|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2552, 08:15:22 » |
|
R 2 R : Routine to Research
พี่หมอสำเริงครับ
สมัยเรียนเภสัช ผมสนใจสารตัวหนึ่่่งซึ่่งใช้ในการทำตำรับยา คือ CMC คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส ซึ่งได้จากแปรรูป เซลลูโลสจากไม้ ซึ่งไม่ละลายน้ำ ได้เป็น CMC ซึ่่งละลายน้ำได้
จาก R ตัวนั้น ผมก็พัฒนามาเป็น เครื่่่องดื่มใยอาหารซีโลส
ผมเริ่มต้นพัฒนาในปี 2530 กว่าจะขึ้นทะเบียนอย.และได้ออกจำหน่าย ก็ปี2547
วันนี้ ผมพบ R ตัวแรกจากการใช้ CMC มากมาย
ความจริง การพบ R ตัวแรกที่ว่า ไม่ใช่สิ่งผิดความคาดหมายแต่อย่่างใด เพราะ เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า
ใยอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายเพียงใด
เพียงแต่ ที่ผ่านมา ไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนเราได้รับใยอาหารอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เพียงพอที่จะต่อสู้กับ อาหารแปรรูปที่คนเราพยายามดึงใยอาหารออกไป
อ่านข่าวคนเสียชีวิต จากโรคอันมีสาเหตุจากโภชนาการก่อนวัยอันควรแล้ว เสียดายจริงๆ รู้ข่าวรุ่นน้องรุ่นพี่ป่วยเป็นโรคอันเนื่องจากโภชนาการแล้ว อยากบอกเขาเหลือเกิน
แต่ผลประโยชน์ทับซ้อน...น้ำท่วมปากครับ
หัวข้อของพี่ ทำให้ผมมีโอกาส ขยายการเรียนรู้ของผม
ถือว่าแลกเปลี่ยนกันแล้วกันครับ
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2552, 12:46:27 » |
|
เปิดเวทีประลองไอเดีย ชวน นศ.สอยผลงานบนหิ้งสู่ห้าง
โดย ผู้จัดการ วัน พุธ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 12:09:22 น.
----------------------------------------------------------
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (กลาง) ก.พาณิชย์ จับมือศศินทร์ และเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเวที นศ. เขียนแผนธุรกิจ
"IP Mart Award 2009" นำผลงานจากหิ้งสู่ห้างอย่างเป็นรูปธรรม กระตุ้นนำนวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่าเชิงธุรกิจ และส่งเสริมคนรุ่นใหม่ใช้ไอเดียสร้างสรรค์ นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ตลาดกลางทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Mart : IP Mart) โดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) จัดโครงการประกวดเขียนแผนธุรกิจ "IP Mart Award 2009" ในหัวข้อ
"ธุรกิจนวัตกรรม ภายใต้โครงการตลาดกลางทรัพย์สินทางปัญญา"
http://news.nipa.co.th/news.action?newsid=184029
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 มกราคม 2553, 19:12:02 » |
|
Title: การประเมินความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการ บริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย Authors: สุพัตรา ศรีวณิชชากร บังอร เทียบเทียน นภาพร โสวัฒนางกูร สุรศักดิ์ สุนทร Author's Email: directad@mahidol.ac.th Subjects: งานวิจัย ผู้จัดการงานวิจัย การวิจัยระบบสุขภาพ การจัดการงานวิจัยระบบสุขภาพ Issue Date: Dec-2552 Publisher: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
Abstract: ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการค้นคว้าวิจัยด้านสุขภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ของงานวิจัยเหล่านี้กลับถูกนำไปใช้ประโยชน์น้อย
การเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน Closs และ Cheater (1994)1 ได้กล่าวไว้ว่า
ความสนใจและทัศนคติเชิงบวกของนักวิจัยต่องานวิจัยเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการนำผลงานวิจัยไปใช้
การศึกษาของ Alexander และ Orton (1988)2 ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า
การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ได้แก่ นักวิจัย ผู้จัดการงานวิจัย ผู้วางนโยบายด้านสุขภาพ ผู้ให้ทุนวิจัย
ผู้ใช้งานวิจัยซึ่งประกอบด้วยบุคคลากรทางการแพทย์ทุกแขนงและรวมถึงตัวผู้ป่วยด้วย
การขาดปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้มีผลให้การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์น้อย ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยน้อย ได้แก่
การไม่มีส่วนร่วมของผู้ใช้ประโยชน์ทำให้ผู้ใช้ประโยชน์ไม่เห็นความสำคัญของการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
ความบกพร่องของการสื่อสารผลงานวิจัย นักวิจัยและ/หรือผู้จัดการงานวิจัยไม่สามารถสร้างความเข้าใจกับผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย
การขาดการวางแผนที่จะดัดแปลงและประยุกต์ผลงานวิจัยเพื่อที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง
โดยทั่วไป นักวิจัยทำวิจัยเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการซึ่งอาจไม่เกิดผลโดยตรงต่อผู้ใช้ประโยชน์ และผลงานวิจัยเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอเฉพาะในงานประชุมเชิงวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการซึ่งยากต่อการที่ผู้ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จะเข้าถึงและเข้าใจผลงานวิจัย
ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพการบริหารและจัดการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย
องค์การอนามัยโลก ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและใต้ (WHO/SEARO)3 ตระหนักถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าวที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญและจัดทำ
“Health Research Management Training Modules” โดยมุ่งหวังว่าประเทศสมาชิกอันรวมถึงประเทศไทย จะนำ Training Modules นี้ไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรที่มีบทบาทในการจัดการงานวิจัย
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) ได้ทำการศึกษานำร่องเพื่อประเมินศักยภาพผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และเครือข่าย จำนวน 20 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามประเมินตนเอง แบบสอบถามนี้ได้ถูกพัฒนาโดยใช้ 10 Training Modules ของ WHO/SEARO เป็นกรอบคำถาม ผลจากการศึกษาชิ้นนี้ พบว่า
ผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และ เครือข่าย ขาดความมั่นใจต่อศักยภาพของตนเองใน 8 ด้าน คือ
1. ด้านความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์องค์กร
2. ด้านการวางแผนและบริหารชุดโครงการวิจัย
3. ด้านการวางแผนและบริหารโครงการวิจัย
4. ด้านการพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพ
5. ด้านระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานวิจัยและการจัดการความรู้
6. ด้านระบบบริหารการเงินโครงการวิจัย
7. ด้านบริหารการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัย
8. ด้านบริหารจัดการทั่วไป
จากผลการวิเคราะห์นี้ สวรส เลือกเฉพาะด้านการบริหารการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัย มาวิเคราะห์เพิ่มเติม เนื่องด้วย สวรส มีวัตถุประสงค์ที่จะหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ผลวิเคราะห์ชี้ว่า
ผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และ เครือข่าย มีศักยภาพที่จะบริหารจัดการการใช้ประโยชน์งานวิจัยได้แต่ไม่ดี ใน 6 ด้าน ดังนี้
1. ด้านวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
2. ด้านวางแผนเพื่อกำหนดบุคคล องค์กร ที่อาจมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนอกเหนือจากผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง
3. ด้านแสวงหาโอกาสในการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย
4. ด้านบริหารให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในขั้นตอนสำคัญของการวิจัย
5. ด้านเขียนสาระสำคัญผลการวิจัยเพื่อสื่อสารต่อบุคคล องค์กรภายนอกหรือเพื่อสาธารณะ
6. ด้านกำหนด/เลือกกลไกสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานวิจัย
การศึกษานำร่องของ สวรส ชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และเครือข่าย มีความต้อง การที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์งานวิจัย
เนื่องจากการศึกษานำร่องนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณซึ่งไม่อาจสะท้อนประสบการณ์และพฤติกรรมการปฏิบัติที่ทำเป็นประจำ และไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่เป็นกรณีศึกษาเพื่อสะท้อนพฤติกรรมการจัดการงานวิจัยของผู้จัดการงานวิจัยและองค์กรวิจัย
ดังนั้น มีความจำเป็นที่จะสำรวจหาประสบการณ์และพฤติกรรมของผู้จัดการวิจัยและองค์กรวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง
URI: http://hdl.handle.net/123456789/2850 Appears in Collections: Research Reports
นำบทความเรื่องการพยายามหาทางให้ผลการวิจัย ได้นำมาใช้ประโยชน์ ในการ ทำ R 2 R เปรียบเป็นเหรียญ มี 2 ด้าน คือ
ด้าน Routine to Research นำการปฏิบัติประจำมาหาวิธี(วิจัย) ทำให้งานที่ทำมี คุณภาพ มากขึ้น และ
ด้าน Research to Routine การนำผลการวิจัย มาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์จริงด้วย
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
ขอเรียนเสนอ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข : สวรส. ควรจัดให้มีการประกวดการนำงานวิจัย มาสู่การปฏิบัติ แข่งกัน ให้ได้รับรางวัล เช่น ใบประกาศเกียรติคุณ หรือ อื่น ๆ จะเป็นแรงกระตุ้นให้ค้นหางานวิจัยมาพัฒนาให้ใช้กับงานได้
การประเมินความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย บทวิจัยข้างต้นนำมาจาก
http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/123456789/2850
หมายเหตุ โพสต์ที่นี่ไว้เพื่อว่า พวกเรา อาจจะสามารถนำกระทู้นี้นำเสนอท่าน ผู้อำนวยการ สวรส.ได้
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553, 19:23:44 » |
|
ผลักดันวิจัยสาขาเกษตร
สภาวิจัยแห่งชาติถกคณะกรรมการบริหาร 12 สาขา วางแนวทางบูรณาการด้านงานวิจัย เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ หลังรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณกว่า 8 หมื่นล้านบาท
ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานและผลักดันให้เกิดแผนงานและโครงการวิจัย ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการช่วยแก้ปัญหาสำคัญและเร่งด่วนของประเทศแบบบูรณาการ รวมถึงการวิจัยเร่งด่วนแบบพลวัตโลก ซึ่งกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติมีทั้งสิ้น 12 สาขาวิชาการ ประกอบด้วย
สาขาด้านวิทยาศาสตร์ 6 สาขา สังคมศาสตร์ 6 สาขา และ มีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผลงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศ
โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัย ทั้งสิ้น 8 หมื่นล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 1 ของ GDP เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดใน 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างบุคลากรด้านการวิจัย อุปกรณ์การวิจัย และการสนับสนุนผลการวิจัยอย่างแท้จริง
ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สาขาด้านการเกษตรนับเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาวิจัย
เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ถูกกดดันเรื่องราคา การวิจัยจึงมีส่วนสำคัญต่อสินค้าเกษตรเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองราคาสินค้าให้กับเกษตรกร โดยการแปรรูปสินค้าให้มีมูลค่าสูงขึ้น พร้อมศึกษาเรื่องการกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้จำหน่ายสินค้าและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยสร้างความสมดุลแก่สังคม
น.ส.พ.แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 19/3/2010
http://www.naewna.com/news.asp?ID=203921
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2553, 07:49:23 » |
|
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำยูนิตทำฟัน
ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์วันพุธ ที่ 26 พฤษภาคม 2553 เวลา 4:00 น สนับสนุนเนื้อหาข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=582&contentID=67916
ทุกวันนี้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทันตกรรมที่ใช้ตามโรงพยาบาลและคลินิกทำฟันในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ
แต่ปัจจุบันเริ่มมีนักประดิษฐ์และวิจัยคนไทยคิดค้นเครื่องมือทันตกรรม เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้า ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจากต่างประเทศ หนึ่งในเครื่องมือตัวอย่างที่นำมาเสนอในวันนี้ คือ
“เครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำของยูนิตทำฟัน” เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
ผลงานการประดิษฐ์ของ นายนิพัฒน์ พลด้วง หัวหน้างานวิศวกรรมซ่อมบำรุง โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ในวงการทันตกรรมมักจะประสบปัญหาเรื่อง ไบโอฟิล์ม (Biofilm) ซึ่งเป็นคราบจุลินทรีย์ ที่ก่อตัวขึ้นบนพื้นผิวในบริเวณที่มีน้ำมาหล่อเลี้ยง รวมทั้งยูนิตทำฟัน
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าน้ำที่ออกมาจากระบบน้ำของยูนิตทำฟันมีโอกาสเกิด การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในปริมาณที่สูงเกินมาตรฐาน การทำความสะอาดระบบน้ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นความหวังของวงการทันตกรรม เพราะ
ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการในการกำจัดไบโอฟิล์มในระบบน้ำของยูนิตทำฟันให้หมดไปโดยสิ้นเชิง การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำของยูนิตทำฟันได้เป็นผลสำเร็จ จึงเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวให้หมดไป นายนิพัฒน์ พลด้วง กล่าวว่า เมื่อทราบปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์หรือไบโอฟิล์ม จาก ผศ.ทพ.นพ.สุรพงษ์ วงศ์วัชรานนท์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลทันตกรรม ก็มาคิดหาวิธีเพื่อกำจัดไบโอฟิล์ม ซึ่งเมื่อศึกษาค้นคว้าก็พบว่าวิธีหนึ่งก็คือ
การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะนำน้ำยาเข้าไปในระบบได้ จนเกิดแนวคิดถึง การใช้ระบบควบคุมไฟฟ้าเข้ามาควบคุมลม ระหว่างถังน้ำปกติกับน้ำยาฆ่าเชื้อ และได้ทำการ ประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้วัสดุภายในประเทศทั้งหมดและทดลองใช้ในระยะเวลา1เดือนผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมา ผศ.ทพ.นพ.สุรพงษ์ ให้แนวคิดว่า หากไปติดตั้งเครื่องดังกล่าวทุกยูนิต จะมีค่าใช้จ่ายสูง
ถ้าออกแบบเครื่องให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ และปรับใช้ได้ทุกยูนิตก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นที่มาของเครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำของยูนิตทำฟันแบบเคลื่อนที่ มีจุดเชื่อมต่อในแต่ละยูนิต สามารถใช้งานได้กับทุกยูนิต “การดำเนินการเพื่อให้ทุกยูนิตของคลินิกทันตกรรม ติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จะนำแนวคิดนี้ไปเผยแพร่เพื่อให้ทันตแพทย์ทั่วประเทศได้ใช้ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์คล้ายแบบนี้ ในต่างประเทศมีราคาสูงมาก แต่เครื่องที่คิดค้นขึ้นนี้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิภาพ การทำงาน ใช้งานได้ง่ายสะดวก แม้แต่คนงานก็ สามารถใช้เครื่องได้ไม่จำเป็นต้องเป็นทันตแพทย์
