได้ร่วมงานพัฒนากับชมรมรวมใจภักดิ์รักษ์ต้นไม้ แม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อม โดยมี ดร.โกวิท วรพิพัฒน์เป็นประธานชมรมในช่วงแรก เริ่มงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ณ คลองแสนแสบย่านมีนบุรีและหนองจอกที่มีปัญหาหลักคือผักตบชวาแน่นเต็มคลองและมีการทิ้งของเสียลงคลองการรณรงค์ต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากคลองมากขึ้นทั้งในด้านการอุปโภคและการสัญจร อย่างไรก็ตามพบว่าชาวบ้านยังมีพฤติกรรมทิ้งของเสียลงคลองและเมื่อหน้าฝนน้ำจะชะล้างผืนนาที่มีสารพิษจากยากำจัดศัตรูพืชลงคลองทำให้ระบบนิเวศน์ในคลองเสียไป ดังนั้นหากไม่มีการสร้างจิตสำนึกใดๆคลองแสนแสบบริเวณรอบนอกที่ยังมีสภาพดีอยู่คงจะเสียในไม่ช้า หากมีการใช้เป็นบทเรียนแก่แหล่งน้ำอื่นที่ยังสามารถรักษาไว้ไม่ให้เน่าเสียจนยากจะเยียวยาเหมือนกรุงเทพฯชั้นในน่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย กล่าวได้ว่าความสำเร็จของชมรมฯที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง ได้แก่ นโยบายภาครัฐต่อการรักษาแหล่งน้ำทั่วประเทศซึ่งเป็นมิติด้านกว้าง แต่ในมิติด้านลึกคือเรื่องของการสร้างจิตสำนึกให้รักษาแหล่งน้ำในที่นี้คือคลองแสนแสบยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้สามารถเติมเต็มในส่วนที่ขาด ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบให้เยาวชนและชาวบ้านผ่านการศึกษาที่เกิดขึ้นในชุมชนริมคลองแสนแสบ
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:06:23 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:07:20 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:09:07 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:13:30 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #51 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:14:09 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #52 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:14:57 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #53 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:16:03 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #54 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:17:14 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #55 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:18:17 » |
|
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:21:40 » |
|
คลองด่าน .. เกี่ยวไหมคะ ??
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #57 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:23:47 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #58 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:24:22 » |
|
เกือบเกี่ยวครับ ... แต่พอจะเกือบเกี่ยว ก็ถอยดีกว่า เลยไม่เกี่ยว ^_^
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #59 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2553, 22:27:48 » |
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #60 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 07:27:21 » |
|
ขอบคุณครับ น้องหะยี และ ดร. มนตรี ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น และนำสิ่งที่มีประโยชน์ มาแบ่งปันให้ชาวซีมะโด่งโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี แนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร
1. มาตรการด้านการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
1.1 การแก้ไขปัญหาระยะสั้น เป็นการดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ และเร่งแก้ไขปัญหาน้ำเสียเฉพาะจุดในระยะเวลาอันสั้น จึงมีการก่อสร้างโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำขนาดเล็ก
1. โรงควบคุมคุณภาพน้ำอ่อนนุช 2. โรงควบคุมคุณภาพน้ำพระราม 9
นอกจากนี้ สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ ยังมีโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำขนาดเล็กที่ได้รับโอนจากการเคหะแห่งชาติ จำนวน 12 แห่ง 1. โรงควบคุมคุณภาพน้ำห้วยขวาง 2. โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางนา 3. โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองจั่น 4. โรงควบคุมคุณภาพน้ำรามอินทรา 5. โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 1 6. โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งสองห้อง 2 7. โรงควบคุมคุณภาพน้ำหัวหมาก 8. โรงควบคุมคุณภาพน้ำท่าทราย 9. โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองเตย 10. โรงควบคุมคุณภาพน้ำร่มเกล้า 11. โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางบัว 12. โรงควบคุมคุณภาพน้ำบ่อนไก่
1.2 การแก้ไขปัญหาระยะยาว มาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาว เป็นการดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ โดยใช้แผนหลักการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครเป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติ โดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เอื้ออำนวยให้มีการก่อสร้าง โดยจะรวบรวมน้ำเสียจากชุมชน เข้าสู่โรงบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่คูคลอง และแม่น้ำจ้าพระยา กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม จำนวน 7 พื้นที่ 6 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่รวม 191.7 ตารางกิโลเมตร สามารถบำบัดน้ำเสียโดยรวมได้ทั้งสิ้นประมาณ 992,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้แก่ 1. โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา 2. โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ 3. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ ดินแดง 4. โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี 5. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ หนองแขม 6. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ ทุ่งครุ 7. โรงควบคุมคุณภาพน้ำ จตุจักร
1.3 แผนการดำเนินงานในอนาคต ได้มีการจัดทำแผนงานการบำบัดน้ำเสียรวมเพิ่มเติมในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 5 (ปี พ.ศ.2545 - 2549) โดยจะดำเนินการก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียรวมอีก 3 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 150 ตารางกิโลเมตร สามารถบำบัดน้ำเสียได้รวม 823,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้แก่
1. โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย 2. โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี 3. โครงการบำบัดน้ำเสียบางซื่อ
2. มาตรการด้านกฎหมาย ได้มีการตรวจสอบ ควบคุม และติดตามคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร สถานประกอบการประเภทต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรมและ สถานที่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีกฏหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพน้ำที่กรุงเทพมหานครได้นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ที่สำคัญ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 2. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 3. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 4. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 5. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ฯลฯ
3. มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์
เนื่องจากปัญหาน้ำเสีย ไม่สามารถแก้ไขได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐบาล เอกชน และประชาชนทั่วไป การประชาสัมพันธ์มีความสำคัญยิ่งต่อการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล และรายงานสถานการณ์ให้ทุกฝ่ายได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในปัญหาน้ำเสีย และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาน้ำเสีย กิจกรรมประชาสัมพันธ์เรื่องปัญหาและการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เป็นกิจกรรมที่สำนักการระบายน้ำดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยลำพัง และได้รับการส่งเสริมมากยิ่งขึ้น เมื่อปัญหาน้ำเสียทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การประชาสัมพันธ์เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่ได้ดำเนินการมาแล้ว ได้แก่ 1. จัดทำเอกสาร และสื่อประชาสัมพันธ์ ประเภทต่างๆ เช่น โปสเตอร์ วีดีโอ แผ่นปลิว แผ่นพับ และเอกสารทางวิชาการต่างๆ ในเรื่องมลพิษทางน้ำ กฏหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมลพิษ วิธีการบำบัดน้ำเสีย และผลกระทบของปัญหาน้ำเสีย (เอกสารขอรับได้ที่กลุ่มงานวิเคราะห์คุณภาพน้ำ สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ) และข้อมูลคุณภาพน้ำและคุณภาพน้ำตะกอนน้ำเสียของแหล่งน้ำสาธารณะและแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินระบบบำบัดน้ำเสีย ค่าใช้จ่ายการเดินระบบบำบัดน้ำเสียและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร และการจัดเก็บค่าธรรมเนียม และกลุ่มงานระบบข้อมูลและบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียม สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ 2. การให้บริการทางวิชาการในรูปของการเข้าร่วมสัมมนา บรรยายทางวิชาการ ต้อนรับผู้ดูงาน สนับสนุนข้อมูล และเอกสารวิชาการ แก่นักศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ 3. เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในรูปการแสดงนิทรรศการในที่ต่าง ๆ 4. ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่นปลูกฝังทัศนคติให้เยาวชนรัก และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 5. ดำเนินการฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้ให้แก่เจ้าของหรือผู้ดูและระบบบำบัดน้ำเสีย และเจ้าของสถานประกอบการรวมทั้งนักเรียน นักศึกษา ครู ประชาชนทั่วไป และเจ้าหน้าที่ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ที่มา :http://dds.bangkok.go.th/factory.htm
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #61 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 07:54:39 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #62 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 08:29:46 » |
|
http://www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=RDG4540031การศึกษาเรื่องการศึกษากับการสร้างจิตสำนึก : กรณีคลองแสนแสบ มีที่มาจากการที่นักวิจัยได้ร่วมงานพัฒนากับชมรมรวมใจภักดิ์รักษ์ต้นไม้ แม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อม โดยมี ดร.โกวิท วรพิพัฒน์เป็นประธานชมรมในช่วงแรก เริ่มงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ณ คลองแสนแสบย่านมีนบุรีและหนองจอกที่มีปัญหาหลักคือผักตบชวาแน่นเต็มคลองและมีการทิ้งของเสียลงคลองการรณรงค์ต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากคลองมากขึ้นทั้งในด้านการอุปโภคและการสัญจร อย่างไรก็ตามพบว่าชาวบ้านยังมีพฤติกรรมทิ้งของเสียลงคลองและเมื่อหน้าฝนน้ำจะชะล้างผืนนาที่มีสารพิษจากยากำจัดศัตรูพืชลงคลองทำให้ระบบนิเวศน์ในคลองเสียไป ดังนั้นหากไม่มีการสร้างจิตสำนึกใดๆคลองแสนแสบบริเวณรอบนอกที่ยังมีสภาพดีอยู่คงจะเสียในไม่ช้า
หากมีการใช้เป็นบทเรียนแก่แหล่งน้ำอื่นที่ยังสามารถรักษาไว้ไม่ให้เน่าเสียจนยากจะเยียวยาเหมือนกรุงเทพฯชั้นในน่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย กล่าวได้ว่าความสำเร็จของชมรมฯที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง ได้แก่ นโยบายภาครัฐต่อการรักษาแหล่งน้ำทั่วประเทศซึ่งเป็นมิติด้านกว้าง แต่ในมิติด้านลึกคือเรื่องของการสร้างจิตสำนึกให้รักษาแหล่งน้ำในที่นี้คือคลองแสนแสบยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้สามารถเติมเต็มในส่วนที่ขาด ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบให้เยาวชนและชาวบ้านผ่านการศึกษาที่เกิดขึ้นในชุมชนริมคลองแสนแสบ
วัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ ศึกษากระบวนการถ่ายโอนภูมิปัญญาในการรักษาคลองแสนแสบจากชุมชนกมาลุลอิสลามสู่ชุมชนศาลาแดง ศึกษากระบวนการทำหลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบ ศึกษากระบวนการสร้างความตระหนักในปัญหาคลองแสนแสบและการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบอย่างยั่งยืน และศึกษามิติอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลอง และหลักสูตรท้องถิ่น โดยจะทำการศึกษาที่ชุมชนศาลาแดง หมู่ 5 เขตหนองจอก และหมู่ 9 เขตกระทุ่มราย ใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี คือ ตั้งแต่ 15 มกราคม 2545- 15 มกราคม 2546
แนวคิดที่ใช้ศึกษาได้แก่ แนวคิดแบบองค์รวมกับการสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมกระบวนการทางวัฒนธรรมและศาสนากับการรักษาคลองแสนแสบ คลองแสนแสบกับบริบทที่เกี่ยวข้อง กระบวนเรียนรู้ของชุมชนกับหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งแนวคิดทางด้านการศึกษาใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้แบบพุทธิปัญญาและการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม การบูรณาการวิชา และการศึกษาปัจจัยเงื่อนไขของการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ ปัจจัยนำเข้าได้แก่สภาวะพื้นฐานของโรงเรียนและชุมชนผ่านกระบวนการของการทำหลักสูตรท้องถิ่นในเด็ก การศึกษาดูงานในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบอย่างยั่งยืน เป็นที่มาของคำถามหลักในการวิจัยที่ว่า กระบวนถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนกมาลุลอิสลามกับชุมชนศาลาแดงมีการขับเคลื่อนอย่างไรและได้ผลอย่างไร หลักสูตรท้องถิ่นของชุมชนศาลาแดงที่ร่วมกันทำระหว่างครูกับชาวบ้านมีลักษณะใดจะช่วยแก้ปัญหาคลองแสนแสบได้มากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะให้ชาวชุมชนศาลาแดงตระหนักในปัญหามลพิษในคลองแสนแสบและเกิดจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบให้มีสภาพดีอย่างยั่งยืน มิติด้านอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้เรื่องจิตสำนึกในการรักษาคลองหรือไม่ และส่งผลต่อหลักสูตรท้องถิ่นอย่างไรระเบียบวิธีในการวิจัยที่ใช้เป็นเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เชิงปริมาณได้แก่ การตรวจคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบและการประเมินผลทัศนคติของนักเรียน อาจารย์และชาวบ้านต่อหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมงานวิจัยต่างๆ
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เป็นแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ที่นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมกับโรงเรียนและชุมชนเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบทั้งในรูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมอื่นๆที่มีในชุมชน ผ่านวิธีวิจัย ประการแรกเป็นการสัมภาษณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประการที่สองเป็นการสังเกตโดยตรงและแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีกรอบการสังเกตคือ ฉาก พฤติกรรม กิจกรรม ความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมและการให้ความหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกและจัดระบบ รวมทั้งการตีความหมายของข้อมูล การนำเสนอข้อมูลใช้วิธีพรรณนาผลการศึกษาพบว่าการถ่ายโอนภูมิปัญญาระหว่างชุมชนกมาลุลอิสลามมาสู่ชุมชนศาลาแดงยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากเป็นการก้าวข้ามขั้นตอนที่ชุมชนศาลาแดงต้องตระหนักในปัญหาของคลองแสนแสบเสียก่อน แต่ได้มีการวางรากฐานของวิธีคิดในการรักษาคลองแสนแสบผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ชุมชน แลผ่านการบรรยายของอิหม่ามวินัย สะมะอุนแห่งมัสยิดกมาลุลอิสลาม
นอกจากนี้ได้ข้อสรุปว่าภูมิปัญญาในการรักษาคลองแสนแสบของชุมชนศาลาแดงน่าจะระเบิดจากข้างในมากกว่าการรับมาจากภายนอก เนื่องจากมีศักยภาพเพียงพอกระบวนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นภาคเรียนที่ 1/2545 ได้หลักสูตรเรือกับวิถีชีวิตของชุมชนศาลาแดง ซึ่งมี 6 หน่วย ประกอบด้วย เรือกับวิถีชีวิตของชุมชนศาลาแดง ประวัติชุมชนศาลาแดง ประเพณีและการละเล่นพื้นบ้าน กำจัดจุดอ่อนก่อนแข่งเรือ การว่ายน้ำและพายเรือ และ มัคคุเทศก์น้อย ซึ่งเมื่อประเมินผลโดยอาจารย์ประจำหน่วยและนักวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ผลการประเมินอยู่ในระดับดีแทบทุกหน่วย ส่วนข้อเสนอแนะคือควรมีการโยงเข้ากับการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบด้วย ส่วนหน่วยที่อาจารย์ไม่สันทัดเช่นมัคคุเทศก์น้อยได้เปลี่ยนเป็นเกษตรธรรมชาติซึ่งตรงกับความต้องการของชุมชนและความถนัดของอาจารย์
ส่วนกระบวนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นในภาคเรียนถัดมา มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในภาคเรียนที่แล้ว ทดลองการบูรณาการวิชาหลักสูตรท้องถิ่นเข้าสู่วิชาแกน ทดสอบแนวคิดหลักสูตรท้องถิ่นพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อาจารย์สามารถบูรณาการวิชาแกนกับหลักสูตรท้องถิ่นได้ ส่วนการทดลองทำ”หลักสูตรของหนู”ได้จุดประกายให้สังคมได้ขบคิด และได้ท้าทายให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรของหนูให้เป็นจริงในโรงเรียนที่ศึกษารวมทั้งโรงเรียนอื่นๆผ่านทางสื่อมวลชนกระบวนการสร้างความตระหนักในปัญหาคลองแสนแสบและการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบ แบ่งเป็นกิจกรรมของกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ใหญ่ ซึ่งทั้งสองกลุ่มสามารถสร้างการแลกเปลี่ยนพูดคุยในเรื่องการพัฒนาของชุมชนมากขึ้น และทำให้มีจิตสำนึกร่วมในการรักษาคลองแสนแสบมากขึ้นส่วนมิติอื่นๆที่มีผลต่อกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการรักษาคลองแสนแสบและหลักสูตรท้องถิ่นพบว่ามีทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ มิติด้านศาสนาและวัฒนธรรม มิติทางด้านการเมืองการปกครอง มิติทางด้านการสื่อสารและมิติทางด้านเศรษฐกิจ
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปคือ พัฒนาแนวคิดหลักสูตรของหนูให้เป็นจริง และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมพลังชมรมเกษตรธรรมชาติหนองจอกและเพื่อสร้างการพัฒนาจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการทางศาสนาและวัฒนธรรมในกลุ่มคนไทยพุทธให้มากขึ้น ฝ่ายการศึกษาสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครชั้นนอก รวมทั้งโรงเรียนที่อยู่ริมคลองแสนแสบ เขตกรุงเทพฯชั้นนอก รวมทั้งโรงเรียนอื่นๆที่มีบริบทใกล้เคียงกันสามารถนำ”วิธีคิด”ในการรักษาแม่น้ำลำคลองผ่านการศึกษาไปปรับใช้ได้ นอกจากนี้เสนอให้ชมรมรวมใจภักดิ์รักษ์ต้นไม้ แม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อม ได้ปรับวิธีการรณรงค์การรักษาคลองแสนแสบด้วยการเสริมสร้างพลังให้โรงเรียนและชุมชนสามารถรักษาคลองแสนแสบด้วยตนเอง โดยในขั้นต้นใช้การหาข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนและชุมชนที่มีศักยภาพ ตามด้วยการเสริมสร้างพลังให้โรงเรียนและชุมชนรักษาคลองแสนแสบด้วยวิธีการที่มีความต่อเนื่อง
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #63 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 11:00:11 » |
|
น้องหะยี โครงการบำบัดน้ำเสีย ยังไม่ทันจะเริ่มเลย โครงการอภิมหาโกงเริ่มก่อนย้อนไปในอดีตเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วได้มีอภิมหาโคตรโกงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนเกี่ยวโยงด้วย โดยได้นำเอาปัญหาน้ำเสียมาบังหน้าซึ่งประเทศไทยได้ประสบปัญหาน้ำเสียมาเป็นเวลานาน โดยน้ำเสียนั้นมาจากหลายปัญหา เช่น การทิ้งขยะลงแม่น้ำ การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในแม่น้ำ นักการเมืองเหล่านี้ได้อาศัยช่องโหว่ของการจัดตั้งระบบบ่อบำบัดน้ำเสียโกงกินเงินประเทศกัน
โครงการบำบัดน้ำเสียนี้อาจถือได้ว่าเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่เคยก่อสร้างขึ้นในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย โดยเมื่อก่อสร้างในระยะแรกแล้วเสร็จจะสามารถบำบัดได้ในอัตราวันละ 525,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทั้งนี้เมื่อโครงการดำเนินจนถึงระยะสุดท้ายจะสามารถบำบัดได้ถึง 1,785,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2538 ให้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย 2 ฝั่ง โดยฝั่งตะวันตกให้ก่อสร้างที่ ต.บางปลากด ส่วนฝั่งตะวันออกให้ก่อสร้างที่ ต.บางปูใหม่ ในวงเงินลงทุน 13,612 ล้านบาท
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมีการเสนอให้ยุบรวมระบบบำบัดน้ำเสียจาก 2 ฝั่ง ให้เหลือเพียงฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการประหยัดการลงทุนเกี่ยวกับค่าที่ดินและง่ายต่อการบำรุงรักษาประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนได้มีการเสนอให้ใช้ที่ดินบริเวณ ต.คลองด่าน
