26 พฤศจิกายน 2567, 02:53:26
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: สุขภาพที่..อาจ..ยังไม่มีในตำรา (แต่อิงวิชาการ..บ้างนะ)  (อ่าน 23649 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 เมษายน 2552, 08:30:12 »

อายุมากขึ้น  ประสบการณ์ก็มากตาม
โดนด้วยตัวเอง..พบเห็น...ได้ยิน...ได้อ่าน...มากมายจริงๆ
แต่ด้วยความเป็นคนไม่เชื่ออะไรง่ายๆ..จึงคิดมากหน่อย...
คิดแล้ว..บ้างเรื่องก็เห็นด้วย...บ้างเรื่องก็ขัดแย้ง

เรื่องนั้นหลากหลาย..แต่ขอเริ่มที่สุขภาพก่อนแล้วกัน
หลายเรื่องสุขภาพ เคยถูกแนะนำให้ปฎิบัติจากผู้เกี่ยวข้องทางสาธารณสุข
แต่ต่อมาก็เรียนรู้ว่าไม่ถูกต้อง จึงลดความนิยม และอาจยกเลิกไป

บ้่างเรื่องเคยถูกต่อต้านจากตำราทางสาธารณสุข..แต่ต่อมาก็ต้องยอมรับ

ท่านใดมีประสบการณ์ทำนองดังกล่าว เข้ามาแลกเปลี่ยนกันนะครับ

แล้วพี่น้องจะรู้ว่า...ร่างกายตัวเราเองฉลาดแค่ไหน....


      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 เมษายน 2552, 11:14:44 »


เรื่องที่1  ทำความสะอาดแผลทุกวันเป็นเรื่องดี???

สมัยที่เปิดร้านขายยาแถวแฮปปี้แลนด์ มีบ่อยครั้งที่มีคนมาซื้อยาเพื่อรักษาแผล
ก็สิบกว่าปีแล้วละ

มีลูกค้าบางราย เป็นแผลมากว่าเดือน แผลยังไม่หาย บางรายร่วม 3 เดือน
ถามดูได้ความว่า เริ่มจากแผลไม่ใหญ่  และไปล้างแผลที่คลินิคหรือ รพ.สม่ำเสมอ

ช่วงนั้น เป็นช่วงที่ยาฆ่าเชื้อประเภท โพวิโดนไอโอดีน (พวกน้ำยาเช็ดแผลสีน้ำตาลนะแหละ) ยังไม่แพร่หลาย
ส่วนใหญ่ใช้ แอลกอฮอล์ 70 %

ผมจึงแนะนำให้เขาเลิกไปล้างแผล  และดูแลแผลด้วยตนเอง
ถ้ามีการอักเสบบ้่างผมก็จ่ายยาแก้อักเสบให้  ถ้าไม่อักเสบ(ติดเชื้อ)ก็ไม่ต้องกินยา
แต่ที่ต้องระวัง คือ การเปียกน้ำ และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผลบ่อยนัก
แต่ถ้าจะเปลี่ยน ก็ใช้ยาเช็ดบริเวณขอบแผล อย่าเช็ดเนื้อแผล
ต่อจากนั้น ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แผลก็ดีขึ้นและหายในที่สุด

ที่มาของความคิด....

ร่างกายคนเรา  ประกอบด้วยเซลล์ซึ่งมีชีวิต เมื่อเป็นแผล ร่างกายก็จะพยายามสร้างเซลล์ใหม่สมานแผล
แต่..สังเกตไหมครับ บางครั้งเวลาล้างแผล พยาบาลมักเช็ดแผล(อย่างแรง) ด้วยหวังว่าจะขจัดสิ่งสกปรกออก
แต่นั่น ทำลายเซลล์เล็กๆของร่างกายเราด้วย
ยิ่งสมัยนั้นนิยมใช้แอลกอฮอล์ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าที่แรงมาก เพียงเช็ดเบาๆ ก็ฆ่าชีวิตเล็กๆได้
การพยายามล้างอย่างมากเกินไปและไม่ถูกต้อง ก็ทำลายเซลล์ใหม่ที่จะสมานแผลไปพร้อมกัน

