khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4000 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 16:55:09 » |
|
เหล่าสุนัข..ไม่ได้มองเครื่องบินคะ มองน้ำที่ซ.พหลโยธิน ๕๘ คนงานติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำใหม่เอี่ยม ที่สมุทรสาคร ทางลงของน้ำ จากคลองบางน้ำจืดลงคลองมหาชัย ถึงที่ไหนในกรุงเทพจะน้ำลด แต่ท่าอากาศยานดอนเมืองยัง.. อย่างที่เห็นคะ!
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4001 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 17:04:45 » |
|
ชาวบ้านเขตลำลูกกา(บ้านเพื่อนsheค่า) ปทุมธานี รวมตัวกันไปทะลายถุงทราย ชาวบ้านนอกเขตbig bag barrierไม่พอใจ โมโหสุดขีด..สาดน้ำท่วมใส่จนท.ในระหว่าง ตกลงข้อพิพาทbig bagใกล้ศูนย์ควบคุมการบิน ถนนวิภาวดี เขตดอนเมืองไม่น้อยหน้า..20กลุ่มที่น้ำท้วม รวมตัวไปแกะถุงทรายใหญ่ big bag barrier ต้านกับคำสั่งห้ามทำลายของFROC... ใครจะทำไม
|
|
|
|
|
|
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957
|
|
« ตอบ #4004 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 17:27:41 » |
|
NN ไม่เฉพาะบางบัวทอง สายไหมก็มีด้วย ข่าวน้ำท่วมเมืองไทยดูจากกระทู้เยอรมัน ที่นี่ ตรงใจมากกว่า ..
|
จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์ แปล
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4005 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 17:31:44 » |
|
พี่เหยง, มีรูปเดียวคะจาก Bangkok Post เดี๋ยวค้นจากที่อื่นดูพี่ แม้ไม่แน่ใจค่ะ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4006 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 17:37:01 » |
|
พี่ณะ, ข่าวมีอยู่เรื่อยๆคะ แม้ไม่มาก.
จริงเหรอพี่ที่พวกแดงชุมนุม สนับสนุนการอภัยโทษนักโทษ ที่ดูไบ พี่ชายของนายกยิ่งเละ เอ๊ย, ยิ่งลักษณ์? พี่คนไทยเค้าค้นลึก ว่าอาจไม่สงบ หลังน้ำลด.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Kaimook
|
|
« ตอบ #4016 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 22:52:44 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4017 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 23:06:07 » |
|
NN
เห็นเขาต่อท่อ PVC เข้ากับปลายท่อนาคแล้ว แต่ไม่เห็นการติดตั้งเครื่องยนต์ อาจจะเพราะไกลไปนิดก็ได้
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4018 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 04:38:33 » |
|
พี่เหยงคะ, ดูเหมือนจะมอเตอร์ใช้ไฟฟ้าห้อยอยู่ ตรงกลางที่ลูกศรชี้รึปล่าวคะพี่? ถึงเรียงกันได้เป็นระเบียบเรียบร้อย และติดๆกัน?
รูปหายากพอสมควรคะ.ภาพนี้คะชัดดี nn.
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4019 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 04:52:24 » |
|
พี่อ้อย, มาพอดีทันหนิงมีอะไรมาฝากพี่แหน่ะคะ!เป็นความเสียหายครั้งใหญ่จากมหาอุทกภัยที่ว่ากันว่าหนักที่สุดในรอบ 50 ปี เชื่อว่าภาพที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องอยู่ในสภาพ จมบาดาล จะยังคงเป็นภาพติดตาคนไทยไปอีกพักใหญ่
แต่วิกฤตก็ย่อมมีวันจบ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย กรุงเทพฯ ปริมณฑล และอีกหลายจังหวัด จะต้องเข้าสู่โหมด "ซ่อมแซม" ขนานใหญ่ โดยก่อนหน้านี้ "อิสระ บุญยัง" นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรประเมินว่า น่าจะมีบ้านจัดสรรถูก น้ำท่วมกว่า 100,000 หลัง และถ้านับรวมถึงบ้านปลูกสร้างเอง (นอกหมู่บ้านจัดสรร) และตึกแถว น่าจะมีบ้านทั่วประเทศถูกน้ำท่วมสูงถึง 500,000 หลัง
"ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจราคาวัสดุหลัก-ค่าแรงที่จะต้องใช้ซ่อมแซมบ้าน หลังน้ำลด และนำมาประมาณการค่าใช้จ่ายซ่อมบ้าน โดยพบว่าในกรุงเทพฯ ปริมณฑลส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมสูงตั้งแต่ "หน้าแข้ง" จนถึง "หน้าอก" หรือตั้งแต่ระดับกว่า 0.30-2.00 เมตร ซึ่งกรณีที่ท่วมขังตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ขึ้นไป ก็มักจะสร้างความเสียหายให้กับส่วนต่าง ๆ อาทิ พื้น ผนัง ประตู หน้าต่าง สวิตช์ไฟ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งสนามหญ้าจึงควรสำรวจและเร่งซ่อมแซมทันที
"พื้นไม้-สี-วอลเปเปอร์" ไม่สู้น้ำ
"พื้น" ถือเป็นพื้นที่ส่วนแรกที่จะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ไม่ว่าน้ำจะท่วมแค่ไม่กี่เซนติเมตรก็ตาม วัสดุมักหนีไม่พ้น 1) กระเบื้อง 2) ไม้ลามิเนตหรือไม้ปาร์เกต์ และ 3) หินอ่อนหรือหินแกรนิต
ในจำนวนวัสดุ 3 ตัวนี้ "กระเบื้อง" สามารถทนการแช่น้ำได้นาน แต่อาจเกิดความเสียหายได้กรณีที่มีน้ำท่วมขังใต้พื้นดินเป็นจำนวนมาก และเกิดแรงดันตามร่องจนทำให้แผ่นกระเบื้องล่อนเสียหายก็จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่
"ไม้ลามิเนต-ไม้ปาร์เกต์" ไม่สามารถ ทนน้ำได้ หากถูกน้ำท่วมไม่กี่ชั่วโมง มีโอกาสหลุดล่อนหรือเกิดเชื้อราภายใน เนื้อไม้ได้ จึงควรรื้อออกและปูใหม่
ส่วน "หินอ่อน-หินแกรนิต" สามารถทนน้ำได้ แต่หากแช่น้ำเป็นเวลานาน จะเกิดรอยด่าง สามารถแก้ไขโดยใช้เครื่องขัดซึ่งมีค่าแรงค่อนข้างสูง เฉลี่ยตารางเมตรละ 400-500 บาท
ถัดมาคือ "ผนัง" วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่มี 2 แบบ 1) ทาสี และ 2) ติดวอลเปเปอร์
กรณีทาสีปัญหาที่ตามมาหลังน้ำท่วมประมาณ 2 สัปดาห์คือ คราบตะไคร่-เชื้อรา และสีหลุดล่อน การซ่อมแซมต้องใช้แปรงขัดตะไคร่และเชื้อราออก ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 3-4 สัปดาห์จึงทาสีใหม่ และควรจะต้องทาสีผนังภายในและเพดานทุกด้านเพื่อ ไม่ให้เกิดความแตกต่างระหว่างสีเก่าและใหม่ ส่วนผนังภายนอกหากน้ำไม่ได้ท่วม สูงอาจขัดตะไคร่และเชื้อราออกก็เพียงพอ
ซึ่งกรณีที่จะซื้อสีมาทาเองในตลาดมีตั้งแต่ราคาถังละ 900-3,500 บาท (ขนาดถัง 5 แกลลอน) มีหลักการคำนวณคือ สีถังใหญ่ขนาด 5 แกลลอน จะทาได้พื้นที่ 30 ตารางเมตร และจะต้องทาทั้งหมด 2 ครั้ง ส่วนบ้านหลังไหนที่ติด "วอลเปเปอร์" ก็ต้องบอกว่า...งานเข้า เพราะนอกจากจะเป็นรอยด่างยังมีความเสี่ยงเกิดเชื้อราสูง จึงควรรื้อทิ้งทำความสะอาดทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์จึงค่อย ทาน้ำยาฆ่าเชื้อราและปิดวอลเปเปอร์ใหม่
"ประตู-หน้าต่างไม้" เสี่ยงบวม
นอกจากพื้นแล้ว รายการต่อมาคือ "ประตูไม้" เป็นวัสดุอีกตัวที่มีโอกาส เสียหายจากการบวมทำให้เปิด-ปิดลำบาก ถึงแม้มีน้ำท่วมขังภายใน บ้านเพียงเล็กน้อย นอกจากการเปลี่ยนบานประตูใหม่ซึ่งมีราคาหลากหลาย ตั้งแต่ประตูไม้อัดเริ่มต้นบานละ 1,000 บาท ประตูไม้เต็งราคาประมาณบานละ 4,000 บาท ไปจนถึงประตูไม้สักราคาบานละ 10,000-15,000 บาท หากไม่เน้นเรื่องความสวยงามมากนักอาจใช้วิธีไสหรือเลื่อยไม้ส่วนที่บวมออกก็ได้
ส่วนถ้าระดับท่วมสูงเกินกว่า 0.80 เมตร "หน้าต่างไม้" ก็มีโอกาสถูกน้ำและบวมได้ การซ่อมแซมคือเปลี่ยนหรือไส-เลื่อยส่วนที่บวมออกเช่นเดียวกัน
"สวิตช์ไฟ-สนามหญ้า" อย่าละเลย
จากพื้นและผนัง หากบ้านถูกน้ำท่วมตั้งแต่ 0.80-1.00 เมตร สวิตช์ไฟมักเป็นจุดที่เสียหายถูกน้ำเข้า การแก้ไขเบื้องต้นให้สับคัตเอาต์ เปิดฝาครอบสวิตช์ออก และทำความสะอาดแผงสวิตช์ให้แห้งและทิ้งไว้ 3-5 วัน
หากที่บ้านมีคัตเอาต์หรือเซฟ-ที-คัทให้ทดลองเปิด-ปิดสวิตช์ดู หากไม่สามารถใช้งานได้ก็ต้องเปลี่ยนแผงสวิตช์ใหม่ ซึ่งมีราคา ตั้งแต่ชุดละ 100-500 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ และค่าแรงอีกจุดละประมาณ 100 บาท
ส่วนถ้าเป็นบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่สนามหญ้าในรั้วบ้าน หญ้าที่ถูกแช่น้ำนาน 2-4 สัปดาห์ มีโอกาสจะตายได้ หากไม่สามารถระบายน้ำออกได้ทันก็จำเป็นต้องปูหญ้ากันใหม่ โดยเฉลี่ยการปูหญ้าจะเป็นการเหมาพร้อมค่าแรงเริ่มต้นตารางเมตรละ 100 บาทขึ้นไป
นอกจากนี้ ยังมีงาน "รั้วไม้" ที่อาจจะเกิดสีลอกล่อนหรือเป็นตะไคร่สามารถ ขัดออกและซื้อสีทาไม้มาทาเองได้ มีราคาเริ่มต้นกระป๋องละ 300-1,000 บาท
เบ็ดเสร็จหากน้ำท่วมบ้านในระดับ 0.30-0.50 เมตร ก็จะมีค่าใช้จ่ายซ่อมแซม เริ่มต้น 30,000-110,000 บาท (ขึ้นกับวัสดุที่เปลี่ยนใหม่) ส่วนถ้าท่วมระดับ 1.00-2.00 เมตร ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 65,000-145,000 บาท http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1321940176&grpid=09&catid=&subcatid=
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4020 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 05:02:01 » |
|
ปิดคู่มือ "ทำความสะอาดบ้าน" ฉบับเข้มข้น ขจัดคราบน้ำท่วม "ด้วยตัวเอง"ถึงตอนนี้ระดับน้ำในหลายพื้นที่เริ่มลดลง ผู้คนเริ่มทยอยกลับเข้าบ้าน
บ้านหลังเดิมที่อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สำหรับบ้านที่ไม่ได้ยกข้าวของ
เครื่องใช้ก่อนเผ่นออกจากบ้าน อาจจะต้องทำใจสักพักหนึ่ง
ก่อนจะก้าวเข้าไปชมผลงานที่น้องน้ำฝากไว้