ซึ่งเดิมได้ให้กรมโยธาธิการก่อสร้างฝั่งตะวันตกและกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้างในฝั่งตะวันออกหลังมีมติใหม่ออกมาได้มีการแต่งตั้งให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ก่อสร้างเพียงฝ่ายเดียว โดยให้ประสานแผนงานกับกรมโยธาธิการและกรมอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นระบบที่ประหยัดที่สุด
เดิมที่ดินตั้งอยู่หมู่ 11 ต.คลองด่าน ด้านทิศใต้ ถนน สุขุมวิท บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 58 พื้รที่เป็นดินเลน เป็นที่ลุ่มชุ่มน้ำ น้ำทะเลท่วมถึง ใบเอกสารที่ดินในบริเวณพื้นที่ที่มีผู้ถือครองเป็นใบ สค. 1 กว่า 90% ที่เหลือเป็นใบ น.ส. 3 การใช้ประโยชน์ในที่ดินชาวบ้านใช้ปลูกไม้โกงกางและไม้แสมที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติ และส่วนหนึ่งขุดบ่อเลี้ยงกุ้งธรรมชาติ ไม่มีบ้านเรือนราษฎรปลูกอาศัยในบริเวณพื้นที่มาก่อน จะมีเพียงกระต๊อบเล็กของชาวบ้านปลูกไว้เฝ้าบ่อกุ้งอยู่ห่างกันเพียงไม่กี่หลัง สภาพพื้นที่เป็นป่าชายเลนติดกับทะเล
การจัดซื้อที่ดินสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านมีเงื่อนงำหลายประการ ประการแรก คือ มีการเปลี่ยนที่ก่อสร้างโครงการที่ ต.บางปลากด กับ ต.บางปูใหม่ เป็นที่ ต.คลองด่าน ทำให้ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเข้าทางปืนกลุ่มธุรกิจการเมืองที่ต้องการขายที่ดินของตนเอง ประการที่สอง คือ ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าชายเลนและเป็นเขตป่าอนุรักษ์จึงไม่สามารถออกโฉนดได้ เมื่อกลุ่มบริษัทการค้าผู้รับเหมา(NVPSKG)ซื้อที่ดินเสร็จก็โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กรมควบคุมมลพิษเพื่อรับเงินค่าที่ดินจำนวน 1,956 ล้านบาท ประการที่สาม คือ ที่ดินมีราคาสูงกว่าปกติเพราะสำนักที่ดินจังหวัดสมุทรปราการประเมินราคาที่ดิน 17 แปลง ในราคาไร่ละ 480,000 บาท แต่กลับมาย้อมแมวขายในราคาไร่ละ 1.03 ล้านบาท ประการที่สี่ คือ การอนุมัติงวดเงินเพื่อจัดซื้อโดยมิชอบ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินจำนวนที่มากกว่าเดิมในการซื้อที่ดินถึงเท่าตัว ทั้งๆที่เดิมบอกไว้ว่าเป็นการประหยัดขึ้นในการสร้างที่เดียว ประเด็นที่ห้า คือ การเลือกผู้รับจ้างเป็นบริษัทรับเหมาของนักการเมืองกันเอง จำนวนหลายบริษัทอาทิเช่น บริษัทสี่แสงการโยธา(1979) จำกัด บริษัทประยูรวิศว์การช่าง จำกัด
บริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้ได้แก่ กลุ่มผู้รับเหมา(NVPSKG)โดย N คือ บริษัทนอร์ธเวส วอเตอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(ของอังกฤษ) ,V คือ บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด(ของนายพิษณุ ชวนะนันท์) , P คือ บริษัทประยูรวิศว์การช่าง จำกัด(ของตระกูลลิปตพัลลภ) , S คือ บริษัทสี่แสงการโยธา(1979) จำกัด(ของนายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล ซึ่งแนบแน่นกับ นายบรรหาร ศิลปอาชา) , K คือ บริษัทกรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด(นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล หลานของนายวิจิตร ชวนะนันท์) , G คือบริษัทเกตเวย์ ดิเวลลอปเมนต์ จำกัด(คนอยู่ในบริษัทคลองด่านมารีน แอนด์ ฟีชเชอร์รี จำกัด) นอกจากนี้ยังมีบริษัทไทยเรืองอุตสาหกรรม(คือการรวมตัวกันของบริษัท VSK) บริษัทปาล์มบีช ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด(นายวัฒนาและนายสมพร อัศวเหม และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นผู้ถือหุ้น) บริษัทคลองด่านมารีน แอนด์ ฟีชเชอร์รี จำกัด(ของนายอิศราพร ชุตาภา)และได้มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องคือกรมควบคุมมลพิษสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนยีและสิ่งแวดล้อม
ความเชื่อมโยงของกลุ่มนี้เริ่มจาก นายวัฒนา อัศวเหมได้ซื้อที่จากประชาชนในราคาไร่ละ 20,000 บาทในนามบริษัทเหมืองแร่ลานทอง จำกัด จำนวนหนึ่งและได้ขายที่ดินให้บริษัท ปาล์มบีชในราคาไร่ละ 100,000 กว่าบาท และได้กว้านซื้อพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อนำไปทำเป็นสนามกอล์ฟ จากนั้น บ.ปาล์มบีชได้ขายต่อให้บริษัทคลองด่านในราคาไร่ละ 200,000 กว่าบาท จากนั้นบริษัทคลองด่านได้ขายต่อให้บริษัทผู้รับเหมา(NVPSKG)ในราคาไร่ละ 400,000 กว่าบาทและได้ขายต่อให้กับกรมควบคุมมลพิษในที่สุด โดยขายในราคาไร่ละ 1 ล้านกว่าบาท รวมทั้งหมด 1,903ไร่ ซึ่งราคาจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเปลี่ยนมือผู้ถือโฉนดจากราคาไร่ละ 20,000 บาท เป็นไร่ละ 1 ล้านกว่าบาท ทำให้สูญเสียค่าที่ดินไปเป็นจำนวนเงิน 1,956 ล้านบาท จากเดิมค่าที่ดินประเมินเอาไว้ที่ 900 ล้านบาทจากนั้นบริษัทไทยเรืองอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตท่อบำบัดน้ำเสียซึ่งบริษัทไทยเรืองอุตสาหกรรมเป็นบริษัท(VSK)รวมตัวกันและบริษัทผู้รับเหมา(NVPSKG)เป็นผู้ดำเนินการสร้าง หลังจากเปลี่ยนมติให้ก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านแทนเป็นเหตุให้ต้องเพิ่มงบประมาณจากเดิม 12,866 ล้านบาท เป็น 22,955 ล้านบาท โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากค่าก่อสร้างท่อเพื่อรวบรวมน้ำเสียจากฝั่งตะวันตกมาบำบัดที่ฝั่งตะวันออก และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการวางท่อเพื่อระบายน้ำทิ้งลงในอ่าวคลองด่าน และเพื่อเป็นค่าซื้อที่ดินสำหรับที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย
เดิมการซื้อขายเปลี่ยนมือราคาที่ดินในบริเวณพื้นที่ที่ใช้สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเรียงตามลำดับ พ.ศ. มีดังนี้ วันที่ 29 เม.ย. 2503 ได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ส.ค. 1 เลขที่180/98 ระหว่างนายสังวรณ์ จั่นเพชร กับ นายปุย นางสุชิน โห้ประไพ ผู้ซื้อในราคาไร่ละ 200 บาท จำนวน 37 ไร่ วันที่ 28 มิ.ย. 2517 นายปุย นางสุชิน โห้ประไพ ได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวขายยกแปลงให้กับ นายสมศักดิ์ ชนสารสินป์ ในราคา 245,375 บาท ตกราคาประมาณไร่ละ 6,578 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2531 นายวัฒนา อัศวเหม ก็ได้ซื้อที่ดินในบริเวณพื้นที่หมู่ 11 ต.คลองด่านไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2531-2533บริษัทปาล์มบีชได้กว้านซื้อพื้นที่บริเวณหมู่ 11 ต.คลองด่านโดยเป็นพื้นที่ที่ใช้บำบัดน้ำเสียที่คลองด่านในปัจจุบันและได้ทำกันเป็นกระบวนการต่อไปเรื่อยๆ
นอกจากเรื่องที่ดินและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขแล้ว การเลือกตั้งพื้นที่บริเวณ ต.คลองด่านเป็นที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสียและท่อต่อระบายน้ำเสียลงในทะเลบริเวณอ่าวคลองด่านก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน โดยชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านการดำเนินงานตามโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง กระทั่งวุฒิสภาได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามตรวจสอบโครงการนี้ ซึ่งพบประเด็นปัญหาต่างๆคือ 1. ปัญหาทางด้านกฎหมาย 2. ปัญหาทางด้านวิศวกรรม และ 3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เนื่องด้วยตัวทีมงานมีโอกาสได้เข้าไปทำข่าวที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้หยิบยกประเด็นที่น่าสนใจในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจมากเมื่อ 10 ปีที่แล้วมารายงานเหตุการณ์ให้ผู้อ่านได้รับทราบ เพราะทางทีมงานเห็นว่าเป็นข่าวที่มีความน่าสนใจแต่ได้ผ่านมาแล้ว 10 ปี ซึ่งข่าวนี้ยังไม่จบแต่มีความคืบหน้าขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งมีการยื่นเอกสารข้อมูลการทุจริตให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในข้อหาทุจริตเรื่องการจัดซื้อที่ดินเกินราคาจริงมานานหลายปี แต่คดีก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า จนคดีที่ดินจำนวน 6 แปลง หมดอายุความแล้วเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2546 แม้จะดูเหมือนเส้นทางจัดการการทุจริตอภิมหาใหญ่ยักษ์มูลค่า 2.3 หมื่นล้านโครงการนี้ จะส่อแววหาผู้รับผิดไม่ได้ แต่เราก็หวังว่ารัฐจะไม่นิ่งนอนใจที่จะจัดการกับเรื่องนี้ เพราะการปราบปรามทุจริตในวงการรัฐก็เป็นนโยบายหนึ่งที่รัฐบาลชูมาตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาและจะชูไปอีก 4 ปีข้างหน้า หอข่าวฯซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นใหม่จึงฝากความหวังไว้กับผู้ใหญ่ เราจะคอยติดตามว่าเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปยังไง จะจับกุมผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือประเทศไทยจะต้องสูญเปล่าไปกับเงินกว่าสองหมื่นล้านบาทหรือไม่ หรือจะมีทางออกประการใดบ้างนั้น คงต้องติดตามกันดู
หนังสืออ้างอิง 1. เฉลา ทิมทอง (2546) . เปิดโปงโคตรขี้โกงบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน . คำให้การต่อกรม สอบสวนคดีพิเศษ 2. แนวหน้า . เปิดรายงานอภิมหาโคตรโกง . 16 มิถุนายน 2546 3. ศัลยา ประชาชาติ (2546) . มติชนสุดสัปดาห์ . ไอ้ก้านยาวกู้ภาพไอ้ก้านหนุ่มลุยปราบโกงคลองด่าน 2 หมื่นล้านแฉนักการเมือง-ผู้รับเหมาพัวพัน . (น.16) 17 มกราคม 2546 ฉบับที่ 1170 4. มติชนสุดสัปดาห์ . เพลงดาบไอ้ก้านยาวเสียบอัศวเหมทะลุชาติไทย-ชาติพัฒนา สังเวยคลองด่าน . (น.12) 13 มิถุนายน 2546 ฉบับที่ 1191 5. มติชน . สอบสวนพิเศษ เริ่มลุยต่อคลองด่านภาค 3 เตรียมเรียกเลขาฯครม.สอบไม่แก้มติ ครม. . (น.12) 29 มิถุนายน 2546 6. ไทยรัฐ . คดีคลองด่านเจอตอ . (น.19) 27 มิถุนายน 2546
ที่มา: http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/webjrshow/webhorkor47/news_social_1.htm
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #64 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 11:18:24 » |
|
โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านบนความต่อสู้ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ (บทสัมภาษณ์ น.ส.ดาวัลย์ จันทรหัสดี จากสำนักข่าว Master News 14 ตุลาคม 2545) โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน อาจเป็นเรื่องราวที่คนทั่วไปลืมเลือนแล้ว เพราะข่าวคราวที่เงียบหายไปนาน แต่สำหรับชาวบ้าน ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ คงยากที่จะลืม เพราะเกี่ยวพันโดยตรงกับวิถีชีวิตของพวกเขา แม้ว่าที่ผ่านมา ได้มีการยอมรับจากหลายหน่วยงาน ทั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา , คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ รวมทั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เจ้าของเงินกู้ ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการทุจริตและมีผลกระทบด้านลบต่อวิถีชีวิตชุมชนของชาวบ้าน แต่นายกรัฐมนตรีก็ยังสั่งให้ก่อสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จ โดยอ้างว่ามีการเบิกจ่ายงบประมาณในการก่อสร้างที่ตั้งไว้ 23,7000 ล้านบาท ไปเกือบหมดแล้ว และขณะนี้โครงการแล้วเสร็จไปกว่าร้อยละ 94
นางสาวดาวัลย์ จันทรหัสดี ตัวแทนชาวบ้าน ต.คลองด่าน ที่คัดค้านโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน กลับแสดงความไม่เห็นด้วยที่รัฐสั่งให้สร้างต่อโดยระบุว่า “โครงการดังกล่าวก่อสร้างไม่เสร็จถึงร้อยละ 94 ตามที่รัฐบาลอ้าง ความจริงแล้วน่าจะเสร็จเพียงแค่ร้อยละ 60 เท่านั้น เพราะสภาพพื้นที่ของโครงการยังไม่มีการเก็บงาน และวิศวกรของโครงการเอง ได้ไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาว่า โครงการแล้วเสร็จแค่ร้อยละ 65 เท่านั้น หรือถ้าเสร็จจริงตามที่รัฐบาลอ้างก็ควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ส่วนเรื่องงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายไปมากแล้วนั้น อยากถามว่า ถ้าทราบว่ามีการทุจริตก็ยังจะให้มีการเบิกจ่ายกันต่อไปอีกหรือ” พร้อมกันนี้นางสาวดาวัลย์ยังได้แนะนำว่า รัฐควรสั่งหยุดการก่อสร้างประมาณ 7 เดือน เพื่อตรวจสอบโครงการทั้งหมด รวมทั้งงบประมาณในการก่อสร้างด้วย เพราะจากข้อมูลของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ระบุว่า ยังมีเงินเหลือจากการเบิกจ่ายสำหรับโครงการนี้อีกกว่า 9,000 ล้านบาท
“หากรัฐบาลจะดำเนินการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียต่อ ก็ทำไป ชาวบ้านไม่สามารถทำอะไรได้ เพียงแต่ว่าผู้รับเหมาโครงการ จะวางท่อรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ถนนสุขุมวิท กม.57 ไปยังโรงบำบัด รวมระยะทางประมาณ 1.5 กม. ไม่ได้ เพราะชาวบ้านเห็นพ้องต้องกันว่าท่อรับน้ำเสียเปรียบเสมือน “หัวใจ” ของโครงการหากไม่มีท่อก็ไม่สามารถส่งน้ำเสียไปบำบัดได้ ถึงบ่อบำบัดจะสร้างเสร็จ แต่ถ้าท่อรับน้ำไม่เสร็จชาวบ้านก็อยู่ได้ แต่ถ้าท่อเสร็จ วิถีชีวิตของชาวบ้านกว่า 100,000 คน จะถูกทำลาย หากผู้รับเหมาจะวางท่อ คงไม่มีการเจรจา” นางสาวดาวัลย์กล่าว และว่า “แน่จริงให้มันเอาเครื่องมือลง…ถ้ารัฐบาลยังดึงดันเอาชนะชาวบ้านอยู่ จะนำไปสู่ความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะชาวบ้านพยายามอย่างที่สุดที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติทุกอย่างแล้ว” คำถามที่ตามมาคือ แล้ว จ.สมุทรปราการ ควรมีระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่ นางสาวดาวัลย์ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สมควรจะมีอย่างที่สุด แต่ควรตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เกิดมลพิษ หรือในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ หรือไม่ก็ควรสร้างที่บางปูและบางปลากดตามที่ Montgomery & Watsan ได้ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ กลับสร้างที่คลองด่าน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว นอกจากนี้ รัฐยังจัดการน้ำเสียไม่ถูกวิธี กล่าวคือ ไม่ควรนำน้ำเสียของชุมชนมารวมกับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เพราะน้ำเสียชุมชนสามารถบำบัดด้วยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่น้ำเสียจากโรงงานมีโลหะต่างชนิดกัน ซึ่งต้องมีการบำบัดที่แตกต่างกันไป แต่โครงการนี้กลับรับภาระการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดมาเป็นของรัฐ ซึ่งไม่มีใครเขาทำกัน นอกจากนี้ ใน จ.สมุทรปราการ ไม่ควรมีบ่อบำบัดน้ำเสียเพียงแค่แห่งเดียว แต่ในแต่ละชุมชนควรจะมีบ่อบำบัดเป็นของตนเอง รัฐควรกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือมลภาวะให้กับชุมชน
ใช่ว่าจะเอาแต่ค้านอย่างเดียว แต่ชาวบ้านกลับมีทางออกให้รัฐบาลด้วย กล่าวคือ เสนอให้มีการปรับแก้โครงการจากโรงบำบัดน้ำเสียมาเป็นศูนย์วิจัยและแพร่ขยายพันธุ์สัตว์น้ำอ่าวไทยตอนบน และเป็นมหาวิทยาลัยประมง เพราะพื้นที่นี้เหมาะสมมาก โดยนำบ่อบำบัดที่มีก้นบ่อเป็นซีเมนต์ ปรับให้เป็นศูนย์วิจัยสัตว์น้ำจืด บ่อที่มีก้นบ่อเป็นดิน เป็นศูนย์วิจัยสัตว์น้ำกร่อย และทะเลเป็นศูนย์วิจัยสัตว์น้ำเค็ม ถือเป็นการทำทั้ง 3 ด้าน นอกจากนี้ ควรมีแหล่งวิจัยป่าชายเลนและหน่วยเฝ้าระวังของจุฬาฯ ด้วย แนวคิดดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งบ่อบำบัดอาคาร สิ่งก่อสร้างและพื้นที่ในโครงการทั้งหมด สิ่งที่ชาวคลองด่านเสนอมานี้ ใช่เป็นเพียงความคิดที่เป็นไปไม่ได้ หากแต่อ้างอิงหลักวิชาการเรื่องระบบนิเวศน์วิทยา เพราะชาวบ้านสมัยนี้ไม่ได้ใช้กำลังเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการศึกษา มีความรู้ และมีข้อมูลอย่างถูกต้อง โดยได้รับการชี้แนะจากองค์กรเอกชนและข้าราชการที่ทนเห็นการทุจริตไม่ไหว หลายคนมีการศึกษาระดับปริญญาตรี และหลายคนมีความรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งภาครัฐอาจคิดไม่ถึง
จนถึงวันนี้โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านยังดำเนินการก่อสร้างต่อไป ขณะที่ชาวคลองด่านก็เตรียมรับมือสู้กับผู้รับเหมาโครงการ การเผชิญหน้ากันของทั้งสองฝ่ายจะจบลงอย่างไร เป็นคำถามที่ไม่มีใครคาดเดาคำตอบได้
ที่มา: http://www.the-thainews.com/misc/journal/jn141045_1.htm
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก นายวัฒนา อัศวเหม และพวกรวม 10 คน ๆ ละ 3 ปี ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินคลองด่าน ศาลแขวงดุสิต ได้อ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโจทก์ยืนฟ้องกิจการร่วมค้า เอ็นวีพี เอสเคจี เป็นจำเลยที่ 1 กับพวกรวม 19 คน โดยมี นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นจำเลยที่ 19 ฐานร่วมกับฉ้อโกงที่ดิน กรณีร่วมกันทุจริตจัดซื้อที่ดินอำเภอคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นคลองสาธารณะและป่าชายเลน เพื่อก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน โดยวันนี้ จำเลยทุกคนเดินทางมาฟังคำพิพากษา ยกเว้น นายวัฒนา
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า จำเลยกับพวกอาศัยตำแหน่งและโอกาส แสวงหาประโยชน์เชื่อมโยงกัน จากการใช้เงินซื้อที่ดินจากชาวบ้าน และขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษ จึงพิพากษาจำคุก นายวัฒนา และจำเลยที่ 3, 5, 7, 9. 11, 13, 14, 15, 17 คนละ 3 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลยที่เหลือ ปรับคนละ 6,000 บาท เนื่องจากเป็นบริษัทนิติบุคคล นอกจากนี้ ศาลยังสั่งให้จับกุม นายวัฒนา มาลงโทษให้ได้โดยเร็ว ทั้งนี้ จำเลยที่ถูกพิพากษาจำคุกได้ยื่นหลักทรัพย์ 1 ล้านบาท ขอประกันตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20091112/86144/ศาลจำคุกวัฒนา-อัศวเหมกับพวก3ปีทุจริตที่ดินคลองด่าน.html
วันนี้ (18 ส.ค. 2552 ) เมื่อเวลา 14.00 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดย ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ผู้พิพากษาอาวุโส เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะ 9 คน ในคดีทุจริตที่ดินคลองด่าน นัดอ่านคำพิพากษา คดี อม.2/2550 ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย และประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใด มอบให้ หรือหามาซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น และเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 157, 33 และ 84 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 2 จากนั้น ศาลฎีกาฯได้ตัดสินโดยมีมติ 8-1 ให้จำคุกนายวัฒนา 10 ปี ไม่รอลงอาญากรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายวัฒนา ใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษ เพื่อก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ สำหรับคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก ตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท หรือประหารชีวิต โดยเมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาครั้งแรก นายวัฒนา ได้หลบหนีไปอยู่ในประเทศกัมพูชา ไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาตามกำหนดนัด ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับ นายวัฒนา และปรับนายประกันจำนวน 2,200,000 บาท
ที่มา: http://www.siam2you.com/index.php?option=com_fireboard&Itemid=57&func=view&catid=19&id=342
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #65 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 09:51:20 » |
|
ขออนุญาตแทรกหน่อยนะครับ พอดีอ่านพบข้อความที่พี่วณิชย์แสดงความเห็นไว้ตั้งแต่หน้าที่1 รู้สึกไม่เห็นด้วย (ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ผมไม่เก่งภาษาอังกฤษ) แต่ส่วนใหญ่ ที่ไม่เห็นด้วยก็คือ การเก่งภาษาอังกฤษหรือไม่เก่ง ไม่ใช่คำตอบของความมีปัญญาครับ ตัวอย่างเรือง GT200 ที่พี่ยกมาเป็นคำตอบอยู่แล้วครับ ลองไปเปิดดูคลิปที่นายกอภิสิทธิ์พูดถึง GT200 ก่อนที่จะมีการพิสูจน์กันในเมืองไทยดูซิครับ (ผมเคยดูในCmadong.comนี้ มีคนนำมาแปะ ไม่ทราบว่าอยู่ไหนแล้ว) ภาษาในโลกมีมากมาย เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล คนที่ทำหน้าที่บริหาร ไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาหรอกครับ แต่ต้องมีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ กล้า และจริงใจ (ซึ่ง ผมชื่นชมนายกอภิสิทธิ์ ในความกล้า แม้แต่เรื่องGT200 หลังจากพิสูจน์แล้ว ท่านก็กล้าปฎิเสธเครื่องนี้ในทันที)
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #66 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 10:25:13 » |
|
นั่นเป็นเพราะนายกอภิสิทธิ์ เป็นนักเรียนอังกฤษ ซึ่งต้องเก่งภาษาอังกฤษแน่นอนครับ จึงได้มีวิสัยทัศน์กล้าตัดสินใจ ... บ่างชั้นครูเริ่มออกโรงแล้ว
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
พศินน์
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2535
คณะ: วิศวฯ
กระทู้: 511
|
|
« ตอบ #67 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 16:42:43 » |
|
สวัสดีครับพี่ๆ
ชอบ นิยายเรื่อง "แผลเก่า" มากๆ อ่านตั้งแต่สมัยเด็กๆ เลยพลอยให้ได้อ่าน ผลงานของเจ้าของบทประพันธ์ "ไม้เมืองเดิม" คลาสสิค จริงๆ
ผมประกอบอาชีพในแวดวงนี้ ก็เลยขออนุญาต มาเก็บเกี่ยวความรู้ จากพี่ด้วยครับ
พี่หยี ครับ จำได้ว่าชุติมา เล่นเรื่องนี้ ดังมากๆ คนติดละคร กันจริงๆ ดูในรูปที่ post แล้ว ก็ อดคิดแบบพี่หยีว่าไม่ได้ ... พี่สมชาย ครับเห็นด้วยว่าไทย น่าจะเสียรู้เรื่องทราย คล้ายๆ เสียรู้เรื่อง แทนทาลัม มาก่อนแล้ว แต่ว่าพี่สมชาย เป็นญาติ กับ อ.สมศักดิ์ ที่ มธ. หรือปล่าว?
|
sound mind in sound body
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #68 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 17:22:57 » |
|
หวัดดีค่ะ น้องซอย ไม่ได้เจอกันตั้งนาน
สบายดีนะคะ ..