โดยโรงพยาบาลทันตกรรม มอ. ใช้เครื่องฆ่าเชื้อแบบเคลื่อนที่เพียง 1-2 เครื่อง ก็สามารถใช้กับยูนิตทำฟันได้เกือบ 200 ชุด” นอกจากนี้นายนิพัฒน์ ยังได้ประดิษฐ์
“ตู้ดูฟิล์มเอกซเรย์สำหรับงานทันตกรรม”
หลักการทำงาน คือการทำให้เกิดความสว่างด้วยหลอดไฟประมาณ 3 หลอดผ่านพลาสติกที่ ทำหน้าที่กรองแสง และจัดให้มีวัสดุที่สามารถติดฟิล์มเอกซเรย์ได้
ปัจจุบันได้นำมาใช้งานที่ รพ.ทันตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และปรับปรุงให้ใช้งานสะดวก มีจอภาพที่ใหญ่ขึ้น และเหมาะกับการเรียนการสอนทางทันตกรรม และ ช่วยให้ทันตแพทย์สามารถมองฟิล์มเอกซเรย์ได้ชัดเจน ทั้งนี้ตู้ดูฟิล์มเอกซเรย์ จะต้องมีใช้ควบคู่กับยูนิตทำฟันทุกคลินิก ปกติต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ชุดละ 10,000 บาท แต่ตู้ที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้งบเพียงชุดละ 1,000 บาท การนำมาใช้ในโรงพยาบาลทันตกรรมจึงช่วยประหยัดงบประมาณได้มาก ขณะที่การใช้งานได้ไม่แตกต่างจากเครื่องราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศเลย.
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2553, 15:15:50 » |
|
ขอขอบคุณเวบแคนนอตดอทอินโฟ วันศุกร์ 16 กรกฏาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว http://m.cannot.info/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%208%20%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%20%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
ผนึก 8 สถาบันตั้ง "ศูนย์ข้อมูลวิจัยไทย"
ดร.ทวีศักดิ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านงานวิจัยของประเทศ มี สวทช. เป็นเจ้าภาพ เพื่อให้บริการด้านฐานข้อมูล งานวิจัยทั้งหมด เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะแล้วเสร็จ...
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สวทช. จะจัดยุทธศาสตร์วิจัยใหม่ จากเดิมมี 8 กลุ่มยุทธศาสตร์ ซึ่งได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีมากไป จึงจะลดเหลือ 5 ยุทธศาสตร์ใหญ่ เพื่อให้ตรงกับปัญหาและโอกาสของประเทศ ประกอบด้วย
1. ด้านอาหารและการเกษตร
2. พลังงานและสิ่งแวดล้อม
3. สุขภาพและสาธารณสุข
4. อุตสาหกรรมการผลิต
5. ชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญมาก เพราะนักวิจัยของ สวทช. ส่วนใหญ่ จะเก่งด้านวิชาการ แต่ขาดประสบการณ์ด้านชีวิตจริง และข้อเท็จจริงของประเทศ
ดังนั้น ต้องลงพื้นที่ เพื่อรับคำปรึกษาจากคนในพื้นที่ เพื่อหาคำตอบว่า วิทยาศาสตร์จะช่วยอะไรได้บ้าง ที่ผ่านมา สวทช. ก็ดำเนินการต่อเนื่อง พบว่าเงินไม่สามารถ แก้ปัญหาได้ แต่ความสำเร็จต้องมาจากความรู้ ความเข้าใจ เวลาและเงิน
จากนั้น จึงจะนำความรู้ลงสู่ชุมชน ไม่ใช่ไปอวดรู้ นอกจากนี้ การศึกษาในชุมชนชนบทถือเป็นสิ่งสำคัญที่ สวทช.จะต้องเข้าไปดำเนินงาน
ทั้งนี้ เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่งให้ สวทช. นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงไปช่วยชุมชนให้มากที่สุด
"ที่สำคัญขณะนี้ สวทช. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัย 8 แห่ง คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านงานวิจัยของประเทศ มี สวทช. เป็นเจ้าภาพ เพื่อให้บริการด้านฐานข้อมูล งานวิจัยทั้งหมด เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะแล้วเสร็จ" นายทวีศักดิ์กล่าว. ที่มา : www.thairath.co.th วันที่ 16 Jul 2010
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2553, 16:53:28 » |
|
ขอขอบคุณเวบไทยรับวันเสาร์ 24 กรกฏาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว http://www.thairath.co.th/content/life/98448
เหยาะยาหอมไทยลงหลอดทดลองทางการแพทย์สรรพคุณล้วนดีพร้อม นักวิทยาศาสตร์จับยาหอมไทยมาวิจัยในห้องทดลอง พบว่า
มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ดีทั้งต่อระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารและไม่มีความเป็นพิษ
ผลการวิจัยร่วมกันของนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยในเมืองไทยภายใต้
โครงการบูรณาการการวิจัยและพัฒนายาแผนโบราณเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ได้มีการวิจัยตั้งแต่ในส่วนประกอบของตำรับยาหอมไปจนกระทั่งถึงสรรพคุณ พบว่า
ในประเทศไทยมีตำรับยาหอมมากกว่า 500 ตำรับ แต่ละตำรับยานั้นประกอบด้วยสมุนไพรนับสิบชนิด
เช่น ตำรับยาหอมนวโกฐ ประกอบด้วยสมุนไพร 54 ชนิด เครื่องยาที่ใช้มีผลต่อระบบหัวใจ
และหลอดเลือด กับเครื่องยาที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร
ด้านผลการวิจัยที่ศึกษาฤทธิ์ตามสรรพคุณ รศ.ดร.วิสุดา สุวิทยาวัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สรรพคุณของยาหอมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต และ
ระบบทางเดินอาหาร จากการศึกษายาหอม 4 ตำรับ ได้แก่
นวโกฐ และอินทรจักร (ตำรับกระทรวงสาธารณสุข) กับยาหอมของเอกชน ตำรับ ก. และตำรับ ข.
