23 พฤศจิกายน 2567, 00:55:23
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: " เชิญชวน ทำงานวิจัย และ นำงานวิจัยมาใช้ ด้วย R 2 R "  (อ่าน 25827 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 11 ตุลาคม 2552, 14:24:45 »




ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ภาควิชา ศัลยศาสตร์ หน่วย กุมารศัลยศาสตร์

Diploma in Pediatric and Neonatal Surgery พ.ศ. 2532

ว.ว.(กุมารศัลยศาสตร์) พ.ศ. 2530 ว.ว.(ศัลยศาสตร์ทั่วไป) พ.ศ. 2528

F.A.C.S. พ.ศ. 2541 พบ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522

รองอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ด้านวิจัย


ที่ผ่านมาการวิจัยยังไม่เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ

เป็นลักษณะขับเคลื่อนโดยอุปทาน มากกว่า อุปสงค์

เอาตัวผู้วิจัยเป็นที่ตั้ง มากกว่าความต้องการของประเทศ 
   
“และผู้ที่สมควรได้ใช้ผลงานวิจัยก็ขาดการรับรู้ เข้าไม่ถึงข้อมูล

ทำให้งานวิจัยส่วนใหญ่อยู่บนหิ้ง ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์

ไม่ถูกนำมาต่อยอดให้สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม”


ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ..เจ้าของรางวัลงานวิจัยดีเด่นจากผลงาน

การวิจัยในหลักสูตร วปอ. ประจำปีการศึกษา 2551-2552 กล่าว     

ทีมวิถีชีวิต : รายงาน

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=524&contentId=25284

เวบไซด์สื่อสารกับ ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รองอธิการบดีด้านวิจัย ที่
 
http://www.research.chula.ac.th/cu_online/2548/october41_1.htm

 gek gek gek

พบข่าวงานวิจัยดีเด่นของ ชาวจุฬาฯ จึงนำมาบอกพวกเราให้เห็นเป็นแนวทาง

งานวิจัย ประเทศของเรายังขาดดุลย์ เรื่อง งานวิจัย เราเสียค่าลิขสิทธิ์

ในการใช้ผลงานวิจัย มากกว่า การขายผลงานวิจัยให้ประเทศอื่น

งานวิจัย มีแนวทางการวิจัยที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยการใช้



ที่มาของภาพจากปกิณกะงานวิจัย

 http://medinfo2.psu.ac.th/r2r2r/index.php?option=com_content&task=blogsection&id=0&Itemid=56

R 2 R : Routine to Research

นำงานที่ทำอยู่เป็นงานประจำ (งาน Routine)

มาทำเป็นงานวิจัย (Research)ที่เกิดประโยชน์เผยแพร่ได้

และ R 2 R เป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน เมื่อได้ผลงานวิจัยแล้วต้อง

R 2 R : Reseach to Routine

นำผลงานวิจัย นำมาเป็นงานที่ทำประจำ และ เผยแพร่ต่อไปด้วย


พวกเรามีงานทำเป็นงานประจำ ลองนำมาทำเป็นงานวิจัย ออกเผยแพร่กัน

ถ้างานวิจัยมีประโยชน์ จดลิขสิทธิ์ ทำให้ประเทศเราไม่แพ้ต่างประเทศเรื่องงานวิจัย

และ จะลดการเสียค่าลิขสิทธิ์ ขาดดุลย์งานวิจัยของประเทศได้

 gek gek gek



นายกฯชี้สังคมไทยยังอ่อนแอข้อมูล

น.ส.พ.เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 16 ตุลาคม 2552 เวลา 8:07 น 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุม

“นักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส ครั้งที่ 9” เมื่อวันที่   15 ต.ค. ที่จังหวัดเพชรบุรีว่า

คุณลักษณะสำคัญของคนที่จะเอื้อต่อการพัฒนาคือ

การใฝ่รู้ ซึ่งสังคมเศรษฐกิจของเราแม้มีการพัฒนา แต่ต้องยอมรับว่า

ด้านสังคมยังอ่อนแอมากในเรื่องของการเรียนรู้และองค์ความรู้

ซึ่งตนทำงานการเมือง 20 ปี หลายครั้งยังรู้สึกอึดอัด หงุดหงิดว่า

ฐานความรู้ที่จะใช้ในการตัดสินใจยังเป็นปัญหาอยู่ และ

ประหลาดใจว่าหลายครั้งเราต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดนี้

ตนเห็น  การทำงานของหลายองค์กรเป็นไปโดยขาดข้อมูลและขาดการใช้เหตุใช้ผล

ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สังคมเราอ่อนแอ

แม้แต่ในคณะรัฐมนตรี การนำเสนอหลายเรื่องก็มาจาก

ความเห็นและอารมณ์ มากกว่าฐานข้อมูล หรือความรู้ ซึ่งน่าห่วง เพราะ

ทำให้หลายปัญหาไม่สามารถเรียนรู้ แก้ไขร่วมกันได้

   
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า การสนับสนุนงานวิจัยเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ

เป็นการสร้างความรู้และแก้ปัญหาระยะยาวของประเทศ

จึงมีนโยบายสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

1.ผลักดันให้เกิดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ แต่ต้องกำหนดพันธกิจที่ชัดเจน ไม่ใช่ 

มีกรอบความคิดเหมือนกันหมด และสุดท้ายแต่ละแห่งก็ขาดความเข้มแข็ง

2. กำหนดทิศทาง กำหนดโจทย์ และจัดสรรทุนวิจัย ที่แตกต่างกันไประหว่าง

รัฐและเอกชน แต่ต้องทำงานสอดคล้องกัน และ สร้างแรงจูงใจให้คนทำงานวิจัย

3. ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน ที่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง หรือ ให้การ

สนับสนุนผู้มีศักยภาพสูงเป็นพิเศษ แม้บางคนมองว่าเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย

แต่ตนเชื่อว่า คนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มนี้ ถ้าทำงานได้สำเร็จก็จะสามารถสร้างประโยชน์

ให้แก่คนทั้งประเทศได้ แต่ต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ที่สำคัญสามารถ

นำแนวพระราชดำริมาพัฒนาต่อยอดไปสู่ระดับสากลได้ และ

4.สนับสนุนให้เกิดคนทำงานวิจัยที่ดี
   
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือผลสัมฤทธิ์ด้านวิทยาศาสตร์  และ คณิตศาสตร์ของเด็กไทย

มีแนวโน้มลดลง ทั้งที่เด็กไทยไปคว้ารางวัลระดับโลกมาได้

แต่เมื่อดูทีมที่ไปแข่งพบว่ามาจากโรงเรียนเดียว คือ

รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ รัฐบาลจึงอยากขยายให้มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์อีกหลายแห่ง

เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเก่ง ๆ ก้าวเข้าสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ และ

นักวิจัยที่ดี แทนที่จะไปเป็นหมอกันหมด”
นายกรัฐมนตรี กล่าว.

 gek gek gek


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2552, 22:09:48 »

น้องหมอสำเริง ... คุณหมอสุทธิพร  เข้าเรียนจุฬาฯ ปี่ 2516  รุ่นเดียวกับพี่เจี๊ยบนะคร้าบ บ บ บ ... ได้เจอคุณหมอบ่อยๆ ตอนที่ประชุมเตรียมจัดงาน " 34 ปี จุฬาฯ 2516 "  ที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในงาน  เมื่อปี 2550




สำหรับการจัดงาน " 37 ปี จุฬาฯ 2516 " ในปีนี้ ( 2553 )  คุณหมอสุทธิพรได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะทำงาน ผู้จัดทำหนังสือที่ระลึก ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2552, 17:43:08 »


น้องหมอสำเริง ... คุณหมอสุทธิพร  เข้าเรียนจุฬาฯ ปี่ 2516 

รุ่นเดียวกับพี่เจี๊ยบนะคร้าบ บ บ บ  ได้เจอคุณหมอบ่อยๆ

ตอนที่ประชุมตระเตรียมงาน " 34 ปี จุฬาฯ 2516 " 

ที่ สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เสด็จทรงเป็นองค์ประธาน ในปี 2550


 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ



พี่ สุทธิพร รุ่นพี่ผม 1 ปี พี่ เป็นนักวิชาการ และ กิจกรรมของแพทย์จุฬาฯ

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2552, 08:15:22 »

R 2 R : Routine to Research

พี่หมอสำเริงครับ

สมัยเรียนเภสัช ผมสนใจสารตัวหนึ่่่งซึ่่งใช้ในการทำตำรับยา
คือ CMC คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส
ซึ่งได้จากแปรรูป เซลลูโลสจากไม้ ซึ่งไม่ละลายน้ำ ได้เป็น  CMC ซึ่่งละลายน้ำได้

จาก R  ตัวนั้น ผมก็พัฒนามาเป็น เครื่่่องดื่มใยอาหารซีโลส

ผมเริ่มต้นพัฒนาในปี 2530 กว่าจะขึ้นทะเบียนอย.และได้ออกจำหน่าย ก็ปี2547

วันนี้ ผมพบ R ตัวแรกจากการใช้ CMC มากมาย

ความจริง การพบ R ตัวแรกที่ว่า ไม่ใช่สิ่งผิดความคาดหมายแต่อย่่างใด
เพราะ เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า

ใยอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายเพียงใด

เพียงแต่ ที่ผ่านมา ไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนเราได้รับใยอาหารอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
เพียงพอที่จะต่อสู้กับ อาหารแปรรูปที่คนเราพยายามดึงใยอาหารออกไป

อ่านข่าวคนเสียชีวิต จากโรคอันมีสาเหตุจากโภชนาการก่อนวัยอันควรแล้ว เสียดายจริงๆ
รู้ข่าวรุ่นน้องรุ่นพี่ป่วยเป็นโรคอันเนื่องจากโภชนาการแล้ว อยากบอกเขาเหลือเกิน

แต่ผลประโยชน์ทับซ้อน...น้ำท่วมปากครับ

หัวข้อของพี่ ทำให้ผมมีโอกาส ขยายการเรียนรู้ของผม

ถือว่าแลกเปลี่ยนกันแล้วกันครับ


      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #4 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2552, 05:58:55 »




โครงเลี้ยงเซลล์กระดูกเทียมจากไหมไทย

น.ส.พ.เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 03 พฤศจิกายน 2552

ปัญหาการสูญเสียกระดูกจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุ เนื้องอกหรือการติดเชื้อ

ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประชาชนทุกเพศทุกวัย 


ปกติเมื่อกระดูกแตกร้าว จะมีการประสานสร้างเซลล์กระดูกใหม่ได้ตามธรรมชาติ

แต่หากมีการแตกหักกว่า 1 เซนติเมตรแล้ว โอกาสในการรักษาก็ยากมากขึ้น 

ซึ่งนอกจากจะใช้กระดูกจากผู้ป่วย   เอง หรือกระดูกเทียมที่ทำจาก    เซรามิก หรือ

โลหะแล้ว แนวโน้มการรักษาในปัจจุบันยังมุ่งไปที่การใช้กระดูกเทียมที่ผลิตจาก

ชีววัสดุธรรมชาติ เป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างเซลล์กระดูกรอบ ๆ และ

กระดูกเทียมเหล่านี้จะย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องผ่าตัดอีกครั้ง

“โครงเลี้ยงเซลล์กระดูกเทียมจากไหมไทย”

จากทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนำโดย

ทีมรศ.ดร.ศิริพร ดำรงค์ จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี จึง  ถือเป็น

งานวิจัยล่าสุดที่น่าสนใจ และถูกนำมาจัดแสดงในงาน

“วันคล้ายวันสถาปนา วช. ครบรอบ 50 ปี”

ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือวช. จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นางสาวหทัยรัตน์ ตั้งทัศนา นิสิตปริญญาโทสาขาวิศวกรรมชีวเวช

คณะบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://thesis.grad.chula.ac.th/img/title_ln.jpg&imgrefurl=http://thesis.grad.chula.ac.th/query.php%3Ft%3D1%26fac%3D%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%2591%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%26yr%3D2552&usg=__S-EL397tnbUsFaL1NBbyzmJxo4A=&h=120&w=636&sz=36&hl=th&start=1&sig2=wBzArbHSSBSDyFEcUXZjFw&um=1&tbnid=El8MEdlEIjPkOM:&tbnh=26&tbnw=137&prev=/images%3Fq%3D%2522%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%258C%2B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B2%2522%26hl%3Dth%26rlz%3D1C1CHNY_thTH338TH339%26sa%3DG%26um%3D1&ei=KnbvSuWfC4_47AOL8eG7Bg

บอกว่า โครงเลี้ยงเซลล์กระดูกเทียมจากไหมไทย เป็นหนึ่งใน

โครงการวิจัยบูรณาการด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อการพัฒนากระดูกเทียม

โดยการสนับสนุนจากวช.

ต่อยอดมาจากงานวิจัยระยะที่ 1 ที่ได้ทำวิจัยโครงเลี้ยงเซลล์จากไคติน หรือ

ไคโตซาน ที่ได้มาจากเปลือกปูเปลือกกุ้ง

โครงการวิจัยระยะที่ 2 จึงขยายผล ทำโครงเลี้ยงเซลล์จากไฟโบรอินในเส้นใยไหมไทย

ซึ่งเป็นชีววัสดุ ที่หาได้ง่ายในประเทศอีกชนิดหนึ่ง 

โดยนำรังไหมไทยมาลอกกาวไหมออกจะได้เส้นใยไฟโบรอินนำไปผ่านกระบวนการ

ทำเป็นสารละลาย และขึ้นรูปเป็นโครงเลี้ยงเซลล์ ทำให้แห้ง

มีการปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ โดยใช้ไคโตซานจากงานวิจัยระยะแรก

เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของโครงเลี้ยงเซลล์กระดูกเทียมที่พัฒนาขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการทดลองกับงานวิจัยด้านการแพทย์อื่น ๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ

ที่เหมาะสมกับการเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างเซลล์กระดูกได้อย่างรวดเร็ว

นักศึกษาที่ร่วมทีมวิจัยบอกอีกว่า   ที่ผ่านมากระดูกเทียมต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ซึ่งทำจากคอลลาเจนจากสัตว์เช่นวัว หรือหมู การใช้งานมักประสบปัญหาว่า

สามารถเข้ากันได้กับคนหรือไม่ เพราะคนละสปีชีส์ แต่ไฟโบรอินจากไหมไทยนั้น

จะมีความเข้ากันได้กับร่างกาย ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และ

สามารถชักนำให้เซลล์สร้างเนื้อเยื่อกระดูกได้ดี ย่อยสลายได้ภายใน 3-6 เดือน

ปัจจุบันงานวิจัยดังกล่าวอยู่ระหว่างการทดสอบในสัตว์ทดลอง

คาดว่าต้องใช้เวลา 1-2 ปีในการวิจัยเพิ่มเติม

เพื่อขยายผลในการทดสอบเชิงคลินิกกับคน

แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในระดับโลก  แต่ก็น่ายินดีในความสามารถของนักวิจัยไทย

ที่หากงานวิจัยนี้ประสบผลสำเร็จและต่อยอดใช้งานเชิงพาณิชย์ได้

ก็จะช่วยให้ไทยสามารถพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้า

แถมยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุในประเทศอีกด้วย.

นาตยา คชินทร

nattayap@dailynews.co.th

นำมาจาก

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=29620

 win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #5 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2552, 12:46:27 »

 
               

เปิดเวทีประลองไอเดีย ชวน นศ.สอยผลงานบนหิ้งสู่ห้าง

โดย ผู้จัดการ วัน พุธ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 12:09:22 น.

----------------------------------------------------------

             นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (กลาง) ก.พาณิชย์ จับมือศศินทร์ และเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเวที นศ. เขียนแผนธุรกิจ

                "IP Mart Award 2009" นำผลงานจากหิ้งสู่ห้างอย่างเป็นรูปธรรม กระตุ้นนำนวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่าเชิงธุรกิจ และส่งเสริมคนรุ่นใหม่ใช้ไอเดียสร้างสรรค์ นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ตลาดกลางทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Mart : IP Mart) โดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) จัดโครงการประกวดเขียนแผนธุรกิจ "IP Mart Award 2009" ในหัวข้อ

               "ธุรกิจนวัตกรรม ภายใต้โครงการตลาดกลางทรัพย์สินทางปัญญา"

http://news.nipa.co.th/news.action?newsid=184029

 บ่ฮู้บ่หัน บ่ฮู้บ่หัน บ่ฮู้บ่หัน

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #6 เมื่อ: 20 มกราคม 2553, 19:12:02 »


Title:    การประเมินความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการ
บริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย

Authors:    สุพัตรา ศรีวณิชชากร
บังอร เทียบเทียน
นภาพร โสวัฒนางกูร
สุรศักดิ์ สุนทร
Author's Email:    directad@mahidol.ac.th
Subjects:    งานวิจัย
ผู้จัดการงานวิจัย
การวิจัยระบบสุขภาพ
การจัดการงานวิจัยระบบสุขภาพ
Issue Date:    Dec-2552
Publisher:    สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

                      

         Abstract:    ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการค้นคว้าวิจัยด้านสุขภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ของงานวิจัยเหล่านี้กลับถูกนำไปใช้ประโยชน์น้อย

         การเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน Closs และ Cheater (1994)1 ได้กล่าวไว้ว่า

         ความสนใจและทัศนคติเชิงบวกของนักวิจัยต่องานวิจัยเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการนำผลงานวิจัยไปใช้

         การศึกษาของ Alexander และ Orton (1988)2 ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า

         การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ได้แก่ นักวิจัย ผู้จัดการงานวิจัย ผู้วางนโยบายด้านสุขภาพ ผู้ให้ทุนวิจัย

         ผู้ใช้งานวิจัยซึ่งประกอบด้วยบุคคลากรทางการแพทย์ทุกแขนงและรวมถึงตัวผู้ป่วยด้วย

         การขาดปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้มีผลให้การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์น้อย ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยน้อย ได้แก่

         การไม่มีส่วนร่วมของผู้ใช้ประโยชน์ทำให้ผู้ใช้ประโยชน์ไม่เห็นความสำคัญของการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์

         ความบกพร่องของการสื่อสารผลงานวิจัย นักวิจัยและ/หรือผู้จัดการงานวิจัยไม่สามารถสร้างความเข้าใจกับผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย

         การขาดการวางแผนที่จะดัดแปลงและประยุกต์ผลงานวิจัยเพื่อที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง

         โดยทั่วไป นักวิจัยทำวิจัยเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการซึ่งอาจไม่เกิดผลโดยตรงต่อผู้ใช้ประโยชน์ และผลงานวิจัยเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอเฉพาะในงานประชุมเชิงวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการซึ่งยากต่อการที่ผู้ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จะเข้าถึงและเข้าใจผลงานวิจัย

         ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพการบริหารและจัดการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย

         องค์การอนามัยโลก ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและใต้ (WHO/SEARO)3 ตระหนักถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าวที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญและจัดทำ

         “Health Research Management Training Modules” โดยมุ่งหวังว่าประเทศสมาชิกอันรวมถึงประเทศไทย จะนำ Training Modules นี้ไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรที่มีบทบาทในการจัดการงานวิจัย

         สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) ได้ทำการศึกษานำร่องเพื่อประเมินศักยภาพผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และเครือข่าย จำนวน 20 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามประเมินตนเอง แบบสอบถามนี้ได้ถูกพัฒนาโดยใช้ 10 Training Modules ของ WHO/SEARO เป็นกรอบคำถาม ผลจากการศึกษาชิ้นนี้ พบว่า

         ผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และ เครือข่าย ขาดความมั่นใจต่อศักยภาพของตนเองใน 8 ด้าน คือ

1.   ด้านความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์องค์กร

2. ด้านการวางแผนและบริหารชุดโครงการวิจัย

3.   ด้านการวางแผนและบริหารโครงการวิจัย

4.   ด้านการพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพ

5.   ด้านระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานวิจัยและการจัดการความรู้

6.   ด้านระบบบริหารการเงินโครงการวิจัย

7.   ด้านบริหารการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัย

8.   ด้านบริหารจัดการทั่วไป

         จากผลการวิเคราะห์นี้ สวรส เลือกเฉพาะด้านการบริหารการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัย มาวิเคราะห์เพิ่มเติม เนื่องด้วย สวรส มีวัตถุประสงค์ที่จะหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ผลวิเคราะห์ชี้ว่า

         ผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และ เครือข่าย มีศักยภาพที่จะบริหารจัดการการใช้ประโยชน์งานวิจัยได้แต่ไม่ดี ใน 6 ด้าน ดังนี้

