กำหนดการท่องเที่ยวเขื่อนศรีนครินทร์และลงชื่อผู้ร่วมเดินทาง วันที่19-20 ก.ย.52
songkeat2515:
กำหนดการท่องเที่ยว เขื่อนศรีนครินทร์ วันที่ 19-20 กันยายน 2552
วันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2552 นัดพบที่หอซีมะโด่ง
07.00น. ล้อรถเคลื่อน จากหอซีมะโด่ง เสริฟอาหารเช้า บนรถ
10.00น. เดินทางถึง ช่องเขาขาด ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่2
ช่องเขาขาด
เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะที่เฉลยศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดเจาะภูเขาหินให้เป็นช่อง
ทางรถไฟผ่านได้ ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 66 ในพื้นที่ของ กรป.กลาง อำเภอไทรโยค
ช่องเขาขาดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ
เป็นสถานที่จัดแสดงมินิเธียเตอร์และรวบรวมข้อมูลถ่ายภาพ ข้าวของเครื่องใช้ระหว่างทางรถไฟในสมัย
สงครามโลกครั้งที่สอง พิพิธพัณฑ์นี้จัดไว้อย่างสวยงาม ภายในบริเวณ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไปยังช่องเขาขาดซึ่งเป็นเส้นทางที่สวยงาม และสะดวกสบายในการเดินชมธรรมชาติ
ความเป็นมาของ ช่องเขาขาด กาญจนบุรี
สถานอนุสรณ์ที่แสดงถึงความโหดเหี้ยมของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทยคือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ในจังหวัดกาญจนบุรี และมีอีกสถานที่หนึ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ ช่องเขาขาด ซึ่งก็อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีเช่นกัน
ช่องเขาขาดเป็นเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า ที่ญี่ปุ่นต้องการสร้างผ่าน และดำเนินการสร้างโดยเชลยศึกชาวออสเตรเลีย และเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร เล่ากันว่าช่องทางที่เรียกว่าช่องเขาขาดนี้ ทหารญี่ปุ่นใช้ทหารเชลยเป็นทาสในการก่อสร้างทาง ชีวิตทหารเหล่านั้นล้มตายกันเป็นเบือ เพราะทำงานหนักและโรคภัยไข้เจ็บที่ชุกชุม โดยเฉพาะไข้ป่า
ช่องเขาขาดเป็นทางแคบๆ ที่ตัดผ่านเนินเขา มูลดิน ขอบทางรถไฟ และสะพานซึ่งมีอยู่มากมาย ต่อสถานที่เหล่านี้กลายมาเป็นโครงการพิพิธภัณฑสถานช่องเขาขาด เพื่อรำลึกถึงเหล่าทหารที่ต้องทุกข์ทรมานเหล่านั้น
การตัดทางผ่านภูเขา มูลดิน ขอบทางรถไฟ และสะพานมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทหารญี่ปุ่น ในการลำเลียงทหารและเสบียงไปช่วยทหารญี่ปุ่นในประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นทหารญี่ปุ่นสามารถตั้งมั่นอยู่ในประเทศพม่าแล้ว
การก่อสร้างช่องเขาขาดเริ่มด้วยแรงงานของเชลยศึกชาวออสเตรเลียจำนวน 400 คน และญี่ปุ่นได้เพิ่มเชลยศึกขึ้นอีกเพื่อให้การก่อสร้างสำเร็จตามกำหนด ส่วนทหารเชลยศึกที่เพิ่มเข้ามาส่วนมากยังเป็นทหารชาวออสเตรเลีย และทหารจากสหราชอาณาจักร
มีบันทึกว่า บรรดาเหล่าเชลยศึกจะใช้ค้อนหนัก 8 ปอนด์ สว่าน ระเบิด เสียม พลั่ว จอบ และตะกร้าหวายอันเล็กๆ เพื่อขนดินออกไปเททิ้งข้างนอกทาง และพวกเขาทำงานอย่างทรมาน บางคนเสียชีวิตอย่างน่าเวทนาในที่ทำงาน
ในขณะที่ก่อสร้างเส้นทางสายนี้นั้น เป็นช่วงมรสุมที่รุนแรง และการก่อสร้างช่องเขาขาดยังต้องเผชิญกับความกดดันอย่างสูงจากวิศวกรชาวญี่ปุ่น และผู้คุมชาวเกาหลี ที่ได้บังคับให้พวกเขาทำงานวันละ 12-18 ชั่วโมง นับจากเดือนมิถุนายน 2486 จนเดือนสิงหาคมในปีเดียวกัน