พบว่า ยาหอมทุกตำรับเพิ่มความดันโลหิตได้ ทุกตำรับมีแนวโน้มเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ
ทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมองและตามอวัยวะต่างๆ
อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์กล่าวด้วยว่า สำหรับสรรพคุณต่อระบบทางเดินอาหารนั้น พบว่า
การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้การหลั่งเมือกที่เคลือบกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และยังช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
กับลดการอาเจียนลง
น่าสังเกตด้วยว่าในทุกตำรับยา เมื่อเทียบกับยาลดกรดแผนปัจจุบัน
สามารถลดกรดในกระเพาะอาหารลงได้ ครึ่งหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่กำลังดี
เมื่อพิจารณาถึงความเป็นพิษ หรือพิษเฉียบพลัน ไม่พบว่ามีหนูทดลองตายและไม่มี
ความผิดปกติในระดับเนื้อเยื่อ กล่าวได้ว่า
จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่ายาหอมให้ผลในการรักษาที่ดี.
อย่างนี้ถ้าพบคนมีอาการอ่อนเพลียมึนงง อืดท้องแน่นท้อง ก็น่าลองแนะนำชงยาหอมดื่มดู น่าจะได้ผล.
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2553, 15:58:38 » |
|
ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันพุธ ที่ 11 สิงหาคม 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=84507 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร จัดประกวดอาหารเพื่อสุขภาพ จากวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยของ สวก.
วันนี้ (11 ส.ค.) ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เปิดเผยว่า การประกวดการออกแบบสูตร และการทำอาหาร เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้การจัดงาน ประชุมวิชาการประจำปี 2553 หัวข้อ วิจัยการเกษตร เพื่อสุขภาพ ความงาม และอายุยืน
มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็นการประกวดอาหารประเภทคาวและประเภทหวาน ในระดับมืออาชีพ และนิสิต นักศึกษา ซึ่งมี 2 รางวัลในแต่ละประเภท คือ
รางวัลชนะเลิศกับรางวัลชมเชย ชิงถ้วยรางวัล และเงินสด ในระดับมืออาชีพ 50,000 บาท และ 20,000 บาท ในระดับนิสิต นักศึกษา 30,000 บาท และ 10,000 บาท รวมทั้งสิ้น 8 รางวัล
ดร.นภาวรรณ กล่าวว่า เกณฑ์การตัดสินจะแบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบแรกจะคัดเลือกให้เหลือประเภทละ10 ทีม โดยพิจารณาจากสูตรอาหารตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ วัตถุดิบ ความเป็นไปได้ของสูตรการทำอาหาร และที่สำคัญต้องเป็นประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ
ส่วนรอบตัดสินผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ทีม จะต้องทำอาหารโชว์ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสินฯ ทั้งหมด จึงขอเชิญทุกท่านที่มีความสามารถในการทำอาหาร และคิดเมนูใหม่ ๆ เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้
ผู้สนใจที่จะเข้าร่วมประกวดการทำอาหาร สามารถดูรายละเอียด และดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.arda.or.th หรือสอบถามที่ สำนักเกษตรพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์ 02-579-7435 ต่อ 137, 138 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2553.
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 18 กันยายน 2553, 19:50:18 » |
|
'หุบเขาอาหาร' ในเนเธอร์แลนด์ วันจันทร์ที่ 06 กันยายน 2010 กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ - ดร.วีรชัย พลาศรัย http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=40735:2010-09-06-02-24-40&catid=185:2009-09-02-02-41-32&Itemid=538
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินชื่อ Silicon Valley กันมาจนคุ้นหูแล้ว วันนี้ผมขอนำเรื่อง "Food Valley" ที่เนเธอร์แลนด์มาเล่าสู่กันฟังครับ
อย่าเพิ่งแปลกใจนะครับว่าภูมิประเทศที่ราบเรียบอย่างในเนเธอร์แลนด์ มีภูเขาหรือพื้นที่พอที่จะเรียกว่า "Valley" กับเขาด้วยหรือ
"Food Valley" ที่ว่านี้เป็นแหล่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่ล้ำหน้าและประสบความสำเร็จพอๆ กับ Silicon Valley ในบริบทของอุตสาหกรรมไฮเทคของสหรัฐฯ เชียวล่ะครับ
"Food Valley" ไม่ใช่หุบเขาที่ให้คนไปเดินเล่นซื้อหาหรือเก็บเกี่ยวอาหาร แต่เป็นเขตพื้นที่สำหรับพัฒนาแนวคิดการสร้างคลัสเตอร์ด้านการผลิตอาหารให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้อาหารที่ดี ปลอดภัย และมีคุณค่า รสชาติ ตลอดจนรูปลักษณ์ที่ปรับให้เข้ากับผู้บริโภค
"Food Valley" มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Wageningen ตอนกลางของเนเธอร์แลนด์ โดยจัดให้ ธุรกิจ สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัยด้านอาหาร/เกษตร มาอยู่รวมกัน
มีกลไกการบริหารเป็นนิติบุคคลอิสระในรูปของ "Stichting" ตามกฎหมายเนเธอร์แลนด์ (พอจะตรงมูลนิธิของเรา) ซึ่งมุ่ง
ให้มีการนำองค์ความรู้ด้านอาหารที่เกิดจากภาควิชาการและการค้นคว้าวิจัยของภาคธุรกิจ ไปพัฒนาต่อและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย หน่วยงานนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ สหภาพยุโรป รัฐบาล เทศบาลท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนซึ่งเป็นสมาชิกสมาคม Food Valley เช่น Heinz, Philips, Fujifilm, Kikkoman, Danone เป็นต้น
จะเน้นสนับสนุนการคิดค้นใหม่ๆ ด้านอาหาร ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานระหว่างผู้เป็นเจ้าขององค์ความรู้กับภาคธุรกิจ และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความรู้ โดยเอื้ออำนวยให้ภาคธุรกิจ สถาบันวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ ทำงานร่วมกัน รวมถึงทำการศึกษาในหัวข้อเฉพาะต่างๆ และสนับสนุนการจัดตั้งบริษัท start-up และการจัดตั้งธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติ (รวมถึงการตั้งถิ่นที่อยู่ของ expats และครอบครัว) ในพื้นที่นี้ด้วย
เพื่อให้เห็นภาพกิจกรรมของ Food Valley ผมขอเล่าถึง Kikkoman จึงเข้ามาจัดตั้งบริษัทในตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์เพื่อผลิตซอสถั่วเหลืองสำหรับยุโรปโดยตรง แทนการนำเข้าซอสที่ผลิตจากญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยของธุรกิจเนเธอร์แลนด์เพื่อหาลักษณะเฉพาะของอาหารที่มีส่วนประกอบเหมาะกับวัตถุประสงค์การนำไปใช้
เช่น นมที่มีสารอาหารเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพคน นมที่มีส่วนประกอบเหมาะแก่การผลิตเนยแข็ง หรือไข่เสริมคุณค่าที่ช่วยยับยั้งโรคตาบางชนิดในผู้สูงอายุ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่า Food Valley พยายามตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริโภคในยุโรปมีแนวโน้มที่ต้องการอาหารสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผลิตภัณฑ์อาหารจำเป็นต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาสูงขึ้น
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการวิจัยสาขาการเกษตรและชีวเทคโนโลยีเป็นทุนอยู่แล้ว การที่เขาสามารถแปรองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาที่ล้ำหน้าเหล่านั้นให้เป็นรูปธรรม นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยความรู้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ความสามารถการแข่งขันของเนเธอร์แลนด์ในอุตสาหกรรมอาหารและชีวเทคโนโลยีอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก และเป็นจุดแข็งที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย
ประเทศผู้ส่งออกอาหารทั่วโลกเริ่มมอง Food Valley เป็นต้นแบบสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของตนบ้างแล้ว ไทยมีธุรกิจอาหารที่หลากหลายและส่งออกไปทั่วโลก เรามีคลังความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ได้รับตกทอดมาอยู่ก็ไม่น้อยแม้จะยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เท่าประเทศตะวันตกก็ตาม เราน่าจะศึกษารูปแบบ Food Valley หรือพิจารณาไปลงทุนที่นั่นนะครับ เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทางวิทยาการของเขา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย Wageningen ที่เป็นหนึ่งในตองอูเรื่องอาหารและการเกษตร และเครือข่ายธุรกิจซึ่งประกอบด้วยบริษัทชั้นนำต่างๆ ที่สร้างสรรค์และริเริ่มเทคโนโลยีด้านอาหารใหม่ๆ อันน่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารของไทยไปให้ไกลอีกขั้นหนึ่ง คือขั้นที่ tailor-made ให้เข้ากับผู้บริโภคเป้าหมายในยุโรปและโลกตะวันตก สาขาหนึ่งที่น่าจะพัฒนาได้โดยอาศัยการอำนวยความสะดวกของ Food Valley คืออาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูง และคนไทยเราชำนาญเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ท่านใดสนใจ ติดต่อผมได้เสมอครับ
ฯพณฯ ดร. วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=137397
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 22 กันยายน 2553, 22:02:17 » |
|
ขอขอบคุณเวบข่าวสด วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7237 http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNakl5TURrMU13PT0=§ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE1DMHdPUzB5TWc9PQ==
เกมยิงปืนกระตุ้นโหด-แต่เพิ่มทักษะตัดสินใจ
ถึงแม้งานวิจัยหลายชิ้นจะพบว่า การเล่นวิดีโอเกมแนวแอ๊กชั่นที่ถูกมองว่ารุนแรงอย่าง "เกมยิงปืน" ส่งผลให้ผู้เล่นมีพฤติกรรมก้าวร้าว แต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กในสหรัฐค้นพบข้อดีของเกมประเภทนี้ว่า ช่วยพัฒนาทักษะการตัดสินใจของผู้เล่นให้มีความฉับไวขึ้นในชีวิตประจำวัน
ดาฟเน่ บาเวเลียร์ นักวิจัยกล่าวว่า เกมแนวต่อสู้อย่างเกมยิงปืน ที่ผู้เล่นจะต้องผ่านด่าน โดยไม่รู้ว่าศัตรูซุ่มอยู่ที่ใด ช่วยปรับปรุงไหวพริบและทำให้ระบบรับรู้ความรู้สึกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเกมประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมวางแผนหรือเกมที่มีการสวมบทบาทต่างๆ เช่น เกมซิม
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารเคอร์เรนต์ไบโอโลจี้ ได้จากการ
ให้อาสาสมัคร 26 คน อายุ 18-25 ปี ซึ่งไม่เคยเล่นเกมยิงปืนมานานหลายเดือน ครึ่งหนึ่งให้เล่นเกมยิงต่อสู้ 50 ชั่วโมง อีกครึ่งหนึ่งเล่นเกม
ซิมส์ 2
http://www.shusun.com/thaithesims2/
จากนั้นทดสอบด้วยการให้ตัดสินใจเลือกทิศทางของกลุ่มจุดบนหน้าจอที่กำลังเคลื่อนในความเร็วระดับต่างๆ กัน และให้ฟังเสียง โดยตอบว่าหูข้างใดได้ยินเสียง นักวิจัยพบว่า กลุ่มที่เล่นเกมยิงปืนตัดสินใจได้เร็วและถูกต้องกว่าอีกกลุ่มถึง 25%
"วิดีโอเกมแอ๊กชั่นไม่มีสูตรแก้ปัญหาตายตัว เพราะสถานการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย หรือเกิดซ้ำ ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องใช้ความเร็วและความแม่นยำในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็วและเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ดาฟเน่ กล่าว
เมื่อต้นปี งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนานาชาติเอแอนด์เอ็ม รัฐเท็กซัส พบว่า
วิดีโอเกมรุนแรงทำให้คนบางคนก้าวร้าวและโหดเหี้ยมขึ้นจริง แต่ก็ยังพบว่าเกมประเภทนี้ส่งผลดีกับบางคนในการพัฒนาทักษะการมองเห็น และการคำนวณระยะทางดีขึ้นได้ด้วย
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2553, 07:50:54 » |
|
ดันตั้งแล็บวัคซีนทดลองในคน การศึกษา-สาธารณสุข 1 ตุลาคม 2553 http://www.thaipost.net/news/011010/28164
"สธ." เตรียมของบ ครม.กว่า 5,000 ล้านบาท เดินหน้าโครงการผลิตวัคซีน 7 ชนิด ตั้งเป้า 10 ปีได้ใช้ไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ "หมอสุธี" เร่ง สธ.ของบ 150 ล้านบาท สร้างห้องแล็บจีเอ็มพี ทดลองในคน ประเดิมผลิตวัคซีนโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างแรก รองรับการระบาดโรคไข้เลือดออกทั่วโลกเพราะภาวะโลกร้อน ฉีดเข็มเดียวครอบคลุมเชื้อ 4 สายพันธุ์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนงานโครงการสำคัญเพื่อการส่งเสริมการวิจัยและการผลิตวัคซีนของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนใช้เองโดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐาน 7 ชนิด ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาเป้าหมายการผลิตชัดเจน รวมไปถึงการขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อนำไปใช้ได้จริง คือ วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ตั้งเป้าหมายระยะเวลา 10 ปี วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน 2 ปี และวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี 4 ปี วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยง 5 ปี และวัคซีนป้องกันวัณโรคที่ปัจจุบันมีการผลิตใช้อยู่แล้วโดยสภากาชาดไทย แต่จากนี้จะมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น แผนการผลิตวัคซีนนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.โดยเร็ว โครงการเหล่านี้จะใช้งบประมาณรวมกันทั้งสิ้นกว่า 5,000 ล้านบาท
"ขณะนี้การใช้วัคซีนในประเทศตกปีละ 3,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเกือบทั้งหมด หรือร้อยละ 80 และผลิตเองร้อยละ 20 เท่านั้น หากสามารถผลิตเองได้จะช่วยประหยัดงบประมาณลงได้" รมว.สาธารณสุขกล่าว
ขณะที่ ศ.นพ.สุธี ยกส้าน หัวหน้าศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้การวิจัยวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งในขั้นหลอดทดลองและสัตว์ทดลองได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยเป็นวัคซีนรวมสามารถป้องกันเชื้อเดงกี่ได้ 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกัน ถือเป็นเชื้อต้นแบบที่จะนำมาผลิตวัคซีนเพื่อฉีดทดลองในคนต่อไป แต่ขณะนี้เรายังติดปัญหาเนื่องจากไม่มีแล็บมาตรฐาน เพื่อเตรียมเชื้อวัคซีนฉีดในคนได้ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้ร่วมกับ สธ.เพื่อของบประมาณจำนวน 150 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างห้องปฏิบัติการดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง จึงจะได้วัคซีนทดลองที่จะทดสอบในคน
ศ.นพ.สุธีกล่าวว่า หลังได้วัคซีนที่จะทดลองในคนแล้ว ในการทดลองยังต้องใช้เวลาทดลองอีก 8 ปี แบ่งเป็นการทดลอง 3 ระยะ คือ 1.การฉีดในอาสาสมัคร 50 คน เพื่อดูความปลอดภัย และการสร้างภูมิคุ้มกัน 2.การฉีดทดลองในอาสาสมัครจำนวน 400-500 คน และ 3.การทดลองในอาสาสมัครจำนวนหลายพันคน โดยกระจายไปตามประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียอาคเนย์ เอเชียใต้ และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากขณะนี้โรคไข้เลือดออกได้แพร่กระจายไปทั่ว รวมถึงแถบยุโรปจากสภาวะโรคร้อนที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการวิจัยทั้งหมดนี้เพื่อให้การผลิตวัคซีนเป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ
สำหรับงบประมาณในการวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันรวมกว่า 100 ล้านบาท แต่การทดลองจากนี้ต้องใช้งบประมาณอีก 250 ล้านบาท ถือเป็นงบวิจัยที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ.
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 08:06:26 » |
|
ทันตแพทย์ มอ.เปิดผลงานวิจัย แบคทีเรียต้านฟันผุในช่องปาก ขอขอบคุณเวบแนวหน้าวันศุกร์ 5 พ.ย.53ที่เอื้อเฟื้อข่าว http://www.naewna.com/news.asp?ID=235124
รศ.ดร.รวี เถียรไพศาล ผ.อ.สถานวิจัยโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาด คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)
เปิดเผยว่า จากการศึกษาความชุกของฟันผุในเด็ก ที่ อ.เทพา จ.สงขลา พบว่า มีเด็กจำนวนประมาณ 15% ที่ฟันไม่ผุ ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยพบว่าเกิดจากมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่อาจช่วยป้องกันเชื้อที่เป็นสาเหตุของฟันผุ จึงได้นำมาศึกษาในห้องทดลองและพบว่ามีเชื้อ Lactobacillus paracasei สายพันธุ์หนึ่งในหลายสายพันธุ์ ที่เหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ ซึ่งได้ตั้งชื่อว่า
Lactobacillus paracasei SD1
ทั้งนี้การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการย่อยหนึ่งในโครงการ "ระบาดวิทยาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพภาคใต้" โดยมี ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ สำหรับคณะผู้วิจัยประกอบด้วย รศ.ดร.รวี เถียรไพศาล ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ ผศ.ดร.ทพญ.สุกัญญา เธียรวิวัฒน์ และ ดร.สันทัด วิเชียรโชติ
"ที่ผ่านมามีการนำเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Lactobacillus บางสายพันธุ์มาใช้ เช่น ป้องกันโรคฟันผุ โรคปริทันต์ เชื้อราในช่องปาก หรือช่วยระงับกลิ่นปาก แต่เชื้อเหล่านั้นสามารถเกาะติดในช่องปากได้เพียงชั่วคราว เนื่องจากไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในช่องปาก
แต่สายพันธุ์ที่คณะวิจัยค้นพบ เป็นเชื้อที่ได้จากช่องปากจึงมีคุณสมบัติที่ยึดเกาะเยื่อบุในช่องปากได้ดีกว่า รวมทั้งมีความสามารถการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุ และสร้างกรดได้น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ยับยั้งเชื้อฟันผุอื่นๆ ซึ่งล่าสุดได้มีการนำไปยื่นคำขอจดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว" รศ.ดร.รวี กล่าว
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|