25 พฤศจิกายน 2567, 20:59:52
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำสถานที่ปฏิบัติธรรมทั่วไทย และในกรุงเทพฯ  (อ่าน 37104 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2552, 10:56:53 »


แนะนำสถานที่ปฏิบัติธรรม มีถ้ำจำลอง ย่านสยามแสควร์





วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ธรรมะกลางเมือง กรุงเทพฯ

หลายคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่า

วัดในกรุงเทพฯ ก็มีสวนป่าให้นั่งสมาธิ ปฎิบัติธรรม

อีกทั้งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และ

มีถ้ำอยู่ภายในด้วย


.-สำนักข่าวไทย เมื่อ 2009-07-07 20:26:06

http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=271913&ch=gn1

 bye bye bye bye bye bye
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2552, 14:35:14 »


" วัดธรรมมงคล สถานที่นั่งวิปัสสนาที่เงียบสงบ ย่านพระโขนง "




พระพุทธรูปหยกเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้มีนามว่า

"พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย"

หยกชิ้นใหญ่นี้ได้ถูกค้นพบที่ใต้ทะเลสาบน้ำแข็ง

ประเทศแคนนาดาประดิษฐานอยู่ในศาลาหลังคาแบบโดมแก้ว

วัดธรรมมงคล เป็นสถานที่นั่งวิปัสสนาที่เงียบสงบ ย่านพระโขนง

เชิญชวนพวกเราที่จะหามุมสงบ พักใจ

เยี่ยมชมทางเวบ ได้ที่

http://th.wikipedia.org/wiki/วัดธรรมมงคล

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2553, 14:07:26 »


" ไม่ทำตามที่สอน อย่ามาอ้อน เรียกอาจารย์ "


ขอขอบคุณเวบไทยรัฐ วันศุกร์ 30 ก.ค.2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/99741
 
เปิดสวนโมกข์ใหม่สวนธรรมกรุงเทพ



" ไม่ทำตามที่สอน อย่ามาอ้อน เรียกอาจารย์ "

ธรรมรสท่านพุทธทาส อินทปัญโญ แต่ละข้อธรรมแนะทางสว่างชี้ทางสวรรค์ให้กับพุทธศาสนิกชน
แม้ท่านจะละสังขารไปนานปี แต่หลักธรรมยังอยู่ให้พุทธศาสนิกชนได้พิสูจน์ด้วยการปฏิบัติตน

แนวทางและแนวปฏิบัติธรรมของท่านพุทธทาส แม้จะดูแปลกไปจากพระภิกษุสงฆ์รูปอื่นๆบ้าง
แต่ในแง่ของหลักธรรมแล้ว ล้วนมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้จริง

อาจด้วย "ศาสดาย่อมไม่กระหายศิษย์ แต่ศิษย์ย่อมมาหาศาสดาเอง" หรือเงื่อนไขใดก็ตาม แต่ละวัน
มีคนจำนวนมากเข้าไปปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี



สำหรับชาวกรุงเทพฯและใกล้เคียงตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2553 สืบไป
ไม่ต้องล่องใต้อีกแล้ว เพราะสวนโมกข์ใหม่จะเปิดที่สวนจตุจักร ให้ ผู้สนใจใฝ่ธรรม

กิจกรรมวันเปิดงาน เริ่มประมาณ 07.00 น. ร่วมกันทำบุญตักบาตรเวลา
08.00 น. กิจกรรมเสวนา เป็นต้นว่า เวลา 10.00 น. แสดงธรรมกถาโดย นพ.ประเวศ วะสี
อ่านกวีโดย อังคาร กัลยาณพงศ์ และแสดงธรรมโดย พระไพศาล วิสาโล หลังจากนั้น
เวลา 13.30 น. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ จะอ่านบทกวี ตามด้วยจิระนันท์ พิตรปรีชา
พรั่งพร้อมด้วยกวี และนักดนตรีมากมาย

สถานที่ตั้งสวนโมกข์แห่งใหม่ คือ บริเวณสวนวชิรเบญจทัศ หรือ "สวนรถไฟ" อยู่มุม
ตะวันออกเฉียงเหนือของสวนจตุจักร เยื้องๆกับปั๊มน้ำมันปตท. เมื่อเลี้ยวซ้ายจากถนนวิภาวดี
ไปประมาณ 50 เมตร ก็จะเห็นสะพานเข้าด้านซ้ายมือ

