หน้าแรกเว็บบอร์ด
แนะนำตัว
เพิ่ม/แก้.ข้อมูลส่วนตัว
ห้องโถงรวมรุ่น
Webสมาคมฯ
ปฏิทินนัดหมาย
สมัครสมาชิก
25 พฤศจิกายน 2567, 21:20:48
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
[สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A
A
A
A
ระเบียบปฎิบัติ
Entire Forum
This board
This topic
Members
Entire Site
Languages
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
'โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ'
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: 'โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ' (อ่าน 5322 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
'โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ'
«
เมื่อ:
20 ธันวาคม 2552, 15:15:43 »
'โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ'
น.ส.พ.เดลินิวส์ วันอาทิตย์ ที่ 20 ธันวาคม 2552
จะทราบได้อย่างไรว่า ท่านเป็นโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ?
หากท่านมีอาการนอนกรนดังเป็นประจำ หรือมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ควรจะไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาต่อไป
การตรวจวินิจฉัยจำเป็นต้องมาตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการการนอนหลับ (Sleep Laboratory) โดยจะมีการติดอุปกรณ์หลายอย่างเพื่อวัดคลื่นสมองขณะนอนหลับ วัดระดับออกซิเจน และ ลมหายใจ เป็นต้น
การรักษาโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ มีทางเลือกอะไรบ้าง?
หากท่านมีโรคนี้
ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรงและอาการแตกต่างกันได้มาก การรักษาในแต่ละรายมีดังนี้
1.เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก หรือ ซีแพ็พ (CPAP)
เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการเปิดขยายและถ่างทางเดินหายใจส่วนต้น ไม่ให้ตีบแคบขณะที่เรานอนหลับ โดยตัวเครื่องจะเป่าลมผ่านท่อสายยางไปสู่จมูกผู้ป่วยผ่านจากหน้ากาก (ดังรูป) เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายต้องการแรงดันที่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการจะ ค่อย ๆ ปรับแรงดันที่เหมาะสมจนไม่มีอาการกรนหรือหยุดหายใจให้แต่ละคน ปัจจุบันเครื่องและหน้ากากนี้มีหลายรูปแบบและหลายบริษัท เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีความ แตกต่างกัน จึงสามารถลองเลือกใช้เครื่องหรือหน้ากากที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
ปัญหาที่อาจพบได้บ่อยขณะที่ใช้เครื่องมีดังนี้
-คัดจมูก
- ปากแห้ง คอแห้ง
- ลมรั่วจากหน้ากาก
- ลมแรงเกินไป เป็นต้น
เมื่อเริ่มต้นใช้เครื่องหากพบปัญหาเหล่านี้
ผู้ป่วยไม่ควรละทิ้งเครื่องควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยแก้ไข เพราะการใส่เครื่องในช่วงแรกอาจยังไม่คุ้นเคยต้องอาศัยการปรับตัวให้ชินกับเครื่อง ระยะหนึ่งแล้วจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อหลับได้ดีขึ้น ไม่มีนอนกรนหรือหยุดหายใจแล้ว
การรักษาด้วยเครื่องซีแพ็พจึงถือเป็นมาตรฐานการรักษาโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในผู้ป่วยเกือบทุกราย แต่จะเป็นผลสำเร็จในระยะยาวหรือไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ป่วย
2.การใส่ฟันยาง หรือ Oral Appliance
ผู้ป่วยบางราย อาจรักษาได้ผลดีด้วยการใส่ฟันยาง การใส่ฟันยางนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจและประดิษฐ์ฟันยางให้ผู้ป่วยแต่ละคน จะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีระดับโรคเล็กน้อย และปานกลาง แต่ผู้ป่วยที่เป็นระดับโรครุนแรงมักไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฟันยางนี้จะช่วยเปิดทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น โดยการยื่นขากรรไกรล่างและลิ้นมาทางด้านหน้า ปัญหาที่พบได้จากการใส่ฟันยางนี้ เช่น ปวดขากรรไกร การสบฟันเปลี่ยนไป น้ำลายไหลมาก
3.การผ่าตัด
เพื่อรักษาโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ผลในบางราย เช่น
การผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ในเด็ก จะสามารถช่วยเด็กได้มากถือเป็นมาตรฐานการรักษาในเด็ก แต่ในผู้ใหญ่ควรพิจารณาเป็น ราย ๆ ไปตามความเหมาะสม
การผ่าตัดมีอะไรบ้าง
3.1 การผ่าตัดจมูก
เช่น แก้ไขจมูกคด หรือจี้เยื่อบุโพรงจมูกที่บวม จะช่วยลดอาการคัดจมูกหรือกรนได้บ้าง แต่มักไม่ช่วยทำให้โรคหายได้จึงมักเป็นการรักษาเสริมกับการรักษาอื่น
3.2 การผ่าตัดในระดับลิ้นไก่ เพดานอ่อน
(เช่น Uvulopharyngopalatoplasty, UPPP)
ได้ผลดีในครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย จึงควรปรึกษาแพทย์ทาง หู คอ จมูก ก่อนว่า ผู้ป่วยรายนี้เหมาะสมที่จะได้รับการผ่าตัดหรือไม่ และอาจมีภาวะแทรกซ้อนจาก การผ่าตัดได้ เช่น พูดไม่ชัด สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น
3.3 การผ่าตัดอื่น ๆ
เช่น การผ่าตัดระดับโคนลิ้น การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ซึ่งก็อาจได้ผลดีกว่าการผ่าตัดระดับลิ้นไก่อย่างเดียว แต่ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า
โดยมากการผ่าตัดมักจะทำให้เสียงกรนดีขึ้น แต่อาจยังไม่สามารถรักษาให้การหยุดหายใจขณะหลับหายไปได้หมด จึงควรติดตามอาการและตรวจการนอนหลับซ้ำในห้องปฏิบัติการภายหลังได้รับการผ่าตัดแล้ว ระยะหนึ่ง
ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัดควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนถึงข้อดีและข้อเสียการรักษาอย่างอื่น ๆ
-นอกจากนี้ ในบางรายที่เป็นมากจนอันตรายถึงชีวิต อาจต้องทำการเจาะคอบริเวณหลอดลม เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย
-การยิงฝังพิลลาร์ (Pillar implantation) ที่บริเวณเพดานอ่อน มักไม่ได้ผลในรายที่เป็นปานกลางถึงรุนแรง แต่จะสามารถลดเสียงกรนได้ในผู้ป่วยเป็นน้อยมากที่มีแต่อาการกรนอย่างเดียว
-ส่วนออกซิเจนไม่ใช่การรักษาหลักในโรคนี้ไม่สามารถทำให้หายได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคปอดร่วมด้วยอาจต้องใช้ร่วมกับเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก
การปฏิบัติตนทั่วไป
1.การลดน้ำหนัก
ในรายที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จะช่วยให้โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับดีขึ้น อาการกรนน้อยลงและนอนหลับได้ดีขึ้น การรักษาอื่นที่ได้รับได้ผลมากขึ้น
2.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
ช่วง 4 ชั่วโมงก่อนนอนเพราะแอลกอฮอล์จะทำให้การนอนหลับแย่ลงและยังกดการหายใจ ทำให้กรนมากขึ้น และโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับจะเป็นมากขึ้น
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานยานอนหลับ
เพราะยานอนหลับกดการหายใจ ทำให้กรนมากขึ้น และโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับจะเป็นมากขึ้น หากผู้ป่วยมีนอนไม่หลับร่วมด้วยควรจะปรึกษาแพทย์มากกว่า
4.พยายามนอนตะแคง
อาการจะน้อยกว่านอนหงาย
5.หากง่วงนอนขณะขับรถ
ควรหยุดขับ จอดข้างทางเพื่อพัก หรือเปลี่ยนคนขับ พึงระวังไว้ว่ามีอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วม ถ้าง่วงไม่ควรขับ
ข้อมูลจาก
แพทย์หญิงวิสาข์สิริ ตันตระกูล ภาควิชาอายุร ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี
นำมาจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=518&contentId=38303
นำมาให้พวกเราที่นอนกรน เมื่อรักษาแล้วคนนอนข้างๆ จะได้หลับสบาย
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
'โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ'
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
-----------------------------
=> ข่าวประชาสัมพันธ์ของสมาคม
=> ข่าวประกาศทั่วไป
=> งานคืนสู่เหย้า ๒๕๕๗
=> โครงการรินน้ำใจเพื่อหอพักนิสิตจุฬาฯ
=> กิจกรรมเพื่อสังคม
=> กิจกรรมวิชาการ
=> กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
=> กิจกรรมชาวหอ
=> กิจกรรมแกนนำและกิจกรรมรุ่น
=> ข้อบังคับสมาคม และกฎ ระเบียบ
=> การประชุมของสมาคม
-----------------------------
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
-----------------------------
=> เรื่องนี้มีพี่บอก
=> โบราณคดี Cmadong
=> ปฏิทินนัดหมายชาวหอ
=> ห้องซีมะโด่งสัมพันธ์
=> ซีมะโด่งเพื่อสังคม
=> ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
=> ห้องชาวค่ายหอ
=> ห้องชมรมแสงเสียง
=> ห้องธรรมะ...สาธุ....
=> ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
=> ห้องแสงทองของชีวิต
=> ห้องสุขภาพและความงาม
=> ห้องท่องเที่ยวไร้พรมแดน
=> ห้องซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน
-----------------------------
เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย
-----------------------------
=> รุ่น 2507
=> รุ่น 2510
=> รุ่น 2511
=> รุ่น 2513
=> รุ่น 2514 รุ่นนี้มหาอำนาจ
=> รุ่น 2515
=> รุ่น 2516
=> รุ่น 2517
=> รุ่น 2518
=> รุ่น 2519
=> รุ่น 2520
=> รุ่น 2521
=> รุ่น 2522
=> รุ่น 2523
=> รุ่น 2524
=> รุ่น 2525
=> รุ่น 2526
=> รุ่น 2527
=> รุ่น 2528
=> รุ่น 2529
=> รุ่น 2530
=> รุ่น 2531
=> รุ่น 2532
=> รุ่น 2533
=> รุ่น 2534
=> รุ่น 2535 ซี้ปึ๊ก
=> รุ่น 2536
=> รุ่น 2537
=> รุ่น 2538
=> รุ่น 2539
=> รุ่น 2540
=> รุ่น 2541
=> รุ่น 2542
=> รุ่น 2543
=> รุ่น 2544
=> รุ่น 2545
=> รุ่น 2546
=> รุ่น 2547
=> รุ่น 2548
=> รุ่น 2549
=> รวมรุ่น 90-96 รหัส 2550-2556
-----------------------------
ข่าวประกาศ
-----------------------------
===> Countdown งานคืนสู่เหย้า 94 ปีซีมะโด่ง : เสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
===> "รวมภาพงาน" ผูกพัน วันเก่า ๙๔ ปี ซีมะโด่ง
ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์ " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน" <))))><
กำลังโหลด...