ธ.โลกชี้ไทยต้องปรับปรุงคุณภาพศึกษา ตีแสกหน้า อุดมฯเปิดกว้างรับคนรวยมากกว่าจน ผลิต ป.โท-เอกได้จิ๊บจ๊อย ขณะที่ สถาบันอุดมศึกษาเกือบร้อยละ 50
ตั้งอยู่ในกทม.ที่มีประชากรอยู่เพียงร้อยละ 10 ของทั้งประเทศ ..
เมื่อวันที่ 22 ม.ค. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และธนาคารโลก ร่วมกันนำเสนอผลการศึกษาเรื่องการ
สร้างศักยภาพการแข่งขันของระบบอุดมศึกษาไทยในเศรษฐกิจโลก โดย ดร.ลูอิส เบนเวนิสเต ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา
ธนาคารโลก ระบุตอนหนึ่งในรายงานว่า แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจในการขยายโอกาสทางการ
ศึกษาให้แก่ ประชากร แต่คุณภาพการศึกษาในประเทศไทยยังเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข ไม่เช่นนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
ประเทศในอนาคต โดยจำนวนผู้เรียนที่เข้าสู่ระดับอุดมศึกษาและจำนวนสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็พบว่า
เกิดช่องว่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณของบัณฑิต เป็นประเด็นที่ท้าทายความสามารถของผู้รับผิดชอบนโยบายการศึกษา
ของไทยเป็นอย่างมาก
ดร.ลูอิสกล่าวอีกว่า โอกาสการเข้าถึงการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทยยังไม่มีความเท่าเทียมกัน นักศึกษาที่เข้าสู่
สถาบันอุดมศึกษากว่าร้อยละ 50 เป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง ส่วนผู้มีรายได้ต่ำสามารถเข้าถึงการศึกษาได้เพียงร้อยละ 5 แสดง
ให้เห็นถึงความไม่เสมอ ภาคในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ส่วนรัฐบาลให้เงินอุดหนุนเพื่องานวิจัยและพัฒนาเพียง
ร้อยละ 15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ถือว่าน้อยมาก ทั้งสถาบันอุดมศึกษาเกือบร้อยละ 50 ตั้งอยู่
ในกรุงเทพมหานคร ที่มีประชากรอยู่เพียงร้อยละ 10 ของทั้งประเทศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาธนาคารโลก กล่าวอีกว่า ประเทศไทยขาดแคลนแรงงาน โดยร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการบาง
ประเภท ไม่สามารถหาบุคลากรเข้าทำงานได้ โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์การแพทย์
นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังกำลังประสบปัญหาความไม่สมดุลระหว่างนักศึกษาปริญญาตรีกับปริญญาโทและเอกอย่างรุนแรง
โดยปริญญาตรีมีร้อยละ 86 ส่วนปริญญาโทและเอกมีอยู่ เพียงร้อยละ 10 ของจำนวนนักศึกษาทั้งระบบอุดมศึกษา และจาก
การสำรวจยังพบว่าผู้ที่จบปริญญาตรีมีอัตราว่างงานสูงสุด ปริญญาเอกว่างงานร้อยละ 2.6
"โครงการเงินให้กู้และเงินทุนการศึกษาพบว่ามีอยู่มากมาย แต่ขาดประสิทธิภาพเรื่องการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องการใ
ช้หนี้คืนของนักศึกษาที่จบแล้ว สำหรับ สกอ. ควรสร้างแรงจูงใจเพื่อให้มหาวิทยาลัยสร้างรายได้เพิ่มเติม เช่น รับบริจาคจาก
ผู้มีจิตศรัทธา ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น ส่วนรัฐบาลต้องลดบทบาทการกำกับดูแลอุดมศึกษาลง
และให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น" ดร.ลูอิสกล่าว.
http://www.thairath.co.th/content/edu/60555