26 พฤศจิกายน 2567, 15:57:00
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: Re: เตรียมตัวอำลาปีเก่า และเตรียมฉลองปีใหม่ 2554  (อ่าน 145197 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Angy20
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2520
คณะ: บัญชี
กระทู้: 252

« ตอบ #225 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553, 08:15:56 »

สวัสดีจ๊ะ เริง
     โอ๋งเอง  เข้ามาทักทาย เพิ่งกลับจากเที่ยวลาวตอนใต้ กับเพื่อนๆ 2520 และ พี่ๆ  รุ่นเรามี  ทิพ  อึ่ง โอ๋ง โกะ  จิ๋ว  ตี๋ นก  และแต๊ก (เภสัช)
      สบายดีนะ  สุฤทธิ์ กับโอ๋ง สบายดีค่ะ  คิดถึงนะ

โอ๋ง งง งง งง งง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #226 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553, 08:54:14 »

โอ๋ง

ชวน ชารี และเด็กๆ ไปวังน้ำเขียวนะ  ตืดต่ออึ่งได้เลย
      บันทึกการเข้า
Angy20
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2520
คณะ: บัญชี
กระทู้: 252

« ตอบ #227 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553, 09:31:15 »

เริง

      อึ่งและ ทิพ  บอกไว้แล้ว  สุฤทธิ์พอชวนได้ แต่เด้กๆ ไม่แน่ใจ เพราะโตแล้วไม่ค่อยอยากจะไปไหนด้วย ค่ะ
      บันทึกการเข้า
nitty20
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,398

« ตอบ #228 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553, 11:26:25 »

 emo6::))หวัดดีเพื่อนๆทุกคน
ดีใจจังที่เพื่อนๆเข้ามาส่งเสียงทักทายกัน
เราเพิ่งกลับมาจากทำบุญทอดผ้าป่าและถวายเทียนพรรษาที่เมืองแพร่
เอาบุญมาฝากจ้า....เข้ามารับกันหน่อยยยยเร็วว

เริงจะจัดไปภูเขียว เมื่อไหร่ บอกด้วยนะ
วันก่อนเพื่อนครุนัดสังสรรค์กัน จิ๋มจันทราให้เราโทรตามเธอ...
แต่บอกกระชั้นเกินติดต่อเธอไม่ได้ ไอเสาร์ก็มา ศักดาพังงาก็มา
มากัน20กว่าคน ส่วนใหญ่แก้งค์โต๊ะหน้าห้องน้ำ จี๋ เหลว ตู่ เต็ง อร หมีชุมพร วิษณุ
ที่สำคัญท่านหยุย ท่านเมี้ยว ท่านแมวดร.กมล ก็มาด้วยจ้า...ทีงานหอ..ไม่มา..เชอะ...
เตือน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #229 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553, 12:13:41 »

นิตตี้
  หากเป็นศักดา ที่อยู่พังงา  ผมติดต่อกันประจำ เขาน่าจะทราบเบอร์ผมนะ หรือสำนักงาน  เสียดายมาก  โอกาสที่จะเจอกันเช่นนี้ มีน้อยมากๆ
  ห้วข้อที่นัดเจอน่าจะเป็น แสดงความยินดีกับ  กมล   ผมได้โทรไปในวันแรกๆ แล้ว  มีแนวโน้มว่า ในอนาคตน่าจะมาอยู่ กศน..
   เบอร์ผม คือ 0819890113   เปิด 24 ชม.ครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #230 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2553, 15:12:25 »

เทียวเมลเบริน์  ออสเตรเลีย
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=85085.0
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #231 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2553, 08:07:23 »

สวัสดี น้องๆ ห้อง 2520

ทำงาน 9 - 10 - 11 สิงหาคม แล้วหยุดยาว 12 - 15 สิงหาคม รวม 4 วัน เตรียมตัวพาครอบครัวไปท่องเที่ยวที่ไหน ??

ช่วงนี้ยังมีฝน ระวังการเดินทางด้วยครับ





6600  win
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #232 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2553, 09:17:11 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 23 กรกฎาคม 2553, 13:26:53
ท่านมนตรี
  หากมีเวลา ลองไปตลาดบึงน้ำ 4 ภาค พัทยา  ติดถนนสุขุมวิท ด้านซ้ายมือ ครับ เปิดถึงค่ำ  อากาศจะไม่ร้อน
http://vodpod.com/watch/3983842--4-www-moohin-com

ขอบพระคุณครับ พี่เริง ... เห็นโพสพี่ช้าไปเสียดายจัง ...

เห็นป้ายโปรโมตตลาดน้ำเหมือนกันครับ แต่ไม่ได้แวะไป  ถ้าเห็นโพสนี้เสียก่อน ไปแน่ ^_^


ปล.

พี่แองจี้ พูดเหมือนพี่หมอโอภาสเลย ... ถ้าลูกโตแล้วเขาจะไม่ค่อยอยากไปกับเรา ตอนนี้ผมกับแฟนเลยต้องจัดโปรแกรมเที่ยวกับลูกให้คุ้มก่อนเขาโต  หลั่นล้า






      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #233 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2553, 09:38:58 »

พี่เหยง
 วันหยุดยาว สิงหาคม  จะไปมะละกา ครับ  อยากไปเห็น ช่องแคบมะละกา มาก เพราะได้ยินมาแต่เด็กแล้วว่า เป็นสถานที่ค้าขายในสมัยก่อน
 และจะแวะไปชมรูปปั้นช้างที่สถานทูตไทย ในสิงคโปร์ ซึ่งสถานทูตแห่งนี้ ร. 5 ได้ทรงซื้อที่ดินไว้
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #234 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2553, 16:00:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 09 สิงหาคม 2553, 09:38:58
พี่เหยง
 วันหยุดยาว สิงหาคม  จะไปมะละกา ครับ  อยากไปเห็น ช่องแคบมะละกา มาก เพราะได้ยินมาแต่เด็กแล้วว่า เป็นสถานที่ค้าขายในสมัยก่อน
 และจะแวะไปชมรูปปั้นช้างที่สถานทูตไทย ในสิงคโปร์ ซึ่งสถานทูตแห่งนี้ ร. 5 ได้ทรงซื้อที่ดินไว้

อยากไปเหมือนกัน ยังไม่เคยไปเลยครับ ... ถ้าพี่เริงจะกรุณา  ขอรูปถ่ายมาฝากด้วยนะครับ ...

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #235 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2553, 16:02:06 »

 http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:nnCpOoCMRIMJ:www.tortaharn.net/contents/index.php%3Foption%3Dcom_content%26task%3Dview%26id%3D31%26Itemid%3D1+%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th

ในช่วงที่สถานการณ์ความร้อนแรงของความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นที่สนใจของเรา ๆ ท่าน ๆ จนทำให้กลบข่าวความร้อนแรงรอบบ้านที่เกิดขึ้น อย่างเช่นสถานการณ์บริเวณช่องแคบมะละกาที่มีหลายประเทศเกี่ยวข้องกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้




           จากที่ผมกล่าวนำมาอย่างนี้ คิดว่าหลายท่านอาจจะสนใจแล้วว่า ช่องแคบมะละกามีความสำคัญอย่างไร?  ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงค์โปร์ ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่มีความกว้างบริเวณทางเข้าประมาณ 5 ไมล์ ยาวประมาณ 600 ไมล์ ช่วงที่แคบที่สุดประมาณ 1.5 ไมล์ มีเรือผ่านประมาณ 900 ลำต่อวัน หรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีประมาณเรือที่ผ่านมากว่าคลองสุเอซประมาณ 2 เท่า และ มากกว่าคลองปานามากว่า 3 เท่า

           นอกจากนี้ช่องแคบมะละกายังเป็นช่องแคบที่ใช้ขนส่งน้ำมันวันละ 11 ล้านบาเรล โดยเฉพาอย่างยิ่งประเทศ ไทย จีน และญี่ปุ่น อาศัยช่องแคบมะละกาในการนำน้ำมันเข้าประเทศกว่า 80% ของน้ำมันที่แต่ละประเทศ และโดยรวมแล้วช่องแคบมะละกายังใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งน้ำมันทั่วโลกกว่า 50% และยังเป็นเส้นทางขนส่งสินค้ากว่า 25% ของโลก ทั้งนี้เพราะว่าช่องแคบมะละกาเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดที่เชื่อมต่อระหว่าง มหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้


           ด้วยความสำคัญของช่องแคบมะละกาจึงเปรียบเสมือน เส้นทางคมนาคมทางทะเล (Sea Line of Communication: SLOC) ที่สำคัญ ทำให้หลายประเทศเริ่มหันมาสนใจ เพราะปัจจุบันภัยคุกคามจากการก่อการร้ายเป็นภัยที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวและยังส่งผลกระทบโดยตรงพลังอำนาจของชาติทางด้านเศรษฐกิจ และการขับเคลื่อนประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ถ้าเกิดการก่อการร้ายบริเวณช่องแคบมะละกาอาจจะส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยขาดแคลนน้ำมัน เพราะน้ำมันสำรองที่ประเทศไทยมีสามารถสำรองใช้ได้เพียง 18 วัน ทั้งนี้เพราะประเทศไทยนำเข้าน้ำมันประมาณ 710,000 บาเรลต่อวัน (ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานในปี 2546)


           นอกเหนือจากประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่นจะประสบปัญหาเหมือนกัน เพราะ ญี่ปุ่นนำน้ำมันเข้าประมาณ 5.57  ล้านบาเรลต่อวัน เพราะหากช่องแคบมะละกาไม่สามารถเปิดให้เดินเรือได้แล้วเรือต่าง ๆ ที่เปลี่ยนเส้นทางจะต้องเดินทางอ้อมไกลจากเดิมไปอีกกว่า 100 กม. ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นและยังส่งผลตามมาในทางจิตวิทยาที่ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


           จากการคาดการณ์ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการก่อการร้ายในบริเวณช่องแคบมะละกาจะเห็นได้ว่ามีผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของแต่ละชาติ ซึ่งปัจจุบันการขนส่งทางทะเลมีความสำคัญในส่วนแบ่งของตลาดการค้าโลกถึง 90% นอกเหนือจากประเทศในภูมิภาคนี้แล้วประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ ฯ เองก็มีความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะสหรัฐ ฯ เองนั้นอาศัยการขนส่งทางทะเลถึง 80% จากทั่วโลกในการนำเข้าและส่งออกสินค้า ซึ่งสหรัฐ ฯ ถือว่าเป็นการส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประโยชน์ของชาติสหรัฐ ฯ เอง


           ด้วยเหตุนี้เองหลาย ๆ ท่านจึงอาจจะเคยได้ยินข่าวว่าสหรัฐ ฯ โดย พล.ร.อ. ทอมัส บี. ฟาร์โก (Admiral Thomas B. Fargo) ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐ ฯ (Commander, US Pacific Command) เข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการการทหารของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ฯ เมื่อ 31 มี.ค. 2547 ที่นำเสนอแนวความคิดเรื่อง "ความริเริ่มเพื่อความมั่นคงทางทะเลระดับภูมิภาค" (The Regional Maritime Security Initiative: RMSI)


           โดยที่ RMSI เป็นแนวความคิดที่มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดในเรื่อง “มาตรการเพื่อความร่วมมือและสกัดกั้นการขนส่งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง” (Proliferation Security Initiative: PSI) ของสหรัฐ ฯ ที่พยายามหยุดยั้งการเคลื่อนย้าย ขนส่ง ทาง บก ทางทะเล และ ทางอากาศโดยทำการตรวจค้น จับกุม หรือยึดสินค้าต้องสงสัย (สำหรับประเทศไทยเองได้มีการทำการตกลงในระดับทวิภาคีกับสหรัฐ ฯ ในเรื่อง “มาตรการเพื่อความร่วมมือในการป้องกันการขนส่งสินค้าที่ไม่ชอบธรรม” (Container Security Initial: CSI) ซึ่งจะแตกต่างจาก PSI ตรงที่มุ่งเน้นในการตรวจตู้สินค้าที่จะส่งตรงทางเรือไปยังสหรัฐ ฯ เท่านั้น แต่ PSI รวมทั้ง ทางบก ทะเล และอากาศ)


