|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #451 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 08:58:48 » |
|
ผมชอบอ่านในบ้านพี่เอ๋ครับ แต่อ่านแล้วไม่ได้เมนท์นะครับ เพราะกลัวคนอ่านทีหลังจะสะดุด
ชอบมากๆครับ แถมได้ "แฮพ" อีก แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pongpipat
|
|
« ตอบ #452 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 08:59:33 » |
|
ตอนนี้น้องพิมอายุ 11 แล้ว เริ่ม มีคำพูดแบบต่อปากต่อคำคุณแม่บ่อยๆ เมื่อวาน ก็มีสงครามเล็กๆระหว่างแม่กับลูกเรื่องอาบน้ำ แม่ก็ห่วงลูกเพราะอากาศหนาว ลูกก็อยากจะนอนโดยที่ยังไม่อาบน้ำยังไม่เปลี่ยนชุดนักเรียน การบ้านก็ยังไม่ทำ ก็เลยซะหน่อย ผมก็อยู่ข้างล่าง เสร็จแล้วก็จบด้วยดีคือลูกก็ยอม แต่ก็บ่นๆๆๆไปตามประสา ผมก็มักจะเป็นตัวช่วยอธิบายให้น้องพิมเข้าใจว่าทำไมแม่ต้องทำแบบนั้นแบบนี้ ผมทำถูกไหมครับเอ๋ เพราะตอนเค้าทำสงครามกันผมจะไม่ยุ่งเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pongpipat
|
|
« ตอบ #453 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 09:03:49 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #454 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 09:22:21 » |
|
แค่แวะมาบ้างก็ดีใจแล้วค่ะ งานที่ทำอยู่จะเป็นวิชาการทั้งนั้นก็เลยอดไม่ได้ที่จะนำเสนอสาระบ้างน่ะค่ะ ขอบคุณสำหรับรูป ยินดีให้นำมาไว้ในบ้านเสมอค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #455 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 09:24:41 » |
|
ขอบคุณมากค่ะแจง เรารักสีม่วงเหมือนกันเลย อ้อ สยุมพรอีกคนด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #456 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 09:27:22 » |
|
อะไรที่ทำให้บ้านสงบสุข เข้าใจกันและกัน น่าจะถูกต้องนะคะ แม่มักใส่ใจรายละเอียด พ่อก็ตัดสินใจและสรุปไงคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #457 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 11:34:31 » |
|
เรื่องที่ 44 วิธีช่วยให้เด็กฉลาด (ต่อ) ยอมรับความแตกต่างของลูก จงพิจารณาความแตกต่างของลูกแต่ละคน และความแตกต่างระหว่างลูกกับคุณด้วย จากนั้นจงจัดหากิจกรรมที่สามารถตอบสนองให้ทุกคน ร่วมสนุกด้วยกันได้ จงยอมรับความแตกต่างของลูกด้วยใจจริง กิจกรรมที่ลูกเลือกทำไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามย่อมมีเหตุผลสมควรเสมอ จง อย่าเพิกเฉยกิจกรรมนั้น จงหาทางให้ลูกได้อยู่รวมกลุ่มกับครอบครัวและสามารถทำกิจกรรมที่เขาชอบในเวลาเดียวกันได้ด้วย ทุกคนมีลักษณะ เฉพาะตัว พ่อแม่บางคนอาจไม่อดทนกับลูกที่แตกต่างจากตน จงยอมรับความแตกต่างนั้นเถิด จงทำใจให้ได้ว่าความแตกต่างนั้นสมเหตุสม ผลในตัวของมันเอง ตั้งใจฟังเมื่อลูกพูด เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง สามารถช่วยสร้างสรรค์ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองให้ลูกได้ ขณะที่พ่อแม่ตั้งใจฟังที่ลูกพูด โดยไม่ดุว่าหรือออกความ เห็นใดๆเท่ากับพ่อแม่แสดงให้ลูกเห็นว่าความคิดความรู้สึกของลูกมีค่าควรแก่การรับฟัง เน้นข้อดีในตัวลูก เพียงแค่พ่อแม่มองหาข้อดีในตัวลูกให้พบ แล้วเพ่งเล็งความสนใจไปที่ข้อดีนั้น แสดงให้ลูกเห็นว่าเขาเก่งอย่างไรมีความสามารถในเรื่องนั้นๆ อย่างไร ต่อจากนั้นจึงช่วยขยายความสามารถนั้นออกไปสู่กิจกรรมด้านอื่นๆ ภาพจาก posty.exteen.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #458 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 11:51:34 » |