สวนโมกข์กรุงเทพฯ อยู่ในความดูแลของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ในอาณาบริเวณ
และอาคารสร้างใหม่ราคาประมาณ 185 ล้านบาทนั้น เต็มไปด้วยปริศนาธรรม และธรรมที่นำมา
เสนอให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษา ครุ่นคิด และใคร่ครวญเพื่อความเข้าใจในธรรม เพื่อน้อมนำไป
ใช้ในชีวิตประจำวัน มีโรงมหรสพทางวิญญาณ มีห้องรวบรวมสื่อธรรม
มีหนังสือธรรมให้อ่าน และปริศนาธรรมให้ใคร่ครวญ





"สวนโมกข์กรุงเทพฯล้อกับสวนโมกข์ไชยา"



นพ.บัญชา พงษ์พานิช เลขานุการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ อธิบายเมื่อก้าวสู่
เขตธรรมสถาน พลางชี้ให้ดูเสา 5 ต้น และมีนกฮูกตาโต แสดงนัยว่า ให้ตื่นตัวในการเรียนรู้เหมือน
นกฮูก เติมเต็มด้วยต้นไทรร่มรื่น เพิ่มบรรยากาศให้เหมือนสวนโมกข์ที่ไชยาเข้าไปอีก

เข้าสู่อาคารแรกเลยมีห้องหนังสือและสื่อธรรม มีหนังสือธรรมจากพระอาจารย์ต่างๆให้อ่านฟรี หรือ
จะซื้อไปอ่านที่บ้านก็ตามอัธยาศัย เลยไปพบลานโล่งเรียกว่า ลานริมสระนาฬิเก มองออกไปจะเห็น
มะพร้าวนาฬิเกมีอยู่ 2 ต้น ต้นแรก ท่านปัญญานันทภิกขุปลูกไว้ ยามนี้เติบโตมากแล้ว

ล่าสุดเกิดขึ้นอีก 1 ต้น ผู้ปลูกคือ

พระภาวนาโพธิคุณ หรืออาจารย์โพธิ์ จันทสโร แห่งสวนโมกขพลาราม และหมอประเวศ วะสี
ปลูกไว้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2553

ส่วนที่เป็นโถงใหญ่นี้ไว้รองรับกิจกรรมต่างๆเพื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรม นพ.บัญชาบอกว่า
ใครต้องการจะจัดกิจกรรมที่เกาะเกี่ยวกับการเรียนรู้ และเข้าใจธรรม ติดต่อขอใช้พื้นที่ได้
เป็นโถงใหญ่ใต้อาคารกว้างขวาง บรรจุคน ได้เกิน 200 คน

มองจากห้องโถงไปด้านเหนือคือลานหินโค้ง ลานหินโค้งที่สวนโมกข์เดิมเต็มไปด้วยแมกไม้
ก้อนหินรายเรียง แต่ที่แห่งนี้เต็มไปด้วยภาพพุทธประวัติรายเรียงอยู่บนผนัง
กึ่งกลางลานหินโค้งประดิษฐานพระอวโลกิเตศวร

ภาพพุทธประวัติเหล่านี้ นพ.บัญชาบอกว่า จำลองมาจากภาพพุทธประวัติชุดแรกจากอินเดีย  
ถือว่ามีความครบถ้วนสมบูรณ์มากกว่าแห่งใดในโลก  เริ่มตั้งแต่ภาพประสูติถึงปรินิพพาน และ
จบด้วยภาพโทณพราหมณ์แจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุ

ลักษณะเด่นของภาพชุดนี้คือ แม้จะเป็นภาพพุทธประวัติ แต่ไม่มีภาพพระพุทธเจ้า จุดแสดงว่า
พระพุทธเจ้าอยู่นั้น ผู้สร้างสรรค์ปล่อยว่างไว้ หรือไม่ก็แกะรอยพระพุทธบาทไว้เป็นสัญลักษณ์

"ท่านพุทธทาสบอกว่า คนอินเดียโบราณถือว่า ใครติดรูปจะไม่ถึงธรรม คนที่ถึงธรรมต้องไม่ติดรูป
ดังนั้น จึงไม่สร้างรูปพระพุทธเจ้าขึ้นมา การสร้างพระพุทธรูปมากมายในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นภายหลัง"

พลางชี้ให้ดูภาพต่างๆ เช่น ภาพพระนางสิริมหามายา เมื่อมีประสูติกาลแล้วเสด็จกลับเมือง
ภาพที่เห็นคือคนชะเง้อดูที่หน้าต่าง แต่พื้นที่บนหลังม้า ปล่อยว่างไว้ ให้คิดเอาเองว่าเป็นใคร

ภาพพุทธประวัติแต่ละภาพ เป็นภาพปูนปั้นมีรายเรียงอยู่ 24 ภาพ
มีภาพสะดุดตาสะกิดใจมากๆภาพหนึ่งคือ

ภาพโทณพราหมณ์แจกจ่าย

พระบรมสารีริกธาตุ เพราะแสดงให้เห็นว่า แม้เป็นชาวพุทธ แต่เมื่อถึงคราวอยากได้
ใคร่มี ก็ออกอาการหยุดไม่ได้ ยอมไม่เป็นเหมือนกัน

ลวดลายที่เห็นคือ กองทัพเมืองต่างๆมาขอปันพระบรมสารีริกธาตุ แม้จะบอกว่ามาอย่างสันติ
อย่างชาวพุทธด้วยกัน แต่มือนั้นเต็มไปด้วย ดาบ ถ้าไม่ให้คงไม่ต้องคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น



เรื่องนี้เกิดขึ้นที่เมืองกุสินารา เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ถวายพระเพลิง
พระพุทธสรีระที่มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองกุสินาราแล้ว
เมืองต่างๆที่นับถือศาสนาพุทธได้ส่งราชทูตมาเจรจาขอพระบรมสารีริกธาตุ แต่กษัตริย์มัลละ
ไม่ยอม โดยอ้างว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานในเมืองของตน คิดจะฮุบเอาไว้เพียงเมืองเดียว

กษัตริย์เมืองต่างๆจึงยกทัพมากดดันให้ "คาย" พระบรมสารีริกธาตุออกมาให้เมืองของตนบ้าง

กองทัพที่ยกมามีถึง 7 เมืองคือ กองทัพของพระเจ้าอชาตศัตรู เมือง ราชคฤห์ กองทัพของลิจฉวี
เมืองเวสาลี กองทัพของศากยวงศ์ เมืองกบิลพัสดุ์ กองทัพของพูลี เมืองอัลละกัปปะ กองทัพของ
โกลิยะ เมืองเทวทหะ กองทัพของมัลละ เมืองปาวา และกองทัพพราหมณ์ เมืองเวฏฐทีปกะ

เมื่อศึกเข้าประชิดเมือง กองทัพเมืองต่างๆฮึกเหิมพร้อมจะประดาบให้เลือดเดือดอยู่รอมร่อ
ทำให้เถรานุเถระทั้งหลายไม่สบายใจ เป็นอย่างยิ่ง
เพราะการประหัตประหารกัน ไม่เป็นไปตามครรลองของพุทธเลย

โทณพราหมณ์อยู่ในที่ประชุมด้วย หลังแสดงทรรศนะต่อที่ประชุมแล้ว คณาเถรานุเถระพร้อมกัน
ยกให้เป็นผู้จัดการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้กับเมืองต่างๆ ซึ่งโทณพราหมณ์ก็รับตำแหน่งประธาน
เพื่อความปรองดองแห่งพุทธศาสนิกชนด้วยความเต็มใจ

เมื่อโทณพราหมณ์ประกาศกับกองทัพเมืองต่างๆแล้ว กองทัพก็คลายความฮึกเหิมที่จะสู้รบกัน
น้อมรับพระบรมสารีริกธาตุที่โทณพราหมณ์ตวงให้ด้วยทะนานทองคำไปเมืองละ 2 ทะนาน
เอาไปสร้างสถูปประดิษฐานไว้ในเมืองของตน

มีเรื่องเล่าขานกันต่อๆมาว่า ระหว่างเมืองต่างๆกระหยิ่มยิ้มย่อง

ในส่วนแบ่งอยู่นั้น โทณพราหมณ์เกิดโลภขึ้นมาบ้าง จึงฉวยพระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ในมวยผม

การกระทำนี้ร้อนถึงเทพยดาที่ชุมนุมอยู่ เห็นการคอรัปชันของโทณพราหมณ์แล้วทนไม่ได้
จึงแอบหยิบเอาไปประดิษฐานที่เจดีย์ จุฬามณีในเทวโลก

เรื่องราวในภาพพุทธประวัติ ณ ลานหินโค้ง ของสวนโมกข์แห่งใหม่
รอให้พุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้ ได้ปฏิบัติธรรม ได้ศึกษาฟรีทุกวัน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 05.00-20.00 น.
ส่วนตัวอาคาร ถ้าเป็นวันหยุดเปิด 08.00 น. วันทำงานเปิด 09.00 น. ปิด 19.00 น.

ให้คิดเสียว่า "เหมือนมาเที่ยวสวนและเข้าวัดก็แล้วกัน" นพ.บัญชาบอก

เมื่อยกสวนโมกข์มาใกล้กายแล้วอย่างนี้ ก็เหลือแต่ใจที่แสวงธรรม.

  ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2553, 20:11:54 »

50 สถานที่ปฏิบัติธรรมในประเทศไทย

ชนิดา - รัฐศาสตร์ 16 ... ส่งมา

๑. วัดธรรมมงคล
๑๓๒  ถ.สุขุมวิท  ซอย ๑๐๑  ตรอกปุณณวิถี ๒๐  แขวงบางจาก  เขตพระโขนง  กรุงเทพฯ  ๑๐๒๖๐  โทร. ๐๒-๓๑๑-๑๓๘๗ , ๐๒-๓๓๒-๔๑๔๕ , ๐๒-๗๔๑-๗๘๒๒
วิปัสสนาจารย์ พระเทพเจติยาจารย์ ( หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร )
แนวการปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”
สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ
๑. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด
๒. ถ้ำวิปัสสนา ( จำลอง )
๓. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี ๘๐ ห้องพัก  ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ
๔. ห้องสำหรับทำสมาธิ
๕. สถานปฏิบัติธรรม จ.เชียงราย
๖. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง
 
๒. วัดอัมพวัน
๕๓  หมู่ที่ ๔  ถ.เอเชีย กม. ๑๓๐  บ้านอัมพวัน  ต.พรหมบุรี  อ.พรหมบุรี  จ.สิงห์บุรี  ๑๖๑๖๐  โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑ , ( ๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ ( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม )
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ ยุบหนอ พองหนอ ”

๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย  ในพระบรมราชูปถัมภ์
๕๘/๘  ถ.เพชรเกษม ๕๔  เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพฯ  ๑๐๑๖๐  โทร. ๐๒-๔๑๓-๑๗๐๖ , ๐๒-๘๐๕-๐๗๙๐-๔
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง  ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี ( โชดก ญาณสิทฺธิ ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

๔. สวนโมกขพลาราม
๖๘  หมู่ ๑  ต.เลเม็ด  อ. ไชยา  จ.สุราษฎร์ธานี  ๘๔๑๑๐  โทร. ๐๗๗-๔๓๑-๕๙๖-๗ , ๐๗๗-๔๓๑-๖๖๑-๒
วิปัสสนาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา

๕. วัดป่าสุนันทวนาราม
๑๑๐  หมู่ที่ ๘  บ้านท่าเตียน  ต.ไทรโยค  อ.ไทรโยค  จ.กาญจนบุรี  ๗๑๑๕๐
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา  เปิดอบรม “ อานาปานสติภาวนา ” แก่ผู้สนใจ ครั้งละ ๙ วัน  เปิดรับครั้งละ ๑๐๐-๑๕๐ คน  เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด  กินอาหารวันละ ๑ มื้อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิมายา โคตมี คุณดารณี บุญช่วย  โทร. ๐๒-๓๒๑-๖๓๒๐ , ๐๒-๖๗๖-๓๔๕๓ , ๐๒-๖๗๖-๔๓๒๓

๖. วัดภูหล่น
๙ บ้านภูหล่น ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๕๐
ปฐมวิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
( วัดภูหล่น เป็นสถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์ )
วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ  มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนัก  สามารถกางกลดอยู่ได้  มีโบสถ์บนเขา และมีกุฏิโดยรอบ  บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา  ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว  ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์
 
๗. วัดถ้ำขาม
บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดมีเนื้อที่ ๘๔๐ ไร่  พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน  วัดอยู่บนเขาสูง  แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า  ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ ( กุฏิละ ๑ คน )  หรือพักรวมบนศาลาก็ได้  เหมาะสำหรับผู้ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

 
๘. วัดมเหยงคณ์

ต.หันตรา  อ.พระนครศรีอยุธยา  จ.พระนครศรีอยุธยา  ๑๓๐๐๐  โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๒-๘๙๒ , ๐๓๕-๒๔๔-๓๓๕
วิปัสสนาจารย์ พระครูเกษมธรรมทัต ( สุรศักดิ์ เขมรํสี )
แนวปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้ รูป-นาม
 
๙. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
หมู่ ๑ สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี ๑๘๒๓๐  โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘ , ( ๐๓๖) ๓๐๕-๒๓๙
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท  ทุกวันเสาร์-อาทิตย์  และวันสำคัญทางศาสนา  จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน  บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ
 
