Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« เมื่อ: 05 มีนาคม 2553, 07:49:04 » |
|
ขอนำเรื่อง ที่องค์การสากลระดับโลก ด้านสุขอนามัย คือ
องค์การอนามัยโลก
ได้มีการประชุมเพื่อให้เกิดสุขภาพดีของพลโลก เมื่อปี 2529 ได้ข้อสรุป
งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html?language=thai-utf8;language=english
ณ. เมืองออตตาวา ประเทศคานาดา ได้ผลสรุป ผ่านมาปี พ.ศ.2553 24 ปี แล้ว แต่
ตัวชี้วัด 4 ตัว ความก้าวหน้าของงาน สาธารณสุขมูลฐาน ยังไม่สำเร็จ
1. ประชาชน ยังขาดสิ่งจำเป็นพื้นฐาน จปฐ http://info.pattaya.go.th/km/socialwelfare/DocLib8/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%20(%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%90.).aspx
2.ประชาชน ยังไม่ร่่วมมือกับการมีสุขภาพดี
ประชาชน ยังคงไม่สร้างสุขภาพ ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ
http://health.kapook.com/view6623.html
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html
ยังคงเมาแล้วขับ เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเกิดอุบัติเหตุ รถจักรยานยนต์
ขอเสนอ ให้มีกฏหมาย ให้แพทย์สามารถตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ได้
ถ้าแพทย์สงสัยว่า เมา รักษาจนหายดีแล้ว
ถ้ามากกว่า ค่ามาตรฐาน ต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัม % ให้ตำรวจจราจร มา
ดำเนินคดีเมาแล้วขับด้วย
ผลจะทำให้คนไม่กล้าขับยานพาหนะ เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ เพราะว่า
ถ้าเกิดอุบัติเหตุ รักษาหายแล้วถ้าผิดกฏหมายจะถูกลงโทษ เมาแล้วขับด้วย
ประชาชนยังไม่ดูแลสุขภาพ ปล่อยให้อ้วนลงพุง ซึงทำให้เจ็บป่วยตามมาหลายโรค
ขอเสนอ ให้ ออกกฏกระทรวงสาธารณสุข ว่า คนที่ไม่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ ปล่อยให้อ้วน
สิทธิในการรักษาฟรี ควรร่วมจ่ายค่ารักษาด้วย 20% ใช้ดัชนีมวลกายเป็นตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพ
ถ้าดัชนีมวลกายเกินปกติ จากการวัด รอบเอว ระดับสะดือ ไม่แขม่วท้องปล่อยให้เป็นปกติ
ผู้ชายรอบเอว ไม่ควรเกิน 90 ซม. หรือ 36 นิ้ว
ผู้หญิงรอบเอว ไม่ควรเกิน 80 ซม. หรือ 32 นิ้ว
ถ้าไม่จ่าย ให้มาขอให้แพทย์เซ็นต์ฟรี ได้ จะทำให้คนอ้วน มีปัญหาในการเข้ารับการรักษา
ถ้าอ้วน จะต้องมีขั้นตอนเสียเงิน 20 % หรือ ต้องมารอเข้าพบแพทย์เพื่อขอเซ็นต์ฟรี
ถ้าไม่อยากลำบากเช่นนี้ จะได้เข้า
ขบวนการไร้พุง ของ ชมรมสร้างสุขภาพ ประจำหมู่บ้าน หรือ ของ ร.พ.
เพื่อลดพุงให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
3.การเข้าถึงบริการสุขภาพ ที่สะดวก ยังไม่สำเร็จประชาชนเมื่อป่วยไข้ยังคง
ต้องมุ่งหน้ามารวมรักษากันที่ ร.พ.อำเภอ และ มาต่อคิวตรวจกันแน่น มาเช้ากลับเที่ยง หรือ เย็น
แต่ปัจจุบันรัฐบาลท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ทุ่มงบประมาณ 5 หมื่นล้าน
เพื่อพัฒนาสถานีอนามัย ทั้งหมดที่มีอยู่ทุกตำบลแล้วให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
มีแพทย์ ร.พ.อำเภอ รับผิดชอบ ประจำแต่ละแห่ง เพื่อไปตรวจเอง หรือ รับปรึกษาจากพยาบาล
เวชปฏิบัติ ที่อยู่ประจำ อย่างน้อย 2 คนเพื่อ สลับกันอยู่เวรนอกเวลาได้ และ รับปรึกษาในเวลา
ราชการ นอกเวลาราชการปรึกษาแพทย์เวร ร.พ.อำเภอ ที่รับค่าเวร ร.พ.อำเภอ และ เบี้ยเลี้ยง
เหมาจ่าย ต่อเดือนแล้ว 1- 5 หมื่นบาท ตามอายุราชการ อยู่แล้วให้รับผิดชอบ ร.พ.สร้างเสริม
สุขภาพตำบลด้วย ทางโทรศัพท์มือถือ
อดีต รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข พณฯ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
ผู้กล่าวถึงเทเลเมดดิซิน สมัยดำรงตำแหน่ง รมต.ว่าการฯ
ในปัจจุบัน เทเลเมดดิซิน มีเทคโนโลยี่ดีขึ้น ราคาถูกลงในการจัดทำ
มีโปรแกรม Skype ใช้ฟรี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ให้แพทย์มาตรวจทางออนไลน์ ที่
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ใกล้บ้าน ไม่ต้อง มา ร.พ.อำเภอ พบแพทย์ใกล้บ้านได้
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4044.0.html
4.ร.พ.ที่ให้การรักษาต้องมีคุณภาพด้วย
ปัจจุบัน มีสถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ.: สรพ.