|
(ต่อ) ปล่อยให้ลูกเติบโตตามพัฒนาการ เช่น ลูกอายุ18เดือนยังไม่ยอมเดิน คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวล คุณแม่เริ่มฝึกลูกด้วยวิธีการต่างๆก็ไม่เป็นผล จึงโมโหและตีลูก ลูกก็ยังเดินไม่ได้ สถานการณ์เลวร้ายไปอีก ลูกเริ่มร้องไห้โยเยบ่อยขึ้น ทั้งที่ไม่มีสาเหตุแต่ที่สำคัญคือ เวลานี้ลูกสูญเสียความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองไปเสีย แล้ว จงปล่อยให้ลูกเติบโตตามพัฒนาการของเขา เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเร็วช้าต่างกัน พ่อแม่ควรสังเกตพัฒนาการของลูกและปล่อยให้ ลูกเติบโตไปตามพัฒนาการของเขาจะดีกว่า สอนให้ลูกเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่าง ประชาชนในประเทศไทยสืบเชื้อสายมาจากหลายเชื้อชาติ หลายชนเผ่า เช่น เชื้อชาติไทย จีน ลาว แขก เขมร มอญ กะเหรี่ยง เป็นต้น เด็กที่ มาจากเชื้อชาติ หรือชนเผ่าต่างๆ ย่อมมีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป และเด็กชาวกรุงก็มีวัฒนธรรมแตกต่างจากเด็กชนบทด้วย พ่อแม่ควรสอนให้ ลูกเข้าใจเกี่ยวกับภูมิหลังของครอบครัว เพื่อช่วยสร้างสรรค์ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองให้ลูก เด็กจะรู้สึกว่าเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมี ความรู้สึกภาคภูมิใจในครอบครัวและวงศ์ตระกูลของเขา ภาพถ่ายครอบครัว พ่อแม่ควรหยิบสมุดภาพถ่ายของครอบครัวออกมาดูร่วมกับลูกๆให้บ่อยครั้ง ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของลูกจะงอกงาม ถ้าพ่อแม่มีภาพถ่าย ของลูกทุกระยะและหมั่นพูดคุยกับเขาร่วมกัน ทบทวนความหลังเกี่ยวกับภาพเหล่านั้น ภาพจาก album.sanook.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #459 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 12:09:49 » |
|
(ต่อ) สนับสนุนลูกเป็นนักเขียนน้อย พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกบันทึกประจำวัน บันทึกนั้นจะช่วยให้ลูกเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของลูกจะงอกงาม เพราะเขามองเห็นเรื่องราวส่วนตัวมากมายที่น่าบันทึกจดจำเอาไว้ และเมื่อใดที่เขาหวนกลับมาเปิดอ่านอีกครั้ง เขาจะยิ่งสดใสมีชีวิตชีวาและ มีทัศนะที่ดีต่อตัวเองมากขึ้น ทำอย่างไรจึงจะสนับสนุนให้ลูกเป็นนักเขียนน้อยได้ ขั้นแรก พ่อแม่ควรจะเขียนบันทึกประจำวันเช่นกัน เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกว่าชีวิตของคนเรามีค่าควรแก่การบันทึก ขั้นที่สอง จงช่วยลูกเลือกซื้อสมุดโน้ตหรือไดอารี่ เพื่อบันทึกความทรงจำของลูกและช่วยลูกคิดถึงเรื่องราวที่ควรบันทึก แต่ขอให้เป็นเพียงใน ระยะแรกเริ่มเท่านั้น หลังจากนั้นควรปล่อยให้ลูกเขียนเองตามลำพัง ลูกไว้วางใจคุณ เช่น ลูกหกล้มหัวเข่าแตก เขาวิ่งกลับบ้านเพื่อหาคนปลอบ คุณพ่อคุณแม่โอบกอดลูกชายและจูบปลอบขวัญเช็ดน้ำตาให้ หลังจากนั้นก็กุลีกุ จอล้างแผลเช่น ลูกกลับมาบ้านพร้อมกับเรื่องตื่นเต้น คุณพ่อคุณแม่สละเวลาฟังเขาและพูดคุยกับเขาเสมอ ด้วยเหตุนี้เองลูกจึงไว้วางใจคุณ พ่อคุณแม่ มีวิธีการมากมาย ที่สามารถแสดงให้ลูกรู้ว่าเขาสามารถไว้วางใจพ่อแม่ได้ ลองคิดหาวิธีที่เหมาะสมกับครอบครัวของคุณ แต่ที่สำคัญจงให้ความ รักความเสมอต้นเสมอปลายและความซื่อตรงต่อลูก อันจะช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้คุณ ภาพจาก play.kapook.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #460 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 12:25:16 » |
