หน้าแรกเว็บบอร์ด
แนะนำตัว
เพิ่ม/แก้.ข้อมูลส่วนตัว
ห้องโถงรวมรุ่น
Webสมาคมฯ
ปฏิทินนัดหมาย
สมัครสมาชิก
26 พฤศจิกายน 2567, 04:43:15
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
[สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A
A
A
A
ระเบียบปฎิบัติ
Entire Forum
This board
This topic
Members
Entire Site
Languages
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
"เนื้อหาสรุปที่ให้ความรู้ เรื่อง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ทางวิทยุชุมชน ๑๐๐.๗๕ mhz"
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: "เนื้อหาสรุปที่ให้ความรู้ เรื่อง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ทางวิทยุชุมชน ๑๐๐.๗๕ mhz" (อ่าน 9427 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"เนื้อหาสรุปที่ให้ความรู้ เรื่อง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ทางวิทยุชุมชน ๑๐๐.๗๕ mhz"
«
เมื่อ:
01 ธันวาคม 2552, 22:31:35 »
เนื้อหาสรุปที่ให้ความรู้ เรื่อง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
ทางวิทยุชุมชน เมืองใหม่ อ.พนมสารคาม ๑๐๐.๗๕ mhz.
ร.พ.พนมสารคาม มีรายการไปให้จัดรายการให้ความรู้ประชาชนเขตพนมสารคาม
ทุกวันพุธ เวลา ๑๓.๑๕-๑๓.๔๕ น.
ในวันพุธ ที่ ๒ ธ.ค.๒๕๕๒ เป็นรายการให้ความรู้ โดย
น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์ อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน และ เวชศาสตร์ครอบครัว
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพชุมชน ร.พ.พนมสารคาม
และ แพทย์ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน
.................................................................................
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คือ แพทย์อะไร มีความสำคัญอย่างไร
...........................................................................................
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เป็นแพทย์เฉพาะทางที่สำคัญต่อการสาธารณสุขสาขาหนึ่ง
เหมือนแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น แต่แตกต่างกัน ที่เป็นแพทย์ที่ ไม่ได้แยกย่อย
ออกไป เป็นแพทย์ที่ดูแลโรค เฉพาะอวัยวะ เฉพาะวิธีผ่าตัด หรือ ใช้ยารักษา
เฉพาะวัย หรือ เฉพาะเพศ เช่น
รักษาเฉพาะโรคสตรี และ หญิงมีครรภ์ แยกเป็น สูตินรีแพทย์ เป็นต้น
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เป็นแพทย์ ที่รักษา ได้ทุกคน และ ทุกส่วนของร่างกาย
ไม่แยกย่อย ดูแลแบบองค์รวม รักษา และ ให้ความรู้ ในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ
เป็นแพทย์ทั่วไป เดิมเรียก สาขาเวชปฏิบัติ รักษาได้ทุกแผนก เรียนเพียง ๖ ปี
ต้องผ่านการเรียน การสอบ มาทุกแผนกในวิชาแพทยศาสตร์ และ ต้องผ่านการสอบ
ขึ้นทะเบียนจากแพทยสภา ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม สามารถวินิจฉัยและ รักษา
ได้เกือบทุกโรคมากกว่า ๙๐ %
มีส่วนน้อยที่เกินความสามารถ จะส่งต่อไปรักษากับ
แพทย์เฉพาะทาง ที่ต้องไปเรียนเฉพาะทางต่ออีก ๓ ปี กลายเป็น ๙ ปี
ซึ่งโรคที่ต้องใช้แพทย์เฉพาะทาง มีไม่มาก พอให้แยกตั้งแผนก ใน ร.พ.อำเภอ ได้
แต่ ร.พ.อำเภอ ได้จัดให้มีแพทย์เฉพาะทาง ๔ สาขา สาขาละ ๑ คน มาแล้ว ? คือ
สูติแพทย์ ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ และ กุมารแพทย์ ให้มาอยู่ร่วมกับ แพทย์ทั่วไป
ใน ร.พ.อำเภอ ความสามารถแพทย์แต่ละคน จึงไม่เท่ากัน แต่ต้องตรวจคนไข้
ทุกคน ทุกประเภท ที่มาให้รักษา จึงต้องกลายเป็น แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ทุกคน
เช่น เคยมี แพทย์ศัลยกรรมกระดูก ขอมาอยู่ที่ ร.พ.พนมสารคาม อยู่ได้ไม่นาน
ก็ขอย้ายกลับไป อยู่ แผนกศัลยกรรมกระดูก ที่ ร.พ.จังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะ
ต้อง ทำคลอด รักษาเด็ก รักษาโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง ผ่าตัดไส้ติ่ง ฯลฯ
ไม่สามารถรักษาเฉพาะทางสาขาที่เรียนมาได้ จึงขอย้าย
กลับไปอยู่แผนกศัลยกรรมกระดูก ที่ ร.พ.จังหวัด มีความสุขกว่าอยู่ ที่ ร.พ.อำเภอ
นอกจาก แพทย์เครียด กันทุกคนแล้ว ประชาชน ก็เครียด เข้าใจผิดว่า ร.พ.อำเภอ
มีแพทย์เฉพาะทาง จะได้พบ แพทย์เฉพาะทางได้ทุกเวลา
แต่เป็นไปไม่ได้ที่แพทย์เฉพาะทางคนเดียว จะให้บริการ ตลอดทุกวันทุกเวลาได้
มาแล้วอาจไม่ตรงกับ แพทย์เฉพาะทาง ที่ต้องการมาหา ต้องตามมาตรวจให้ ต้อง
รอพบแพทย์เฉพาะทาง หรือ ต้องนัดมาตรวจตามนัด
ถ้ามาแล้วได้พบ ถ้าไม่ดีขึ้น หรือ ไม่สามารถรักษาได้ ก็ต้องส่งต่อ ทำให้การส่งพบ
ทีมแพทย์ เฉพาะทางที่ ร.พ.ขนาดใหญ่ช้า
จนเกิด ความพิการ หรือ เสียชีวิต เป็น ข่าวฟ้องร้องให้เห็นกันอยู่ จึงกลายเป็น
ทั้งแพทย์ และ คนไข้ เครียดกันถ้วนหน้า แทน สุขภาพดีถ้วนหน้า
แพทย์ ลาออกกันปีละ ๘๐๐-๑๐๐๐ คนต่อปี ขาดแพทย์รักษาคนไข้ ตามข่าว
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=15&group=9&gblog=1
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข แก้ปัญหาเครียดกันถ้วนหน้า ด้วยการ ใช้งบไทยเข้มแข็ง
เพื่อพัฒนาสถานีอนามัยให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ - ๕๕
และ ใช้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือ เวชศาสตร์ครอบครัว นี้ ทำงาน ทั้ง ๒ ร.พ.คือ
๑.ร.พ.อำเภอ
เมื่อป่วยไม่ถึงกับต้องพบแพทย์เฉพาะทาง แต่ควรรักษาใน ร.พ.ก็ส่ง
มานอนรักษา เป็นผู้ป่วยใน ที่ ร.พ.อำเภอ เพื่อดูคนไข้แบบต่อเนื่อง
๒.ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
แพทย์แต่ละคนจะได้รับพื้นที่แต่ละตำบล ให้เป็น
แพทย์ประจำให้ดูแลทั้ง คนไข้นอก และ คนไข้ใน เป็นแพทย์ประจำครอบครัว
ผลดี
ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการนี้ คือ
คนไข้ในตำบล และ แพทย์ ประจำตำบล จะสนิท รู้ใจกัน เป็นที่ปรึกษาสุขภาพได้