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #69 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 06:32:07 » |
|
นี่คือมลพิษทางทะเล ที่ยังไร้ทางป้องกันและแก้ไข
|
|
|
|
พศินน์
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2535
คณะ: วิศวฯ
กระทู้: 511
|
|
« ตอบ #70 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 16:25:57 » |
|
สวัสดีครับพี่ หยี สบายดีครับแต่ภาระกิจหนาแน่น เลยไม่ค่อยได้เข้าเวบ cmadong มีโอกาสจะไปแจมกับพี่ๆ สักวัน , โครงการคลองด่าน ผมเองก็มีโอกาสได้ร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงาน สมัยยังหนุ่มน้อย แต่ทำในส่วนของ งานวางท่อรวบรวมน้ำเสีย บริเวณถนนศรีนครินทร์ จากแยกศรีเทพา ไปยังแยกไฟฟ้าฯ และบางส่วนในเทศบาลนครฯ และถนนสุขุมวิท แถวๆ โรงเรียน นายเรือ , เสียดายที่โครงการ นี้มีปัญหา ก็หวังว่าจะมีทางออก และแก้ไขปัญหานำ ส่วนที่ก่อสร้างไปแล้ว นำกลับมาใช้ประโยชน์ โครงการนี้ทำให้ผมมีความรู้เรื่องการ ทำ pipe jacking และการก่อสร้างบ่อ แบบสร้างบนดิน แล้วขุดจมบ่อ ลึกลงไปในดิน ประมาณ 18 เมตร เพื่อจะได้ดันท่อ ศก. 3 เมตร
|
sound mind in sound body
|
|
|
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 574
|
|
« ตอบ #71 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 16:45:06 » |
|
ขับรถไปขอนแ่ก่นเมื่อวานบ่ายสอง เพิ่งกลับมาถึงบ้าน เห็นคำถามของน้องพศินน์ ว่าผมเป็นญาติกับ สมศักดิ์ ณ. มธ. หรือป่าว
คำตอบคือ ไม่ได้เป็นญาติกันครับ เพราะสมศักดิ์ เป็นน้องชายแท้ๆ ครับ
แต่ว่า ขอให้รู้จักผมจากสิ่งที่ผมเป็น ไม่ใช่สิ่งที่สมศักดิ์ เขียนนะครับ เพราะไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันครับ
ยินดีที่รู้จักครับ
|
I think, therefore I am.
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #73 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:04:18 » |
|
จากภาพ มีชาวจุฬาฯ 2 คน
1. (อดีต) ผู้จัดการนิคมฯ บางปู ปัจจุบัน ท่านดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการ การนิคมฯ ... บัญชี จุฬาฯ 2. ผมเอง ภาพแรก เสื้อฟ้า กางเกงดำ หน้าตาดี ^_^จากภาพ: เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องเติมอากาศ
การศึกษาเรื่องอัตราการถ่ายเทออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศลงไปน้ำเสียเพื่อทดสอบหาความสามารถในการเติมอากาศลงในน้ำของเครื่องเติมอากาศโดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบการเติมอากาศใหม่ของน้ำสะอาด (Reaeration of Deoxygenation Clean Water) เพื่อทดสอบหาค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนที่สภาวะมาตรฐาน (SOTR) และค่าประสิทธิภาพการเติมอากาศที่สภาวะมาตรฐาน (SAE) โดยกำหนดตัวแปรคือ
ขนาดของบ่อทดสอบ ความลึกน้ำทดสอบ ความจุน้ำรวม อุณหภูมิของน้ำทดสอบ ค่า pH น้ำ อุณหภูมิอากาศทั่วไป ความดันบรรยากาศทั่วไป ลักษณะการติดตั้งเครื่องเติมอากาศ
โดยกำหนดวิธีการวัดปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) ระยะห่างของ DO Meter จากจุดจ่ายอากาศ จุดที่ 1 ถึงจุดที่ n
กำหนดระดับความลึกจากผิวน้ำของหัววัดค่า DO 1.00 ม. โดยจะทำการบันทึกค่า DO และค่าอุณหภูมิของน้ำตั้งแต่วินาทีที่ 0 ถึง นาทีที่ 30
การทดสอบจะกระทำ 2 ซ้ำ จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ตาม Standard for the Measurement of Oxygen Transfer in Clean Water ของ ASCE สรุปเครื่องเติมอากาศมีค่า SOTR เท่ากับ .... kgO2/hr และ SAE เท่ากับ .... kgO2/hr/kW หรือ .... kgO2/hr/HP
เมื่อเปรียบเทียบกับสมมุติฐานที่ว่าเครื่องเติมอากาศดังกล่าวจะค่า SAE ประมาณ 1.5 kgO2/hr/kW
ก็จะทราบว่าเครื่องเติมอากาศดังกล่าวมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หรือไม่?
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #74 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:15:42 » |
|
ภูเก็ต: บีเจที ร่วมสานฝันเกาะภูเก็ตให้เป็นไข่มุกแห่งอันดามันอย่างแท้จริง
"บริหารการจัดการระบบน้ำเสียรวมและระบบกำจัดของเสีย สิ่งปฏิกูลต่างๆให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการอนุรักษ์และจัด การแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการ การจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการใช้สอยของเมือง"
(จากข้อความส่วนหนึ่งของแผนนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเทศเมืองภูเก็ต ปี 2540-2544)
จากแผนนโยบายดังกล่าว บีเจที จึงถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำหน้าที่ในการบริหารระบบบำบัดน้ำเสียให้แก่ชาวเมืองภูเก็ต ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้เริ่มปฏิบัติการในพื้นที่ตั้งแต่ วันที่ 9 เมษายน 2540 เป็นต้นมา และคาดว่าจะสามารถบริหารระบบบำบัดน้ำเสีย ให้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ของชาวเมืองภูเก็ตให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็น "อัญมณีไข่มุกแห่งทะเลอันดามัน" อย่างแท้จริงภาพ: ขณะดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ภูเก็ต (ภาพนี้ฝีมือถ่ายของผมเอง กล้องอัตโนมัติ ใช้ฟิล์ม สมัยก่อน ไม่ค่อยชัดนะครับ)
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #75 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:20:35 » |
|
โครงการที่ภูเก็ต : ยังมีชาวซีมะโด่งอีกท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
เพื่อนผมเอง "พิง ยิ่งยง" RCU69 ... รีครูทมาช่วยกันทำงาน โดยให้พิง ไปบริหาร Site งานในฐานะ Site Manager
ช่วยกับ เซฟ เกาะภูเก็ตให้ยังคงความเป็นไข่มุกแห่งทะเลอันดามัน ^_^
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #76 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 17:33:25 » |
|
ปี 41 ...
จากการที่เมืองปทุมธานีมีความเจริญรุดหน้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำประปา ซึ่งเป็นหัวใจของการอุปโภคบริโภคของชาวเมือง ดังนั้นการประปาภูมิภาคจึงได้ริเริ่มโครงการร่วมกับภาคเอกชน (Privatization Project) ในการผลิตน้ำประปาเพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้งานของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีและอาณาบริเวณใกล้เคียง โดยทั้งนี้ บีเจที วอเตอร์ มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติและความไว้วางใจให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ โดยได้รับมอบหมายให้ทำการผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังภูมิภาคต่างๆในจังหวัดปทุมธานี ธรรมศาสตร์ และรังสิต เพื่อนำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภคต่อไป
|
|
|
|
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788
|
|
« ตอบ #77 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 13:27:49 » |
|
น้องวณิชย์ครับ คุณ กำธร สุวรรณปิยะ นักแสดงที่มาแสดงเป็นอ้ายขวัญคนแรกในเรื่องแผลเก่า ที่เราคุยกันในห้องนี้ได้ป่วยและเสียชีวิตไปแล้วเมื่อ 2-3 มานี้ จึงขอแสดงความเสียใจมา ณ.ที่นี้ด้วย หวังว่าคลองแสนแสบของเราจะฟื้นมีชีวิตกลับมาในอนาคต
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #78 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 08:49:19 » |
|
พี่ปรีชา และพี่น้องชาวซีมะโด่งครับ
คุณกำธร สุวรรณปิยะ ที่แสดงเป็น "ไอ้ขวัญ" แล้ว คุณนันทวัน เมฆใหญ่ ก็แสดงเป็น "อีเรียม" ทราบว่าเป็นละครโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ไม่มีโอกาสได้ดูเลยครับ อยู่ ตจว. บ้านนอกจริงๆ เคยมีโอกาสดูทีวีขาวดำ ครั้งแรกๆ ตอน ป. 4 ก็เรื่อง "ยอดมนุษย์หมายเลข 7" เด็กๆไปรุมดูที่ร้านกาแฟกันทีร่วมร้อยคน สมัยอยู่ ตจว.ที่บ้านจนน่าดู จบ ม. ปลายแล้ว ที่บ้านยังไม่มีโทรทัศน์เลยครับ มาดูที่หอจอมเจ้า-หอชาย ก็ขาวดำ
ลองฟังเพลงของคุณนันทวัน ดู
สักวันหนึ่ง "คลองแสนแสบของเราจะฟื้นมีชีวิตกลับมาในอนาคต" ใช่ครับ พี่ปรีชา พวกเราต้องมาช่วยกันระดมความคิดให้กับ คนไทยได้รับทราบ คงจะไม่มีอะไรที่จะเลวร้ายไปกว่านี้ ผมจะเอาเรื่องไปโพสท์ที่พันทิพย์ดู จะได้กระจายความรู้ความเข้าใจไปให้มาก คนกรุงเทพ จะได้ตื่น จะได้ตระหนักถึงความสำคัญ ผมมีเพื่อนผู้หญิง รุ่นเดียวกัน จบเคมี วิดยา จุฬาฯ ทำงานให้กับโรงบำบัดน้ำเสีย ของซิตี้ออฟลอสแองเจลิส ไม่ได้เจอกันกว่า 15 ปี แล้ว เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยครับ ผมทราบเรื่องราวพวกนี้ มาจากเธอ ก็นานมาแล้ว สัปดาห์หน้า ผมจะเอาเรื่องราวของเคาท์ตี้แห่งหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยี่ใหม่ ล่าสุด แบบกรองน้ำทะเล มาเป็นน้ำจืด มากรองน้ำชักโครก ให้เป็นสะอาด คุณภาพดื่มได้เลย
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #79 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 09:00:47 » |
|
รออ่านนะครับ ...
ถ้าเป็นสมัยก่อน ...
งานลักษณะนี้จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Reverse Osmosis"
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #80 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553, 09:11:34 » |
|
ตัวอย่าง: http://www.pwa.co.th/document/ro.htmlขั้นตอนการผลิตน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) ขนาด 10 ลบ.ม./ชม ของสำนักงานประปาปากพนัง สำนักงานประปาเขต 4 สุราษฎร์ธานี สำนักงานประปาปากพนังได้ดำเนินการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน้ำไม่ดี (ค่าครอไรค์สูง,กลิ่น สี) จึงได้มีโครงการก่อสร้าง เครื่องผลิตน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) ขนาด 10 ลบ.ม./ชม โดยได้รับงบประมาณจากกองฉลากกินแบ่งรัฐบาลมอบให้ การประปาส่วนภูมิภาค เป็นจำนวนเงิน 4 ล้านบาท เพื่อส่งน้ำไปยังพระตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 ณ บริเวณสำนักงานประปาปากพนัง ซึ่งกระบวนการผลิตน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) Membrane ของเครื่องมีราคาแพง และอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเครื่อง จะต้องเดินเครื่องอย่างต่อเนื่อง สำนักงานประปาปากพนัง จึงได้ติดตั้งตู้ประปาหยอดเหรียญ บริเวณหน้าสำนักงานประปาปากพนัง และขออนุมัติจำหน่ายน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) ในราคาลิตรละ 20 สตางค์ ถ้าหากประชาชนใช้บริการจำนวนมาก จะขยายจุดติดตั้งตู้ประปาหยอดเหรียญต่อไป ขั้นตอนการผลิต RO (REVERSE OSMOSIS) ดังนี้.- สูบน้ำประปาที่ผ่านการผลิตแล้ว(น้ำประปาสำนักงานประปาปากพนังที่มีคุณภาพไม่ดี (ค่าครอไรค์สูง,กลิ่น สี) จึงสูบน้ำประปาเข้าเครื่องกรองสนิมเหล็ก (แยกสนิมเหล็กออกจากน้ำประปา) นำน้ำที่ไม่มีสนิมเหล็กลงถังน้ำใส ขนาด 200 บล.ม. ใช้มอเตอร์สูบน้ำเข้าถังกรองคาร์บอน เมื่อน้ำผ่านการกรองคาร์บอนแล้ว มีเครื่องวัดค่าต่างๆ หลังจากนั้นเป็นกระบวนการเติมสารเคมีป้องกันตะกรัน สูบน้ำไปเข้าระบบ RO (REVERSE OSMOSIS) ก่อนเข้าระบบระบบ RO (REVERSE OSMOSIS) ต้องผ่านกระบวนการการควบคุมและเติมสารเคมี (ค่า PH, คลอรีนเหลือ กรด-ด่าง น้ำสะอาด RO (REVERSE OSMOSIS) นำน้ำไปเก็บถังน้ำน้ำใสขนาด 500 ลบ.ม. สูบน้ำจากถังน้ำใสขนาด 500 ลบ.ม.ส่งไปยังพระตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง นำน้ำที่เหลือจากการส่งไปยังพระตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง ไปเข้าตู้น้ำประปาหยอดเหรียญน้ำ RO (REVERSE OSMOSIS) บริเวณหน้าสำนักงานประปาปากพนัง
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #82 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 11:18:23 » |
|
ระหว่าง...รอเทคโนโลยีล่าสุดจากอเมริกา ... --------------------------------------------------------------------------------- ประเทศไทยเมื่อปี 2546 ... แปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืดแทบไม่ต้องบอกก็รู้ว่า เกาะสมุย จ.สุราษฎ์ธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่มีปริมาณน้ำจืดไม่มากนัก เพราะมีภูมิประเทศเป็นเกาะ ซ้ำต้องเลวร้ายหนักขึ้น เมื่อเกิดภาวะความแห้งแล้งระบาดทั่วทุกหัวระแหงของประเทศ ทำให้ทั้งภาครัฐและชาวบ้านตาดำๆ อยู่กันไม่เป็นสุขเลยทีเดียว และพาลต้องวิ่งหาแหล่งน้ำจืดเพื่อ “กิน-ใช้” แหล่งใหม่มาทดแทนกันให้จ้าละหวั่น “การทำน้ำจืดจากน้ำทะเล” จึงเป็นตัวเลือกแรกที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ด้วยเหตุนี้เอง กระทรวงมหาดไทยจึงมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 46 ให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าปัญหาภัยแล้งที่ส่อเค้าความรุนแรงขึ้นทุกขณะจะขยายวงกว้างไปถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศด้วย โดยได้สั่งการไปยังกปภ.ให้รีบจัดหาบริษัทเอกชนผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลด้วยระบบรีเวิร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis – RO,อาร์โอ) เพื่อขายให้กับกปภ.แล้วแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป เครื่องกรองน้ำทะเลเป็นน้ำจืดเดินเครื่องแล้วที่เกาะสมุย ทั้งนี้ นายทวีวัธน์ เตชะกำธรกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารกลุ่มสิ่งแวดล้อม บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการทำน้ำจืดจากน้ำทะเลบนเกาะสมุย บอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า กปภ.ได้มอบหมายให้บริษัท ยูนิเวอร์แซลยูทิลิตี้ จำกัด ในเครือบริษัท อีสท์ วอเตอร์ เป็นผู้รับผิดชอบงานดังกล่าว โดยมีบริษัท ล็อกซเล่ย์ฯ ทำการออกแบบติดตั้งและวางระบบการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลด้วยเงินลงทุน 100 ล้านบาท ซึ่งได้ติดตั้งแล้วเสร็จไปเมื่อปลายเดือนเมษายนปีนี้ (2548) และเริ่มจ่ายน้ำประปาให้ประชาชนบนเกาะสมุยแล้วในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ต่อมานายทวีวัธน์ ได้อธิบายกระบวนการทำงานของระบบอาร์โอว่า เป็นการส่งน้ำด้วยความดันสูงผ่านเยื่อเมมเบรนซึ่งมีลักษณะคล้ายกระดาษที่มีเยื่อบางๆ อยู่ด้านหนึ่งเพื่อกรองเอาอนุภาคสารที่ไม่ต้องการออกจากน้ำ มีหลักการทำงานเหมือนกับเครื่องกรองน้ำระบบออสโมซิสทั่วไป แต่เมมเบรนที่ใช้ในระบบนี้จะมีประสิทธิภาพเหนือกว่า ซึ่งต้องนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น “เยื่อเมมเบรนที่ใช้กรองน้ำบาดาลและน้ำผิวดินจะมีความละเอียดในการกรองอนุภาคสารได้ในระดับ 0.1 ไมครอน หรือ 1 ส่วน 10 ล้านเมตร และใช้พลังงานไฟฟ้าในการดำเนินการน้อย ขณะที่เยื่อเมมเบรนที่ใช้กรองน้ำทะเลจะมีความละเอียดระดับนาโนเมตร หรือ 1 ส่วน 1 พันล้านเมตร และใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า โดยในกรณีของน้ำบาดาลและผิวดินจะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อหน่วยประมาณ 1 บาท/ลบ.ม. ส่วนการผลิตจากน้ำทะเลจะอยู่ที่ 17 บาท/ลบ.ม.” นายทวีวัธน์ ชี้แจงรายละเอียดให้เราฟัง เผยผลิตน้ำประปาเสริม กปภ. “ไม่ได้ทำแทน” สำหรับการวางระบบการผลิตน้ำประปาระบบอาร์โอบนเกาะสมุย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ อธิบายว่า มีกำลังการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลอยู่ที่ 2,500 ลบ.ม./วัน ขณะที่ความต้องการน้ำประปาของประชาชนในพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 20,000 ลบ.ม./วัน ดังนั้น การดำเนินการของล็อกซเล่ย์จึงเป็นการเสริมการทำงานของกปภ. โดยเฉพาะในช่วงที่ขาดแคลนน้ำดิบเพื่อทำน้ำประปาเท่านั้น ไม่ได้ผลิตน้ำประปาแทนกปภ.ทั้งหมด โดยภายในปีนี้ บริษัทมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาขึ้นอีก 1,500 ลบ.ม./วัน รวมเป็นกำลังการผลิตทั้งสิ้น 4,000 ลบ.ม./วัน “น้ำทะเลที่สูบขึ้นมาจากทะเล 1 ลบ.ม. หรือ 1,000 ลิตร เมื่อผ่านการกรองแล้วจะได้น้ำจืดประมาณ 400 ลิตร ส่วนอีก 600 ลิตร จะเป็นน้ำทะเลที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าปกติเกือบ 2 เท่า ซึ่งเราจะทิ้งลงทะเลไปโดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ” นายทวีวัธน์ กล่าว ชี้ราคาน้ำประปา “ยังเท่าเดิม” นอกจากนี้ เขาได้พูดถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาต่อหน่วยด้วยว่า เมื่อรวมค่าดำเนินการและค่าบำรุงรักษาแล้ว ราคาน้ำประปาจะอยู่ที่ 17 บาท/ลบ.ม. ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น แต่หากรวมค่าใช้จ่ายในการวางแผนและติดตั้งระบบเข้าไปด้วย ราคาจะขึ้นไปอยู่ที่ 40 บาท/ลบ.ม. มีระยะเวลาคุ้มทุนที่ 5-7 ปี โดยในระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ ค่าไฟฟ้า เนื่องจากต้องอาศัยเครื่องสูบน้ำที่มีแรงดันสูงสูบน้ำผ่านเยื่อเมมเบรนเพื่อกรองเอาอนุภาคสารที่ไม่ต้องการออกไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ในปัจจุบันได้มีการนำชุดแลกเปลี่ยนแรงดันเข้ามาร่วมในกระบวนการผลิตด้วย ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ร้อยละ 60 จากอดีต “ส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างบุคลากร และค่าสารเคมีบางชนิด เช่น สารคลอรีน ซึ่งจะใส่ลงไปในบ่อพักน้ำเพื่อฆ่าเพรียงทะเลและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ติดมากับน้ำก่อนที่น้ำทะเลจะถูกกรองผ่านเยื่อเมมเบรนต่อไป และจะใส่สารคลอรีนอีกครั้งหนึ่งหลังจากผ่านการกรองด้วยเยื่อเมมเบรนแล้ว เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจมีอยู่ในท่อประปาซึ่งเป็นเส้นทางเดินน้ำไปยังประชาชนอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้ กปภ.