ขอยกบทความจาก
www.backtohome.org มาตอบก่อนนะคะครูตี๋
เวทีทัศนะ:หลักสูตรป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน - ทางออกลดความรุนแรงต่อเด็ก
ปีนี้เองคนทั้งโลกต้องตกตะลึงกับเหตุสะเทือนขวัญกรณีนักศึกษาชาวเกาหลีสังหารหมู่เพื่อนและอาจารย์ในมหาวิทยา
ลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วฆ่าตัวตายตาม จนเกิดความหวั่นวิตกว่าจะเกิดเหตุซ้ำ ส่งผลให้นักศึกษาเอเชียหลายคน
ถูกส่งตัวกลับประเทศเนื่องจากมีพฤติกรรมก้าวร้าว
ส่วนในไทยก็เกิดกระแสแพร่คลิปวีดีโอนักเรียนหญิงตบตีกันในโรงเรียนและตามที่สาธารณะหลายครั้ง การใช้อาวุธปืน
ยิงแก้แค้นเพื่อนในโรงเรียน วัยรุ่นสาดน้ำร้อนใส่คู่กรณี การฆ่าตัวตายของวัยรุ่น และล่าสุดก็กลับมาวนเวียนอีกครั้งกับ
การรุมตบตีนักเรียนหญิงคอซอง จนดูราวกับความรุนแรงคือทางออกสุดท้ายของปัญหาสำหรับวัยรุ่นยุคนี้สอดคล้องกับ
ผลการวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ปี 2548-2549 จากสถาบัน
รามจิตติ พบว่ามีนักเรียน นักศึกษากว่า 600,000 คน เคยถูกทำร้ายร่างกายในสถานศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้
สังคมตื่นตัวจนมีการศึกษา เพื่อถอดรหัสปัญหาความรุนแรงในเด็กอย่างจริงจัง อันนำไปสู่แนวทางป้องกันและแก้ไขที่ถูก
ต้อง รายงาน "การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบแนวทางการป้องกันความรุนแรงต่อเด็กแบบยั่งยืน" โดยผศ.สมบัติ ตาปัญญา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.)และสำนักงานกอง
ทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เป็นหนึ่งของความพยายามในรูปแบบงานวิจัยกึ่งทดลองในโรงเรียนที่ได้นำ
หลักสูตรการป้องกันการรังแกกัน ของ แดน โอลวีอัส (Dan Olweus) มาปรับใช้ หลังจากมีการนำไปทดลองใช้และได้
ผลในหลายประเทศ พบว่าสามารถลดอัตราการรังแกกันในโรงเรียนลงได้กว่าครึ่ง และมีผลต่อการลดพฤติกรรมไม่พึงประ
สงค์อื่นๆ อีกด้วย
ปัญหาเด็กถูกรังแกอาจมองได้ว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะถือเป็นการหยอกเย้ากันตามประสาของเด็กๆ แต่อย่าลืมว่าโรงเรียน
มีส่วนสำคัญในการบ่มเพาะพฤติกรรมของเด็กในวัยเรียน ซึ่งมีเด็กจำนวนมากไม่อยากไปโรงเรียนด้วยสาเหตุต่างๆ พฤติ
กรรมนี้เองเกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาการรังแกกันในโรงเรียน?
ภาพจาก
www.siamcomic.com การรังแกกันเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งด้วยความก้าวร้าวรุนแรงในกลุ่มเยาวชน ซึ่งผลสำรวจพบว่า พฤติกรรมรังแกกัน
ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการทำร้ายจิตใจด้วยการล้อเลียน ดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และการลงโทษด้วย
ความรุนแรงโดยครู พบอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กในระยะสั้น คือเป็นผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ
จิต โดยในระยะยาวอาจมีผลต่อการปรับตัวในสังคมอันนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวและต่อต้านสังคมในเด็กซึ่งจะกระทำต่อ
ผู้อื่นต่อๆ ไปอีก
หลังจากการทดลองนำหลักสูตรการป้องกันการรังแกกันไปใช้ควบคุมในโรงเรียนนำร่องสองแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ พบ
ว่าอัตราการรังแกกันในโรงเรียนไทยลดลง ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนของผลที่ได้ ทำให้ปีที่สองได้ขยายพื้นที่ออกไปครอบ
คลุมโรงเรียน 11 แห่งใน 6 จังหวัด จากภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง ภาคอีสาน 2 แห่ง
และภาคใต้ 4 แห่ง รวมจำนวนนักเรียนที่มีส่วนร่วมประมาณ 2,300 คน
จากการสำรวจข้อมูลก่อนดำเนินโครงการพบว่า เด็กนักเรียนถูกเพื่อนรังแก 32.3% ถูกเพื่อนล้อเลียน 45.9% โดย
พฤติกรรมการรังแกที่พบมากที่สุด คือ ถูกเยาะเย้ยเรื่องเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ 27.7% ถูกขโมยสิ่งของ 20.9% ถูกทำร้าย
ร่างกาย 14.8% และถูกรังแกเรื่องเพศ 11.8% ที่น่าเป็นห่วงต่อการที่เด็กถูกรังแกนั้นข้อมูลระบุว่า มีการยอมรับว่า