เป็น แพทย์ประจำตัว เมื่อป่วยไข้ ไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์ ที่ ร.พ.อำเภอ
รอแพทย์ออกมารักษา ลดค่าใช้จ่ายคนป่วย
นอกจากนี้ แพทย์ ทุกคนเป็นแพทย์ทั่วไป จะมีขีดความสามารถ และ ใช้เครื่องมือ
พื้นฐานเพื่อการวินิจฉัยเหมือน ๆ กัน ถ้าเกินความสามารถของแพทย์คนใดคนหนึ่ง
แพทย์คนอื่นก็เกินความสามารถด้วย ได้รับการส่งต่อพบทีมแพทย์เฉพาะทางที่
ร.พ.จังหวัดทันที คนไข้ที่นอน รักษาใน ร.พ.อำเภอทุกคน จึงเป็นโรคที่แพทย์
ทุกคนดูแลในเวรนอกเวลาได้ทุกคน เกินความสามารถส่งได้ทันที
การใช้แพทย์ครอบครัว จะใช้แพทย์จบใหม่ ๖ ปี ก็สามารถดูแลคนไข้ทั้ง่ ๒ ร.พ.ได้
ไม่ต้องเสียเวลา ขาดแพทย์ที่ไปเรียนต่อ เฉพาะทางอีก ๓ ปี
และ เมื่อมีแพทย์ทั่วไป
มาอยู่ ร.พ.อำเภอ จะมาแทนที่ แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ ร.พ.อำเภอสาขาละคน
ถ้าอยากย้ายกลับไปอยู่ แผนกเฉพาะที่เรียนมา ทำให้ได้แพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น
ที่ ร.พ.ขนาดใหญ่ทันที
ปีหนึ่งมีแพทย์จบ ปีละประมาณ ๒,๐๐๐ คน ถ้าให้มาทำงานที่ ร.พ.อำเภอก่อนทุกคน
จะแทนแพทย์เฉพาะทาง ที่ขอย้ายไป และ ยังสามารถนำเครื่องมือที่ใช้เฉพาะทาง
จาก ร.พ.อำเภอ นำมาใช้ร่วมกัน ที่ ร.พ.ขนาดใหญ่ ใช้ร่วมกันคุ้มค่ากว่า
ดูในเอกสารอ้างอิง เรื่องการดูงานเวชปฏิบัติที่ ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์
ที่ใช้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ดูแลสุขภาพคนเป็นส่วนใหญ่ ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4
นอกจากนี้ จากการประชุมประเทศสมาชิก ขององค์การอนามัยโลก เพื่อร่วมกันหา
วิธีทำให้ประชากรทุกประเทศสุขภาพแข็งแรง ที่เมืองออตตาว่า ประเทศแคนาดา
ผลการประชุมได้ข้อตกลงเรียกว่า
สัญญาออตตาวาร์ หรือ ออตตาวาร์ชาเตอร์
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙
ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก รับข้อตกลงมาดำเนินการ เรียก
การสาธารณสุขมูลฐาน
มีตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน ๔ ตัวชี้วัด คือ
๑.ประชาชนต้องได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานกันทุกคน
ได้แก่ ปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อชีวิต
มีความมั่นคงปลอดภัย โดยการดำเนินงานของแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้องจัดให้มีขึ้น
๒.ประชาชนร่วมใส่ใจ เรื่องสุขภาพร่วมกับภาครัฐ
ได้แก่
๒.๑ อาสาสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนด้านสุขภาพ ในหมู่บ้านของตนเอง
เป็น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.เพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อน
งานสาธารณสุขมูลฐาน มีอุดมการณ์ว่า
“แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข
บำบัดทุกข์ประชาชนทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี”
โดย อสม.เป็นแกนนำ สร้าง ชมรมสร้างสุขภาพ ขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเชื่อมโยงกับ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ให้เกิดการสร้างเสริม ป้องกัน รักษา และ ฟื้นฟูสุขภาพ
โดยมีกิจกรรม ให้สมาชิกในหมู่บ้านร่วมกิจกรรมสุขภาพกัน เป็นต้น
๒.๒ ร่วมปฏิบ้ติตัว เพื่อสุขภาพแข็งแรง ตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ ของกรมอนามัย
http://www.tkc.go.th/index.aspx?pageid=164&parent=111&directory=1200&pagename=content
๓.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวก
โดยภาครัฐต้องจัดให้มีขึ้น
โดยพัฒนาสถานีอนามัยที่มีอยู่ทุกตำบลแล้ว ให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
มีแพทย์ประจำครอบครัว รับผิดชอบ ไปด้วยตัวเอง และ ทางวิดิโอคอนเฟอเรนซ์
๔.สถานบริการสุขภาพ ต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ โดยภาครัฐต้องจัดให้มีขึ้น
ทุก ร.พ.ที่เปิดให้บริการ
จะต้องมีใบรับรองเป็น ร.พ.คุณภาพทุกแห่ง
การจัดให้ในตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ตัวที่ ๓ และ ตัวที่๔ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เป็นบุคลการทางการแพทย์ที่สำคัญให้งานสาธารณสุขมูลฐาน สำเร็จได้
โดย
ก.เพิ่มสถานพยาบาลให้มีมากขึ้น พัฒนาสถานีอนามัยที่มีอยู่แล้วทุกตำบล ให้เป็น
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ในแผนปีงบประมาณ ๒๕๕๒ – ๕๕
ข.ใช้บัตรประชาชนมาสเตอร์การ์ด แทนบัตรทองรับรองสิทธิรักษา สามารถเชื่อมโยง
ข้อมูลรักษาของ ร.พ.ทุกแห่งใช้บัตรเดียวกันในการเข้าถึงข้อมูลทุกแห่ง
ค.ให้ประชาชนสามารถ เลือกเข้ารักษา ร.พ.ที่พึงพอใจได้เองไม่มีการบังคับต้องรักษา
ตามที่ระบุในบัตร ได้นำร่องที่ ๘ จังหวัด คือ
จังหวัด แพร่ พิษณุโลก อุบลราชธานี ยโสธร ราชบุรี นครนายก ศรีสะเกษ และ พังงา
นำข่าวมาจาก น.ส.พ.ข่าวสด วันจันทร์ ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakV5TVRBMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHhNQzB4TWc9PQ==
ง.การพัฒนาใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ในการบันทึกประวัติสุขภาพประชาชน ร่วมกับ
ระบบอินเตอร์เนตเชื่อมข้อมูลแต่ละ ร.พ.เข้าถึงกันได้โดยใช้บัตรประชาชนบัตรเดียว
ใช้ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ เชื่อมโยง ระหว่่่าง แพทย์ และ คนไข้ ที่อยู่คนละที่กัน
สามารถซักประวัติ ด้วยแพทย์เอง มีพยาบาลตรวจตามแพทย์ต้องการได้ และ
สามารถพิมพ์สั่งการรักษาที่ ร.พ.อำเภอ ไปปรากฎ ที่ ร.พ.สร้างเสริมตำบลได้
และ สามารถดูประวัติทุกที่ ที่คนไข้ไปรักษามาด้วยบัตรทองและพาสเวอร์ด อาจ
ใช้ลายนิ้วมือ คนไข้เป็นได้ ถ้้่าคนไข้ไม่ยินยอมให้ดู ไม่พิมพ์ลายนิ้วมือก็เข้าถึงไม่ได้
เหมือนธนาคาร ที่ ออนไลน์ สามารถทำการฝาก ถอน ได้ทุกสาขา เก็บความลับ
ของข้อมูลได้ด้วย
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประจำพื้นที่ ทำงาน ๒ ร.พ.
คือ
๑.ร.พ.อำเภอ ดูคนไข้พื้นที่รับผิดชอบที่มานอนรักษาใน ร.พ.อำเภอที่ทำงานอยู่
๒.ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ออกตรวจคนไข้นอก ซึ่ง มี ๒ วิธี ในการไป คือ
๑.ไปตรวจด้วยตนเอง ขับรถไปเอง กับทีมสุขภาพที่จะไปทำงานด้วย
๒.ไปตรวจด้วยเทคนิควิดิโอคอนเฟอเรนซ์ แพทย์ นั่งอยู่ที่ ร.พ.อำเภอ คนไข้นั่งอยู่
ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีพยาบาลเวชปฏิบัติซักประวัติอาการไม่สบายที่มา
ตรวจร่างกาย วัดความดัน และ ตรวจเพิ่มตามที่แพทย์ต้องการให้ตรวจ ช่วยแพทย์
และ จ่ายยาตามแพทย์พิมพ์สั่งการรักษา ซึ่งเป็นการรักษาโดยแพทย์ิเอง
ถ้าอาการหนักปฐมพยาบาล ก่อนส่งต่อด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน ๑๖๖๙ ตามที่ต้องการ
ในอนาคต เมื่อระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ พัฒนาได้มากขึ้น จะสามารถพบแพทย์
ที่ต้องการได้ ผ่านทางวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาด้่วยตนเอง
การเชื่อมโยงดูข้อมูลสุขภาพนี้ ยังเป็นการถ่ายทอดวิธีการรักษาของแพทย์เฉพาะทาง
ให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถให้การรักษาต่อได้ทันที ถ้าไม่มีอาการผิดปรกติ
และ จะส่งพบแพทย์เฉพาะทางทางวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้เมื่อมีปัญหา
ตัวชี้วัด สาธารณสุขมูลฐาน ตัวที่ ๔ สถานบริการต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ
มีวิธีการทำได้ด้วยการให้ทุก ร.พ.ต้องได้รับใบรับรองคุณภาพจาก
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์กรมหาชน (Health Acceditation:HA)
http://www.ha.or.th/king2009.asp
วิธีการคือ ให้ สถานพยาบาลเขียนนโยบาย ของสถานบริการ ขึ้นมาให้
สถาบัน ฯ ให้การรับรองว่าครอบคลุมการเป็นสถานบริการคุณภาพได้ ตัวอย่าง
ร.พ.พนมสารคาม ที่ทำงานอยู่ มีนโยบายว่า
"เราจะธำรงไว้ซึ่งการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และ มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาระบบบริการ และ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ตามมาตรฐานสากล ภายใต้
การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม"
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ส.ค.๒๕๔๗
เมื่อได้นโยบายคุณภาพ ร.พ.แล้วให้ทุกหน่วยงานในสถานพยาบาล จะต้องเขียน
เอกสารวิธีให้บริการของหน่วยงานตนเอง ตามนโยบาย ร.พ.คุณภาพข้างต้น
เมื่อเขียนเอกสาร แล้ว ถ้าสถาบันฯตรวจสอบว่า ผู้รับบริการได้คุณภาพจริง
ก็จะรับเป็นเอกสารอ้างอิง ไว้ให้กรรมการตรวจสอบที่จะให้เจ้าหน้าที่ ร.พ.เอง
เลือกผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานว่าตามเอกสารอ้างอิงนี้ทุกประการ
โดยต้องเข้ามารับการอบรมเป็นกรรมการตรวจสอบ เมื่อผ่านการอบรมและผ่านการสอบ
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบจากสถาบัน ฯ แล้ว ก็จะให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบ
แต่ละหน่วยที่เขียนเอกสารคุณภาพขึ้นเองว่าทำตามโดยเคร่งครัด
ถ้าไม่ทำตามกรรมการจะให้ใบเตือนให้ทราบและแก้ไข ให้เป็นไปตามเอกสาร
เมื่อทำได้ตามเอกสารคุณภาพทุกจุดแล้วกรรมการตรวจสอบภายนอกจาก
สถาบัน ฯ จะเข้ามาตรวจสอบซ้ำ ถ้าเป็นไปตามเอกสารคุณภาพอ้างอิงทุกประการ
ก็จะให้ใบรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพให้ไว้เพื่อนำมาประกาศให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจ
ในคุณภาพ และ ใน ร.พ.คุณภาพ และ สถาบันรับรองฯ นี้ จะเข้ามา
ตรวจสอบตามระยะเวลา หรือ เมื่อเกิดมีปัญหา บริการ ได้ด้วย ทำให้รักษาคุณภาพ
ได้อย่างยั่งยืน ตาม แนวทาง ชา ที่ไม่เย็นชา ตามชื่อ คือ โครงการ
Sustainable Health Care and Health Promotion by Accreditation:SHA
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4376.0.html
นอกจากนี้ การเป็น ร.พ.คุณภาพ ต้องมีตู้รับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชน
ผู้ใช้บริการสามารถแสดงความคิดเห็นในการมาใช้บริการได้ สื่อสารแบบ ๒ ทาง
ถ้าเป็นคำชมก็จะนำไปบอกเจ้าหน้าที่หน่วยงานนั้นให้ภูมิใจในผลงานที่ดี
ถ้าเป็นคำติก็จะเร่งสอบสวนดำเนินการ พร้อม แจ้งให้ประชาชนทราบโดยเร็ว
ขอยกข้อข้างบนมาอธิบายเพิ่ม ใน ข้อ ค.ให้ประชาชนสามารถ เลือกเข้ารักษา ร.พ.
ที่พึงพอใจได้เองไม่มีการบังคับต้องรักษา ตามที่ระบุในบัตร ไปที่อื่นต้องมีใบส่งตัว
ผมขอเสริมว่า
ผลดี
ของการที่ให้รักษา ร.พ.ที่พึงพอใจได้ คือ
๑.ลดงานเขียนใบส่งตัวให้แพทย์ และ ประชาชนไม่ต้องมารอขอใบส่งตัว
๒.คนไข้มีอำนาจต่อรองบริการ สามารถเลือก ร.พ.ที่บริการดี ภายในจังหวัดได้
๓.ร.พ.แต่ละแห่ง ภายในจังหวัด ต้องแข่งขันกันด้านประสิทธิภาพ และ บริการ
เพื่อผูกใจคนไข้ ให้มาใช้บริการ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพแต่ละ ร.พ.
ผลเสีย
ที่กลัวว่าการรักษาได้ตามใจที่คนไข้เลือก จะตะเวนหา ร.พ.หลายแห่ง
ทำให้ เปลืองยา และ เพิ่มงานให้ทุก ร.พ.ที่ต้องรักษาซ้ำซ้อน แต่เมื่อ ทุก ร.พ.
