เรื่องที่ 18 ความเอ๋ย ความรัก
นักจิตวิทยาชื่ออีริค โฟรมม์ ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า เรามักจะสอนให้"ถูกรัก"โดยคนอื่น แต่ไม่ค่อยจะสอนให้"รัก"คนอื่น เรา"รัก"คนอื่น
ทั้งในและนอกครอบครัวเป็นหรือเปล่า? สังคมหรือประเทศคงจะมีแต่คนที่คอยให้คนมารักก่อน แล้วค่อยรักคนอื่นตอบ
อีริค โฟรมม์ กล่าวถึงลักษณะ4ประการของพฤติกรรมที่แสดงความรักคือ
1) ต้องเอาใจใส่ดูแลและเอื้ออาทรต่อกัน (care ) ครอบคลุมถึงความเป็นอยู่ทุกอย่าง สุขภาพ อาหารการกิน ชีวิตประจำวัน การเล่าเรียน
ของลูกหลาน ความสะอาด การใช้จ่ายเงินทอง การเดินทางไปทำงาน ไปรร หรือไปธุระ รับรู้ความสุขความทุกข์ เป็นต้น การเอาใจใส่ดู
แลและห่วงใยควรเป็นความจริงใจ ไม่เสแสร้งกระทำ และไม่กระทำมากเกินไปจนกลายเป็นการจุกจิกจู้จี้ และล่วงล้ำสิทธิส่วนตัวจนเกิด
ความรำคาญขึ้นมา
2) ต้อง"รู้จักคนที่เรารัก" (knowledge) หมายความว่าถ้าเรารักใคร เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้นั้น เพราะชีวิตของแต่ละคนเป็นวิวัฒนา
การเต็มไปด้วย ความเปลี่ยนแปลงและไม่อยู่กับที่ เราจึงต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ตลอดเวลา เฉพาะอย่างยิ่งกับลูกๆที่เปลี่ยน
แปลงมากมาย เราทุกคนจะต้องปรับความรู้นี้ให้ตามกันด้วย เพื่อช่วยในการที่จะมีพฤติกรรมตอบสนองต่อกันและกัน
3) ต้องเคารพกันและกัน ( respect ) หมายความว่าให้ความเคารพนับถือกันและกัน ให้เกียรติกันและกัน เป็นการเคารพที่มาจากใจ เคารพ
ในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีความเกรงใจกัน
4) ต้องมีความรับผิดชอบ ( responsibility ) คือการสอนลูกชี้แจงถึงความถูกต้องและไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นต้นแบบที่ไม่ดี แสดงถึงความ
ไม่รับผิดชอบ การเมินเฉยละเลยไม่ทักท้วงต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้องก็เป็นการไม่รับผิดชอบ ความรักน่าจะแสดงได้ด้วยพฤติกรรมใดอีก
1) ต้องมีความไว้ใจกันและกัน ( trust ) คือต้องให้ครอบครัวเป็นรากฐานแห่งความวางใจทั้งทางกายและทางใจ ครอบครัวจะต้องรู้สึกว่า
"สบาย ไร้กังวล หรือเป็นที่พึ่งพาได้" ครอบครัวที่สมาชิกต่างแข่งขัน แย่งชิงกัน ทะเลาะกัน ปรึกษากันไม่ได้ อย่างนี้ความสัมพันธ์ภายใน
ครอบครัวก็จะมีแต่ทางลบ ดังนั้นความไว้วางใจกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ และจะเพิ่มความรักความอบอุ่นในครอบครัวได้มาก
2) ต้องให้กำลังใจกันและกัน เป็นการให้"พลัง" ต่อกันเพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุข และเพื่อต่อสู้อุปสรรคต่างๆในการดำรงชี
วิต การให้กำลังใจ อาจเป็นคำพูดร่วมด้วยท่าทางที่พร้อมจะสนับสนุนอยู่เสมอหรือเป็นการชมเชย
3) ต้องให้อภัยกันและกัน การรู้จักขอโทษเป็นพฤติกรรมที่สำคัญ แต่ความรักนั้นส่วนหนึ่งก็คือการให้อภัย และในที่สุดต้องไม่จดจำความ
ผิดนั้น ครอบครัวก็จะอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข
4) ต้องรู้จักสื่อสารในครอบครัว การสื่อสารมีทั้งรูปแบบที่ไม่ต้องใช้ภาษา เช่นท่าทาง อิริยาบถต่างๆ การพูด และการเขียน การสื่อสารต้อง
ตั้งต้นด้วยการคิดดีต่อกันแล้วจึงสื่อสารให้ถูกต้องและถูกกาละเทศะ
5) ต้องใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพ ยุคนี้ครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันน้อย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร เพราะรถติดเป็น
สำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือโดยมากทั้งสามีและภริยาต้องทำงานนอกบ้าน ด้วยเหตุนี้จึงต้องให้ความเอาใจใส่เวลาที่อยู่ด้วยกันที่มีน้อยนิดให้
เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว อาจมีกิจกรรมร่วมกันเช่นไปสวนสาธารณะ รับประทานอาหาร ชมพิพิธภัณฑ์ ไป
เยี่ยมญาติฯ
6) ต้องมีการปรับตัวตามภาวะที่เปลี่ยนแปลงของบุคคลในครอบครัว ปรับตัวในฐานะที่เป็นตัวเองที่เปลี่ยนไป และในฐานะที่จะต้องสัมพันธ์
กับความเปลี่ยนแปลงของคนอื่น ไม่ว่าเรื่องของวัย ค่านิยม เจตคติ แนวคิด ความสามารถ ทักษะความรู้
7 ) ต้องรู้จักภาระหน้าที่ในครอบครัวและช่วยเหลือกันและกัน กำหนดบทบาท และหน้าที่ของแต่ละคนในครอบครัว
8 ) มีความใกล้ชิดทางสัมผัส ด้วยการกอดรัด โอบกอด เกี่ยวแขนหรือหอมแก้มในครอบครัว เป็นการแสดงความรักความอบอุ่นตามธรรมชาติ
ของคน ต้องออกมาจากใจจริงมิใช่เพื่อให้เป็นภาพลักษณ์ให้คนอื่นเห็น
emo9:huhu:ฉันรักคุณและจะรักตลอดไป
emo9:huhu:มีสิ่งใดทุกข์ใจไหม ฉันพร้อมที่จะรับฟังนะ
emo9:huhu:คุณเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี ฉันเชื่อเช่นนั้น
emo9:huhu:คุณเป็นภริยาและแม่ของลูกที่ดีเสมอ
emo9:huhu:เรามาจากครอบครัวคนละแบบกันแต่ก็ไม่เป็นปัญหา
emo9:huhu:เพราะเรามีความรักต่อกันก็ต้องปรับตัวเข้าหากันจนได้
ด้วยความปรารถนาดีจากคณะผู้พิพากษาสมทบศาลจังหวัดศรีสะเกษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว