22 พฤศจิกายน 2567, 21:29:47
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: วิทยานิพนธ์พระเครื่อง กรณีศึกษา พระสมเด็จ กรุวัดขุนอินฯ สมเด็จโต สร้างจริงหรือ??  (อ่าน 141102 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« เมื่อ: 19 สิงหาคม 2552, 18:12:50 »

 วันนี้แอบถาม Web master ประจำห้อง 32 นาม Newstar ว่า จะลองทำวิทยานิพนธ์ แบบตัดแปะ เชิง Qualitative แบบพรรณา เผื่อ ห้องอื่นๆสนใจ
มาแวะอ่าน  เป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา ปน ประวัติศาสตร์

วันนี้ ข้าพเจ้า เปลี่ยนแนว ครับ






โปรด ติดตาม บทนำในตอนต่อไป

      บันทึกการเข้า
newstar
Cmadong พันธุ์แท้
****


Normal Man
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2532
คณะ: บัญชี'ถิติ
กระทู้: 2,978

« ตอบ #1 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2552, 19:26:01 »

สวยว่ะป้อม ภาพสวยมาก พระก็สวย ยิ่งแท้ยิ่งสวย แต่เดี๋ยวนี้ปลอมเกลื่อนเมือง..

เมื่อไม่นานมานี้ผมไ้ด้ข้องแวะกับนักเลงพระเครื่อง ผมยอมรับว่าวงการนี้มัน เสือ สิงห์ กระทิง แรด จริง ๆ มีสิทธิโดยหลอก โดนฟันหัวแบะได้ง่าย ๆ ยอมรับว่าเขี้ยวลากดินมาก ๆ วงการนี้

แหล่งใหญ่ใน กทม. ของตลาดพระเครื่องแหล่งหนึ่งคือ พันธุ์ทิพพลาซ่า งามวงศ์วาน หรือบางลำพูเก่า
      บันทึกการเข้า
yai
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,489

« ตอบ #2 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2552, 08:09:16 »

ไอ้ป้อม ไหนบอกงานชุก

โทรมาถามเรื่องน้ำมัน แต่เล่นพระเครื่อง
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #3 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2552, 20:40:03 »

1)บทนำ
  ในวงการเขาว่า พระสมเด็จ ที่สร้างโดยสมเด็จโต พรหมรังสี นั้น พุทธคุณสูงยิ่ง จัดเป็น หนึ่งในเบญจภาคี ที่แรงยิ่ง ในราคาบูชา และลอกเลียน ซึ่งมีอยู่ สามกรุ หลักๆ คือ
-กรุวัดระฆัง
-กรุวัดบางขุนพรหม
-กรุวัดเกศไชโย อ่างทอง
 เป็นธรรมดา ที่ Demand vs Supply จึงพยายามเลียนแบบ และ หากรุใหม่ ที่มารองรับความต้องการ  ของท่านผู้มีอันจะกิน(หมายเหตุพอดีไม่ใช่ผม) เลยมีกรุใหม่ คือ กรุวัดขุนอินฯ จ. อ่างทอง ด้วยเนื่องมวลสาร พิมพ์ และความเก่าใกล้เคียงกันมาก ซึ่งเข้าใจว่า กรุโดนขโมย และมาแตกทางการในภายหลังใต้พระนอน แค่เนี้ยแหละ
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #4 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2552, 20:41:51 »

2 ที่มาของปัญหา

2.1เสียงเซียนพระ

ในความไม่ชัดเจน ของข้อมูล พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ทั้ง ๔ พิมพ์ คือ ๑.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์พระประธาน ๒.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ใหญ่ ๓.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ทรงเจดีย์ และ ๔.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์คะแนน ถึงกับทำให้ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เขียนประกาศติดไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่รับออกใบรับรองให้พระวัดขุนอินทประมูล" ในการออกใบประกาศนียบัตร หรือที่เรียกกันว่า "ใบเซอร์พระ" (Certificate) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา
 ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นคือ ในการประกวดพระของกรมเสมียนตรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ไบเทค บางนา ที่ผ่านมา ได้ตัดรายการการประกวดพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ไว้ในรายการประกวดพระเนื้อผงทั่วไป ชุดที่ ๓ โต๊ะที่ ๗ รายการที่ ๒๒๔-๒๒๖ ออกทั้งหมด สร้างความผิดหวังให้กับผู้เช่าและผู้มีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไว้ในครอบครองเป็นอย่างยิ่ง
 สำหรับผู้ที่เช่าและผู้มีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไว้ในครอบครอง อาจจะอดสงสัยไม่ได้ว่า “พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างบรรจุกรุไว้หรือไม่”
 ผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่องคือ คณะกรรมการตัดสินพระชุดเบญจภาคี ของ สมาคมพระเครื่อง ได้พิจารณาเพื่อความชัดเจน
 “คม ชัด ลึก” ได้นำพระสมเด็จรุ่นนี้ ทุกพิมพ์ ไปให้พิจารณา ซึ่งแต่ละท่านมีประสบการณ์เช่าพระสมเด็จมานานกว่า ๓๐ ปี ต่างได้ให้คำตอบไว้เป็นที่น่าสนใจดังนี้
 ๑.นายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า ก่อนอื่นต้องขออภัยสำหรับผู้ที่เช่าและครอบครอง พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เหตุที่สมาคมเขียนประกาศติดไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่รับออกใบรับรองให้ พระวัดขุนอินทประมูล" เพราะพระกรุนี้สมาคมยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง พระที่จะออกใบรับรองจากสมาคมต้องเป็นพระที่สังคมพระเครื่องโดยรวม ให้การยอมรับ ใช่ว่า ใครมาให้สมาคมออกใบรับรองว่า พระสมเด็จรุ่นนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง ในทันทีนั้นไม่ได้ ต้องมีหลักฐานและข้อพิสูจน์
 ในกรณีของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ถ้ามาขอให้สมาคมออกใบรับรอง โดยไม่ระบุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง เช่น พระสมเด็จวัดอื่นๆ นั้น สามารถทำได้
 ในกรณีของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นรูปลักษณ์ของพระสมเด็จ เช่นเดียวกับพระสมเด็จที่มีการจัดสร้างทั่วๆ ไป เพราะทุกๆ วัดมีการจัดสร้างพระสมเด็จกันทั้งนั้น ทั้งที่สร้างบรรจุกรุ และสร้างให้เช่าบูชากันเลย
 กรณีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล มวลสาร อายุการสร้าง รวมทั้งพิมพ์ทรง เปรียบไม่ได้กับพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม รวมทั้ง พระสมเด็จ วัดไชโยวรวิหาร หรือพระสมเด็จเกศไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทองโดยเฉพาะเนื้อขององค์พระ เปรียบไม่ได้เลยกับพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ทั้ง ๓ วัด
 ที่สำคัญคือ พระสมเด็จทั้ง ๓ วัดดังกล่าว มีมานาน และมีประวัติการสร้างที่ชัดเจน
 ซึ่งก่อนหน้านี้ พระสมเด็จเล็บมือ วัดปากบาง จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้เคยคิดว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้ ด้วยเหตุที่ว่ามวลสาร และคราบกรุ ใกล้เคียงกับพระสมเด็จกรุบางขุนพรหม มาก แต่แตกต่างกันที่พิมพ์เท่านั้น
 เรื่องนี้เคยมีความสับสนในวงการพระเครื่องมาระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็สรุปว่า พระสมเด็จเล็บมือ วัดปากบาง ไม่ใช่พระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้
  ทั้งนี้ นายพยัพ ยืนยันว่า “ถ้ามีพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) นอกเหนือจาก ๓ วัด คือ วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม รวมทั้งวัดไชโยวรวิหาร บรมครูแห่งวงการพระเครื่อง ที่ศึกษาพระเครื่องมา ท่านคงรู้ไม่จริง การเล่นพระทุกวันนี้ เราเล่นจากการสืบทอดความรู้จากบรมครูยุคก่อน ถ้าเป็นพระสมเด็จ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ราคาคงไปไกลกว่านี้ เซียนพระชุดเบญจภาคีต้องกว้านซื้อไว้ทั้งหมด แต่เนื้อหาไม่ใช่ พิมพ์ก็ไม่ถูกต้อง รวมทั้งอายุก็ไม่ได้ เซียนจึงไม่เล่น ส่วนใครจะเล่น ใครจะเช่า และใครจะเชื่อว่า สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง สมาคมห้ามไม่ได้”
 ด้าน นายพิศาล เตชะวิภาค อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย หรือ ต้อย เมืองนนท์ บอกว่า มีผู้นำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลมาให้ดูเป็นจำนวนมาก โดยได้ออกความเห็นไปว่า ไม่น่าจะเป็นพระที่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
 การจะกล่าวอ้างว่าเป็นพระที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง ต้องมีหลักฐานและเหตุผลประกอบ อันเป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่อง ที่สำคัญคือ หากเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง จะต้องทิ้งเค้าความเป็นเอกลักษณะของพิมพ์ทรงไว้
 เช่นกรณีของพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆัง กับ พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดบางขุนพรหม หากนำมาเทียบกันจะมีเค้าของพิมพ์ทรงที่คล้ายกัน
 ทั้งนี้ หากพิจารณาจากเนื้อหาแล้ว พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล น่าจะมีอายุการสร้างไม่กี่ปี และอาจจะไม่ถึงหลัก ๑๐ ปี ด้วยซ้ำ
 จากประสบการณ์เล่นพระเนื้อผงแล้ว พระเนื้อผงเมื่อถูกบรรจุในกรุที่มีอายุมากกว่า ๔๐-๕๐ ปีขึ้นไป จะมีคราบกรุที่เป็นไข ที่เกิดจากปฏิกิริยาของมวลสาร กับความชื้นของสภาพอากาศ ผสมผสานกันไป จะมีลักษณะแข็ง และจับตัวกับองค์พระมากกว่าที่เป็นอยู่
 ทั้งนี้ หากนำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไปล้างน้ำ คราบกรุที่เกาะอยู่บนองค์พระ จะหลุดได้ง่ายกว่าพระสมเด็จ จาก ๓ วัด ที่สมเด็จฯ โต สร้างไว้
 “การยกเหตุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนั้น เป็นเรื่องของการกล่าวอ้าง เพื่อเพิ่มความนิยม และมูลค่าขององค์พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จำพรรษา หรือพักวัดไหน ใช่ว่าท่านจะสร้างพระบรรจุกรุไว้เสียทั้งหมด ที่ผ่านมามีการแอบอ้างว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างและบรรจุกรุเอาไว้ก็มีไม่น้อย ใครจะชอบ ใครจะเชื่อ และใครจะเช่า เป็นสิทธิ์ของคนคนนั้น แต่เกรงว่าจะเสียใจภายหลัง เมื่อรู้ว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไม่ได้สร้างไว้ พระแตกกรุ โดยพระไปพบที่เป็นของแท้ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ที่เป็นของปลอมก็มีอยู่มากเช่นกัน” ต้อย เมืองนนท์ กล่าว
 ขณะที่ นายกิติ ธรรมจรัส อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย หรือ กวง ท่าพระจันทร์ บอกว่า เรื่องของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล มีการนำมาคุยกันในคณะกรรมตัดสินพระชุดเบญจภาคี โดยส่วนตัวแล้ว หากพิจารณาจากเนื้อหา มวลสาร พิมพ์ทรง รวมทั้งคราบกรุ น่าจะไม่ทันยุคสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ซึ่งมีผู้เช่าพระรุ่นนี้ไว้หลายท่าน ได้นำพระมาให้ดู ก็บอกไปว่า  เป็นพระที่เกจิอาจารย์รุ่นหลังสร้าง แล้วนำไปบรรจุกรุไว้ แต่ก็มีคณะกรรมการบางคนบอกไปทันทีว่า เป็น พระสมเด็จเก๊ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไม่ได้สร้าง
 เหตุที่มีคนเล่นหากัน น่าจะเกิดจากแรงโฆษณามากกว่า แต่คณะกรรมตัดสินพระชุดเบญจภาคี ไม่มีใครเล่นหากัน อย่างกรณี พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ให้ฟรียังต้องคิดหนัก
  “พระนั้นแท้ทุกองค์ ส่วนจะแท้ในมาตรฐานใดนั้น ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้กำหนด มาตรฐานของสมาคมมีการวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน การเล่นพระ การเช่าพระ เป็นความชื่นชอบส่วนตัว และส่วนบุคคล ใครเชื่อก็เช่า ใครชอบก็เช่า เรื่องการเล่นพระ เป็นเรื่องนานาจิตตัง กลุ่มไหน หรือใครจะเล่นอย่างไร เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าจะเช่าเพื่อให้เช่าต่อได้นั้น ต้องเป็นพระที่มีมาตรฐานวงการพระเครื่องให้การยอมรับ” กวง ท่าพระจันทร์ กล่าว
 "การยกเหตุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนั้น เป็นเรื่องของการกล่าวอ้าง เพื่อเพิ่มความนิยม และมูลค่าขององค์พระ...สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จำพรรษาหรือพักวัดไหน ใช่ว่าท่านจะสร้างพระบรรจุกรุไว้เสียทั้งหมด”