มาเป็นเครือข่ายออนไลน์ เหมือน ธนาคารออนไลน์ จะรู้ว่าได้ว่า ผู้ป่วยไปรักษา
ที่ใดมาบ้าง ให้การรักษาอย่างไร ทำให้รักษาต่อได้ทันที
ถ้าจะใช้ยาเดิม ก็ไม่ต้องให้เพิ่ม เพราะ รู้ว่ามียาแล้ว
การใช้วิดิโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อช่วยรักษาทางไกลนั้นในต่างประเทศใช้กัน
โดย บริษัทโพลีคอมพ์ อิงค์ จัดทำขึ้น โรงพยาบาลที่บริษัทโพลีคอมพ์อิงค์ เข้าไป
แนะนำ ได้แก่
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ
และ เร็วๆ นี้มี
แผนไปพบผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข
ในประเทศภูมิภาคเอเชีย ที่นำระบบเทเลเฮลธ์ไปใช้ตามโรงพยาบาลแล้ว ได้แก่
อินเดีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฮ่องกง ดูข่าวเต็มได้ที่เวบ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20091010/81079/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%9E..html
รัฐทุ่มงบ พัฒนาสถานีอนามัยเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล อ่านข่าวทั้งหมดได้ที่
http://news.sanook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-5-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95-822028.html
นำบทที่จะไปพูดที่ สถานีวิทยุชุมชน เมืองใหม่ พนมฯ ๑๐๐.๗๕ ซึ่งถือเป็นการ
จุดประกายความรู้ ด้าน ระบบสุขภาพของประเทศ ที่จะปฏิรูปให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้า
โดย ให้ความรู้เป็น ด้านที่ ๑ ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพื่อให้เกิดอีก ๒ ด้าน คือ
ด้านที่ ๒ เกิดวัฒนธรรม ใช้แพทย์ประจำครอบครัว เป็นแพทย์ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ
และ ด้านที่ ๓ ภาครัฐ โดยกระทรวงสาธารณสุข ออกกฏระเบียบให้เกิดขึ้น เหมือน
ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ที่ใช้ แพทย์เวชปฏิบัติ เป็นหลัก ในการดูแล
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"ผู้ป่วยสูงอายุจะป่วยกันบ่อยๆ จนเตียง ร.พ.เต็ม แก้โดยใช้บ้านผู้ป่วยเองเป็นที่นอน รักษา"
«
ตอบ #1 เมื่อ:
12 ธันวาคม 2552, 11:35:46 »
ผลวิจัยชี้ภายในปี68 แนวโน้มคนชราพุ่ง
น.ส.พ.เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 11 ธันวาคม 2552 เวลา 20:00 น
วันนี้(11 ธ.ค.) พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดการแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)กล่าวว่า จากรายงานของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) ประมาณการว่า
ในปี 2568 ประชากรผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปของไทย จะเพิ่มจำนวนสูงขึ้น อยู่ที่ประมาณ 14.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้น
โดยพบว่า ผู้สูงอายุวัยปลายหรือที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 10 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 12 ในปี 2573
ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเตรียมวางระบบการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิง จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
นำมาจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=36956
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
จะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่แก้ปัญหาคนสูงอายุป่วยบ่อย ป่วยนาน ต้องมานอน ร.พ.ทำให้ ร.พ.เตียงเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ โดย
ใช้บ้านผู้ป่วย เป็น ร.พ. จัดหาเตียงผู้ป่วยไปให้
นำยา นำคำแนะนำเรื่องการดูแล การจัดยา ฯลฯ ให้ญาติ เป็นผู้ให้การดูแล มีโทรฯติดต่อ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ประจำตำบล เป็นผู้อยู่เวรคอยให้คำปรึกษา และ ช่วยเหลือ มีทีมแพทย์ และ บุคลากรสุขภาพ เป็นผู้ไปตรวจรักษาให้ทุกเช้าเมื่อเจ็บป่วยจนหาย และ ดูแล
เป็นแพทย์ประจำครอบครัวให้
เป็นบริการฟรี ใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศ
จะเกิดขึ้นได้ถ้าประชาชนได้รับความรู้นี้ รวมตัวกันสร้างวัฒนธรรมใช้แพทย์ประจำครอบครัวเป็นแพทย์ประจำตัว และ ร่วมสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขที่กำลังดำเำนินการให้เกิดขึ้น ตามแนวทางมี ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล มีทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวรับผิดชอบ และ ถ้าป่วยไม่มาก ใช้บ้านผู้ป่วยเป็นที่รับผู้ป่วยนอนรักษาแทนนอน ร.พ.ถ้าป่วยมากรับมานอน ร.พ.ที่เหมาะสมให้ด้วยรถฉุกเฉิน 1669
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"ประชาชนคนไทยจะมีแพทย์ประจำตัว หรือ ประจำครอบครัวกันแล้ว"
«
ตอบ #2 เมื่อ:
20 ธันวาคม 2552, 19:15:59 »
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจสช.)
ขับเคลื่อน11นโยบายสุขภาพ
น.ส.พ.โพสต์ ทูเดย์ วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552
กู้วิกฤตขายยาไร้จริยธรรมฉันทามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติขับเคลื่อน 11 นโยบายสุขภาพกอบกู้วิกฤต ร่างเกณฑ์มาตรฐานจริยธรรมขายยาให้เสร็จใน 6 เดือน
ใช้มาตรการทางสังคมแฉหมอคนไหนรับเงินบริษัทยาบ้าง เชื่ออายไปเองเลิกรับปริยาย พร้อมออกกฎหมายคุม เสนอแนวทางปฏิบัติให้ครม.พิจารณานำไปสู่รูปธรรมแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจสช.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 2,000 คน มีฉันทามติให้เสนอและจะร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อน
ข้อเสนอทางนโยบาย 11 เรื่องใหญ่เพื่อกอบกู้ปัญหาต่างๆ โดยมีแผนดำเนินการเชิงรุกที่จะทำให้ข้อเสนอ 11 เรื่องนี้ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยจะ นำข้อเสนอทั้ง 11 ประเด็นเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ (สช.) เพื่อเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการขายยาขาดจริยธรรมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะแต่ละปีประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านยาสูงมาก และเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งปี 2548 มีมูลค่าราคาขายปลีกสูงถึง 186,330 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะสูงถึงหรือมากกว่า 2 แสนล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2552
ทั้งนี้ สาเหตุมาจากการสั่งซื้อยาเกินความจำเป็น โดยบริษัทยาจะจัดผลประโยชน์ตอบแทนให้กับแพทย์ เภสัชกร บุคลากรสุขภาพ ทั้งการออกทุนให้ไปประชุมต่างประเทศ การสนับสนุนการประชุมทางวิชาการต่างๆ เพื่อให้สั่งซื้อยาของบริษัทนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยาจากต่างประเทศ
นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังจะมีการร่างเกณฑ์มาตรฐานจริยธรรมในเรื่องนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 6 เดือน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนมาตรการแก้ปัญหาระยะยาวคือการออกกฎหมายมาควบคุม หากครม.เห็นชอบตามข้อเสนอของที่ประชุมสมัชชาก็จะดำเนินการออกกฎหมาย คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี
“พฤติกรรมดังกล่าวของบริษัทยาถือว่าไม่ถูกต้อง ขัดกับหลักจริยธรรมสากล ขณะนี้เริ่มมีการใช้มาตรการทางสังคมไปบ้างแล้ว คือนำเรื่องดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ ส่วนการออกกฎหมายให้เปิดเผยว่าบริษัทใดจ่ายเงินให้แพทย์คนใดนั้นก็เป็นมาตรการทางสังคมอีกด้านหนึ่ง เพราะคนเป็นแพทย์ย่อมไม่อยากให้ใครรู้ว่ารับเงินจากบริษัทใดเพื่อสั่งยา และจะไม่รับเงินจากบริษัทต่างๆ ไปโดยปริยาย” ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าว
นพ.สุวิทย์ กล่าวอีกว่า
โรคติดต่ออุบัติใหม่ควรมีการตั้งคณะกรรมการโรคติดต่ออุบัติใหม่ระดับชาติขึ้นมาดูแลโดยตรง
ด้านการพัฒนาบริการปฐมภูมิเพื่อการเข้า ถึงระบบบริการที่มีคุณภาพ โดยประชาชนคนไทยทุกครอบครัวจะ ต้องมีแพทย์ประจำตัวหรือประจำครอบครัว
การจัดการขยะอันตรายของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และทุกภาคส่วน ทุกจังหวัดควรมีศูนย์กำจัดขยะอันตราย
http://www.posttoday.com/news.php?id=81364
แพทย์ประจำครอบครัว กำัลังจะมีจริงแล้ว เพื่อพัฒนาสุขภาพให้ประชาชน มีแพทย์ประจำตัว เป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพ และ ให้การดูแลรักษา เหมือนประเทศเจริญแล้วมีกัน
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
"อภิสิทธิ์เเนะ นำเข้าเเพทย์ต่างชาติเเก้ไขเเพทย์ขาดเเคลน"
«
ตอบ #3 เมื่อ:
17 มกราคม 2553, 13:35:20 »
อ้างถึง
ข้อความของ
สำเริง 17 รุ่น 57
เมื่อ 01 ธันวาคม 2552, 22:31:35
เนื้อหาสรุปที่ให้ความรู้ เรื่อง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
ทางวิทยุชุมชน เมืองใหม่ อ.พนมสารคาม ๑๐๐.๗๕ mhz.
ร.พ.พนมสารคาม มีรายการไปให้จัดรายการให้ความรู้ประชาชนเขตพนมสารคาม
ทุกวันพุธ เวลา ๑๓.๑๕-๑๓.๔๕ น.
ในวันพุธ ที่ ๒ ธ.ค.๒๕๕๒ เป็นรายการให้ความรู้ โดย
น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์ อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน และ เวชศาสตร์ครอบครัว
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพชุมชน ร.พ.พนมสารคาม
และ แพทย์ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน
.................................................................................
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คือ แพทย์อะไร มีความสำคัญอย่างไร
...........................................................................................
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เป็นแพทย์เฉพาะทางที่สำคัญต่อการสาธารณสุขสาขาหนึ่ง
เหมือนแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น แต่แตกต่างกัน ที่เป็นแพทย์ที่ ไม่ได้แยกย่อย
ออกไป เป็นแพทย์ที่ดูแลโรค เฉพาะอวัยวะ เฉพาะวิธีผ่าตัด หรือ ใช้ยารักษา
เฉพาะวัย หรือ เฉพาะเพศ เช่น
รักษาเฉพาะโรคสตรี และ หญิงมีครรภ์ แยกเป็น สูตินรีแพทย์ เป็นต้น
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เป็นแพทย์ ที่รักษา ได้ทุกคน และ ทุกส่วนของร่างกาย
ไม่แยกย่อย ดูแลแบบองค์รวม รักษา และ ให้ความรู้ ในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ
เป็นแพทย์ทั่วไป เดิมเรียก สาขาเวชปฏิบัติ รักษาได้ทุกแผนก เรียนเพียง ๖ ปี
ต้องผ่านการเรียน การสอบ มาทุกแผนกในวิชาแพทยศาสตร์ และ ต้องผ่านการสอบ
ขึ้นทะเบียนจากแพทยสภา ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม สามารถวินิจฉัยและ รักษา
ได้เกือบทุกโรคมากกว่า ๙๐ %
มีส่วนน้อยที่เกินความสามารถ จะส่งต่อไปรักษากับ
แพทย์เฉพาะทาง ที่ต้องไปเรียนเฉพาะทางต่ออีก ๓ ปี กลายเป็น ๙ ปี
ซึ่งโรคที่ต้องใช้แพทย์เฉพาะทาง มีไม่มาก พอให้แยกตั้งแผนก ใน ร.พ.อำเภอ ได้
แต่ ร.พ.อำเภอ ได้จัดให้มีแพทย์เฉพาะทาง ๔ สาขา สาขาละ ๑ คน มาแล้ว ? คือ
สูติแพทย์ ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ และ กุมารแพทย์ ให้มาอยู่ร่วมกับ แพทย์ทั่วไป
ใน ร.พ.อำเภอ ความสามารถแพทย์แต่ละคน จึงไม่เท่ากัน แต่ต้องตรวจคนไข้
ทุกคน ทุกประเภท ที่มาให้รักษา จึงต้องกลายเป็น แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ทุกคน
เช่น เคยมี แพทย์ศัลยกรรมกระดูก ขอมาอยู่ที่ ร.พ.พนมสารคาม อยู่ได้ไม่นาน
ก็ขอย้ายกลับไป อยู่ แผนกศัลยกรรมกระดูก ที่ ร.พ.จังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะ
ต้อง ทำคลอด รักษาเด็ก รักษาโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง ผ่าตัดไส้ติ่ง ฯลฯ
ไม่สามารถรักษาเฉพาะทางสาขาที่เรียนมาได้ จึงขอย้าย
กลับไปอยู่แผนกศัลยกรรมกระดูก ที่ ร.พ.จังหวัด มีความสุขกว่าอยู่ ที่ ร.พ.อำเภอ
นอกจาก แพทย์เครียด กันทุกคนแล้ว ประชาชน ก็เครียด เข้าใจผิดว่า ร.พ.อำเภอ
มีแพทย์เฉพาะทาง จะได้พบ แพทย์เฉพาะทางได้ทุกเวลา
แต่เป็นไปไม่ได้ที่แพทย์เฉพาะทางคนเดียว จะให้บริการ ตลอดทุกวันทุกเวลาได้
มาแล้วอาจไม่ตรงกับ แพทย์เฉพาะทาง ที่ต้องการมาหา ต้องตามมาตรวจให้ ต้อง
รอพบแพทย์เฉพาะทาง หรือ ต้องนัดมาตรวจตามนัด
ถ้ามาแล้วได้พบ ถ้าไม่ดีขึ้น หรือ ไม่สามารถรักษาได้ ก็ต้องส่งต่อ ทำให้การส่งพบ
ทีมแพทย์ เฉพาะทางที่ ร.พ.ขนาดใหญ่ช้า
จนเกิด ความพิการ หรือ เสียชีวิต เป็น ข่าวฟ้องร้องให้เห็นกันอยู่ จึงกลายเป็น
ทั้งแพทย์ และ คนไข้ เครียดกันถ้วนหน้า แทน สุขภาพดีถ้วนหน้า
แพทย์ ลาออกกันปีละ ๘๐๐-๑๐๐๐ คนต่อปี ขาดแพทย์รักษาคนไข้ ตามข่าว
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=15&group=9&gblog=1
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข แก้ปัญหาเครียดกันถ้วนหน้า ด้วยการ ใช้งบไทยเข้มแข็ง
เพื่อพัฒนาสถานีอนามัยให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ - ๕๕
และ ใช้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือ เวชศาสตร์ครอบครัว นี้ ทำงาน ทั้ง ๒ ร.พ.คือ
๑.ร.พ.อำเภอ
เมื่อป่วยไม่ถึงกับต้องพบแพทย์เฉพาะทาง แต่ควรรักษาใน ร.พ.ก็ส่ง
มานอนรักษา เป็นผู้ป่วยใน ที่ ร.พ.อำเภอ เพื่อดูคนไข้แบบต่อเนื่อง
๒.ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
แพทย์แต่ละคนจะได้รับพื้นที่แต่ละตำบล ให้เป็น
แพทย์ประจำให้ดูแลทั้ง คนไข้นอก และ คนไข้ใน เป็นแพทย์ประจำครอบครัว
ผลดี
ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการนี้ คือ
คนไข้ในตำบล และ แพทย์ ประจำตำบล จะสนิท รู้ใจกัน เป็นที่ปรึกษาสุขภาพได้
เป็น แพทย์ประจำตัว เมื่อป่วยไข้ ไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์ ที่ ร.พ.อำเภอ
รอแพทย์ออกมารักษา ลดค่าใช้จ่ายคนป่วย
นอกจากนี้ แพทย์ ทุกคนเป็นแพทย์ทั่วไป จะมีขีดความสามารถ และ ใช้เครื่องมือ
พื้นฐานเพื่อการวินิจฉัยเหมือน ๆ กัน ถ้าเกินความสามารถของแพทย์คนใดคนหนึ่ง
แพทย์คนอื่นก็เกินความสามารถด้วย ได้รับการส่งต่อพบทีมแพทย์เฉพาะทางที่
ร.พ.จังหวัดทันที คนไข้ที่นอน รักษาใน ร.พ.อำเภอทุกคน จึงเป็นโรคที่แพทย์
ทุกคนดูแลในเวรนอกเวลาได้ทุกคน เกินความสามารถส่งได้ทันที