           มาตรการ RMSI นั้นมีวัตถุประเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคร่วมกันสร้างความมั่นคงในทะเล โดยดำเนินการ ลาดตระเวน ตรวจจับ และเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวทางทะเลในพื้นที่ที่เป็นผลประโยชน์ และรวมไปถึงการสถาปนาขีดความสามารถทางด้านการข่าว ความสามารถในการประสานการปฏิบัติ และ การรักษากฎหมายของภูมิภาคเพื่อสกัดกั้นเรือต้องสงสัยในน่าน้ำระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดีการจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกใน RMSI คงจะต้องพิจารณาให้รอบ เพราะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันหลายเรื่อง เช่น ความละเอียดอ่อนต่อปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค กฎหมาย และอื่น ๆ อีกหลายประการ


           ดังนั้นเมื่อพิจารณาดี ๆ แล้ว จะเห็นว่าสหรัฐ ฯ เองมีความพยายามยามเป็นอย่างมากที่จะผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่องแคบมะละกายอมรับ และร่วมกันเป็นสมาชิกใน RMSI ดังที่ผ่านมา ในเดือน มิ.ย. 2547 ในการประชุม 2nd IISS Asia Security Conference – Shangri La Dialogue ที่ประเทศสิงค์โปร์ โดย พล.ร.อ. ทอมัส ฯ ได้นำ RMSI มาเสนอในการประชุมอีกครั้ง


           อย่างไรก็ตามเสียงตอบรับจากความพยายามของผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐ ฯ คงมีเพียงแต่ สิงค์โปร์ประเทศเดียว ส่วนมาเลเซีย และอินโดนีเซียต่างคัดค้างอย่างรุนแรงและแสดงจุดยืนที่ว่า ช่องแคบมะละกาเป็นเรื่องของความมั่นคงในภูมิภาค ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของประเทศในภูมิภาคนี้ทำการป้องกันกันเอง อย่างไรก็ดีอินโดนีเซียยินดีที่จะรับเงินช่วยเหลือจากนานาชาติที่จะนำมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยบริเวณช่องแคบมะละกา ส่วนไทยนั้นไม่ได้แสดงท่าทีอะไร และ เมื่อ 20 ก.ค. 47 มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ สิงค์โปร์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง กองกำลังลาดตระเวนทางทะเล ด้วยกองเรือจำนวน 17 ลำ ภายใต้ชื่อ “ยุทธการมาลินโด (Operation Malindo)” เพื่อทำการทำการลาดตระเวนป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายและโจรสลัดในบริเวณช่องแคบมะละกา

           อีกทั้งทางกองทัพเรืออินโดนีเซียได้เพิ่มมาตรการเฝ้าตรวจลำน้ำโดยจัดเรือ 5 – 7 ลำ ทำการลาดตระเวนเพื่อป้องกันและปราบปรามโจรสลัด และยังตามมาด้วย การลงนามความร่วมมือทางทหารและแลกเปลี่ยนข่าวกรองระหว่างกันระหว่างมาเลเซียและสิงค์โปร์ ในวันที่ 27 ก.ค. 2547  ต่อมาเมื่อ 9 ส.ค. 2547 มาเลเซียประจัดตั้งหน่วยรักษาฝั่งที่มีโครงสร้างการจัดคล้าย ๆ กับ หน่วยรักษาฝั่งของสหรัฐ ฯ (US Coast Guard) ภายในต้นปี 2548 เพื่อการกู้ภัยและช่วยเหลือทางทะเล


           จากมาตรการต่าง ๆ ที่ประเทศรอบ ๆ ช่องแคบมะละกาได้ดำเนินการสามารถใช้เป็นสิ่งบอกเหตุว่า แต่ละประเทศต่างก็มีความกังวลกับความปลอดภัยและเสถียรภาพของภูมิภาคนี้ และไม่ต้องการให้ประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐ ฯ เข้ามาแทรกแซง เมื่อถึงตรงนี้ผมคิดว่า เรา ๆ ท่าน ๆ คงจะมีคำถามในใจว่าทำไม? สหรัฐ ฯ ถึงได้ให้ความสนใจมากนักในบริเวณช่องแคบมะละกา และพร้อมที่จัดตั้งกองกำลังเข้ามาร่วมในการทำการลาดตระเวนน่านน้ำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ในมุมมองด้านการรักษา SLOC เท่านั้นหรือ? เพราะสหรัฐ ฯ เองได้ทุ่มเททรัพยากรทางทหารจำนวนมากไปในอิรักและในอัฟกานิสถาน หรือว่าสหรัฐ ฯ จะมีวาระซ่อนเร้นที่แอบอยู่ภายใต้มาตรการ RMSI?


