churaipatara
|
|
« ตอบ #15000 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 11:45:53 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-และทัศนะแบบนี้เห็นว่าวิธีการรักษาแบบจิตบำบัดชนิดอื่นใช้หลักการมองพฤติกรรมปกติแบบผู้ชาย
ซึ่งไม่สามารถนำวิธีการเหล่านั้นมารักษาผู้หญิงได้ จิตบำบัดแบบสตรีนิยมจะเน้นเรื่องอำนาจ โดย -
การเน้นให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง และแสดงออกในการรักษาด้วยตนเอง..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15002 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 13:07:52 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-ผู้ป่วยมีบทบาทเท่าเทียมกับผู้รักษา ความคิดเห็นของผู้ป่วยจะได้รับการยอมรับและแก้ไขอย่าง-
เต็มที่ เหมือนกับเป็นความเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง ผู้ป่วยจะถูกกระตุ้นให้ถามผู้รักษาและท้า
ทายการบำบัดของผู้รักษาที่เธอสนิทพอสมควร..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15004 เมื่อ: 12 มีนาคม 2558, 13:13:33 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-นอกจากวิธีการรักษาที่แตกต่างออกไปแล้ว ผู้ป่วยยังได้รับการกระตุ้นเพื่อให้มองเห็นบทบาทของ
ความแตกต่างทางเพศที่สังคมกำหนดและเป็นเหตุให้เกิดปัญหาของผู้ป่วยขึ้น
-การรักษาแบบกลุ่มจิตบำบัด เช่น การบำบัดคู่สมรสและการบำบัดครอบครัว ..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15006 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558, 15:42:37 » |
|
สวัสดีค่ะ
พึ่งเคลียร์งานเสร็จ ก้อรีบเข้ามาทักทายกันค่ะ..ทุกคนสบายดีนะคะ ศรีสะเกษอากาศร้อนอบอ้าวมาก
วันนี้ศรีสะเกษจะเริ่มงานแสงสีเสียง ศรีพฤทเธศวร ณ.สวนสมเด็จฯ อ.เมือง ค่ะ
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15008 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558, 16:54:03 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-การรักษาโดยนำคู่สมรสทั้งสามีและภรรยา หรือพ่อแม่ลูก มาพบผู้รักษาพร้อมกันขณะทำการรักษา
แต่ละครั้ง / กลุ่มจิตบำบัด ผู้รักษาจะพบผู้ป่วยจำนวนหลายคนพร้อมกัน / กลุ่มบำบัดแบบประคับ -
ประคอง เน้นให้สมาชิกกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาจจะมีผู้นำกลุ่มหรือไม่มีผู้นำกลุ่มก็ได้ ..
งานของผู้พิพากษาสมทบจะพยายามค้นหาสาเหตุของการกระทำผิดของเยาวชนว่าเกิดจากตัวของ
เยาวชนเอง หรือจากครอบครัว การเลี้ยงดู หรือจากสภาพแวดล้อม เพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขและ -
ช่วยเหลืออย่างเหมาะสมค่ะ..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15010 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558, 17:02:49 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-จากการศึกษาผู้ป่วยหญิง76รายที่ป่วยด้วยโรคอารมณ์ซึมเศร้าและรักษาด้วยจิตบำบัดรายบุคคล
ร่วมกับยาแก้เศร้า ระหว่างการรักษาผู้ป่วยจะพูดแต่เรื่องปัญหากับสามีและผลการรักษาก็ไม่ดี ผู้-
ป่วยมีอาการกำเริบมากกว่ารายที่ไม่มีปัญหากับคู่สมรส ..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15012 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558, 17:07:31 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-จิตแพทย์ผู้นำด้านการให้การแนะนำครอบครัวในด้านโรคอารมณ์ผิดปกติ กล่าวว่าจำเป็นที่จะต้อง
ใช้การรักษาแบบการบำบัดคู่สมรส แม้ว่าอารมณ์ซึมเศร้าจะเกิดเฉพาะในผู้ป่วยคนเดียวเท่านั้น แต่
เห็นได้ชัดว่า โรคนี้จะก่อให้เกิดปัญหาแก่คู่สมรสหรือบุตรได้เช่นกัน อาจเกิดปัญหากับกันและกันได้
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15014 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558, 17:25:00 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-จิตบำบัดมีสองแนว เน้นมุมมองด้านประวัติการดำเนินชีวิต และเน้นมุมมองด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคล แนวทางที่เน้นประวัติการดำเนินชีวิตจะสนใจในเรื่องประวัติของการสมรสและประวัติครอบ-
ครัว เช่น ครอบครัวของคุณมีลักษณะการดำเนินชีวิตแบบไหน คุณจะทำอย่างไรจึงประสบความสำ-
เร็จอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15016 เมื่อ: 16 มีนาคม 2558, 16:16:20 » |
|
สวัสดีค่ะ
วันหยุดผ่านไปเร็วจังเลยนะคะ..วันนี้เอ๋ก้อทำงานสลับกับสอนภาษาอ.ลูกหลานของเจ้าหน้าที่ศาลฯ
มีความสุขดี เที่ยงก้อดูแลจัดสำรับอาหารสุขภาพให้พ.สมทบสี่ท่านรับทาน แป้ปเดวจะเลิกงานแล้ว..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15018 เมื่อ: 17 มีนาคม 2558, 15:35:00 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-ผู้รักษาจะให้ความสนใจว่าทำอย่างไรจึงทำให้สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทบางอย่างเช่น ลูกจะ-
ทำให้แม่ที่มีอารมณ์ซึมเศร้ามีอารมณ์ดีขึ้นได้อย่างไร ..นักจิตบำบัดในแนวทางนี้มักจะต้องมีพื้น -
ฐานความรู้และความเข้าใจในระบบครอบครัวอย่างดี ..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15020 เมื่อ: 17 มีนาคม 2558, 15:49:38 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
-ซึ่งหมายความว่าผู้รักษาจะต้องพยายามเข้าใจว่า ทำไมสมาชิกรุ่นก่อนของครอบครัวจึงถูกตัดออก
จากความสัมพันธ์หรือถูกดึงเข้ามาสู่ความขัดแย้งภายในครอบครัว ผู้รักษาจะต้องพยายามเข้าใจถึง
วิธีการที่ครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์กันและชี้ให้ครอบครัวเห็น โดยสอนให้หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กัน
แบบเดิมที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งต่อการดำเนินชีวิตของตน..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15022 เมื่อ: 20 มีนาคม 2558, 16:41:34 » |
|
สวัสดีค่ะ
เตรียมการล่วงหน้าเป็นเดือน วันนี้โครงการเพิ่มพูน-แลกเปลี่ยนความรู้ของคณะผู้พิพากษาสมทบ
ร่วมกับ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการลุล่วงไปด้วยดี ..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
|
« ตอบ #15024 เมื่อ: 20 มีนาคม 2558, 17:07:34 » |
|
คณะผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดทำโครงการเพิ่มพูน-แลก
เปลี่ยนความรู้ของคณะผู้พิพากษาสมทบขึ้นมาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๕๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้พิพาก
ษาสมทบและบุคลากรของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีโอกาสพูดคุย -..
|
|
|
|
|