การใช้แพทย์ครอบครัว จะใช้แพทย์จบใหม่ ๖ ปี ก็สามารถดูแลคนไข้ทั้ง่ ๒ ร.พ.ได้
ไม่ต้องเสียเวลา ขาดแพทย์ที่ไปเรียนต่อ เฉพาะทางอีก ๓ ปี
และ เมื่อมีแพทย์ทั่วไป
มาอยู่ ร.พ.อำเภอ จะมาแทนที่ แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ ร.พ.อำเภอสาขาละคน
ถ้าอยากย้ายกลับไปอยู่ แผนกเฉพาะที่เรียนมา ทำให้ได้แพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น
ที่ ร.พ.ขนาดใหญ่ทันที
ปีหนึ่งมีแพทย์จบ ปีละประมาณ ๒,๐๐๐ คน ถ้าให้มาทำงานที่ ร.พ.อำเภอก่อนทุกคน
จะแทนแพทย์เฉพาะทาง ที่ขอย้ายไป และ ยังสามารถนำเครื่องมือที่ใช้เฉพาะทาง
จาก ร.พ.อำเภอ นำมาใช้ร่วมกัน ที่ ร.พ.ขนาดใหญ่ ใช้ร่วมกันคุ้มค่ากว่า
ดูในเอกสารอ้างอิง เรื่องการดูงานเวชปฏิบัติที่ ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์
ที่ใช้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ดูแลสุขภาพคนเป็นส่วนใหญ่ ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4
นอกจากนี้ จากการประชุมประเทศสมาชิก ขององค์การอนามัยโลก เพื่อร่วมกันหา
วิธีทำให้ประชากรทุกประเทศสุขภาพแข็งแรง ที่เมืองออตตาว่า ประเทศแคนาดา
ผลการประชุมได้ข้อตกลงเรียกว่า
สัญญาออตตาวาร์ หรือ ออตตาวาร์ชาเตอร์
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙
ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก รับข้อตกลงมาดำเนินการ เรียก
การสาธารณสุขมูลฐาน
มีตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน ๔ ตัวชี้วัด คือ
๑.ประชาชนต้องได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานกันทุกคน
ได้แก่ ปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อชีวิต
มีความมั่นคงปลอดภัย โดยการดำเนินงานของแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้องจัดให้มีขึ้น
๒.ประชาชนร่วมใส่ใจ เรื่องสุขภาพร่วมกับภาครัฐ
ได้แก่
๒.๑ อาสาสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนด้านสุขภาพ ในหมู่บ้านของตนเอง
เป็น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.เพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อน
งานสาธารณสุขมูลฐาน มีอุดมการณ์ว่า
“แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข
บำบัดทุกข์ประชาชนทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี”
โดย อสม.เป็นแกนนำ สร้าง ชมรมสร้างสุขภาพ ขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเชื่อมโยงกับ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ให้เกิดการสร้างเสริม ป้องกัน รักษา และ ฟื้นฟูสุขภาพ
โดยมีกิจกรรม ให้สมาชิกในหมู่บ้านร่วมกิจกรรมสุขภาพกัน เป็นต้น
๒.๒ ร่วมปฏิบ้ติตัว เพื่อสุขภาพแข็งแรง ตามสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ ของกรมอนามัย
http://www.tkc.go.th/index.aspx?pageid=164&parent=111&directory=1200&pagename=content
๓.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวก
โดยภาครัฐต้องจัดให้มีขึ้น
โดยพัฒนาสถานีอนามัยที่มีอยู่ทุกตำบลแล้ว ให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
มีแพทย์ประจำครอบครัว รับผิดชอบ ไปด้วยตัวเอง และ ทางวิดิโอคอนเฟอเรนซ์
๔.สถานบริการสุขภาพ ต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ โดยภาครัฐต้องจัดให้มีขึ้น
ทุก ร.พ.ที่เปิดให้บริการ
จะต้องมีใบรับรองเป็น ร.พ.คุณภาพทุกแห่ง
การจัดให้ในตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ตัวที่ ๓ และ ตัวที่๔ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เป็นบุคลการทางการแพทย์ที่สำคัญให้งานสาธารณสุขมูลฐาน สำเร็จได้
โดย
ก.เพิ่มสถานพยาบาลให้มีมากขึ้น พัฒนาสถานีอนามัยที่มีอยู่แล้วทุกตำบล ให้เป็น
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ในแผนปีงบประมาณ ๒๕๕๒ – ๕๕
ข.ใช้บัตรประชาชนมาสเตอร์การ์ด แทนบัตรทองรับรองสิทธิรักษา สามารถเชื่อมโยง
ข้อมูลรักษาของ ร.พ.ทุกแห่งใช้บัตรเดียวกันในการเข้าถึงข้อมูลทุกแห่ง
ค.ให้ประชาชนสามารถ เลือกเข้ารักษา ร.พ.ที่พึงพอใจได้เองไม่มีการบังคับต้องรักษา
ตามที่ระบุในบัตร ได้นำร่องที่ ๘ จังหวัด คือ
จังหวัด แพร่ พิษณุโลก อุบลราชธานี ยโสธร ราชบุรี นครนายก ศรีสะเกษ และ พังงา
นำข่าวมาจาก น.ส.พ.ข่าวสด วันจันทร์ ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakV5TVRBMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHhNQzB4TWc9PQ==
ง.การพัฒนาใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ในการบันทึกประวัติสุขภาพประชาชน ร่วมกับ
ระบบอินเตอร์เนตเชื่อมข้อมูลแต่ละ ร.พ.เข้าถึงกันได้โดยใช้บัตรประชาชนบัตรเดียว
ใช้ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ เชื่อมโยง ระหว่่่าง แพทย์ และ คนไข้ ที่อยู่คนละที่กัน
สามารถซักประวัติ ด้วยแพทย์เอง มีพยาบาลตรวจตามแพทย์ต้องการได้ และ
สามารถพิมพ์สั่งการรักษาที่ ร.พ.อำเภอ ไปปรากฎ ที่ ร.พ.สร้างเสริมตำบลได้
และ สามารถดูประวัติทุกที่ ที่คนไข้ไปรักษามาด้วยบัตรทองและพาสเวอร์ด อาจ
ใช้ลายนิ้วมือ คนไข้เป็นได้ ถ้้่าคนไข้ไม่ยินยอมให้ดู ไม่พิมพ์ลายนิ้วมือก็เข้าถึงไม่ได้
เหมือนธนาคาร ที่ ออนไลน์ สามารถทำการฝาก ถอน ได้ทุกสาขา เก็บความลับ
ของข้อมูลได้ด้วย
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประจำพื้นที่ ทำงาน ๒ ร.พ.