|
(ต่อ) คุณก็ไว้วางใจลูกเช่นกัน ลูกยังไม่โตเป็น"ผู้ใหญ่"จึงมักจะควบคุมตนเองไม่ได้ เนื่องจากเขายังไม่อาจเข้าใจได้แจ่มแจ้งว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ แต่พ่อแม่ควรเชื่อ มั่นในตัวลูก ไว้วางใจว่าเขาจะพยายามเลือกกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องเสมอ ถ้าพ่อแม่มีทัศนะเช่นนี้ต่อลูกจะเป็นการนำทางให้ลูกไปสู่ความรู้สึก ภาคภูมิใจในตนเองในที่สุด ปลูกฝังให้ลูกเป็นคนน่าคบ กฏเบื้องต้น 1) ถ้าลูกต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน ลูกต้องรู้จักยอมรับคนอื่นเป็นเพื่อนก่อน 2) คนที่มีน้ำใจต่อผู้อื่น ย่อมรู้จักที่จะ"เอาใจเขามาใส่ใจเรา"ซึ่งจะช่วยให้การคบหาเพื่อนเป็นไปได้ง่ายขึ้น 3) มิตรภาพไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยง่าย บางคนต้องใช้ความพยายามอยู่นานถึงจะมีเพื่อนรักสักคนหนึ่ง มองข้อดีของลูก เด็กรู้ตัวดีอยู่แล้ว เมื่อเขาทำความผิด ไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องไปตอกย้ำหรือบ่นพล่ามอะไรอีก แต่สิ่งที่เขาไม่แน่ใจคือ เวลาเขาทำความ ดีหรือทำบางสิ่งบางอย่างถูกต้อง คุณจะมองเห็นความดีนั้นหรือไม่ สาระสำคัญรวบรวมจากหนังสือ101WAYS TO BOOST YOUR CHILD'S SELF-ESTEEM เขียนโดย ดร อัลวิน เอช ไพรซ์ และ เจย์ เอ แพร์รี่ ด้วยความปรารถนาดีจากคณะผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัดศรีสะเกษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #462 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 19:30:09 » |
|
จริงด้วยหละ แซงหน้าท่านเก๊าไปหนึ่งช่วงตัวแล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
เก๊า(24)
|
|
« ตอบ #463 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 19:38:27 » |
|
สวัสดีครับพี่ ป๋อง อ.เอ๋ มีความรู้ที่เป็นประโยชน์ ต่อชาว Web และบุคคลทั่วไป เยอะครับ สมควรแซงหน้าเป็นเซียนได้ครับ ผมมันเรื่อยๆเปื่อยๆครับพี่ ขอเป็นกองเชียร์เพื่อนๆดีกว่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #464 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 19:47:35 » |
|
แน่จริงเชียร์ JJ มาให้ได้สิครับ ตอนนี้เอาต้อใยหินมาอ้างอีกแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #465 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 09:23:40 » |
|
ขอบอกว่าพึ่งเห็นคำว่าเซียนเช้านี้จริงๆค่ะเมื่ออ่านข้อความของเก๊า วันๆคุยกับเพื่อนมีความสุขและทำงานนู่นนี่ไปด้วยแป๊ปๆหมดวัน ยังไงก็ขอบคุณเก๊ามากค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #466 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 09:25:10 » |
|
สวัสดีค่ะพี่ที่แวะมา มีอะไรเสนอแนะ น้อมรับฟังหมดนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #467 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 11:23:37 » |
|