น้ำจอมพลังที่อาจจะเคลื่อนย้ายทุกสิ่งทุกอย่างในบ้าน โยกไปคนละทิศละทาง กองระเกะระกะอยู่ทั่วบ้าน สภาพไม่เหมือนเดิมแน่นอน หรืออาจจะแค่ ฝากคราบสกปรกไว้ตามพื้น ผนัง และขอบโต๊ะเก้าอี้ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและระยะเวลาที่น้ำคงอยู่
ฉะนั้น ควรตั้งสติให้มั่นแล้วค่อย ๆ เดินกลับเข้าบ้านอย่างระมัดระวัง
มีขั้นตอนและวิธีการที่จะเข้าไปจัดการบ้านหรือที่อยู่อาศัย หลังจากที่น้ำท่วมขัง มาเป็นเวลานานนับเดือนนั้น ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่ต้องจัดการอย่างระมัดระวัง
กมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสต์ เพียร์เลส (ไทยแลนด์) 1968 จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการทำความสะอาดแบบครบวงจรมานานกว่า 40 ปี แนะนำวิธีทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลดด้วยตัวเองไว้อย่างน่าสนใจ
เตรียมพร้อมก่อนเข้าบ้าน
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อาทิ แว่นตาช่าง, หน้ากากกรองฝุ่น, ผ้าปิดปากปิดจมูก, ถุงมือยาง, รองเท้าบูต, ไฟฉาย และหมวกนิรภัย
จากนั้นแต่งกายให้พร้อมก่อนเข้าไปในตัวบ้าน สิ่งสำคัญคือห้ามประมาท และอย่าเข้าไปคนเดียว ต้องมีคนไปเป็นเพื่อน และต้องมีคนรออยู่ด้านนอก เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น
ขั้นตอนก่อนเข้าไปยังตัวบ้านให้ปฏิบัติดังนี้
1.ก่อนเข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือน ให้เดินดูบริเวณรอบ ๆ บ้านก่อน โดยสำรวจพิจารณาดูโครงสร้างที่อาจจะเสียหายเป็นอันตรายก่อนตัดสินใจที่จะเข้าไป
2.ระวังเรื่องสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวบ้าน
3.สังเกตดูรอยร้าว หรือการบิดตัวของโครงสร้างก่อนตัดสินใจเข้าไป
4.ตรวจดูที่จัดเก็บถังแก๊ส มองหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะมีการรั่วซึม
5.ตรวจสอบการจ่ายไฟให้แน่ใจว่า ไฟฟ้ายังไม่ได้จ่ายกระแสเข้าไปในบ้าน โดยการดูที่คัตเอาต์ว่ายังมีการสับสวิตช์ลงอยู่หรือไม่
6.เปิดประตูให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อย่าเหยียบเข้าบ้านทันที ให้สังเกตพื้นบ้าน ลองค่อย ๆ ใช้เท้าทิ้งน้ำหนักเพื่อทดสอบก่อน
7.สังเกตดูเพดานว่ามีการอมน้ำ แอ่นท้องช้าง หรือมีคราบน้ำอยู่หรือไม่ เพราะเพดานอาจพังทลายลงมาได้เมื่อมีการเคลื่อนไหวให้ระมัดระวัง
ตรวจเช็กเชื้อโรค-ระบบไฟฟ้า
ขั้นตอนของการทำความสะอาด ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก
"ต้องคำนึงถึงการกำจัดการฆ่าเชื้อโรคเชื้อราที่เราอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า จากการสัมผัสหรือหายใจเอาเชื้อเหล่านี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัว" กมลพรรณย้ำ
ดังนั้น ต้องคำนึงถึงการป้องกันตนเอง เช่น การใส่ถุงมือยาง และรองเท้าบูต ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคเชื้อรา, ป้องกันการสัมผัสสารเคมี รวมถึงป้องกันไฟดูด รวมทั้งคาดผ้าปิดจมูกและปากที่ช่วยป้องกันการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อรา และไอระเหยของสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