1.   ด้านวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย

2.   ด้านวางแผนเพื่อกำหนดบุคคล องค์กร ที่อาจมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนอกเหนือจากผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง

3.   ด้านแสวงหาโอกาสในการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย

4.   ด้านบริหารให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในขั้นตอนสำคัญของการวิจัย

5.   ด้านเขียนสาระสำคัญผลการวิจัยเพื่อสื่อสารต่อบุคคล องค์กรภายนอกหรือเพื่อสาธารณะ

6.   ด้านกำหนด/เลือกกลไกสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานวิจัย

         การศึกษานำร่องของ สวรส ชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และเครือข่าย มีความต้อง การที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์งานวิจัย

         เนื่องจากการศึกษานำร่องนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณซึ่งไม่อาจสะท้อนประสบการณ์และพฤติกรรมการปฏิบัติที่ทำเป็นประจำ และไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่เป็นกรณีศึกษาเพื่อสะท้อนพฤติกรรมการจัดการงานวิจัยของผู้จัดการงานวิจัยและองค์กรวิจัย

         ดังนั้น มีความจำเป็นที่จะสำรวจหาประสบการณ์และพฤติกรรมของผู้จัดการวิจัยและองค์กรวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง

URI:    http://hdl.handle.net/123456789/2850
Appears in Collections:   Research Reports

         นำบทความเรื่องการพยายามหาทางให้ผลการวิจัย ได้นำมาใช้ประโยชน์
ในการ ทำ R 2 R เปรียบเป็นเหรียญ มี 2 ด้าน คือ

ด้าน Routine to Research นำการปฏิบัติประจำมาหาวิธี(วิจัย) ทำให้งานที่ทำมี คุณภาพ มากขึ้น และ

ด้าน Research to Routine การนำผลการวิจัย มาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์จริงด้วย



                      

             นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

         ขอเรียนเสนอ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข : สวรส. ควรจัดให้มีการประกวดการนำงานวิจัย มาสู่การปฏิบัติ แข่งกัน ให้ได้รับรางวัล เช่น ใบประกาศเกียรติคุณ หรือ อื่น ๆ จะเป็นแรงกระตุ้นให้ค้นหางานวิจัยมาพัฒนาให้ใช้กับงานได้

         การประเมินความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย บทวิจัยข้างต้นนำมาจาก

         http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/123456789/2850

หมายเหตุ โพสต์ที่นี่ไว้เพื่อว่า พวกเรา อาจจะสามารถนำกระทู้นี้นำเสนอท่าน ผู้อำนวยการ
สวรส.ได้


            รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #7 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2553, 18:23:53 »


                    ตัดแต่งพันธุกรรมให้ยุงบินไม่ได้

                 

         นักวิทยาศาสตร์อเมริกันและอังกฤษตัดแต่งพันธุกรรมยุงให้ออกลูกเป็นตัวเมีย ที่บินไม่ได้ คาดว่าหากปล่อยไปผสมพันธุ์กับยุงตามธรรมชาติจะช่วยลดจำนวนยุงที่เป็นพาหะนำ โรคได้ภายใน 6-9 เดือน

         นายแอนโธนี่ เจมส์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์วินในสหรัฐ ร่วมกับบริษัท อ๊อกซิเทก ของอังกฤษ ตัดแต่งพันธุกรรมยุงให้ขัดขวางการพัฒนากล้ามเนื้อปีกหากเป็นยุงตัวเมียซึ่ง เป็นพาหะนำโรค แต่ไม่มีผลหากเป็นยุงตัวผู้ พวกเขาจะกระจายไข่ยุงหลายหมื่นใบที่จะฟักเป็นตัวผู้ที่ผ่านการตัดแต่งพันธุ กรรมเพื่อให้ผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียตามธรรมชาติ ยุงตัวเมียเกิดใหม่ก็จะกลายเป็นยุงที่บินไม่ได้ ส่วนยุงตัวผู้เกิดใหม่ที่ยังบินได้ก็จะไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียตามธรรมชาติ ต่อไป ในไม่ช้าจำนวนยุงที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรมจะมีมากกว่ายุงตามธรรมชาติ ช่วยลดจำนวนยุงที่เป็นพาหะนำโรคได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง เป็นประโยชน์ต่อคนทุกคน ไม่เลือกฐานะหรือการศึกษา

         การทดลองนี้เน้นยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้เดงกี่ เป็นโรคที่มีคนป่วยปีละ 50 ล้านราย และเสี่ยงทำให้ 2 ใน 3 ของคนทั่วโลกป่วย ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา นักวิจัยเชื่อว่าเทคนิคนี้สามารถนำไปใช้กับยุงที่เป็นพาหะนำโรคอื่น ๆ เช่น มาลาเรีย ไข้เวสต์ไนล์
นำมาจาก สนุกดอทคอม วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 จาก

http://news.sanook.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-mcot-903240.html

          ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

         การทดลอง เป็นงานวิจัย  Experimental Research ผลสำเร็จทำให้ ลดยุงที่เป็นพาหะของโรคร้ายได้ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ ทำให้ลดอัตราการป่วย เป็นโรคร้ายโดยยุงนั้น ๆ ได้ ในราคาถูก ด้วย         

         นำมาจุดประกาย ให้พวกเรา อยากทำวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อประเทศ และ ต่อโลกกัน

          win win win
 
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #8 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 11:05:15 »


         เสื้อเกราะกันกระสุน
น.ส.พ.เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 01 มีนาคม 2553 เวลา 0:00 น  

        
         เมื่อหลายปีก่อน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เปิดตัวเสื้อเกราะกันกระสุน จากเส้นใยไหมแท้ 100% เป็นตัวแรกของโลกมาแล้ว เสื้อเกราะดังกล่าวผลิตขึ้นด้วยกระบวนการทอลายตะกร้า น้ำหนัก 1.6 กิโลกรัม สามารถป้องกันกระสุนปืนขนาด .22, .38 และ 11 มม. ด้วยราคาต้นทุนในงานวิจัยตัวละประมาณ 8-9 พันบาท

                 
    
         จากความสำเร็จดังกล่าว ทีมนักวิจัย ประกอบด้วย รศ.สุจิระ ขอจิตต์เมตต์, ผศ.ดร.สมประสงค์ ภาษาประเทศ และผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ได้ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    
         ความแตกต่างจากเสื้อเกราะรุ่นเก่า คือ กระบวนการผลิตที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้น และ สมรรถนะการป้องกันอาวุธร้ายแรง

         เสื้อเกราะรุ่นใหม่ ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการทางวิศวกรรมสิ่งทอ ด้วยการนำเส้นใยสังเคราะห์มาเคลือบด้วยแผ่นฟิล์ม โดยกำหนดถึงแรงดัน การทนความร้อน แรงยืดหยุ่นตัว จากนั้นจึงนำมาเข้าสู่กระบวนการอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นแล้วมาจัดเรียงเป็นชั้น ๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงการทอเส้นใยอีกต่อไป
    
         เมื่อมีการพัฒนาและกระบวนการที่ซับซ้อน ประสิทธิภาพก็ ย่อมเพิ่มขึ้น ซึ่งเจ้าของผลงานบอกว่า

         สมรรถนะ ของเสื้อเกราะรุ่นใหม่สามารถป้องกันกระสุนจากปืนพกสั้นทั้งหมด รวมทั้งป้องกันปืน เอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธสงครามอีกด้วย
    
         สำนักงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ทุน นำเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อผลิตชุดเก็บกู้กับระเบิดสังหารบุคคล ส่งไปใช้จริงที่ภาคใต้ 15 ชุดจนถึงปัจจุบัน ได้รับการตอบรับที่ดีจากทหารที่ใช้  อยู่ กระทรวงกลาโหมได้มอบหมายให้ทำเพิ่มอีก 77 ชุด เพื่อส่งมอบให้กับทางทหารในจัง หวัดชายแดนภาคใต้ ล่าสุดผู้วิจัยได้พัฒนา เพิ่มเติมในส่วนที่ล่อแหลมและเสี่ยง โดยเพิ่มการ์ดป้องกัน ปลายคาง ต้นคอ แขน และลำตัว เพื่อให้มีประสิทธิภาพการป้องกันมากที่สุด
    
         รศ.สุจิระ บอกว่า นอกจากประสิทธิภาพที่มากขึ้น มีการผลิตเพื่อการป้องกันที่มากขึ้นแล้ว ผลประโยชน์ที่เกิดกับประเทศไม่ได้มีเท่านั้น เพราะหากเรานำเข้าจากต่างประเทศ ราคาชุดละ 1.8 ล้านบาท  แต่ของผลิตในประเทศแค่ชุดละ 12,000 บาท ทำให้เหลืองบประมาณไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้มหาศาล.

         http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=51316

         ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

         ผมว่าน่าจะนำมาให้ทหาร ตำรวจ หรือ กลุ่มเสี่ยง ใช้ในการป้องกันตนเอง นอกจากใช้เครื่องค้นหาระเบิด จีที 200 ที่กำลังตรวจสอบคุณภาพว่า ใช้ได้ หรือ เป็นเพียงหลอกลวงให้เชื่อ ให้ีมีกำลังใจ เหมือน
         น้ำมหาบำบัด ป้าเช็ง เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #9 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553, 19:23:44 »


               ผลักดันวิจัยสาขาเกษตร

                   

          สภาวิจัยแห่งชาติถกคณะกรรมการบริหาร 12 สาขา วางแนวทางบูรณาการด้านงานวิจัย เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ หลังรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณกว่า 8 หมื่นล้านบาท

          ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานและผลักดันให้เกิดแผนงานและโครงการวิจัย ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการช่วยแก้ปัญหาสำคัญและเร่งด่วนของประเทศแบบบูรณาการ รวมถึงการวิจัยเร่งด่วนแบบพลวัตโลก ซึ่งกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติมีทั้งสิ้น 12 สาขาวิชาการ ประกอบด้วย

สาขาด้านวิทยาศาสตร์ 6 สาขา สังคมศาสตร์ 6 สาขา และ มีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผลงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศ

         โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัย ทั้งสิ้น 8 หมื่นล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 1 ของ GDP เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดใน 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างบุคลากรด้านการวิจัย อุปกรณ์การวิจัย และการสนับสนุนผลการวิจัยอย่างแท้จริง

         ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สาขาด้านการเกษตรนับเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาวิจัย

         เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ถูกกดดันเรื่องราคา การวิจัยจึงมีส่วนสำคัญต่อสินค้าเกษตรเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองราคาสินค้าให้กับเกษตรกร โดยการแปรรูปสินค้าให้มีมูลค่าสูงขึ้น พร้อมศึกษาเรื่องการกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้จำหน่ายสินค้าและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยสร้างความสมดุลแก่สังคม

         น.ส.พ.แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 19/3/2010

         http://www.naewna.com/news.asp?ID=203921

                   

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #10 เมื่อ: 31 มีนาคม 2553, 10:34:44 »


                    บังคับสัตว์กินเลือดคน ให้ชดใช้กรรม ฝึกยุงให้ฉีดวััคซีน

                                        

         นักวิจัยเมืองปลาดิบ กำลังพยายามที่จะฝึกยุง แทนที่จะปล่อยให้มันเที่ยวกัดกินเลือดคน และแพร่โรคไข้จับสั่นอย่างทุกวันนี้ ใช้ให้มันเปลี่ยนมาฉีดวัคซีนป้องกันโรค ให้กับมนุษย์ฟรีๆแทน

         นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแพทย์จิชิทางเหนือของกรุงโตเกียว ได้ศึกษาพบวิธีที่จะแปลงยุงจากที่มันเคยเป็นผู้ร้าย มาเป็นพระเอกแล้วว่า ต้องใช้วิธีแปลงหน่วยพันธุกรรม ถึงจะให้มันเป็น "หมอฉีดวัคซีนบิน" ขึ้นมาได้ และได้ตัดแต่งหน่วยพันธุกรรมของยุงลายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งในน้ำลายมีโปรตีน ให้เป็นวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อลิชมาเนีย ที่ทำให้เป็นแผลเปื่อยตามตัวและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยที่หมอโรคไข้จับสั่น ก็เชื่อว่า อาจจะใช้มันเพื่อต่อต้านโรคไข้จับสั่นได้ด้วยเช่นกัน

         นายโยชิดา นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า "ข้อดีของการเอายุงมาทำเป็นตัวฉีดวัคซีน ก็คือไม่ต้องเสียเงิน และอาจทำได้โดยไม่ให้รู้ตัว ไม่ต้องใช้หยูกยา  หรือต้องนัดให้คนมารวมกันแต่อย่างใด  ทั้งการได้ฉีดบ่อยๆก็จะยิ่งทำให้ภูมิคุ้มโรคแข็งแรง เพียงแต่ปัญหาที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็คือยังไม่เคยมีวัคซีนป้องกันมาลาเรียเลยสักขนานเดียว."

         ขอขอบคุณ น.ส.พ.ไทยรัฐ วันพุธ ที่ 31 มีนาคม 2553

         http://www.thairath.co.th/content/tech/73839

          ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

         นำงานวิจัยจากญี่ปุ่น มาให้พวกเราทราบ ทำวัคซีนให้ประชาชนโดยไม่รู้ตัว ปล่อยยุงที่ใส่วัคซีนไว้ในต่อมน้ำลายยุง ออกไปในหมู่บ้าน ยุงจะทำหน้าที่กัดคนและสร้างภูมิต้านทานต่อโรค ที่นักวิจัยใส่ไว้ในน้ำลายยุง  ได้

         ฉลาดจริง ๆ คิดได้อย่างไร นะ นักวิจัยชาวญี่ปุ่น

         gek gek gek

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #11 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 10:35:38 »

 
ต่างชาติเมินเปิดศูนย์วิจัยในไทย ชี้รัฐไม่หนุนลงทุนศึกษา-สลดอีก163ปีถึงตามเกาหลีทัน    
 


นางกาญจนา ปานข่อยงาม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เผยว่า

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทุนอุดหนุนแก่ รศ.ดร.ชัยยุทธ์ สัตยาประเสริฐ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ
ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของบริษัทข้ามชาติในการเปิดศูนย์วิจัยในประเทศไทย
ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ในเรื่องของ

การจ้างงาน เกิดการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพของบุคลากรไทย

ผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง
จึงทำให้ไม่เป็นที่จูงใจของบริษัทข้ามชาติที่จะเข้ามาลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
และไทยยังต้องพึ่งพาแรงงานที่มีทักษะและเทคโนโลยีจากชาวต่างชาติ  

โดยเฉพาะนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งและพื้นที่ใช้
ประโยชน์ของประเทศไทย มีความได้เปรียบสูงกว่าประเทศอื่นๆ

ทำให้ประเทศไทยยังคงมีความน่าลงทุนในระดับสูง ขณะที่ปัจจัยด้านความมั่นคงทางการเมือง
และการเงินของไทย ยังถือว่า มีปัญหา

สำหรับปัจจัยด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการลงทุนด้านการศึกษานั้น
ไทยมีการลงทุนต่ำมาก ทำให้ไม่มีความน่าลงทุน


นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้นำจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศและ
จำนวนสิทธิบัตรที่ได้รับการรับรองของประเทศนั้นๆ มาเป็นเครื่องพิจารณาชี้วัด
เพื่อให้เห็นศักยภาพว่าประเทศนั้นๆ เหมาะสมที่จะจัดตั้งศูนย์และพัฒนาหรือไม่

พบว่าประเทศไทยอยู่ในระดับไม่น่าสนใจ

ส่วนเรื่องสิทธิบัตรประเทศไทยเทียบกับประเทศเกาหลีใต้พบว่า

ไทยล้าหลังเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถึงกับต้องใช้เวลา
ประมาณ 163 ปี เพื่อจะพัฒนาให้เท่าเกาหลีใต้

 อายจัง อายจัง อายจัง

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังได้สัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทข้ามชาติที่จะมาลงทุนจัดตั้ง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาในประเทศไทยด้วย และพบว่า

เป็นเรื่องความละเอียดอ่อนของแต่ละประเทศ ทั้งความพร้อมของบุคลากร คุณภาพ
ค่าจ้างราคาต่ำ ความเสี่ยงด้านการเมืองและการเงินตลอดจนผลตอบแทนที่ได้จากแรงจูงใจ
ที่ประเทศนั้นๆ

แต่กระนั้นก็ตาม การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทข้ามชาติ เป็นเพียงมาตรการหนึ่ง
ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยแต่ไม่ใช่เป็นปัจจัยหลัก
ที่จะแก้ปัญหาความอ่อนแอด้านพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในประเทศ
ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับการลงทุนด้านโครงสร้างและการศึกษาของประเทศเป็นหลัก  
 
ขอขอบคุณ น.ส.พ.แนวหน้า วันอังคาร ที่ 18/5/2010

http://www.naewna.com/news.asp?ID=211489

 งง งง งง งง งง งง

พวกเราต้องเร่งพัฒนาตนเอง และ ชาติ เพื่อให้ไม่ตามหลังเกาหลี ที่ทิ้งห่างไป 163 ปี

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #12 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2553, 13:19:08 »


47 ปี วว. โชว์ "เครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติ" เครื่องแรกของคนไทย
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤษภาคม 2553 07:14 น.
 
 http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000067936

   
  
นายยุทธนา ตันติวิวัฒน์ (ยืน) กับต้นแบบ

"เครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติ" เครื่องแรกในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย

เพื่อใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง
 

 
นายยุทธนา ตันติวิวัฒน์  



ชุดควบคุมการใช้งานเครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติ


 
สาธิตการใช้งานเครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติ  
 
นักวิจัย วว. โชว์ผลงานนวัตกรรม "เครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติ" ฝีมือคนไทย
เครื่องแรกในประเทศ ประสิทธิภาพเทียบเท่าของนอก แต่ราคาถูกกว่านำเข้า 60%
ช่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังและคอผิดปกติพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน
ผลิตเชิงพาณิชย์ หวังยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ช่วยลดการใช้บุคลากรทางการแพทย์
      
นายยุทธนา ตันติวิวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย (วว.) และคณะสามารถวิจัยพัฒนาเครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติ
(Automatic Traction Machine) เครื่องแรกในประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ
เพื่อลดการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศที่มีราคาแพง และช่วยลดการใช้บุคลาการ
ทางการแพทย์ของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด
      
"เครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติใช้สำหรับบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีความเสื่อมหรือความผิดปกติของ
กระดูกสันหลังและคอ ซึ่งมีใช้อยู่ในโรงพยาบาลทั่วไป ประมาณ 2-10 เครื่องต่อแห่ง
ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงพยาบาล และยังมีความต้องการค่อนข้างสูง

แต่ปัจจุบันยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น โดยมีราคาเครื่องละไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท
เราจึงได้วิจัยและพัฒนาเครื่องมือนี้ขึ้นเพื่อให้มีต้นทุนถูกลง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและ
ช่วยลดการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศได้" นายยุทธนา กล่าว

ซึ่งทีมวิจัยใช้เวลาพัฒนาอยู่ 2 ปี จึงสำเร็จและได้เครื่องต้นแบบที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับ
ของต่างประเทศ แต่มีต้นทุนถูกกว่าถึง 60%
      
นักวิจัยอธิบายหลักการทำงานของเครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติที่ วว. พัฒนาขึ้นว่า
ใช้หลักการดึงเพื่อลดการกดทับเส้นประสาทหรือเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง
โดยออกแบบโครงสร้างและพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง
ควบคุมแรงดึงให้มีความคงที่ในขณะบำบัดรักษาผู้ป่วย
      
เครื่องดึงหลังและคออัตโนมัตินี้ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก
ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือเป็นโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลัง ข้อต่อหลัง
กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง

แต่มีข้อจำกัดคือห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังหักอย่างเด็ดขาด เพราะ
อาจเป็นอันตรายต่อกระดูกบริเวณที่เคยหัก
      
วิธีการใช้งานเครื่อง นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้กำหนดท่าดึง แรงดึง และระยะเวลาที่เหมาะสม
กับผู้ป่วยแต่ละคนจากการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในการดึงของเครื่องนั้น

จะใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังและมีอุปกรณ์ตรวจวัดค่าแรงดึงให้เป็นไปตามที่กำหนด สามารถ
ตั้งค่าแรงดึงได้ต่ำสุดถึงสูงสุดตั้งแต่ 1.5-60 กิโลกรัม โดยตั้งค่ารูปแบบการดึงได้ 2 รูปแบบ คือ

แบบคงที่ และแบบเป็นจังหวะที่สามารถปรับค่าความถี่ในการดึงได้ 10 ระดับ และ
ตั้งค่าระยะเวลาในการบำบัดรักษาได้ตั้งแต่ 0-60 นาที
      
นอกจากนั้นยังมีระบบความปลอดภัยถึง 3 ระบบด้วยกัน ได้แก่

1.ระบบทางไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันแรงดึงเกินกว่าที่กำหนด,

2.ระบบทางกลที่ช่วยป้องกันแรงดึงเกินค่าสูงสุด และ

3.ปุ่มกดสำหรับให้ผู้ป่วยสั่งการให้เครื่องหยุดทำงานได้ทันทีเมื่อรู้สึกเจ็บปวดหรือเครื่องทำงานผิดปกติ
      
นักวิจัยได้ทดสอบการใช้งานเครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติกับผู้ป่วยในสาขากายภาพบำบัด
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ พบว่า

เจ้าหน้าที่และคนไข้ส่วนใหญ่พึงพอใจในประสิทธิภาพของเครื่องดังกล่าว และ
ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างยื่นขอจดสิทธิบัตร และพร้อมจะถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนใน
อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เพื่อนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป

      
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถไปชมการสาธิตการใช้งานเครื่องดึงหลังและคออัตโนมัติเครื่องแรกใน
ประเทศจากฝีมือคนไทยได้ในงานเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 47 ปี วว.

“วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต วว. คิดเพื่อคนไทย”

ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 พ.ค. 2553 ตั้งแต่เวลา 09.00 -17.00 น. ณ
วว. เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0-2577-9000 หรือ www.tistr.or.th
 
ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
 
อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ ที่ คนไทย เราทำได้ มาร่วมปรบมือให้ กันครับ พวกเรา  
 

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #13 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553, 20:22:35 »


ทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเครก เวนเตอร์ สถาบันเอกชน ได้ร่วมกันสร้างเซลล์ของแบคทีเรีย
ที่ควบคุมด้วยยีนซึ่งสร้างขึ้นในห้องทดลอง เซลล์นั้นสามารถทวีจำนวนขึ้นเองได้


ขอขอบคุณ น.ส.พ.ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 24 พ.ค.2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thairath.co.th/content/tech/84825



หัวหน้าทีมวิจัย นายเครก เวนเตอร์ อธิบายว่า "เป็นการสร้างเซลล์ สังเคราะห์สำเร็จขึ้นได้ครั้งแรก
เราเรียกมันว่าเป็นการสังเคราะห์ ด้วยเหตุว่าเซลล์ล้วนเกิดขึ้นจาก

โครงสร้างพันธุกรรมสังเคราะห์ทั้งหมด ตั้งต้นทำขึ้นมาจากสารเคมีในขวด 4 ขวดด้วยกัน
เขากล่าวว่าอาจจะใช้วิธีการนี้ไปออกแบบแบคทีเรีย สำหรับเพื่อใช้

ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือเพื่อกวาดล้างภยันตรายในสิ่งแวดล้อม มันเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง
ในความพยายามที่จะออกแบบสิ่งที่เราต้องการจะทำทางชีววิทยา
เรานึกถึงสิ่งจะเอาไปใช้ทำประโยชน์อย่างมากมายไว้ในใจอยู่แล้ว
"

 งง งง งง งง งง งง

งานวิจัยนี้ เป็นดาบสองคม ถ้าเกิดเชื้อพันธุ์ใหม่ มีทั้งดี และ ร้ายได้ ต้องมีมาตรการควบคุมให้ดี

 เหนื่อย เหนื่อย เหนื่อย
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #14 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2553, 07:49:23 »


เครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำยูนิตทำฟัน



ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์วันพุธ ที่ 26 พฤษภาคม 2553 เวลา 4:00 น  สนับสนุนเนื้อหาข่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=582&contentID=67916

ทุกวันนี้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทันตกรรมที่ใช้ตามโรงพยาบาลและคลินิกทำฟันในประเทศไทย
ส่วนใหญ่จะต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ

แต่ปัจจุบันเริ่มมีนักประดิษฐ์และวิจัยคนไทยคิดค้นเครื่องมือทันตกรรม เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้า
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจากต่างประเทศ

    
หนึ่งในเครื่องมือตัวอย่างที่นำมาเสนอในวันนี้ คือ

“เครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำของยูนิตทำฟัน”
เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์

ผลงานการประดิษฐ์ของ นายนิพัฒน์ พลด้วง หัวหน้างานวิศวกรรมซ่อมบำรุง
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    
ทั้งนี้ในวงการทันตกรรมมักจะประสบปัญหาเรื่อง ไบโอฟิล์ม (Biofilm) ซึ่งเป็นคราบจุลินทรีย์
ที่ก่อตัวขึ้นบนพื้นผิวในบริเวณที่มีน้ำมาหล่อเลี้ยง รวมทั้งยูนิตทำฟัน

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าน้ำที่ออกมาจากระบบน้ำของยูนิตทำฟันมีโอกาสเกิด
การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในปริมาณที่สูงเกินมาตรฐาน การทำความสะอาดระบบน้ำ
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นความหวังของวงการทันตกรรม เพราะ

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการในการกำจัดไบโอฟิล์มในระบบน้ำของยูนิตทำฟันให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำของยูนิตทำฟันได้เป็นผลสำเร็จ
จึงเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวให้หมดไป
    
นายนิพัฒน์ พลด้วง กล่าวว่า เมื่อทราบปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์หรือไบโอฟิล์ม  
จาก ผศ.ทพ.นพ.สุรพงษ์ วงศ์วัชรานนท์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลทันตกรรม
ก็มาคิดหาวิธีเพื่อกำจัดไบโอฟิล์ม ซึ่งเมื่อศึกษาค้นคว้าก็พบว่าวิธีหนึ่งก็คือ

การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะนำน้ำยาเข้าไปในระบบได้ จนเกิดแนวคิดถึง
การใช้ระบบควบคุมไฟฟ้าเข้ามาควบคุมลม ระหว่างถังน้ำปกติกับน้ำยาฆ่าเชื้อ และได้ทำการ
ประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้วัสดุภายในประเทศทั้งหมดและทดลองใช้ในระยะเวลา1เดือนผลเป็นที่น่าพอใจ

    
ต่อมา ผศ.ทพ.นพ.สุรพงษ์ ให้แนวคิดว่า หากไปติดตั้งเครื่องดังกล่าวทุกยูนิต จะมีค่าใช้จ่ายสูง

ถ้าออกแบบเครื่องให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ และปรับใช้ได้ทุกยูนิตก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น
จึงเป็นที่มาของเครื่องฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อน้ำของยูนิตทำฟันแบบเคลื่อนที่
มีจุดเชื่อมต่อในแต่ละยูนิต สามารถใช้งานได้กับทุกยูนิต  
    
“การดำเนินการเพื่อให้ทุกยูนิตของคลินิกทันตกรรม ติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จะนำแนวคิดนี้ไปเผยแพร่เพื่อให้ทันตแพทย์ทั่วประเทศได้ใช้  ซึ่งสิ่งประดิษฐ์คล้ายแบบนี้
ในต่างประเทศมีราคาสูงมาก แต่เครื่องที่คิดค้นขึ้นนี้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิภาพ  
การทำงาน ใช้งานได้ง่ายสะดวก แม้แต่คนงานก็ สามารถใช้เครื่องได้ไม่จำเป็นต้องเป็นทันตแพทย์

โดยโรงพยาบาลทันตกรรม มอ. ใช้เครื่องฆ่าเชื้อแบบเคลื่อนที่เพียง 1-2 เครื่อง
ก็สามารถใช้กับยูนิตทำฟันได้เกือบ 200 ชุด”
    
นอกจากนี้นายนิพัฒน์ ยังได้ประดิษฐ์

“ตู้ดูฟิล์มเอกซเรย์สำหรับงานทันตกรรม”

หลักการทำงาน คือการทำให้เกิดความสว่างด้วยหลอดไฟประมาณ 3 หลอดผ่านพลาสติกที่
ทำหน้าที่กรองแสง และจัดให้มีวัสดุที่สามารถติดฟิล์มเอกซเรย์ได้

ปัจจุบันได้นำมาใช้งานที่ รพ.ทันตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และปรับปรุงให้ใช้งานสะดวก
มีจอภาพที่ใหญ่ขึ้น และเหมาะกับการเรียนการสอนทางทันตกรรม และ
ช่วยให้ทันตแพทย์สามารถมองฟิล์มเอกซเรย์ได้ชัดเจน
    
ทั้งนี้ตู้ดูฟิล์มเอกซเรย์ จะต้องมีใช้ควบคู่กับยูนิตทำฟันทุกคลินิก ปกติต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ
ชุดละ 10,000 บาท แต่ตู้ที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้งบเพียงชุดละ 1,000 บาท
การนำมาใช้ในโรงพยาบาลทันตกรรมจึงช่วยประหยัดงบประมาณได้มาก
ขณะที่การใช้งานได้ไม่แตกต่างจากเครื่องราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศเลย.


 
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #15 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2553, 15:15:50 »


ขอขอบคุณเวบแคนนอตดอทอินโฟ วันศุกร์ 16 กรกฏาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://m.cannot.info/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%208%20%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%20%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ผนึก 8 สถาบันตั้ง "ศูนย์ข้อมูลวิจัยไทย"
 


ดร.ทวีศักดิ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านงานวิจัยของประเทศ มี สวทช. เป็นเจ้าภาพ เพื่อให้บริการด้านฐานข้อมูล
งานวิจัยทั้งหมด เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะแล้วเสร็จ...

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สวทช. จะจัดยุทธศาสตร์วิจัยใหม่
จากเดิมมี 8 กลุ่มยุทธศาสตร์ ซึ่งได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีมากไป จึงจะลดเหลือ 5 ยุทธศาสตร์ใหญ่
เพื่อให้ตรงกับปัญหาและโอกาสของประเทศ ประกอบด้วย

1. ด้านอาหารและการเกษตร

2. พลังงานและสิ่งแวดล้อม

3. สุขภาพและสาธารณสุข

4. อุตสาหกรรมการผลิต

5. ชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญมาก  เพราะนักวิจัยของ สวทช. ส่วนใหญ่
จะเก่งด้านวิชาการ แต่ขาดประสบการณ์ด้านชีวิตจริง  และข้อเท็จจริงของประเทศ

ดังนั้น ต้องลงพื้นที่ เพื่อรับคำปรึกษาจากคนในพื้นที่ เพื่อหาคำตอบว่า 
วิทยาศาสตร์จะช่วยอะไรได้บ้าง ที่ผ่านมา สวทช. ก็ดำเนินการต่อเนื่อง พบว่าเงินไม่สามารถ
แก้ปัญหาได้ แต่ความสำเร็จต้องมาจากความรู้ ความเข้าใจ เวลาและเงิน

จากนั้น จึงจะนำความรู้ลงสู่ชุมชน ไม่ใช่ไปอวดรู้
นอกจากนี้ การศึกษาในชุมชนชนบทถือเป็นสิ่งสำคัญที่ สวทช.จะต้องเข้าไปดำเนินงาน

ทั้งนี้ เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่งให้ สวทช.
นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงไปช่วยชุมชนให้มากที่สุด

"ที่สำคัญขณะนี้ สวทช. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัย 8 แห่ง คือ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านงานวิจัยของประเทศ มี สวทช. เป็นเจ้าภาพ เพื่อให้บริการด้านฐานข้อมูล
งานวิจัยทั้งหมด เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะแล้วเสร็จ"
นายทวีศักดิ์กล่าว.
 
ที่มา : www.thairath.co.th
วันที่ 16 Jul 2010
 
หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
 
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #16 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2553, 16:53:28 »


ขอขอบคุณเวบไทยรับวันเสาร์ 24 กรกฏาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thairath.co.th/content/life/98448



เหยาะยาหอมไทยลงหลอดทดลองทางการแพทย์สรรพคุณล้วนดีพร้อม
 
นักวิทยาศาสตร์จับยาหอมไทยมาวิจัยในห้องทดลอง พบว่า

มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ดีทั้งต่อระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารและไม่มีความเป็นพิษ

ผลการวิจัยร่วมกันของนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยในเมืองไทยภายใต้

โครงการบูรณาการการวิจัยและพัฒนายาแผนโบราณเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

ได้มีการวิจัยตั้งแต่ในส่วนประกอบของตำรับยาหอมไปจนกระทั่งถึงสรรพคุณ พบว่า

ในประเทศไทยมีตำรับยาหอมมากกว่า 500 ตำรับ แต่ละตำรับยานั้นประกอบด้วยสมุนไพรนับสิบชนิด

เช่น ตำรับยาหอมนวโกฐ ประกอบด้วยสมุนไพร 54 ชนิด เครื่องยาที่ใช้มีผลต่อระบบหัวใจ

และหลอดเลือด กับเครื่องยาที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร

ด้านผลการวิจัยที่ศึกษาฤทธิ์ตามสรรพคุณ  รศ.ดร.วิสุดา สุวิทยาวัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สรรพคุณของยาหอมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต และ

ระบบทางเดินอาหาร จากการศึกษายาหอม 4 ตำรับ ได้แก่

นวโกฐ และอินทรจักร (ตำรับกระทรวงสาธารณสุข) กับยาหอมของเอกชน ตำรับ ก. และตำรับ ข.

พบว่า ยาหอมทุกตำรับเพิ่มความดันโลหิตได้ ทุกตำรับมีแนวโน้มเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ

ทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมองและตามอวัยวะต่างๆ


อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์กล่าวด้วยว่า  สำหรับสรรพคุณต่อระบบทางเดินอาหารนั้น พบว่า

การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดลง   ทำให้การหลั่งเมือกที่เคลือบกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น  

ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร  และยังช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้  

กับลดการอาเจียนลง
 

น่าสังเกตด้วยว่าในทุกตำรับยา เมื่อเทียบกับยาลดกรดแผนปัจจุบัน  

สามารถลดกรดในกระเพาะอาหารลงได้ ครึ่งหนึ่ง   ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่กำลังดี

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นพิษ หรือพิษเฉียบพลัน ไม่พบว่ามีหนูทดลองตายและไม่มี

ความผิดปกติในระดับเนื้อเยื่อ กล่าวได้ว่า

จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่ายาหอมให้ผลในการรักษาที่ดี.

อย่างนี้ถ้าพบคนมีอาการอ่อนเพลียมึนงง อืดท้องแน่นท้อง
ก็น่าลองแนะนำชงยาหอมดื่มดู น่าจะได้ผล. gek

 
 เหอๆๆ เหอๆๆ เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #17 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2553, 15:58:38 »


ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันพุธ ที่ 11 สิงหาคม 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=84507
 
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร จัดประกวดอาหารเพื่อสุขภาพ
จากวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยของ สวก.




วันนี้ (11 ส.ค.) ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
เปิดเผยว่า การประกวดการออกแบบสูตร และการทำอาหาร เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้การจัดงาน
ประชุมวิชาการประจำปี 2553 หัวข้อ วิจัยการเกษตร เพื่อสุขภาพ ความงาม และอายุยืน

มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยแบ่งเป็นการประกวดอาหารประเภทคาวและประเภทหวาน ในระดับมืออาชีพ และนิสิต นักศึกษา
ซึ่งมี 2 รางวัลในแต่ละประเภท คือ

รางวัลชนะเลิศกับรางวัลชมเชย ชิงถ้วยรางวัล และเงินสด
ในระดับมืออาชีพ 50,000 บาท และ 20,000 บาท
ในระดับนิสิต นักศึกษา 30,000 บาท และ 10,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 8 รางวัล

ดร.นภาวรรณ กล่าวว่า เกณฑ์การตัดสินจะแบ่งเป็น 2 รอบ คือ
รอบแรกจะคัดเลือกให้เหลือประเภทละ10 ทีม โดยพิจารณาจากสูตรอาหารตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ
วัตถุดิบ ความเป็นไปได้ของสูตรการทำอาหาร และที่สำคัญต้องเป็นประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ

ส่วนรอบตัดสินผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ทีม จะต้องทำอาหารโชว์ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสินฯ ทั้งหมด
จึงขอเชิญทุกท่านที่มีความสามารถในการทำอาหาร และคิดเมนูใหม่ ๆ เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้

ผู้สนใจที่จะเข้าร่วมประกวดการทำอาหาร สามารถดูรายละเอียด และดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
www.arda.or.th
หรือสอบถามที่ สำนักเกษตรพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์
02-579-7435 ต่อ 137, 138  รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2553.


 win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #18 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2553, 20:21:54 »


ขอขอบคุณเวบไทยรัฐวันพุธ 18 สิงหาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thairath.co.th/column/eco/capable/103150

มหัศจรรย์ "ดินสอพอง" จากแป้งผัดหน้า เป็นตุ๊กตาลิง
      
 

ปัจจุบันการวิจัยไม่ใช่เรื่องที่ต้องทำเฉพาะในห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บเท่านั้น แต่สามารถ
ทำได้ทั่วไป โดยเฉพาะด้านการ "เพิ่มมูลค่า" ที่นับวันจะเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น อย่างการนำ
"ดิน สอพอง" มาพัฒนาต่อยอด กระทั่งสามารถ "ขึ้นรูปปั้น" ให้ออกมาเป็นชิ้นงานต่างๆได้



รศ.ดร.นันทนา แจ้งสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี บอกกับ "ทำได้ ไม่จน" ว่า...ดินสอพองซึ่งแหล่งใหญ่พบมาก
ในแถบจังหวัดลพบุรี ซึ่งในอดีตคนโบราณจะนำดินชนิดนี้มาเป็นเครื่องประทินโฉม
"แตะเติมเสริมแต่ง" ใบหน้าให้ดูดีมีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม



ส่วนการปั้นขึ้นรูป "ลิงสอพอง" ซึ่งเป็นการแสดงเอกลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี โดยขั้นแรกต้อง
ออกแบบลักษณะท่าทางลิงจากศิลปะแม่ไม้มวยไทย อันมีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามพร้อม
ทั้งสร้างรูปแบบให้มีความแปลกใหม่อันเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก
นำดินฯ มาผสมสีน้ำตาลเพื่อทำตัว และสีเหลืองสำหรับตกแต่งรายละเอียด



ครอบครัววานร เอกลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี

"ที่ผ่านมาทางสถาบันฯ ได้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ขบวนการต่างๆให้กับกลุ่มแม่บ้านในพื้นที่ไปแล้ว 5-6 รุ่น ส่งผลให้หลายคนมีรายได้ จากชิ้นงานปั้นในแต่ละเดือนเฉลี่ย 8,000-10,000 บาท"

สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้ ไปพบกันได้ที่งาน "การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2553"
(Thai- land Reseach Expo 2010) ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ 
ราชประสงค์  กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 26-30  สิงหาคม  หรือ
กริ๊งกร๊างสอบถามได้ที่  โทร.0-3661-1201 ในวันและเวลาราชการ


โดย : เพ็ญพิชญา เตียว

  รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #19 เมื่อ: 15 กันยายน 2553, 07:36:07 »


                 Rainbow Rose - กุหลาบดอกเีดียวแต่มีหลายสี เขาทำกันอย่างไร?

                          

                      เนเธอร์แลนด์หรือฮอลแลนดฺ์คือดินแดนแห่งดอกไม้เมืองหนาว  

                          

                        มีการพัฒนาพันธ์ดอกไม้ให้ดูสวยงามและแปลกตาอยู่ตลอด  

                          

                               รวมทั้งดอกกุหลาบที่มีหลายๆ สีอยู่ในดอกเีดียว  

        ผู้ที่สามารถทำให้ดอกกุหลาบมีหลายๆ สีในดอกเีดียวก็คือ

                                

                                         River Flowers และ F.J. Zandbergen

       2 บริษัทที่ทำธุรกิจพันธ์ไม้ดอกในเนเธอร์แลนด์  โดยเริ่มทำการทดลองตั้งแต่ปี 2004 และในที่สุดก็สามารถทำให้ดอกกุหลาบ ดอกเีดียวมีกลีบดอกหลากสีได้สำเร็จ  

        โดยอาศัยหลักว่ากลีบดอกจะได้รับสารอาหารที่ส่งผ่านท่อส่งน้ำเลี้ยงภายในลำต้น พวกเขาเลยแบ่งท่อส่งน้ำเลี้ยงออกเป็นหลายๆ ท่อส่งและเติมสีที่ต้องการลงในแต่ละท่อส่ง ทำให้กลีบดอกกุหลาบดอกเีดียวมีสาระพัดสีตามต้องการ  

         วิธีการนี้ยังสามารถใช้ได้ผลกับดอกไม้อีกหลายๆ พันธ์ เช่น ดอกเบญจมาศ และดอก Hydrangea

ที่มา: http://www.pickchur.com/2010/05/how-to-grow-a-rainbow-rose-naturally/

               รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #20 เมื่อ: 18 กันยายน 2553, 19:50:18 »


                         'หุบเขาอาหาร' ในเนเธอร์แลนด์
            วันจันทร์ที่ 06 กันยายน 2010 กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ   
                 คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ    - ดร.วีรชัย พลาศรัย
 
                 http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=40735:2010-09-06-02-24-40&catid=185:2009-09-02-02-41-32&Itemid=538

                    

        สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินชื่อ Silicon Valley กันมาจนคุ้นหูแล้ว วันนี้ผมขอนำเรื่อง "Food Valley" ที่เนเธอร์แลนด์มาเล่าสู่กันฟังครับ

        อย่าเพิ่งแปลกใจนะครับว่าภูมิประเทศที่ราบเรียบอย่างในเนเธอร์แลนด์ มีภูเขาหรือพื้นที่พอที่จะเรียกว่า "Valley" กับเขาด้วยหรือ

         "Food Valley" ที่ว่านี้เป็นแหล่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่ล้ำหน้าและประสบความสำเร็จพอๆ กับ Silicon Valley ในบริบทของอุตสาหกรรมไฮเทคของสหรัฐฯ เชียวล่ะครับ  

         "Food Valley" ไม่ใช่หุบเขาที่ให้คนไปเดินเล่นซื้อหาหรือเก็บเกี่ยวอาหาร แต่เป็นเขตพื้นที่สำหรับพัฒนาแนวคิดการสร้างคลัสเตอร์ด้านการผลิตอาหารให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้อาหารที่ดี ปลอดภัย และมีคุณค่า รสชาติ ตลอดจนรูปลักษณ์ที่ปรับให้เข้ากับผู้บริโภค

         "Food Valley" มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Wageningen ตอนกลางของเนเธอร์แลนด์ โดยจัดให้ ธุรกิจ สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัยด้านอาหาร/เกษตร มาอยู่รวมกัน

         มีกลไกการบริหารเป็นนิติบุคคลอิสระในรูปของ "Stichting" ตามกฎหมายเนเธอร์แลนด์ (พอจะตรงมูลนิธิของเรา) ซึ่งมุ่ง

         ให้มีการนำองค์ความรู้ด้านอาหารที่เกิดจากภาควิชาการและการค้นคว้าวิจัยของภาคธุรกิจ ไปพัฒนาต่อและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย หน่วยงานนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ สหภาพยุโรป รัฐบาล เทศบาลท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนซึ่งเป็นสมาชิกสมาคม Food Valley เช่น Heinz, Philips, Fujifilm, Kikkoman, Danone เป็นต้น

         จะเน้นสนับสนุนการคิดค้นใหม่ๆ ด้านอาหาร ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานระหว่างผู้เป็นเจ้าขององค์ความรู้กับภาคธุรกิจ และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความรู้ โดยเอื้ออำนวยให้ภาคธุรกิจ สถาบันวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ ทำงานร่วมกัน รวมถึงทำการศึกษาในหัวข้อเฉพาะต่างๆ และสนับสนุนการจัดตั้งบริษัท start-up และการจัดตั้งธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติ (รวมถึงการตั้งถิ่นที่อยู่ของ expats และครอบครัว) ในพื้นที่นี้ด้วย  

         เพื่อให้เห็นภาพกิจกรรมของ Food Valley ผมขอเล่าถึง Kikkoman จึงเข้ามาจัดตั้งบริษัทในตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์เพื่อผลิตซอสถั่วเหลืองสำหรับยุโรปโดยตรง แทนการนำเข้าซอสที่ผลิตจากญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยของธุรกิจเนเธอร์แลนด์เพื่อหาลักษณะเฉพาะของอาหารที่มีส่วนประกอบเหมาะกับวัตถุประสงค์การนำไปใช้

         เช่น นมที่มีสารอาหารเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพคน นมที่มีส่วนประกอบเหมาะแก่การผลิตเนยแข็ง หรือไข่เสริมคุณค่าที่ช่วยยับยั้งโรคตาบางชนิดในผู้สูงอายุ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่า Food Valley พยายามตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริโภคในยุโรปมีแนวโน้มที่ต้องการอาหารสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผลิตภัณฑ์อาหารจำเป็นต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาสูงขึ้น

         เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการวิจัยสาขาการเกษตรและชีวเทคโนโลยีเป็นทุนอยู่แล้ว การที่เขาสามารถแปรองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาที่ล้ำหน้าเหล่านั้นให้เป็นรูปธรรม นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยความรู้  จึงไม่น่าแปลกใจที่ความสามารถการแข่งขันของเนเธอร์แลนด์ในอุตสาหกรรมอาหารและชีวเทคโนโลยีอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก และเป็นจุดแข็งที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย  

        ประเทศผู้ส่งออกอาหารทั่วโลกเริ่มมอง Food Valley เป็นต้นแบบสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของตนบ้างแล้ว ไทยมีธุรกิจอาหารที่หลากหลายและส่งออกไปทั่วโลก เรามีคลังความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ได้รับตกทอดมาอยู่ก็ไม่น้อยแม้จะยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เท่าประเทศตะวันตกก็ตาม เราน่าจะศึกษารูปแบบ Food Valley หรือพิจารณาไปลงทุนที่นั่นนะครับ  เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทางวิทยาการของเขา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย Wageningen ที่เป็นหนึ่งในตองอูเรื่องอาหารและการเกษตร และเครือข่ายธุรกิจซึ่งประกอบด้วยบริษัทชั้นนำต่างๆ ที่สร้างสรรค์และริเริ่มเทคโนโลยีด้านอาหารใหม่ๆ อันน่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารของไทยไปให้ไกลอีกขั้นหนึ่ง คือขั้นที่ tailor-made ให้เข้ากับผู้บริโภคเป้าหมายในยุโรปและโลกตะวันตก สาขาหนึ่งที่น่าจะพัฒนาได้โดยอาศัยการอำนวยความสะดวกของ Food Valley คืออาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูง และคนไทยเราชำนาญเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ท่านใดสนใจ ติดต่อผมได้เสมอครับ

                                           

                           ฯพณฯ ดร. วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย
                                      กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

             http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=137397

                                                gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #21 เมื่อ: 22 กันยายน 2553, 22:02:17 »


         ขอขอบคุณเวบข่าวสด วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7237
         http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNakl5TURrMU13PT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE1DMHdPUzB5TWc9PQ==

                           เกมยิงปืนกระตุ้นโหด-แต่เพิ่มทักษะตัดสินใจ

         ถึงแม้งานวิจัยหลายชิ้นจะพบว่า การเล่นวิดีโอเกมแนวแอ๊กชั่นที่ถูกมองว่ารุนแรงอย่าง "เกมยิงปืน" ส่งผลให้ผู้เล่นมีพฤติกรรมก้าวร้าว แต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กในสหรัฐค้นพบข้อดีของเกมประเภทนี้ว่า ช่วยพัฒนาทักษะการตัดสินใจของผู้เล่นให้มีความฉับไวขึ้นในชีวิตประจำวัน

         ดาฟเน่ บาเวเลียร์ นักวิจัยกล่าวว่า เกมแนวต่อสู้อย่างเกมยิงปืน ที่ผู้เล่นจะต้องผ่านด่าน โดยไม่รู้ว่าศัตรูซุ่มอยู่ที่ใด ช่วยปรับปรุงไหวพริบและทำให้ระบบรับรู้ความรู้สึกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเกมประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมวางแผนหรือเกมที่มีการสวมบทบาทต่างๆ เช่น เกมซิม

         งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารเคอร์เรนต์ไบโอโลจี้ ได้จากการ

ให้อาสาสมัคร 26 คน อายุ 18-25 ปี ซึ่งไม่เคยเล่นเกมยิงปืนมานานหลายเดือน
ครึ่งหนึ่งให้เล่นเกมยิงต่อสู้ 50 ชั่วโมง อีกครึ่งหนึ่งเล่นเกม

                                      ซิมส์ 2

         

        http://www.shusun.com/thaithesims2/

        จากนั้นทดสอบด้วยการให้ตัดสินใจเลือกทิศทางของกลุ่มจุดบนหน้าจอที่กำลังเคลื่อนในความเร็วระดับต่างๆ กัน และให้ฟังเสียง โดยตอบว่าหูข้างใดได้ยินเสียง นักวิจัยพบว่า กลุ่มที่เล่นเกมยิงปืนตัดสินใจได้เร็วและถูกต้องกว่าอีกกลุ่มถึง 25%

        "วิดีโอเกมแอ๊กชั่นไม่มีสูตรแก้ปัญหาตายตัว เพราะสถานการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย หรือเกิดซ้ำ ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องใช้ความเร็วและความแม่นยำในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็วและเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ดาฟเน่ กล่าว

         เมื่อต้นปี งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนานาชาติเอแอนด์เอ็ม รัฐเท็กซัส พบว่า

         วิดีโอเกมรุนแรงทำให้คนบางคนก้าวร้าวและโหดเหี้ยมขึ้นจริง แต่ก็ยังพบว่าเกมประเภทนี้ส่งผลดีกับบางคนในการพัฒนาทักษะการมองเห็น และการคำนวณระยะทางดีขึ้นได้ด้วย

                        gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #22 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2553, 07:50:54 »


               ดันตั้งแล็บวัคซีนทดลองในคน
การศึกษา-สาธารณสุข 1 ตุลาคม 2553 http://www.thaipost.net/news/011010/28164

      "สธ." เตรียมของบ ครม.กว่า 5,000 ล้านบาท เดินหน้าโครงการผลิตวัคซีน 7 ชนิด ตั้งเป้า 10 ปีได้ใช้ไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ "หมอสุธี" เร่ง สธ.ของบ 150 ล้านบาท สร้างห้องแล็บจีเอ็มพี ทดลองในคน ประเดิมผลิตวัคซีนโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างแรก รองรับการระบาดโรคไข้เลือดออกทั่วโลกเพราะภาวะโลกร้อน ฉีดเข็มเดียวครอบคลุมเชื้อ 4 สายพันธุ์

                 