เรื่องที่ 45 วิธีช่วยให้เด็กฉลาด ปลูกฝังทัศนคติเรื่องเพศที่ถูกต้อง การสอนเรื่องเพศให้ลูกเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนการสอนเรื่องอื่นๆในชีวิต แต่ขอให้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่พ่อแม่จะบอกลูกว่า ลูกมีความ หมายมากเพียงใด และพ่อแม่ยินดีมากแค่ไหนที่มีเขาอยู่ในครอบครัวด้วย และเหนือความยินดีก็คือ พ่อแม่มีความสุขมากที่มีลูกอยู่ด้วย บาง ครั้งพ่อแม่อาจรู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะพูดคุยเรื่องเพศกับลูก ดังนั้นขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามดังนี้ พูดความจริง ขอให้พูดถึงเรื่องเพศอย่างเป็นปกติธรรมชาติที่สุด และอย่าพยายามยัดเยียดความรู้ความเข้าใจทั้งหมดด้วยการพูดเพียงครั้งเดียว ค่อยๆอธิบาย ค่อยๆตอบคำถามของลูกให้กระจ่างทีละน้อยอย่างตรงไปตรงมา และก่อนที่ลูกจะรู้ตัวว่าสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง คุณอาจเตรียมคำตอบไว้พร้อม แล้วก็ได้ คุณต้องมีทัศนะที่ดีต่อเรื่องเพศก่อน ถ้าคุณมองว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องเลวร้ายน่าอาย ลูกย่อมได้รับทัศนะเช่นนั้นจากคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นถ้าคุณรู้สึกกระดากที่จะพูดถึงเรื่องนี้ ขอให้บอกลูกตรงๆเลยว่าคุณรู้สึกอึดอัด แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวคุณ ไม่ใช่เนื้อหาของเรื่องนี้ หาโอกาสสอนจริยธรรมเรื่องเพศให้ลูกบ้าง พูดคุยกับลูกให้เขารู้ว่าคุณคาดหวังอะไรจากเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งการพูดคุยกันอย่างเปิดอกเช่นนี้ จะช่วยสร้างสรรค์ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ให้ลูกได้ ภาพจาก dek-d.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #468 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 11:43:19 » |
|
สยุมพร ส่งสาระความรู้และรูปสวยๆถึงเอ๋ทางเมล์เป็นระยะๆ ขอบคุณเพื่อนมาก อยากให้หยุมออกมาคุยกับเพื่อนๆบ้างนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jacky
|
|
« ตอบ #469 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 12:25:32 » |
|
-ขอแชร์นะท่านครู...เคยแทรกไปตอนนากริส ถล่ม เจอหางเลขด้วย เพราะฉะนั้นท่านเข้าตอนพายุสงบ ถูกต้องแล้วครับครู... มีหยิน ก็ต้อง มีหยาง เจอมากะตัว เหมียนกันเลย ข้อคิด... "ความเป็นห่วงคือความเป็นห่วง แต่การ approach เข้าหาเด็ก ต้องมีเทคนิค" ไม่งั้น กลายเป็นเรื่องที่เด็กคิดตรงกันข้ามเลยเนาะครู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงทำงาน อย่างมี ความสุข แต่อย่าหลงไปมีความสุขที่ได้อยู่กับงาน
|
|
|
jacky
|
|
« ตอบ #470 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 12:28:13 » |
|
จอร์จ....บักสน เกือบเมตริกซ์ ร้อยเปอร์เซนต์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงทำงาน อย่างมี ความสุข แต่อย่าหลงไปมีความสุขที่ได้อยู่กับงาน
|
|
|
พัช 24
|
|
« ตอบ #471 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 12:47:40 » |
|
ขอเสริมค่ะ จริง ๆ แล้วไม่ใช่เพียงเป็นการขัดอารมณ์(ซึ่งจริง ๆ ไม่ควรเป็นอารมณ์)ของผู้ใหญ่ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ แต่จะเป็นการเสียการปกครองด้วย พ่อกับแม่จะเอาอย่างไรควรไปทิศทางเดียวกัน ไม่งั้นลูกจะสับสนว่าอะไรควรหรือไม่ควรกันแน่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #472 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 19:46:08 » |
|
ขอบคุณเพื่อนๆที่ร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #473 เมื่อ: 15 มกราคม 2552, 09:30:09 » |
|
