Leam
|
|
« ตอบ #450 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 13:44:59 » |
|
มีภาพจากสวนคิว(Kew,Royal Botanic Gardens) กรุงลอนดอน.. มาฝากพี่ตี๋ และสมาชิกทุกท่านครับ สวนพฤกษศาสตร์คิว กรุงลอนดอน เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก (World heritage) ของ UNESCO เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 เดิมสวนพฤกษศาสตร์คิวเป็นสวนของราชวงศ์อังกฤษ ต่อมาเริ่มพัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางด้านพฤกษศาสตร์โดยรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้จากต่างประเทศ และพรรณไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจในสมัยของ Sir Joseph Banks ช่วงต้นคริสตวรรษที่ 18 ก่อนจะกลับมาพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อจัดสร้างเป็นสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะช่วงปี ค.ศ. 1841 - 1885 ที่มี Sir William Jackson Hooker เป็นผู้อำนวยการสวนคนแรกอย่างเป็นทางการ ตามด้วยลูกชาย William Joseph Hooker ได้แก่การสร้าง Palm House, Temperate House, National Arboretum และที่สำคัญมีการพัฌนาการศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์โดยเฉพาะด้านอนุกรมวิธานพืช และขยายการศึกษารวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไปสู่ประเทศต่างๆ ในดินแดนอาณานิคมของอังกฤษในสมัยสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ช่วงปี ค.ศ. 1885-1945 มีการขยายสวนในทุกๆ ด้าน รวมถึงหอพรรณไม้ และหยุดลงชั่วขณะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1939-1945
หลังสงครามโลกสวนคิวได้พัฒนาการจัดการสวพฤกษศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ รวมถึงการสร้างสวนสาขาที่ Wakehurst Place ในเมือง Sussex ที่ในปัจจุบันเป็น Millennium Seed Bank ขนาดใหญ่ การสร้าง Jodrell Laboratory สำหรับการศึกษาวิจัยด้านโมเลกุล เรือนกระจกใหม่ Princess of Wales Conservatory รวมไปถึง Sir Joseph Banks Centre for Economic Botany และกลายมาเป็นมรดกโลกในปัจจุบัน
สวนพฤกษศาสตร์คิว มีเนื้อที่ประมาณ 300 เอเคอร์ หรือ 121 เฮกแตร์ มีสิ่งก่อสร้างถึง 39 แห่ง แยกออกเป็นโซนต่างๆ ได้ 8 โซน คือ Western Zone, Syon Vista Zone, South Western Zone, Riverside Zone, Palm House Zone, Pagoda Vista Zone, North Eastern Zone, และ Entrance Zone พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และหนองน้ำที่มีนกน้ำและเป็ดน้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีอากาศหนาวเย็นและฝนตกทั้งปีตามภูมิอากาศของประเทศอังกฤษ
จุดเด่นและพรรณไม้ที่น่าสนใจ พรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์คิวส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ที่นำมาจากทุกมุมของโลก ที่โดดเด่นและถือว่าเป็นพรรณไม้มรดกของสวนคิวได้แก่ Sweet Chestnut, Castanea sativa The Old Lions ประกอบด้วย Ginkgo biloba, Sophora japonica, and Platanus orientalisม Robinia pseudoacacia และ Zelkova carpinifolia The Lucombe Oak, Quercus x hispanica ‘Lucombeana’ Turner’s Oak, Quercus x turneri Corsican Pine, Pinus nigra subsp. laricio Stone Pine, Pinus pinea Chestnut-leaved Oak, Quercus castaneifolia Indian Horse Chestnut, Aesculus indica ‘Sidney Pearce’ Tulip Trees, Liriodendron tulipifera & L. chinense นอกจากนี้สวนพฤกษศาสตร์คิวยังมีกิจกรรมที่หลากหลายตลอดทั้งปีแสดงหมุนเวียนกันไปในแต่ละโซน ซึ่งโซนต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีประวัติความเป็นมา และมีส่วนที่โดดเด่นแตกต่างกันไปได้แก่ Western Zone: Bamboo Garden, Rhododendron Dell Syon Vista Zone: The Lake Syon Vista South Western Zone: Queen Charlotte's Cottage, Cedar Vista Riverside Zone: Dutch House, Queen's Garden, Herbarium, Brentford Gate Palm House Zone: Palm House, Museum No. 1, Waterlily House, Broad Walk, Syon Vista, Pagoda Vista, Victoria Gate Pagoda Vista Zone: Temperate House, Evolution House, Marianne North Gallery, The Pagoda, Pagoda Vista, Chokushi Mon, Japanese Gateway, King William's Temple, Flagpole, Lion Gate North Eastern Zone: Princess of Wales Conservatory, Alpine House, Jodrell Laboratory ntrance Zone: Broad Walk, Orangery, Nash Conservatory, Main Gat
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #451 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 13:45:26 » |
|
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #452 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 13:45:39 » |
|
|
|
|
|
แจง-24
|
|
« ตอบ #453 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 20:24:55 » |
|
สวัสดีค่ะ พี่แหลม พี่ตี๋ และพี่ๆทุกท่าน
ดอกไม้สวยๆทั้งนั้นเลยค่ะ พี่แหลม โดยเฉพาะดอกสีดำ สวยแปลกตามาก ไม่เคยเห็นเลยค่ะ พี่แหลมทราบชื่อไหมคะ ?
|
อยู่อย่างต่ำ กระทำอย่างสูง
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #454 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 21:53:28 » |
|
สวัสดีครับ.........น้องแจง
ดอกสีดำที่น้องแจงบอกน่ะ........ดูดีๆอีกทีนะ..........เป็นพุ่มใบครับ ส่วนชื่อ.......พี่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน...........ใครทราบช่วยอนุเคราะห์หน่อยครับ
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #455 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 21:54:37 » |
|
ช่ายแล้วดอกสีดำสวยมากน้องแจง นายแหลมดอกอาราย
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #456 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 22:07:41 » |
|
ไม่รู้จริงๆ.......ครูตุ๋ย
จะลองหาคำตอบให้ละกันว่าต้นอะไร
|
|
|
|
อ้อย17
|
|
« ตอบ #457 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2552, 08:23:29 » |
|
มันน่าจะเป็นกุหลาบหินนะ..เพียงแต่มีสีต่างไปจากที่เราเคยคุ้น
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #458 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2552, 01:15:32 » |
|
ไม่น่าจะใช่กุหลาบหินนะครับพี่อ้อย.......เพราะดูแล้วทั้งต้นและใบไม่ใช่ลักษณะของไม้อวบน้ำ
|
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #460 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2552, 20:07:03 » |
|
เป็นข่าวดีจริงๆครับ......... ขอร่วมแสดงความยินดี,ภาคภูมิใจกับครอบครัวพี่ตี๋ด้วย........น้องออม หลานเรา เก่งครับ
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #461 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2552, 13:22:23 » |
|
ลูกสาวพี่ตี๋เก่งจัง แต่พี่ตี๋ไม่เข้าเวบบอร์ดเลย
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #462 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2552, 13:31:28 » |
|
ยินดีด้วยค่ะ พี่ตี๋ มีหลานเก่งแบบนี้ พี่ ป้า น้า อา ต้องฉลองให้ด้วยความดีใจ
ว่าแล้วเราจะฉลองล่วงหน้าไปก่อนในสัปดาห์นี้ หากพี่ตี๋มาตอนปลายปี .. ก็จะได้ฉลองกันอีกสักรอบ สองรอบ .. นะคะ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #464 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2552, 21:59:02 » |
|
.....ขอบคุณ สำหรับคำปรึกษาจากเพื่อน หนุน..... ขอบคุณสำหรับมิตรไมตรีน้องพี่ซีมะโด่ง น้องหะ-ยี น้องแจง น้องแหลม น้องตุ๋ยครับ
น้องแจงครับ ออมตอนนี้อยู่ ม. 3 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย สอบติด afs รุ่นที่ 49(ไปปีการศึกษา 53 ครับ) เป็นตัวสำรองตอนนี้ได้เลื่อนสถานะเป็นตัวจริง มีประเทศให้เลือกคือ อิตาลี นอร์เวย์ มีเวลาตัดสินใจภายใน 2 ชั่วโมง สุดท้ายตัดสินใจเลือกนอร์เวย์ แต่ก็เป็นห่วงเรื่อง อากาศหน้าหนาวเห็นว่าถึงขั้นติดลบ 40 องศา ทำไงดีครับ (ขอคำแนะนำเรื่องอุปกรณ์กันหนาวด้วยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ)
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #465 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2552, 23:04:43 » |
|
น้ำอ้อยขอแสดงความยินดีกับพี่ตี๋ด้วยคนค่ะมีลูกน่ารักและเก่งด้วยค่ะ
|
|
|
|
อ้อย17
|
|
« ตอบ #466 เมื่อ: 01 กันยายน 2552, 07:59:58 » |
|
ยินดีด้วยกับอีกความสำเร็จของลูกสาวน้องตี๋.และน้องอิน... น้องออมเก่งมาก..แต่คุณพ่อจะห่วงมากไปละซี ลูกสาวจะไปจากอกอุ่นของพ่อแม่ตั้งปี.. อย่ากังวลมาก น้องตี๋ ..สมัยนี้มีเน็ทให้คุยสารทุกข์สุขดิบได้ง่ายๆเพียงแค่ลัดนิ้วเดียว แถมคุยแบบเห็นหน้าเห็นตาด้วย...คุยกันได้ทุกวัน...
ว่าแต่ว่า ..ห่วงหรือหวงลูกสาวละนี่ ..สงกะสัยว่า จะใช่ทั้งสองอย่างละมั๊ง.....เพราะถ้าเป็นลูกสาวพี่ พี่ก็จะห่วงและหวงเช่นกัน..
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #467 เมื่อ: 01 กันยายน 2552, 19:37:14 » |
|
ไปเถอะประสบการณ์หาซื้อไม่ได้ มีโอกาสไม่มากในชีวิต
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #468 เมื่อ: 07 กันยายน 2552, 23:01:27 » |
|
.....ฝากสมุนไพรให้น้องตุ๋ยลองศึกษาดูครับ : แปะตำปึง หรือ จักรนารายณ์ สมุนไพรสรรพคุณครอบจักรวาล ต้นกำเนิด : ต้นยานี้มาจากประเทศจีน บางท่านเรียกว่า จินฉี่เหมาเยี่ย เข้ามา ในไทยพร้อมกับหญ้าปักกิ่งหรือหญ้าเทวดา แปะตำปึง ถูกตั้งชื่อเป็นไทยว่า จักรนารายณ์ แต่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น กิมกอยมอเช่า หรือ ผักพันปี เป็นต้น ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นสีเขียว แตกกิ่งก้านอ่อน หักง่าย เมื่อโตเต็มที่ใน ฤดูหนาว จะออกดอกสีเหลืองมีก้านยาว มี 2 ชนิดคือ
1. ชนิดใบกลม (แปะตำปึง)ใบสีเขียวอ่อน ใบหนาเพราะมีขนหนานุ่มแบบกำมะหยี่ทั้งด้าน บนและล่าง เส้นใบด้านบนลึกเช่นเดียวกับเส้นกลางใบแต่ด้านหลังใบกลับนูน กิ่งก้านออกเขียว ปนแดง เปราะหักง่าย (รูปของแบบใบกลมครับ)
2. ชนิดใบยาว (จินฉี่เหมาเยี่ย) ใบค่อนข้างยาวกว่าแหลมกว่าและผิวใบค่อนข้างเรียบ เพราะขนน้อยกว่าแบบใบกลม จับเทียบดูจะรู้สึกได้ชัด (รูปของแบบใบยาวครับ)
สรรพคุณ : สรรพคุณของทั้งสองมีเหมือนกัน มีรสเย็น ใช้ใบเป็นยา รสชาติคล้ายใบชมพู่ สาแหรก โรคที่(มีผู้รับรองว่า)สมุนไพรชนิดนี้รักษาหายแล้วได้แก่ เบาหวาน ความดันสูง ภูมิแพ้ หอบหืด มะเร็ง งูสวัด เกาต์ ริดสีดวงทวารหนัก ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผลอักเสบ พุพอง-ฝีหนอง ปวดประจำเดือน ปวดเส้น ปวดหลัง ไขมันในเลือด ไทรอยด์ ตาอักเสบ ตาเป็นต้อ โรคตาต่างๆ ปวดเหงือก ปวดฟัน โรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โลหิตจาง ฟอกเลือด ล้างสารพิษในร่างกาย ขับลม กินได้ นอนหลับ คนปกติทั่วไปกินแล้วสุขภาพ แข็งแรง เรียกว่าเป็นสมุนไพรครอบจักรวาลเลยทีเดียว
การขยายพันธุ์ : หลังจากเด็ดใบมากินหมดแล้ว ให้ตัดกิ่งออกเป็นท่อนๆยาว 10-15 ซ.ม . นำมาปักชำ ไว้ในที่รำไรและหมั่นรดน้ำเสมอๆ ประมาณ 7-10 วัน ก็จะแตกยอด-ออกราก เป็นต้นใหม่ เมื่อโตเต็มที่จะออกดอกสีเหลือง แต่ไม่ติดเมล็ด (ของพ่อด้วงเคยติดเมล็ดนะแต่ เพาะไม่ขึ้น) ต้องปักชำกิ่งเท่านั้น พืชชนิดนี้ไม่ชอบร่มมากนัก ชอบดินร่วน ชอบแดดพอควร ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำก้นกระถาง รากจะเน่า
วิธีใช้ : เป็นพืชสมุนไพรครอบจักรวาลที่ไม่มีพิษภัย ใช้ใบสดๆ ล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง นำมาเคี้ยวกินสดๆหรือใช้ประกอบอาหารกิน เช่นแกงจืดหรือผัดน้ำมัน หรือเป็นเครื่องเคียงกับ ขนมจีน ส้มตำ สลัดผัก ฯลฯได้ หรือจะนำใบมาล้าง ผึ่งแห้ง นำมาบดหรือตำ คั้นเอาแต่น้ำนำไป นึ่งให้สุก ปล่อยให้เย็น ใส่ขวด ใส่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นาน แต่ที่ได้ผลดีที่สุด คือกินใบสด ก่อนเข้า นอน 3-5 ใบ
วิธีใช้เฉพาะโรค : โรคเบาหวาน - กินใบสดๆ 2-5 ใบ ช่วงตี 5 -ถึง 7 โมงเช้าก่อนอาหาร เพราะลำไส้เริ่มทำงาน จะได้ผลเร็ว และกินอีกครั้งหลังอาหารเย็น 2-3 ชั่วโมงหรือกินก่อนนอน กินเช่นนี้นาน 7 วัน หยุดดูอาการ 2-3 วัน จึงกินต่อเพื่อน้ำตาลในเลือดจะได้ไม่ลดเร็วเกินไป (ขอเสริมตรงนี้นิดนึงว่า ปริมาณการกินของแต่ละคนอาจไม่เท่ากันขึ้นกับขนาดของใบและน้ำหนักตัว จึงขอให้คนป่วย เบาหวานทดลองกินจำนวนใบน้อยๆ ก่อนแล้วคอยดูอาการ เพราะเคยมีคนบอกว่าบางคนกิน แล้วน้ำตาลลดแบบฮวบฮาบ ซึ่งไม่รู้ว่ากินเยอะไปหรืออย่างไรและบางคนบอกว่าใบยาวลดน้ำตาล ได้มากกว่าแบบใบกลมด้วย และพืชชนิดนี้ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับเป็นทางการ จึงควรใช้ด้วยการ ระมัดระวังไว้ก่อนล่ะดี)