ระหว่างการสร้างสะพานรถไฟให้เสร็จทันกำหนดนั้น เหล่าทหารเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรขนานนามช่องเขาขาดว่า ช่องนรก ด้วยเหตุที่ผู้คุมชาวญี่ปุ่นบังคับให้นักโทษทำงานในเวลากลางคืน ใช้แสงสว่างจากคบไฟ ซึ่งให้ความรู้สึกว่าที่นี่คือขุมนรกบนโลกจริงๆ
ในช่วงที่เร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จตามกำหนดเรียกว่าช่วง สปิโต หรือตอนเร่งรัด
ช่องเขาขาดยังเป็นอนุสรณ์สถานที่ทหารญี่ปุ่นกระทำไว้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยากจะมีผู้ลืมเลือน
(ข้อความนี้ ได้มาจากสถานทูตออสเตรเลียที่จัดทำขึ้น เพื่อรำลึกถึงทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งพิธีดังกล่าวจัดในวันที่ 25 เมษายน 2547)
11.30น. ออกเดินทางไปชม น้ำพุร้อนหินดาด
แวะรับประทานอาหารกลางวัน ที่นี่ จากนั้นนำชม น้ำพุร้อน
น้ำพุร้อนหินดาด เดิมเรียกว่า น้ำพุร้อนกุยมั่ง เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติริมลำธาร อุณหภูมิประมาณ 45-55 องศาเซลเซียส ค้นพบโดยทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้สร้างเป็นบ่อซีเมนต์ขึ้น 2 บ่อ เชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนแห่งนี้ มีสรรพคุณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลายอย่าง เช่น โรคเหน็บชา ไขข้ออักเสบ นักท่องเที่ยวสามารถลงอาบน้ำในบ่อได้ และยังมีลำธารน้ำเย็นไหลอยู่ด้านล่างบ่อน้ำร้อน
การเดินทาง สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 323 บริเวณกิโลเมตรที่ 105–106 อยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี 135 กิโลเมตร
จากนั้น นำท่านเยี่ยมชม น้ำตกผาตาด
น้ำตกผาตาด เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ห่างจากอำเภอเมือง 140 กิโลเมตร เกิดจากลำห้วยเล็กๆ บริเวณเทือกเขากะลา น้ำตกผาตาดเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมีชั้นน้ำตกลดหลั่นกันไปถึง 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความกว้าง ความสูงที่ตระการตา และมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน บรรยากาศร่มรื่น มีต้นไม้ปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ
การเดินทาง สามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 323 ช่วงกิโลเมตรที่ 105–106 โดยเลี้ยวเข้าทางเดียวกับพุน้ำร้อนหินดาด และอยู่เลยจากพุน้ำร้อนหินดาดเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร
14.30น. เดินทางไปยังเขื่อนศรีนครินทร์
17.30น. เข้าที่พัก
18.30น เริ่มรายการสังสรร วันอำลา แก่พี่ธิดา
วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2552
8.00น อาหารเช้า
9.00น.-10.00น. ออกเดินทางจากเขื่อนศรีนครินทร์
11.00น.-12.00น. อาหารกลางวัน ระหว่างทาง
15.30น. ถึงจุฬา
16.00น. เข้าชม ดนตรี รำลึกวันทรงดนตรี
songkeat2515:
ลงชื่อผู้ร่วมเดินทาง
ลำดับที่ 1 คุณทรงเกียรติ หลิ่มศิริ
2.คุณวรงค์ รุ่งรุจิไพศาล
3.คุณกนกวรรณ สิกขโกศล
Thippy:
ขอเพิ่มเติมรายชื่อ นะคะ
4. คุณโสภณ สิกขโกศล
5. พี่ธิดา
6. พี่จีระศักดิ์
7. คุณชาตรี ไชยเขตต์
8. ภรรยาคุณชาตรี
9. คุณพูนสุข โตชนาการ
10. คุณจรงทิพย์
11. คุณพรพิลาศ
yyswim:
ไปไหน ไปด้วย...
12. นภดล ลิ้มสุรัตน์
Thippy:
เพิ่มเติมรายชื่อ ค่ะ
13. พี่โอภาส
14. พี่แววตา
15. พี่วิทิดา
16. พี่สุภาณี
17. อ.เผ่า
18. อ.แจ่มใส
19. พี่สิริพร (พี่เหน่ง)
20. พี่สมเกียรติ
21. คุณพิศมัย (มิชิโกะ)
22. อ.พินิจ
23. พี่จันทร์แจ่ม
24. พี่สมพงศ์
25. ภรรยาพี่สมพงศ์ และบุตร
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป