Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2552, 18:23:46 » |
|
องค์การอนามัยโลก ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของชาวโลก ให้แข็งแรง
ได้จัดให้มีการประชุมประเทศสมาชิกเพื่อหาวิธีทำให้ชาวโลกแข็งแรง ในปี พ.ศ.2529
ที่เมือง Ottawa ประเทศ Canada ได้ ข้อสรุป เรียกว่า “ Ottawa Charter ”
เนื้อหา คือ “การสาธารณสุขมูลฐาน” หรือ “ Primary Health Care : PHC”
http://www.esanphc.net/online/phc/index.htm
http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/
มอบหมายให้แต่ละประเทศนำกลวิธี สาธารณสุขมูลฐาน ไปดำเนินการให้สำเร็จ
ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ได้นำการสาธารณสุขมูลฐานไปใช้
ผลทำให้ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ มีสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงได้จริง
ตามที่ ศ.น.พ.พินิจ กุลวณิชย์ อดีตเลขาธิการแพทยสภา ไปดูงานมา ที่กระทู้
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6841.0.html
ประเทศไทย เริ่มทำในปี 2529 ซึ่งองค์การอนามัยโลกต้องการให้สำเร็จใน ปี ค.ศ.2000
ตั้งคำขวัญ Health For All By The Year 2000 หรือ ปี 2543
จนปัจจุบันนี้ เป็นปี 2554 ผ่านมา 11 ปีแล้วแต่ประเทศไทยเรายังไม่สามารถทำให้สำเร็จได้
ประชาชน ยังอ่อนแอ เชื้อโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การเข้าถึงบริการ
ยังเข้าถึงยาก และ ไม่มีคุณภาพ ยังมีการฟ้องร้อง กันให้เห็นประจำ
กระทรวงสาธารณสุข กำลังมุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ในปี 2555 ได้จริง
ด้วยการทุ่มงบประมาณ 5 หมื่นล้าน เพื่อพัฒนาสถานีอนามัยทุกแห่งให้เป็น
โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพสต.เพื่อรับงานบริการปฐมภูมิ จาก
โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ.มาไว้ที่ รพสต.ใกล้บ้าน บริการนั้น ได้แ่ก่
บริการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ตรวจสุขภาพเด็กดี ตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจสุขภาพนักเรียน ฯลฯ
บริการป้องกันโรค เช่น ทำวัคซีน เคลือบหลุมร่องฟันเด็ก ฯลฯ
รักษาโรคพื้นฐาน โรคเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ฯลฯ
และ งานฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย เช่น หัตถบำบัด ฯลฯ ประชาชนไม่ต้องมา รพสอ.ไกลบ้าน
ประเทศไทยได้กำหนดตัวชี้วัดความก้าวหน้า
ของงานสาธารณสุขมูลฐาน ไว้ 4 ข้อ
เปรียบได้กับ การวางเสาเข็มบ้าน 4 เสา เพื่อค้ำจุนบ้านไม่ให้ทรุด คือ
1.การที่ทุกคนได้สิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์ถ้วนหน้า
2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี
3.การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย โดยถ้วนหน้า
4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการสุขภาพ อย่างมีคุณภาพ ทุกแห่ง
การมีสาธารณสุขมูลฐาน ดี เป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ง่าย
แต่ละหัวข้อมีรา่ยละเอียดดังนี้
1.การที่ทุกคนได้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)
ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์พื้นฐานทุกคนถ้วนหน้า
ซึ่งแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการให้สำเร็จ
ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความสุขมีกินมีใช้
พอเพียงก่อน จึงเริ่มลงทุนด้วยเงินที่มีไม่กู้หนี้ยืมสินโดยไม่จำเป็น
ซึ่งจะแก้ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ตัวทางระบาดวิทยาข้างต้นได้ เวบ จปฐ.ดังต่อไปนี้........
http://www.cddsk.org/index.php/2010-05-28-02-03-00
2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี
ตบมือข้างเดียว ไม่ดัง ต้องตบมือสองข้าง จึงจะดัง ประชาชนต้องมีส่วนร่วมด้วย เช่น
2.1 -ประชาชนในหมู่บ้านอาสาสมัคร มาเป็น
"อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"(อสม.)
เพื่อทำหน้าที่ช่วยงานสาธารณสุขด้วยการเข้ารับ การอบรมความ รู้จาก รพสต.หรือ
รพสอ. เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ ตามอุดมการณ์ของ อสม. คือ
"แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงาน
สาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี"
2.2 -การที่ประชาชนยินดีเข้าร่วมชมรมสร้างสุขภาพประจำหมู่บ้าน ซึ่งมี อสม.
แต่ละหมู่บ้าน เป็นแกนนำ โดย มี
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งเปลี่ยนมาจากสถานีอนามัยเดิม
กับ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ ในอำเภอนั้นเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือตามที่ ต้องการ
2.3 -ประชาชนร่วมปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี
ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ของ กรมอนามัย
http://store.tkc.go.th/multimedia/gibo/knowledgebox/sookabunyut/sookcabunyut10.html
2.4 -การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี
มีกฏหมาย ให้ประชาชนสามารถ รวบรวม 1 หมื่นรายชื่อเสนอออกกฏหมาย
http://ilaw.or.th/ และ http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6771.0.html
ตัวอย่าง ประชาชนที่เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ร่วมเสนอให้ออก
กฏหมายให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี ตามสุขบัญญัติ10ประการ ต้องร่วมจ่าย
โดยดูจาก ดัชนีมวลกาย ถ้ามากกว่า 25 ต้องจ่ายด้วยบางส่วน เช่น 20% ของค่ารักษา
สามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้ที่เวบ
http://www.siamhealth.net/public_html/calculator/bmi.htm
การร่วมจ่ายนี้ เป็นการเพิ่มเงินให้กับการรักษา และ ยังเป็นการเตือนให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพ
จะได้ฉุกคิดเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องร่วมจ่าย และ เงินที่ได้เพิ่มนี้
จะได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจร่างกายให้ประชาชน ฟรี ได้ปีละครั้ง ตามแนวทาง
การตรวจสุขภาพทำให้รู้ความผิดปกติก่อนมีอาการเพื่อแก้ไขดีกว่าการรักษา
ถ้าไม่มีจ่าย ก็เซ็นต์ฟรี โดยขอให้เข้าร่วมคลินิกไร้พุง ของ รพสต.หรือ รพสอ.ที่บริการฟรี
กฏหมายนี้นักการเมืองไม่กล้าออก เพราะ กลัวเสียคะแนนเลือกตั้ง
ต้องประชาชนเริ่มออกกันเอง ตามที่มีกฏหมายให้ 1 หมื่นรายชื่อสามารถขอออกได้
ในประเทศอเมริกามี กฏระเบียบ ให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพดี เช่น
สูบบุหรี่ อ้วน ฯลฯ ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือ เสียเบี้ยประกันสุขภาพแพงขึ้น ตามที่
นายกแพทยสภา ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ไปเห็นมาที่เวบ.....
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11
3.การเข้าถึงสถานบริการได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย โดยถ้วนหน้า
ประเทศเรา มีสถานีอนามัย 9,oooกว่าแห่ง ทุกตำบล ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ประชาชนทุกแห่งแล้ว
ถ้าลงทุนพัฒนาเป็นสถานพยาบาลด่านแรกที่มีแพทย์ออกตรวจเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพ
จนได้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล จะมี ร.พ.เพิ่มขึ้นทันที ใกล้บ้าน
มีแพทย์ประจำรับผิดชอบ ให้บริการประจำมาตรวจด้วยตนเองโดยขับรถมา หรือ
มาให้บริการตรวจทางเครือข่ายสาธารณสุข หรือ Virtual Private Network:VPN
http://www.vcharkarn.com/varticle/17748
และ รับปรึกษาการรักษาพยาบาลจากพยาบาลเวชปฏิบัติ ซึ่งตามปกติ คนไข้ที่ป่วยมาหา
ครึ่งหนึ่ง หรือ 5 ใน10 คนสามารถรักษาได้ ที่เกินความสามารถก็สามารถโทรฯถาม
แพทย์ประจำ ทางโทรศัพท์มือถือในเวลา ส่วน นอกเวลา ปรึกษาแพทย์เวร ร.พ. เมื่อ