เมื่อหยุดทำร้ายร่างกายเพราะความรู้ไม่ทัน  ร่างกายจึงพร้อมดูแลตนเองครับ

สมัยนี้ ความคิดทำนองนี้เริ่มได้รับการยอมรับจากอาจารย์แพทย์บางท่านแล้ว และโชคดี
ที่มียา่ฆ่าเชื้อที่ทำลายเซลล์ไม่มากมาใช้อย่างแพร่หลายขึ้น



      บันทึกการเข้า
ti2521
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,987

« ตอบ #2 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2552, 11:50:28 »


      .....ขอบคุณ ครับ  พี่  yc  .....
      บันทึกการเข้า

เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ
สำหรับผม
อย่างไรก็ได้
weerapong_rx
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2552, 18:59:29 »

น่าสนใจในประเด็นยาล้างแผลครับ
ผมจำได้ว่าเคยอ่านเจอว่าไอโอดีนมันยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์ที่จะไปซ่อมแซมบาดแผล
เซลล์ต้นกำเนิดก็คงโดนไปด้วยมั้งครับ
      บันทึกการเข้า
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #4 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2552, 11:29:39 »

น้อง yc
อยากถามเรื่องแผลต่อ นะครับ
จำพวกที่โดนของร้อน เช่น น้ำร้อน หรือ โดนกระทะ ร้อนๆ หรือ บางครั้ง จานร้อนที่เพิ่งเอาออกจากเตาอบ
ถามว่า ทันที ที่โดนเราควรทำอย่างไร ในประการแรก หลังจากนั้นต้องทำอย่างไร ใส่ยา ทายา อะไร จะได้หามาประจำบ้านไว้
ขอบคุณมาล่วงหน้า สำหรับคำตอบ
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2552, 13:13:41 »

ขอบคุณตี๋ ภก.วีระพงษ์ และพี่เสรีครับ

ต่อคำถามของพี่เสรี  ผมจะใช้ความเย็นเข้าช่วยเพื่อระบายความร้อน ลดการทำลายเซลล์
เช่นแช่น้ำเย็น น้ำแช่น้ำแข็ง หรือประคบด้วยน้ำแข็ง  การระบายความร้อนออกให้เร็ว
ผมว่าเป็นหลักการสำคัญครับ หลังจากนั้นก็เข้าสู่การรักษาแผล

การดูแลก็คงเหมือนแผลทั่วไป คืออย่าให้ถูกน้ำ
เพียงแต่แผลจากความร้อนร่างกายจะพยายามขับน้ำออกมามากกว่าแผลทั่วไป
อาจทำให้เกิดการตึงผิวและแตกเจ็บ จึงต้องสร้างความชุ่มชื้นให้ผิว
ปกติ ผมชอบใช้ พวกออยเมนท์ (แต่ก่อนเป็นเพนนิซิลินออยเมนท์  เดี๋ยวนี้เห็นเป็นคลอแรมออยเมนท์)
ราคาถูกและกันน้ำไปในตัว  แต่ว่ามันเหนะหนะหน่อย

ใครมีข้อแนะนำยาทาแผลที่เห็นว่าเหมาะสม ช่วยแนะนำด้วยครับ

ผมเพิ่งอ่านหนังสือ "20 กลลวงอนามัย"
เขียนโดยนายแพทย์บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล จบลง
มีหลายเรื่องที่โดนใจ แล้วจะนำมาแลกเปลี่ยนกันครับ
      บันทึกการเข้า
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #6 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 08:53:27 »

ขอบคุณมากนะน้อง พี่จะได้นำไปใช้ยามประสบเหตุ
 อยากถามเรื่องที่มีคนอยากรู้แต่ไม่กล้าถาม
คือเรื่องเกี่ยว กับยา ที่อยู่ในประเภท ไวอาก้า
1.มีอันตรายมั้ย ถ้าจะใช้
2.มียาตัวอื่น ที่มีคุณภาพ และราคาถูกกว่า มีมั้ย หาซื้อยากไหม หรือต้องให้หมอสั่ง
3.ถ้าใช้ทุกครั้ง ที่เพศสัมพันธ์ จะมีผลข้างเคียงมั้ยครับ
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #7 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 17:32:26 »