ยังคงเก็บค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำตามอัตราเก่าอยู่ที่ประมาณลูกบาศก์เมตรละ 7-8 บาท สำหรับประชาชนทั่วไป และ 10 บาทสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ท” ย้ำ “แหล่งน้ำเสื่อมโทรม” ได้ใช้อาร์โอแน่ !!! เมื่อย้อนกลับมาถามถึงความจำเป็นของโครงการ นายทวีวัธน์ กล่าวว่า ปัจจุบัน น้ำจืดหายากขึ้นทุกขณะเพราะแหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปมาก น้ำที่มีอยู่จึงสกปรกใช้การไม่ได้ ทางบริษัทฯ จึงมุ่งเน้นธุรกิจเกี่ยวกับน้ำอุปโภคบริโภคมากขึ้น “ไม่นานเกินรอสำหรับประเทศไทยที่จะมีการนำน้ำทะเล น้ำผิวดิน และน้ำบาดาล มาผ่านการกรองด้วยระบบรีเวิรส์ออสโมซิสเพื่อใช้งานดังที่หลายประเทศได้ทำกันมานานแล้ว เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าขาดแคลนน้ำจืดเนื่องจากภูมิประเทศเป็นทะเลทราย จึงต้องใช้น้ำทะเลมาทำน้ำจืด รวมถึงกลุ่มประเทศที่ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ด้วย” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ กล่าว “วอเตอร์ รียูส” เชื่อว่า คนไทยรับได้ นายทวีวัธน์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้ยังสามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้วมากรองด้วยเยื่อเมมเบรนเพื่อใช้งานใหม่ได้ หรือที่เรียกว่า ระบบวอเตอร์รียูส (Water Reused) โดยเขาได้ยกตัวอย่างประเทศสิงค์โปร์ เพื่อนบ้านของไทยว่า เป็นประเทศหนึ่งที่นำเอาน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้วมากรองด้วยเยื่อเมมเบรน เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมโรงงานและโรงแรม ซึ่งไม่ได้เป็นการนำน้ำที่ได้มาดื่มกิน แต่เป็นการใช้เพื่อล้างพื้นและรดน้ำต้นไม้ เมื่อถามถึงการยอมรับจากประชาชน หากต้องนำน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้วมากรองเพื่อใช้งานใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดวิสัยของคนโดยทั่วไป นายทวีวัธน์ กล่าวว่า ในประเทศไทยยังไม่มีการนำน้ำที่ผ่านกระบวนดังกล่าวมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และยังไม่ได้มีการศึกษาในเรื่องนี้แต่อย่างใด “อย่างไรก็ดี เนื่องจากแหล่งน้ำหายากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นทุกขณะ ทำให้น้ำที่ผ่านการกรองด้วยเยื่อเมมเบรนแล้วจะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในอนาคต และจะมีต้นทุนถูกลงด้วย ซึ่งประชาชนน่าจะยอมรับได้เองในที่สุด” ชู “น้ำประปาได้มาตรฐาน เสียค่าใช้จ่ายน้อย ปรับใช้ได้หลากหลาย” สำหรับข้อดีของระบบอาร์โอ นายทวีวัธน์ กล่าวว่า ระบบดังกล่าวมีจุดเด่นที่เทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาด้วยเยื่อเมมเบรน น้ำจืดที่ได้จะมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่การประปากำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีรสชาติจืดกว่าน้ำประปาที่น้ำนำดิบมาจากบ่อกุ้ง ทำให้เมื่อจ่ายน้ำประปาไปแล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็พอใจกับคุณภาพของน้ำที่ดีขึ้น “ขณะเดียวกัน การใช้ระบบนี้ผลิตน้ำประปายังเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบำรุงรักษาน้อยเมื่อเทียบกับระบบกรองน้ำชนิดอื่นๆ ทั้งนี้ยังเป็นระบบที่มีขนาดกะทัดรัด สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้เวลาติดตั้งระบบน้อย รวมทั้งใช้พื้นที่ไม่มาก เช่นที่เกาะสมุยสามารถติดตั้งเครื่องกรองน้ำระบบอาร์โอได้ถึง 8 โมดูล (เครื่อง) ในอาคารซึ่งมีพื้นที่เพียง 15 คูณ 30 เมตร” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ กล่าว และเขายังกล่าวเสริมว่า ด้านการบำรุงรักษาเยื่อเมมเบรนนั้นทำได้โดยการชำระล้างคราบสิ่งสกปรกออกด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งานในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้มีอนุภาคสารอุดตัน ซึ่งหากใช้เยื่อเมมเบรนกรองน้ำทะเลก็จะมีอายุการใช้งาน 3-5 ปี แล้วจึงเปลี่ยนเยื่อกรองตัวใหม่ สำหรับการกรองน้ำบาดาลและน้ำผิวดินจะเปลี่ยนเยื่อเมมเบรนทุกๆ 7 ปี “ระบบนี้สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ไปจนถึงโครงการในภาคเอกชนเช่น พื้นที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นิคมอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนน้ำ หมู่บ้านจัดสรร และโรงแรมต่างๆ ซึ่งบริษัทล็อกซเล่ย์ฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบนี้ไปบ้างแล้วในหลายพื้นที่เช่น บนเกาะล้านซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งแล้วที่ฐานทัพเรือพังงาเพื่อใช้ทดแทนระบบประปาเก่าที่เสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ บริษัทล็อกซเล่ย์ฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมก่อนจบการให้สัมภาษณ์ “เทคโนโลยีแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด” จึงถือเป็นทางออกหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน ซึ่งมันจะเป็นทางออกที่ยั่งยืนหรือไม่เพียงใดนั้น ต้องติดตามดูกันต่อไป อย่างไรก็ตาม การรักษาแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล และมหาสมุทรไม่ให้เน่าเสีย และใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่า ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดอย่างหนักเช่นกัน แม้ว่าเราจะมีเทคโนโลยีแปลงน้ำทะเลที่ดูจะเหมือนไม่มีวันหมดเป็นน้ำจืดได้แล้วก็ตาม ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #83 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 11:26:10 » |
|
Forward Osmosisข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ ทำให้เราทราบว่าเกือบ 1 ใน 3 ของพลเมืองโลกนั้น ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภค ส่วนบ้านเรานั้นแม้ว่าในทางภูมิศาสตร์แล้วจะอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งสลับกันทุกปีจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว บางพื้นที่ในหลายประเทศที่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือน้ำเป็นสิ่งหายากนั้น วิธีการเดียวที่จะให้ได้มาซึ่งน้ำสะอาดสำหรับบริโภคก็คือการใช้กรรมวิธี Reverse Osmosis (RO) เพื่อเปลี่ยนน้ำทะเลหรือน้ำที่มีสัดส่วนของเกลือในปริมาณสูงให้เป็นน้ำจืดที่สามารถดื่มกินได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่ต้นทุนของการใช้กรรมวิธี RO นับว่าแพงเอาการทีเดียว และเป็นภาระที่หนักพอดูสำหรับประเทศยากจนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาประเทศในแถบแอฟริกา ต้นทุนขั้นต่ำก็อย่างน้อย (ขอย้ำว่าอย่างน้อย) ก็ตกลูกบาศก์เมตรละ 20 บาทเข้าไปแล้ว ก็คงมีแต่ประเทศเศรษฐีน้ำมันเท่านั้นที่มีปัญญาจ่ายได้อย่างสบายใจ แต่ล่าสุดนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ได้คิดค้นและพัฒนากรรมวิธีในการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธี RO มาก ซึ่งวิธีดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Forward Osmosis อย่างไรก็ดี อัตราการผลิตน้ำจืดที่ได้ยังเป็นรองกรรมวิธี RO อยู่เล็กน้อย และเยื่อกรองที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ณ ขณะนี้นั้นเมื่อนำมาใช้กับกระบวนการ Forward Osmosis แล้วสามารถกำจัดเกลือได้ประมาณ 95-99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าจะให้ปลอดภัยไร้กังวลสำหรับการนำมาดื่มนั้นต้องทำให้ได้ถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนักวิจัยเองก็กำลังหาทางเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ Forward Osmosis นี้อยู่โดยปกติแล้วต้นทุนของกรรมวิธี Reverse Osmosis นั้นจะมาจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งต้องอาศัยความดันที่สูงเกือบ 1,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (ความดันเทียบเท่ากับการดำน้ำลึกประมาณ 700 เมตร) ผ่านเยื่อกรองพิเศษที่มีคุณสมบัติเป็น “เยื่อเลือกผ่าน” (Semipermeable Membrane) ซึ่งจะกรองเอา “เกลือ” หรือโมเลกุลของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.0001 ไมครอนออกไป จนได้น้ำสะอาดในที่สุด ต้นทุนอีกส่วนหนึ่งยังมาจากค่าใช้จ่ายในการกำจัดสิ่งที่เหลือจากกระบวนการ RO ซึ่งก็คือน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก (ประมาณ 50-65% โดยปริมาตรของน้ำทะเลที่นำมาผ่านกระบวนการ) และเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลทะเล ซึ่งไม่สามารถทิ้งกลับลงไปในทะเลได้ และการทิ้งในแผ่นดินก็ทำให้น้ำใต้ดินได้รับการปนเปื้อนจากเกลือที่มีความเข้มข้นสูงนี้ได้ สำหรับวิธี Forward Osmosis นั้นนักวิจัยไม่จำเป็นต้องใช้ความดันสูงดันน้ำผ่านเยื่อกรอง แต่ใช้สารละลายแอมโมเนียที่มีการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำทะเลที่จะนำมาผ่านกระบวนการถึงกว่า 10 เท่า โดยบรรจุสารละลายดังกล่าวไว้อีกด้านหนึ่งของเยื่อกรอง เมื่อความเข้มข้นของสารละลายแอมโมเนียมีความเข้มข้นมากกว่าโมเลกุลของน้ำ (H2O) ในน้ำทะเลซึ่งอยู่ทางอีกฝั่งของเยื่อกรองจะพยายามไหลผ่านมาทางด้านของสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าเพื่อเจือจางให้มีความเข้มข้นน้อยลง จากนั้นนักวิจัยจะนำเอาสารละลายดังกล่าว (ซึ่งดึงดูดเอาโมเลกุลของน้ำจากน้ำทะเลมา) มาให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 58 องศาเซลเซียส เพื่อระเหยเอา แอมโมเนียและคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำจืดที่สามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ เครดิต/artsmen.net
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #84 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 15:33:41 » |
|
From Toilet to Tap ข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทั่วเมกาและทั่วโลก ก่อนหน้าและหลัง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2008 ก็สองปีเศษๆมานี่เอง คือ ออร์เจนท์เคาท์ตี้ มณฑลที่ใกล้กับลอสแองเจลิสเคาท์ตี้ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ (Grand Opening) โรงบำบัดน้ำชักโครก -ให้เป็นน้ำประปา Toilet to Tap เป็นแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ในโลกก็ว่าได้
พี่ตะวัน ถ้าเอาทัวร์มาเที่ยวเมกา อย่าลืม มาแวะที่ดีสนีย์แลนด์ ที่เมืองอนาไฮม์ ออร์เจนท์เคาท์ตี้ มีโอกาสได้ดื่มน้ำจากชักโครกแน่ๆ เป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายๆในโลก เรียกว่า คณะทัวร์ เอาไปเล่าให้เพื่อนฝูงญาติพี่น้องได้ฟัง อย่างสนุกสนาน
ใครที่อยากฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งๆ แบบชมรมเรียนอังกิดไม่ยาก ของ อจ. ยัส ต้องหัดฟังดู ได้ทั้งความรู้และสำเนียง
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #85 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 15:46:31 » |
|
It's Time to Drink Toilet Water! คิดถึงพี่ปรีชาเช่นกัน เลยฝากน้ำที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว มาให้ 1 แก้วครับ นี่ฝรั่งกำลังจะบ้าไปหมดรึไง? ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้เลยรึนี่? สู้เมืองไทยเราก็ไม่ได้ น้ำของเราเต็มไปหมด เต็มแม่น้ำเจ้าพระยา เต็มไปทุกแม่น้ำ (...ยกเว้นแม่น้ำโขง) ในคลองแสนแสบ คลองผดุงกรุงเกษม คลองมหานาค คลองเปรมประชากร ก็เต็มไปด้วยน้ำ น้ำอะไรไม่ดื่ม ดันมาดื่มจากน้ำชักโครก... ..... โอ๊ก... อ๊วกๆๆๆๆๆๆๆๆๆ (ถ้าขอโทษที กบว. วม. และ วค. ถ้าภาษาไม่สุภาพ ถ้าไม่บรรยายแบบนี้ ใครจะอ่าน ใครจะเห็นภาพ จริงม๊ะ พี่ป๋อง น้องหะยี?) ออร์เจนท์เค้าท์ตี้ เป็นมณฑลที่อยู่ติดๆกับมณฑลลอสแองเจลิส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าใครเคยมาเที่ยวดิสนีย์แลนด์ ที่เมืองอนาไฮม์ ที่นี้คือสวนสนุกดั้งเดิมแห่งแรกของ วอลท์ ดีสนีย์ ส่วน มหาวิทยาลัย Univerity of California, Irvine (UC Irvine) ที่มีชื่อเสียง ก็อยู่ที่มณฑลแห่งนี้ มีคนไทยมากมายมาเรียนจบที่นี้
ออร์เจนท์เค้าท์ตี้ เป็นมณฑลที่มีพลเมืองเป็นอันดับสองในรัฐแคลิฟอร์เนีย ราวๆ 3 ล้านคน มีเนื้อที่ 2,445 ตร.กม. เนื่องจากปริมาณน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่พอเพียง ที่คาดว่า จะมีพลเมืองเพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านคน ในปี 2020 การที่จะนำน้ำมาจาก ตอนตอนเหนือจาก ซานฮัวคินแวลเลย์ (San Joaquin Valley) และแม่น้ำโคโลราโด ที่กำลังเหือดแห้ง ค่าใช้จ่ายค่าพลังงานที่จะนำมาใช้ผลิตก็สูงขึ้น เป็นเท่าตัว
ก่อนหน้านี้ ในปี 2000 มณฑลลอสแองเจลิส เคยได้จัดสรรงบประมาณ 55 ล้านเหรียญ เพื่อโครงการ toilet-to-tap (จากชักโครกสู่น้ำดื่ม) ด้วยการกรองจากน้ำชักโครกครัวเรือน ไปสู่น้ำใช้ในครัวเรือน เพื่อการอุปโภคให้กับ 120,000 ครัวเรือน ได้รับการต่อต้านจากประชาชนทั่วๆไป โครงการต้องระงับไป ก่อนที่นายกเทศมนตรี ริชาร์ด เรียแด้น ตอนน้ันกำลังเตรียมตัวจะไปสมัครตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย กลัวว่าจะไม่ได้รับเลือกจากประชาชนต่อ (นี่คือประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เพราะไม่มีการจ่ายเงินซื้อเสียง มีแต่ชาวบ้านบริจาคให้นักการเมือง ใช้เงินไปหาเสียง ) เพราะต้องเอาใจประชาชน นี่คือความผิดพลาดที่ขาดการ ปชส. ให้ความเข้ารู้ความเข้าใจ
ออร์เจนท์เค้าท์ตี้ ได้ทุ่มเงินไปประมาณ 3 ล้านเหรียญ เพื่อทำประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า ทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน เรื่องการเอาน้ำเสียจากครัวเรือน มากรองเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยค่าใช้จ่ายจะต้องกว่า อยู่ที่ 525เหรียญ/เอค่อร์-ฟุต (พื้นที่ 1 เอเค่อร์ x ความลึก1 ฟุต) ในขณะที่การกรองน้ำทะเล ค่าใช้ 800- 2000 เหรียญ/เอเค่อร์-ฟุต (ติดตามได้ในตอนต่อไป)
งบประมาณในการก่อสร้างและดำเนินการ 487 ล้านเหรียญ (คิดเป็นเงินๆไทย 16,071 ล้านบาท) ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2008 มีชื่อโครงการว่า The Ground Water Replenishement System (GWR)
|
|
|
|
Kittiwit Pk
Full Member
ออฟไลน์
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 281
|
|
« ตอบ #86 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 15:49:56 » |
|
In thailand we make tap to toilet water. And now learning english with Vanich online.
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #87 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 17:46:51 » |
|
โครงการบำบัดน้ำจากชักโครก เพื่อให้เป็นน้ำดื่มที่สะอาด ของออร์เจนท์เคาท์ตี้ ไม่ได้มีชื่อเรียก Tap to Toilet อย่างที่สื่อมวลชนตั้งชื่อซะสยอง นั้นคือการเขียนเพื่อขายข่าว เรียกร้องความสนใจ ชื่อโครงการนี้ คือ The Ground Water Replenishement System (GWR) เป็นการบำบัดน้ำเสียที่มาจากครัวเรือน น้ำอาบน้ำใช้น้ำชักโครก ให้ได้ความสะอาดมากพอที่จะดื่มได้เลย แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกระอักกระอ่วนใจ น้ำที่ผ่านกรรมวิธี 3 ขั้นตอนแล้ว น้ำสะอาดครึ่งหนึ่ง จะอัดลงสู่พื้นดินชายทะเล เพือ่ป้องกันไม่ให้น้ำเค็ม ทะลักเข้ามาในแผ่นดิน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง จะปล่อยให้ลงสู่ที่กักเก็บน้ำ ซึมลงสู่พื้นดิน ผ่านการกรองในชั้่นดิน แล้วค่อยสูบกลับมากรองในระบบน้ำประปา เพื่อส่งกลับไปใช้ยังตามบ้านเรือน และธุรกิจ เป็นน้ำประปาอีกครั้งหนึ่ง
GWR มี 3 ขั้นตอนสำคัญ
1. Mircofiltration (MF) เป็นการกรองน้ำระบบความดันต่ำผ่านเนื้อเยื่อ membrane จะกรองเอาที่สิ่งแขวนลอย แบ๊คทีเรีย และวัตถุอื่นๆ ออกจากน้ำ และเป็นการเตรียมน้ำ เพื่อให้เข้าสู่ขบวนการที่สอง วิธีนี้ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ การผลิตชิพคอมพิวเตอร์ และการฆ่าเชื้อในทางการแพทย์ ที่ไม่สามารถใช้ความร้อนได้
2. Reverse Osmosis (RO) เป็นการกรองผ่านเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นพลาสติคบางๆหลายชั้น โดยใช้ความดันสูง สามารถกรองเอา เชื้อไวรัส แบคทีเรีย ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ ไม่สามารถผ่านไปได้ เป็นระบบเดียวกับอุตสาหกรรมน้ำดื่มบรรจุขวดใช้อยู่ หรือเครื่องกรองน้ำตามบ้านทั่วๆไป
เปรียบเทียบเมื่อขยายขึ้น 100 ล้านเท่า โมเลกุลของสารเคมี จะมีขนาดเท่าฟุตบอล ไวรัสจะมีขนาดเท่ารถบรรทุก ส่วนแบคทีเรียจะมีขนาดเท่าช้าง ไม่สามารถที่จะเล็ดรอดรูขนาดเล็กๆ ของ RO Membrane ไปได้
3. UtltraViolet Light (UV) and Hydrogen Peroxide ใช้แสง UV แบบเดียวกับที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคในวงการแพทย์ และ ใช้ H2O2 ทำลายแก๊สคาร์บอนได้ออกไซค์ที่หลงเหลืออยู่ เพื่อให้ได้น้ำบริสุทธิ์จริงๆ
James Ferryman, board chairman of the Orange County Sanitation District, samples the final product.
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #88 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 17:59:43 » |
|
พี่วณิชย์ขรา .. แม้หยีจะรัก เคารพพี่มากมาย .. แต่พี่ไม่ต้องเผื่อแผ่น้ำในส้วมมาให้หยีด้วยนะคะ เห็นส่งให้หนิ่งและพี่ปรีชาไปแล้วคนละแก้ว .. หนูล่ะเสียวจริง ๆ ๆ ๆ
หนู่ไม่อาาาว ค่ะ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #89 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 18:50:42 » |
|
โดยภาพรวมเป็น การผลิตน้ำด้วยเทคโนโลยี RO ธรรมดาๆ หน่ะครับ ...
บ้านเราก็ทำได้ ....เพียงแต่ไม่มีความจำเป็นต้องทำ ครับ
จริงๆแล้ว โดยความเห็นส่วนตัว ... แม้แต่ที่อเมริกาเอง ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนี้ครับ
เนื่องจากยังมีอีกหลายทางเลือก เพื่อแก้ปัญหา ตามโจทย์ที่ให้มา ...
เว้นเสียแต่ว่า...ต้องการผลในเชิงประชาสัมพันธ์ สร้างสีสัน เท่านั้นเอง
เนื่องจาก โครงการนี้ฟังดูแล้วมันแรงมี ผลกระทบ ต่อความรู้สึกของประชาชนดี ^_^
อย่างไรก็ดีต้องขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาแบ่งปัน นะครับ
|
|
|
|
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788
|
|
« ตอบ #90 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:21:28 » |
|
น้องวณิชย์ครับขอบคุณมากจริงๆที่มีนํ้าใจเผื่อแผ่มอบนํ้าให้ทาน 1 ถ้วย ผมคิดว่าวิธีการที่นำนํ้าเสียจากบ้านเรือน(รวมทั้งจาก
ถังชักโครก)มาบำบัดจนรับประทานได้ แม้จะมีกรรมวิธีที่ยุ่งยากค่าใช้จ่ายสูงมากแต่ก็คิดว่าเป็นการวางแผนข้ามช๊อดไปใน
อนาคต ที่เมื่อยามโลกขาดแคลนนํ้าจริงจะได้ใช้วิธีนี้มาเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ปัญหา นำนํ้าที่ใช้แล้วกลับมาใช้โดยตรงได้ทันที
ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์แต่ก็คิดว่าที่จริงปัจจุบันเราก็บริโภคนํ้าเสียบางส่วนที่ผ่านการบำบัดแล้วอยู่ทุกวัน เพราะที่ตั้ง
ของกรุงเทพฯอยู่ท้ายแม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าสายนี้เกิดจากแม่นํ้า 4 สายไหลผ่านจังหวัดต่างๆหลายสิบจังหวัด ช่วงที่ไหลผ่าน
แต่ละจังหวัดก็ทิ้งนํ้าเสีย(จากบ้านเรือน จากตลาด จากการกสิกรรม จากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ)ลงสู่แม่นํ้าลงไปผสมกับนํ้า
ดิบ(นํ้าฝน) ระหว่างที่นํ้าไหลตามทางก็มีการสัมผัสอากาศ(อ๊อกซิเจน),แสงแดด,และจุลินทรีย์ธรรมชาติในนํ้า ทําให้นํ้าได้ถูก
บำบัดให้สอาดขึ้นโดยธรรมชาติทางหนึ่ง ต่อมาเมื่อจะนำนํ้ามาบริโภคก็นำมาผ่านกรรมวิธีการตกตะกอน,การกรอง,การใส่คลอรีน
ฯลฯ(ตามกรรมวิธีผลิตนํ้าปะปา)ก่อนส่งมาตามท่อให้เราใช้ถึงบ้าน
ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ 15 - 16 ปีที่แล้วสวล.เคยเชิญหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมประชุม เรื่องการบังคับให้หน่วยงานติด
ตั้งเครื่องบำบัดนํ้าเสียและให้ปฏิบัติตาม ก.ม.โดยเคร่งครัด ผมบังเอิญเข้าไปร่วมฟังด้วยจำได้ว่ามีเจ้าของกิจการคนหนึ่ง ลุกขึ้น
แจ้งในที่ประชุมว่าได้ปฎิบัติตามกฏหมายแล้วโดยเคร่งครัด รู้สึกเสียดายค่าใช้จ่ายและเวลาเพราะเห็นนํ้าในคลองที่รับนํ้า สกปรก
กว่านํ้าที่บําบัดแล้วปล่อยลงไปหลายเท่า นํ้าในคลอง(แสนแสบ)ที่สกปรกมากๆนั้น ความสกปรกส่วนใหญ่มาจากนํ้าเสียที่
ปล่อยโดยตรงจากตลาดสด,จากบ้านเรือน(จากส้วม), จากโรงงานขนาดเล็ก, ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ตลอดแนวสองฟากคลอง ที่สวล.
ไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าหากควบคุมการทิ้งนํ้าเสียจากแหล่งเหล่านี้ไม่ได้ ก็เป็นการยากที่จะแก้เรื่องนํ้าเสียในคลองได้ถาวร
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #91 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:32:22 » |
|
เห็นด้วยกับพี่ปรีชา นะครับ คลองแสนแสบ ปัญหาหลักคือ การ Direct Discharge ...