๑๐. วัดสนามใน
๒๗ หมู่ ๔ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ๑๑๑๓๐  โทร. ๐๒-๔๒๙-๒๑๑๙ , ๐๒-๘๘๓-๗๒๕๑
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ
แนวปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔  วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ  เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา
 
๑๑. วัดป่านานาชาติ
หมู่ที่ ๗  บ้านบุ่งหวาย  ต.บุ่งหวาย  อ.วารินชำราบ  จ.อุบลราชธานี  ๓๔๓๑๐ ( สาขา ๑๑๙  ของวัดหนองป่าพง  จ.อุบลราชธานี )
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก  มียุง และแมลงต่างๆ มาก  คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย  อากาศเย็นสบาย  ทานอาหารวันละ ๑ มื้อ  การไป ให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่
 
๑๒. วัดปทุมวนาราม
ถ.พระราม ๑  แขวงวังใหม่  เขตปทุมวัน  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๓๐  โทร. ๐๒-๒๕๑-๒๓๑๕ , ๐๒-๒๕๒-๕๔๖๕
วิปัสสนาจารย์ พระราชพิพัฒนาทร ( หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร )
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”  นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา  มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้  บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย  ร่มรื่นสวยงาม  กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์-ศุกร์ วันละ ๓ เวลา  เช้า ๗.๐๐-๘.๐๐ น. กลางวัน ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. เย็น ๑๗.๐๐-๒๐.๐๐ น.
 
๑๓. วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๘ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐  โทร. ๐๒-๔๖๗-๒๑๖๖
วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี ( หลวงพ่อสด จนฺทสโร )
แนวปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “ สัมมาอรหัง ”
สถานที่ปฏิบัติ
๑. หอเจริญวิปัสสนาฯ  ชั้น ๒  เป็นห้องแอร์ปูพรม
๒. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต
๓. ตึกบวรเทพมุนี
 
๑๔. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
๓  ท่าพระจันทร์  แขวงพระบรมมหาราชวัง  เขตพระนคร  กรุงเทพฯ  ๑๐๒๐๐
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี ( โชดก ญาณสิทฺธิ )
แนวปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ ยุบหนอ พองหนอ ”
สถานที่ปฏิบัติ คณะ ๕ สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ  เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ  เช้า ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. กลางวัน ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. เย็น ๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น.

๑๕. วัดอินทรวิหาร
อาคารปฏิบัติธรรม “ เฉลิมพระเกียรติ ”  วัดอินทรวิหาร  แขวงบางขุนพรหม  เขตพระนคร  กรุงเทพฯ  ๑๐๒๐๐
โทร. ๐๒-๖๒๘-๕๕๕๐-๒
วิปัสสนาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล  จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย  เป็นอาคารทันสมัย ๕ ชั้น จุได้ประมาณ ๕๐๐ คน
 
๑๖. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  พุทธมณฑล
ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐  โทร. ๐๒-๔๔๑-๙๐๐๙ , ๐๒-๔๔๑-๙๐๑๒
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ ยุบหนอ พองหนอ ”
สถานที่ปฏิบัติ ชั้น ๒ ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน  มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อมหรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร ๒ มื้อ

๑๗. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ที่ ๒  จังหวัดปทุมธานี  ๑๙ หมู่ที่ ๑๖  ต.คลองสาม  อ.คลองสาม  จ.ปทุมธานี  ๑๒๑๒๐ โทร. ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๕ โทรสาร ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๔ ต่อ ๑๑๑  เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย  เพชรเกษม ๕๔
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง  ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี ( โชดก ญาณสิทฺธิ )  วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์  สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน
 
๑๘. วัดอโศการาม
๑๓๖  หมู่ที่ ๒  กม. ๓๑  ถ.สุขุมวิท ( สายเก่า )  ซ.สุขาภิบาล ๕๘   ต.ท้ายบ้าน  อ.เมือง  จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๘๐  โทร. ๐๒-๓๘๙-๒๒๙๙ , ๐๒-๗๐๓-๘๔๐๕
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
บริเวณกว้างขวาง  มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด  กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัดเป็นร้อยๆ หลัง  ส่วนมากอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลน
 
๑๙. วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร
บ้านห้วยใหญ่  ต.ห้วยใหญ่  อ.บางละมุง  จ.ชลบุรี  ๒๐๑๕๐  โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๕๐๖ , ๒๓๗-๖๔๒ , ๒๓๗-๙๑๒
วิปัสสนาจารย์ พระจุลนายก ( พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)
สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น  มีอาคาร ญส. ๗๒ ชาย และ ญส. ๗๒ หญิง  ชั้นละ ๑๐ ห้อง  มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี ๑๗ หลัง
 
๒๐. สำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม
ซ.ประชานุกูล ๗  ถ.ชลบุรี-บ้านบึง  ต.บ้านสวน  อ.เมือง  จ.ชลบุรี  ๒๐๐๐๐  โทร. (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖ , ( ๐๓๘) ๒๘๓-๓๔๐
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ ยุบหนอ พองหนอ ”
มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิงชายแยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก  การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว  เน้นการเก็บอารมณ์  ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด  การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง ๒ มื้อ  ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์  ค่าน้ำไฟ อาหาร วันละ ๕๐ บาท หรือเดือนละ ๑ , ๕๐๐ บาท ห้ามอยู่เกิน ๙๐ วัน
 
๒๑. วัดภัททันตะอาสภาราม
สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี  ๑๑๘/๑  หมู่ที่ ๑  บ้านหนองปรือ  ต.หนองไผ่แก้ว  อ.บ้านบึง  จ.ชลบุรี  ๒๐๒๒๐  โทร. ๐๓๘-๒๙๒-๓๖๑ , ๐๘๑-๗๑๓-๐๗๖๔ , ๐๘๑-๙๒๑-๑๑๐๑  เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากสำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ ยุบหนอ พองหนอ ”
สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก  อาคารปฏิบัติธรรมขนาดกลางและอุโบสถ ยังรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่มากนัก
 
๒๒. วัดเขาสุกิม
๑๒ ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ๒๒๑๒๐  โทร. ๐๘-๙๙๓๑-๕๕๔๔ , ๐๘-๑๔๕๖-๘๓๘๔
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้คำบริกรรม “ พุทโธ ”
วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา  กว้างขวางกว่า ๓ , ๒๘๐ ไร่  มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด  บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย  มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอนหมอนให้ หรือพักที่กุฏิว่างต่างๆ
 
๒๓. วัดจันทาราม ( วัดท่าซุง )  
๖๐  หมู่ที่ ๑  บ้านท่าซุง  ต.น้ำซึม  อ.เมือง  จ.อุทัยธานี  ๖๑๐๐๐  โทร. (๐๕๖) ๕๑๑-๓๖๖ , ( ๐๕๖) ๕๑๑-๓๙๑
วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ )
แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “ นะ มะ พะ ธะ ” และสอนอนุสติ บริกรรม “ พุทโธ ”

๒๔. วัดถ้ำผาปล่อง
ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๗๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย  ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง  หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ให้สำรวมระวัง  รักษาความสงบ  ไม่ร้องรำทำเพลง  เล่นตลกคะนอง  เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ  พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม  พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป  และพระอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม  มาบำเพ็ญเพียร และละสังขารอยู่หลายองค์  การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ  ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์  ด้วยเหตุผลว่า ” การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น ”

๒๕. วัดป่าสาลวัน
ต.ในเมือง  อ.เมือง  จ.นครราชสีมา  ๓๐๐๐๐  โทร. (๐๔๔) ๒๕๔-๔๐๒ , ๐๘-๑๙๖๗-๑๔๓๕
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “ พุทโธ ”
วันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน  จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา  ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น ๒ โดยจะมีพระให้การอบรม
 
๒๖. วัดแดนสงบอาสภาราม
๙๙ ซอย ๑๙ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐  โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔ , ( ๐๔๔) ๒๑๔-๘๖๙-๗๐
วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
 
๒๗. วัดป่าวะภูแก้ว
หมู่ที่ ๑๑ บ้านวะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ๓๐๑๗๐  โทร. (๐๔๔) ๒๔๙-๐๔๕  เป็นวัดสาขาของวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “ พุทโธ ”
วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม  มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ

๒๘. วัดหนองป่าพง
๔๖  หมู่ ๑๐  บ้านพงสว่าง  ต.โนนผึ้ง  อ.วารินชำราบ  จ. อุบลราชธานี  ๓๔๑๙๐  โทร. (๐๔๕) ๓๒๒-๗๒๙
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภัทโท
แนวปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ
 
๒๙. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน
๖  หมู่ที่ ๒๕  บ้านเนินทาง  ต.บ้านค้อ  อ.เมือง  จ.ขอนแก่น  ๔๐๐๐๐  โทร. ( ๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖ , ( ๐๔๓) ๑๒๗-๗๙๐
เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขาของวัดอัมพวัน
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ ( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม )
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน  จ.สิงห์บุรี
 
๓๐. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม ( วัดป่าเหล่างา )
ซ.ศรีจันทร์ ๑๓  ถ.ศรีจันทร์  ต.ในเมือง  อ.เมือง  จ.ขอนแก่น  ๔๐๐๐๐  โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และหลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”

๓๑. วัดถ้ำผาบิ้ง
บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย ๔๒๑๓๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง  มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก  เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์  พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา  และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างไกลจากตัวเมือง
 
๓๒. วัดถ้ำกองเพล
ต.โนนทัน  อ.เมือง  จ.หนองบัวลำภู  ๓๙๐๐๐  โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”
เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ  ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน  บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่างๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม  เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม

๓๓. วัดป่าบ้านตาด
บ้านตาด  ต.บ้านตาด  อ.เมือง  จ.อุดรธานี  ๔๑๐๐๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”
ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก  แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก  กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี  ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน  ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย  เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน  และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน

๓๔. วัดหินหมากเป้ง
หมู่ที่ ๔  บ้านไทยเจริญ  ต.พระพุทธบาท  อ.ศรีเชียงใหม่  จ.หนองคาย  ๔๓๑๓๐  โทร. (๐๔๒) ๔๒๑-๔๐๙
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”
ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่  ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ร่มรื่น สงบเย็น เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง
 
๓๕. วัดเจติยาคิรีวิหาร ( วัดภูทอก )  
บ้านนาคำแคน ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ๔๓๒๑๐
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”
วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน  สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร  ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด  บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ ๒ ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป ๔ เมตร  เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น  เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด  ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว  จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ  ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี ๗ ชั้น  มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น ๒ หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ ( ต้องขออนุญาตก่อน )  เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้  เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ

๓๖. วัดดอยธรรมเจดีย์
หมู่ที่ ๓ บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ๔๗๒๘๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”
ปกติจะปฏิบัติที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิและอาคารซึ่งสะอาดทันสมัย

๓๗. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ( วัดถ้ำพวง )
ถนนรพช. หมู่ที่ ๑ ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ๔๗๑๙๐  โทร. (๐๔๒) ๗๒๒-๐๐๒
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภาวนา “ พุทโธ ”
ที่นี่มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า  เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่

๓๘. วัดป่าสุทธาวาส
๑๓๙๖  หมู่ที่ ๑๐  บ้านคำสะอาด  ต.ธาตุเชิงชุม  อ.เมือง  จ.สกลนคร  ๔๗๐๐๐  โทร. (๐๔๒) ๗๓๓-๐๔๑ , ( ๐๔๒) ๗๑๑-๕๗๓
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “ พุทโธ ”
มีอาคารเป็นตึกปูน ๓ ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย
 
๓๙. วัดคำประมง
๒๐  หมู่ที่ ๔  บ้านคำประมง  ต.สว่าง  อ.พรรณนานิคม  จ.สกลนคร  ๔๗๑๓๐  โทร. ๐๘-๑๖๐๑-๖๙๖๐ , ๐๘-๑๓๒๒-๗๑๐๗
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ  มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี  มีพระพุทธรูปปางต่างๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่  ฝูงปลามากมาย  มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยม และให้อาหารปลาอยู่เสมอ
 
๔๐. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม ( ถ้ำชี )
เขากิ่ว  ต.ไร้ส้ม  อ.เมือง  จ.เพชรบุรี  ๗๖๐๐๐  โทร. ( ๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริ ( กนฺตสิริ ภิกฺขุ )
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ
เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ยๆ  มีต้นไม้หนาแน่นมาก  อยู่ใกล้เมือง  เดินทางสะดวก  บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ  ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก

๔๑. เสถียรธรรมสถาน
๒๔/๕ ซ.วัชรพล ( รามอินทรา ๕๕ )  แขวงจระเข้บัว  เขตลาดพร้าว  กรุงเทพฯ  ๑๐๒๓๐  โทร. ๐๒-๕๑๐-๖๖๙๗ , ๐๒-๕๑๐-๔๗๕๖
วิปัสสนาจารย์ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น  สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร สาธุชนทุกท่านสามารถ  เข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ที่เหมาะ  อย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง
 
๔๒. บ้านซอยสายลม
๙ ถ.พหลโยธิน ซอย ๘ ซอยสายลม ( ระหว่างตึกชินวัตร ๑ และตึกพหลโยธินเพส )  แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “ นะ มะ พะ ธะ ” และสอนอนุสติ บริกรรม “ พุทโธ ”

๔๓. วัดพิชยญาติการาม
๖๘๕  ถ.ประชาธิปก  แขวงสมเด็จเจ้าพระยา  เขตคลองสาน  กทม.  ๑๐๖๐๐  โทร. ๐๒-๘๖๑-๔๓๑๙ , ๐๒-๔๓๘-๔๔๔๒
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมโมลี ( สมศักดิ์ อุปสโม ) และแม่ชีทศพร ชัยประคอง
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
มีการปฏิบัติธรรม อบรมกรรมฐาน และดูกฎแห่งกรรม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
 
๔๔. วัดผาณิตาราม
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ  วัดผาณิตาราม  อ.เมือง  จ.ฉะเชิงเทรา  ๒๔๐๐๐  โทร. (๐๓๘) ๕๐๒-๐๐๐ , ( ๐๓๘) ๕๐๒-๐๘๗-๘
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง  ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี ( โชดก ญาณสิทฺธิ ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
มีการจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับเยาวชน และบุคคลทั่วไป  สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก ที่พักสะอาด สะดวก ปลอดภัยดีมาก
และที่ปฏิบัติมีเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

๔๕. วัดเขาวง ( ถ้ำนารายณ์ )
๖๒/๑ หมู่ที่ ๕  บ้านเขาวง  ต.เขาวง  อ.พระพุทธบาท  จ.สระบุรี  ๑๘๑๒๐  โทร. (๐๓๖) ๒๓๖-๕๐๐-๕ , ๐๘-๖๑๓๓-๖๘๘๙ , ๐๘-๔๓๑๐-๙๔๔๒
วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ )
แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “ นะ มะ พะ ธะ ” และสอนอนุสติ บริกรรม “ พุทโธ ”
รับผู้เข้าพักปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก

๔๖. วัดสังฆทาน
๑๐๐/๑  หมู่ที่ ๓  บ้านบางไผ่น้อย  ต.บางไผ่  อ.เมือง  จ.นนทบุรี  ๑๑๐๐๐  โทร. ๐๒-๔๔๗-๐๗๙๙ , ๐๒-๔๔๗-๐๘๐๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก และหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
มีการจัดบวชเนกขัมมปฏิบัติทุกวัน ทั้งบวชคนเดียว และบวชหมู่

๔๗. ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า
ประเทศไทยมีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า  รวมทั้งหมด ๕ ศูนย์  อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์

( ๑) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา
กม. ๑๖๖+๙๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ ( สุวรรณศร )  ๒๐๐ บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕๐๐๐  โทร. ๐-๓๗๔๐-๓๕๑๖

( ๒) ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา
กม. ๔๙+๔๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๑๒ ( พิษณุโลก-หล่มสัก)  ๑๓๘ แยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ๖๕๒๒๐  โทร. ๐๕๕-๒๖๘-๐๔๙ , ๐๘-๑๖๐๕-๕๕๗๖

( ๓) ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา
๑๑๒ หมู่ที่ ๑ ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ๔๐๒๔๐  โทร. ๐๘-๖๗๑๓-๕๖๑๗

( ๔) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา
๒๐/๖ หมู่ที่ ๒ บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๔๐  โทร. ๐-๓๔๕๓-๑๒๐๙ , ๐๘-๑๕๐๖-๐๓๘๙

( ๕) ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
๔๒/๖๖๐ หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่  แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐  โทร. ๐๒-๙๙๓-๒๗๑๑ , ๐๒-๙๙๓-๒๗๐๐
วิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า ( S.N. Goenka )
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #4 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2553, 08:46:11 »

  
    ขอบคุณค่ะ  พี่เจี๊ยบที่นำข่าวบุญมาบอก

    ขอให้กุศลผลบุญนี้ ทำให้พี่ประสบความสุข ความสำเร็จ ตลอดกาลเทอญ ...
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2553, 10:50:08 »


         สาธุ ... สมพรปาก จ้า น้องอ้อย 17 ... ยินดีนัก นัก เจ๊า
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #6 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2553, 11:12:43 »

ขอบคุณ พี่เจี๊ยบ ด้วยอีกคน
ขอให้สุขภาพดี อายุยืน ( มากกว่า 2,000 ปี ) ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><