ที่มา: นสพ. คมชัดลึก
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #5 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2552, 20:42:32 »

รอตอนต่อไป เมื่อว่าง
      บันทึกการเข้า
Nat Rattanadilok
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 864

เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2552, 22:49:07 »

ดูพระให้ข้าพเจ้าด้วยนะ
      บันทึกการเข้า

+ ยุ่งจริง +
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #7 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 05:18:34 »

ดูเป็นที่ไหนหล่ะ ลองเข้าไป siamamulet.net ถ่ายรูป post ไป ห้อง "วอนถามช่วยตอบ "
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #8 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 06:11:11 »

อ้างถึง
ข้อความของ wirat เมื่อ 20 สิงหาคม 2552, 20:42:32
รอตอนต่อไป เมื่อว่าง

แล้วเมื่อไหร่จะว่างคะ
      บันทึกการเข้า


wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #9 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 11:24:29 »

อ้างถึง
ข้อความของ Nat Rattanadilok เมื่อ 20 สิงหาคม 2552, 22:49:07
ดูพระให้ข้าพเจ้าด้วยนะ


อยากได้ ถ้ามีก็ให้ แท้ไม่แท้ ไปดูเอง
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #10 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 15:40:55 »

พี่ขอองค์เนิง..
กรุที่โจรเพิ่งไปขุดมานะ
      บันทึกการเข้า


wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #11 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 21:27:10 »