ในระหว่างการทำ ความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด โดยอาจเปิดพัดลมเพดานช่วยระบายอากาศ
ข้อห้ามคือ ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อโรคต่าง ๆ จะถูกดูดเข้าไปอยู่ ในระบบปรับอากาศ และจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อราต่อไป ถือเป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น
จากนั้นก็มาเริ่มที่ระบบไฟฟ้าของทั้งบ้าน ซึ่งจะต้องถูกปิดทันทีที่น้ำท่วมบ้าน ดังนั้นระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะต้องจัดการทันทีที่น้ำลด โดยให้ช่างไฟฟ้า มืออาชีพมาตรวจสอบและซ่อมแซมให้หมดก่อนจึงจะสามารถกลับไปใช้ไฟฟ้าได้
บางครั้งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด และสายไฟจะต้องแห้งสนิท รวมทั้งสวิตช์ไฟ, เต้าเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะมีโคลนตมและตะกอน ที่มากับน้ำเข้าไปอยู่ จึงต้องมีการตรวจเช็กระบบอย่างละเอียด
ระบบเครื่องปรับอากาศ หลังน้ำลดต้องเรียกช่างแอร์มืออาชีพมาตรวจเช็กระบบ เครื่องปรับอากาศภายในบ้านทั้งหมด พร้อมทั้งทำความสะอาดท่อ
ต่าง ๆ, แผ่นกรองอากาศ เปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำ ฯลฯ เมื่อช่างแก้ไข ให้เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ซีลปิดไว้ก่อนจึงจะเริ่มการทำความสะอาดบ้าน
อย่าลืมว่าก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศต้องทำความสะอาดบ้านจนเสร็จ เรียบร้อยพร้อมกลับเข้าไปอยู่แล้วเท่านั้น
ถึงเวลาลงมือทำ
หลังจากตรวจเช็กทุกอย่างจนแน่ใจแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำความสะอาดขนานใหญ่ โดยเริ่มตามโปรแกรมดังนี้
1.เริ่มด้วยการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อสะดวกในการจัดการกับโคลนตมที่มากับน้ำ ให้ใช้พลั่วตักดินโคลนออกจากพื้นบ้านให้ได้มากที่สุด จากนั้นจึงใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (ถ้ามี) หรือสายยางฉีดน้ำเพื่อชะล้างโคลนออกจากพื้นผิว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยผ่อนแรงได้มากคือ ไม้ปาดน้ำ หากไม่มีและพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถใช้ผ้าขนหนูทำเป็นผ้าลากน้ำได้ โดยเน้นการกำจัดดินโคลนออกไปให้หมด
2.เรื่องของพื้น หากพื้นบ้านของท่านมีการใช้วัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไวนิล, เสื่อน้ำมัน, พรม, ปาร์เกต์ ฯลฯ มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อวัสดุปูพื้นเหล่านั้นออกเพื่อให้พื้นด้านล่างแห้ง ซึ่งกว่าจะแห้งสนิทอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร
การทำความสะอาดพื้นทุกชนิด ต้องพิจารณาดูตามความเหมาะสมของพื้น โดยทั่วไป ๆ สามารถใช้น้ำผสมคลอรีนในอัตราส่วน 0.1% (1 CC ต่อน้ำ 1,000 CC) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณก่อนแล้วจึงขัดถูพื้นด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ขัดถูให้ทั่วบริเวณแล้วจึงราดด้วยน้ำร้อนเดือด ๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ซึ่งต้องอ่านฉลากวิธีใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
หากเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ กำจัดกลิ่น กำจัดคราบไขมันได้
ข้อดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คือ สารชีวภาพเอนไซม์นั้นจะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่จากความชื้นต่อไปได้อีกนานประมาณ 3-6 เดือน ตราบที่พื้นยังมีความชื้นอยู่ และที่สำคัญสารชีวภาพเอนไซม์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
สำหรับพื้นบ้านที่ปูพรม ถ้าพื้นบ้านที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมหรือน้ำเสีย ควรจะตัดใจกำจัดทิ้งไปเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ เพราะพรมเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอย่างดี
การทำความสะอาดพรมด้วยตัวเองเป็นเรื่องยาก ต้องใช้มืออาชีพที่เชื่อถือได้ว่าจะใช้น้ำยาซักพรมที่ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่น และใช้เครื่องมือซักพรมชนิดพิเศษที่สามารถทำความสะอาดได้ล้ำลึก แต่ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดค่อนข้างสูง ควรพิจารณาให้ดี http://co120w.col120.mail.live.com/default.aspx#fid=1&fav=1&n=1045453916&mid=1e2b18c2-154b-11e1-884d-002264c24d08&fv=1
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #4021 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 08:42:54 » |
|
NN
ใช่แล้ว มอเตอร์ไฟฟ้าขนาดประมาณ 10 แรงม้า ชุดละ 10 ตัว ประการสำคัญ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าเอง มิฉะนั้นจะผิดหวัง เพราะน้ำมา-ไฟฟ้าจะดับ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4022 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 22:06:52 » |
|
พี่เหยงคะ, เมื่อวันก่อน พี่คนไทยเค้าส่งบทความ ของคุณนิวัติ กองเพียรไปให้อ่าน, ในใจก็คุ้นชื่อเค้ามาก...กว่าจะถึงบางอ้อ ว่าคือเกจินู้ด ที่หนิงเคยอ่านในมติชน สมัยยังอยู่เมืองไทย...ได้เจอะบทความเค้า ที่บรรยายการต้องหนีน้ำ แบบที่อยู่ดูน้ำเข้าบ้าน ช่วงเดียวกะที่ท่วมบ้านแม่หนิงที่บางบัวทอง 19 ตุลา...อยู่ชั้นบนอยู่หลายอาทิตย์จนต้องออก การบรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพ ได้ยินเสียงน้ำ ที่พัดพาเฟอร์นิเจอร์ สมบัติของรักของหวง หนังสือ สิ่งละอันพันละน้อยที่ระลึกไปรวมสุม ปวดใจไปด้วยคะ...สำหรับคนรักหนังสือ.
อ่านไปอ่านมาย่อสุดท้ายก็ให้วกมาวิจารณ์ หุหุ...นายกยุคน้ำท้วมของเรา...
เค้ายังคมเหมือนเดิมคะ ในแบบที่หนิงเคยนิยม เมื่อ24-25ปีก่อน.
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4023 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 23:06:23 » |
|
วันนี้พี่คนไทยก็ส่งบทสัมภาษณ์ ดร.เสรี วงษ์มณฑา เจาะใจเข้ามาให้อ่าน...ยาวใช้ได้คะพี่น้อง ใครๆก็กินโต๊ะนายกน้ำท้วม2554เละตุ้มเป๊ะ เดี๋ยวคะ,รอให้คนหมดจากทุกข์ภัยของการล้างบ้าน ซ่อมเรือนก่อน...งานนี้มีแพะแน่.