คือ
๑.ร.พ.อำเภอ ดูคนไข้พื้นที่รับผิดชอบที่มานอนรักษาใน ร.พ.อำเภอที่ทำงานอยู่
๒.ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ออกตรวจคนไข้นอก ซึ่ง มี ๒ วิธี ในการไป คือ
๑.ไปตรวจด้วยตนเอง ขับรถไปเอง กับทีมสุขภาพที่จะไปทำงานด้วย
๒.ไปตรวจด้วยเทคนิควิดิโอคอนเฟอเรนซ์ แพทย์ นั่งอยู่ที่ ร.พ.อำเภอ คนไข้นั่งอยู่
ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีพยาบาลเวชปฏิบัติซักประวัติอาการไม่สบายที่มา
ตรวจร่างกาย วัดความดัน และ ตรวจเพิ่มตามที่แพทย์ต้องการให้ตรวจ ช่วยแพทย์
และ จ่ายยาตามแพทย์พิมพ์สั่งการรักษา ซึ่งเป็นการรักษาโดยแพทย์ิเอง
ถ้าอาการหนักปฐมพยาบาล ก่อนส่งต่อด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน ๑๖๖๙ ตามที่ต้องการ
ในอนาคต เมื่อระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ พัฒนาได้มากขึ้น จะสามารถพบแพทย์
ที่ต้องการได้ ผ่านทางวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาด้่วยตนเอง
การเชื่อมโยงดูข้อมูลสุขภาพนี้ ยังเป็นการถ่ายทอดวิธีการรักษาของแพทย์เฉพาะทาง
ให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถให้การรักษาต่อได้ทันที ถ้าไม่มีอาการผิดปรกติ
และ จะส่งพบแพทย์เฉพาะทางทางวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้เมื่อมีปัญหา
ตัวชี้วัด สาธารณสุขมูลฐาน ตัวที่ ๔ สถานบริการต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ
มีวิธีการทำได้ด้วยการให้ทุก ร.พ.ต้องได้รับใบรับรองคุณภาพจาก
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์กรมหาชน (Health Acceditation:HA)
http://www.ha.or.th/king2009.asp
วิธีการคือ ให้ สถานพยาบาลเขียนนโยบาย ของสถานบริการ ขึ้นมาให้
สถาบัน ฯ ให้การรับรองว่าครอบคลุมการเป็นสถานบริการคุณภาพได้ ตัวอย่าง
ร.พ.พนมสารคาม ที่ทำงานอยู่ มีนโยบายว่า
"เราจะธำรงไว้ซึ่งการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และ มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาระบบบริการ และ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ตามมาตรฐานสากล ภายใต้
การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม"
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ส.ค.๒๕๔๗
เมื่อได้นโยบายคุณภาพ ร.พ.แล้วให้ทุกหน่วยงานในสถานพยาบาล จะต้องเขียน
เอกสารวิธีให้บริการของหน่วยงานตนเอง ตามนโยบาย ร.พ.คุณภาพข้างต้น
เมื่อเขียนเอกสาร แล้ว ถ้าสถาบันฯตรวจสอบว่า ผู้รับบริการได้คุณภาพจริง
ก็จะรับเป็นเอกสารอ้างอิง ไว้ให้กรรมการตรวจสอบที่จะให้เจ้าหน้าที่ ร.พ.เอง
เลือกผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานว่าตามเอกสารอ้างอิงนี้ทุกประการ
โดยต้องเข้ามารับการอบรมเป็นกรรมการตรวจสอบ เมื่อผ่านการอบรมและผ่านการสอบ
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบจากสถาบัน ฯ แล้ว ก็จะให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบ
แต่ละหน่วยที่เขียนเอกสารคุณภาพขึ้นเองว่าทำตามโดยเคร่งครัด
ถ้าไม่ทำตามกรรมการจะให้ใบเตือนให้ทราบและแก้ไข ให้เป็นไปตามเอกสาร
เมื่อทำได้ตามเอกสารคุณภาพทุกจุดแล้วกรรมการตรวจสอบภายนอกจาก
สถาบัน ฯ จะเข้ามาตรวจสอบซ้ำ ถ้าเป็นไปตามเอกสารคุณภาพอ้างอิงทุกประการ
ก็จะให้ใบรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพให้ไว้เพื่อนำมาประกาศให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจ
ในคุณภาพ และ ใน ร.พ.คุณภาพ และ สถาบันรับรองฯ นี้ จะเข้ามา
ตรวจสอบตามระยะเวลา หรือ เมื่อเกิดมีปัญหา บริการ ได้ด้วย ทำให้รักษาคุณภาพ
ได้อย่างยั่งยืน ตาม แนวทาง ชา ที่ไม่เย็นชา ตามชื่อ คือ โครงการ
Sustainable Health Care and Health Promotion by Accreditation:SHA
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4376.0.html
นอกจากนี้ การเป็น ร.พ.คุณภาพ ต้องมีตู้รับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชน
ผู้ใช้บริการสามารถแสดงความคิดเห็นในการมาใช้บริการได้ สื่อสารแบบ ๒ ทาง
ถ้าเป็นคำชมก็จะนำไปบอกเจ้าหน้าที่หน่วยงานนั้นให้ภูมิใจในผลงานที่ดี
ถ้าเป็นคำติก็จะเร่งสอบสวนดำเนินการ พร้อม แจ้งให้ประชาชนทราบโดยเร็ว
ขอยกข้อข้างบนมาอธิบายเพิ่ม ใน ข้อ ค.ให้ประชาชนสามารถ เลือกเข้ารักษา ร.พ.
ที่พึงพอใจได้เองไม่มีการบังคับต้องรักษา ตามที่ระบุในบัตร ไปที่อื่นต้องมีใบส่งตัว
ผมขอเสริมว่า
ผลดี
ของการที่ให้รักษา ร.พ.ที่พึงพอใจได้ คือ
๑.ลดงานเขียนใบส่งตัวให้แพทย์ และ ประชาชนไม่ต้องมารอขอใบส่งตัว
๒.คนไข้มีอำนาจต่อรองบริการ สามารถเลือก ร.พ.ที่บริการดี ภายในจังหวัดได้
๓.ร.พ.แต่ละแห่ง ภายในจังหวัด ต้องแข่งขันกันด้านประสิทธิภาพ และ บริการ
เพื่อผูกใจคนไข้ ให้มาใช้บริการ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพแต่ละ ร.พ.
ผลเสีย
ที่กลัวว่าการรักษาได้ตามใจที่คนไข้เลือก จะตะเวนหา ร.พ.หลายแห่ง
ทำให้ เปลืองยา และ เพิ่มงานให้ทุก ร.พ.ที่ต้องรักษาซ้ำซ้อน แต่เมื่อ ทุก ร.พ.