2.2 เสียงพระสวดเซียน

"ไม่รับออกใบรับรองให้ พระวัดขุนอินทประมูล" วัดขุนอินทประมูล ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ซึ่งมีทั้งหมด ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์พระประธาน พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ทรงเจดีย์ ของ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ถึงกับทำให้ผู้เช่าพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล และผู้มีไว้ในครอบครอง ต่างผิดหวังไปตามๆ กัน
 นอกจากนี้แล้ว ในการประกวดพระของ กรมเสมียนตรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ เดิมที่นั้นได้จัดให้มีการประกวด พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ไว้ในรายการประกวดพระเนื้อผงทั่วไป ชุดที่ ๓ โต๊ะที่ ๗ รายการที่ ๒๒๔ - ๒๒๖ ต่อมาคณะผู้จัดงานได้ตัดออกจากการประกวดพระในครั้งนี้ด้วย โดย “คม ชัด ลึก” ได้นำเสนอสกรู๊ปข่าวเรื่อง "เซอร์พระ กับ...พระที่สมาคมฯไม่รับเซอร์" เมื่อวันอังคารที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
 ในส่วนของความเป็นมาของ การแตกกรุ พุทธลักษณะ มวลสาร รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล นั้น “คม ชัด ลึก” ได้นำเสนอไปแล้วอย่างละเอียด ในคอลัมน์ “ชั่วโมงเซียน” โดย ผศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑ นอกจากนี้แล้ว หากผู้อ่านท่านใดสนใจรายเอียดเกี่ยวกับพระกรุนี้ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.inthapramul.com ได้อีกด้วย
 ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจน เรื่องการแตกกรุของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล “คม ชัด ลึก” ได้สัมภาษณ์ พระครูวิเศษชัยวัฒน์ หรือ หลวงพี่เสวย รองเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล และ รักษาการเจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล พระผู้ซึ่งเก็บ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ที่บรรจุอยู่ใน โถศิลาดล กว่า ๒,๐๐๐ องค์
 โดยท่านได้นำพระที่เก็บไว้ มอบให้เป็นที่ระลึกสำหรับผู้ร่วมทำบุญสร้างอุโบสถ กล่าวคือ ร่วมทำบุญ ๔๐,๐๐๐ บาท ได้รับมอบ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์พระประธาน ร่วมทำบุญ ๒๐,๐๐๐ บาท ได้รับมอบ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ใหญ่ และร่วมทำบุญ ๑๐,๐๐๐ บาท ได้รับมอบ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ทรงเจดีย์ และร่วมทำบุญ ๕,๐๐๐ บาท ได้รับมอบ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์คะแนน โดยขณะนี้น่าจะมีพระเหลืออยู่ประมาณ ๓๐๐ องค์
 “ฉันได้เก็บพระชุดนี้ไว้เมื่อปี ๒๕๓๙ โดยพบพระบรรจุอยู่ในเจดีย์องค์เล็ก ด้านหลังพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล ก่อนที่องค์พระดังกล่าวจะพังทลายลงมา เมื่อเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๑ ในครั้งนั้น ฉันเจอพระประมาณกว่า ๒,๙๐๐ องค์ บรรจุอยู่ในโถพลูสีเขียวไข่กา พระที่พบพระบรรจุอยู่ในเจดีย์ ไม่ได้อยู่ในองค์พระพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล ในครั้งนั้น มีคนเสนอว่า น่าจะนำพระที่พบออกมาให้เช่าบูชา เพื่อหาปัจจัยบูรณะพระพุทธไสยาสน์ แต่ฉันได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาว่า เป็นการขุดมาขาย องค์พระถึงพังลงมา โดยได้ใส่ตู้เซฟไว้ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ ส่วนปัจจัยในการซ่อมบูรณะองค์พระนั้น มาจากศรัทธาประชาชน และได้ใช้ปัจจัยไปกว่า ๑๐๐ ล้านบาท” นี่คือคำยืนยันของ พระครูวิเศษชัยวัฒน์
 อย่างไรก็ตาม หากนำจุดที่พบโถบรรจุพระจากคำบอกเล่าของพระครูวิเศษชัยวัฒน์ ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในหนังสือ “พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล ต.อินทประประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง” ที่เขียนโดย นายนิเวศน์ ศรีสุรพงษ์ หรือ ฤาษีกลางดง ซึ่งถือว่าเป็นคู่มือของพระสมเด็จรุ่นนี้ จะพบว่า แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
 กล่าวคือ ในหน้า ๑๒๑ เขียนระบุไว้ว่า “พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ที่บรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล และน่าจะบรรจุอยู่ในจุดที่สูง ปราศจากน้ำท่วมใดๆ”
 ส่วนการนำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ออกมาจำหน่าย เพื่อหาปัจจัยในการสร้างอุโบสถนั้น พระครูวิเศษชัยวัฒน์ บอกว่า มีคณะกรรมการและลูกศิษย์หลายท่าน เสนอแนะว่า น่าจะนำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ออกมาให้เช่าบูชา เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ไม่มีแนวคิดที่จะค้าพระพุทธ ขุดพระธรรม ยำพระสงฆ์
 แต่ถ้าเป็นพระที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้จริง ท่านก็มีเป้าหมายที่จะสร้างไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มาซ่อมบูรณะวัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยท่านมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดขุนอินทประมูล อยู่หลายปี
 ขณะเดียวกัน สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ก็ซ่อมและบูรณะพระพุทธไสยาสน์ด้วย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้
 แต่ท่านจะสร้างพระสมเด็จบรรจุกรุไว้ด้วยหรือไม่นั้น ไม่ทราบ เพราะเกิดไม่ทัน
 แม้ว่า จะมี ผู้รู้เรื่องพระเครื่อง หรือ เซียนพระ หลายท่านบอกว่า พระที่พบเป็นพระสมเด็จโตสร้างไว้ แต่อาตมาไม่เห็นด้วย เพราะว่า เซียนพระไม่มีใครเกิดทันสมเด็จพระพุฒาจารย์โตเลยสักคน เพื่อความชัดเจนของที่มา จึงได้มีการพิสูจน์ ค้นหาประวัติการสร้าง และอายุของพระ  โดยมอบให้คนที่มีชื่อเสียงในวงการพระเครื่อง ดำเนินการ   ทั้งนี้ มีข้อสรุปว่า โดยพิจารณาจากมวลสาร พิมพ์ทรง  และอายุขององค์พระ น่าจะทัน สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต  ถึงจะใช่ หรือไม่ใช่พระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ให้ถือเป็น พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล ก็แล้วกัน
 นอกจากนี้แล้ว ยังไปให้เซียนพระอีกหลายท่านดู ต่างก็ยืนยันว่า มวลสารใช่ วิธีการสร้างใช่ รวมทั้งมวลสารก็ใช่
 เมื่อรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ก็จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยให้พิมพ์รูปพระทุกองค์ ที่มอบให้ใครเป็นที่ระลึก ในการทำบุญลงในหนังสือด้วย
 “มาวันนี้ ไม่ต้องมาถามฉันว่า พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต สร้างไว้หรือไม่ เพราะฉันเกิดไม่ทัน ฉันไม่มีความรู้เรื่องการดูพระ และมันเป็นตำนาน จริงอยู่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดขุนอินทประมูล ส่วนจะมีการสร้างพระบรรจุกรุด้วยหรือไม่นั้น ไม่ทราบ ไม่ต้องมาถามฉัน และเหตุที่คนเข้าใจว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เป็นผู้สร้างนั้น เป็นการพิจารณาจากพิมพ์ทรง และมวลสารขององค์พระ จึงมีการสันนิษฐานไปว่า สมเด็จโตเป็นผู้สร้าง” พระครูวิเศษชัยวัฒน์ กล่าว
  สำหรับผู้ที่ผู้เช่าและผู้มีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไว้ในครอบครอง แต่ยังไม่เคยให้คณะกรรมการตัดสินพระชุดเบญจภาคี ของสมาคมพระเครื่องฯ ได้พิจารณา เพื่อความชัดเจน “คม ชัด ลึก” ได้นำพระรุ่นนี้ทุกพิมพ์ไปให้พิจารณา ซึ่งแต่ละท่านมีประสบการณ์เช่าพระสมเด็จมานานกว่า ๓๐ ปี
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #12 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 21:27:44 »

ติดตาม ตอนต่อไป
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #13 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2552, 16:13:13 »

2.3 บทเขียน บาราย จากไทยรัฐ

เกณฑ์ในการดูพระสมเด็จ...ของนักเลงระดับเซียน พิมพ์ต้องมาก่อน ถ้าพิมพ์ไปได้ จึงไล่มาดูที่เนื้อ...

เนื้อเก่าเหมาะกับอายุ มวลสาร กากดำ เม็ดแดง ก้อนขาว และกรวดเทา ต้องพอหาได้ แล้วก็ถึงรอยย่น รอยยุบ รอยแยก ตามธรรมชาติ ทั้งในพื้นผิวด้านหน้า ขอบข้าง และด้านหลัง

ประเภทพิมพ์ใช่ แต่เนื้อไม่ใช่ เนื้อใช่แต่พิมพ์ไม่ใช่ ท่านว่า ให้วางไว้ก่อน

ตรียัมปวาย เขียนไว้ในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เรื่องพระสมเด็จฯว่า ข้อยุติขั้นเด็ดขาดอยู่ที่เนื้อ แต่กระนั้น ถ้ามีความเชี่ยวชาญ พระองค์
ที่แท้นั้น ทั้งพิมพ์และเนื้อต้อง "ใช่" ตรงกัน เหตุที่บางองค์สับสน เพราะผู้ดูยังมีความรู้ไม่พอ