ใครซะอีก... ก็ชาวกทม./ปริมณฑลฮี้ แม้เรื่องน้ำนี้ เกิดกะสมัยใครก็ได้ นายกคนไหนก็ได้...ไม่เกิด! ดั้นนนน มาเกิดช่วงนี้
คิดแล้วน่าสงสารคะ!
ปล๊าว,sheไม่สงสารนายกน้ำท้วม sheสงสารผู้ที่ประสบเคราะห์ภัยน้ำท่วมต่างหาก เพราะมันเข้าถึงจุดที่ลึกมากของความอ่อนไหว ..ชีวิตประจำวัน: ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ความปลอดภัย...กว่าจะอู้ฟู้อูมฟูม ได้เหมือนเก่า...เงินเท่าไหร่ถึงจะทำให้ทุกอย่าง กลับมาเหมือนเดิม?
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #4024 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2554, 23:23:10 » |
|
ว่าแล้วเมื่อวาน,ปลาใหม่ที่ซื้อมา 5 ตัวช่วงaquariumน้ำขุ่น ก็หมดลม หงายท้องแหงแก๋ลอยตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง...แบบ 2+2+1...ตัวสุดท้ายเมื่อวานคะ เพราะตอนไปคุยกะเค้าๆให้หยุด ให้อาหาร 5 วันเพื่อ filterจะได้กรองน้ำโดยไม่มีอาหารตกค้าง ปลาชุดเก่าก็อยู่ได้กับprogramme dietแต่ปลาเล็กที่ซื้อมาใหม่ฮี่.. ผิดที่ ผิดน้ำ ผิดแวดล้อม เลยแหงแก๋ม่องเท่ง ...เสียเงินฟรีๆ!
เมื่อวานว่าจะไปซื้อมาใส่ตู้ทดแทน..เค้าบอกว่าวัดค่าน้ำก่อน ไม่ได้เก็บตัวอย่างไปก็เห็นน้ำใสดีแล้วนี่นา!เค้าว่าม่ายงั้น ซื้อไปก็ตายอีก...เลยได้ซื้อต้นไม้น้ำaquariumมาปลูกแทน! ก็ปลาปลาสิ พอไม่ให้อาหาร...พวกแทะต้นไม้น้ำซะ...เหี้ยน.
.. .. ขาออกมา อุว๊ายยยนั่น หามานาน บ้านอาหารนกคะพี่น้อง หลังเก่า she เคยมี paintสีฟ้ากะชมพู แป๊นแล๊นอย่าบอกใคร...แขวนที่ต้นไม้ 2-3ปีจนหลุดเป็นชิ้นๆ เก็บใส่เตาเผาไม่เหลือ ตั้งใจ winterปีนี้ต้องหามาแขวนใหม่
ก็เจอะที่ร้านขายสัตว์...มีหลายราคาคะ เกิน10 € sheก็ไม่เล่นด้วยเหมือนกัน! ปรากฏหยิบอันนึงไปจ่ายเงิน กะจะมาทาสี ให้เปรี้ยวสุดขีด...เดินออกมาจะไปที่รถ ว๊ายยย ตาเหลือบไปเห็นอีกแบบนึง! ไม่ไช่แบบทากาว/ยึดด้วยแม๊ค...ง่ายๆ แต่เป็นแบบถอดมาเป็นชิ้นๆให้ไขน๊อตเอง
.. .. sheลิ่วกลับเข้าไปอย่างเร็ว ขอแลกกะแบบใหม่ที่เพิ่งเห็น! ก็ราคาเท่ากันคะพี่น้อง. แถมซื้อเม็ดทานตะวันมาด้วย 2,5 kg. winterนี้นกแถวบ้านsheไม่อดตาย!
|
|
|
|
|