ปรึกษาแล้ว ถ้าแพทย์พบว่าต้องส่งตัวมา จะให้โทรฯ เรียกรถฉุกเฉิน 1669 ส่งต่อให้ได้
หรือ ถ้าไม่ฉุกเฉินรอได้ นัดพบแพทย์เวลาราชการทาง VPN ก็จะได้รับบริการโดยแพทย์
อ่านเพิ่มเติมเรื่อง
"ยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.มาไว้ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน ใกล้ใจ"
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6878.msg429458.html#new
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3201.0.html
อนาคต สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.จะใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทอง
ให้เข้ารับบริการได้ทุก ร.พ.ไม่บังคับเข้า ร.พ.ใกล้บ้าน แต่เริ่มนำร่อง ในระดับจังหวัดก่อน
เดิมที่ไม่มีระบบอินเตอร์เนต ไม่สามารถเชื่่อมต่อเครือข่ายสาธารณสุขไว้ด้วยกันการจ่ายเงิน
ให้สถานพยาบาลที่รักษา ทำได้ลำบาก จึงใช้ิวิธีเหมารายหัว ให้ตามประชากร ที่ ร.พ.ใกล้บ้าน
รับผิดชอบอยู่ ประชาชนที่อยู่ในเขตใกล้ ร.พ.ใด จึงต้องรักษากับ ร.พ.ใกล้บ้านนั้น
จึงกลายเป็นบังคับให้รักษาเฉพาะที่ใกล้บ้าน ถ้าจะไปรักษาที่อื่น ๆ ต้องเรียกเก็บกับ
ร.พ.ใกล้บ้าน ที่่ได้รับเงินรายหัวไว้แล้ว แต่ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข จะไม่จ่ายเงิน
ล่วงหน้า จะจ่ายตามผลงานที่ส่งมาให้ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ : สปสช.
ตรวจสอบเพื่อจ่ายเงินให้ตาม กลุ่มโรค Diagnostic Related Group : DRG เป็นวิธี
ที่ยุติธรรมที่ำกำหนดขึ้นตามค่าใช้จ่ายจริง ถ้าข้อมูลที่ส่งไปแลกเงิน ไม่สมบูรณ์
สปสช.จะตัดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ไม่ดีมาก ตัดมาก ร.พ.พนมฯ ส่งขึ้นไปข้อมูลไม่
สมบูรณ์ตามเกณฑ์ ถูกตัด 20 % แต่ ร.พ.ดูแล้วว่าข้อมูลไม่สมบูรณ์ตามเกณฑ์
จริง จึงไม่ขออุทธรณ์ และ พัฒนาปรับปรุง ให้ผู้เกี่ยวข้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
ตาม ที่ สปสช.ต้องการ เพื่อไม่ถูกตัดเงิน จึงทำให้ประชาชนสะดวกรักษาที่ใดก็ได้
ปัจจุบันมีโครงการนำร่องไม่บังคับ ร.พ.ใกล้บ้าน ระดับจังหวัด ใน 8 จังหวัด คือ 1.แพร่ 2.พิษณุโลก 3.อุบลราชธานี 4.ยโสธร
5.ราชบุรี 6.นครนายก 7.ศรีสะเกษและ 8.พังงา
นำมาจาก น.ส.พ.ข่าวสด วันจันทร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakV5TVRBMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHhNQzB4TWc9PQ== ผลของการที่ให้รักษาฟรีได้ภายในจังหวัดเดียวกัน คือ
1.ประชาชนไม่ต้องมารอขอใบส่งตัว และ ลดงานเขียนใบส่งตัวให้แพทย์
2.คนไข้มีอำนาจต่อรองบริการ สามารถเลือก ร.พ.ที่บริการดี ภายในจังหวัดได้
3.ร.พ.แต่ละแห่ง ต้องแข่งขันกันด้านบริการที่มีคุณภาพ เพื่อรักษาคนไข้ ไม่ให้ออกไป
รักษาที่อื่น เพราะ ถ้ามีคนไข้ที่มาใช้บริการมาก จะเรียกเก็บค่ารักษาจากกระทรวงได้มาก
4.ในอนาคต ประชาชนจะสามารถรักษาได้ทุกที่ในประเทศ เมื่อสร้างเครือข่ายโรงพยาบาล
ระดับประเทศได้สำเร็จ จะทำให้ แพทย์ที่คนไข้ไปหา สามารถให้การรักษาต่อเนื่องได้ทันที
ตัวอย่าง เมื่อคนไข้เคยรักษาที่ ร.พ.แห่งหนึ่งประจำ เมื่อออกจากพื้นที่ไม่สบายสามารถ
บอก ร.พ.ที่เ้ข้ารับการรักษาว่า เคยรักษา ร.พ.ประจำ คือ ร.พ.ใด แพทย์ที่นั้น ก็จะเข้าไปใน
ร.พ.ประจำนั้น ทางเครือข่าย VPN โดยอาจใช้ ลายนิ้วหัวแม่มือผู้ป่วย จึงจะดูประวัติได้
เพื่อรักษาความลับของผู้ป่วย เมื่อแพทย์เข้าไปในเครือข่าย ร.พ.ที่คนไข้มีประวัติรักษา
จะดูประวัติการรักษาเดิม และ ให้การรักษาต่อเนื่องได้ทันที ถ้ารู้ว่าได้ยาอะไรไว้แล้ว
เมื่อรักษาแล้วผลงานจะเป็นของ ร.พ.ที่ให้การรักษานี้ โดยได้เงินโอนมาทางธนาคาร
จากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.ที่ต้องส่งข้อมูลการรักษาไปแลกค่ารักษา
รัฐทุ่ม 5 หมื่นล้าน ยก สถานีอนามัย สอ.เป็น โรงพยายาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพสต.
http://news.sanook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-5-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95-822028.html
ผลจากการยกระดับ สอ. เป็น รพสต.ข้างต้น และ การสร้างเครือข่ายสาธารณสุข เพื่อให้
ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย รักษาได้ทุกที่ เมื่อต้องการ เป็นการพัฒนาตัวชี้วัดข้อที่ 3
มีสถานบริการสุขภาพ ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ได้สะดวกทำให้ตัวชี้วัด นี้สำเร็จนั่นเอง
4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ทุกระดับ
ทำได้ด้วยการพัฒนา เขียนเอกสารคุณภาพไว้อ้างอิง ตามตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพ แล้วให้
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ร.พ.(Hospital Accreditation:HA)
http://www.ha.or.th/ha2010/th/home/index.php
มาตรวจสอบ เพื่อให้การรับรองเป็นเอกสารที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานคุณภาพจริง
เมื่อให้การรับรองเอกสารแล้ว จะมีการตรวจการดำเนินการของ ร.พ.ต้องดำเนินการตาม
เอกสารคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองนี้ทุกประการจริง ไม่ผิดไปจากเอกสาร
โดยมีกรรมการตรวจสอบภายใน ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ ร.พ.นั้นเอง ที่เข้ารับการอบรม
จาก HA จนสอบผ่าน ได้รับใบประกาศเป็น กรรมการตรวจสอบภายในได้
จะมีการตรวจสอบตามระยะ ของการดำเนินการ ต้องเหมือนเอกสารคุณภาพทุกประการ
ถ้าไม่เหมือนต้องแก้ไขให้เหมือน เมื่อทำได้ กรรมการตรวจสอบภายนอกจาก HA
จะเข้ามาตรวจซ้ำ ถ้าพบว่า ทำตามเอกสารคุณภาพทุกประการ จะให้ใบรับรองคุณภาพ
เพื่อประกาศให้ผู้รับบริการได้มั่นใจในบริการ และ สถาบันรับรองคุณภาพฯ จะ
ยังคงมีหน้าที่ให้ กรรมการตรวจสอบภายใน ของ ร.พ.เองคอยตรวจสอบแทน
แล้วสถาบันรับรองคุณภาพฯ จะเข้ามาตรวจซ้ำตามระยะ เพื่อให้คงเป็นตาม
เอกสารทุกประการ เมื่อคงคุณภาพอยู่จะอนุญาตให้ใช้ใบรับรองคุณภาพต่อไปได้
ผลทำให้การให้บริการมีคุณภาพตามเอกสารคุณภาพอย่างยั่งยืนตลอดไป
ผู้ป่วย และ ญาติผู้ป่วย ถ้าไม่พึงพอใจากการรักษา ถ้าได้รับคำชี้แจงแล้วยังอยากฟ้อง
ศาล หรือ ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะใช้เอกสารอ้างอิงการรักษานี้ตัดสิน
เมื่อทุกสถานพยาบาลทุกระดับ ต้องผ่านขบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพ
ให้ผ่านเกณฑ์จนได้ใบประกาศรับรอง ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในคุณภาพการบริการ
แม้เจ้าหน้าที่ คนเก่าย้ายไป มีคนใหม่มาแทน การปฏิบัติจะยังคงคุณภาพเหมือนเอกสารอ้างอิง
ทุกประการเพราะ กิจกรรมไม่ได้ขึ้นกับตัวบุคคล แต่ขึ้นอยู่กับเอกสารอ้างอิงคุณภาพ
ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า ร.พ.ได้ทำหน้าที่เป็นร.พ.คุณภาพ ได้ถูกต้อง ได้แก่
1.คำชม ร.พ.เพิ่มขึ้น คำติ ร.พ.ลดลง
ร.พ.คุณภาพ จะต้องมีตู้รับฟังความคิดเห็น ทุกจุดบริการ ให้ได้รับการประเมิน ทุก ๆ จุด
2.คนไข้ ปลอดภัย จากการ ลดโรคแทรกซ้อน ลดความผิดพลาด จากการรับบริการลง
จากการที่ ร.พ.คุณภาพ ต้องนำความผิดพลาด มาประชุม