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=18&group=12&gblog=2
มาพัฒนาและรับรองคุณภาพให้เขียนเอกสาร การดำเนินการให้ สรพ. ตรวจสอบ
ถ้าเห็นด้วยว่ามีคุณภาพจริงก็จะให้การรับรองเป็นเอกสารอ้างอิง ไว้ให้กรรมการตรวจสอบ
ที่จะมีกรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.ตรวจสอบกันเองก่อน
ถ้าผ่านการตรวจสอบกันเองแล้ว กรรมการตรวจสอบภายนอก จาก สรพ.จะเข้ามาตรวจซ้ำ
ถ้าปฏิบัติเหมือนเอกสารคุณภาพ อ้างอิง ก็จะให้ใบรับรองคุณภาพ ร.พ.ไว้ให้
ประกาศให้ประชาชนทราบ การเป็น ร.พ.คุณภาพ
ตลอดเวลาที่มีการติดป้ายประกาศ จะต้องมีการตรวจสอบภายใน เพื่อรับรองคุณภาพป้ายฯ
ให้มีคุณภาพตลอดที่ป้ายประกาศอยู่
หมายเหตุ กรรมการตรวจสอบภายใน ต้องได้รับการอบรม และ สอบผ่านการเป็นกรรมการตรวจสอบ
จากสถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ.ก่อน ได้ใบประกาศเป็นผู้ตรวจสอบภายใน จึงจะทำหน้าที่ได้
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
แทรกเรื่อง ที่ 1
ข่าวการเมือง แก้เจ็บ จะนำมาเพิ่มที่กระทู้นี้ไปเรื่อย ๆ สนใจติดตามอ่านได้ ครับผม
ทันโรคทันเหตุการณ์กับแพทยสภา น.ส.พ.แนวหน้า ประจำวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=203048
แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา
รัฐบาลได้ตราพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ สำคัญคือ
มุ่งหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
โดยพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯนี้ ได้กำหนดให้มี
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้น โดยให้กองทุนนี้ ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของประชาชน และให้
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้ดูแลรักษากองทุนและจ่ายค่าบริการ ทางการแพทย์และสาธารณสุขให้แก่ประชาชน โดยให้มี
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้วางกฎระเบียบในการจ่ายเงิน ตามบทบัญญัติในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545
โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และ การทำงานของคณะกรรมการอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
รัฐมนตรีไม่สามารถสั่งการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ต้องทำตามมติของคณะกรรมการเท่านั้น
ในส่วนของแพทยสภา ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ให้มีหน้าที่
ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา 7(1) และ
ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และสาธารณสุขของประ เทศ ตามมาตรา 7(5)
ได้สังเกตเห็นว่า หลังจากการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประ กันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 แล้ว มีจำนวนแพทย์ลาออกจากราชการมากขึ้นมีปัญหาการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น ประชาชนร้องขอเงินช่วยเหลือเบื้องต้นมากขึ้น รวมทั้งมีการนำคดีความไปฟ้องศาลมากขึ้น จนถึงกับมีการตัดสินให้มีการจำคุกแพทย์ในข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาท เนื่องจากขาดแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญด้านวิสัญญี ขาดแคลนจำนวนแพทย์ที่จะให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน แพทย์ด้องทำงานหนัก มีชั่วโมงทำงานถึง สัปดาห์ละ 120 ชั่วโมง แต่มีเวลาตรวจผู้ป่วยเพียงคนละ 2-4 นาที ซึ่งทำให้ประชาชนเสี่ยงอันตรายจากความผิดพลาดเพราะหมอไม่มีเวลาใช้ดุลพินิจอย่างเพียงพอในการรักษาผู้ป่วย
แพทยสภาจึงจัดสัมมนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหลักประกันสุขภาพ การบริหารงบประมาณค่าใช้จ่ายในการให้หลักประกันสุขภาพ บุคลากรที่ต้องให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชน สภาวิชาชีพที่ต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องจัดบริการสาธารณะด้านการแพทยและสาธารณสุขให้มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550มาตรา 51 และ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข และวัฒนธรรมตามมาตรา 80(2)และมาตรา 82
แพทยสภาหวังว่า การสัมมนาครั้งนี้ จะได้รับข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จากทั้งวิทยากร และผู้เข้าร่วมสัมมนา และน่าจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และระบบหลักประกันสุขภาพของประชาชนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550
http://www.naewna.com/news.asp?ID=203048
พบข่าวนี้แต่ไม่บอกสถานที่ วันเวลา จัดสัมนาที่น่าสนใจนี้ ถ้าผมพบข่าว หรือ ใครพบข่าวช่วยนำมาโพสต์ต่อด้วยครับผม
พบข่าวนี้แล้ว กำหนดการสัมมนาแปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา ความสำเร็จและความเสี่ยง
ณ. ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วันศุกร์ ที่ 12 มีนาคม 2553
การสัมนาผ่านไปแล้ว ติดตามข่าวนี้ได้จากเวบไทยคลินิคดอทคอม ข้างล่าง
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1268120788
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
แทรกเรื่อง ที่ 2
ข่าวการเมือง แก้เจ็บ จะนำมาเพิ่มที่กระทู้นี้ไปเรื่อย ๆ สนใจติดตามอ่านได้ ครับผม
การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ พึ่งระบบPrimary health careมากประมาณ90%ของงาน
สถานีอนามัยที่สร้างไว้แล้วทุกตำบล สามารถพัฒนาเป็นสถานพยาบาลใกล้บ้านเป็นสถานที่ทำงานปฐมภูมิ ของ แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เป็นการรักษาเมื่อเริ่มป่วยสามารถเข้าพบแพทย์ได้ทันที จะลดการเจ็บป่วยหนัก หรือ ร้ายแรงได้ ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ ลงได้เหมือนอารยประเทศ เช่น อังกฤษ และ ฟินแลนด์ ทำสำเร็จเป็นตัวอย่างให้เห็นแล้ว ตามที่ ท่าน อจ.ศ.น.พ.พินิจ กุลวณิชย์ ไปดูงานมา
.........................................................
บทความนี้ ผมในฐานะ แพทย์จุฬาฯ รุ่น 30 ลูกศิษย์ ท่านอาจารย์ พินิจ กุลละวณิชย์ เคยรับฟัง ท่าน สอน เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร เมื่อมาได้พบ เรื่อง ที่ท่านเขียนลงคอลัมภ์ในหนังสือพิมพ์ มติชน ก็เก็บข่าวไว้ในเครื่องคอมพ์เพื่อนำมาอ้างอิง วันนี้จึงนำมาลงเผยแพร่ และ เรียนขออนุญาตท่านอาจารย์พินิจ มาด้วยความเคารพอย่างสูง ขอนำมาลง โดยยังไม่ได้ติดต่อกับท่าน หวังว่า ท่านอาจารย์คงไม่ว่า อะไร เพราะ ว่าเป็นบทความที่เป็นประโยชน์ต่อวงการสาธารณสุขของประเทศ และ เกี่ยวข้องกับงานที่ผมรับผิดชอบ ในตำแหน่งหัวหน้า งาน "เวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน" อยู่ จึงได้นำมาเผยแพร่ ให้ผู้เข้ามาในเวบบล็อค เวชศาสตร์ครอบครัว และ ชุมชน เนื้อข่าวมีดังต่อไปนี้
...........................................................................
น.พ.พินิจ กุลละวณิชย์ เลขาธิการแพทยสภา ปี 2548 ..........................
"แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป "ของอังกฤษ คือ "แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว"ของไทย ที่เป็นแพทย์ทั่้วไปเรียน จบแพทย์ 6 ปี สามารถมาดูแลด่านแรก ที่ ร.พ.อำเภอ และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลได้ทันที ไม่ต้องไปเรียนต่อเฉพาะทาง ซึ่่ง ร.พ.ด่านแรกทั้ง 2 ข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีแพทย์เฉพาะทางมาอยู่เลย เพราะ การมีแพทย์เฉพาะทางทำให้แพทย์เครียดเพราะ ทำงานไม่ตรงสาขา ต้องรักษาแบบแพทย์ทั่วไปทั้งหมด
ในคอลัมภ์ ส่องโลกส่องสุขภาพ กับ แพทยสภา จาก น.ส.พ.มติชน วันศุกร์ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2548 มีใจความดังนี้
เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้เดินทางไปดูงานทางด้าน Primary health care หรือ การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ กับ กรรมการบริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. หรือ โครงการ”30บาท”จริงๆแล้ว ผมไม่ได้เป็นกรรมการบริหารของ สปสช.แต่ท่าน นายกแพทยสภา ศ.เกียรติคุณ น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา เป็น แต่ท่านไปไม่ได้เลยให้ผมไปแทนในนามของแพทยสภา
จาการดูงานอาจกล่าวได้โดยสรุปว่าทั้ง 2 ประเทศ พึ่งระบบ Primary health care มาก กล่าวคือ 90% ของการดูแลสุขภาพของประชาชนจะอยู่ที่การป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ การดูแลการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ซึ่งงาน 90% นี้จะขึ้นอยู่กับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป(General practisioner หรือ GP.), พยาบาล และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่างๆ
ประชาชนทุกคนถ้ามีปัญหาทางด้านสุขภาพจะต้องไปหา GPถ้า GPแก้ปัญหาไม่ได้จึงจะส่งต่อไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล ประชาชนทุกๆ คนจะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับ GP ฉะนั้น แพทย์ GP1คนจะมีผู้ป่วยหรือ ประชาชนประจำเป็นพันคน
การทำงานของระบบ Primary health care ถือ ว่าสำคัญมากเป็นการสกัดกันไม่ให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น แต่ถ้ามีกรณีฉุกเฉินก็ไปโรงพยาบาลได้เลย สมัยก่อนที่อังกฤษ GPอาจทำงานคนเดียว แต่ปัจจุบันนี้ GPจะรวมตัวกัน เป็นกลุ่ม อาจจะมี 6-10 คน มีพยาบาลเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมแล้วอาจมีถึง 30-40 คนทำงานค่อนข้างสบาย เพราะผู้ป่วยไม่หนัก
บ้านเราพยายามมีระบบ GP แต่ยังทำไม่ครบวงจร ถ้าจะทำให้มีประสิทธิภาพ จะต้องทำคล้ายๆระบบอังกฤษ ฟินแลนด์ คือ ประชาชนทุกคนต้องไปขึ้นทะเบียนกับแพทย์ GPท่านหนึ่งท่านใด เงินเดือน GPต้องดีพอ แต่ปัจจุบันนี้ GPของเราได้เงินเดือนเท่าแพทย์อื่น ถ้าทำราชการ และ ต้องไปหารายได้พิเศษเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยมักชอบไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า
แต่เขาก็ยังให้ความสำคัญกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังต้องมีมากพอ ยังต้องใช้งบประมาณมาก เพราะผู้ป่วยหนักๆ จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ใช้เครื่องมือที่แพงในการตรวจ ยาที่แพง และ งบประมาณในการฝึกผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ
ถ้าเราทำตามฝรั่งต้องทำให้ครบวงจร แต่ต้องเอาเฉพาะส่วนที่ดี เหมาะสมกับบ้านเราเท่านั้น และ นำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกับสภาพของบ้านเรา
น.พ.พินิจ กุลละวณิชย์ เลขาธิการแพทยสภา ปี 2548
นำมาจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
แทรกเรื่อง ที่ 3
ข่าวการเมือง แก้เจ็บ จะนำมาเพิ่มที่กระทู้นี้ไปเรื่อย ๆ สนใจติดตามอ่านได้ ครับผม
พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ เพื่อให้เกิด งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter เพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า
ดู งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter ได้ที่
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html
"จุรินทร์”ยันหนุนร่างพรบ.วิชาชีพสาธารณสุข คมชัดลึก : เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 53 เวลา 9.00 น.
เครือข่ายวิชาชีพสาธารณสุขกว่า 150 คน นำโดยนายประสพ สารสมัคร สาธารณสุขอำเภอม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี แกนนำเครือข่ายวิชาชีพสาธารณสุข เข้าพบ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอความชัดเจนในการผลักดันร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข พร้อมขอให้มีการประชุมร่วมสภาวิชาชีพเพื่อร่วมพิจารณาร่างกฎหมาย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า การผลักดันร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนที่ตนได้ประกาศในช่วงเข้ารับตำแหน่งว่าจะผลักดันให้สำเร็จ
ดังนั้นจึงต้องให้เวลาตนในการดำเนินการก่อน และพวกท่านต้องรอคอยตามความเป็นจริง แต่ยืนยันว่าจะไม่ล่าช้าเพราะตนมาอยู่ที่นี่ในเวลาที่จำกัด ทั้งนี้เมื่อประกาศเป็นนโยบายไปแล้ว ต้องอยากให้สัมฤทธิ์ผล จึงอยากให้สบายใจ
ส่วนที่ร่างกฎหมายยังมีข้อท้วงติง 1-2 ข้อนั้น ตนอยากให้แก้ไข ไม่อยากให้มีในเนื้อหากฎหมาย เพื่อร่างกฎหมายจะได้ผ่านการพิจารณาในสภาฯ ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะตกไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ตนได้มอบให้
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รีบดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข ที่เป็นของกระทรวงแล้ว
“ในระหว่างนี้ขอให้ติดตามดูว่า ผมจะผลักดันร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขอย่างไร แต่ที่แน่ๆ พวกท่านกับไปบอกกับพวกเราได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุน” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า จากนี้ไปหัวใจงานสาธารณสุขจะอยู่ที่ชุมชน เข้าไปสู่ครอบครัว ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งทำงานในทุกพื้นที่จะต้องเข้ามามีบทบาททำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพ คุ้มครองผู้บริโภคตามนโยบาย 10 ข้อที่ตนเร่งรัด ดังนั้นจึงอยากให้สบายใจว่า รมว.สาธารณสุขจะให้ความสำคัญกับพวกท่านมากขึ้น เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
ด้าน นายประสพ กล่าวภายหลังพบ รมว.สาธารณสุข ว่า รู้สึกพอใจกับคำตอบที่ได้รับ ซึ่ง รมว.สาธารณสุขได้รับปากที่จะผลักดันร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข และได้กำหนดเป็น 1 ในนโยบาย 10 ข้อแล้ว ซึ่งทางสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขจะตั้งคณะกรรมการเข้าไปให้ข้อมูลและร่วมพิจารณาในอีก 2 สัปดาห์หน้านี้ โดยการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย ซึ่งจะมีตัวแทนจากสภาวิชาชีพต่างๆ มาประชุมร่วมกัน