(ต่อ) ช่วยให้ลูกรู้จักเข้าสังคม พ่อแม่จะช่วยลูกเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างไร ช่วยให้ลูกได้เข้าชั้นเรียนที่เขาชอบ ช่วยให้ลูกได้เข้าร่วมทีมกีฬาที่เขาสนใจ แนะนำให้ลูกชวน เพื่อนมาเล่นที่บ้าน เต็มใจให้ลูกไปเล่นที่บ้านเพื่อน การที่เด็กมีความรู้สึกว่าเป็น"ส่วนหนึ่ง"ของอะไรบางอย่างนั้น มีความสำคัญต่อพัฒนา การของเด็กเป็นอย่างยิ่งเพราะช่วยให้เขาเรียนรู้การเข้าสังคมจากหลายๆแง่มุมหลายๆสถานภาพ และได้เก็บเกี่ยวเอาไว้เป็นประสบการณ์ ของชีวิต ช่วยให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตนเอง จงช่วยแนะนำให้ลูกเข้าใจปัญหานั้นอย่างถ่องแท้ เพื่อให้ลูกสามารถหาข้อสรุปหรือทางแก้ปัญหาของเขาเอง วิธีนี้จะเป็นการช่วยสร้างสรรค์ ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองให้ลูก ลูกจะรู้สึกว่าคุณมองเขาในฐานะคนที่มความสามารถและขณะเดียวกันคุณก็เห็นว่าปัญหาของเขามีความ สำคัญสำหรับคุณ หาแบบอย่างให้ลูก ลูกเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกต ถ้าเขามีแบบอย่างที่ดี เขาย่อมเลียนแบบและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ดี คุณจะทำอย่างไร ถ้าในบ้านไม่มีแบบอย่างที่ต้องการ เด็กชายที่ไม่มี"ผู้ชาย"คอยเอาใจใส่ดูแล มักจะตกอยู่ในสภาวะที่ไม่ค่อยดีนัก เขามักจะลังเลไม่แน่ใจ เมื่อต้องเข้ากลุ่มเกี่ยวข้องกับเด็กชาย อื่นๆ แน่นอนที่สุด เด็กหญิงก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ ถ้าในบ้านไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องวิตกเพราะยังมีแบบอย่างที่ดีในที่อื่นๆอีกมากเช่น พ่อแม่ของคุณ นักกีฬาในชุมชนของคุณ เพื่อนบ้าน ผู้คนในแวดวงการศึกษา พ่อแม่ควรระลึกไว้ว่า พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกก่อนใคร ภาพจาก classified.sanook.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #474 เมื่อ: 15 มกราคม 2552, 10:21:39 » |
|
(ต่อ) ปล่อยให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง อย่าพยายามให้ลูกเป็นเครื่องถมช่องว่างในชีวิตของคุณ อย่าใช้ลูกเป็นเครื่องชดเชยความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองที่ขาดหายไปของคุณ จง ปล่อยให้ลูกเป็นตัวของตนเอง พ่อแม่คนใดที่รู้สึกว่า ตนเป็นคนไม่เอาไหน ไม่มีอะไรดีเลย ควรพยายามสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองให้เกิด ขึ้นแก่ตน โดยการมองหาข้อดีของตัวเอง ถ้าทำได้เช่นนี้แล้ว ในที่สุดพ่อแม่จะไม่จำเป็นต้องอาศัยลูกเป็นเครื่องชดเชยอีกต่อไป ตัวพ่อแม่เอง นั่นแหล่ะจะเป็น"ฝ่ายให้"ในสิ่งที่ลูกขาด หลีกเลี่ยงการดูแคลนลูก จิตใจของคนเราเปราะบางนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตใจของเด็ก ซึ่งผูกพันกับคำพูดและการกระทำของพ่อแม่อย่างลึกซึ้ง เมื่อพ่อแม่ดูแคลนลูก จึงก่อให้เกิดผลลัพธ์กับลูก2ประการ ลูกอาจเป็นเด็กที่มีสภาพจิตใจเข้มแข็งมากพอที่จะ"ปฏิเสธ"ตำพูดดูแคลนของพ่อแม่ได้ แต่คำพูดนั้นก็จะยังมีผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ กับลูกห่างเหินหรือมีช่องว่างมากขึ้น หรือลูกอาจจะยังไม่เป็นตัวของตัวเองมากพอ จึงเชื่อตามคำพูดดูแคลนนั้น และความเชื่อนั้นจะมีผลให้ ลูก"ปฏิเสธ"ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของลูก ให้รางวัลความดีทันที เด็กควรเติบโตด้วยความรักความเอาใจใส่ พวกเขามีความสุขที่ได้ทำให้พ่อแม่พอใจ พ่อแม่จะช่วยไม่ให้ลูกน้อยสูญเสียความรู้สึกภาคภูมิใจใน ตนเองได้ ด้วยการให้รางวัลความดีทันทีที่เห็นเขาทำสิ่งต่างๆได้ดีได้ถูกต้อง พึงระลึกไว้ว่ารางวัลต้องตอบแทนทันที แล้วเมื่อนั้นความรู้สึก ภาคภูมิใจในตนเองของลูกจะบังเกิดขึ้น เพราะลูกรู้ว่าเขาควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับคุณ ภาพจาก my1.dek-d.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|