พระสมเด็จไม่ว่าวัดระฆัง บางขุนพรหม เกศไชโย ราคาแพงจับใจ ขนาดตระกูลสมเด็จ อย่างหลวงปู่ภู หลวงปู่ปั้น หลวงปู่อ้น ฯลฯ ยังว่ากันเรือนหมื่น บางพิมพ์ ขึ้นถึงแสน

พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง กรุพระปริศนาฯ เซียนใหญ่ยังไม่ยอมรับ ราคาตลาดใหญ่ยังไม่เดิน แต่ก็มีเซียนซุ่มดูแล้วแน่ใจ แอบเลือกเก็บไว้

เริ่มดูกัน ที่แม่พิมพ์ก่อน ตัวอย่างจากหนังสือ พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล ทางวัดพิมพ์เอง มีอยู่สี่แม่พิมพ์ พิมพ์พระประธาน พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์คะแนน

ข้อมูลจากหนังสือ คนดังในวงการ อย่างอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ คุณราม วัชรประดิษฐ์ น่าจะการันตี เรียกความสนใจได้ คนรุ่นนี้ผ่านพระสมเด็จองค์ดังมาไม่น้อย

อีกคน   ที่เปิดตัวแสดงความเชื่อมั่นชัดเจนคุณวิวัฒน์ อุดมกัลยารักษ์ วงการเรียกกันว่า วัฒน์ เฮดเดอร์ เจ้าของชื่อที่ติดกลุ่ม กระบวนเปลี่ยนมือพระเครื่องชุดใหญ่หลายชุด ชุดล่ากว่าร้อยล้าน

คุยกันถึงเรื่องแม่พิมพ์ ฝีมือช่างพิมพ์พระประธาน...ในบางองค์ไล่หลังพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง แต่บางส่วนโดยเฉพาะ "ฐานแซม" ที่ปรากฏในบางองค์ "หนา" จน ทำให้สะดุดว่า "ไม่ถึงฝีมือช่างหลวง"

ต้องเข้าใจกันก่อน แม่พิมพ์พระสมเด็จมาตรฐาน หลวงวิจารณ์เจียระไน ช่างหลวงแกะ สมัยนี้มีภาพถ่ายพระสมเด็จแท้ให้ดูเปรียบเทียบมาก จนพอเข้าใจได้ว่า แม่พิมพ์เดิมของช่างหลวงนั้น ทุกพิมพ์ทุกองค์ปรากฏหน้าตา เส้นสังฆาฏิ เส้นแซมคมชัด แต่เนื่องจากเนื้อปูนผสมตังอิ๊ว เมื่อแห้งแล้วมีระดับการยุบตัวมาก

รายละเอียดของเส้นสายลายพิมพ์ฝีมือหลวง จึงจางหาย เหลือเพียงเค้าราง และริ้วรอยให้เห็นความงดงามวิจิตรไว้เพียงเล็กน้อย

เทียบพิมพ์ฝีมือหลวง พิมพ์พระประธานวัดขุนอินทประมูล พอไล่หลัง แต่พอถึงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์คะแนน...ทุกเส้นสายลายพิมพ์แข็งกระด้าง...ชี้ว่าเป็นได้แค่ฝีมือช่างราษฎร์ ล้อช่างหลวง

ข้อพิจารณาประการต่อมา เส้นกรอบกระจก (แนวตัดพิมพ์พระ) สี่เหลี่ยม ยังมีเค้าให้เห็นบ้าง ช่องไฟของเส้นไปกันได้กับหลายแม่พิมพ์ของสมเด็จกรุบางขุนพรหม

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ สมเด็จวัดขุนอินทประมูลพิมพ์ในขอบ เหมือนกรุเจดีย์เล็ก หรือชุดตระกูลสมเด็จ หลวงปู่ภู หลวงปู่อ้น หรือไม่?

มีข้อสมมติฐานว่า พิมพ์พระกรุบางขุนพรหม พิมพ์ออกมาวางเรียงรายแล้ว ขอบนอกไม่เท่ากัน ดูไม่สวย เมื่อถึงเวลาแกะพิมพ์เจดีย์เล็ก ซึ่งเวลาน่าจะไล่หลังเล็กน้อย ช่างก็ถูกแนะนำให้แก้ไข แกะพิมพ์ในขอบ พระที่พิมพ์ที่ออกมา จึงมีขนาดเท่ากันทุกองค์

นับแต่นั้น พระชุดตระกูลสมเด็จ (ศิษย์สมเด็จ) หลวงปู่ภู หลวงปู่อ้น วัดเฉลิมพระเกียรติ ฯลฯ แม่พิมพ์จึงอยู่ในขอบ เท่ากันทุกองค์

คนดูพระสมเด็จเป็น รู้ดี รอยตัดข้างพระที่พิมพ์ในขอบ และพิมพ์นอกขอบอย่างชุดสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม ที่มีข้อถกเถียงกันว่า ตัดหน้าหรือตัดหลัง...ต่างกันอย่างไร

หากสมมติฐานนี้ใช้ได้ และถ้ากรุขุนอินทประมูลพิมพ์ในขอบ (เท่ากันเกือบทุกองค์) แต่เมื่อดูฝีมือช่างแล้วยังห่างกรุเจดีย์เล็ก ในทัศนะผู้เขียน เส้นสายลายพิมพ์กรุวัดขุนอินทประมูล

อยู่ในกลุ่มตระกูลสมเด็จ...เท่านั้น

คราวนี้ ก็มาถึงเนื้อ...ธรรมชาติ ประเด็นนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ยาวนานของเซียน...คุณวิวัฒน์บอกตามหลังอีกว่า อาจารย์สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ดูแล้วยืนยันว่าเป็นพระแท้ อายุเกินร้อยปี

พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล ถูกลักขุดมากว่า 20 ปี จำนวนรวมกันประมาณว่ากว่าหมื่นองค์ ตอนนี้ยังมีเหลืออยู่ที่วัดเล็กน้อย แม้ยังมีข้อถกเถียงเก๊แท้ แต่กระนั้นของปลอมจำนวนมากมาย ก็มีออกวางขายมานานแล้ว
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #14 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2552, 16:13:55 »

ตอนต่อไป คงเป็นการ ตั้งสมมุติฐาน
      บันทึกการเข้า
Nat Rattanadilok
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 864

เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2552, 21:02:05 »