นำมาจาก น.ส.พ.คมชัดลึก วันพุธ ที่ 27 ม.ค.2553
http://www.komchadluek.net/detail/20100127/46212/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E2%80%9D%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82.html
ข่าวเกี่ยวกับ พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข กับ พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ ที่จะเสริมงานสาธารณสุขมูลฐานให้สำเร็จได้
เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยทั่วประเทศนับหมื่นบุกกรุง ดันร่าง พ.ร.บ.2 ฉบับ พัฒนามาตรฐานคน และ มาตรฐานการทำงาน สุดทนสภาพ งานหนักเงินน้อยด้อยศักดิ์ศรี เหมือนพลเมืองชั้นสองของ สธ. นัดรวมพล 19 สิงหานี้ ที่ลานพระบรมรูปฯ
น.ส.พ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดี ที่ 13 สิงหาคม 2552 :
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เปิดเผยว่าได้เข้าพบ
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วยกรรมการสมาคม เพื่อมอบร่าง
พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ ที่สมาคมผลักดันให้ผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้
นายวิทยากล่าวว่า เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก และได้มอบหมายให้นายพิเชฐ พัฒนโชติ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข และฝ่ายกฎหมายของกระทรวง ไปศึกษาและยกเป็นร่างกระทรวงขึ้นมาประกบเพื่อเสนอเป็นร่างของรัฐบาลต่อไป
นายไพศาลกล่าวว่า การเคลื่อนไหวผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับเป็นมติจากการประชุมสัมมนาสมาชิกสมาคม ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยทั้ง 4 ภาค ในหัวข้อ
“95 ปี สถานีอนามัย :ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง”
ได้ข้อสรุปว่า จะร่วมกันผลักดันร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับให้ผ่านเป็นกฎหมายให้ได้ เพราะจะช่วยทำให้ได้
ยกระดับมาตรฐานการทำงานของบุคลากรในวิชาชีพสาธารณสุขทั้งในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิความเสมอภาคกับบุคลากรด้านอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข และ การทำงานมีคุณภาพมากขึ้น
“สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับที่เสนอ คือ
เรื่อง การพัฒนามาตรฐานคนทำงาน กับ มาตรฐานงานดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งประโยชน์ทั้งหมดก็จะตกอยู่กับสุขภาพโดยรวมของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการนั่นเอง
เพราะเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย คือ บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขที่ทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านมากที่สุด แต่กลับได้รับการเหลียวแลน้อยที่สุด ทั้งงบประมาณ ทรัพยากรต่างๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ จนปัจจุบันพูดได้เลยว่าเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยขาดขวัญและกำลังใจในการทำงานอย่างมาก รู้สึกเหมือนถูกปฏิบัติราวกับเป็นพลเมืองชั้นสองของกระทรวงสาธารณสุข” นายไพศาลกล่าว ทั้งนี้ ในวันที่ 19 สิงหาคม นี้ จะมีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจากทั่วประเทศประมาณ 1 หมื่นคน มาร่วมประชุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจะมารวมตัวแสดงพลังประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลักดันร่างพ.ร.บ.ทั้งสองนี้ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้รัฐบาลและพรรคการเมืองทุกพรรคได้รับทราบถึงความต้องการอย่างแท้จริง แม้ว่าขณะนี้จะมีความพยายามจากผู้บริหารระดับสูงขัดขวางการเดินทางมาชุมนุม แต่ยืนยันว่า การแสดงพลังในวันที่ 19 สิงหาคม จะต้องมีอย่างแน่นอน
นำมาจาก น.ส.พ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดี ที่ 13 ส.ค.2552
http://www.komchadluek.net/detail/20090813/24114/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E.%E0%B8%A3.%E0%B8%9A.%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E19%E0%B8%AA.%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html
ดังนั้น พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ นี้จะเสริมด้านบุคลากร ทุน และ วิธีดำเนินการ ใน 3 M : Man , Money , Management เพื่อพัฒนา เป็น หัวหอกในการผลักดัน
งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html
ให้สำเร็จ เพื่อประชาชน จะได้มีสุขภาพแข็งแรง ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ที่ ประชุม ที่ประเทศคานาดา เมื่อ ปี 2529 หรือ 24 ปีมาแล้ว
สุขภาพดีถ้วนหน้า นี้ แม้จะถึงช้า ก็ ดีกว่าไม่ถึงเลย จริงไหมพวกเรา
OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO
แทรกเรื่อง ที่ 4
ข่าวการเมือง แก้เจ็บ จะนำมาเพิ่มที่กระทู้นี้ไปเรื่อย ๆ สนใจติดตามอ่านได้ ครับผม
กว่าจะได้ป้าย ร.พ.คุณภาพ จาก สรพ.มาประกาศและมีประโยชน์อย่างไร
ได้พบกระทู้ "ทางดีไม่มีคนเดิน" ในเวบ
http://www.budpage.com/forum/index.php
มีเนื้อหาว่า "ทางดี" หรือ คำสอนที่มุ่งให้
"เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน"
มีในทุกศาสนา แต่ยังไม่สามารถทำให้เกิดเป็นจริงได้ ยังมีการเบียดเบียนเอาเปรียบกันดังคำที่ว่า
"ปลาใหญ่ กิน ปลาเล็ก"
จึงมีผู้คิด แนวทางเพื่อทำให้คนต้องปฏิบัติตามแนวทาง
"ทางดีที่ไม่มีคนเดิน"ให้เป็นรูปธรรม ปฏิบัติได้จริง โดย มี 2 แนวคิด คือ
แนวคิดที่ 1 เรื่อง "วงจรคุณภาพของเดมมิงส์"และ
แนวคิดที่ 2 เรื่อง ”การมีป้ายรับรองคุณภาพ”
แนวคิดที่ 1 วงจรคุณภาพของเดมมิงส์ นำเสนอโดย
William Edwards Deming October 14, 1900–December 20, 1993 was an American statistician, college professor
ดูประวัติของท่านได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/W._Edwards_Deming
ดู เรื่องวงจรคุณภาพที่ เวบ Balanced Scorecard Institute ที่
http://www.balancedscorecard.org/bkgd/pdca.html
เป็นกุศโลบายที่จะทำให้การดำเนินการมีคุณภาพ โดย มี
ขบวนการ ดำเนินตามวงจรคุณภาพ ดังนี้
1. การวางแผน PLAN ต้องหา...ข้อมูล บุคคล ความรุ้ และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาร่วมวางแผน
2. การดำเนินการตามแผน DO
3. การประเมินผลระหว่างดำเนินงาน CHECK และ
4. การแก้ไข ACT เมื่อไม่เข้าเป้าหมายของแผน เช่น มีอุปสรรค มีความรู้ใหม่ มีความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ ฯลฯ เพื่อแก้ไขแผน เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมายคุณภาพ
วงจรคุณภาพนี้ เปรียบ เป็น
ทางดี ที่ไม่มีคนเดิน จะทำให้มีีคนเดินได้ด้วย.....
แนวคิดที่ 2 เรื่อง ”การมีป้ายรับรองคุณภาพ”
โดย มีองค์กรอิสระภายนอก มาพัฒนา และ ให้ป้ายรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพ องค์กรนั้น คือ
สถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ.หรือ สรพ.