1. หยุด Direct Discharge ได้
2. ลอกก้นคลองเก่าทิ้ง
3. ผันน้ำดีมาไล่น้ำเสีย
ทำได้ครบ 3 ข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อที่ 1. คลองแสนแสบ ก็กลับมาเป็นคลองที่ดีดังเดิม แล้วครับ
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #92 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:41:01 » |
|
ถ้าระบบนี้เป็นระบบธรรมดา เอ...แล้วทำไมน้ำประปาบ้านเรา ถึงยังกินไม่ได้ ต้องซื้อน้ำดื่มกินด้วยครับ หรือว่า การประปายังไม่อยากทำ....งง
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #93 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 20:55:34 » |
|
การผลิตน้ำประปา จากน้ำผิวดิน อาทิ จากคลองประปา ของบ้านเรา หรือที่ประเทศใดๆในโลกนี้ โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี RO ครับ
เทคโนโลยี RO สำหรับการผลิตน้ำประปา จะใช้สำหรับน้ำดิบ จากบางแหล่งที่ไม่ได้คุณภาพ ตามตัวอย่างข้างต้นที่ยกมาของ เกาะสมุย หรือ ปากพนัง ครับ หรือแม้แต่การผลิตจากน้ำทะเล มาเป็นน้ำจืด หรือ ตามตัวอย่างของกระทู้นี้ ที่อเมริกา ผลิตจากน้ำทิ้งจากครัวเรือน ครับพี่ยา
จริงๆแล้ว น้ำประปาปัจจุบัน จัดเป็นน้ำประปามาตรฐานน้ำดื่มได้นะครับ ถ้าให้มั่นใจ ก็ต้มเสียหน่อย กำจัดกลิ่นคลอรีน และเชื่อโรคที่อาจปนเปื้อน และน้ำประปาเหมาะสมที่จะเป็นน้ำดื่มมากกว่าน้ำ RO
เพราะอะไร (มีต่อ) ....
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #94 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 21:05:37 » |
|
น้ำดื่มระบบ Reverse Osmosis (RO) เป็นระบบกรองน้ำซึ่งจะทำให้น้ำที่ได้มา ค่อนข้างมีความบริสุทธิ์สูง จนแทบจะเรียกว่า ไม่มีสารอะไรตกค้างอยู่เลยนอกจากน้ำเปล่าๆเท่านั้น หรือแทบจะเรียกว่ามีคุณภาพเทียบเท่าน้ำกลั่นทีเดียว ซึ่งคุณภาพนี้ ก็ขึ้นกับว่า แผ่นกรองที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพยังไง ถ้าแผ่นกรองที่ใช้มีสภาพดี มีรูพรุนขนาดเล็ก(เชื้อจุลินทรีย์ผ่านไม่ได้) และมีการดูแลอย่างดี ก็จะให้น้ำสะอาดที่สามารถใช้บริโภคได้
ดังนั้น น้ำ RO ส่วนมากแล้วจะใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำที่มีความสะอาดสูง
ส่วนกระบวนการผลิตน้ำวิธีอื่นๆ เช่น ต้มและกรองแบบปกติ (พวกน้ำขวดที่วางขายทั่วๆไป) จะทำให้หลงเหลือสารบางอย่างที่พบได้ในน้ำทั่วๆไป เช่น Zn Ca Cl ฯลฯ ซึ่งสารที่ตกค้างเหล่านี้ ต้องมีไม่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้(ถ้ามากกว่านี้ จะจัดเป็นน้ำแร่) และจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย เช่น ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนั้นๆ
แต่เนื่องจาก การผลิตน้ำ RO ทำให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์มาก เลยมีคนมาทักท้วงว่ามันอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เราจะมาดูว่าเรื่องนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร
น้ำ RO จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารน้อยกว่าน้ำปกติหรือไม่ อย่างที่บอกไปแล้วว่า น้ำแบบปกติ จะมีสารอื่นๆเจือปนอยู่ ซึ่งหลายๆตัวนั้น ก็เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น Zn Ca หรือ F ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย การกินน้ำ RO ย่อมทำให้ร่างกายได้รับสารเหล่านี้น้อยลงครับ
แต่... ปริมาณสารเหล่านี้ในน้ำนั้น มีน้อยมากครับ (ถึงจะเป็นน้ำแร่ก็ตาม) ร่างกายของเรา ได้รับสารอาหารจากอาหารที่เรากินเข้าไปเป็นหลัก ไม่ได้รับสารอาหารจากน้ำเป็นหลักครับ ดังนั้น ถึงแม้จะกินน้ำ RO ไปนานๆ ก็ไม่มีผลต่อภาวะขาดสารอาหารแต่อย่างใด
|
|
|
|
prapasri AH
|
|
« ตอบ #95 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 22:05:02 » |
|
น้องดร.มนตรี
พี่แอ๊ะสนใจ การผลิตนำทะเลให้เป็นน้ำจืดค่ะ
แพงไหมคะ สำหรับ พี่แอ๊ะที่ต้องการเครื่องเล็กๆใช้ส่วนตัว
สำหรับ คนไม่มีกี่ครอบครัว บนเกาะเล็กๆ
กำลังคิดว่าจะต้องไปเจาะบาดาล ใช้น้ำ ค่ะ
|
ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #96 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553, 22:19:08 » |
|
สวัสดีครับ พี่แอ๊ะ ที่เคารพ ผมออกจากวงการ "น้ำ" มาร่วม 10 ปี แล้วครับ .... เข้าสู่วงการ "อากาศ" แทน (การสื่อสาร) แต่จะลองเช็คพรรคพวกที่อยู่ การประปา ให้นะครับ และจะนำเรียนพี่แอ๊ะ เพื่อทราบและพิจารณาต่อไป ^_^
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #97 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 05:21:13 » |
|
copy น้องยา แห่งบ้านสะเตง ครับ
มาแกดาซิ นาซิดาแฆ ไม่ได้โทรไปคุยเสียนาน ว่างจะโทรไปคุยนะครับ เลยขอยกตัวอย่างการเปรียบเทียบมาให้ดู
ทั้งสองภาพ ต่างก็เป็นทอง แต่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะราคา นายช่างเป้ นักธรณีวิทยาเอกประจำเวปซีมะโด่งเรา ให้คำตอบได้ดี
ทั้งสามคัน มี 4 ล้อ เหมือนกัน วิ่งบนถนนได้เหมือนกัน เรียกว่ารถยนต์เหมือนกัน สองคันแรก เรียกว่า "นางแต๋น" ของไทยเรา ชื่อนี้ไพเราะดี ไม่ได้หมิ่นประมาทใครใช่มั้ยครับ-น้องยา คันที่สอง ว่า "นางแต๋น" ของเมืองจีนเค๊า คันที่สามนี้ ไม่รู้ว่ายี่ห้ออะไร มีอักษร RR อยู่สองตัว แต่คันนี้ราคา 450,000 เหรียญ เป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น ให้กับเครื่องบินพาณิชย์ต่างๆ เช่น โบอิ้ง หรือแอร์บัส ถ้าบริษัทผู้ผลิต "นางแต๋น" 2 คันแรก ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นให้กับ SAS น้องยา กล้าที่จะบินไปสวีเดน หรือไม่ มีหวังไปกรุโบร์ ได้ง่ายๆ ทุกคันได้ชื่อว่า รถยนต์ มี 4 ล้อ แต่คุณภาพมันแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
ทั้งภาพบนและภาพล่าง ต่างก็ใช้ระบบ Reverse Osmosis (RO) แบบเดียวกัน ข้างบนราคา 100 เหรียญ ใช้ได้กับ 1 ครอบครัว กรอกมาจากน้ำประปาธรรมดา แต่ระบบล่าง ราคา 487 ล้านเหรียญ กรองน้ำโสโครก ให้กับ 140,000 ครัวเรือน ใช้เวลาสร้าง 3 ปี เฉพาะงบประชาสัมพันธ์ 3 ล้านเหรียญ เพื่อสร้างความความเข้าใจให้กับชุมชน ฝรั่งโง่หรือฉลาด?
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #98 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 05:24:12 » |
|
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #99 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 07:36:30 » |
|
โรงควบคุมคุณภาพน้ำขนาดเล็กเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของ สนง.การระบายน้ำ กทม.
มาดูกันที่ ค่าพารามิเตอร์ ที่สำคัญ 2 ตัวคือ
- บีโอดี (biological oxygen demand, BOD)
เป็นปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่ามาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร
- ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen, DO)
แบคทีเรียที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำต้องการออกซิเจน (aerobic bacteria) ในการย่อยสลายสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง ดังนั้นในน้ำที่สะอาดจะมีค่า DO สูง และน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำ มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm. น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm. ค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจน เพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ่ โรงไหนยังไม่ได้มาตรฐาน ผู้เกี่ยวข้องอย่ารอช้า สั่งการไปเลยครับ เจ้านาย ^_^
|
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #101 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 08:54:59 » |
|
ผมก็ไม่อาวครับ...กินน้ำก๊อกบ้านเราดีกว่าครับ
|
|
|
|
Kittiwit Pk
Full Member
ออฟไลน์
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 281
|
|
« ตอบ #102 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 09:23:28 » |
|
อยากลองซักแก้ว แต่ว่า แฮะ ๆ
ขอบายก่อนครับ
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #103 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 10:12:19 » |
|
น้องยา น้องหนึ่ง น้องสน ครับ
อย่าเที่ยวมาทำประชด ไม่ยอมดื่มน้ำดื่มคุณภาพคับแก้ว เวลาที่ล่องใต้จากยะลา ไปเที่ยวสิงคโปร์ ระวังน้ำยี่ห้อนี้ให้ดี ดื่มไปเมื่อไหร่ จะหัวเราะให้กลิ้งไปเลยทีเดียว
เป็นน้ำที่หน่วยงานรัฐบาลสิงคโปร์ บำบัดมาจากน้ำชักโครก มีชื่อว่า NEWater บรรจุขายเป็นขวด เห็นสโลแกน ใต้ยี่ห้อมั้ยครับ ใครที่บอกว่า "ไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษ" จะได้ดื่มน้ำชักโครกชาวสิงคโปร์ ก็ตอนนี้แหละครับ เขาเขียนไว้ชัดเจนว่า "REVERSE OSMOSIS WATER" ฟังก็ไพเราะดี
ความจริง น่าที่จะเขียนบอกว่า "Sewage Reclaimed Water" ถูกต้องมั้ยครับ นิวยอร์คเก้อร์หะยี และ อจ. ยาส
พวกเราซีมะโด่ง ที่หลุดมากะทู้นี้ รู้ทันแล้วครับ เวลาไปสิงคโปร์ พกน้ำขวดไทยไปเยอะๆ ไว้กระเป๋าใต้ท้องเครื่องนะ
อย่างในภาพ ซีมะโด่งคนไหนไปเที่ยวสิงคโปร์ จะดื่มทดลองดู แล้วรายงานผลให้ทราบด้วย ก็ดีนะครับ แบ่งบันประสบการณ์กัน
ส่วนน้องหะยี จะดื่มโค๊กตลอดไปเลยหรือ อย่าลืม ดีไม่ดี? น้ำที่นำมาใช้ผลิตโค๊ก ก็มาจากน้ำ NEWater เช่นกัน คิคิคิ
ปัจจุบัน สิงคโปร์ มีโรงบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดื่ม 4 แห่ง ที่ Bedok, Kranji, and Seletar, and Ulu Pandan ผลิตได้วันละ 32 ล้านแกลลอน/วัน (121 ล้านลิตร/วัน) โรงบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดื่ม แห่งที่ 5 ที่เมือง Changi กำลังจะสร้างเสร็จในปีนี้ กำลังผลิต 50 ล้านแกลลอน/วัน (189 ล้านลิตร/วัน)
ที่สิงคโปร์เอง ก็มีโรงกรองน้ำทะเล ให้เป็นน้ำจืด แหล่งแรก ที่เมืองSingSpring. เปิดใช้เป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน 2005 งบประมาณ 200 ล้านเหรียญ ผลิตน้ำจืดได้ 30 ล้านแกลลอน/วัน (136,380 ลบ. ม./วัน) ช่วยเสริมปริมาณการใช้น้ำจืดไปได้ 10 เปอร์เซ็นต์ของประเทศสิงคโปร์ ส่วนน้ำบรรจุขวด ใช้ชื่อว่า Desal H2O อันนี้ดีกว่ายี่ห้อแรกนะ ยังไง พี่ปรีชา พี่แอ๊ะ พี่ตะวัน น้องหะยี จำยี่ห้อไว้ให้ดี เดียวดื่มน้ำผิด จะหาว่าไม่เตือน
ระหว่างที่ทำพิธีเปิดโรงกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด แห่งแรกที่สิงคโปร์ สมาคมการกรองทะลนานาชาติ International Desalination Association (IDA) ได้จัดการประชุมถึง 6 วัน ได้ตกลงจะให้สิงคโปร์ เป็น Hub ศูนย์กลางเทคโนโลยี่การรีไซเคิลน้ำ และการกรองน้ำทะเล
สิงคโปร์ ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ จำนวนครึ่งหนึ่ง ซื้อน้ำประปามาจากมาเลย์เซีย เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว สองประเทศนี้ มีปัญหาเรื่องการต่อรองราคาน้ำจืดกันอยู่ สัญญาเรื่องน้ำ 2 ประเทศนี้ จะสิ้นสุดลงในปี 2011 และ 2061 สิงคโปร์เลยต้องใช้เทคโนโลยี่ใหม่มาทดแทน ตอนนี้ สามารถลดการนำน้ำเข้าลงได้ 40 % และจะเป็นการต่อรองเรื่องราคาน้ำกับมาเลย์เซียไปในตัว
ประเทศเล็กนิดเดียว แต่คนของเขามีคุณภาพ รองๆลงมาเกาหลีใต้ และใต้หวัน เป็นเสือตัวที่ 5 ประเทศเรา ฤา จะเป็นเพียงแมวไทยเซื่องๆ น่ารักแบบ Siamese Cat
|
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #104 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 10:27:36 » |
|
แวะมาอัพเดทความรู้ครับ พี่ๆทุกท่านมีข้อมูลแน่นจริงๆครับ อ่านเจอเรืองน้ำดื่มจากส้วมแล้ว ยอมรับคับว่ารู้สึก แหวะๆ แหะๆ
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #105 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 11:23:00 » |
|
สมัยประมาณปี 34 จบ ใหม่ๆ ตอนนั้นยังทำงานที่ บมจ. ล็อกซ์เลย์ ของเฮียธงชัย ล่ำซำ ศิษย์เก่า วิทยา จุฬาฯ สิงคโปร์ ... เป็นประเทศแรก ที่ผมได้รับความรู้ เพิ่มเติม เรื่องการจัดการน้ำ ... โดยเข้าร่วมประชุม สัมมนา เชิงปฏิบัติการ ร่วมกับ ไต้หวัน มาเลเซีย ฯลฯ ราวๆ ปี 36-37 มาเลเซีย ขอมาดูงานที่นิคมฯ ไปสิงคโปร์ ครั้งล่าสุด ... เมื่อรับเชิญไปบรรยายให้กับ WiMAX Forum Asia ปีที่แล้ว ... เมษาฯ ปีนี้ก็จะไปบรรยายเรื่อง 4G ที่ไต้หวัน ในขณะที่ 3G บ้านเรายังฝุ่นตลบไปกันไม่ถึงไหน ไม่เป็นไร ถือว่า ช่วยกันพัฒนาโลก ( http://asia.wimax-vision.com/ ) --------------------------------------------- http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4444.0.htmlสิงคโปร์ สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่ง เพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ 33 ปีก่อนได้พิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า การปฏิรูปการศึกษา คือกลไกสำคัญที่จะสร้างศักยภาพของชาติให้สามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นประเทศเดียวที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในยุคเศรษฐกิจถดถอยของเอเชีย จากประเทศเล็ก ๆ ที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพคือกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผู้นำของสิงคโปร์ได้ทุ่มเทงบประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา และดำเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก ผลจากการปฏิรูปการศึกษา ทำให้การศึกษาของสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับว่ามีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ในจำนวนประชากรที่มีอัตราการรู้หนังสือ 91.3 % นั้น ร้อยละ 47.2 จะรู้สองภาษาหรือมากกว่า ในด้านศักยภาพการแข่งขัน นักเรียนมัธยมศึกษาของสิงคโปร์สามารถทำคะแนนได้เป็นที่ 1 ของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง และมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานระดับกลางที่มีทักษะฝีมือดีที่สุดในเอเชีย ประชากรมีรายได้ต่อหัวปีละ 26,400 เหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี เป็น 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำของโลกที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยมาใช้อย่างกว้างขวาง และเมื่อ เร็ว ๆ นี้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ยุทธศาสตร์และความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์กำลังก้าวสู่การปฏิรูปการศึกษาที่มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ก้าวหน้าท้าทาย มิติใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ที่สำคัญมีดังนี้ 1) การปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ "เทคโนโลยีสารสนเทศ 2000 : วิสัยทัศน์การเป็นเกาะแห่งอัจฉริยะ" (IT 2000 : A Vision of an Intelligent Island) โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์ IT 2000 หรือ "IT 2000 Masterplan" ซึ่งกำหนดเป้าหมาย พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ส่งเสริมกลไกทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงสังคมทั้งในระดับชาติและระดับโลก และส่งเสริมศักยภาพของบุคคล โดยมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National IT Committee) และคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Computer Board) หรือ NCB เป็นองค์กรสำคัญในการปฏิรูปดังกล่าว 2) การปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้สิงคโปร์ เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดแผนเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Technology Plan : NTP) เพื่อสร้าง "Singapore Technology Corridor" ให้เป็นที่ตั้งสถาบันและศูนย์การวิจัยและพัฒนา แหล่งอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าสูงทางเทคโนโลยี และสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบในการดำรงชีวิต จัดตั้ง Science Park เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มี Technology Month เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมในการวิจัยและพัฒนา โดยมีการมอบรางวัลเกียรติยศระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่บุคคลและภาคธุรกิจ เอกชน นอกจากนั้น ยังกำหนดแผนพัฒนาสังคม โดยเน้นการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสร้างความเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ในการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Board) หรือ NSTB เป็น องค์กรสำคัญ 3) การปฏิรูปนวัตกรรม ได้ส่งเสริมนักนวัตกรรมเพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ กำหนดแผนพัฒนานวัตกรรม (Innovation Development Scheme) และแผนให้ความช่วยเหลือนักนวัตกรรม (Innovator’s Assistance Scheme : IAS) ในการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ จัดตั้งสมาคมนักนวัตกรรม (Innovators’ s Club) และศูนย์นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Center for Strategic Process Innovation : CSPI) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดฝึกอบรมโดยนำนวัตกรรมต่าง ๆ ไปใช้ เพื่อให้องค์กรปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ในการส่งเสริมนวัตกรรมมี NSTB เป็นผู้วางแผนดำเนินงานและให้การสนับสนุน 4) การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (Skill Development) ได้กำหนดแผนสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนจัดฝึกอบรมให้แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานโดยรัฐให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือด้านงบประมาณ และให้สถาบันการศึกษาทางเทคนิค (Institute of Technical Education : ITE) ร่วมกับภาคธุรกิจจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับความรู้และทักษะฝีมือแรงงาน 5) การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) หรือ NUS ได้พัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2000 จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการวิจัย NUS ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย และผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 5% แรกของสถาบันยอดเยี่ยมของโลก สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) หรือ NTU ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการศึกษาระดับนานาชาติ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 NTU ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ NTU ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 สถาบันเทคโนโลยียอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ส่วนสถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Institute of Education : NIE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NTU ก็มุ่งสร้างความเป็นเลิศในการวิจัยการศึกษา โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เรียกว่า "NIE Center for Educational Research : NIECE" และศูนย์ผู้บริหารที่เรียกว่า "Principals’ Education Center" เพื่อให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาวิชาชีพครูและผู้บริหารโรงเรียนในระดับนานาชาติ *** เงื่อนไขความสำเร็จ วิสัยทัศน์ผู้นำ นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญลำดับแรกที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองอนาคตได้อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาได้ตรงจุด
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #106 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 11:50:09 » |
|
สงสัยจะไม่ทันแล้วครับพี่.....คุ้นๆว่า หลายขวดแล้วครับ
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #107 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 13:52:20 » |
|
"ฉานว่าแล้ว คนยะลา คงซัดไปหลายขวด หรอยจังหู้" น้องยา ครับ อย่าเพิ่งตกใจ คนที่ได้ดื่มน้ำ NEWater ได้เป็นถึงนายกรัฐมนตรี ของสิงคโปร์ มาแล้ว คือนายโก๊ะ จ๊ก ตง ดังภาพ เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ อย่างน้องยา อาจจะมีบุญหล่นใส่ ยิ่งตอนนี้ สภาวะบ้านเมืองไทยเราไม่ปกติ เราต้องการนายกรัฐมนตรี ที่เป็นนักกฎหมายที่เข้มแข็ง มาสะสางทุกอย่างให้เป็นไปตามขบวนการยุติธรรม เพื่อให้เข้ารูปเข้ารอยซะก่อน NEWater ออกแบบผลิตภัณฑ์ขวดบรรจุ แบบใหม่ซะหรู แม้จะคำกำกับตอนล่างว่า "Reverse Omosis Water" คนที่ไม่ได้ติดตามดูภาพยนตร์สารคดี พวก Planet Green, Discovery, NG หรือมาอ่านเวปซีมะโด่ง จะมีโอกาสทราบน้อยมาก
คุณภาพน้ำของ NEWater ต้องได้มาตรฐานจริงๆ แม้ฉะนั้น คนระดับอดีตนายกรัฐมนตรี คงจะไม่กล้าดื่มหรอก นี่คือข้อมูลวิเคราะห์คุณภาพน้ำของสิงคโปร์ และ มาตรฐานของ USEPA (U.S. Environmental Protection Agency) และ WHO (World Health Organization)
ที่มา:http://www.pub.gov.sg/newater/Pages/default.aspx
|
|
|
|
TAE2540
Full Member
ไม่มีคำว่าสายเสียแล้ว สำหรับความรักที่แท้จริง
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2540
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 507
|
|
« ตอบ #108 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553, 15:17:29 » |
|
ไปสังคโปร์ ปลายเดือนนี้ จะระวังยี่ห้อนี้ให้ดี ถ้าเลือกได้จะไม่เลือกกิน