รังแกเพื่อนเพียง 21.1% ยอมรับว่าล้อเลียนเพื่อน 17.8% และยอมรับว่าทำร้ายร่างกายเพื่อน 13% และเมื่อถามถึง
การช่วยเหลือจากคนรอบข้างพบว่า เพื่อนพยายามช่วยเหลือถึง 66.3% และครูพยายามช่วยเหลือ 57.8%
ข้อมูลชี้ชัดว่าว่าเด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการรังแกกัน หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวและต่อต้านสังคม หากไม่มีการแก้ไขอย่าง
จริงจัง ปัญหาก็จะสืบทอดไปอย่างไม่จบสิ้น อย่างไรก็ดี ภายหลังดำเนินโครงการในโรงเรียนนำร่องประมาณหนึ่งปีการ
ศึกษา พบพฤติกรรมการรังแกกันลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยพบเด็กนักเรียนที่ถูกเพื่อนรังแก 28.4% จากปีแรกซึ่งอยู่ที่
ระดับ 32.3% ส่วนถูกเพื่อนล้อเลียนลดลงอยู่ที่ระดับ 39.4% จากเดิม 45.9%ในปีแรก นอกจากนั้นในประเด็นการถูก
เยาะเย้ยเรื่องเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 23% จากเดิม 27.7% ถูกขโมยสิ่งของลดลงเหลือ 18.5%จากเดิม
อยู่ที่ 20.9% ส่วนประเด็นการถูกทำร้ายร่างกาย 13.4% และถูกรังแกเรื่องเพศ 11% ลดลงจากปีแรกซึ่งอยู่ที่ 14.8%
และ11.8 % ตามลำดับส่วนการช่วยเหลือปรากฏเพิ่มขึ้นประมาณ 1-3%โดยมีสัดส่วนที่เพื่อนพยายามช่วยเหลือ 63.5
% และครูพยายามช่วยเหลือ 58.8%
ภาพจาก bbs.asiasoft.co.th
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าความรุนแรงส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยที่ใกล้ตัวของเด็กนักเรียนทั้งสิ้น และหากมองย้อนถึงต้น
ต่อปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นตามหน้าหนังสือพิมพ์จะพบว่า หลายกรณีผู้ก่อเหตุเคยตกเป็นผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง
มาก่อน การตอกย้ำด้วยความรุนแรงไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามได้ส่งผลสะสมต่อทัศนะคติของผู้นั้น และเมื่อถูกกระตุ้นจนเกิด
ความกดดันมากๆ ก็จะตอบสนองออกมาด้วยวิธีการที่รุนแรง นอกจากนี้ข้อมูลจากรายงานสภาวะสังคมไทยในไตรมาส
แรกของปีนี้ โดยสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้สำรวจพบเด็กและเยาวชนกระทำผิดคดีอาชญา
กรรมเพิ่มขึ้น 6.4% โดยมีสาเหตุมาจากการคบเพื่อนถึงร้อยละ 38.5% เป็นผลที่ย้ำชัดในทิศทางเดียวกับข้อมูลข้าง
ต้นว่า เยาวชนไทยมีพฤติกรรมรุนแรงและก้าวร้าวมากขึ้นจนหน้าวิตก และเพื่อนก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อปรากฏ
การณ์ดังกล่าว ถึงตรงนี้เรื่องที่ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ หรือเป็นเพียงการหยอกเย้ากันของเด็กๆ ได้เริ่มแสดงผลจากการ
ถูกละเลย สถานการณ์วันนี้ความรุนแรงไม่ได้จำกัดอยู่ในรั้วโรงเรียนเท่านั้น เพียงแต่สัญญาณอันตรายชัดขึ้นจากสถาน
ศึกษา และในเวลาปกติเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ในโรงเรียนอีกด้วย ในเมื่อผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโครงการ
ป้องกันการรังแกกันมีผลต่อการลดความรุนแรงในโรงเรียนได้ หากโรงเรียนให้ความสนใจกับปัญหาและดำเนินการป้อง
กันตามหลักสูตรอย่างเคร่งครัด ดังนั้นถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทย โดยเฉพาะผู้ใหญ่จะหันมาให้ความสำคัญต่อปัญหา
ที่มองว่าเป็นการเพียงการหยอกเย้ากันของเด็กเท่านั้น และเพื่อหยุดยั้งความรุนแรง ที่จะนำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบ
เลือกปฏิบัติ และกดขี่ข่มเหงผู้อื่นในวัยผู้ใหญ่ต่อไป ทำให้จำเป็นต้องเน้นหนักด้านการป้องกันพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพิ
เศษ ที่สุดแล้วหลักสูตรการป้องกันการรังแกควรจะได้รับการขยายผลนำไปใช้ในโรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยปรับ
ปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเข้ากับบริบทแวดล้อมของโรงเรียนนั้นๆ ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการน่าจะนำโครงการนี้
เข้าเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ในการรณรงค์ลดความรุนแรงในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและยั่ง
ยืน ไม่แน่ว่างานนี้อาจเป็นกุญแจที่ไขปริศนาปัญหาความรุนแรงได้.-