Leam
|
|
« ตอบ #2325 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2554, 23:00:54 » |
|
การล้างตับ (Liver Flush) หรือการล้างพิษในตับไม่เพียงแต่รักษาโรคตับอักเสบ โรคไขมันจับตับเท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจไขปริศนาการลดน้ำหนัก อ่อนเพลีย หรือปวดเมื่อยตัวโดยไม่ปรากฏสาเหตุ โรคภูมิแพ้ โรคข้อและอีกหลายโรค เมื่อล้างพิษให้ตับอยู่ในสมรรถนะที่ดีแล้ว อาการและโรคภัยอื่น ๆ ก็จะถูกเยียวยาได้ง่ายขึ้นด้วยตัวมันเอง.......
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #2326 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 00:59:19 » |
|
น่าสนใจแฮะ ..
หมายความว่า เราไม่ป่วย ไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไร .. ก็ไปล้างได้ ?? หรือว่าต้องให้แพทย์สั่ง ??
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #2327 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 11:50:26 » |
|
สวัสดี ครับ น้องแหลม สนใจครับ อ่านอยู่ พี่ปิ๊ดอยาก ล้างด้วย ( เยอะ ) ตับ ตัว และ หัวใจ
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2328 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 14:04:31 » |
|
สวัสดียามบ่ายครับ...........พี่ปี๊ด..พี่อ้อย..ครูตุ๋ย..น้องหยี และพี่น้องทุกท่าน
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2329 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 14:09:07 » |
|
หวังว่าพี่ปี๊ดจะตามอ่านจนจบครับ........มีประโยน์แน่นอน ไม่มากก็น้อย.
แล้วถึงวันนั้นค่อยบอกใหม่อีกครั้งว่า.........พี่อยากล้างตับหรือเปล่า.
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2330 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 14:22:31 » |
|
เราไม่ป่วย ไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไร ก็ไปล้างตับได้ครับ..........น้องหยี
เป็น.....เวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine )
จริงๆแล้วตับของมนุษย์เป็นอวัยวะที่อึดมากๆ แม้เซลล์ตับจะตายหรือเสียสภาพไปถึง 80-85% ส่วนที่เหลือจะยังคงทำหน้าที่เพื่อรักษาชีวิตเจ้าของได้อยู่.
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #2331 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 14:43:36 » |
|
อ่านและฟังแล้ว ครับน้องแหลม เห็นด้วยที่เราควรจะดูแลเขาอย่างดี
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #2332 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 19:44:13 » |
|
ทุกอวัยวะเลยแหละพี่แหลม .. มหัศจรรย์จริง ๆ
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #2333 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 22:04:52 » |
|
ตับแลบ
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2334 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 14:59:24 » |
|
สวัสดียามบ่ายครับ.......พี่ปี๊ด..น้องหยี..ครูตุ๋ย และพี่น้องทุกท่าน
ตับแลบ เกิดจากการออกกำลังจนเหนื่อยมาก หรือการวิ่งหนีตำรวจตอนถูกจับการพนันอ่ะครับ......... ครูตุ๋ย อาการที่คลายคลึงกับตับแลบ คือ ลิ้นห้อย ครับ
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #2335 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 19:32:20 » |
|
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #2336 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:24:38 » |
|
และ .. ลงตุ่ม ..
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
|
lor30
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 484
|
|
« ตอบ #2338 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:48:35 » |
|
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2339 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:54:16 » |
|
ระวังแผลปรินะครับ......น้องชัยหลอ
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #2340 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 22:40:07 » |
|
ถ้าหนีลง ตุ่มนะ เดี๋ยวตับจะเปียก แล้วแห้งยากด้วย!!!
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #2341 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 22:41:27 » |
|
งั้นต้องเลือกตุ่มที่ไม่มีน้ำ ..
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #2342 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 22:44:46 » |
|
ไม่มีนํ้า ตำรวจมองเห็น
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #2343 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 22:54:41 » |
|
งั้นก็ต้องยอมตับเปียก .. หรือไม่ก็ต้องหาฝามาปิดไว้ ตำรวจจะได้ไม่เห็น
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #2344 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 23:02:55 » |
|
เหมือนตลกเด๋อเปี๊ยบเลย ..........ไม่ห่วงตำรวจแล้ว เพราะเดี๋ยวตำรวจตกใจ ก็หนีได้อีกแหละ เป็นห้วง ไอ้แผลที่เย็บมานะ เปิด หรือยังเดียวต้องไปเย็บใหม่นะ
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2345 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 00:23:37 » |
|
มารู้จักตับกันครับ...... ตับ (Liver) ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ
กายวิภาคศาสตร์ ตับของผู้ใหญ่ปกติจะมีน้ำหนักราว 1.3 ถึง 3.0 กิโลกรัม และมีจะลักษณะนุ่ม มีสีชมพูอมน้ำตาล ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากผิวหนัง และเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับจะวางตัวอยู่ทางด้านขวาบนของช่องท้อง และอยู่ใต้กะบังลม นอกจากนี้บางส่วนของตับยังวางอยู่บนกระเพาะอาหาร ปลายทางด้านซ้ายสุดของตับจะชี้ไปทางม้าม และบนพื้นผิวด้านหน้าของตับยังมีถุงน้ำดีวางตัวอยู่อีกด้วย พื้นผิวของตับเกือบทั้งหมดจะถูกคลุมด้วยเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเยื่อบุสองชั้นที่คลุมอยู่บนอวัยวะต่างๆทางด้านหน้าของช่องท้องเพื่อลดการเสียดสีระหว่างอวัยวะ นอกจากนี้จะพบว่าที่บริเวณตับ จะมีการพับของเยื่อบุช่องท้องเข้ามาภายในตับ และแบ่งตัวออกเป็นสองพูใหญ่ๆ เยื่อดังกล่าวนี้เรียกว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์ (falciform ligament) ซึ่งจะยึดตับไว้กับผนังช่องท้องทางด้านหน้า เมื่อมองจากทางด้านบนจะพบว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์นี้จะแยกตัวออกเป็นไทรแองกูลาร์ ลิกาเมนต์ ทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อยึดตับไว้กับกะบังลม
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2346 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 00:23:46 » |
|
พูของตับ พูของตับในทางมหกายวิภาคศาสตร์ จะแบ่งตับออกเป็นสี่พู (lobes) ตามลักษณะที่ปรากฏบนพื้นผิว โดยเมื่อมองตับจากทางด้านหน้า จะเห็นว่าตับถูกแบ่งออกเป็นพูซ้าย (left lobe) และพูขวา (right lobe) หากมองตับจากทางด้านหลัง จะพบว่ามีพูอีกสองพู คือ พูคอเดต (caudate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านบน และพูควอเดรต (quadrate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านล่าง ซึ่งทั้งสองพูดังกล่าวนี้จะแบ่งแยกออกจาก กันโดยร่องแนวขวาง (transverse fissure) หรือเรียกว่า พอร์ตา เฮปาติส (porta hepatis) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือดและท่อน้ำดีของตับ ทั้งพูคอเดตและพูควอเดรตนี้จะถูกแบ่งออกจากพูซ้าย โดยแนวของลิกาเมนตุม วีโนซุม (ligamentum venosum) และลิกาเมนตุม เทเรส (ligamentum teres) ซึ่งเป็นโครงสร้างของหลอดเลือดตับในระยะเอมบริโอ ส่วนทางขวาจะมีรอยบุ๋มที่มีหลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา (inferior vena cava) พาดผ่าน และแบ่งพูขวาออกจากพูคอเดตและพูควอเดรต
การไหลเวียนของเลือดในตับ ตับจะได้รับเลือดที่มีออกซิเจนสูงมาทางหลอดเลือดแดงตับ (hepatic artery) นอกจากนี้ยังมีเลือดที่นำมาจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และตับอ่อนผ่านทางหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) และเลือดจากม้ามผ่านทางหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ซึ่งหลอดเลือดดำทั้งสองจะรวมกันเป็นหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) แล้วเข้าสู่ตับเพื่อนำสารอาหารและสารเคมีอื่นๆที่ได้จากการดูดซึมจากทางเดินอาหาร และผลผลิตจากการทำลายเม็ดเลือดแดงจากม้าม เข้าสู่กระบวนการต่างๆภายในเซลล์ตับต่อไป สำหรับหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากตับ คือหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein) ซึ่งจะเทเลือดเข้าสู่หลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา ต่อไป
ระบบน้ำดีภายในตับ น้ำดีจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ตับแต่ละเซลล์และส่งออกมาจากท่อน้ำดีย่อย (bile canaliculi) ซึ่งจากนั้นท่อน้ำดีย่อยแต่ละท่อจะรวมกันเป็นท่อน้ำดีตับ (hepatic bile ducts) ซึ่งมีทั้งซ้ายและขวา แล้วจึงรวมกันเป็นท่อน้ำดีใหญ่ในตับ (common hepatic bile duct) ก่อนจะส่งไปทางท่อน้ำดีใหญ่ (common bile duct) ซึ่งน้ำดีอาจถูกปล่อยออกสู่ลำไส้เล็กตอนต้น หรือเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2347 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 00:23:55 » |
|
สรีรวิทยาของตับ หน้าที่ต่างๆของตับจะอาศัยการทำงานของเซลล์ตับ ซึ่งมีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้ - ผลิตน้ำดี ซึ่งจัดเป็นหน้าที่หลักของเซลล์ตับ - ควบคุมเมแทบอลิซึมของสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ การสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสจากกรดอะมิโน กรดแลคติค หรือกลีเซอรอล การสลายโมเลกุลของไกลโคเจน เพื่อผลิตน้ำตาลกลูโคสออกสู่กระแสเลือด การสร้างไกลโคเจนจากน้ำตาลกลูโคส - ควบคุมเมแทบอลิซึมของไขมัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ - ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factors) - แปรรูปโมเลกุลของฮีโมโกลบินที่ได้จากการทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุจากม้าม เพื่อสร้างเป็นรงควัตถุน้ำดี (bile pigments) เช่น บิลิรูบิน (bilirubin) และบิลิเวอดิน (bilivedin) - แปรสภาพสารพิษและยาต่างๆให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับถ่ายออกไปได้ กระบวนการนี้เรียกว่า เมแทบอลิซึม ของยา - เปลี่ยนแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนให้เป็นยูเรีย เพื่อนำออกทางปัสสาวะ - เก็บสะสมไวตามินและแร่ธาตุ เช่น ไวตามิน B12 เหล็ก และทองแดง
ในระยะตัวอ่อนช่วงสามเดือนแรก ตับเป็นแหล่งสำหรับการผลิตเม็ดเลือดแดงที่สำคัญ จนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งการผลิตเม็ดเลือดจะอยู่ในไขกระดูก
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2348 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 00:24:04 » |
|
โรคของตับ โรคที่เป็นความผิดปกติของตับมีอยู่หลายโรคด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อหรือสารพิษต่างๆ ตัวอย่างของโรคที่เกี่ยวกับตับ ได้แก่ - ตับอักเสบ (Hepatitis) มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้อาจเกิดจากสารพิษ กรรมพันธุ์ หรือภาวะภูมิแพ้ตนเอง - ตับแข็ง (Cirrhosis) เกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อแข็งที่ทดแทนเซลล์ตับที่ตายไป โดยมักเกิดจากเชื้อไวรัส ภาวะพิษสุราเรื้อรัง หรือการได้รับสารพิษต่างๆ - ฮีโมโครมาโทซิส (Hemochromatosis) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกิดจากการสะสมของเหล็กในกระแสเลือด จนทำให้ เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับ - ท่อน้ำดีตีบตัน (Biliary atresia) - บัดด์ ไคอารี่ ซินโดรม (Budd-Chiari syndrome) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดดำตับ - กิลเบิร์ต ซินโดรม (Gilbert's syndrome) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดความผิดปกติในการสังเคราะห์ บิลิรูบิน อาการเบื้องต้นของโรคตับ คือดีซ่าน (jaundice) ซึ่งเป็นภาวะที่มีบิลิรูบินจำนวนมากในกระแสเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากเซลล์ตับไม่สามารถแปรรูปบิริรูบินไปเป็นสารอื่นเพื่อส่งออกทางน้ำดีได้ ทั้งนี้เป็นเพราะเซลล์ตับเกิดความผิดปกติหรือตายนั่นเอง
การดูแลรักษาตับ - ไม่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมา - ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อ เพราะสารเคมีจะทำลายตับได้ - ไม่สำส่อนทางเพศ - ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น - ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ - รับประทานอาหารที่สะอาดและน้ำต้มสุก มีภาชนะปิดอย่างมิดชิด
ขอบคุณ ที่มา : วิกิพีเดีย
|
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #2349 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 02:53:35 » |
|
มาเป็นชุดเลยว้อย .. จะจดทันไหมเนี่ย
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
|