พี่ยังชิน,
แวะมาฝากภาพ...ตามข้อถามพี่ตะวัน!
แล้วจะเร้นกายออกไป...เงียบปริบคะ








น้อง blue tablet
      บันทึกการเข้า


yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 20:05:34 »

ต้องขอโทษพี่เสรีด้วยครับ
ไม่ได้ศึกษา รู้แต่ว่าคนมีความดันเลือดสูงไม่ควรใช้

ขอความกรุณาจากผู้รู้อื่นหน่อยครับ



5 5 5   เหอๆๆ เหอๆๆ หัวเราะนี่ หัวเราะ 3 ภาพของหนุงหนิงนะครับ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2552, 16:59:20 »

เรื่องที่ 2  ปลุกทั้งคืน

ใครที่เคยเฝ้าไข้ หรือต้องเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
คงต้องเจอประสบการณ์ พยาบาลมาวัดความดัน วัดอุณหภูมิเป็นระยะในเวลากลางคืน
 
สำหรับผมเองนั้น เมื่่อไรที่ต้องนอนเฝ้าไข้
วันรุ่งขึ้น ผมเกือบเป็นไข้ทุกที
ไหนจะัต้องตื่นทุกครั้งที่พยาบาลเข้ามา
ไหนจะต้องคอยพะวงเวลาคนที่เราเฝ้าต้องการความช่วยเหลือ

จะว่าไป การที่พยาบาลเข้ามาตรวจสภาพร่างกายคนไข้เป็นระยะนั้น นัับว่าดี
แต่สิ่งที่ควรเพิ่มเติมเข้าไปในขบวนการรักษาก็คือ
แพทย์ควรชั่งน้ำหนัก ระหว่างให้คนไข้นอนหลับอย่างเต็มที่
กับการปลุกคนไข้ให้สะดุ้งตื่นเพื่อการตรวจวัดความดันและอุณหภูมิ

ชั่งน้ำหนักว่า อย่างไหน จะให้ผลดีต่อสุขภาพคนไข้มากกว่ากัน

สำหรับความคิดผมแล้ว ในกรณีที่จำเป็นต้องตรวจวัด เพราะอยู่ในช่วง อาการน่าเป็นห่วง
เมื่อไรเห็นว่าคนไข้หลับ  ก็เพียงสังเกตการหลับสักครู่
ถ้ายังดูปกติ ก็บอกคนเฝ้า ให้ไปเรียกมาวัดเมื่่อคนไข้ตื่น

แต่ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในช่วงน่าเป็นห่วงนัก
การให้คนไข้พักผ่อนอย่างเต็มที่ น่าจะช่วยได้มากกว่า การปลุก

คนดีๆยังแย่
คนป่วยล่ะครับ

ก็ฝากข้อสังเกตไว้...แล้วพบกันเรื่องต่อไปครับ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2552, 08:02:50 »

...สวัสดีค่ะ...น้องยังชิน...
...พี่ขอเข้ามาแชร์ประสบการณ์เรื่องแผลโดนของร้อน...น้ำร้อนลวกค่ะ...
...ถ้ามีโอกาสไปเมืองจีน...ลองหาซื้อ...บัวหิมะ...เป็นกระปุกครีมสีขาว...ใช้แล้วชงัดดีนักเลยค่ะ...
...หรือฝากคนที่ไปซื้อก็ได้...ราคาประมาณหนึ่งพันสี่ร้อยบาท...
...พี่ชอบซื้อมา...แล้วแบ่งเป็นตลับเล็กๆใช้แจกเพื่อนๆที่ไปมาหาสู่กันค่ะ...
...ตามโรงพยาบาลก็น่าจะมี...แต่เค้าคงไม่ขายค่ะ...เห็นว่าใช้สำหรับรักษาแผลให้คนไข้(บางทีรัฐบาลจีนก็ส่งมาและได้รับจากกระทรวงอีกที)...
...ส่วนยาทั่วๆไปก็เป็นครีมแก้แพ้ธรรมดา...พี่คงไม่ต้องเอ่ยค่ะ...ให้น้องยังชินช่วยแนะนำดีกว่า...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2552, 20:21:33 »

ขอบคุณความรู้จากพี่ตู่ครับ

จำได้ว่าเคยใช้คล้ายกันนี้สมัยยังเอ๊าะ
แต่เป็นหลอด เนื้อครีมขาว ทาแล้วเย็น หายเร็วดี
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 17:58:38 »

อ้างถึง
ข้อความของ yc เมื่อ 22 มิถุนายน 2552, 16:59:20
เรื่องที่ 2  ปลุกทั้งคืน

ใครที่เคยเฝ้าไข้ หรือต้องเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
คงต้องเจอประสบการณ์ พยาบาลมาวัดความดัน วัดอุณหภูมิเป็นระยะในเวลากลางคืน
 
สำหรับผมเองนั้น เมื่่อไรที่ต้องนอนเฝ้าไข้
วันรุ่งขึ้น ผมเกือบเป็นไข้ทุกที
ไหนจะัต้องตื่นทุกครั้งที่พยาบาลเข้ามา
ไหนจะต้องคอยพะวงเวลาคนที่เราเฝ้าต้องการความช่วยเหลือ

จะว่าไป การที่พยาบาลเข้ามาตรวจสภาพร่างกายคนไข้เป็นระยะนั้น นัับว่าดี
แต่สิ่งที่ควรเพิ่มเติมเข้าไปในขบวนการรักษาก็คือ
แพทย์ควรชั่งน้ำหนัก ระหว่างให้คนไข้นอนหลับอย่างเต็มที่
กับการปลุกคนไข้ให้สะดุ้งตื่นเพื่อการตรวจวัดความดันและอุณหภูมิ

ชั่งน้ำหนักว่า อย่างไหน จะให้ผลดีต่อสุขภาพคนไข้มากกว่ากัน

สำหรับความคิดผมแล้ว ในกรณีที่จำเป็นต้องตรวจวัด เพราะอยู่ในช่วง อาการน่าเป็นห่วง
เมื่อไรเห็นว่าคนไข้หลับ  ก็เพียงสังเกตการหลับสักครู่
ถ้ายังดูปกติ ก็บอกคนเฝ้า ให้ไปเรียกมาวัดเมื่่อคนไข้ตื่น

แต่ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในช่วงน่าเป็นห่วงนัก
การให้คนไข้พักผ่อนอย่างเต็มที่ น่าจะช่วยได้มากกว่า การปลุก

คนดีๆยังแย่
คนป่วยล่ะครับ

ก็ฝากข้อสังเกตไว้...แล้วพบกันเรื่องต่อไปครับ


เมื่อครู่ ดูรายการคุณสรยุทธ เรื่องชายอายุ28 ป่วยตายด้วยไข้หวัด2009 ทั้งที่เป็นคนไม่มีโรคประจำตัว
ทั้งที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.อย่างรวดเร็ว จึงอดนึกถึงหลักการนี้ของผมไม่ได้

ไวรัส เป็นโรคที่ร่างกายจะพยายามอยู่กับมัน และมันเองก็ต้องการอยู่กับร่างกายเรา
เพราะไวรัสไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง แต่เราจะอยู่กับไวรัสได้ ร่างกายต้องแข็งแรงเพียงพอ
ที่จะสู้เชื้อ

ฝากด้วยครับ เรื่องการให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ไม่ใช่ปลุกทั้งคืน จนร่างกายยิ่งอ่อนแอ
      บันทึกการเข้า
toomy
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,031

« ตอบ #13 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2552, 19:51:19 »


เรื่องแรก เป็นความรู้ เป็นเรื่องใกล้ตัว... ต้อง COP เก็บไว้

เรื่องที่ 2 จริง ๆ ด้วย เห็นด้วย ๆ อย่างแรง

วายซี เข้ามาอ่าน นานแล้ว แต่เพิ่ง เข้ามา โหวต ไม่ว่ากันนะ ... มีอีก ป่าว !!! ...