"การประเมินความเสี่ยง:Risk Management"อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำอีก
หมายเหตุ ร.พ.เอกชน จะประเมินทุกวันเพื่อแก้ไขเร่งด่วน จากมีการแข่งขันสถานพยาบาลสูง
3.เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความสบายขึ้น มีเอกสารคุณภาพเขียนวิธีทำงานให้ไว้ปฏิบัติตาม
ทำให้เหมือนมีผู้นำทางให้เดิน โอกาศผิดพลาด โดนฟ้องร้อง จะน้อยลง
ถ้าทำตามเอกสารคุณภาพ ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว ดูเพิ่มเติม ได้ที่
แนวทางการพัฒนาและรับรองคุณภาพจนได้ใบรับรองคุณภาพมาประกาศให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=18&group=12&gblog=2
ร.พ.พนมสารคาม ได้ พัฒนา และ รับรองเป็นทั้ง ร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพแล้ว
ได้รับการยกย่อง ให้เป็น ร.พ.ต้นแบบ จาก กระทรวงสาธารณสุข
ที่ทำได้นี้ทาง ร.พ.ใช้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาที่เคยกล่าวถึงไว้แล้วในการแก้ไขสิ่งยากๆ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&group=11&month=01-2007&date=14&gblog=11
นำสาธารณสุขมูลฐาน มาเสนอพวกเรา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาในการ
ปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศให้ถูกต้อง ใช้สาธารณสุขมูลฐาน ดูแลเป็นครือข่าย 3 ระดับ คือ
ระดับ 1 มีสถานพยาบาลด่านแรก คือ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล รพสต.9,000 กว่า แห่ง
กับ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ.ใช้แพทย์คนเดียวกันรับผิดชอบประจำพื้นที่
เป็นแพทย์ทั่วไป จบ 6 ปี สามารถดูแลคนไข้ได้มากกว่า 90%มีส่วนน้อยเกินความสามารถ
สามารถช่วยเหลือดูแลก่อนส่งต่อได้ ไปด่านสอง หรือ ด่านสามที่เหมาะสมให้
ปีหนึ่งมีแพทย์จบใหม่ ปีละ 2,500 คน สามารถทำงานได้ทั้ง 2 แห่ง คือ
1. สถานีอนามัย ซึ่งจะพัฒนาเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ระดับตำบล ดูแล
คนไข้ที่ไม่ป่วยมากไม่จำเป็นต้องมา ร.พ.อำเภอ รักษาโดยแพทย์ ได้ 2 ทาง คือ
พบแพทย์ที่เดินทางไปตรวจให้ หรือ ทาง Virtual Private Network:VPN
ถ้าป่วยเล็กน้อย มีพยาบาลเวชปฏิบัติ อยู่ประจำรักษาคนไข้ได้ สามารถ
โทรฯ ปรึกษาแพทย์ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลนั้นได้
2. ร.พ.อำเภอ ดูแลคนไข้ในที่ส่งต่อมาจาก ร.พ.ตำบล ที่ตนเองส่งมานอนรักษา
เพราะ ป่วยควรนอน ร.พ.แต่ไม่ป่วยถึงกับต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ที่ ร.พ.จังหวัด
ระดับ 2 ได้แก่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพจังหวัด รพสจ. มีแพทย์เฉพาะทาง
อยู่ในแผนกที่เรียนเฉพาะทางมา ไม่เหมาะที่จะอยู่ รพสอ.เพราะ ไม่สามารถแยกแผนกตรวจได้
เนื่องจากคนไข้ส่วนใหญ่ เป็นคนไข้ทั่วไป มีที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทางน้อยมาก จึงควรให้
ย้ายออกมา พร้อมนำเครื่องมือ ที่แพทย์เฉพาะทางใช้คนเดียวให้มาอยู่ รพสจ.ด้วย
ทำให้ใช้แพทย์ให้ตรงกับงาน และ ใช้เครื่องมือเฉพาะทางได้คุ้มค่ากว่าอยู่ รพสอ.