สามารถเข้าเวบสถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ. หรือ สรพ. ได้ที่
http://www.ha.or.th/
ทำไม ร.พ.ต้องมีป้ายรับรองคุณภาพ
1.เพื่อให้ได้รับเงินงบประมาณ จาก สำนักงานประกันสุขภาพ แห่งชาติ : สปสช.ได้ เพราะ สปสช.จะให้ประชาชนมาใช้บริการ ฟรีได้ ใน ร.พ.ที่ได้ป้ายประกาศการเป็น ร.พ.คุณภาพเท่านั้น
2.เพื่อให้มาตรฐาน ร.พ.คงที่แน่นอน เพราะ มีแนวทางดำเนินการ ตามเอกสารอ้างอิงคุณภาพ แม้บุคลากร ที่ทำงานไม่อยู่ การทำงาน ของ ร.พ.ก็จะยังคงคุณภาพ เหมือนเดิม ตามเอกสารอ้างอิงคุณภาพ จาก สรพ.ตลอดไปที่มีป้ายรับรองประกาศอยู่
3. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความพึงพอใจในบริการ โดยเขียนแสดงคุวามคิดเห็น ลงตู้แสดงความคิดเห็นซึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่ ร.พ.ที่ได้ป้ายรับรองจะต้องมีเพื่อนำข้อคิดเห็นที่ดี นำมาพิจารณา ร่วมกับ สรพ.เพื่อแก้ไขเอกสารอ้างอิงคุณภาพ ให้ประชาชนพึงพอใจมากขึ้นได้
4.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ร.พ.มีแนวทางที่แน่นอนในการทำงานโดยมีเอกสารคุณภาพ เป็นเส้นทางให้เดิน
5. เมื่อมีการฟ้องร้อง ผู้ตัดสินการฟ้องร้อง จะได้ใช้เอกสารคุณภาพ ของ ร.พ.คุณภาพ มาใช้ตรวจสอบ ว่าทำตามแนวทางหรือไม่ เพื่อให้คำตัดสิน แนวทางการรักษาคุณภาพนี้ จึง เปรียบเป็น เสื้อเกราะปัองกันผู้ปฏิบัติงาน ที่ยึดมั่นแนวทางคุณภาพ
สรุป : ทางดีที่ไม่มีคนเดิน สามารถทำให้คนเดินได้ โดย ระบบคุณภาพ มีองค์กรภายนอก สรพ.มาพัฒนา และ รับรองคุณภาพองค์กรให้ ทำให้ทุกคนต้องเดินตามทางดี ที่เขียนเป็นเอกสารอ้างอิงอย่างเคร่งครัด ทำให้ทางดีที่ไม่มีคนเดิน เป็นทางที่จำเป็นจะต้องเดินเพื่อให้คงได้รับป้ายรับรองคุณภาพ ไว้ไม่ถูกยึดคืนนั่นเอง
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2553, 17:40:58 » |
|
ขอเชิญตรวจเอ็นไซม์ตับฟรี 18-22 พ.ค. 2553
FW: ตรวจเอ็นไซม์ตับฟรี 18-22 พ.ค. 2553 From: Charoenchai Taitilanunt (charoenchai.t@thaiairways.com) Sent: Tuesday, May 11, 2010 2:55:09 PM
มูลนิธิโรคตับมีกำหนดที่จะจัดโครงการ “ เรารักตับ ” ครั้งที่ 5
วันตับอักเสบโลก 19 พฤษภาคม 2553 มูลนิธิโรคตับ ร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ในจังหวัดหลักๆ ทุกภาคทั่วประเทศ ตรวจค่าเอ็นไซม์ตับ ( ALT) แก่ประชาชน
ฟรี ระหว่าง วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2553
นับแต่ปี 2551 เป็นต้นมา มูลนิธิฯ ได้จัดโครงการนี้ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ในภาคกลางและภาคตะวันออกมาแล้วรวม 4 ครั้ง มีโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำเข้าร่วม 45 แห่ง มีประชาชนรับการตรวจกว่า 8,000 คน และมีประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพนี้จากการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และ วิทยุจำนวนหลายล้านคน ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็ จเป็นอย่างสูง
เพื่อร่วมมือกันรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพตับอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิฯ จึงโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำทั่วประเทศ จัด
โครงการ “ เรารักตับ ” ครั้งที่ 5
โดยตรวจค่าเอ็นไซม์ของตับ ALT แก่ประชาชนฟรี จำนวน 30 คนต่อวัน
ในครั้งนี้มีโรงพยาบาลพันธมิตรเข้าร่วมรวม 53 แห่ง ใน 16 จังหวัดทั่วประเทศประกอบด้วย
โรงพยาบาลในจังหวัดกรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ราชบุรี สมุทรสาคร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี ภูเก็ต และสงขลา
เอ แอล ที ( ALT) อะลานีน อะมิโนทรานเฟอเรซ ( alanine aminotransferase)
ซึ่งเซลล์ตับผลิตขึ้นและปล่อยเข้าสู่เลือดของเราตลอดเวลา โรคตับในระยะต้น มักจะไม่แสดงอาการ แต่ ALT จะเป็นตัวที่ไว และสามารถบ่งบอกในเบื้องต้นว่า อาจมีการอักเสบของตับหรือมีการทำลายเนื้อตับมากกว่าปกติ
หากเรามีระดับค่า ALT สูงผิดปกติ คือ มากกว่า 40 IU/L
สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ การสืบหาสาเหตุที่ผิดปกตินี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที และสามารถป้องกันภาวะตับแข็งที่อาจตามมาได้
การตรวจวัดระดับ ALT เป็นเรื่องง่ายและไม่สิ้นเปลืองอย่างที่คิด แต่จะเป็นผลดีต่อการดูแลสุขภาพตับของท่าน ดังนั้นในการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป เราขอเชิญชวนให้ท่านตั้งคำถามว่า “ALT” ของฉันเป็นอย่างไร ?
ตารางรายชื่อโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ “ เรารักตับ ” ครั้งที่ 5
ท่านสามารถรับการตรวจ ALT ได้ที่โรงพยาบาล 53 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการ ดังรายชื่อต่อไปนี้
กรุงเทพฯ : กรุงเทพคริสเตียน , เกษมราษฎร์ บางแค , เกษมราษฎร์ประชาชื่น , เจ้าพระยา , เซนต์หลุยส์ , เซ็นทรัลเยนเนอรัล , เทพธารินทร์ , ไทยนครินทร์ , ธนบุรี , ธนบุรี 2 , นครธน , บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล , เปาโล เมโมเรียล นวมินทร์ , เปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน , พญาไท 1 , พญาไท 3< /A>, เพชรเวช , เมโย , วิภาวดี , เวชธานี , ศรีวิชัย 2 หนองแขม , ศิครินทร์ , สมิติเวช สุขุมวิท , สายไหม , สินแพท ย์ , เสรีรักษ์
นครปฐม : กรุงเทพคริสเตียน นครปฐม
นนทบุรี : นนทเวช
ปทุมธานี : ปทุมเวช , ภัทร-ธนบุรี
สมุทรปราการ : จุฬารัตน์ 9, บางปะกอก 3 , เปาโล เมโมเรียล สมุทรปราการ
ราชบุรี : ซานคามิลโล , เมืองราช
สมุทรสาคร : มหาชัย 2 , เอกชัย
จันทบุรี : กรุงเทพจันทบุรี
ฉะเชิงเทรา : โสธราเวช
ชลบุรี : กรุงเทพพัทยา , พัทยาอินเตอร์ , สมิติเวช ศรีราชา , เอกชล
ระยอง : มงกุฎระยอง , รวมแพทย์ระยอง
เชียงใหม่ : เชียงใหม่ ราม , ราชเวช เชียงใหม่ , ลานนา
ขอนแก่น : ขอนแก่น ราม
อุดร : นอร์ทอิสเทอร์น-วัฒนา , ปัญญาเวชอินเตอร์
ภูเก็ต : กรุงเทพภูเก็ต
สงขลา : ราษฎร์ยินดี
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิโรคตับ โทร. 02-2612428
ค่าตรวจ ALT นี้ ราคาไม่แพง ร.พ.รัฐบาล คิดค่าตรวจเพียง 50 บาท ไม่ต้องงดอาหาร ที่ ร.พ.พนมฯ ในคนไข้ทานยาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ ทาง ร.พ.พนมฯ จะตรวจเป็นแนวทางมาตรฐานให้ทุก 6 เดือน หรือ ทุกปี ให้อยู่แล้ว ฟรี
จึงนำมาบอกพวกเราว่า ตรวจก่อนเกิดโรค ดีกว่า เกิดโรค แล้วมาตรวจ นั่นเอง
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 10:31:47 » |
|
เอาล่ะสิ.....น้ำมันพืช… อันตรายระดับชาติ !!!