      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #14 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2552, 09:43:05 »





ยาท่วมหัวอาจเอาตัวไม่รอด มาดูวิถีธรรมชาติกัน

 เหอๆๆ เหอๆๆ เหอๆๆ

ขอร่วมนำเรื่อง สุขภาพที่..อาจ...ยังไม่มีในตำรา(แต่อิงวิชาการ..บ้างนะ)

ของน้องยังชินด้วย

สาเหตุหนึ่งของการมีโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว

ซึ่งได้รับการโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นน้ำมันพืชที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

ดูประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว และ ออยพูลลิ่ง ที่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3514.0.html

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2552, 14:43:20 »

เรื่องที่3 ดูแลตัวเอง ก่อนโรคความดันโลหิตสูงจะมาเยือน

อายุน้อยๆ ก็ไม่น่าห่วงเท่าไร
แต่พอเลยเบญจเพส(สมัยนี้)...เลย30 40 50...
ก็อดห่วงสุขภาพไม่ได้

คงเคยได้ยินว่า เมื่อถูกวัดความดันแล้ว ผู้วัดพบว่า ความดันสูงกว่าปกติ
แต่พอให้นั่งสักพัก วัดใหม่ ความดันกลับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ได้รับความอุ่นใจกลับบ้านว่า...ความดันเรายังปกติ

ความจริง...นี่คือสัญญาณว่า..ความดันโลหิตสูงจะมาเยือนในไม่ช้า


โดยปกติ ไม่ว่าจะเหนื่อยเพียงไร หัวใจจะเต้นตูมตามเพียงไร
หากร่างกายมีความพร้อม ระบบเลือดดี  หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี
ร่างกายจะรักษาระดับความดันไว้ที่ตัวบนไม่เกิน120 ตัวล่างไม่เกิน80 มม.ของปรอทเสมอ

ทดลองกับเด็กๆ หรือคนหนุ่มสาวที่แข็งแรงดูได้
วัดความดันก่อนออกกำลัง..จดไว้
แล้ววัดความดันหลังออกกำลังจนพอเหนื่อย ให้หัวใจเต้นสัก 100-140 ครั้งต่อนาที
จะพบว่า เป็นไปตามข้างต้น

ไปหยิบยืมหรือหาซื้อเครื่องวัดความดันมาไว้ใช้ประจำบ้านสักเครื่อง ราคา1พัน-3พันบาท
แล้วทดสอบตัวเองดู

พบแล้ว จะได้หาวิธีดูแลตัวเอง

อย่าปล่อยให้เป็นโรคความดันเลย...
เพราะเป็นแล้ว ดูแลยาก มันกระทบกับร่างกายหลายระบบ

ขอให้แข็งแรงทุกท่านครับ





      บันทึกการเข้า
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #16 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552, 09:28:35 »

พี่ยังซินขราาาาถ้าเป็นความดันแล้วกระทบต่อระบบร่างกายอย่างไรบ้างคะ
ทานยาความดันแล้วหยุดได้ไหมคะหรือต้องทานตลอด
ขอบพระคุณพี่มากๆค่ะ
 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 23 ตุลาคม 2552, 09:49:52 »

น้องไข่มุกถามผม  แล้วผมจะถามใคร...

...................................................

