22 พฤศจิกายน 2567, 22:42:29
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3 ... 5  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย  (อ่าน 63543 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2551, 10:13:55 »


เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ได้เขียนไว้ว่า " หลายๆประเทศในโลกนี้ เพลงชาติมาจากการปฏิวัติ การปฏิวัติเป็นการสร้างชาติ
 เพราะฉนั้น เพลงปฏิวัติก็เป็นเพลงชาติ ยกตัวอย่าง เช่นเพลงชาติฝรั่วเศส ก็มาจากการปฏิวัติของประชาชนนั่นเอง..."

วัฒน์ วรรลยางกูร " บทเพลงปฏิวัตินั้นงดงาม เพราะกลั่นจากความคิดที่ไม่เห็นแก่ตัว และปราถนาเห็นสังคสที่ดีงาม มีความเป็นธรรม จากจิตใจใสบริสุทธิ์
                    มุ่งที่จะให้โดยำม่หวั่นเกรงอำนาจอธรรมใดๆ  แม้ต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ยินดี
                    เพลงเหล่านี้จึงสมควรเก็บรักษาและเผยแพร่ต่อไป ในฐานะเพลงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางต่อสู้ของประชาชน
                แม้ศิลปินปฏิวัติบางคนได้จากไปแล้ว    ไม่มีสถานการณ์ที่ปฏิวัติแล้ว  แต่เพลงปฏิวัติไม่มีวันตายหรือเปลี่ยนแปลง  และยังคงงดงามตลอดไป
                          เพราะความคิดปฏิวัติที่อยู่ในเพลง  เป็นความคิดที่มีแต่ให้ และไม่ยอมจำนนนั่นเอง "
 

  คอลัมน์นี้เปิดขึ้นมาเพื่อนำเสนอ บทเพลง และเรื่องราว การปฏิวัติ และการต่อสู้ของประชาชน ในห้วงเวลา 2514-ปัจจุบัน

                   ใครสนเรื่องราวในอดีต ที่ไม่ค่อยได้มีการเผยแพร่ ก็ติดตามได้นะครับ
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #1 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2551, 10:28:08 »

ขอเริ่มต้นด้วยบทเพลง  ที่สอดคล้องกับเรื่องราวในปัจจุบัน


                         พิราบแดงแห่งเดือนตุลา
 
ลมหนาวพัดโชยแผ่ว    ดุจดังสายลมตุลาสะท้านปลุกความหลัง
ให้ทวนรำลึกถึงพิราบน้อยเคลื่อนคล้อยจากรัง
เหินบินสู่ความหวัง เสรีสิทธิ์อิสรา
เพราะในฤทัยโศกศัลย์ เพื่อนถูกประหารชีวันแค้นคลั่งหนักหนา
พิราบแดง  แดงด้วยเลือดของเดืนตุลา
เพื่อนจึงพรากจากไกล สู่ห้วงนภาฟ้ากว้างแสนไกล
พิราบแดงเหินฟ้า ฝ่าพายุโหม  ไม่หวั่นคลื่นลม มุ่งสู่ป่าใหญ่
เพื่อกอบกู้เอกราชอธิปไตย สู่เส้นทางใหม่  ทางสู่ชัยไทยสมปอง
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #2 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551, 10:58:51 »

 ไม่น่าเชื่อว่า เหตุการณ์ 14ตุลา 6 ตุลา ที่ผ่านพ้นเกือบ 40 ปี จะหวนกลับมาเกิดขึ้นอีกในแผ่นดินไทย ในวันที่ 7 ตุลา 2551 เพียงแต่เปลี่ยน จากทหาร มาเป็นตำรวจ ที่ผ่านมารัฐบาลทหารปราบปราม ประชาชน พอเข้าใจได้ แต่ในโลกดิจิตอล รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ที่เขาอ้างว่า เป็น ประชาธิปไตย
แล้วมาเข่นฆ่า ประชาชน กลางเมืองหลวง และยังลอยหน้าลอยตา นั่งเฉยๆ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในการนี้เลย
 เหตุการณ์ 7 ตุลา ผมเสียใจมาก น้ำตา มันไหลออกมาเอง เหมือนทำนบพัง เพราะไม่เคยคิดว่า จะมีเหตุการยิงลูกหลาน คนรุ่นใหม่ ล้มตายกลางถนน ผม ไม่ต้องการให้ คนรุ่นหลังต้องเดือดร้อน เจ็บปวดสูญเสีย เหมือนที่คนรุ่นผมประสบมา ทั้งนี้ ก็เพราะความเห็นแก่ตัว ของนักการเมืองเลวๆที่เห็นแก่ตัวไม่กี่คน