           เมื่อกล่าวถึงสหรัฐ ฯ แล้วหลาย  ๆ ท่านอาจจะไม่ทราบว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ฯ ได้ประกาศว่าเส้นการคมนาคมทางทะเล (SLOC) และจุดสกัดกั้นทางทะเล (Chokepoint) เปรียบเสมือน เส้นทางการคมนาคมหลักและพื้นที่ถ่ายสิ้นค้า (US Lifelines and Transit Regions) จำนวน 8 ช่องทาง คือ


(1)     คลองปานามา ที่อยู่บริเวณ ทะเลคาริบเบียนในอ่าวเม็กซิโก
(2)     ช่องแคบและคลองหลายคลองบริเวณ ทะเลบอลติกและทะเลเหนือ
(3)     ช่องแคบยิบรอนต้าที่อยู่บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ รวมถึงช่องทางเข้าสู่ตะวันออกกลาง
(4)     คลองสุเอซที่อยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของหาสมุทรอินเดียและช่องแคบแห่งฮอมุซและบริเวณรอบ ๆ อัฟริกาใต้ถึงบริเวณคลองโมซัมบิก
(5)     ช่องแคบมะละกา และ ลอมบอด บริเวณทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ SLOC ที่ผ่านหมู่เกาะสแปรทลีย์
(6)     SLOC สำคัญบริเวณทะเลในเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เข้าสู่ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และรัสเซีย
(7)     SLOC ที่สำคัญบริเวณ ตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เข้าสู่ ออสเตรเลีย
(Cool     ช่องแคบเบอริ่ง ที่ในมหาสมุทรอาร์คติก

           สาเหตุที่สหรัฐ ฯ กำหนดความสำคัญของ ช่องแคบ และ SLOC ต่าง ๆ ก็เพราะว่าสหรัฐ ฯ เคยประสบปัญหาต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในช่วงสงครามระหว่าอิรักและอิหร่าน (ช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2531) เนื่องจากน้ำมันที่ใช้ในประเทศสหรัฐ ฯ นั้นมากกว่าครึ่งนั้นนำเข้าจากต่างประเทศโดยนำเข้าส่วนใหญ่นั้นมาจากซาอุดิอารเบีย ซึ่งจะต้องขนส่งทางทะเลมากกว่า 800 ไมล์ทะเล ผ่านทาง SLOC บริเวณทิศตะวันตกของหาสมุทรอินเดีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ และรวมถึงทะเลคาริบเบียนในอ่าวเม็กซิโก เพราะในช่วงสงครามดังกล่าว มีเรือขนส่งถูกโจมตีระหว่างเดินทาง 543 ครั้ง และกลาสีบนเรือ มากกว่า 200 ชีวิตได้สูญเสียไปในระหว่างที่ถูกโจมตี (ในจำนวนนี้เป็นชาวสหรัฐ ฯ  53 คน) โดยทั้งเรือเดินสมุทรและเรือรบนั้นเสียหายจนใช้งานไม่ได้ถึง 80 ลำ ส่วนคลังสินค้าและลำเรือเสียหายทั้งหมดกว่า  2 พันล้านเหรียญ  และยังส่งผลให้เบี้ยประกันสูงขึ้นถึง 200% และผลกระทบที่ตามมาคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จากราคาในขณะนั้น บาเรลละ 13 เหรียญสหรัฐ ไปเป็น 31 เหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งทำให้ราคาสินค้าทั่วโลกขยับตัวสูงขึ้นเป็นมูลค่ารวมถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ


           จากตัวอย่างความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสหรัฐ ฯ และเศรษฐกิจโลกในห้วงสงครามอิรัก-อิหร่าน จะเห็นได้ว่า SLOC ที่สำคัญ รอบ ๆ โลกนั้นย่อมจะส่งผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจของโลก ซึ่งในอนาคตถ้าเกิดเหตุกาก่อการร้าย หรือเหตุใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลให้ SLOC สำคัญ ๆ ไม่สามารถใช้ทำการเดินเรือได้ โดยเฉพาะอย่าง บริเวณช่องแคบมะละกา ที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านสูงที่สุดใน 8 พื้นที่ตามที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ฯ ประกาศไว้ และยังมีบริเวณที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ เส้นทางเดินเรือบริเวณหมู่เกาะสแปรทลีย์


           และจากแหล่งข่าวหลาย ๆ ที่นั้นต่างก็มีรายงานข่าวไปในทำนองเดียวกันว่าในปีหน้า (2548) การก่อการร้ายจะพุ่งเป้ามาที่ช่องแคบที่สำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องแคบมะละกา ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่กลุ่มอัลกออิดะห์ ให้ความสนใจเพราะสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ และโลกได้อย่างมหาศาลด้วยการลงทุนที่ต่ำ


           มาถึงตรงนี้คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มปะติดปะต่อภาพและมองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่าทำไม่สหรัฐ ฯ ถึงให้ความสนใจในบริเวณช่องแคบมะละกา และมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำกำลังเข้ามารักษาความปลอดภัย ท่ามกลางการต่อต้านของมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพราะถ้ายินยอมให้สหรัฐ ฯ นำกำลังเข้ามาในภูมิภาคนี้แล้ว เห็นทีจะเป็นการเชื้อเชิญผู้ก่อการร้ายเข้ามาร่วมทำสังฆกรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแน่แท้ นี่แหละครับสาเหตุว่าทำไมช่องแคบมะละกาจึงเป็นเรื่องที่ไม่แคบอย่างที่ดิค เพราะ ผลประโยชน์ของชาติใด  ชาตินั้นก็ต้องรักษาไว้  สวัสดีครับ ...............

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #236 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2553, 16:06:17 »

จาก FWD Mail

ครั้งที่ ๑๓ เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส  ให้กับอังกฤษเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑ พื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #237 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2553, 08:58:48 »

ท่านมนตรี
 ข้อมูลชัดเจน เหมาะกับเป็นผู้รอบรู้จริงๆ  ขอบใจมากๆ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #238 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2553, 13:06:17 »

การเสียดินแดนทั้ง 14 ครั้ง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=74144
      บันทึกการเข้า
nitty20
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,398

« ตอบ #239 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2553, 00:18:02 »

 รักนะสาวๆรุ่น20 ไปปลูกป่าและเที่ยวเขื่อนแก่งกระจานมาจ้า หลั่นล้า หลั่นล้า







      บันทึกการเข้า
Angy20
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2520
คณะ: บัญชี
กระทู้: 252

« ตอบ #240 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2553, 20:52:34 »

Nitty
    หยุด 4 วันเราอยู่บ้าน สบายใจจัง   วันพรุ่งนี้นัดมิชิโก ไว้จะไปหาที่ Office สวนสยาม  จะไปเอารูปวันที่ไปปลูกป่า ไว้จะเอามา Post เพิ่มให้นะ
      บันทึกการเข้า
michiko 2520
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 67

« ตอบ #241 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2553, 15:42:08 »

โอ๋ง
ไหงวันนี้เบี้ยว ไม่มาล่ะ รอกินข้าวเย็นด้วยกันนะนี่ ไว้เจอกันใหม่แล้วกัน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #242 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2553, 13:12:32 »

กลับจากมะละกา และสิงคโปร์แล้ว
 ไม่มีภาพมาให้ชม
  ช่องแคบมะละกา กว้างประมาณ 9 กม. ฝั่งตรงข้ามเป็นชวา  มะละกา เก่าจริงตามภาพ
http://www.google.co.th/images?hl=th&q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2&um=1&ie=UTF-8&source=univ&ei=tSdqTO_kDZGiuQP_-KGnAQ&sa=X&oi=image_result_group&ct=title&resnum=5&ved=0CDwQsAQwBA&biw=984&bih=559