สวัสดีพี่วณิชย์ครับ
มาแวะอ่านเก็บความรู้ใส่กระโหลก
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #109 เมื่อ: 08 มีนาคม 2553, 04:08:16 » |
|
อจ. เต้ ครับ ที่ประเทศสิงคโปร์ ยังมีน้ำอีกยี่ห้อหนึ่ง ที่กรองมาจากน้ำทะเล DESAL H2O แต่ไม่มีภาพให้ชม อาจจะไม่โปรโมท เพราะต้นทุนการผลิตแพงกว่า NEWater แต่ถ้าไง หาดื่มไม่ได้จริงๆ ดื่มไทเกอร์แทนก็ได้ (อายุเกิน 18 แล้วใช่มั้ย?) ค่าใช้จ่ายทั้งหมด มาเบิกที่แม่ยกหะยี แห่งบ้านโนนทัน คิคิคิ
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #110 เมื่อ: 08 มีนาคม 2553, 09:32:44 » |
|
สงสัยจะหนี่ไม่พ้นมั้งครับ...ไอ้พวกที่ใช้น้ำทั้งหลาย ตั้งแต่ก๋วยเตี๋ยว หุงข้าว น้ำดื่ม...สารพัดน้ำที่ผสม ไม่รอดแน่..น้องเต้...เอ๊ย
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #111 เมื่อ: 08 มีนาคม 2553, 16:03:00 » |
|
Demagogue ฝากตรรกะอันหนึ่งมาให้คิด ถ้าวัวมี 4 ขา พอเห็นอะไรที่มี 4 ขา ทุกอย่างจะต้องเป็นวัวหรือไม่? ขอนำข้อมูลมายืนยันว่า สหรัฐอเมริกา และอีกหลายสิบประเทศทั่วโลก มีปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ แม้กระทั่งประเทศไทย ข่าวจาก นสพ.ผู้จัดการ วันที่ 8 มีนาคม 2553 ก็เช่นกัน โปรดอ่านจาก หัวข่าว เวปไซท์ที่นำมาให้ชมกัน
การที่ออเรนท์เคาท์ตี้ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สร้างโรงบำบัดน้ำเสีย ให้ได้ถึงคุณภาพน้ำดี เพราะยังไงๆ ก็ต้องบำบัดน้ำเสียนี้อยู่แล้ว แต่เพิ่มระบบ Microfilter, Reverse Osmosis, UV&H2O2 ด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่มาก แต่มีแหล่งน้ำมาเสริมระบบน้ำประปา ป้องกันการขาดแคลนจากแหล่งน้ำที่มาจากทางเหนือ San Joaquin Valley ไปอีกหลายร้อยไมล์ ค่าใช้จ่ายในการส่งน้ำระยะทางไกลๆ ก็แพงกว่า ไม่ใช่เพื่อการประชาสัมพันธ์ หรือสร้างสีสรร แต่อย่างใด
ประเทศสิงคโปร์เอง ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ครึ่งหนึ่ง ต้องนำเข้ามาจากประเทศมาเลย์เซีย มีสัญญาในระยะยาว จนถึงปี 2011 และ 2061 ขณะนี้ สิงคโปร์ มีโรงบำบัดน้ำเสีย ให้เป็นน้ำดี คุณภาพระดับดื่มได้ 4 แห่ง กำลังจะสร้างเสร็จขนาดใหญ่อีก 1 แห่งในปี้นี้ รวมเป็น 5 แห่ง และโรงกรองน้ำจากทะเล อีก 1 แห่ง ทำให้ลดการนำน้ำเข้าได้ 40% และที่สำคัญ สามารถที่จะสร้างอำนาจการต่อรองราคาน้ำ กับประเทศมาเลย์เซียได้
|
|
|
|
demagogue
มือใหม่หัดเมาท์
ไม้ซีก งัด อำนาจเงิน
ออฟไลน์
กระทู้: 108
|
|
« ตอบ #112 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 02:34:47 » |
|
อะจ๊ากกกกซซซซ์..... มาดูกระทู้นี้ก็เจอบทความเกี่ยวกับการปฏิรูปสิงคโปร์ของท่าน ดร.มนตรี อีกแล้ว เหมือนกระทู้นี้เลย http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4444.msg364774/topicseen.html#msg364774แล้วก็เหมือนของ รศ.ดร.วินัย รังสินันท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัย นานาชาติแสตมฟอร์ด เปี๊ยบเลย ไม่ทราบท่านเป็นพี่น้องกันรึเปล่าครับ สอง ดร.นี้ ..... แรงบันดาลใจ...แรงบันดาลใจ...แรงบันดาลใจ...แรงบันดาลใจ...แรงบันดาลใจ... จริงๆครับ แรงบันดาลใจ...ล้วนๆเลยครับ ที่ทำให้คนสองคนมีใจตรงกันได้ทุกตัวอักษรแบบนี้ พล.อ.ท.ผศ.ดร.นพ.มรว.มีตรน ล้นถ้วยชา (เจ้าเก่า)
|
|
|
|
demagogue
มือใหม่หัดเมาท์
ไม้ซีก งัด อำนาจเงิน
ออฟไลน์
กระทู้: 108
|
|
« ตอบ #113 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 02:36:16 » |
|
|
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #115 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 06:56:28 » |
|
วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4190 ประชาชาติธุรกิจ วอนชาวนาหยุดทำนาปรังรอบสอง ลุ่มเจ้าพระยาใช้น้ำไปแล้วเกิน88% กระทรวงเกษตรฯวอนชาวนาหยุดทำนาปรังรอบ 2 ทันทีหลังคาดการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือน้อยเต็มที คาดเดือนเมษายนนี้เกิดวิกฤตขาดน้ำแน่ เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปแล้วกว่าร้อยละ 80 ของแผนการจัดสรรน้ำ คงเหลือน้ำให้ใช้ได้อีกไม่เกิน 1,607 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในขณะนี้ว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 47,890 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 65% ของความจุอ่าง เขื่อนภูมิพลเหลือ 50% ของความจุ หรือ 6,667 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปี 2552 จำนวน 961 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเหลือเพียง 47% ของความจุอ่าง หรือ 4,478 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณน้ำจำนวน 2,035 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำ แม่กวงกับอ่างเก็บน้ำทับเสลา ถือว่ามีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูแล้งจนถึงขณะนี้มีการผันน้ำสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้วทั้งสิ้น 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเป็นการผันน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ จำนวน 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จำนวน 400 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร และลุ่มน้ำแม่กลองอีก 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการนำน้ำไปใช้แล้วจำนวน 6,393 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 80 ของแผนจัดสรรน้ำทั้งหมด และเหลือปริมาณน้ำที่สามารถจะนำมาใช้ได้ในช่วงฤดูแล้งปีนี้อีกประมาณ 1,607 ล้านลูกบาศก์เมตร นายธีระกล่าวอีกว่า ปัจจุบันลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการทำนาปรังเกินแผนไปแล้วกว่า 13% และตัวเลขพื้นที่ปลูกนาปรังครั้งที่ 2 ยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้นอีกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงว่าจะก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำและความขัดแย้งในการแย่งชิงสิทธิการใช้น้ำในอนาคต จึงขอความร่วมมือเกษตรกรให้งดทำนาปรังครั้งที่ 2 และหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนน้ำและเพื่อให้มีน้ำสำรองไว้ใช้ทำนาปีในช่วงต้นฤดูฝน http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02inv05080353§ionid=0203&day=2010-03-08
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #116 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 07:45:06 » |
|
ข้อมูลที่เอามาแชร์ ตัดมาจากบางส่วนของไฟล์ Word ที่มีอยู่ครับ และถ้าเจ้าของบทความเป็น ดร.วินัย ขออนุญาตให้เครดิต ท่านนะครับปล. ขอบคุณพี่ป๋องมากครับ สำหรับคำแนะนำ แต่ยังไม่ได้ขอโทษด้วยเหตุผล 2 ประการนะครับ พี่ป๋อง 1. ยังไม่แน่ใจว่า Original ของบทความจริงๆ คือท่านใด เนื่องจาก เข้าไปดูตามลิงค์ มีอ้างอิง ไปที่: http://www.onec.go.th/publication/4210045/summary.htm (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา) 2. ไฟล์ Word ที่ผมมีอยู่ ไม่ได้ระบุที่มาของผู้เขียนครับ และการนำเสนอเพียงต้องการแชร์ข้อมูลที่มีอยู่และเห็นว่าเป็นประโยชน์เท่านั้น ไม่ได้นำไปหาผลประโยชน์ทางวิชาการใดๆ จึงมั่นใจว่าไม่ได้กระทำผิด ถึงขั้นต้องขอโทษ
|
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #118 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 09:12:32 » |
|
พูดถึงเรื่องกฎหมายกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะน้ำเสียแล้วนี่ คิดถึงผู้หญิงคนนี้ครับ เป็นแค่เสมียนในสำนักงานกฎหมาย แต่เก่งจริงๆ Erin Brockovich From Wikipedia, the free encyclopediaJump to: navigation, search This article is about the individual. For the film of the same name, see Erin Brockovich (film). Erin Brockovich Erin Brockovich-Ellis (born June 22, 1960) is an American legal clerk and environmental activist who, despite the lack of a formal law school education, was instrumental in constructing a case against the Pacific Gas and Electric Company (PG&E) of California in 1993. Since the release of the film that shares her story and name, she has hosted Challenge America with Erin Brockovich on ABC and Final Justice on Lifetime. She is the president of Brockovich Research & Consulting, a consulting firm. She is currently working as a consultant for Girardi & Keese[2][3] on the east coast, the New York law firm Weitz & Luxenberg, [4]which has a focus on personal injury claims for asbestos exposure, and Shine Lawyers in Australia.[5]
|
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #120 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 09:21:33 » |
|
หยีคุ้น ๆ ว่า .. ภริยาของท่าน รศ.ดร.วินัย รังสินันท์ เคยเป็นอัครราชทูต (ฝ่ายการศึกษา) ประจำสถานทูตที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หยีสนิทกับภริยาท่าน .. ต้องไปถามอีกทีว่า ดร.วินัย ท่านนี้ เป็นบุคคลเดียวกันที่หยีคิดไว้หรือไม่ ??
อุ๊ย .. ขอโทษพี่ป๋องค่ะ ไม่เกี่ยวกับน้ำเสีย แต่พาดพิงนิดส์นึง
จบข่าวในประเทศค่ะ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
demagogue
มือใหม่หัดเมาท์
ไม้ซีก งัด อำนาจเงิน
ออฟไลน์
กระทู้: 108
|
|
« ตอบ #121 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 21:36:39 » |
|
ชักเบื่ออีตา Intania๑๖ จริงๆ โพสต์อะไรทีอ้างอิงลิงค์กระจายเลอะเทอะบอร์ดไปหมด ทำให้สงสัยว่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝงมาขายระบบบำบัดน้ำชัวร์ เพราะถ้าไม่มีผลประโยชน์อะไรก็ไม่เห็นต้องอ้างอิงอะไรให้มันเลอะเทอะบอร์ดนะครับ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องขอโทษอะไรด้วยต่างหาก (นี่เป็นนวตกรรมใหม่ทางด้านวิชาการครับ เป็นนโยบายลดโลกร้อน เพราะไม่เปลืองกระดาษเขียนบรรณานุกรม เวลาพิมพ์ตำราขาย)
ขอให้เวบมาสเตอร์ตรวจสอบด้วย ถ้ามีผลประโยชน์ก็ให้เก็บค่าต๋งบำรุงบอร์ดด้วยครับ
พล.อ.ท.ผศ.ดร.นพ.มรว.มีตรน ล้นถ้วยชา (ผู้เชื่ยวชาญ C&P)
หมายเหตุ :- อย่างง.....หมายถึง copy & paste
|
|
|
|
demagogue
มือใหม่หัดเมาท์
ไม้ซีก งัด อำนาจเงิน
ออฟไลน์
กระทู้: 108
|
|
« ตอบ #122 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 22:03:42 » |
|
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #123 เมื่อ: 09 มีนาคม 2553, 23:49:42 » |
|
ไม่คุ้นแล้วค่ะ .. ของจริงเลย ข้อมูลที่สงสัย and ไม่แน่ใจข้างบนนี้ .. ถูกต้องแล้วค่ะ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #124 เมื่อ: 10 มีนาคม 2553, 01:21:52 » |
|
ก็ไม่ได้ติดใจอะไรหรอกครับ หะยี clear กันไปได้ระดับหนึ่งแล้ว (เมื่อไม่แน่ใจว่ามากน้อยแค่ไหน ก็ให้บอกว่าระดับหนึ่งไว้ก่อน)
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #125 เมื่อ: 10 มีนาคม 2553, 11:13:37 » |
|
Panawat & Tae, are you next? การที่เอาข่าวนี้มา เพื่อให้เกิดความสมดุลของข่าว ใช่แต่ว่า จะยกย่อง น้ำที่บำบัดมาจากน้ำชักโครก สะอาดจนดื่มได้ ดีไปหมดทั้งอย่าง เหมือนกับดาบ มีสองคม
บังเอิญ ให้เกิดความเป็นห่วง น้องๆซีมะโด่ง อย่างน้องยา ที่ไปสิงคโปร์มาแล้ว ได้ทดลองน้ำ NEWater มาอย่างดื่มด่ำ แต่ถ้าได้อ่านข่าวนี้ อย่าเพิ่งช๊อคคาสำนักงานกฎหมายไปนะครับ
มันเป็นข่าวในนิตยสาร ทางด้านวิทยาศาสตร์ Popular Science บรรยายตรงภาพไว้ดังนี้
Chemical and hormone runoff from farms and wastewater treatment plants could be turning male fish female, threatening the $5.5-billion bass fishing industry
คือสารเคมีและฮอร์โมนที่ไหลออกจากฟาร์ม ไปสู่โรงบำบัดน้ำเสีย สามารถเปลี่ยนปลาเพศผู้ ให้เป็นเพศเมีย สร้างความอกสั่นขวัญแขวนแก่อุตสาหกรรมปลามูลค่า 5.5 พันล้านเหรียญ
แผนกสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐฯ US Geological Survey ได้ศึกษามาเป็นเวลา 9 ปี พบว่า ปลา bass (ปลาตะเพียนฝรั่ง ดังภาพบน) 44% ของปลาชนิดปากใหญ่และปากเล็ก บางแห่งถึง 91% ที่ปลาตะเพียนปากใหญ่ มีสองเพศปนกัน (intersex) คือปลาตัวผู้ ได้เปลี่ยนอวัยวะเพศผู้ มาเป็นรังไข่อ่อนๆแบบเพศเมีย (sex organs producing immature female eggs) พบจาก 34 ใน 111 แห่ง ใกล้ลุ่มน้ำโคลัมเบีย โคโลราโด และมิสซิปซิปปี้
ที่น่าสังเกตุอย่างหนึ่ง ปลาสองเพศนี้ พบทั้งลำธารตอนเหนือ และตอนล่าง ของโรงบำบัดนำเสีย นักวิทยาศาสตร์คาดว่า คงจะเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่มาจากอุตสาหกรรมเลี้ยงไก่และวัว
น้องยา น่าสยองนะครับ โรงบำบัดน้ำเสีย อาจจะไม่สามารถที่กรองเอาฮอร์โมนออกไปได้ เหลืออยู่ในน้ำ อ่านรายละเอียดเองนะครับ แล้วเขียนมาเล่าให้ได้อ่านกัน ส่วน อจ. เต้ กำลังจะไปสิงคโปร์ ก็เลือกดื่มเอาก็แล้วกัน
ที่มา: http://www.popsci.com/science/article/2009-11/what-feminizing-so-many-male-fish-our-rivers
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #126 เมื่อ: 10 มีนาคม 2553, 22:37:59 » |
|
พี่วณิชย์นะพี่วณิชย์...ทำไมเพิ่งจะมาเฉลยตอนนี้
เสียว..ครับ
|
|
|
|
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์
รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520
|
|
« ตอบ #127 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553, 08:37:20 » |
|
เวลาอาบน้ำก็ก้มลงดูหน่อยนะครับพี่ยา....
เผื่อมีอะไรหด อะไรโผล่ขึ้นมาครับ
|
ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #128 เมื่อ: 13 มีนาคม 2553, 16:56:57 » |
|
แค่นี้ ยังไม่รับผิดชอบต่อสังคม แล้วจะมาเรียกร้องประชาธิปไตย ไปหาพระแสงหอกหักอันใด
"แดงมักง่าย" ติดส้วมชั่วคราวทิ้ง "อึ" ลงท่อระบายน้ำกทม. กทม.งานเข้า ผู้ชุมนุมเสื้อแดงติดตั้ง "ส้วม" ริมถนนราชดำเนิน โดยปล่อยท่อน้ำเสียและท่อสิ่งปฏิกูลลงท่อระบายน้ำกทม. ด้านผอ.สำนักปกครองฯ กทม.วอนเห็นใจเข้าหน้าที่ที่ต้องคอยตามล้างสิ่งปฏิกูลในท่อภายหลัง นายยศศักดิ์ คงมาก ผอ.สำนักปกครองและทะเบียน กทม. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากเทศกิจว่า ผู้ชุมนุมได้ติดตั้งห้องสุขาและห้องอาบน้ำชั่วคราวริม ถ.ราชดำเนิน โดยปล่อยท่อน้ำทิ้งและของเสียลงท่อระบายน้ำของกทม.โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ปรับไม่เกิน 1หมื่นบาท หรือจำคุก 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตามมาตรการทางกฎหมายขณะนี้คงไม่สามารถใช้บังคับกับกลุ่มผู้ชุมนุมได้ เนื่องจากกลัวว่า คนเสื้อแดงแสดงความไม่พอใจก่อเหตุวุ่นวาย จึงได้แต่ขอเรียกร้องให้แกนนำ นปช. และกลุ่มผู้ชุมนุมเห็นใจเจ้าหน้าที่ของ กทม. ที่ต้องคอยทำความสะอาดล้างสิ่งปฏิกูลในท่อระบายน้ำภายหลัง
ที่มา: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000035554
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #129 เมื่อ: 15 มีนาคม 2553, 11:43:50 » |
|
|
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #130 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553, 22:33:55 » |
|
สวัสดีค่ะพี่วณิชย์ เข้ามาชมคลองแสนแสบค่ะยังตามอ่านไม่ครบทีค่ะ...
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #131 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553, 16:42:34 » |
|
ประเทศไทยเรามีผู้เชี่ยวชาญ มีอาจารย์ไปเรียนจบโทจบเอก เรื่องสิ่งแวดล้อม จากต่างประเทศมากมาย มีสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ใน แผนกวิศวกรรมสุขาภิบาล แผนกวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีสมาคมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย มีกรมควบคุมมลพิษ มีกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี่ ทำไมน้ำในคลอง ในบึงในหนอง ในแม่น้ำทั้งหลายในประเทศไทย จึงยังเน่าอยู่??? ทั้งหลายทั้งปวง มาจากระบอบการเมืองที่ไม่มีธรรมาภิบาล
โชว์ผลสอบคลองด่าน 'มหากาพย์'คอรัปชั่น!! บทพิสูจน์น้ำยาป.ป.ช. ปล่อยคดีหมดอายุหรือ??? เห็นข่าว “เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ” หรือ “ส.ท.ช.” ที่ออกมาเคลื่อนไหว กดดันคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้เร่งรัดพิจารณาในคดีทุจริตโครงการจัดการน้ำเสียคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ หลังจากที่คดีนี้ยืดเยื้อมายาวนานกว่า 5 ปีแล้วนั้น ต้องบอกว่า มีข้อสงสัยกับการทำงานของป.ป.ช.เหมือนกัน
เพราะถ้าจำกันได้ “ตัวละครการเมือง” ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีอื้อฉาวนี้ แยกเป็น 2 ส่วนคือเรื่อง “ที่ดิน” กับเรื่อง “การดำเนินโครงการ” ที่ส่อไปในทางทุจริต!!!
และผลพวงของเรื่อง “ทุจริตที่ดิน” ที่แยกออกไป “ฟ้องเดี่ยว” กับ “วัฒนา อัศวเหม” อดีตรมช.มหาดไทย จนกระทั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2551 ชี้ขาดว่ามีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่ตำแหน่งโดยมิชอบ ใช้อำนาจข่มขู่หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอย เพื่อนำไปขายให้กับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
โดยองค์คณะผู้พิพากษา เห็นสมควรให้ลงโทษจำคุก 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 ริบพระเครื่องผงสุพรรณเลี่ยมทอง และเนื่องจากจำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลฎีกาฯจึงได้ออกหมายจับจำเลย ให้มารับโทษตามคำพิพากษาต่อไป การที่จำเลยหลบหนีคดีนี้มีอายุความ 15 ปี นับแต่วันที่จำเลยหลบหนี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 98 (ติดตามอ่าน...ศาลจำคุกวัฒนา10ปี ข้อหาทุจริตคลองด่าน ออก'หมายจับ'ล่าตัว! หลังหลบหนีไป'เขมร' ได้ที่ http://thaiinsider.info/space/content/view/10366/28)
แต่เมื่อหันมามองเรื่อง “ทุจริตการดำเนินโครงการ” ที่พบว่ามีนักการเมืองคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องคือ “ยิ่งพันธ์ มนะสิการ” กับ “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ในฐานะอดีตรมว.วิทยาศาสตร์ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในโครงการอื้อฉาวนี้
เพียงแต่ว่า “ยิ่งพันธ์” ได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงเหลือเพียง “สุวัจน์” เท่านั้น ที่ยังตกเป็น “ผู้ถูกกล่าวหา” ในคดีนี้
คดีทุจริตอื้อฉาวคลองด่านนี้ หากจำกันได้ “ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปี 2546 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตขึ้นมา ซึ่งมี “พล.ต.ท.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์” อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในเวลานั้น เป็นหัวหน้าชุดสอบสวน ซึ่งเมื่อมีการสอบสวนแล้วเสร็จ และพบว่าคดีมีมูล จึงมีการสั่งการให้ “อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ” ในเวลานั้น คือ “อภิชัย ชวเจริญพันธุ์” ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2546 ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะสรุปสำนวนการสอบ และส่งต่อให้คณะกรรมการป.ป.ช. เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2546
ต่อมา “ประพัฒน์” ก็ได้สั่งการให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อคณะกรรมการป.ป.ช. อีกทางหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 มี.ค.2547
ซึ่งหากนับเวลาตั้งแต่มีการไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อป.ป.ช. ทั้งของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม หรืออธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ก็กินเวลามานานถึง 5-6 ปีแล้ว แต่ปรากฏว่า “คดีทุจริตการดำเนินโครงการ” ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
แต่ปมที่น่าสนใจในเวลานี้ก็คือ “คดีทุจริตการดำเนินโครงการ” ที่อื้อฉาวนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา และเรื่องนี้มีการชี้มูลเบื้องต้นถึง “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ว่ามีความผิดอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีอายุความ 15 ปี เพราะ “สุวัจน์” เป็นผู้ลงนามในการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2538 เพื่อให้กรมควบคุมมลพิษ ตกลงกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ในการจัดทำรายละเอียด แผนการใช้เงินและสัดส่วนของแหล่งเงินจากต่างประเทศ และ “สุวัจน์” ก็เป็นคนที่นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2538 เพื่อให้อนุมัติงบประมาณโครงการนี้ 13,612 ล้านบาท โดยให้ทำสัญญาการว่าจ้างเป็นแบบเหมารวม ที่ผู้ประกวดราคาต้องทำการซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียด้วย
นั่นหมายความว่า คดีนี้จะหมดอายุความประมาณเดือนมิ.ย. 2553 จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาเป็นอย่างยิ่งว่า “ป.ป.ช.” จะปล่อยให้ “คอรัปชั่นแบบมหากาพย์” นี้หมดอายุความลงไป โดยไม่สามารถเอาผิดนักการเมืองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เลยหรือ
เพราะคดีที่เกี่ยวข้องกับทุจริตที่ดิน ก็เอาผิด “วัฒนา อัศวเหม” ไปแล้ว ส่วนคดีทุจริตการดำเนินโครงการ จะเอาผิดใครไม่ได้เชียวหรือ???