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนงานโครงการสำคัญเพื่อการส่งเสริมการวิจัยและการผลิตวัคซีนของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนใช้เองโดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐาน 7 ชนิด ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาเป้าหมายการผลิตชัดเจน รวมไปถึงการขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อนำไปใช้ได้จริง คือ วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ตั้งเป้าหมายระยะเวลา 10 ปี วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน 2 ปี และวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี 4 ปี วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยง 5 ปี และวัคซีนป้องกันวัณโรคที่ปัจจุบันมีการผลิตใช้อยู่แล้วโดยสภากาชาดไทย แต่จากนี้จะมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น แผนการผลิตวัคซีนนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.โดยเร็ว โครงการเหล่านี้จะใช้งบประมาณรวมกันทั้งสิ้นกว่า 5,000 ล้านบาท

     "ขณะนี้การใช้วัคซีนในประเทศตกปีละ 3,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเกือบทั้งหมด หรือร้อยละ 80 และผลิตเองร้อยละ 20 เท่านั้น หากสามารถผลิตเองได้จะช่วยประหยัดงบประมาณลงได้" รมว.สาธารณสุขกล่าว

                 

     ขณะที่ ศ.นพ.สุธี ยกส้าน หัวหน้าศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้การวิจัยวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งในขั้นหลอดทดลองและสัตว์ทดลองได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยเป็นวัคซีนรวมสามารถป้องกันเชื้อเดงกี่ได้ 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกัน ถือเป็นเชื้อต้นแบบที่จะนำมาผลิตวัคซีนเพื่อฉีดทดลองในคนต่อไป แต่ขณะนี้เรายังติดปัญหาเนื่องจากไม่มีแล็บมาตรฐาน เพื่อเตรียมเชื้อวัคซีนฉีดในคนได้ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้ร่วมกับ สธ.เพื่อของบประมาณจำนวน 150 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างห้องปฏิบัติการดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง จึงจะได้วัคซีนทดลองที่จะทดสอบในคน

     ศ.นพ.สุธีกล่าวว่า หลังได้วัคซีนที่จะทดลองในคนแล้ว ในการทดลองยังต้องใช้เวลาทดลองอีก 8 ปี แบ่งเป็นการทดลอง 3 ระยะ คือ 1.การฉีดในอาสาสมัคร 50 คน เพื่อดูความปลอดภัย และการสร้างภูมิคุ้มกัน 2.การฉีดทดลองในอาสาสมัครจำนวน 400-500 คน และ 3.การทดลองในอาสาสมัครจำนวนหลายพันคน โดยกระจายไปตามประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียอาคเนย์ เอเชียใต้ และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากขณะนี้โรคไข้เลือดออกได้แพร่กระจายไปทั่ว รวมถึงแถบยุโรปจากสภาวะโรคร้อนที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการวิจัยทั้งหมดนี้เพื่อให้การผลิตวัคซีนเป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ

     สำหรับงบประมาณในการวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันรวมกว่า 100 ล้านบาท แต่การทดลองจากนี้ต้องใช้งบประมาณอีก 250 ล้านบาท ถือเป็นงบวิจัยที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ.

                  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #23 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 20:28:47 »


                ครบวงจรช่วยชาวใต้แปรรูป “ลองกอง” เป็นสารพัดของกิน
                       โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   13 ตุลาคม 2553
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000141638

                              

                  ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลองกอง (ซ้ายไปขวา)
                น้ำลองกองแบบพาสเจอร์ไรซ์ ลองกองอบแห้ง
                            และ น้ำลองกองแบบยูเอชที


                              

                        เครื่องล้างและปลิดขั้วลองกอง

                              

               เจ้าหน้าที่สาธิตการใช้งานเครื่องคั้นน้ำผลไม้

                              

                             น้ำลองกองจากเครื่องคั้น

                              

           ดร.วีระชัย (ที่ 4 จากซ้าย) พร้อมด้วย นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ (ที่ 3 จากซ้าย)
            นางเกษมศรี หอมชื่น (ที่ 5 จากซ้าย) และเจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาตร์ฯ
                                        ธนาคารอิสลาม และ วว.


        ก.วิทย์เผยความสำเร็จแปรรูป “ลองกอง” ครบวงจรช่วยเหลือชาวใต้ได้เป็นสารพัดของกิน ทั้งน้ำผลไม้ลองกอง เยลลี่ลองกองรสเยี่ยม ลองกองลอยแก้ว แยมลองกอง ลองกองอบแห้ง พร้อมจับมือธนาคารอิสลามถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่พี่น้อง 5 จังหวัดชายแดน พร้อมความช่วยเหลือด้านทุนและการตลาด
      
       ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลองกอง ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จนได้เครื่องล้างและปลิดขั้วลองกอง เครื่องคั้นน้ำลองกอง และผลิตภัณฑ์แปรรูปลองกองเป็นเครื่องดื่มน้ำลองกอง เยลลี่ลองกอง แยมลองกอง ลองกองลอยแก้วและลองกองแช่อิ่มอบแห้ง
      
       ผลงานดังกล่าวเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และทรงพบปัญหาลองกองล้นตลาด จึงทรงมีพระราชดำริให้วิจัยและพัฒนาการแปรรูปลองกองเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้สนองแนวพระราชดำริดังกล่าวโดยมอบหมายให้ วว.ดำเนินโครงการ
      
       หลังจากนี้ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะนำเทคโนโลยีไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และร่วมมือกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งจะดูแลเรื่องเงินทุนและการตลาดให้ เนื่องจากมีเครือข่ายลูกค้าและทราบดีว่าเกษตรกรหรือผู้ประกอบการรายใดที่มีศักยภาพพร้อมที่รับการถ่ายทอด
      
       ด้านนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังจากลงนามความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูปลองกองให้แก่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ปัญหาของ 5 จังหวัดชายแดนใต้คือมีผลผลิตแต่ไม่มีคนกล้สเข้าไปเก็บหรือรับซื้อ ซึ่งไม่เพียงแค่ปัญหาเรื่องลองกอง แต่ยังมีปัญหากับมังคุดและเงาะอีกด้วย
      
       ในส่วนของลองกองนั้นธนาคารให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในรุปของการประกันราคา โดยเมื่อไรที่ลองกองราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 14 บาทจะเข้าไปรับซื้อ แต่วิธีช่วยเหลือที่ยั่งยืนที่สุดคือการหาผลผลิตที่เป็นยอมรับป้อนแก่ตลาด ถ้าทำได้เกษตรกรก็จะกลับเข้าไปในสวน ดูแลตกแต่งให้ได้ผลผลิตมากขึ้น อันเป็นหนทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ดีกว่ารับซื้ออย่างเดียว
      
       ด้าน นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ในช่วงแรกจะทำน้ำลองกองเป็นหลัก ซึ่งนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ทั้งน้ำลองกอง แยมลองกอง เยลลี่ลองกอง แต่คงไม่หยุดแค่นี้ ซึ่งต่อไปจะทำให้เหลือของเสียน้อยที่สุด โดยจะวิเคราห์หาว่าเปลือกแลเมล็ดลองกองนั้นมีฤทธิ์ในทางยาหรืออาหารอะไรบ้าง
      
      พร้อมกันนี้ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้พูดคุยกับ นายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ นักวิชาการฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. ผู้พัฒนาเครื่องจักสำหรับล้างและปลิดขั้วลองกองและเครื่องคั้นน้ำลองกอง โดยเขากล่าวว่า

        ในกระบวนการแปรรูปลองกองเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมยังต้องมีเครื่องปอกเปลือกลองกอง ซึ่งเป็นเรื่องยาก เนื่องจากโดยปกติเมื่อปอกลองกองด้วยมือก็ยากอยู่แล้ว อีกทั้งลูกลองกองไม่กลม และ ยังมีโจทย์ว่าต้องปอกให้เร็วและไม่ให้ยางปนเปื้อน ทั้งนี้คาดว่าจะทำได้แล้วเสร็จประมาณปลายปี 2554

                  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #24 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 08:06:26 »


            ทันตแพทย์ มอ.เปิดผลงานวิจัย แบคทีเรียต้านฟันผุในช่องปาก
                ขอขอบคุณเวบแนวหน้าวันศุกร์ 5 พ.ย.53ที่เอื้อเฟื้อข่าว
                 http://www.naewna.com/news.asp?ID=235124

                        

                                      รศ.ดร.รวี เถียรไพศาล
               ผ.อ.สถานวิจัยโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาด
               คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)


         เปิดเผยว่า จากการศึกษาความชุกของฟันผุในเด็ก ที่ อ.เทพา จ.สงขลา พบว่า มีเด็กจำนวนประมาณ 15% ที่ฟันไม่ผุ ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยพบว่าเกิดจากมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่อาจช่วยป้องกันเชื้อที่เป็นสาเหตุของฟันผุ จึงได้นำมาศึกษาในห้องทดลองและพบว่ามีเชื้อ Lactobacillus paracasei สายพันธุ์หนึ่งในหลายสายพันธุ์ ที่เหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ ซึ่งได้ตั้งชื่อว่า

                          Lactobacillus paracasei SD1

         ทั้งนี้การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการย่อยหนึ่งในโครงการ "ระบาดวิทยาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพภาคใต้" โดยมี ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ สำหรับคณะผู้วิจัยประกอบด้วย รศ.ดร.รวี เถียรไพศาล ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ ผศ.ดร.ทพญ.สุกัญญา เธียรวิวัฒน์ และ ดร.สันทัด วิเชียรโชติ

         "ที่ผ่านมามีการนำเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Lactobacillus บางสายพันธุ์มาใช้ เช่น ป้องกันโรคฟันผุ โรคปริทันต์ เชื้อราในช่องปาก หรือช่วยระงับกลิ่นปาก แต่เชื้อเหล่านั้นสามารถเกาะติดในช่องปากได้เพียงชั่วคราว เนื่องจากไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในช่องปาก

        แต่สายพันธุ์ที่คณะวิจัยค้นพบ เป็นเชื้อที่ได้จากช่องปากจึงมีคุณสมบัติที่ยึดเกาะเยื่อบุในช่องปากได้ดีกว่า รวมทั้งมีความสามารถการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุ และสร้างกรดได้น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ยับยั้งเชื้อฟันผุอื่นๆ ซึ่งล่าสุดได้มีการนำไปยื่นคำขอจดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว" รศ.ดร.รวี กล่าว
                                      
                              win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><