 
   รูปปั้นช้างสัมฤทธิ์ ย้ายไปเก็บชั่วคราว เพราะสร้างสถานทูตไทยสิงคโปร์ใหม่ เมื่อเสร็จแล้ว คงกลับมาตั้งเหมือนเดิม
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #243 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2553, 14:29:03 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 17 สิงหาคม 2553, 13:12:32
กลับจากมะละกา และสิงคโปร์แล้ว
 ไม่มีภาพมาให้ชม
  ช่องแคบมะละกา กว้างประมาณ 9 กม. ฝั่งตรงข้ามเป็นชวา  มะละกา เก่าจริงตามภาพ
http://www.google.co.th/images?hl=th&q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2&um=1&ie=UTF-8&source=univ&ei=tSdqTO_kDZGiuQP_-KGnAQ&sa=X&oi=image_result_group&ct=title&resnum=5&ved=0CDwQsAQwBA&biw=984&bih=559




 
   รูปปั้นช้างสัมฤทธิ์ ย้ายไปเก็บชั่วคราว เพราะสร้างสถานทูตไทยสิงคโปร์ใหม่ เมื่อเสร็จแล้ว คงกลับมาตั้งเหมือนเดิม


ขอบพระคุณครับ พี่เริง ...

พอดีเลยครับ ผมมีโปรแกรม รับเชิญไปบรรยายที่ กัวลาลัมเปอร์ มาเลย์ฯ ช่วง 22-24 พ.ย. นี้  ...

ใส่ ...  มะละกา เพิ่มเข้าไปในโปรแกรม เที่ยวเสียเลย  คลาสสิค มากครับ ชอบๆ 



http://www.beaconevents.com/2010/WiMaxStrategiesAsia2010/en/Speaker_Info/confirmed_speakers.jsp



^_^


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #244 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2553, 15:24:00 »

ท่านมนตรี
  มะละกาห่างจากกัวลาไปทางใต้ ใช้เวลานั่งรถยนต์ทางไฮเวย์ 3 ชม. น่าจะมีเวลาอย่างน้อย 4 ชม.ที่มะละกา  ย่านแหล่งเก่าๆในภาพ อยูสุดถนนที่รถวิ่งได้  ขวามือจะเป็นแม่น้ำมะละกา ข้ามสพานไป จะเป็นย่านการค้าในอดีต  ตึกเหมือนตึกเก่าที่ภูเก็ต แต่ถนนแคบกว่า เข้าใจว่าในอดีตใช้เดินเท่านั้น  ส่วนช่องแคบมะละกา ต้องขึ้นสพานไปชมเป็นเส้นทางทีจะออกจากมะลากา ไปศูนย์การค้าแห่งใหม่และใหญ๋กำลังก่อสร้าง ต่อไปคงเต็มไปด้วยคน
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #245 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2553, 19:07:47 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 17 สิงหาคม 2553, 15:24:00
ท่านมนตรี
  มะละกาห่างจากกัวลาไปทางใต้ ใช้เวลานั่งรถยนต์ทางไฮเวย์ 3 ชม. น่าจะมีเวลาอย่างน้อย 4 ชม.ที่มะละกา  ย่านแหล่งเก่าๆในภาพ อยูสุดถนนที่รถวิ่งได้  ขวามือจะเป็นแม่น้ำมะละกา ข้ามสพานไป จะเป็นย่านการค้าในอดีต  ตึกเหมือนตึกเก่าที่ภูเก็ต แต่ถนนแคบกว่า เข้าใจว่าในอดีตใช้เดินเท่านั้น  ส่วนช่องแคบมะละกา ต้องขึ้นสพานไปชมเป็นเส้นทางทีจะออกจากมะลากา ไปศูนย์การค้าแห่งใหม่และใหญ๋กำลังก่อสร้าง ต่อไปคงเต็มไปด้วยคน

สวัสดีครับพี่เริง

แจ้งเจ้าภาพที่มาเลย์แล้วครับ ให้ช่วยบรรจุโปรแกรมเยี่ยมชม เมืองมะละกา ให้ด้วย  ตอนนี้ทุกอย่างพร้อม

เหลือเพียง จะชวนลูกชายให้ไปด้วยได้อย่างไร ... เพราะตรงกับวันเรียนหนังสือ

ผมอุตส่าห์อ้างว่า เป็น วิชา สปช. สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ก็ยังไม่ยอม กลัวขาดเรียน ^_^


จึงคิดว่า จะเลื่อนไฟต์บินไป กทม.-กัวลาฯ เป็นวันเสาร์ที่ 20 พ.ย.  พาเที่ยว เสาร์-อาทิตย์ แล้วให้ลูกชายบินกลับพร้อมภรรยา ก่อน ในวันจันทร์ที่ 22 ... 