ตอบตามประสา ยังชิน แล้วกันครับ

A. เรื่่องผลกระทบ

ลองนึกภาพ สายยาง ที่โยงใยซับซ้อนแล้วกัน ทั้งสายเล็กสายใหญ่ น้ำสามารถไหลเชื่อมถึงกันได้

น้ำเปรียบกับเลือดที่จะนำพาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย

ถ้าเปิดวาวล์น้ำครึ่่งหนึ่ง  น้ำไหลปกติ
แต่หากมีสิ่งใด ทำให้น้ำไหลน้อยลง
เช่น บีบพับสายยางเล็กน้อย น้ำที่ต่อจากนั้น จะไหลเอื่อยลง
เพื่อให้น้ำที่ต่อจากรอยพับได้น้ำมากขึ้น ก็ต้องเพิ่มแรงดัน..เปิดวาวล์น้ำเพิ่มขึ้น..เพิ่มขึ้น
ก็เหมือนการพยายามเพิ่มความดันโลหิตของร่างกายนั่นเอง

เพียงแต่ ร่างกายคนเรา มีความซับซ้อนกว่า
เป้าหมายของความดันคือ ให้เลือดแรงพอที่จะไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ทั่วถึง
(...ในความคิดของผม ผมคิดว่า สมอง น่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับ1)
ถ้าหลอดเลือดดี หัวใจแข็งแรง  อวัยวะที่สร้างสารควบคุมความดันปกติ ความดันย่อมปกติ ทุกส่วนได้รับเลือดอย่างสมดุล

แต่ถ้าเกิดความผิดปกติของร่างกาย จนส่งผลให้เป็นความดันเลือดสูงแล้ว นั่นแสดงว่า
1.หลอดเลือดได้เปลี่ยนไปค่อนข้างถาวรแล้ว
2.หัวใจได้ปรับเปลี่ยนตัวแล้ว หรือ
3.อวัยวะที่สร้างสารควบคุมความดัน เช่น ไต ตับ..แม้แต่เซลล์ที่หลอดเลือด ได้ปรับเปลี่ยนตัวเองแล้ว

โดยทั่วไป ถ้ามีความดันโลหิตสูง ผลเสียที่มากที่สุด คือ หัวใจ
หัวใจทำงานหนักขึ้น อาจโตขึ้น ต้องใช้พลังงานมากขึ้น(ซึ่งต้องการเลือดมากขึ้นตาม)

หลอดเลือดเล็กทั่วร่างกาย ซึ่งต้องบอบบางเพื่อการแลกเปลี่ยนสารอาหาร
อาจไม่สามารถทนต่อแรงดันขนาดที่มากเกิน
(ซึ่งอวัยวะทุกส่วนของร่างกายก็ต้องมีหลอดเลือดฝอยนี้  ดังนั้น ย่อมเสื่อมง่ายขึ้น)

ยังมีความซับซ้อนอีกหลายส่วนที่เกิดขึ้น..
ความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบัน..ยังไม่อาจอธิบายได้ทั้งหมดครับ


B. การหยุดยา

แพทย์ มักบอกว่า ต้องทานยาไปตลอดชีวิต

ซึ่งความเป็นจริงแล้ว มักเป็นเช่นนั้น

เพราะ เมื่อกลายเป็นความดันเลือดสูงแล้ว ระบบและอวัยวะต่างๆได้ปรับเปลี่ยนตัวเองไปแล้ว
จนเกือบถาวร
(ซึ่งผมเอง ยังมีความคิดหวังว่า ในกรณีคนป่วยความดันสูงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี หากดูแลตัวเอง
อย่างดีขึ้นๆ ร่างกายน่าจะกลับมาเป็นปกติได้...ย้ำเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น)

ขอไม่ตอบเรื่อง การหยุดยา

แต่มีข้อต้องจำ สำหรับการทานยาใดๆ ที่มีผลต่อระบบร่างกาย เช่น
ยาความดัน ยาหัวใจ ยาเบาหวาน ยาขับปัสสาวะ ยาละลายลิ่มเลือด ฯ
คือ
การจะเลิกทานยากลุมนี้ ควรให้แพทย์และเภสัชกรตัดสินใจ
และ ต้องค่อยๆลดปริมาณยาลง ห้ามหยุดทันที เพราะอาจอันตราบถึงชีวิต

ผมจึงเขียน เรื่องที่่3 ไว้ไงครับ
เพราะ หากมีสัญญาณเตือนดังว่า 
ยังมีวิธีง่ายๆในการดูแลให้กลับมาปกติ
      บันทึกการเข้า
TU14
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 342

« ตอบ #18 เมื่อ: 23 ตุลาคม 2552, 11:03:32 »

ยังชิน วันที่ 21 พย. เจอกันที่หอนะ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2552, 11:39:42 »

สวัสดีครับพี่ ห้วยยอด เป็นยังไงบ้าง ฝนตกไหมครับ
      บันทึกการเข้า
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #20 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2552, 21:10:32 »

 ขอบพระคุณพี่ยังชินมากค่ะ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2553, 12:13:51 »

เรื่องที่4 ไขมันตามอวัยวะภายใน
 
 
อ้างถึง   


สถาน พยาบาลเมโยอันมีชื่อเสียง ของสหรัฐอเมริกา ศึกษาพบว่า มีประชาชนอเมริกัน ที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่มีไขมันในตัวอยู่เป็นเปอร์เซ็นต์สูง ทำให้สุขภาพอยู่ในฐานะล่อแหลม...

รายงานข่าวของสำนักข่าวซีบีเอส ได้ช่วยอธิบายให้รู้ถึงเบื้องหลัง เหตุที่คนอ้วนแต่รูปร่างผอมว่า "อย่าไปคิดว่าการมีรูปร่างผอม กับการมีสุขภาพแข็งแรงเป็นเรื่องเดียวกัน ข้อเท็จจริงจากการศึกษาของสถานพยาบาลเมโยครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า คนเราอาจจะมีไขมันอยู่ข้างในตัวได้ มันเที่ยวจับอยู่ตามอวัยวะภายในต่างๆ แม้ว่าจะดูภายนอกเห็นว่าเป็นคนผอมก็ตาม".

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553
http://www.thairath.co.th/content/life/62413


คนตัวผอม แต่มีไขมันจับตามอวัยวะ ภายในต่างๆอยู่หนา

ความรู้ทำนองนี้
ผมพบกับตัวเอง เมื่อ ปีปลายปี2549

ผมเป็นคนที่ไม่เคยดูอ้วนเลย
ก่อนปี 2548 ผมรู้สึกร่างกายตัวเองหนัก ขาดความกะปรี้กะเปร่า หายใจไม่เต็มปอด
แต่หลังจากปีเศษ ที่ดูแลตนเองด้วยการทานใยอาหารละลายน้ำก่อนอาหารเช้าทุกมื้อ

ร่างกายคงค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ จนปลายปี 2549 เมื่อวัดความดันตัวเองแล้วพบว่า
ฐานความดันไปอยู่ในระดับ 110-70 จึงสังเกตตัวเองพบว่า ระบบหายใจตัวเองดีขึ้น หายใจเต็มปอด
(ก่อนหน้านี้ เวลาปกติ ความดัน 120-80 แต่พอใช้กำลังเพิ่มกว่าปกติบ้่าง ความดันก็ขยับขึ้นมาก  
แต่ปัจจุบันเหนื่อยแค่ไหน ความดันก็อยู่ในระดัีบ 120-80)

ตอนนั้น ตั้งสมติฐานว่า ไขมันที่สะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆภายในร่างกาย รวมทั้งบริเวณปอดและหัวใจ น่าจะถูกขจัดออกไป
จึงทำให้รู้สึกร่างกายดีขึ้น

อ่านพบบทความข้างต้น ก็อดทึ่่งในความเป็นวิทยาศาสตร์ของตนเองไม่ได้
ทั้งที่ขาดแคลนเครื่องมือ อุปกรณ์
(ราชการหลายแห่ง เมื่อได้ไปพบเห็นแล้ว ผมอิจฉาจริงๆ ในความพร้อมของเครื่่องมือและอุปกรณ์)




      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 11:29:54 »

อ้างถึง
ข้อความของ toomy เมื่อ 21 สิงหาคม 2552, 19:51:19

เรื่องแรก เป็นความรู้ เป็นเรื่องใกล้ตัว... ต้อง COP เก็บไว้

เรื่องที่ 2 จริง ๆ ด้วย เห็นด้วย ๆ อย่างแรง

วายซี เข้ามาอ่าน นานแล้ว แต่เพิ่ง เข้ามา โหวต ไม่ว่ากันนะ ... มีอีก ป่าว !!! ...



ขอบคุณครับ TOOMY

ผ่านไปกว่้าครึ่งปี เพิ่งขอบคุณ ไม่ว่ากันนะ

 อายจัง
      บันทึกการเข้า
YOTSAWIN
Hero Cmadong Member
***


หอพักรักของข้า...
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU27
คณะ: ศิลปกรรมศาสตร์
กระทู้: 1,159

เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2553, 08:36:41 »

ตามอ่านอยู่ครับ พี่ ขออีกนะครับ
พี่หมอสำเริงช่วยแชร์ คนไข้ด้วยครับ
พี่ยังชินครับ  คุณแม่ผมมักจะอาเจียณ เสมอๆ ทั้งที่ท่านบอกว่าไม่ได้เป็นอะไร
แต่มักอาเจียณเสมอๆ แต่ผมว่าต้องมีอะไรแน่  ถ้าปกติจริง ร่างกายต้องรับอาหาร และเอาไปผ่าน
กระบวนการย่อย เอาไปใช้ในร่างกาย(คิดตามประสาผมน่ะครับ)
อย่างนี้จะสัญนิฐาน อย่างไรครับ พี่ยังชิน พี่หมอ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #24 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2553, 10:27:54 »

อ้างถึง
ข้อความของ YOTSAWIN เมื่อ 16 พฤษภาคม 2553, 08:36:41
ตามอ่านอยู่ครับ พี่ ขออีกนะครับ
พี่หมอสำเริงช่วยแชร์ คนไข้ด้วยครับ
พี่ยังชินครับ  คุณแม่ผมมักจะอาเจียณ เสมอๆ ทั้งที่ท่านบอกว่าไม่ได้เป็นอะไร
แต่มักอาเจียณเสมอๆ แต่ผมว่าต้องมีอะไรแน่  ถ้าปกติจริง ร่างกายต้องรับอาหาร และเอาไปผ่าน
กระบวนการย่อย เอาไปใช้ในร่างกาย(คิดตามประสาผมน่ะครับ)
อย่างนี้จะสัญนิฐาน อย่างไรครับ พี่ยังชิน พี่หมอ
การวินิจฉัย ว่าป่วยเป็นอะไร นอกจากบอกอาการผิดปรกติที่มาให้รักษาแล้ว
อาการผิดปรกตินั้นๆ ทำให้นึกถึงโรคอะไรได้บ้าง เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ อาจต้องทำ
การตรวจแล็ปเพิ่มเติมเพื่อเทียบกับโรคที่คิดถึงหรือที่ตั้งสมมติฐานไว้ว่าเหมือนโรคใด


แนะนำควรพาไปพบแพทย์ใกล้บ้าน ซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือ อาจทำแล็ปเพิ่ม
เพื่อหาคำวินิจฉัย และ ให้การรักษา ตามแนวทางการรักษาที่มีไว้



จากอาการนำที่ผิดปรกติ ตั้งสมมติฐานได้ว่า อาจเป็นโรคกรดไหลย้อน จากทานอาหารไม่เป็นเวลา
อาหารไม่ย่อย หรือโรคอื่นๆ ได้ ต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ อาจทำแล็ปเพิ่ม


น้องYOTSAWINจะวินิจฉัยเองได้คร่าวๆเมื่ออ่านเรื่องที่ผมโพสต์สอนนักเรียนพยาบาลที่มาเรียน
ที่ ร.พ.พนมฯได้เรื่อง

การวินิจฉัยโรค การรักษา ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ร.พ.คุณภาพ และ การดูแลรูปเครือข่าย ได้ที่
แพทย์ครอบครัวหรือแพทย์ทั่วไปเดิมเหมาะเป็นแพทย์ด่านแรกที่คนไข้ควรพบก่อน
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2553

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1] 2  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><