คนไทยตาสว่างเสียที… เลิกเสียเงินซื้อยาฝรั่ง ต้นเหตุเพียงแค่น้ำมันพืชเคลือบระบบดูดซึม อดีตเมื่อก่อน 30 ปีที่แล้ว คนไทยใช้น้ำมันมะพร้าว และ น้ำมันหมูทำกับข้าว จู่ ๆ โฆษณาฝรั่ง มากล่าวโทษวิถีไทยเดิม ๆ อ้างว่าน้ำมันมะพร้าว และ น้ำมันหมู ทำให้คลอเลสเตอรอลสูง เพราะจับตัวเป็นไข วิธีแก้คือ การใช้น้ำมันพืช ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืช เพราะความเชื่อที่ถูกฝรั่งฝังหัวมา แต่ปรากฏว่าอัตราการเป็นโรคต่างๆไขมันในเลือดสูง,โรคหัวใจ,โรคไต,ภูมิแพ้ เป็นต้น มากขึ้น วงการสุขภาพของตะวันตก เพิ่งจะมาตาสว่างเมื่อค้นพบโทษของน้ำมันพืช สหรัฐ ฯ ได้ออกมาตรการลด ละ เลิก ใช้ น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี(transfat oil) ในหลาย ๆ รัฐ
ท่านสามารถอ่านข่าวเหล่านี้ได้ เช่น
อาร์โนลด์ ชวาชเนกเกอร์ ผู่ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย กับการแบนการใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี โดยกล่าวว่า “การใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ…” http://gov.ca.gov/press-release/10291/ รัฐเท็กซัส…พระราชบัญญัติ ขจัดน้ำมันพืชแปรรูปให้หมดจากร้านอาหาร ภายใน สิงหาคม 2553 http://dallas.bizjournals.com/dallas stories/2009/05/04/daily72.html KFC เริ่มเห็นโทษของน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ออกเมนูไร้น้ำมันพืช Transfat http://abcnews.go.com/Health/OnCall/story?id=2615217< /FONT> McDonald ประกาศเริ่มใช้น้ำมันชนิดอื่น แทนน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเมื่อปี 2007 http://www.msnbc.msn.com/id/16873869/ Dunkin Donut ประกาศเลิกใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีตั้งแต่ปี 2550 https://www.dunkindonuts.com/aboutus/press/PressRelease..aspx?viewtype=current&id=100102 เว๊บไซท์ ต่อต้าน transfat http://www.bantransfats.com/ โรคที่มากับน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี…
ระบบเผาผลาญอาหารเสื่อม, เบาหวาน, ธัยรอยด์, เสื่อสมรรถภาพทางเพศ, โรคหัวใจ, โรคอ้วน http://transfatdisease.com/why.html อาหารที่พบอยู่ทั่วไป มีน้ำมันพืชเสมอ… ก๋วยเตี๋ยว, ผัดไท, หอยทอด, ราดหน้า, ผัดผักทุกชนิด, ไก่ทอด, ปาท่องโก๋, ข้าวผัด ขนมอบ เบเกอรี่…สรุปรวมว่าอาหารทุกชนิดที่ใช้กะทะ (ผัด ทอด) ใช้น้ำมันพืชทั้งนั้น
น้ำมันพืชเกือบทุกชนิด ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ ซึ่งราคาถูก แต่ขวางระบบดูดซึม น้ำซึมผ่านไม่ได้ หากใช้วัสดุอื่นตามที่โฆษณาจริง เหตุใดจึงยังขายได้ในราคาถูกเช่นนั้น อย่าให้คำว่า ‘ไม่เป็นไข’ มาหลอกท่านได้อีก
น้ำมันพืชเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศา จะดูสวยงาม ไม่เป็นไข ผิดกับน้ำมันหมู ที่เมื่อยู่ในอุณหภูมิต่ำ จะเป็นไข
แต่เมื่อน้ำมันพืชเข้าไปอยู่ในร่างกาย อุณหภูมิ 37 องศา จะกลายเป็นกาวเหนียว เกาะติดลำไส้ ตั้งแต่ลำคอลงมาถึงลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถล้างออกได้ด้วยพืชผักที่เราทานเข้าไป และ ไม่สามารถล้างออกได้ด้วยน้ำชาธรรมดา
แต่น้ำมันจากสัตว์ และ น้ำมันมะพร้าว เมื่ออยู่ในอุณหภูมิร่างกาย จะไม่มีทางเป็นไข และ จะละลายกับน้ำได้ สารอาหารต่าง ๆ ยังซึมเข้าร่างกายได้
หากท่านลองนำน้ำมันพืช ใส่ภาชนะ แล้วไปตั้งทิ้งไว้กลางแดดสัก 10 นาที อุณภูมิจะประมาณ 30 กว่าองศา ใกล้เคียงร่างกายมนุษย์
ท่านเช็ดน้ำมันพืชออกได้ยากมาก เหมือนกับที่เขม่ากาวติดกะทะ เครื่องครัว เขม่ากาวเหนียวนั่นคือผลของน้ำมันพืชโดนความร้อน จำเป็นต้องใช้กรดมาล้างเท่านั้น
แต่หากท่านลองใช้น้ำมันหมู หรือ น้ำมันมะพร้าว ใส่ภาชนะแล้วตากแดด จะพบว่าล้างออกได้โดยง่าย
เมื่อน้ำมันพืชเคลือบระบบดูดซึมท่านทั้งหมด น้ำก็จะไม่เข้าร่างกายท่าน เมื่อท่านทานน้ำ น้ำไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าไปใช้ในอวัยวะต่าง ๆ เลย
เมื่อน้ำซึมเข้าตัวไม่ได้ วิตามินที่มากับน้ำ เช่น วิตามินบี และ ซี ก็จะไม่เข้าร่างกายท่าน ขาดวิตามินบี ทำให้สมองมีปัญหา เฉื่อยชา ความจำสั้น
หากหญิงกำลังตั้งครรค์ มีโอกาสทำให้ลูกคลอดมาเป็นออทิสติค ขาดวิตามินซี ทำให้ภูมิคุ้นกันมีปัญหาเป็น ภูมิแพ้ หวัด ไวรัส
เมื่อภูมิคุ้มกันมีปัญหา ท่านก็จะติดโรคอื่น ๆ ได้ง่ายมาก จบลงด้วยการเสียเงินซื้อยาฝรั่ง เงินทองไหลออกนอกประเทศ เพราะเพียงแค่ท่านหลงเชื่อว่าน้ำมันพืชสมัยใหม่ไม่เป็นอันตราย น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ
- ฟอกสี (bleached) เพื่อให้สีดูสวย สดใส - แต่งกลิ่น (deodorized) เพื่อให้ไม่มีกลิ่นหื มีกลิ่นตามที่ต้องการ - ใส่ไฮโดรเจน (hydrogenated) กระบวนการเหล่านี้ ทำให้สารเคมีเปลี่ยน เมื่อทานเข้าไปแล้ว เป็นพิษต่อร่างกายโดยตรง
เมื่อใดที่เห็นข้างกล่องผลิตภัณฑ์ว่า มีน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ขอให้รู้ว่านั่นคือยาพิษ โยนทิ้งขยะทันที …
…Trans fats do not exist in nature. They are laboratory-designed and have adverse health consequences. They interfere with the body’s production of beneficial fatty acids and promote heart disease. As trans fatty acids offer no benefits and only clear adverse metabolic consequences, when you see the words partially hydrogenated on the side of a box, consider it poisonous and throw it in the trash. (Ascherio, A., and W. C. Willett. 1997. Health effects of trans fatty acids.. Am. J. Clin. Nutr. 66 (4 supp.): 1006S–10S.) http://www.diseaseproof.com/archives/hurtful-food-dunkin-donuts-kills-trans-fat.html ท่านอย่าเพิ่งเชื่อบทความใน e mail นี้ จนกว่า ท่านจะได้หาข้อมูลเพิ่มเติมใน search engine (google) ต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยพิมพ์ key word ต่อไปนี้ (พิมพ์ครั้งละ 1 คำ)
Transfat, transfat bill, vegetable oil bad health, hydrogenated oil, ละกอ, อันตราย น้ำมันพืช
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553, 13:31:33 » |
|
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
donaldjeo13
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2553, 17:18:00 » |
|
Я люблю эту должность, и я бы сказал, что реальная возможность где и страсть и боль удовлетворения.