โรคตา - นำใบสดๆมาล้างให้สะอาด บด-โขลกในครกสะอาดๆ ให้แหลก แล้วนำมาพอกตาข้าง ที่อักเสบหรือมัว นาน 30 นาที ก่อนจะล้างออกด้วยน้ำ พอกเช้า-เย็น ตาจะดีขึ้นเร็วโรคความดัน สูง-ต่ำ
มะเร็ง - ให้กินเป็นผัก เช่น จิ้มน้ำพริก ทุกวัน ถ้าเป็นมะเร็งกินก่อนนอน 5-7 ใบ ก่อนนอน ประมาณ 6 เดือน มะเร็งจะลดขนาดลง
งูสวัด - นำใบมาตำกับน้ำตาลทรายแดง เพื่อให้จับตัวเป็นก้อน ไม่หลุดง่าย พอกตรงรอยแผลไว้ 30 นาที หรือใช้น้ำคั้นทาก็ได้
ริดสีดวงทวารหนัก - ตำใบสดแล้วใส่ในทวาร จะทำให้หายเร็ว ติ่งที่โผล่จะยุบ เลือดที่ออกจะหยุด
โรคกระเพาะ - ถ้าปวดท้องและเป็นโรคกระเพาะ ให้กินเดี๋ยวนั้น สักพักอาการปวดจะหายไป ยังช่วยขับลมที่แน่นในท้องออกมาได้ด้วย
สิ่งที่ควรระวัง- อาหารแสลง เช่น กุ้ง เนื้อ ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาร้า หูฉลาม กะปิ ข้าวเหนียว หน่อไม้ แตงกวา หัวผักกาด เผือก สาเก ของดอง แอลกอฮอล์ ชา-กาแฟ ควรงด แต่หากจำเป็น ต้องกิน ขอให้กินแปะตำปึง ก่อนหรือหลัง 2 ชั่วโมง
การปลูกใช้เอง ไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลง หรือถ้ามีการใช้ปุ๋ย ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 อาทิตย์ก่อนเก็บใบ มาใช้ และควรล้างให้สะอาดๆก่อนนำมาใช้ โดยเฉพาะการพอกตา)
ข้อมูลจาก นสพ.เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 28 มกราคม 2548 โดยทอม แม่โจ้ และผู้มีประสบการณ์ในการใช้
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #469 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 20:49:52 » |
|
วันนี้ผมขอแปะตำปึงจากครูที่โรงเรียนมาปลูกตามคำแนะนำของพี่ตี๋ที่ให้นำมารักษาอาการเบาหวา่น
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #470 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 21:08:25 » |
|
เคยทานใบสดแปะตำปึง กับลาบและน้ำพริกครับ......ก็เข้ากันได้ดี
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #471 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 21:48:21 » |
|
ดีจัง
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์
คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927
|
|
« ตอบ #472 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 21:59:40 » |
|
ที่บ้านพี่หนุนมี 3 ต้นอยู่ในกระถาง ที่ทำงานมีต้นหนึ่ง เด็ดล้างน้ำ กินได้บ่อยๆ ตามที่อาตี๋แนะนำ ไม่รู้ผลเป็นไงบ้าง ปีนี้ยังไม่ได้ตรวจร่างกาย ครบปีตรวจร่างกายตอนกลางเดือนตุลาอ่ะ คงเห็นผลตอนนั้นแหละ
|
“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้ อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #473 เมื่อ: 10 กันยายน 2552, 22:06:28 » |
|
.....หวัดดี น้องหะ-ยี น้องแหลม น้องตุ๋ย ลุงหนุน(ของนายอ๋อง น้องออม) ได้สรรพคุณเป็นทางการจาก ดร.ลำเนา 21 ครับ
ถือเป็นสมุนไพรทางเลือก ได้จากกรณีแม่ยายของลำเนาเอง อาการน่าห่วงมากๆหลังจากลองทานไม่นานสามารถคุมน้ำตาล ได้ครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #474 เมื่อ: 11 กันยายน 2552, 09:20:19 » |
|
พี่ตี๋ขราาาาาขอถามหน่อยค่ะแล้วถ้าทานยาเบาหวานตามแพทย์สั่งจะทานใบแปะตำปึงได้ไหมคะ น้ำตาลจะลดเกินไหมคะ
|
|
|
|
|