มาเป็นเครือข่ายออนไลน์ เหมือน ธนาคารออนไลน์ จะรู้ว่าได้ว่า ผู้ป่วยไปรักษา
ที่ใดมาบ้าง ให้การรักษาอย่างไร ทำให้รักษาต่อได้ทันที
ถ้าจะใช้ยาเดิม ก็ไม่ต้องให้เพิ่ม เพราะ รู้ว่ามียาแล้ว
การใช้วิดิโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อช่วยรักษาทางไกลนั้นในต่างประเทศใช้กัน
โดย บริษัทโพลีคอมพ์ อิงค์ จัดทำขึ้น โรงพยาบาลที่บริษัทโพลีคอมพ์อิงค์ เข้าไป
แนะนำ ได้แก่
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ
และ เร็วๆ นี้มี
แผนไปพบผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข
ในประเทศภูมิภาคเอเชีย ที่นำระบบเทเลเฮลธ์ไปใช้ตามโรงพยาบาลแล้ว ได้แก่
อินเดีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฮ่องกง ดูข่าวเต็มได้ที่เวบ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20091010/81079/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%9E..html
รัฐทุ่มงบ พัฒนาสถานีอนามัยเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล อ่านข่าวทั้งหมดได้ที่
http://news.sanook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-5-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95-822028.html
นำบทที่จะไปพูดที่ สถานีวิทยุชุมชน เมืองใหม่ พนมฯ ๑๐๐.๗๕ ซึ่งถือเป็นการ
จุดประกายความรู้ ด้าน ระบบสุขภาพของประเทศ ที่จะปฏิรูปให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้า
โดย ให้ความรู้เป็น ด้านที่ ๑ ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพื่อให้เกิดอีก ๒ ด้าน คือ
ด้านที่ ๒ เกิดวัฒนธรรม ใช้แพทย์ประจำครอบครัว เป็นแพทย์ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ
และ ด้านที่ ๓ ภาครัฐ โดยกระทรวงสาธารณสุข ออกกฏระเบียบให้เกิดขึ้น เหมือน
ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ที่ใช้ แพทย์เวชปฏิบัติ เป็นหลัก ในการดูแล
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4
อภิสิทธิ์เเนะ นำเข้าเเพทย์ต่างชาติเเก้ไขเเพทย์ขาดเเคลน
คมชัดลึก : เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 14 ม.ค. ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น นำ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะ เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อชี้แจงโครงการพัฒนาโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นศูนย์กลางการบริการรักษาพยาบาลของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
นายกรัฐมนตรีได้สอบถามข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาโรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯ พร้อมกล่าวปรารภถึงการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลว่า หากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯ จะดำเนินการออกนอกระบบราชการก็จะช่วยให้มีการบริหารจัดการคล่องตัวขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ที่ออกนอกระบบราชการไปแล้วและมีการดำเนินงานบริหารจัดการที่คล่องตัวมาก
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาบุคลากรแพทย์ที่ขาดแคลนของโรงพยาบาลรัฐ เนื่องจากภาคเอกชนดึงบุคลากรแพทย์จากภาครัฐไปทำงานให้กับโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากว่า
ควรมีการเปิดเสรีให้มีการนำแพทย์ชาวต่างชาติ เข้ามาให้บริการรักษาเฉพาะผู้ป่วยชาวต่างชาติในไทยได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ได้ระดับหนึ่ง และ จะทำให้เกิดการแข่งขันการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ พร้อมกับช่วยลดต้นทุนให้กับโรงพยาบาล ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว ก็ต้องได้รับการยอมรับจากบุคลากรแพทย์ของไทยด้วย
นำมาจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20100114/44678/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99.html
ผมมองว่า ถ้าจัดระบบให้ถูกต้อง วางคนให้ตรงกับงาน แพทย์ครอบครัว หรือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่้วไป(ชื่อเดิม) เป็นแพทย์ที่รักษาได้เกือบทุกโรค ประมาณ 90% รักษาได้ มีเพียงส่วนน้อย ไม่ถึง 10% เกินความสามารถก็ส่งต่อไปรักษากับแพทย์เฉพาะทาง และ ดูแล ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ที่แพทย์แต่ละคน เป็นแพทย์ประจำ พื้นที่ เมื่อป่วยเล็กน้อย รักษา ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ใกล้บ้าน มีพยาบาลเวชปฏิบัติ มีความสามารถรักษาพยาบาลได้ เกินความสามารถก็ปรึกษากับแพทย์ที่รับผิดชอบทางโทรศัพท์มือถือได้ และ แพทย์ออกตรวจด้วยตนเอง ร่วมกับการไปตรวจทางวิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ ตามความเหมาะสม
เมื่อป่วยเกินความสามารถแพทย์ทั่วไป ซึ่งมีอยู่น้อย ต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ที่ ร.พ.อำเภอ มีอยู่เพียง สาขาละ 1 คน ไม่สามารถตั้งแผนกแยกตรวจได้ต้องตรวจแบบแพทย์ทั่วไปด้วย ที่ทำให้เครียด ลาออกกัน ควรให้ย้าย กลับไปอยู่ในแผนกเฉพาะที่เรียนเฉพาะทางมา แล้วให้แพทย์จบใหม่ ประมาณปีละ 2,000 คน รักษาได้เกือบทุกโรค มาแทน และ ร.พ.จังหวัด ได้แพทย์เ่ฉพาะทางเพิ่มขึ้นทันทีด้วย จะเป็นการ ใช้คนให้ตรงกับงาน:
Put Right Man to the Right Job
เมื่อทำแล้ว แพทย์ยังไม่พอ เร่งผลิตเองก็ไม่ทัน จึงควรรับแพทย์ต่่างชาติ เข้ามาให้ดูแลเพิ่มต่อไป
บันทึกการเข้า
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
Cmadong Chula
|
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
|
ห้องสุขภาพและความงาม
| หัวข้อ:
"เนื้อหาสรุปที่ให้ความรู้ เรื่อง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ทางวิทยุชุมชน ๑๐๐.๗๕ mhz"
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
-----------------------------
=> ข่าวประชาสัมพันธ์ของสมาคม
=> ข่าวประกาศทั่วไป
=> งานคืนสู่เหย้า ๒๕๕๗
=> โครงการรินน้ำใจเพื่อหอพักนิสิตจุฬาฯ
=> กิจกรรมเพื่อสังคม
=> กิจกรรมวิชาการ
=> กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
=> กิจกรรมชาวหอ
=> กิจกรรมแกนนำและกิจกรรมรุ่น
=> ข้อบังคับสมาคม และกฎ ระเบียบ
=> การประชุมของสมาคม
-----------------------------
เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น
-----------------------------
=> เรื่องนี้มีพี่บอก
=> โบราณคดี Cmadong
=> ปฏิทินนัดหมายชาวหอ
=> ห้องซีมะโด่งสัมพันธ์
=> ซีมะโด่งเพื่อสังคม
=> ห้องสนทนาประสาพี่น้อง
=> ห้องชาวค่ายหอ
=> ห้องชมรมแสงเสียง
=> ห้องธรรมะ...สาธุ....
=> ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
=> ห้องแสงทองของชีวิต
=> ห้องสุขภาพและความงาม
=> ห้องท่องเที่ยวไร้พรมแดน
=> ห้องซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน
-----------------------------
เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย
-----------------------------
=> รุ่น 2507
=> รุ่น 2510
=> รุ่น 2511
=> รุ่น 2513
=> รุ่น 2514 รุ่นนี้มหาอำนาจ
=> รุ่น 2515
=> รุ่น 2516
=> รุ่น 2517
=> รุ่น 2518
=> รุ่น 2519
=> รุ่น 2520
=> รุ่น 2521
=> รุ่น 2522
=> รุ่น 2523
=> รุ่น 2524
=> รุ่น 2525
=> รุ่น 2526
=> รุ่น 2527
=> รุ่น 2528
=> รุ่น 2529
=> รุ่น 2530
=> รุ่น 2531
=> รุ่น 2532
=> รุ่น 2533
=> รุ่น 2534
=> รุ่น 2535 ซี้ปึ๊ก
=> รุ่น 2536
=> รุ่น 2537
=> รุ่น 2538
=> รุ่น 2539
=> รุ่น 2540
=> รุ่น 2541
=> รุ่น 2542
=> รุ่น 2543
=> รุ่น 2544
=> รุ่น 2545
=> รุ่น 2546
=> รุ่น 2547
=> รุ่น 2548
=> รุ่น 2549
=> รวมรุ่น 90-96 รหัส 2550-2556
-----------------------------
ข่าวประกาศ
-----------------------------
===> Countdown งานคืนสู่เหย้า 94 ปีซีมะโด่ง : เสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
===> "รวมภาพงาน" ผูกพัน วันเก่า ๙๔ ปี ซีมะโด่ง
ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์ " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน" <))))><
กำลังโหลด...