23 พฤศจิกายน 2567, 22:04:38
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 87   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: @==ซีมะโด่งทัวร์ปักกิ่ง===@  (อ่าน 557107 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #325 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 10:50:51 »

43. พระราชวังกู้กง 18


1500
ช้างสัมฤทธิ์ปิดทอง ฝั่งขวาของประตู ผ้าที่ปูหลังช้างเป็นลายมังกร กับหงส์ คือ ฮ่องเต้ และ ฮองเฮา
แต่เพราะจัดท่านั่งหมอบของช้างผิดรูป ทำให้เกิดความฉงนว่าเป็นท่าหมอบของช้างจริงหรือไม่ ?? ?
จากภาพล่าง ขาหน้าของช้างมี 3 ท่อน ในขณะที่ขาหลัง จะมีเพียง 2 ท่อน ท่าที่ถูกต้องจะเป็นแบบของไม้ตัดแต่ง



เทียบกับช้างหมอบที่ตัดแต่งจากไม้ตะโกดัด



เนื่องจากในสมัยก่อน จีนจะไม่ค่อยได้เห็นช้าง เพราะไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่น ช้างมีมากในพม่า ไทย อินเดีย
การจำลองรูปช้างจึงไม่ค่อยสมจริงเท่าใดนัก




      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #326 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 10:52:55 »

44. พระราชวังกู้กง 19



จากนั้นจะพบต้นไม้รูปร่างแปลกๆ และหลายพันธุ์ปลูกปะปนกัน ต้นนี้มีปุ่มปมที่โคนต้น บ้านเราจะมีปมเช่นของต้นไม้มะค่า
ดูใกล้ๆ พบว่ามีการเทคอนกรีตหล่อในส่วนที่เป็นโพรงรวมทั้งมีลวดรัดต้นไม้ไว้ กันต้นฉีกขาดและอาจหักโค่นลงมาได้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #327 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 10:54:14 »

45. พระราชวังกู้กง 20



ความสวยงามของปุ่มปม ที่ต้องใช้เวลานับร้อยๆปีในการพัฒนาของตัวต้นไม้เอง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #328 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 10:57:46 »

46. พระราชวังกู้กง 21



ตำหนักสำหรับเลือกนางสนมเข้าวัง อยู่ในประตูชั้น 3 ท่านกลางต้นไม้ สวนหิน และเก๋งที่ฮ่องเต้จะเข้ามาชมความสวยงาม

ในภาพจากซ้าย พี่สิงห์-มานพ วิศว13, พี่ตุ๊-อรสา รัฐ14, พี่อี๊ด-สุภาณี บช14

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #329 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 10:58:56 »

47. พระราชวังกู้กง 22



เก๋งซึ่งเป็นที่ประทับของฮ่องเต้ ฮองเฮา มเหสี และเหล่านางกำนัล
สถานที่นี้ใช้เป็นฉากในการถ่ายภาพยนต์หลายๆเรื่องของเมืองจีน
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #330 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:01:48 »

48. พระราชวังกู้กง 23



ป้ายสีเขียว ปิดต้นไม้ที่มีอายุต่ำกว่า 300 ปี ระบุวันเดือนและปี 2007 ที่ปิดป้าย
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #331 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:03:25 »

49. พระราชวังกู้กง 24



ป้ายสีแดง ติดต้นไม้ที่อายุเกิน 300 ปี พร้อม วันเดือน ปี 2007 ที่ปิดป้ายนี้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #332 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:04:44 »

50. พระราชวังกู้กง 25



เป็นอีกต้นหนึ่ง ซึ่งมีทั้งการเทคอนกรีตหล่อเข้าไปในโพรง การตั้งค้ำยันช่วยประคองกันกิ่งไม้หัก
ซึ่งหากสังเกตุ จะพบป้ายสีแดง ตอกปิดอยู่ แสดงว่าต้นไม้ต้นนี้มีอายุเกินกว่า 300 ปีขึ้นไปแล้ว


ในภาพคือ พี่ตั้ง-ศิริชัย Rx2514 และพี่เป้า-วิทิดา ครุ2514 ในส่วนของสวนไม้และสวนหินของวังหลัง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #333 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:06:59 »

51. พระราชวังกู้กง 26



หินแปลกๆ ที่นำมาประดับอุทยานสลับกับต้นไม้หลายหลาก หน้าเก๋งซึ่งเป็นที่ประทับของฮ่องเต้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #334 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:09:32 »

52. พระราชวังกู้กง 27



หินรูปร่างแปลกๆ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ข้างเก๋งที่ประทับของฮ่องเต้ ในอุทยาน

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #335 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:11:55 »

53. พระราชวังกู้กง 28



ในทุกยุคของราชวงศ์ คงไม่มีเครื่องมือชิ้นนี้ใช้เป็นแน่นอน คงมาติดตั้งไว้ในสมัยปฏิวัติประชาชนนี่แหละ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #336 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:15:24 »

54. พระราชวังกู้กง 29



คณะทัวร์พากันเดินจากวังหลังมุ่งสู่วังหน้า ซึ่งจะผ่านประตูใหญ่ที่กั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง ส่วนนี้มีร้านกาแฟ และร้านขายของ
อาทิ ถ่านสำหรับกล้องถ่ายรูป เม็มโมรี่สติ๊กสำหรับกล้องถ่ายรูป ของที่ระลึกบางส่วน แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเข้าแวะ

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #337 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 11:21:56 »

55. พระราชวังกู้กง 30



ประตูคั่นระหว่าง วังหน้า (สถานที่ประทับและว่าราชการของฮ่องเต้) กับวังหลัง (ที่ประทับของเจ้าจอม สนม)



ธงไทยเล็กๆ นำหน้าคณะของซีมะโด่งทัวร์เข้าประตู สวนกับผู้ที่ออกจากวังหน้าเพื่อจะเข้าวังหลัง ซึ่งมีปริมาณคนมากทีเดียว
พร้อมๆกับมีธงนำคณะทัวร์จากที่ต่างๆ นำหน้ามา แต่เท่าที่ดูจะเป็นคณะจากคนจีนในประเทศเองซะเป็นส่วนใหญ่


ขออนุญาตโพสต์ภาพไว้แต่เพียงนี้ และจะให้รายละเอียดในภาพต่างๆ ที่มีมาแต่ต้นครับ


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #338 เมื่อ: 19 กันยายน 2552, 14:06:49 »

จีนเคลียร์กรุงปักกิ่ง เตรียมฉลอง60ปีวันชาติ

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000109145


          ภาพ- ทหารเฝ้าทางเข้ามหาศาลาประชาชน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสภาประชาชนจีน ฝั่งขวาของจตุรัสเทียน อัน เหมิน

จีนเริ่มเข้มงวดกับนักเดินทาง นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่จะเข้าไปยังกรุงปักกิ่ง รวมทั้งชาวจีนเองด้วย
ถนนฉางอัน และบริเวณรอบๆ จตุรัสเทียน อัน เหมิน ถูกกำหนดเป็นสถานที่ต้องห้ามจนกว่าจะผ่านวันที่ 1 ตุลาคม ไปแล้ว

เชื่อว่านับแต่นี้ จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม นักท่องเที่ยวอาจจะไม่สามารถเข้าชมพระราชวังกู้กง จตุรัสเทียน อัน เหมิน ถนนหวังฟู้จิ้ง
เมืองโบราณหรือหู่ท่งบนถนนฉางอัน และอาจไม่สามารถออกจากโรงแรมเพื่อท่องเที่ยวในวันที่ 1 ตุลาคม ด้วยก็เป็นได้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #339 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:05:50 »

56. ฮ่องเต้ราชวงค์หมิง ผู้สร้างเมืองปักกิ่ง

                                   

สมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ หรือ หย่งเล่อฮ่องเต้ (ภาษาจีน: 永乐, หย่งเล่อ, 2 พฤษภาคม พ.ศ. 1903 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 1967)
พระนามเดิม จู ตี้ (朱 棣) คือจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิงของจีน

เจ้าชายจูตี้ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของจูหยวนจาง ก่อนจูตี้ประสูติ8ปี (ใน ค.ศ.1352)เกิดน้ำท่วมหลายแห่งในจีน ทำให้ทั่ว
อาณาจักรได้รับความเดือดร้อน เกิดกลุ่มกบฏขึ้นมากมาย จูหยวนจางเข้าร่วมกับกบฏเพราะได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน จูหยวนจาง
และได้ขึ้นเป็นผู้นำอย่างรวดเร็ว ปี ค.ศ.1356 กองทัพของจูหยวนจางเข้ายึด นานกิง อันเป็นการตัดเสบียงเมืองต้าตู(ปักกิ่ง)
เมื่อจูตี้มีพระชนมายุได้ 8 ชันษากองทัพของพระบิดาก็เข้าสู่เมือง ต้าตู โตกัน เตมูร์ จักรพรรดิมองโกลองค์สุดท้ายเสด็จหนีออกจากจีน
ไปยังทุ่งหญ้าทางเหนือ จูหยวนจางสถาปนาราชวงศ์หมิง ต่อมาจูตี้ได้เข้าร่วมกองทัพปราบ ยูนนาน ในปีค.ศ.1382 พระองค์ได้รับคำสั่ง
ให้ทำลายเมืองคุนหมิงที่มั่นที่ยังเหลือของมองโกล เด็กชายมองโกลนับพันถูกตอน

หลังจากที่เจ้าชายจูตี้ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงแล้ว พระองค์ก็ได้เฉลิมพระนามว่าหมิงเฉิงจู่ (成 祖)
ใช้ศักราชว่า หย่งเล่อ (永 乐) พระองค์ทรงมีราชโองการให้ประหารขุนนาง เนื่องจากทรงระแวงว่าขุนนางเหล่านั้นจงรักภักดีต่อ
พระนัดดาของพระองค์ซึ่งมีจำนวนกว่า 870 คน นอกจากนี้ยังดำเนินนโยบายลดทอนอำนาจเจ้าองค์อื่นๆ อย่างเข้มงวด เช่น
ห้ามมีกองทหารประจำเมืองให้มีได้แต่ทหารรักษาพระองค์จำนวนหนึ่ง ห้ามเจ้าแต่ละเมืองติดต่อกันเองโดยไม่ได้รับพระราชานุญาต
ภาระกิจแรกที่พระองค์ทำคือดำริย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เป่ยผิงอันเป็นฐานที่มั่นของพระองค์ด้วยเหตุผลว่าป้องการรุกรานของชน
กลุ่มน้อยทางเหนือ พ.ศ. 1947 (ค.ศ. 1404) มีราชโองการให้อพยพคนมากมายหลายแสนคนจาก เมืองนานกิง มณฑลซานซี
และมณฑลเจ้อเจียง แบ่งเป็น 5 สายเข้ามายังปักกิ่ง พร้อมกับเป็นการหาแรงงานเพื่อสร้างพระราชวังที่ประทับของจักรพรรดิใน
เมืองหลวง ซึ่งก็คือ "พระราชวังต้องห้าม"

ในการนี้ต้องเกณฑ์คนหนึ่งแสนพร้อมกับช่างฝีมืออีกหลายพันคน การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามนี้กินระยะเวลานานถึง 15 ปี
พระองค์ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างพระราชวังต้องห้าม แห่งนี้ เป็นอย่างมากโดยในปี พ.ศ. 1949 (ค.ศ. 1406) ได้เสด็จมา
ตรวจตราการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 1956 (ค.ศ. 1413) พระองค์จึงทรงย้ายจากกรุงนานกิงมาประทับที่กรุงปักกิ่ง
เป็นการถาวร แต่ดูเหมือนสวรรค์จะไม่ยินดีกับพระราชวังแห่งนี้เท่าใดนัก เพราะเพียงไม่กี่เดือนหลังเฉลิมพระมณเฑียรก็มีฟ้าผ่า
ลงพระที่นั่งและเกิดเพลิงไหม้อาคารต่างๆ หลายหลัง ซ้ำยังเกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 1959 (ค.ศ. 1416) จนต้องซ่อมแซมกว่า
จะสำเร็จก็นานถึง 4 ปี แต่พระองค์กลับมีโอกาสได้ประทับอยู่ในพระราชวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนี้ไม่เกิน 4 ปี เพราะต้องนำทัพออกไป
รบกับพวกมองโกลถึง 4 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 1953 1965 1966 และ 1967

ในปี พ.ศ. 1946 (ค.ศ. 1403) พระองค์มีราชโองการโปรดให้ราชบัณฑิตกว่าสองพันคน พร้อมด้วยผู้อำนวยการใหญ่ 5 คน
รองผู้อำนวยการอีก 20 คน จัดทำ “หย่งเล่อต้าเตี่ยน” สารานุกรมรวบรวมความรู้ทางวิชาการสาขาต่างๆ ทั้งหมด ใช้เวลาจัด
ทำ 4 ปี เป็นหนังสือกว่า 22,937 บรรพ มหาสารานุกรมชุดนี้มีต้นฉบับ 1 ชุดและสำเนาอีก 2 ชุดเก็บรักษาไว้แต่หายสาบสูญไป
จนปัจจุบันเหลือเพียง 370 บรรพ

พระราชภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือโปรดให้จัดสร้างกองเรือ “เป่าฉวน” ที่มีความยิ่งใหญ่ที่สุดในขณะนั้นมีทั้งสิ้น 62 ลำ
ลำที่ยาวที่สุดวัดได้ 140 เมตร กว้าง 60 เมตร แต่ละลำประกอบด้วย ทหาร นายแพทย์ ล่าม นายกองเรือคือ เจิ้งเหอ (郑 和)
ขันทีคนสนิทของพระองค์ที่เดินทางออกทะเลล่องไปทั่วโลก 7 ครั้งในรอบ 28 ปี ไปไกลถึง อินเดีย แอฟริกา นำสินค้าไปแลก
เปลี่ยนกับชาติต่างๆ รวมทั้งเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาตรงกับรัชกาลของสมเด็จเจ้านครอินทร์ และนำของหายากกลับมาถวาย
องค์จักรพรรดิ เจิ้งเหอนำกองทัพเรือจีนออกทะเลครั้งแรกเมื่อศักราชหย่งเล่อปีที่ 3 เดือน 7 ตรงกับ พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405)
โดยออกเดินทางจากท่าเรือหลิวเจียก่าง มณฑลซูโจว หมิงเฉิงจู่สวรรคตขณะยกทัพกลับจากไปรบพวกมงโกลเมื่อ
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 1967 (ค.ศ. 1424) พระศพถูกเชิญไปบรรจุที่สุสาน ฉานหลิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #340 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:14:26 »

57. ฮ่องเต้ฉงเจิน แห่งราชวงค์หมิง ผู้ทำลายราชวงค์จนล่มจม

             

จักรพรรดิฉงเจิน (6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1611-25 เมษายน ค.ศ. 1644) จักรพรรดิองค์ที่ 17 และองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง
เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิไท่ชาง และเป็นพระราชอนุชาในจักรพรรดิเทียนฉี เมื่อพระเชษฐาสวรรคตในปี ค.ศ. 1627
พระองค์จึงขึ้นครองราชย์สืบต่อมา

ฮ่องเต้ซึ่งไม่เอาไหนที่สุด โดยเฉพาะหูเบา สั่งราชการผ่านขันที จนเป็นเหตุให้ราชวงค์ล่ม เพราะขันทีอยากเป็นฮ่องเต้เสียเอง

เป็นต้นตำนานของภาพยนต์ที่เกี่ยวกับ องค์หญิงฉางผิงและราชบุตรเขย นั่นเอง

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #341 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:22:12 »

58. หลี่จื้อเฉิง ผู้นำกบฎชาวนา โค่นราขวงค์หมิง



หลี่จื้อเฉิง (Li Zicheng, ภาษาจีนกลาง: 李自成, พินอิน: Lĭ Zìchéng) กบฏชาวนาผู้ยิ่งใหญ่ ในปลายยุคราชวงศ์หมิงต่อกับช่วง
ต้นราชวงศ์ชิง เป็นผู้เอาชนะใจราษฎรได้ส่วนใหญ่ จนได้รับฉายาว่า "กษัตริย์ผู้กล้า" ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นกษัตริย์

หลี่จื้อเฉิง เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1606 โดยมีชื่อเดิมว่า หลี่หงจี่ (Lĭ Hóngjī, 鴻基) ที่มณฑลฉ่านซี ด้วยการเป็นคนเลี้ยงแกะ
จึงได้ชำนาญการขี่ม้าและยิงธนู ด้วยอายุเพียง 20 ปี

ต่อมาเกิดทุกขภิกภัยทั่วไปในมณฑลฉ่านซี แต่ทางการก็ยังเก็บรีดไถภาษีกับราษฎร จึงเกิดกบฏชาวนาขึ้นมา 2 กลุ่มใหญ่ ๆ โดย
หลี่จื้อเฉิง และ จางเซี่ยนจง (张献忠)โดยในระหว่างทำศึกจางเซี่ยนจงได้เคยเพลี่ยงพล้ำพ่ายแพ้ให้กับทางการ ส่วนหลี่จื้อเฉิงใน
ขณะทำศึก มักจะนำเอาอาหารที่ยึดได้มาแจกจ่ายให้กับผู้อดอยาก ทั้งยังประกาศให้ใช้ที่ดินทำกินได้โดยไม่เสียภาษี ทำให้มีผู้คนแห่
แหนมาเข้าร่วมด้วยจนมีกองกำลังหลายหมื่นคน

ในปี ค.ศ. 1643 หลี่จื้อเฉิงได้เข้ายึดเมืองเซียงหยาง และตั้งตนขึ้นเป็น ซินซุ่นหวัง (新順王) และเมื่อบุกยึดฉ่านซีได้ทั้งมณฑลก็ตั้ง
ตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยเรียกชื่ออาณาจักรของตนว่า ต้าซุ่น จากนั้นได้ทำตามแผนการของที่ปรึกษานาม กู้จวินเอิน ให้ใช้ฉ่านซี
เป็นฐานที่มั่น บุกเข้าสู่ซีอาน จากนั้นค่อยบุกต่อไปยังปักกิ่งซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของราชวงศ์หมิง

หลี่จื้อเฉิงนำทัพบุกข้ามแม่น้ำฮวงโหบุกยึดไท่หยวน ต้าถง เซวียนฝู่ เข้าสู่ด่านยงกวนด้วยชัยชนะมาตลอดทาง กระทั่งเดือน 3 ของ
ปี ค.ศ. 1644 ได้นำทัพเข้าปิดล้อมปักกิ่ง จนฮ่องเต้หมิงซือจงเห็นว่าจบสิ้นแล้ว จึงได้ปลงพระชนม์ตนเองด้วยการผูกคอตายที่ภูเขา
เหมยซัน ชานกรุงปักกิ่ง ฮ่องเต้หมิงซือ จึงได้ว่าเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง

แม้หลี่จื้อเฉิงจะสามารถยึดครองปักกิ่งไว้ได้ ทว่าแรงกดดันจากกองทัพอื่น ๆ ก็ยังไม่จบสิ้น ยังมีกำลังทหารแตกทัพของราชวงศ์หมิง
กองกำลังของอู๋ซานกุ้ย (吴三桂) ที่ด่านซันไห่กวน (山海关) และกองทัพจากแมนจูจากทางตะวันออกเฉียงเหนือคอยคุกคามอยู่
หลี่จื้อเฉิงได้ส่งหนังสือให้อู๋ซานกุ้ยยอมสวามิภักดิ์ จากนั้นก็ได้ให้อู๋เซียง บิดาของอู๋ซานกุ้ยที่อยู่ในเมืองหลวงเขียนจดหมายไปกล่อม
อีกทาง อีกทั้งได้ส่งคณะทูตนำเงินทองมากมาย พร้อมหนังสือแต่งตั้งให้อู๋ซานกุ้ยขึ้นมีตำแหน่งบรรดาศักดิ์ แต่ในขณะที่อู๋ซานกุ้ยกำลัง
เดินทางมาเมื่อสวามิภักดิ์ต่อหลี่จื้อเฉิง กลับได้พบกับคนรับใช้ที่หนีออกมาจากเมืองหลวงที่มาส่งข่าวว่าบัดนี้อู๋เซียงถูกจับเป็นตัวประกัน
และถูกริบทรัพย์สมบัติ นอกจากนั้นเฉินหยวนหยวน (陈圆圆)อนุภรรยาของอู๋ซานกุ้ยยังถูกแม่ทัพหลิวจงหมิ่นชิงตัวไป

เหตุนี้ทำให้อู๋ซานกุ้ยตัดสินใจที่จะหันกลับไปจับมือกับตัวเอ่อกุ่น (多爾衮) แม่ทัพของแมนจู จากนั้นส่งคนให้แสร้งไปส่งข่าวยอม
สวามิภักดิ์ต่อหลี่จื้อเฉิงเพื่อถ่วงเวลาเอาไว้ก่อน ทว่าในภายหลังเมื่อหลี่จื้อเฉิงได้ทราบข่าวว่าอู๋ซานกุ้ยสวามิภักดิ์ต่อแมนจูแล้ว
จึงได้นำทัพราว 6 หมื่นเพื่อลงมาปราบปราม แต่ในยามนั้นอู๋ซานกุ้ยได้ลอบเปิดด่านให้กองทัพแมนจูยกเข้ามาอ้อมตีกองทัพของ
หลี่จื้อเฉิง จนหลี่จื้อเฉิงต้องถอยทัพกลับปักกิ่งโดยมีทัพของอู๋ซานกุ้ยไล่ตามมา หลี่จื้อเฉิงแก้แค้นด้วยการตัดศีรษะบิดาของ
อู๋ซานกุ้ยเสียบประจานที่กำแพงเมืองปักกิ่ง จนทหารชิงได้เข้ายึดปักกิ่งได้สำเร็จ กองทัพหลี่จื้อเฉิงที่พ่ายแพ้ถอยร่นไปก็ถูกโจมตีและ
สังหารไปในที่สุดในปี ค.ศ. 1645 เป็นอันอวสานราชวงศ์จีนที่ปกครองโดยชาวฮั่นมายาวนานกว่า 2,000 ปี

เรื่องราววีรกรรมของหลี่จื้อเฉิงได้ถูกเล่าขานกันต่อมามากมาย มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่เขาก่อกบฏนั้น ยกทัพเข้าเมืองไคเฟิง
ซึ่งขณะนั้นเขากำลังจะบุกเข้าตีเมือง ได้มีผู้ปล่อยข่าวว่า เขาเป็นบุคคลที่น่ากลัว เดินทางไปทางไหนจะมีแต่ความตาย หลี่จื้อเฉิง
ได้ปลอมตัวเป็นพ่อค้าข้าวเข้ามาดูลาดเลาในเมือง หลี่จื้อเฉิงจึงกล่าวกับชาวบ้านว่า ที่แท้หลี่จื้อเฉิงไม่ใช่บุคคลที่น่ากลัว ซ้ำยังมี
เมตตากรุณาต่อชาวบ้านอีก อย่าไดเชื่อคำเล่าลือ ผู้คนจึงเปลี่ยนใจและออกอุบายว่า ให้ทุกคนแขวนโคมแดงไว้หน้าบ้าน
เมื่อหลี่จื้อเฉิงบุกเข้ามาได้จะไว้ชีวิตและให้ความช่วยเหลือบ้านนั้น

เมื่อหลี่จื้อเฉิงบุกเข้าไป พวกขุนนางในเมืองใช้วิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมเมือง แต่หลี่จื้อเฉิงได้เตรียมเรือแพไว้แล้ว และนัดแนะกับ
ชาวบ้านเรื่องโคมแดงไว้แล้ว ซึ่งพวกบรรดาขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงต่างไม่มีใครรู้เรื่องนี้ หลี่จื้อเฉิงจึงไม่ช่วยเหลือ แต่จะช่วย
เฉพาะบ้านที่แขวนโคมแดงไว้หน้าบ้านเท่านั้น จนกลายมาเป็นประเพณีการแขวนโคมแดงไว้หน้าบ้านทุกวันเทศกาลสำคัญ ๆ
ของจีนในปัจจุบัน เช่น ตรุษจีน เป็นต้น

ทุกวันนี้ มีอนุสาวรีย์ของหลี่จื้อเฉิงขนาดใหญ่ อยู่ที่ กรุงปักกิ่ง บริเวณทางเข้าสุสานกษัตริย์ราชวงศ์หมิงและชิง ประเทศจีน


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%87
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #342 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:27:11 »

59. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 1: ฮ่องเต้ชิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์ราชวงค์ชิง

                                     

สมเด็จพระจักรพรรดินูรฮาชี(จักรพรรดิชิงไท่จู่) หรือข่านนูรฮาชี มีนามเดิมว่า อ้ายซินเจวี๋ยหลัว นูรฮาชี (นูเอ้อฮาเช่อ) พระองศ์สามารถ
รวมชนเผ่าในแมนจูเรียได้ทั้งหมด และสถาปนาราชวงศ์โฮ่วจินขึ้น ได้ทำสงครามกับราชวงศ์หมิงตลอดรัชกาล พระองศ์มีพระโอรสทั้ง
หมด8องศ์ พระองศ์จึงให้โอรสทั้งหมดเป็นแม่ทัพในกองทัพแปดธง เมื่อพระองศ์สิ้นพระชนม์พระโอรสต่างแยกราชสมบัติในที่สุดโอรส
องศ์ที่แปดก็ได้ราชสมบัติ นามว่า "หวงไท่จี๋"


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #343 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:33:06 »

60. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 2: ฮ่องเต้หวงไท่จี๋

                             

สมเด็จพระจักรพรรดิหวงไท่จี๋ (จักรพรรดิชิงไท่จง) พระนามเดิม อาบาไฮ เป็นพระโอรสองค์ที่ 8 ในสมเด็จพระจักรพรรดินูรฮาชีข่าน
ผู้ยิ่งใหญ่แห่งแมนจูเรียประสูติเมื่อปีค.ศ.1592(พ.ศ. 2135) หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดินูรฮาชีสิ้นพระชนม์ได้เกิดการสู้รบระหว่าง
พระราชโอรส แต่ในที่สุดอาบาไฮก็สามารถรบชนะและได้ขึ้นเป็นข่านแทนพระบิดาในปีค.ศ.1627 (พ.ศ. 2170)ขณะพระชนม์
ได้ 35 พรรษา พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากโฮ่วจินเป็นต้าชิง เปลี่ยนจากข่านเป็นจักรพรรดิเหมือนจักรพรรดิราชวงศ์หมิง
และชื่อชนเผ่าให้เปลี่ยนจากเจอร์เฉินเป็นแมนจูทรงสวรรคตในปีค.ศ.1643(พ.ศ. 2186)ขณะพระชนม์ได้51พรรษา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8B
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #344 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:34:10 »

61. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 3: ฮ่องเต้ซุ่นจื้อ (ฮ่องเต้องค์แรกของราชวงค์ชิง ที่ประทับในพระราชวังต้องห้ามกู้กง)

                           

สมเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ (จีนตัวเต็ม: 順治; จีนตัวย่อ: 顺治; พินอิน: Shùnzhì) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง
แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวัง
ต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง

มีพระนามเดิมว่า ฟู่หลิน (福臨) ทรงขึ้นครองราชย์เพียงพระชนม์พรรษา 6 ขวบ ในปี พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643) หลังการสวรรคต
ของจักรพรรดิเทียนชง หรือ หวงไท่จี๋ พระราชบิดา แต่พระองค์ต้องถูกใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของอ๋องทอร์คุน พระอนุชาต่าง
พระมารดาของพระราชบิดา ซึ่งอ๋องทอร์คุนนับว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย
อ๋องทอร์คุนได้กระทำการหลายอย่างที่จะไม่ให้พระองค์เจริญชันษามาด้วยความปรีชาสามารถ เช่น ไม่สนับสนุนให้ทรงเล่าเรียน
เป็นต้น แต่ทว่า อำนาจของอ๋องทอร์คุนก็ถูกคานจากพระนางเสี้ยวจวง (孝庄太后) พระมารดา ภายหลังที่อ๋องทอร์คุนเสียชีวิต
พระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง

แต่พระองค์ก็นับว่าเป็นจักรพรรดิอีกพระองค์หนึ่งที่อาภัพมาก ด้วยทรงไม่อาจสามารถจะสมรสกับหญิงคนรักที่เป็นชาวฮั่นได้
เนื่องจากพระนางเสี้ยวจวงทรงคัดค้านอย่างหนักแน่น ทำให้พระองค์ทรงโศกเศร้าพระทัยมากจนแทบสิ้นสติ และได้กักขังตนเองไว้

จักรพรรดิซุ่นจื้อ สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ด้วยโรคทรพิษ ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) และต่อมาพระโอรส
ลำดับที่ 3 ของพระองค์ คือ องค์ชายเสวียนเย่ (玄燁) ได้ขึ้นครองราชย์ในนาม จักรพรรดิคังซี ซึ่งต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่
ของราชวงศ์ชิง และพระนางเสี้ยวจวงก็เป็นผู้อุปการะพระองค์มาโดยตลอด และได้เปลี่ยนสถานะพระองค์เป็นไท่หวงไทเฮา


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #345 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:34:53 »

62. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 4: ฮ่องเต้คงซี

           

จักรพรรดิคังซี (จีน: 康熙帝; พินอิน: Kāngxīdì; เวด-ไจลส์: K'ang-hsi-ti; มองโกเลีย: Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม
อ้ายซินเจฺหวหลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิ
ซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ภายหลังการสวรรคตของ
พระราชบิดา จักรพรรดิคังซีทรงมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเ
รียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา
ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์

พระองค์ทรงออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา มีขุนนางคนสำคัญผู้หนึ่งชื่อ อ่าวไป๋ (鳌拜)
ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง อ่าวไป๋ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นคนสำคัญ
และมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการ
กบฎขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดยกลุ่มขุนนางที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี

รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่า
อื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมี
พระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต

หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษา
ชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของ
พระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีน
ในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้
และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา

จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้
ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนา
กรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์
และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด
คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี

ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง ทรงมีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์
จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา

รัชสมัยของจักพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา

จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์
ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมาย เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน
 มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลาย
ต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B5
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #346 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:35:21 »

63. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 5: ฮ่องเต้หย่งเจิ้ง

                         

จักรพรรดิหย่งเจิ้ง (จักรพรรดิชิงซื่อจง) (ภาษาจีน : 雍正, พินอิน : Yōngzhèng, Yongzheng) ประสูติเมื่อ
พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17 ค.ศ.1678) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิง
(ภาษาจีน : 胤禛) พระองค์ขึ้นครองราชย์โดยมิได้เป็นรัชทายาท เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับอ๋องหลงเคอตัว
ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四)
องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง
ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยัน
แต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้
นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็
เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้)

เมื่อจักรพรรดิหย่งเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำ คือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาท
จากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีต เป็นทรงแต่งตั้งโดยเป็นความลับ โดยทรงเงยพระพักตร์
ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรง และจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า
เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เอง อีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึก
แล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคต แต่ในระหว่าง
ที่ทรงครองราชย์ต้องทรงพบกับปัญหากบฎหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่
เป็นพี่น้องด้วยกัน จนเป็นเหตุที่ทำให้พระองค์มีศัตรูอยู่มากมาย นำไปสู่การลอบสังหารโดยชาวฮั่นชื่อ หลี่ซือเหนียง
ซึ่งลอบเข้าวังมาและตัดพระเศียรของพระองค์ไปได้ ทำให้พระศพของพระองค์ปราศจากพระเศียร ราชสำนักจึง
ต้องสร้างพระเศียรทองคำแทนพระเศียรที่ถูกตัดหายไป เพื่อฝังลงในสุสานทำให้มีความพยายามปล้นสุสานหลายครั้ง
หย่งเจิ้นนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครอง การบริหารเอาไว้หลายด้าน
กิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำ คือ ทรงตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น
ทรงรวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุค
ความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-หย่งเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุค
ของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ

ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขาน
สืบมาจนปัจจุบัน และได้มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง

และเป็นผู้ถวายวังซึ่งตนเองครอบครองเมื่อครั้นยังเป็นองค์ชาย 4 ให้พระลามะจากธิเบต สร้างวัดลามะในกรุงปักกิ่ง

ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังค์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนาม
เมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #347 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:35:45 »

64. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 6: ฮ่องเต้เฉียนหลง

                   

                   

สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (จีน: 乾隆; พินอิน: Qiánlóng เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6
ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่า หงลี่ (ภาษาจีน : 弘曆) เป็นพระโอรสใน
จักรพรรดิหย่งเจิ้น และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก
จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า
ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง 

จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู
ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง

รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้
ที่จริงแล้วมิได้ทรงเป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไป
ในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" และเรื่องราวความรักที่มีต่อมเหสีองค์ต่าง ๆ เช่น มเหสีองค์แรก
ที่ชื่อ ฟูฉา ได้จากไปแต่ยังสาว เพราะตรอมใจที่จักรพรรดิเฉียนหลงแอบมีความสัมพันธ์กับเมียของขุนนาง ซึ่งเป็นพี่ชาย
ของพระนาง และก่อนหน้านั้นพระโอรสองค์แรกก็จากไปด้วยแต่ยังเล็กเนื่องจากประชวร หรือเรื่องของนางสนมเซียงเฟย
ที่เล่ากันว่ามีกลิ่นตัวที่หอมราวกับดอกไม้แม้แต่ผีเสื้อหรือแมลงก็ยังมาตอมที่ตัวนาง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกประหารชีวิต เพราะ
พระพันปีหลวงไม่ทรงโปรด รวมทั้งเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งเล่าขานกันว่าองค์หญิงหวนจูนั้นคือธิดาอันเกิดจาก
จักรพรรดิ์เฉียนหลง กับ สาวชาวบ้านธรรมดา

จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิ
เฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงทรงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของ
ลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการ
จับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ
ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว

จักรพรรดิเฉียนหลงทรงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่ฮองเฮาองค์ที่ 2
เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์
เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม

ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน
พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซี
ผู้ทรงเป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังค์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรง
ตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝)

ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์
ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของ
ราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้า
แทรกแซงยึดครอง

ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรม
มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหา
ต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง
เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ เป็นต้น

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #348 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:36:52 »

65. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 7: ฮ่องเต้เจียชิ่ง

                 

สมเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (อักษรจีนตัวย่อ: 嘉庆, อักษรจีนตัวเต็ม: 嘉慶 Jiaqing
พินอิน : Jiāqìng เจียชิ่ง, 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของ
จักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796)
เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจ
ในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799)
จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง

เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง
ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน
ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย ) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว
พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเล
พระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต
แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย

ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรค
เที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง

ทรงมีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และ
พระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากมหเสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นเจ้าจอม ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดนางเลย
แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์
เหตุที่ไม่ทรงโปรดพระมเหสีองค์ที่ 2 นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย

ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออก
ไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงาน
กับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้
จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง

ในปลายรัชสมัย ทรงมีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ
ทรงสวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบ
ต่อมาคือ องค์ชายรอง เหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเต้ากวง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #349 เมื่อ: 20 กันยายน 2552, 09:37:23 »

66. ฮ่องเต้ราชวงค์ชิง 8: ฮ่องเต้เต้ากวง

                   

สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง (อังกฤษ: Daoguang ; จีน: 道光; พินอิน: Dàoguāng) เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง
เดิมมีพระนามว่า เหมี่ยนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง
(旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล)

จักรพรรดิเต้ากวง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า พระนางเสี้ยวซู (孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย
จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาเจ้าจอมองค์ใหม่ขึ้นเป็น พระนางเสี้ยวเหอ (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวขององนาลา
ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวงเมื่อยัง
ทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่
เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้เจ้าด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง
พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปริปากเงียบไม่ยอมบอก
นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด

จักรพรรดิเต้ากวง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกระทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820)
ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่
สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กของพระนางเสี้ยวเหอคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม
และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน
ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้ทรงพระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้

ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนาง
ลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดา
ที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น
ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง
ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ
สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง

จักรพรรดิเต้ากวงมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์
สืบไปคือ องค์ชาย 4 อี้จู่ ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%87
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 87   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><