อ้างถึง
ข้อความของ wirat เมื่อ 21 สิงหาคม 2552, 05:18:34
ดูเป็นที่ไหนหล่ะ ลองเข้าไป siamamulet.net ถ่ายรูป post ไป ห้อง "วอนถามช่วยตอบ "

มันต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อนวะ
พันห้าไม่ลดเลย
ไม่งั้นถามไม่ได้
      บันทึกการเข้า

+ ยุ่งจริง +
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #16 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2552, 07:07:13 »

ตอนนี้ท่านนัฐ เก็บพระแทนขี่จักรยานหรือนี่
      บันทึกการเข้า
Nat Rattanadilok
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 864

เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2552, 20:54:55 »

พยายามจะปล่อยพระ
หาเงินเก็บจักรยานแทน บาปไหมเนี่ย  เหนื่อย sorry
      บันทึกการเข้า

+ ยุ่งจริง +
yai
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,489

« ตอบ #18 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2552, 15:20:13 »

พระเครื่อง ท่าทางจะฮิตน้อยกว่า ไอที นะ

ช่วยดัน
      บันทึกการเข้า
akenui
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 3,092

« ตอบ #19 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2552, 17:57:51 »

วางลูกสาวลงก่อนนะใหญ่   เดี๋ยวนึกว่าใช้เท้าดัน
      บันทึกการเข้า

สุดจะทน ก็ต้องทน
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #20 เมื่อ: 01 กันยายน 2552, 12:47:42 »

3.สมมติฐาน พระผงสมเด็จกรุวัดขุนอินสร้างโดย สมเด็จโตจริง
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #21 เมื่อ: 01 กันยายน 2552, 12:55:53 »

ต่อเลยคะ..
แม้งงๆแต่จะตั้งใจอ่าน
      บันทึกการเข้า


wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #22 เมื่อ: 05 กันยายน 2552, 10:09:10 »

4.วิเคราะห์/พิสูจน์ปัญหา
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #23 เมื่อ: 05 กันยายน 2552, 10:14:54 »

4.1 ศึกษาจากหนังสือที่ทำบุญกับวัดราคาเล่มละ 250 บาทแล้ว ไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าสมเด็จสร้าง

แม้แต่อ.รังสรร ท่านก็ยังพูดในลักษณะออกตัว " สำหรับพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลนั้น เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามทั้งพุทธศิลป์และมวลสารทั้งหมด อีกทั้งตามพุทธประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสี ได้เคยเสด็จ มากราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลเหมือนเช่น วัดเกศไชโย พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล

จึงอาจจะได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างและบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล
หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับพระบารมีจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
คณะกรรมการจึงขนานพระนามเป็น “ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ”
@ ผมเองก็เชื่อว่า การสร้างพระสมเด็จในยุคหลังๆ ก็ล้วนได้รับพระบารมีจากดวงวิญญาณ สมเด็จโตทั้งสิ้น
4.2 . ศึกษาจากหนังสือพระสมเด็จ ของท่านตรียัมปวาย ได้ระบุชัดเจน ตามคำกล่าวของพระธรรมถาวร สรุปความว่า แม้แต่การสร้างพระเพื่อบรรจุไว้ที่วัดไชโย สมเด็จโตท่านยังมีปัญหา เกรงว่าจะสร้างไม่ครบ 84,000 องค์ จึงต้องรวบรวมพระที่สร้างรุ่นแรกๆที่วัดอินทรวิหาร เป็นพิมพ์ฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น มารวมกับพระรุ่นใหม่ที่กำลังสร้าง นำไปบรรจุไว้ที่วัดไชโยอุทิศส่วนกุศลให้โยมแม่


ไม่มีตอนใดที่กล่าวถึงการแบ่งไปบรรจุที่วัดขุนอินทฯ เพราะลำพังเพียงบรรจุไว้ที่วัดเกศก็มีปัญหาเรื่องจำนวนแล้ว


และไม่เคยมีข้อมูลที่กล่าวถึงการจัดสร้าง พระกรุนี้ขึ้นต่างหากโดยสมเด็จโต
4.3. พิมพ์พระของวัดขุนอินทฯ เป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ฝีมืองดงาม ปราณีตมาก มีเฉพาะพิมพ์ฐาน 3 ชั้น มีอายุเก่าตามสมควร น่าจะเป็นการสร้างในชั้นหลัง


เพราะหากเป็นพระที่สมเด็จโตสร้าง ควรที่จะต้อง มีพระพิมพ์วัดระฆัง และวัดเกศปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย ( การขุดกรุวัดเกศพบพระวัดระฆังปนอยู่(ข้อมูลจากหนังสือ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ) การเปิดกรุบางขุนพรหม พบพระวัดเกศและวัดระฆัง ปะปนอยู่
4.4. ท่านที่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ว่า สมเด็จโตสร้างนั้น ใช้ข้อมูลจากหนังสือของ"ไทยน้อย"

ตามที่ผมก็อปปี้ไว้ให้ชมนั้น ยังมีข้อขัดแย้งในเรื่องอายุความกันอยู่ ตรงที่ว่า" สมเด็จโตมาบูรณะวัดขุนอินทฯอยู่ถึง 25 ปี คีอตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ สามนั้น "


หากไล่ปีพ.ศ.กัน รัชกาลที่ สาม สิ้นพระชนม์ เมื่อพ.ศ. 2393 ขั้นนั้นท่านขรัวโต ยังมีสมณศักดิ์เป็นเพียง มหาโต
ได้เลื่อนสมณศักดิ์สมัย รัชกาลที่ 4

เป็นพระธรรมกิติ พ.ศ. 2395
เป็นพระเทพกวี พ.ศ. 2397 และ
ได้เป็นสมเด็จโต เมื่อ พ.ศ. 2407..... ซึ่งจนถึงวันนั้น ยังไม่มีพระสมเด็จอุบัติขึ้น
------------------------------------------------------
พระธรรมถาวร เล่าว่า สมเด็จโตสร้างพระสมเด็จ หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จแล้ว 2 ปี( 2409 จนถึงปีพ.ศ.2415 ที่ท่านสิ้นชีพตักสัย รวมช่วงเวลาการสร้าง ประมาณ 7 ปี สมเด็จรุ่นแรกคือ พระที่นำไปบรรจุวัดไชโย รุ่นสุดท้ายคือ แม่พิมพ์หลวงวิจารย์เจียรนัย ส่วนกรุบางขุนพรหมนั้น บางส่วนใช้พิมพ์วัดระฆัง บางส่วนเสมียนตราด้วงแกะพิมพ์ขึ้นใหม่( ก่อนหน้านี้สร้างพระล้อพิมพ์พระกรุต่างๆ )

สรุปในขั้นนี้ก็คือ หากสมเด็จโต บุรณะ วัดขุนอินทฯ อยู่ตลอดสมัยรัชกาลที่ 3 ในระยะนั้น ท่านยังไม่ได้สร้างพระสมเด็จ จนกระทั่งหลังจากนั้น อีก 16 ปี (พ.ศ.2409 )
4.5. อย่างไรก็ตาม หากใช้วิธีไล่ตามพ.ศ.และตามเหตุการณ์ จะได้ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง คือ
สมเด็จโต สมภพ พ.ศ. 2331
โยมมารดาป่วยและเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2386 ( ขรัวโตอายุได้ 55 ปี )
หากท่านบุรณะพระนอน อุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดา นานถึง 25 ปี
ก็จะตกไปอยู่ในราวปีพ.ศ. 2411 ( เป็นสมเด็จและกำลังสร้างพระสมเด็จ )

แต่ข้อมูลตรงนี้ อาจถูกหักล้าง ด้วยข้อมุลจากข้อ 2 และ 3
4.6. การพิสูจน์ว่า พระกรุวัดขุนอินท สมเด็จโตมีส่วนร่วมสร้างเสกหรือไม่นั้น จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ให้ได้ว่า
พระชุดนี้ ถูกบรรจุไว้ก่อนปี พ.ศ. 2415 อันเป็นปีที่สมเด็จโตสิ้น
การลักลอบขุดพระในกรุนี้เพื่อหาสมบัติในชั้นแรกนั้น เท่าที่ผมได้ข้อมูลคือหลังปี 2500 ทั้งสิ้น
และจากข้อมูลของหนังสือของวัดระบุไว้ว่า ในปีพ.ศ. 2501
(ปีพ.ศ.๒๕๐๑ ได้มีพระอธิการสร้าง ธีรปัญโญ
มาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสแต่งตั้งองค์แรก ได้ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตวัดออกไปทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เริ่มสร้างอาคาร
เสนาสนะต่าง ๆ อาทิ กุฏิสงฆ์ กุฏิเจ้าอาวาส ศาลาการเปรียญ ฯลฯ )
ก็มีทางเป็นไปได้ว่า พระที่บรรจุกรุ อาจถูกสร้างไว้ในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคหลังที่รุ่งเรืองที่สุดของวัด หรืออาจจะยุคก่อนหน้านี้ก็เป็นไปได้ แต่คงไม่ถึงยุคสมเด็จโต ด้วยเหตุผลข้างต้น
และการที่เนื้อพระเก่าจัด ก็เนื่องจากถูกอบเผาแดด เหมือนอยู่ในเตาอบไว้หลายสิบปี

Comment
ข้อมูลสุดยอดมากครับ ส่วนตัวผมเองก็มีเก็บไว้บ้าง แต่ก็ไม่มากมายนักครับ แต่ผมเองก็บอกตามตรงว่างงกับกระแสพระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูลนี้มากพอสมควร ก่อนหนังสือออก ราคาพระไม่กี่บาทเอง ได้ข่าวว่าตอนกรุแตกยังไม่มีใครสนใจด้วยซ้ำ เอามาเร่ขายแถวสนามหลวงเค้าก็ตีเก๊ แต่หลังจากหนังสือออก มีหลักฐานมากล่าวอ้างรวมถึงมีชื่อของคนดังเช่นอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ,อาจารย์ราม แฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง เหตุผลส่วนนี้ก็ทำให้ผมตัดสินใจหันมาเก็บดูบ้างนะครับ แต่ว่าก็ว่านะครับ ขนาดคนอ่างทองบางคนยังไม่เคยได้ยินชื่อเสียงพระกรุนี้มาก่อน บางท่านถึงกับตีเก๊ยกกรุก็มี ตอนนี้ผมรอทุกอย่างกระจ่างขึ้นมากกว่านี้ ถ้าต่อไปวงการเริ่มยอมรับ หรือมีงานประกวดที่เป็นมาตรฐานก็น่าจะดีกว่านี้นะครับ ตอนนี้ผมว่าของปลอมเกลื่อนเลย บางองค์ก็พยายามจะยัดกรุให้ได้ เล่นไม่มีมาตรฐานแบบนี้แย่เลยครับ
      บันทึกการเข้า
wirat
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,415

« ตอบ #24 เมื่อ: 05 กันยายน 2552, 10:17:29 »

4.7จากข้อมูลทำเนียบวัดในจังหวัดระบุว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธาครับแต่ในช่วงอยุธยาตอนปลายวัดนี้ได้ทรุดโทรมและไม่ได้รับการทะนุบำรุงเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็นวัดร้าง การที่พระอธิการสร้างได้มีประวัติแจ้งไว้ก็เพราะวัดนี้ได้ถูกกลับมาบูรณะใหม่ให้มีสภาพเป็นวัดที่มีพระปกครองตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พศ 2502 เนื่องจากเขากำหนดให้เป็นสถานที่เปิดสอนปริยัติแก่พระสงฆ์ในพื้นที่แต่ก่อนนั้นครับ ทำให้เอกสารยุคหลังๆจะอ้างอิงประวัติวัดจากนี้ไป..ทั้งนี้ไม่ได้กล่าวว่าวัดนี้ไม่มีพระสงฆ์หรือชาวบ้านดูแลอยู่ แล้วถ้าไม่มีความจำเป็นหรือทางกระทรวงพิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสมแก่สถานที่แล้วก็น่าอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนไปใช้สถานที่อื่น ต้องเข้าใจนิดนึงว่าแต่ก่อน อ่างทองเขาใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลักนะครับ (เรือแจวล้วนๆ) วัดตั้งอยู่กลางทุ่งไม่มีแรงจูงใจชาวบ้านไม่ไปหรอก นี่คงพอจะสมมุติได้ว่าวัดคงไม่ถึงกลับทรุดโทรมมากนัก เดี๋ยวจะเพิ่มเติมให้อีกครับ พอดีมีงานเข้า

4.8วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ. 2430

ระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร สูง 22.65 เมตร แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" สร้างพระวิหารเป็นเรือนองค์พระพุทธรูป ความสูง 1 เส้นเศษ สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาข้างหน้า รวมทั้งศาลารายรอบพระวิหาร รวม 4 หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยขึ้นเป็นอารามหลวง

ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 5–7 ตุลาคม พ.ศ. 2438 พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร 1 โรง หนัง 1 โรง ดอกไม้เพลิง 1 ต้น กัลปพฤกษ์ 2 ต้น ต่อมาปี พ.ศ. 2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร
จากบันทึกดังกล่าวผมเข้าใจว่าสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านน่าจะเกี่ยวข้องกับวัดไชโยสมัยรัชกาลที่ 4 หรือช่วงปลายสมัยของท่าน และองค์หลวงพ่อโตมหาพุพธพิมพ์มาบูรณะในรัชกาลที่ 5 อีกแต่สมเด็จท่านไม่อยู่แล้วครับ ซึ่งข้อมูลของท่านไทรน้อยกับแหล่งข้อมูลนี้มันแย้งกันอยู่นะ ดังนั้นข้อมูลยิ่งน่างงเข้าไปใหญ่เลยถ้านำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าเอาข้อมูลของวัดไชโยมาอ้างอิง แสดงว่าข้อมูลคุณไทรน้อยผิดครับ ดังนี้

1.สมัยอยุธยามีพระภิกษุเข้าไปตั้งสำนักสงฆ์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2279 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จมานมัสการพระนอนที่วัดนี้ และสันนิษฐานว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระนอนและศาสนสถานในวัด
2. ประมาณปี 2509 โดยกรมศิลปกร
3.สำหรับปูชนียวัตถุ พระพุทธไสยาสน์ ก่ออิฐถือปูน ศิลปะแบบสุโขทัย ยา ๕๐ เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดเมื่อ ๖ -๗๐๐ ปีที่ผ่านมา พระพุทธรูปนี้ทางกรมศิลปากร ได้ทำการบูรณะอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗
4.เมื่อคราวองค์หลวงพ่อทรุดลงมาประมาณปี 2540 กว่าๆ
จากที่เรียบเรียงมาเพราะมีหลักฐานอ้างอิงเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ที่ไม่ระบุไว้ ผมเลยไม่ขอนำมา คิดดูเถิดหลวงพ่อท่านถูกสร้างมา กี่ร้อยปี ท่านยังดำรงอยู่ ณ บัดนี้ หรืออีกนัยนึงว่า สถานที่นี้ พรุน ครับสำหรับพวกขโมย

Comment
-สมเด็จพุทธจารย์โตท่านสร้างพระสมเด็จ 84000 องค์สำหรับ 3 วัดคือวัดระฆัง วัดเกศไชโย และ วัดบางขุนพรหม ท่านก็ใช้เวลานานนะครับ เรียกว่า ท่านสร้างที่วัดระฆัง วัดเกศ และฝากกรุที่บางขุนพรหม และยังสร้างพระหลวงพ่อโตวัดอินทร์ยังไม่เสร็จด้วยซ้ำ และจะเอาเวลาไหนไปสร้างพระกรุขุนอิน อีกละครับ ตอนนั้นท่านให้หลวงปู่ภูช่วยสร้างด้วยตอนอยู่วัดบางขุนพรหม พระหลวงพ่อโตมาสร้างเสร็จตอนสมัยหลวงพ่อเงินวัดอินทร์
-ท่านที่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ว่า สมเด็จโตสร้างนั้น ใช้ข้อมูลจากหนังสือของ"ไทยน้อย"

ตามที่ผมก็อปปี้ไว้ให้ชมนั้น ยังมีข้อขัดแย้งในเรื่องอายุความกันอยู่ ตรงที่ว่า" สมเด็จโตมาบูรณะวัดขุนอินทฯอยู่ถึง 25 ปี คีอตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ สามนั้น "


หากไล่ปีพ.ศ.กัน รัชกาลที่ สาม สิ้นพระชนม์ เมื่อพ.ศ. 2393 ขั้นนั้นท่านขรัวโต ยังมีสมณศักดิ์เป็นเพียง มหาโต
ได้เลื่อนสมณศักดิ์สมัย รัชกาลที่ 4

เป็นพระธรรมกิติ พ.ศ. 2395
เป็นพระเทพกวี พ.ศ. 2397 และ
ได้เป็นสมเด็จโต เมื่อ พ.ศ. 2407..... ซึ่งจนถึงวันนั้น ยังไม่มีพระสมเด็จอุบัติขึ้น
------------------------------------------------------
พระธรรมถาวร เล่าว่า สมเด็จโตสร้างพระสมเด็จ หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จแล้ว 2 ปี( 2409 จนถึงปีพ.ศ.2415 ที่ท่านสิ้นชีพตักสัย รวมช่วงเวลาการสร้าง ประมาณ 7 ปี สมเด็จรุ่นแรกคือ พระที่นำไปบรรจุวัดไชโย รุ่นสุดท้ายคือ แม่พิมพ์หลวงวิจารย์เจียรนัย ส่วนกรุบางขุนพรหมนั้น บางส่วนใช้พิมพ์วัดระฆัง บางส่วนเสมียนตราด้วงแกะพิมพ์ขึ้นใหม่( ก่อนหน้านี้สร้างพระล้อพิมพ์พระกรุต่างๆ )


-----------------------------------------------------------
ข้อสังเกตนี้ ก็เป็นไปได้ครับ
แต่อย่าลืม พระสมเด็จอรหัง ของพระสังฆราช สุก
เขาว่าสร้างก่อน พระสมเด็จวัดระฆัง อีกนะครับ

แสดงพระพิมพ์แบบสมเด็จ ลักษณะ สี่เหลี่ยม น่าจะมีการสร้างมาก่อนยุคสมเด็จโตนะครับ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><