ระดับ 3 ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ , โรงพยาบาลเฉพาะทาง หรือ โรงเรียนแพทย์
นำเครื่องมือราคาแพงมากที่มีคนไข้ใช้น้อยมารวมใช้ที่ ระดับ 3 และ ใช้แพทย์เฉพาะทาง
ที่มีความรู้ต่อยอดเป็นแพทย์เฉพาะทางพิเศษ มาให้การรักษา
ผลการดูแลรูปเครือข่าย ที่มีระบบส่งต่อ ที่ดี จะทำให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
ประชาชนได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ มี สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ คอยกำกับ
และ การสาธารณสุขมูลฐาน ยังประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ
ด้านการเมือง เมื่อประชาชนมีสุขภาพดีได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐาน จปฐ.แล้วจะไม่ต้องไปขอ
ความช่วยเหลือผู้มีอำนาจ ไม่เป็นหนี้บุญคุณที่ต้องไปลงคะแนนเสียงให้เมื่อสมัครเป็นผู้แทน
ระดับต่าง ๆ เช่น หมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ
ประชาชน จะมีอิสรภาพ ในการตัดสินใจ เลือกตัีวแทนเอง ไม่ขายเสียง ขายสิทธิ์
http://www.youtube.com/watch?v=yNKhIJfB510
มาร่วมกันสร้างฝันให้เป็นจริง เป็นด้านที่ 1 ช่วยเผยแพร่ความรู้ งานสาธารณสุขมูลฐาน
เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันของผู้ที่เข้าใจความรู้นั้น สร้างเป็นวัฒนธรรม เป็น ด้านที่ 2
เมื่อป่วยไข้ ขอใช้บริการด่านแรกก่อน ไม่ลัดขั้นตอน ข้ามไป ด่านสอง หรือ ด่านสามเอง
และ ช่วยเขียนแสดงความคิดเห็นใส่ตู้รับความคิดเห็นที่ทุก ร.พ.จะมีไว้เพื่อรับฟัง
ส่วนด้านที่ 3 ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาด้านการเมือง กระทรวงสาธารณสุขก็มุ่งจะให้เกิดอยู่แล้ว
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
ftslim2028
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มกราคม 2553, 09:55:10 » |
|
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้ ไว้เอามาลงอีกนะค่ะ
|
|
|
|
|
Russell123
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 เมษายน 2553, 19:17:09 » |
|
ขอบคุณที่ดีสำหรับการโพสต์งานยอดเยี่ยมทำดีเพื่อสุขภาพ
|
|
|
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2553, 11:16:20 » |
|
สธ.ชูยกระดับสถานีอนามัยวางเป้าสู่รพ.สุขภาพชุมชน ขอขอบคุณ วันศุกร์ 23 กรกฎาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentID=80098
สถานีอนามัยที่กำลังจะพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.)
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศ โดยจะยกระดับ
สถานีอนามัยกว่า 9,000 แห่งทั่วประเทศ ขึ้นเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีบุคลากรประมาณ 27,000 คน ร่วมดำเนิน งานกับอาสาสมัครสาธารณสุขอีกประมาณ980,000 คน บทบาทของ รพ.สต.ยังรวมถึงการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน เป็นมิติใหม่ของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ นางพรรณสิริกล่าวว่า สำหรับผู้ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตภิบาล และเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือเรียกว่า หมออนามัยของประชาชน
กระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นชอบในหลักการและดำเนินการผลักดันเพื่อให้เกิด
พ.ร.บ.วิชาชีพ การสาธารณสุข
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาและตรวจสอบตาม กฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้เร่งปรับปรุงโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ รพ.สต. ให้ชัดเจน
รพ.สต.ขณะนี้โดยเฉลี่ยมีกำลังเจ้าหน้าที่แห่งละประมาณ 2-3 คน และ รมว.สาธารณสุข มี นโยบายเพิ่มขวัญกำลังใจบุคลากรสาธารณสุขทุกสาขาที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทน กำลังคนด้านสาธารณสุข เพื่อเร่งทบทวน วิเคราะห์หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนโดยรวม.
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
|