ทั้งนี้ “สุวัจน์” จะผิดหรือไม่ผิด เป็นเรื่องที่ต้องไปต่อสู้กันในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง...เอาเอง
ซึ่ง “เขา” อาจหาหลักฐาน-ข้อเท็จจริง...มาหักล้าง “ข้อกล่าวหา” ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่การปล่อยให้ยืดเยื้อ...จนคดีความหมดอายุ
เพราะนั่นเท่ากับเป็นการตบหน้า “ป.ป.ช.” เองว่า มีน้ำยาจริงหรือไม่!!!
อีกทั้งเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า มีการเลือกปฏิบัติ “2 มาตรฐาน” หรือเลือกจะ “เอาผิด” เฉพาะคนอย่างนั้นหรือ???
ถ้าเช่นนั้น “ความหมายของตราสัญลักษณ์สำนักงานป.ป.ช.” ที่ระบุในเว็บไซต์ http://www.nccc.thaigov.net/nccc/office/mean.php ว่า
- อุณาโลม หมายถึง มหาบุรุษความยิ่งใหญ่ - รัศมี หมายถึง การแผ่ไพศาล - โล่ หมายถึง การป้องกันอันเป็นหน้าที่พิเศษของงานป.ป.ช.ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้มีผู้กระทำการทุจริต และในโล่ดังกล่าว ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.พานรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฏหมายสูงสุดของประเทศเป็นศูนย์อำนาจรัฐและก่อให้เกิดมีคณะกรรมการป.ป.ช.ขึ้น 2.ตุลหรือตาชั่งและธรรมจักร หมายถึง ความยุติธรรมและคุณธรรม 3.กงจักรสายฟ้าและลูกศร หมายถึง ความรวดเร็วในการปราบปรามการทุจริต
ก็คงไม่ศักดิ์สิทธิ์ดังที่ว่าแน่ๆ... พูดแล้วก็อดนึกถึงคำของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี ที่เพิ่งกล่าวไว้เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านทุจริต ครั้งที่ 14 ตอนหนึ่งระบุไว้ว่า “ในทางการเมืองก็เช่นกัน ระหว่างที่ผมเดินทางกลับจากสหรัฐฯ ได้อ่านหนังสือชื่อ democracy kill ซึ่งวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยในหลายภูมิภาค โดยสาเหตุสำคัญมาจากเรื่องผลประโยชน์การทุจริต และการแย่งชิงอำนาจ จนทำให้ขบวนการประชาธิปไตยที่ควรจะศักดิ์สิทธิ์ ถูกบั่นทอน นำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงในหลายสังคม การทุจริตคอรัปชั่นจึงถือเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศ เพียงแต่อาจมีความหนักเบาต่างกัน และแต่ละประเทศก็มีมาตรการป้องกันที่ต่างกัน การประชุมครั้งนี้น่าจะช่วยจุดประกายความใสสะอาดให้กับประเทศไทยและประชาคมโลก และทำให้ทุกฝ่ายมีจิตสำนึก ตื่นตัวในการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง”
เพราะการคอรัปชั่น ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย...จริงๆ
เปิดหลักฐานผลการสอบสวนของคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริต ที่มี “พล.ต.ท.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์” อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในเวลานั้น เป็นหัวหน้าชุด...คัดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ "นักการเมือง"
สุวัจน์-วัฒนา-ยิ่งพันธ์ ซึ่งมีปมที่ต้องสังเกตให้ดีๆ คือ มีการสรุปว่า “วัฒนา อัศวเหม” มีพฤติการณ์เข้าข่ายสนับสนุนเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ประกอบมาตรา 157
ขณะที่ “ยิ่งพันธ์ มนะสิการ-สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ถือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ ทำให้รัฐเสียหาย อันเป็นการกระทำที่ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยเฉพาะในส่วนของ “สุวัจน์” ถือเป็นรัฐมนตรีและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็น “ผู้ริเริ่มผลักดันโครงการ” ให้เปลี่ยนแปลงไปจากมติครม.เดิม โดยรวมเอาแผนงานโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงมหาดไทย มารวมกันแล้วดำเนินการให้มีการก่อสร้างแบบจ้างเหมารวม และให้ผู้ก่อสร้างเป็นผู้จัดซื้อที่ดิน เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ อันมีพฤติการณ์ที่ไม่ชอบ โดยการผลักดันให้โครงการฯมีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มผู้รับเหมา ซึ่งมีบริษัทเครือญาติได้รับประโยชน์
ที่มา: http://thaiinsider.info/2009news/column/specialscoops/4145-2009-09-29-04-33-25
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #132 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553, 16:52:00 » |
|
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #133 เมื่อ: 24 มีนาคม 2553, 14:35:22 » |
|
อย่าเพิ่งตกใจ ไม่ใช่ที่คลองแสนแสบนะครับ เพราะในลำคลอง แทบจะไม่มีสัตว์น้ำ เหลืออยู่แล้ว ยกเว้นที่หลุดมาจากบึงหนองจากที่อื่นๆ ภาพที่เห็นข้างล่าง จากทะเลสาบจึกแบ๊ก ทีเวียตนาม มลภาวะวินาศ-- ราษฎรที่อาศัยอยู่รอบๆ นำเรือเล็กออกตักปลาตายในทะเลสาปจึกแบ๊ก (Truc Bach) ในกรุงฮานอย วันจันทร์ (22 มี.ค.) ที่ผ่านมา ปลาหลากชนิดและหลายขนาดนับเป็นตันๆ ตายลงเนื่องจากมลภาวะซึ่งทำให้น้ำกลายสภาพ มีกรดสูง แต่ 1 สัปดาห์ผ่านมาทางการท้องถิ่นก็ยังไม่ได้เอาใจใส่มากมายนัก สื่อของเวียดนามกล่าว. ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ปลานับเป็นตันๆ ลอยอืดเต็มทะเลสาบจึกแบ๊ก (Truc Bach) ที่มีชื่อเสียงในกรุงฮานอยกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเชื่องช้า เจ้าหน้าที่ตรวจคุณภาพน้ำ และพบว่า มีความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ (Tuoi Tre) ภาพที่สำนักข่าวรอยเตอร์นำออกเผยแพร่ในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นปลาหลากหลายขนาดและชนิด ลอยอยู่บนผิวน้ำเป็นหย่อมๆ มองไม่เห็นสิ่งใด ราษฎรที่อาศัยอยู่รอบๆ นำเรือลงไปตักปลาตายขึ้นจากน้ำ ลดความเหม็น นายด่งแท็งห่า (Dong Thanh Ha) เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยประมงที่ 1 กล่าวว่า ได้ทดสอบน้ำในทะเลสาบเสร็จในช่วงบ่ายของวันจันทร์ (22 มี.ค.) ที่ผ่านมา แต่ผลที่ได้ไม่ปรากฏเหตุผิดปกติใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มข้นของออกซิเจนในน้ำ แต่ปัจจัยค่าความเป็นกรดด่างของน้ำลดลงเล็กน้อย ต่ำกว่ามาตรฐาน 7.0 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าน้ำในทะเลสาบมีความเป็นกรด ทำให้ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมและตรวจสอบเพื่อระบุหาสาเหตุของความเป็นกรดดังกล่าวเพิ่ม นายห่า กล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่เริ่มเก็บปลาตายที่ได้ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้นักท่องเที่ยวและลูกค้าตามร้านอาหารรอบทะเลสาบต่างหันหน้าหนี เตื่อยแจ๋ กล่าว ราษฎรในพื้นที่แจ้งว่า ปลาที่ตายอยู่ในทะเลสาบถูกพัดลอยไปตามน้ำ ผ่านท่อระบายน้ำ ทำให้ทะเลสาบอื่นๆ เริ่มเน่าเสียไปตามๆ กัน
ที่มา : http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000040708
|
|
|
|
ไข่ย้อย88
Full Member
หนุ่มชาวดง
ออฟไลน์
กระทู้: 261
|
|
« ตอบ #134 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553, 10:58:13 » |
|
เดี๋ยวนี้การศึกษาไทยเรา ส่งเสริมการพัฒนาด้าน IQ สูงเหลือเกิน แต่ MQ. EQ นั้นน้อยมาก จึงไม่แปลกเลยที่เด็กที่มีความเป็นเลิศด้านวิชาการจะมีนิสัยแย่ (ทั้งที่เจอกับตัวเอง และจากผู้มีประสบการณ์โดยตรง) ถ้าคนเก่งๆ ในบ้านเรามีจิตสำนึกที่ดี คิดที่จะนำความรู้มาพัฒนาประเทศมากกว่าหาผลประโยชน์ส่วนต้ว ประเทศเราก็คงพัฒนาไปไกลกว่านี้ แต่ก็ต้องไปดูที่ผู้บริหารบ้านเมืองด้วยนะครับว่ามันเป็นเช่นไร การไปดูงานต่างประเทศของราชการไทย มันไม่ได้ไปดูงานครับ พวกเค้าไปเที่ยวกัน จึงไม่แปลกที่ไม่มีอะไรพัฒนาหลังจากไปดูงานเลย
|
เกิดมามีเพียง 1 ครั้ง ลองใช้ครั้งหนึ่งกับมันให้คุ้ม
|
|
|
ไข่ย้อย88
Full Member
หนุ่มชาวดง
ออฟไลน์
กระทู้: 261
|
|
« ตอบ #135 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553, 11:49:44 » |
|
เคยได้ยินข่าวนี้เหมือนกันครับว่าที่ไม่เก็บงินค่าบำบัดเพราะผู้บริหาร กทม. กลัว "คะแนนเสียง" จะตก ก็เลยไม่ได้เก็บเงินค่าบำบัด
|
เกิดมามีเพียง 1 ครั้ง ลองใช้ครั้งหนึ่งกับมันให้คุ้ม
|
|
|
ไข่ย้อย88
Full Member
หนุ่มชาวดง
ออฟไลน์
กระทู้: 261
|
|
« ตอบ #136 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553, 13:12:32 » |
|
เห็นด้วยกับพี่มนตรีครับ บ้านเรามีทรัพยากรน้ำที่สะอาดมากมาย การนำมาทำน้ำประปาก็ไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไรสูงมากนัก ระบบปัจจุบันที่ใช้อยู่ก็เพียงพอ และเรื่องการทำน้ำเค็มเป็นน้ำจืดก็ไม่จำเป็นสำหรับบ้านเรา แต่ที่เราควรตระหนักคือ การใช้ทรัพยากรที่เรามีให้คุ้มค่า เริ่มตั้งแต่แหล่งต้นน้ำ น้ำที่มีอยู่ และก็น้ำเสียที่เกิดขึ้น เพราะถ้าเราไม่รักษาหรือดูแลให้ดี ก็จะทำให้คนไทยเราเองเดือดร้อน (เดือดร้อนยังไงคิดเอาเองนะครับ เยอะเหลือเกิน)
|
เกิดมามีเพียง 1 ครั้ง ลองใช้ครั้งหนึ่งกับมันให้คุ้ม
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #137 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553, 15:27:42 » |
|
สวัสดีครับ น้องไข่
พอดีกำลังจะเขียนเรื่องถังดักไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อระบายน้ำอุดตันและเพื่อไม่ให้โรงบำบัดน้ำเสียต้องทำงานหนัก เลยขอเขียนเพิ่มเติม ที่น้องไข่มาเสริมเรื่องการไม่เก็บค่าบำบัดน้ำเสียของ กทม.
แต่ในสหรัฐอเมริกา เข้าใจว่าทุกเมือง จะเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย Sewer Service Charge อย่างที่นครลอสแองเจลิส เก็บเฉพาะกับธุรกิจ แพงพอๆกับค่าใช้น้ำเลยทีเดียว
หรือตัวอย่างที่เมือง Half Moon Bay อยู่ตอนใต้ของเมืองซานฟรานซิสโก เก็บค่าบำบัดน้ำเสีย Sewer Service Chargeทุกแห่ง แพงที่สุดก็คือร้านอาหาร โรงแรม ธุรกิจ ที่อยู่อาศัย โรงเรียน และสำนักงาน
บางแห่ง เช่น ที่เมืองซานโฮเซ่ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เช่นกัน แต่เก็บอัตราแน่นอนสำหรับที่อยู่อาศัย ส่วนพาณิชย์กรรม สถาบัน และอุตสาหกรรม จะมีอัตราการคำนวณต่ออัตราพื้นที่ ต่อเอเค่อร์ (=2.5 ไร่)
อ้างอิง : http://www.sanjoseca.gov/esd/stormwater/storm-sewer-rates.asp
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #138 เมื่อ: 30 มีนาคม 2553, 16:12:00 » |
|
สวัสดีครับ น้องไข่ รอบที่สอง
ความจำเป็นที่จะแปลงน้ำทะเล ให้เป็นน้ำจืดหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงก็คือ ทั่วโลกมีโรงงานร่วม 15,000 แห่ง ส่วนมากจะอยู่ที่ตะวันออกกลาง ที่สิงคโปร์มีโรงงาน 1 แห่ง ที่สหรัฐอเมริกา มีที่เมืองแทมป้า รัฐฟลอริด้า และกำลังจะสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง ตามรัฐที่อยู่ใกล้ทะเล ไว้ท้ายๆ จะเอาเรื่องนี้ มาเขียนให้อ่านครับ รวบรวมข้อมูลไว้บ้างแล้ว
ในประเทศไทย ดูแล้วไม่น่าจะมีความจำเป็น แต่เรามีโรงงานแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ที่ใช้ระบบ Reverse Osmosis (RO) ถึง 3 แห่งด้วยกัน ที่เกาะสมุย เกาะล้าน และเกาะสีชัง กำลังจะติดตั้งเพิ่มที่เกาะเต่าและเกาะพะงัน
อย่าลืมว่า พลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับธุรกิจโรงแรม-ท่องเที่ยว-ร้านอาหารที่เกิดขึ้นมากมาย ตามสถานที่ท่องเที่ยวชายทะเล ย่อมขาดแคลนน้ำจืด ครั้นจะอาศัยจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แบบในอดีต คงจะไม่เพียงพอ
โปรดอ่านข่าวจาก นสพ. เดลินิวส์ ลงวันที่ 14 กพ. 2553 (วันวาเลนไทนส์ ที่เศร้าที่สุด เมื่อ ไอ้ขวัญ-อีเรียม ไม่มีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป)
จ่อติดตั้งเพิ่ม 'เกาะเต่า-พะงัน'
ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เป็นเรื่องซ้ำซากที่พูดถึงทุกปีทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีปริมาณฝนตกหนาแน่น แต่ขาดการจัดสรรระบบน้ำ อีกทั้งขาดแคลนแหล่งเก็บน้ำอย่างเพียงพอ แนวทางหนึ่งที่จะทำให้มีน้ำสำหรับอุปโภคในชีวิต ประจำวัน คือ การแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด จะช่วยให้ชุมชนที่อาศัยในเขตทะเลและพื้นที่เกาะต่าง ๆ มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ
ประเทศไทยสามารถแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ได้ 3 แห่งแล้วด้วยกัน ได้แก่ กิจการประปาเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีกำลังการผลิต 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 กิจการประปาเกาะล้าน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี มีกำลังการผลิต 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 และกิจการประปาสีชัง ในเทศบาลตำบลสีชัง อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี มีกำลังการผลิต 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เริ่มดำเนินการปี 2547
นิพนธ์ บุญเดชานันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทยูนิเวอร์แชล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากทะเล โดยใช้ระบบ รีเวอร์ส ออสโมซีส อาร์โอ (Reverse Osmosis) หรือการแยกเกลือออกจากน้ำ เป็นรายแรกของประเทศไทยเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสำคัญ ซึ่งลักษณะการทำงานของระบบนี้คือให้น้ำผ่านเยื่อเมมเบรน ซึ่งเป็นแผ่นที่มีรูละเอียดมาก จนกระทั่ง กรองสารละลายที่เป็นเกลือ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย ที่อยู่ในน้ำทะเลออกจนหมด ได้เพียงโมเลกุลน้ำเพียว ๆ ดังนั้น น้ำจึงมีความสะอาดมากกว่าน้ำปะปา แต่ไม่เหลือแร่ธาตุใดอยู่ในน้ำ “ที่ผ่านมาเราถูกโจมตีจากชาวบ้านว่าดื่มน้ำอาร์โอไม่ได้รับเกลือแร่ แต่มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าร่างกายไม่ได้รับแร่ธาตุจากน้ำ แต่จะได้จากอาหาร 5 หมู่ที่เรารับประทานเข้าไปมากกว่า การที่ได้รับแร่ธาตุจากน้ำเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ” ผู้บริหารบริษัทฝากชี้แจง
กระบวนการผลิตน้ำอาร์โอมีต้นทุนที่แพงกว่าน้ำประปาปกติ เพราะการอัดน้ำลงในเยื่อเมมเบรนจะ ใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่สูง ดังนั้นราคาของน้ำอาร์โอจะแพงกว่า 5-7 เท่า โดยราคาน้ำอาร์โอ 1,000 ลิตร เท่ากับ 70 บาท ขณะที่ปริมาณเท่ากันในน้ำประปาชาวบ้านจ่ายค่าน้ำเพียง 10-20 บาท กรรมการผู้จัดการ บริษัทยูนิเวอร์แชล ยูทีลิตี้ส์ กล่าวว่า การลงทุนแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืดของบริษัทต้องทำในลักษณะช่วยเหลือประชาชนร่วมมือกับภาครัฐ โดยผลิตน้ำแล้วขายให้การประปานครหลวงในฐานะบริษัทเอกชนที่แยกตัวออกมาจากการประปานครหลวง เพื่อบริหารการจัดการน้ำด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเงินลงทุนของแต่ละแห่งมีขนาดต่างกัน เช่นที่เกาะสมุยลงทุน 160 ล้านบาท ซึ่งการประปาภูมิภาครับซื้อน้ำอาร์โอไปผสมกับน้ำผิวดินของพื้นที่เพื่อผลิตน้ำประปาส่งไปตาม ท่อของโรงแรม รีสอร์ทและชุมชนอีกต่อ ส่วนที่เกาะสีชังซึ่งมีกำลังการผลิตน้อยสุด ส่วนใหญ่จะอำนวยความสะดวกให้กับชุมชน เพราะที่นี่มีโรงแรมอยู่แห่งเดียว
ขณะเดียวกันในพื้นที่เกาะสีชังในช่วงหน้าฝนชาวบ้านจะใช้น้ำฝนที่เก็บไว้ในภาชนะที่มีอยู่ทุก ๆ บ้าน ตามวิถีแบบเดิม กำลังการผลิตจะเหลือ 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่ในช่วงหน้าแล้งจะเพิ่มเป็น 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งของผู้ประกอบการที่จะไปลงทุนแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ต้องพิจารณาดูศักยภาพของชุมชนว่ามีกำลังที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายตามราคาของค่าเทคโนโลยีด้วย นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่มีปริมาณไฟฟ้าอย่างเพียงพอ เพราะเครื่องเมมเบรนใช้ปริมาณไฟฟ้าสูง
สำหรับการขยายพื้นที่และขยายกำลังการ ผลิตนั้นผู้บริหารบริษัทยูนิเวอร์แชล ยูทีลิตี้ส์ กล่าวว่า ปริมาณความต้องการน้ำบนพื้นที่เกาะสมุยเพิ่มขึ้นจาก การท่องเที่ยวที่ขยายตัว เวลานี้อยู่ระหว่างการศึกษาในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าการต่อท่อส่งน้ำจากแผ่นดินใหญ่ใน จ.สุราษฎร์ธานี กับการติดตั้งระบบอาร์โอเพิ่มว่าอย่างไหนจะคุ้มค่าใช้จ่ายมากกว่ากัน ขณะเดียวกันในพื้นที่เกาะล้านไม่ต่างจากเกาะสมุยขณะนี้เริ่มมีการเกิดขึ้นของโรงแรม รีสอร์ท ซึ่งอยู่ระหว่างหารือเหมือนกรณีของเกาะสมุย ส่วนพื้นที่เกาะที่จะไปติดตั้งระบบอาร์โอ เพิ่มซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างศึกษาเช่นกัน คือเกาะเต่า จ.ชุมพร และเกาะพะงัน ใน จ.สุราษฎร์ธานี ล่าสุดเริ่มมีปัญหาน้ำบาดาล ที่ใช้เป็นน้ำหลักด้อยคุณภาพ ในบางช่วงชาวบ้านต้องซื้อน้ำจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเมื่อเทียบราคา จากอาร์โอแล้วยังแพงกว่า ส่วนพื้นที่เกาะช้าง จ.ตราด ที่มีขนาดใหญ่และมีการเติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงเช่นกันนั้น ที่ผ่านมามีการศึกษามาแล้วว่าเกาะช้างยังไม่คุ้มทุน เพราะมีแหล่งน้ำผิวดินจากน้ำตก ซึ่งมีปัญหาวิกฤติเฉพาะหน้าแล้ง อีกทั้งลักษณะพื้นที่เป็นเนินเขา การวางท่อต่อน้ำอาร์โอยังไม่คุ้มทุน
ด้าน เชิดชาย ปิติวัชรากุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ กล่าวเสริมว่า ระบบการผลิตน้ำอาร์โอ ยังสามารถนำไปใช้กับระบบน้ำผิวดินที่ไม่สะอาด ที่เป็นน้ำเสีย สามารถกรองแม้กระทั่งสิ่งที่เจือปนมากับน้ำ เหล็ก กำมะถัน เพื่อให้ได้น้ำสะอาด หรือโรงแรม รีสอร์ทที่อยู่ในพื้นที่ติดทะเลสามารถรวมกลุ่มเพื่อติดตั้งเครื่องผลิตน้ำอาร์โอ ซึ่งระบบนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในสิงคโปร์ และอิสราเอล
“ระบบน้ำอาร์โอเป็นระบบน้ำสำรองของประเทศ เพียงแต่ว่าในขณะนี้ยังไม่คุ้มทุนถ้าเทียบกับการใช้น้ำผิวดิน หรือการนำน้ำเสียมารีไซเคิล” น่าจะเบาใจได้อีกเปลาะว่าวิกฤติแห่งน้ำยังมี ทางรอดอีกทางเลือก
ที่มา: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=48485&categoryID=522
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #139 เมื่อ: 31 มีนาคม 2553, 12:11:52 » |
|