Страсть, на мой взгляд, абсолютно необходимо, если вы собираетесь выйти на собственном или выполнить над проектом, который платит по счетам. Но это должно быть то, о чем вы действительно, удивительно страстные? Например, мой самый успешный запуск проекта в индустрии моды очки, - на которой я стал страстно, потому что я хотел, чтобы работы компании, а не потому, что я влюбленный в отрасли.
Меня беспокоит только о страсти, что иногда перекосы, что вы думаете на рынке, возможно, захотите. Вы так возбуждены и увлечены темой, но она не может масштабе. В этих случаях, я думаю, что нужно подходить к проекту скептически, говоря с людьми и ведения неустанные исследования рынка, давая себе все возможности, чтобы доказать, что это не очень хорошая идея. Если после того, мало времени, и обратную связь, вы не смогли убедить себя, что он не будет работать, то это полный вперед.
|
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2553, 10:46:16 » |
|
ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 02 สิงหาคม 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=23&contentId=82130
'สารสนเทศ Information technology (IT)' เร่งพัฒนา คือยาดี!
ความเคลื่อนไหวในวงการแพทย์ไทยในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องวุ่นๆแต่เป็นกรณีสร้างสรรค์ก็มีที่น่าสนใจ...
คือ "การพัฒนาสารสนเทศทางการแพทย์” เพื่อให้บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วจะเป็นการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งจากสถานพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาสุขภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการเข้ารับบริการของประชาชน เป็นการระบุของ นพ.ฆนัท ครุธกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ ฯ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี เป็นการระบุที่มีนัยเกี่ยวโยงถึงการที่จะมีการจัด ประชุมระดับชาติ
“เมดิคัล ดาต้า สแตนดาร์ดส์ เอ็กซ์โปร์” ในช่วงวันที่ 20-21 ส.ค. 2553 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
โดยความร่วมมือกันระหว่าง โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ,สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สมาคมเวชสารสนเทศไทย, คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รศ.นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะประธานจัดงานประชุม ระบุว่า... การประชุมดังกล่าวนี้จะเกี่ยวกับ
“ระบบสารสนเทศทางการแพทย์” จะเป็นโอกาสที่ดีในการ “พัฒนาศักยภาพด้านสาธารณสุข”
โดยคณะผู้จัดประชุมมุ่งเน้นพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งเป็นบันไดขั้นสำคัญ ในการใช้ประโยชน์จาก
ระบบสารสนเทศทางการแพทย์
เป็นตัวแปรหลักที่ต้องหาทางเลือกเพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีสาร สนเทศทางการแพทย์ได้ต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ เนื่องจาก ระบบบริการสุขภาพเป็นข้อมูลที่ยากต่อการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างโรงพยาบาล เข้าถึงได้ยาก และแตกต่างกันออกไป
จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงและองค์กรที่เกี่ยวข้องจัดการประชุมเรื่องระบบสารสนเทศทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ และหน่วยงานภาคเอกชนที่ส่งเสริมและผลักดันการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ไปสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อศักยภาพของประเทศไทยในด้านนี้ “การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์มีประโยชน์มาก"
ตัวอย่างการใช้ทำประวัติและนัดหมาย จะสามารถกำหนดรายละเอียดผู้ป่วยได้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องค้นหาแฟ้มประวัติผู้ป่วย และสามารถเติมข้อมูลเข้าไปให้ถูกต้อง รวมถึง สามารถรู้สถิติสารสนเทศได้เร็วขึ้น อาทิ จำนวนผู้ป่วย, ประสิทธิ ภาพยา, การเบิกจ่ายยา, ราคายา, รวมทั้งสามารถติดตามสถานการณ์ โรคต่าง ๆ และ
ส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาลได้อีกด้วย ...รศ.นพ.อาทิตย์ ระบุ ขณะที่ นพ.ฆนัท เสริมว่า... การจัดประชุม “เมดิคัล ดาต้า สแตนดาร์ดส์ เอ็กซ์โปร์” ครั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์
http://cvmc.mahidol.ac.th/mds/
หรือติดต่อสอบถามที่ โทร. 0-2201-2211 ต่อ 237 ซึ่งนี่เป็นการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมด้าน บุคลากรและการวิจัยในการรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะด้านการกำหนดมาตรฐานและการกำหนดข้อมูลใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยและ รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ที่ผ่านมาในอดีต การรักษาผู้ป่วยมีปัญหาอันเนื่องจากระบบเกิดขึ้นหลายรูปแบบที่ทำให้ ผู้ป่วยเกิดอาการเบื่อแพทย์ เบื่อโรงพยาบาล เช่น การที่ผู้ป่วยต้องเสียเวลาเกือบทั้งวันในการเข้าพบแพทย์ตามโรงพยาบาล หรือ การฟ้องร้อง ซึ่งการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพจะช่วยได้ “จะช่วยให้การสืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยทำได้สะดวกรวด เร็ว และช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูล ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ
ส่งต่อไปยัง กระทรวงสาธารณสุข เพื่อการกำหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศได้ อย่างมีประสิทธิภาพ” ...นพ.ฆนัท ระบุ ทั้งนี้ การประชุมเกี่ยวกับ “ระบบสารสนเทศทางการแพทย์” ดังกล่าวนี้ ถือว่า สอดคล้องโดยตรงกับ แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนระบบพัฒนา ข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ ครม.มีมติเมื่อ20 ก.ค.ที่ผ่านมา นี่เป็น “เรื่องไม่วุ่นเกี่ยวกับแพทย์” ที่น่าติดตามผล!!.
XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
เครือข่ายกระทรวงสาธารณสุข Virtual Private Network:VPN ใกล้จะมีจริงแล้ว ทำให้รักษาได้ที่ ร.พ.ทุกแห่งที่ เป็นสมาชิกเครือข่ายสาธารณสุข VPN โดยประชาชนจะ ใช้บัตรประชาชน สมาร์ทการ์ด เข้าตรวจได้ทุกที่ในประเทศไทย ใช้สิทธิฟรีรักษาได้ แพทย์ที่ทำการรักษาจะล็อคอินเข้าไปใน ร.พ.ที่คนไข้เคยรักษาได้ ทำให้รักษาต่อเนื่องได้ทันที
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 06 กันยายน 2553, 09:49:59 » |
|
กรณีศึกษาสร้างแพทย์ปลูกคุณธรรม ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 06 กันยายน 2553 เวลา 3:00 น http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=582&contentID=89808
“สำหรับแพทย์ไทย ผมเชื่อว่ามาตรฐานเรื่องความเก่งสูงมาก คือ เด็กไทยเก่งมาตั้งแต่เรียนหนังสือแล้ว แสดงว่าเรื่องคุณภาพความเก่งไม่มีข้อสงสัย แต่คุณภาพเรื่องหัวใจความเป็นมนุษย์ ความอดทน ความเสียสละ จิตของตนเป็นที่สอง จิตของคนไข้เป็นที่หนึ่ง มันหนักแน่นจริงจังแค่ไหน?”