ขอบคุณมากครับพี่ สำหรับข้อมูล
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #246 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2553, 20:42:29 »

ปล.

เดี๋ยวลูกชายปิดเทอมใหญ่ ... ทำโปรแกรม เที่ยวทุกเดือน ... คราวนี้ ผมมีมาแชร์กับพี่ๆ ทุกเดือนตามหัวข้อกระทู้แน่ๆ ^_^


จองตั๋วและที่พัก ไว้ัดังนี้ครับ

1. เซินเจิ้น ฮ่องกง (พ.ค.)

2. บาหลี (มิ.ย.)

3. ฮานอย เวียดนาม (ก.ค.)

4. อันนี้ยาวเพราะคุณแม่ผมจะไปด้วย จัดทริป >> กรุงเทพฯ-บาหลี-เพิร์ธ-กัวลาลัมเปอร์ (ส.ค.)


จองล่วงหน้ายาวๆ แบบนี้ จะช่วยประหยัดทั้งค่าเดินทาง และที่พัก  ตั้งใจจะจองให้ ถึงคริสมาสต์ ธ.ค. ปีหน้า กะไปยุโรปให้ครบทุกประเทศ
แต่เขาให้จองได้แค่ สิงหา 54 ^_^


แล้วจะมาคอยอัพเดต ตามหัวข้อกระทู้ในแต่ละเดือนนะครับ  ตอนนี้ขออนุญาตติดตามอ่านก่อนครับ งานแยะมากมายครับพี่ ช่วงนี้ ^_^

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #247 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2553, 09:52:00 »

ท่านมนตรี
 หากได้ไปแถวยุโรป ขอเสนอ อย่าพลาด เบอร์ลิน และนั่งรถไฟไปเดรสเดรนเมืองเก่าของกษ้ตรย์ แคว้นแซกโซนี ริมแม่น้ำเอลเบ้ และนั่งรถไฟ 30 นาที่ ข้ามประเทศไปกรุงปราก ประเทศเชค  3 เมือง 3 วัน มีเวลาเหลือเฟือ และสวยงามมากๆ เป็นยุโรปตะวันออก  หากขึ้นเครื่องกลับที่แฟรงเฟริต เครื่องออกประมาณ 4 ทุ่ม ลองนั่งรถไฟไปเมืองบาดฮอมบวกส์  มีศาลาไทยแห่งแรกนอกแผ่นดินสยาม  กลับมาขึ้นเคร่องทันเวลาครับ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #248 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2553, 16:51:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 18 สิงหาคม 2553, 09:52:00
ท่านมนตรี
 หากได้ไปแถวยุโรป ขอเสนอ อย่าพลาด เบอร์ลิน และนั่งรถไฟไปเดรสเดรนเมืองเก่าของกษ้ตรย์ แคว้นแซกโซนี ริมแม่น้ำเอลเบ้ และนั่งรถไฟ 30 นาที่ ข้ามประเทศไปกรุงปราก ประเทศเชค  3 เมือง 3 วัน มีเวลาเหลือเฟือ และสวยงามมากๆ เป็นยุโรปตะวันออก  หากขึ้นเครื่องกลับที่แฟรงเฟริต เครื่องออกประมาณ 4 ทุ่ม ลองนั่งรถไฟไปเมืองบาดฮอมบวกส์  มีศาลาไทยแห่งแรกนอกแผ่นดินสยาม  กลับมาขึ้นเคร่องทันเวลาครับ


ขอบพระคุณครับพี่เริง ... Record ไว้เลย  แถวยุโรปผมมีไกด์ กิติมศักดิ์หลายท่าน ไม่ต้องกลัวหลง รับรองได้ไป ตามที่เริงแนะนำแน่นอน ....

แล้วจะเก็บรูปมาอัพเดต นะครับ  ^_^
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #249 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2553, 10:33:14 »

แปลก  อย่างนี้ก็มี
http://hilight.kapook.com/view/51371
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><