ภาพที่เราเห็นข้างบนนี้ เป็นสิทธิบัตร Grease Trap ถังดักไขมัน ที่ค้นคิดโดย Nathaniel T Whiting และขอจดสิทธิบัตรเมื่อปี 1883 แล้วได้สิทธิบัตร หมายเลข 306,981 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 1884 จากสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ของสหรัฐอเมริกา US Patent and Trademark Office (USPTO) นับถึงวันนี้ ก็กว่า 125 ปีมาแล้ว (ตรงกับรัชสมัย รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ถังดักไขมันที่ใช้ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการออกแบบของนาย Nathaniel T Whiting ปี ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) มากน้อยเท่าไหร่ แม้เวลาจะผ่านเลยมานานก็ตามที
ไขมัน ต่างๆ FOG (Fat, Oil, Grease) เกิดมาจาการประกอบอาหาร จากบ้านเรือน จากร้านอาหาร โรงอาหาร และจากโรงงาน ถ้าไขมันเหล่านี้ ถูกปล่อยลงในคูน้ำ ไหลไปยังลำคลอง บึงหนอง แม่น้ำ ทะเล อะไรจะเกิดขึ้น ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ ที่จะให้ไขมันเหล่านี้สลายตัวมันเองโดยธรรมชาติ แต่กว่าที่มันจะสลายลงไปได้ ไขมันที่มาใหม่ก็มาสมทบในแต่ละวัน จนไม่มีโอกาสจะสลายตัวให้ไปหมด ยิ่งการเพิ่มของพลเมืองมากขึ้นทุกวัน การทำงานของโรงบำบัดน้ำเสียก็จะเป็นภาระมากขึ้น
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #140 เมื่อ: 31 มีนาคม 2553, 13:24:04 » |
|
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำจัดไขมันเบื้องต้น ไม่ให้ท่อระบายน้ำเสียอุดตัน โดยเฉพาะในประเทศเขตหนาว ไขมันสามารถที่จะจับตัวเป็นก้อนแข็งได้ง่ายในประเทศเขตร้อน 2. เพื่อลดขบวนการยุ่งยาก ที่จะส่งผลไปยังโรงบำบัดน้ำเสีย 3. สามารถนำเอาไขมัน มารีไซเคิล ใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้อีก
ระบบการทำงานของถังดักไขมันก็คือ น้ำเสียที่ออกจากการประกอบอาหาร ไหลลงสู่ถัง ไขมันเป็นส่วนที่เบากว่าน้ำ จะลอยขึ้นสู่ผิวบน เมื่อสะสมนาน ราวๆ 1 - 3 เดือน จะมีการดูดเอาไขมันและเศษอาหาร ที่อยู่ก้นถังออก น้ำที่ปราศจากไขมัน จะไหลออกจากปากท่อที่อยู่ต่ำ ไปยังโรงบำบัดน้ำเสีย
หลายๆประเทศ ไม่ว่าทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลีย และบางประเทศในเอเชีย ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ดี ได้ออกกฎหมาย มาเพื่อบังคับใช้ ที่เมืองนิวยอร์ค ได้ออกกฎหมายบังคับ ถ้ากิจการที่ฝ่าฝืน มีโทษปรับถึง 1 หมื่นเหรียญ/ครั้ง/วัน http://www.nyc.gov/html/dep/html/businesses/busgrease_wide.shtml
|
|
|
|
ภาณุ ปาตานี
|
|
« ตอบ #141 เมื่อ: 01 เมษายน 2553, 10:43:37 » |
|
ยังติดตามอ่านอยู่นะครับพี่ เพียงแต่ตอนนี้งานยุ่งนะครับ
|
|
|
|
ไข่ย้อย88
Full Member
หนุ่มชาวดง
ออฟไลน์
กระทู้: 261
|
|
« ตอบ #142 เมื่อ: 01 เมษายน 2553, 12:42:24 » |
|
ตอนนี้ทางมูลนิธิชัยพัฒนาได้มีการจัดสร้างถังดักไขมันประมาณ 1000 ถัง เพื่อไปติดตั้งตามครัวเรือน(ซึ่งสถานที่ยังไม่แน่นอน) ครับ ตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานครับ มีการพูดคุยกับบริษัทผู้ผลิตแล้ว และจะมีการศึกษาผลหลังจากติดตั้งถังดักไขมันแล้ว พวกน้ำมันหรือไขมัน มีผลต่อการบำบัดน้ำเสียครับ เช่น 1. ไปขัดขวางการทำงานของจุลินทรีย์ในน้ำ เพราะตามธรรมชาติแล้วจะมีพวกจุลินทรีย์ช่วยบำบัดน้ำเสียครับ 2. คราบไขมันที่ผิวน้ำ หรือที่เราเห็นเป็นคราบน้ำมัน จะขัดขวางก๊าซออกซิเจนและแสงไม่ให้ลงไปในน้ำ เพราะจุลินทรีย์ก็ต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจเหมือนคนเราครับ แสงที่ส่องผ่านลงน้ำ จะมีพวกพืชน้ำใช้สังเคราะห์แสง และปล่อยก๊าซออกซิเจนให้กับน้ำ ถ้าแสงส่งผ่านน้อยลง การสังเคราะห์แสงก็จะน้อยลง
|
เกิดมามีเพียง 1 ครั้ง ลองใช้ครั้งหนึ่งกับมันให้คุ้ม
|
|
|
ไข่ย้อย88
Full Member
หนุ่มชาวดง
ออฟไลน์
กระทู้: 261
|
|
« ตอบ #143 เมื่อ: 01 เมษายน 2553, 13:26:18 » |
|
พอดีผมไปเจอข่าวใหม่มา ลองดูครับ เหตุเกิดที่อ่าวบางน้ำจืด หลังสวน จ.ชุมพร .: สำนักข่าวไทย พบปลาทะเลลึกลอยตายเกลื่อนแนวชายฝั่งอ่าวบางน้ำจืด จ.ชุมพร ชาวประมงเกรงมีสารพิษในทะเล โดยชาวประมงและชาวบ้านในพื้นที่ ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ต่างเดินมาสังเกตการณ์บริเวณแนวชายฝั่งทะเลอ่าวบางน้ำจืด ระยะทางกว่า 10 กม. หลังปลาทะเลหลากหลายชนิดลอยตายเกลื่อน อาทิ ปลาดุกทะเล ปลาทู ปลาจวด ปลาสร้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำลึก แต่ละตัวไม่มีบาดแผล บางตัวดีดตัวขึ้นมาจากน้ำคล้ายขาดอากาศหายใจ ซึ่งปลาหลายร้อยตัวลอยตายบนชายหาดมา 2 วันแล้ว
ชาวบ้านเกรงว่า ผู้ที่บริโภคปลาอาจได้รับอันตราย เนื่องจากบางส่วนนำไปตากแห้ง บางส่วนนำไปปรุงเป็นอาหาร ทั้งที่ยังไม่ทราบสาเหตุการตาย แต่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือออกซิเจนในทะเล จนปลาช็อกก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม อยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำซากปลาและน้ำทะเลไปตรวจสอบโดยเร็วที่สุด.http://www.pinonlines.com/node/10505หรือถ้าใครอยากดูภาพข่าวก็ไปที่เวปนี้ได้เลยครับ http://music.ohozaa.com/my/thaiTVPlayer.jsp?channel=3&w_y=2010&w_time=T06&dateSelected=31-03-2010&MainStreamLocal=/AutoDetected?s=true:hstrm&StreamDetected=strm8&Streamlist={hidden}เลื่อนไปดูนาทีที่ 35.50 ได้เลยครับ
|
เกิดมามีเพียง 1 ครั้ง ลองใช้ครั้งหนึ่งกับมันให้คุ้ม
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #144 เมื่อ: 02 เมษายน 2553, 15:52:19 » |
|
ขอบคุณครับ น้องยา น้องไข่ และชาวซีมะโด่ง ที่แวะมาเยี่ยมเยียน
จากข้อคิดของน้องไข่ จึงได้ไปค้นคว้า เพื่อหารูปแบบถังดักไขมันของมูลนิธิชัยพัฒนา แต่ก็ไม่พบข้อมูลใดๆ ที่จะผลิตถังดักไขมัน จำนวนมาก เพื่อที่จะดู ตย. มาเปรียบเทียบกับของฝรั่ง ซึ่งได้มีการพัฒนามากว่า 125 ปีแล้ว ซึ่งตอนต่อไป จะนำ ตย. ของถังดักไขมันที่มีคุณภาพดีของฝรั่ง มาแสดงให้ดู เพื่อที่จะเป็น ตย. นำไปผลิตใช้งานในประเทศไทยเรา
ที่เวปไซท์เสรีไทย มีผู้อ่าน ที่ใช้นามว่า papar punch ได้ให้ความคิดเรื่อง "ปฎิบัตการเชียงใหม่เอี่ยม" รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม ขยะ การประหยัดพลังงานไฟฟ้า น้ำดื่มน้ำใช้ การทิ้งนำเสีย ซึ่งก็น่าสนใจ จึงขอนำมาเสนอให้ชาวซีมะโด่งได้ทราบกัน มาฟัง "เพลงสาวเชียงใหม่" ก่อนนะครับ
ข้าเจ้าเป็นสาวเชียงใหม่ แหมบ่เท่าใดน้ำจะเสียหมดแล้ว น้ำมันเพียงแค่หนึ่งแก้ว เททิ้งไปแล้ว น้ำจะเสียทั้งคู ข้าเจ้าจะยะจั๋งใด๋ บ่ว่าบ้านใด ก็ทิ้งน้ำลงคู อ้ายก๋อมซึ่งเป็นผู้รู้ อ้ายทำให้ดู ติดถังดักไขมัน
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #145 เมื่อ: 02 เมษายน 2553, 16:15:45 » |
|
|
|
|
|
ไข่ย้อย88
Full Member
หนุ่มชาวดง
ออฟไลน์
กระทู้: 261
|
|
« ตอบ #146 เมื่อ: 02 เมษายน 2553, 16:59:37 » |
|
เรื่องถังดักไขมันนี้กำลังอยู่ในการปรับปรุงแบบครับ ยังไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลครับผม แต่ทางเราได้คุยกับตัวแทนผู้ผลิตแล้วครับ ที่ผมรู้เพราะว่าผมทำงานอยู่โครงการแหลมผักเบี้ยฯ ครับ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
|
เกิดมามีเพียง 1 ครั้ง ลองใช้ครั้งหนึ่งกับมันให้คุ้ม
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #147 เมื่อ: 03 เมษายน 2553, 16:37:04 » |
|
สวัสดีครับ น้องไข่ และพี่น้องซีะโด่ง
แล้วน้องเจียม 2517 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวิศวกรรมสุขาภิบาล หายไปไหน เผื่อมีอะไรจะได้ปรึกษาผู้รู้
ถ้าน้องไข่ ทำงานด้านนี้อยู่ ลองเอาข้อมูลของเมกา เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น ไปศึกษาดู เผื่อมีประโยชน์ที่จะผลิตถังดักไขมันแบบอัตโนมัติ จะได้เป็นต้นแบบในประเทศไทย ซึ่งสามารถดักจับไขมันได้ถึง 99%
เพราะเท่าที่ไปเช็คดูจากเวปไซท์กูเกิล ถังดักไขมันในประเทศไทย ดูจากภาพแล้ว เข้าใจว่าคุณภาพ แบบเดียวกับ Nathaniel T Whiting คิดประดิษฐ์และได้สิทธิบัตร เมื่อปี คศ. 1884 (พศ. 2427) ก็กว่า 125 ปีมาแล้ว ก็มีบางบริษัทที่พอจะผลิตได้มาตรฐาน แต่ยังไม่มีแบบอัตโนมัติ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือกรมควบคุมมลพิษ น่าที่ตั้งมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ผลิต ได้มีบรรทัดฐาน เราจะได้มีอุปกรณ์ดีๆไว้ใช้งาน โปรดดูภาพ
3 ภาพบนนี้ เป็นการสนับสนุน "โครงการคลองสวยน้ำใส" ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ที่คลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน อ. บางซ้าย จ. พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี 2549
มาตรฐานดูไม่จืดเลยครับ พอๆกับตัวท่านรัฐมนตรีกระทรวงวิทย์ฯในสมัยนั้น น้องสมชาย 17 กับ น้องยังชิน ผมอาจจะเห็นด้วยกับคุณนะ ที่ว่า จบ ป. 4 ยังมีกึ๋นกว่าคนจบมหาลัย
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #148 เมื่อ: 03 เมษายน 2553, 17:08:46 » |
|
ในสหรัฐอเมริกาถ้าสินค้าหรืออุปกรณ์ คุณภาพไม่ดี เตรียมปิดโรงงานพับฐานได้เลย เพราะที่นี้ มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซื้ออะไรไปแล้ว แม้จะเปิดใช้ ไม่พอใจ หรือแกล้งไม่พอใจ สามารถเอามาคืนได้ในราคาเต็ม ในระยะเวลา 30 วัน บางแห่งให้ระยะเวลาถึง 90 วัน แต่ต้องมีใบเสร็จ มีกล่องบรรจุมาด้วย (สินค้าบางชนิด แต่มีไม่มาก ที่มีเวลาคืนเพียง 15 วัน บางอย่างก็คืนไม่ได้ บางอย่างเก็บค่า restcoking fee เช่น 20%) แตกต่างกับเมืองไทยเรา ไม่มีการคืนเงิน เพียงเอามาแลกเปลี่ยนเอาของใหม่ ถ้าเสีย ผู้ผลิตเลยไม่มีความกดดันที่จะต้องผลิตของเยี่ยมออกมา ผลิตออกมาชุ่ยๆ แต่โฆษณาดีๆก็ขายได้
ในสหรัฐฯ ถังดักไขมัน ก็มีมาตรฐานที่กำหนดโดย ASME (American Society of Mechanical Engineers) สมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งอเมริกา
ตามโค๊ดดังนี้ รายละเอียดไม่ฟรี แต่ละหัวข้อ ดาวน์โหลดต้องจ่ายเงินซื้อถึง 35 เหรียญ ต่อรายการ ASME A112.14.3 Grease Interceptors (100gpm or less) ASME 112.14.4 Grease Removal Devices (GRD, or automated units)
ขออนุญาตแนะนำ ให้รู้จักกับ ถังดักไขมันอัตโนมัติ ที่มีอุปกรณ์ทำความร้อนภายใน+เทอร์โมสตัท เพื่อเร่งให้ไขมัน ลอยขึ้นสู่ผิวบน ง่ายต่อการดักจับ ยี่ห้อ Goslyn ผลิตในแคนาดา ได้รับรางวัล Kitchen Innovations 2008 จาก National Restaurant Association สมาคมร้านอาหารแห่งชาติ เครื่องดักไขมันชนิดนี้ มีใช้ตามร้านอาหารแฟรนไชส์ของ แมคโดดัลส์ เบอร์เก้อร์คิงส์ เคเอฟซี และโรงแรมต่างๆมากมาย
เครื่องดักไขมัน Goslyn คุยว่า น้ำมันขนาด 75 ปอนด์ เครื่องดักไขมันเขา สามารถดักจับได้ถึง 74 ปอนด์ ในขณะที่มาตรฐานของ ASME 112.14.4 ให้ดักไว้ได้เพียง 25 ปอนด์ หรือ 33% ก็ได้มาตรฐานแล้ว
โปรดชมวิดีโอ แล้วจะเข้าใจได้ดีขึ้น
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #149 เมื่อ: 05 เมษายน 2553, 16:19:10 » |
|
ประเทศเยอรมัน เป็นประเทศหนึ่ง ที่มีก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมชั้นแนวหน้าของโลก ลองมาศึกษาถังกำจัดไขมันของเยอรมันดู ยังดีครับที่มีเวปไซท์นี้มีหลายสิบภาษาให้เลือกอ่าน มีภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีภาษาไทย ก็ไม่ต้องไปเรียนภาษาเยอรมัน Deutsch lernen ให้ลำบาก ก็ถือว่าเรียนภาษาอังกิดวันละคำ กับ อจ. ยัส
ถังดักไขมันของเยอรมัน ยี่ห้อ KESSEL ทำจากสารโพลีเอทธีลีน รับประกันคุณภาพ 20 ปี มีแคตตาล๊อกให้ดาวน์โหลด นำไปศึกษาในเชิงลึกได้ http://www.kessel.com.au/service-and-download/product-literature.html
ขออนุญาตนำมาแสดงให้ชมเป็นบางส่วน
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #150 เมื่อ: 25 เมษายน 2554, 14:49:53 » |
|
คำเตือน: ภาพที่นำมาให้ชม ดัดแปลงมาจาก PDF file ของหน่วยงานสิ่งแวดล้อม รัฐบาลญี่ปุ่น มีภาษาต่างด้าวล้วนๆ อาจจะเป็นอันตรายต่อสายตาของด๊อกเตอร์ Yes, No, OK, CocaCola, Pizza, 7Up ที่สอบโทเฟิลไม่ผ่าน 500 คะแนน โปรดอ่านด้วยความระมัดระวัง
ระบบการกำจัดน้ำเสีย Johkasou ตามครัวเรือนในประเทศญี่ปุ่น ที่มา: http://www.env.go.jp/recycle/3r/en/asia/02_06/01.pdf
|
|
|
|
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071
|
|
« ตอบ #151 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2554, 16:10:20 » |
|
ศูนย์ข่าวภูมิภาค - สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ระดมทนายความสิ่งแวดล้อม-สิทธิมนุษยชน เตรียมตั้งโต๊ะช่วยชาวบ้านฟ้องคดีเรือน้ำตาล -โรงไฟฟ้าอุทัย ให้เป็น “คดีสิ่งแวดล้อม” ตัวอย่าง ล่าสุดมีชาวบ้านแจ้งความจำนงร่วมฟ้องในหลายคดีกว่าพันรายแล้ว นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ในวันอาทิตย์ที่ 12 มิ.ย.54นี้ ตั้งแต่ 09.00-16.00 น. สมาคมจะจัดให้มีการสัมมนาเผยแพร่ความรู้ “วิธีการใช้กฎหมายปกป้องสิ่งแวดล้อม” ณ หอประชุมใหญ่ตึก 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา โดยได้ระดมทนายความฝีมือดีกว่า 10 คนที่มีความช่ำชองเคยร่วมทำคดีสิ่งแวดล้อมสำคัญ ๆ มาแล้ว เช่น คดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ คดีตะกั่วห้วยคลิตี้ คดีไฟไหม้ท่าเรือคลองเตย คดีสารแคดเมียมแม่ตาว คดีโรงกำจัดกากของเสียสระแก้ว คดีสนามบินสุวรรณภูมิ ฯลฯ มาร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ชาวบ้านอย่างใกล้ชิด โดยทีมทนายจะมาชี้แนะ และช่องทางในการเตรียมคดีให้กับชาวบ้าน เทคนิคการต่อสู้คดี การเตรียมเอกสารข้อมูลในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในคดีสิ่งแวดล้อม ค่าเสียหายที่เป็นการเยียวยาความเสียหาย (Compensatory Damages) และค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damages) รวมทั้งการฟ้องร้องหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ในคดีปกครอง ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือบกพร่องการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ต่อศาลปกครอง รวมทั้งการให้ความรู้ถึงการใช้สิทธิทางกฎหมายในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับตนเองและชุมชนตามที่รัฐธรรมนูญ 2550 ให้การคุ้มครองไว้แล้วด้วย นอกจากนั้น ในการสัมมนาครั้งนี้สมาคมฯจะได้ตั้งโต๊ะรับปรึกษาคดีให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนและเสียหายแบบฟรี ๆ ตัวต่อตัว และรับเรื่องดำเนินการฟ้องร้องคดีด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชาวบ้านด้วยในคราวเดียวกัน นายกสมาคมต้านโลกร้อน กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะกรณีเรือน้ำตาลล่มที่จังหวัดอยุธยาที่สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้าน เกษตรกร ชาวประมงนับร้อยราย ซึ่งกรณีดังกล่าวจะฟ้องร้องให้เป็น “คดีสิ่งแวดล้อมตัวอย่าง” ในศาลแพ่งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 และตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม 2535 มาตรา 96 ต่อไป รวมทั้งกรณีการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าอุทัย ในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ที่ย้ายมาจากบางคล้า และยังมีกรณีการคัดค้านการขยายบ่อขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภออุทัยด้วย ซึ่งเบื้องต้นทราบว่ามีชาวบ้านกว่า 1,000 รายได้เข้าชื่อกันเพื่อที่จะมาร้องเรียนให้สมาคมฯ ได้เป็นธุระให้ความช่วยเหลือทางคดีให้ด้วยในวันดังกล่าว
ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000071302 ถ้าจำกันได้ เมื่อปีที่แล้วฐานขุดเจาะน้ำมันของ BP (British Petroleum) ที่อ่าวเม๊กซิโก ได้เกิดอุบัติเหตุ ไฟไหม้ พนักงานเสียชีวิตไป 11 คน แต่คนในอีก 5 รัฐ ที่มีธุรกิจด้านการประมง ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และที่เกี่ยวข้อง สูญเสียรายได้ไปมากมาย รัฐบาลสหรัฐฯ บังคับให้ BP ต้องจ่ายค่าชดเชยถึง 2 หมื่นล้านเหรียญ = 600,000 ล้านบาท
On 20 April 2010, the semi-submersible exploratory offshore drilling rig Deepwater Horizon exploded after a blowout; it sank two days later, killing 11 people. This blowout in the Macondo Prospect field in the Gulf of Mexico resulted in a partially capped oil well one mile below the surface of the water. Experts estimate the gusher to be flowing at 35,000 to 60,000 barrels per day (5,600 to 9,500 m3/d) of oil.[90][91][92] The exact flow rate is uncertain due to the difficulty of installing measurement devices at that depth and is a matter of ongoing debate.[93] The resulting oil slick covers at least 2,500 square miles (6,500 km2), fluctuating from day to day depending on weather conditions.[94] It threatens the coasts of Louisiana, Mississippi, Alabama, Texas, and Florida.
BP has agreed to create a $20 billion spill response fund administered by Kenneth Feinberg. The amount of this fund is not a cap or a floor on BP's liabilities. BP will pay $3 billion in third quarter of 2010 and $2 billion in fourth quarter into the fund followed by a payment of $1.25 billion per quarter until it reaches $20 billion. In the interim, BP posts its US assets worth $20 billion as bond. For the fund's payments, BP will cut its capital spending budget, sell $10 billion in assets, and drop its dividend. BP has also been targeted in litigation over the claims process it put in place for victims.
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/BP
|
|
|
|
@^-^@ uhn
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: RCU2526
คณะ: Medicine
กระทู้: 441
|
|
« ตอบ #152 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2554, 14:40:26 » |
|
เรื่องน่าสนใจครับ
|
ยินดีรู้จักพี่ๆน้องๆซีมะโ่ด่งทุกท่านครับ
|
|
|
|