...นี่เป็นการระบุเชิงตั้งคำถาม ของ ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุณยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ประธานคณะดำเนินงานศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ต่อกรณีบุคลากร “แพทย์” ซึ่งศูนย์การแพทย์-สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ก็กำลังพยายามตอบคำถามนี้
ทั้งนี้ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ หรือโรงพยาบาลชลประทานเดิม ปัจจุบันโอนย้ายเข้าอยู่ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งนอกจากด้านการรักษาผู้ป่วยแล้ว ปัจจุบันก็ได้ประกาศตัวสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตแพทย์สู่สังคม และมีการมองหาโมเดลที่ดี-ที่มีประโยชน์มาปรับใช้ในการดำเนินการ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะของมหาวิทยาลัยและศูนย์การแพทย์ได้เดินทางไปศึกษาดูงานของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ที่ไต้หวัน โดยมูลนิธินี้เป็นจุดกำเนิดองค์กรการกุศลระดับโลกที่มีการส่งเสริมเรื่อง “จิตอาสา” ซึ่งนอกจากภารกิจจิตอาสาในการบรรเทาทุกข์รูปแบบต่าง ๆ แล้ว ในด้าน “ระบบการผลิตนิสิตแพทย์” และ “การบริหารจัดการในโรงพยาบาล” ทางมูลนิธินี้ก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีแง่มุมที่น่าสนใจไม่น้อยเลย
กับเรื่องนี้ ผศ.นพ.เฉลิมชัย สะท้อนผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า...โรงพยาบาลซินเตี้ยนของฉือจี้ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่ใหญ่ ทันสมัย และดีที่สุดแห่งหนึ่งของไต้หวัน แต่เรื่องนี้ก็ดูจะเป็นเรื่องรอง เมื่อมองแนวคิดในการผลิตบุคลากรของฉือจี้ โดยจุดที่น่าสนใจคือ คณะแพทยศาสตร์ที่นี่ ไม่แยกเรื่องวิชาการออกจากเรื่องคุณธรรม แต่ทำให้เดินไปพร้อม ๆ กัน ระบบการผลิตแพทย์จะเน้นคุณธรรมนำความรู้ ผลิตคนดีออกมารับใช้สังคม ขณะที่ระบบการผลิตแพทย์แบบยึดตำรา หรือคอนเวนชั่น จะเน้นสร้างคนเก่ง เน้นเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งแนวทางของฉือจี้นี้ก็เคยมีคำถามว่าเป็นไปได้อย่างไร? แต่ก็เป็นไปได้
หากได้สัมผัสวิถีในการผลิตนิสิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของฉือจี้ ก็จะพบว่าที่นี่ยึดหลัก
สอนแพทย์ให้เป็นมนุษย์ ไม่ใช่แค่แพทย์ โดยยึดหลักความมีจิตสงสาร ความมีจิตอาสา และถึงแม้ว่าระบบของฉือจี้กับไทยจะแตกต่างกัน แต่ก็เชื่อว่าเป็นไปได้ที่ไทยจะนำมาปรับใช้ เพราะมีความเป็นสังคมพุทธเหมือนกัน
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บอกว่า... เรื่องนี้เป็นเป้าหมาย เป็นก้าวใหม่ ที่กำลังจะมีการดำเนินการในไทย และนอกจากในเชิงการผลิตแพทย์โดยเน้นเรื่องคุณธรรมแล้ว อีกสิ่งที่คิด และถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย คือการคาดหวังที่จะทำให้อัตรา “การขาดแคลนแพทย์ในชนบท” ของไทยลดระดับความรุนแรงลง
“ส่วนตัวมองว่า ปัจจุบันแม้สัดส่วนระหว่างแพทย์และประชาชนจะดีขึ้น แต่ความรุนแรงในเรื่องนี้กลับยังไม่ลดลงเลย นั่นหมายความว่า การกระจายแพทย์ของไทยยังไม่บรรลุเป้าหมาย”
หนึ่งในคีย์แมนที่มีส่วนสำคัญในการผลิตแพทย์รุ่นใหม่ ๆ ในประเทศไทยรายนี้ บอกอีกว่า... ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2527 ปัจจุบันไทยมีแพทย์เพิ่มขึ้นกว่าตอนปี 2527 ถึง 2 เท่า ขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้น 25% ซึ่งสัดส่วนดูดีขึ้น แต่การขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ขาดแคลนกลับยังรุนแรงเท่าเดิม
ทุกวันนี้แพทย์จะอยู่ในพื้นที่เป้าหมายเหล่านี้เฉลี่ยคนละ 2 ปี ไม่เกิน 3 ปี ซึ่งลองคิดดู ถ้าทำให้มีจำนวนแพทย์เพิ่มขึ้นในโรงพยาบาลอำเภอที่ขาดแคลน เพิ่มเป็น 2 เท่าตามจำนวนที่ผลิตได้ งานก็จะมีคุณภาพเพิ่มเป็น 2 เท่าทันที เพราะมีคนไข้เท่าเดิม ทำให้มีเวลาตรวจคนไข้เพิ่มขึ้น ความผิดพลาดลดลง อัตราฟ้องร้องแพทย์ก็จะน้อยลงไปด้วย และความสัมพันธ์กับคนไข้ก็จะดีขึ้น เพราะแพทย์มีเวลาให้กับคนไข้มากขึ้นนั่นเอง
“ปัจจุบันเงินที่เติมลงไปในระบบ ผมว่าก็ไม่น้อยนะ แต่เงินกลับตรึงไม่อยู่ ได้แค่ผ่อนหนักเป็นเบา ผมเชื่อว่าจุดสำคัญคือการที่แพทย์ไม่มีแรงบันดาลใจหรือจิตอาสาที่เข้มแข็งพอ”
ทั้งนี้ ผศ.นพ.เฉลิมชัยยังบอกด้วยว่า... โดยส่วนตัวเชื่อว่าบัณฑิตแพทย์ทุกคนมีแรงบันดาลใจที่จะทำงานรับใช้สังคมเพื่อช่วยเหลือประชาชนในชนบท แต่เอาเข้าจริงกลับอยู่ไม่ได้ ทั้งที่มีการเพิ่มเงินให้ในระบบแล้ว ดังนั้น เงินจึงไม่ใช่คำตอบ อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีเงินตรงนี้ แพทย์จะลาออกเยอะแยะหรือไม่ นี่ก็เป็นคำถาม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นที่เป็นคำถาม จึงเป็นที่มาของนโยบายในการปลูกฝังนิสิตแพทย์ด้วย “หลักสูตรจิตอาสา” ในโมเดลเฉพาะของศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ มศว โดยเป็นโมเดลที่ประยุกต์มาจากระบบของฉือจี้ “เรื่องนี้มีการทำสำเร็จในโลกแล้วจริง ๆ ผมเชื่อว่าถ้าเราทำเรื่องนี้ไปสัก 2-3 ปี ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำความดี ทำให้มีคนร่วมอุดมการณ์มาก ๆ คนที่ทำดีอยู่ก็จะไม่รู้สึกท้อ ไม่รู้สึกว้าเหว่ และในที่สุดสังคมในอุดมคติมันก็จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ” ...ผศ.นพ.เฉลิมชัยระบุ
น่าสนใจ-น่าติดตามการ “ปลูกคุณธรรม” ในกรณีนี้ กรณีที่มุ่งเพิ่ม “ผลผลิตแพทย์ที่ดี+เก่ง” ในไทย!!.
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|