    บทเพลงปฏิวัติ ได้ทำหน้าที่ บันทึก ซึมซับ สะท้อน หลอมรวมเรื่องราว อันควรจดจำ เทิดทูน ภาคภูมิ เชื่อมั่น ไว้ในบทเพลงอย่างหลากหลาย แม้จะไม่สมบูรณ์ รอบด้าน เพราะข้อจำกัดหลายประการ แต่ก็ได้สะท้อน ลักษณะเฉพาะทางศิลปะประจำชาติ และรสนิยมแห่งมวลชนตามความเป็นจริงอย่างแท้จริง
    และนี่คือเพลงที่สะท้อนเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 อย่างชัดเจน และมันก็คล้ายคลึง เหตุการณ์ 7 ตุลา 51 เช่นกัน

                             จากลานโพธิ์ ถึงภูพาน   ประพันธ์ โดย วัฒน์ วรรลยางกูร

              ดินสอโดมธรรมศาสตร์เด่นสู้ศึก        ได้จารึกหนี้เลือดอันเดือดดับ
           หกตุลาเพื่อนเราล่วงลับ                 มันแค้นคับเดือดระอุอกคุไฟ
          เรามีเพียงมือเปล่ามันล้อมปราบ    ระเบิดบาปกระสุนบ้ามาสาดใส่
         เสียงเหมือนแตรงานศพซบสิ้นใจ      สนามหญ้าคลุ้งกลิ่นไอคาวเลือดคน
         มันตามจับตามฆ่าล่าถึงบ้าน        สร้างหลักฐานเข้าคามคุกทุกแห่งหน
        เราอดทนถึงที่สุดก็สุดทน               จึงเปลี่ยนหนทางสู้ขึ้นภูพาน

                อ้อมอกภูพานคือชีวิตใหม่        คือมหาวิทยาลัยคนกล้าหาญ
               จะโค่นล้มไล่เฉดเผด็จการ         อันธพาลอเมริกาอย่าหวังครอง ( สมัยนั้น อเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพในไทย เพื่อรบกับ คอมมิวนิสต์
                                                                                 ในเวียตนาม เขมร ลาว และแทรกแซงกิจการในไทย  )

           สู้กับปืนต้องมีปืนยืนกระหน่ำ
            พรรคชี้นำตะวันแดงสาดแสงส่อง
          จรยุทธนำประชาสู่ฟ้าทอง
         กรรมาชีพลั่นก้องอย่างเกรียงไกร                       ( กรรมาชีพ หมายถึง ชนชั้นที่ใช้แรงงาน ก็คือ กรรมกร นั่นเอง )

            ในวันนี้ ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์ อาจเงียบหงอย

           ก็เพียงช่วงรอคอยสู่วันใหม่

           วันกองทัพประชาชนประกาศชัย

           จะกลับไป กรีดเลือดพาล  ล้างลานโพธิ์         ( สมัยนั้น ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์ จะเป็นสถานที่ ที่เป็นแหล่งชัมนุมการต่อสู้ของนักศึกษา
                                                            เหมือน สพานมัฆวาน ถนนราชดำเนิน ในสมัยนี้ )
      --------------------------------
           

บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551, 15:25:45 »

ไปอ่านพบบทสัมภาษณ์ของ วัฒน์ วรรลยางกูร  ถึงที่มาที่ไปของเพลง จากลานโพธิ์ถึงภูพาน จึงขอนำมาแปะไว้

เรื่องราวที่คุณวัฒน์ วรรลยางกูร บันทึกไว้ในหนังสือ โครงการบันทึกและเผยแพร่ประวัติศาสตร์งานเพลงปฏิวัติ……….


 "ขณะที่เขียน น่าจะเพิ่งผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา มาได้สัก 10วัน อารมณ์มันจึงระอุคุกรุ่น
ด้วยถ้อยคำแรงๆ อย่าง
…..’มันตามจับตามฆ่า ล่าถึงบ้าน    อ้างหลักฐานตามประสาสัตว์หน้าขน’….
เนื้อความตอนนี้พอไปบันทึกเสียงเขาเปลี่ยนเป็น
…..’อ้างหลักฐานจับเข้าคุก ทุกแห่งหน’……(ฉบับวง66)
…..’อ้างหลักฐานเข้าคุกคาม ทุกแห่งหน’….(ฉบับ สปท.)

ผมใช้เวลานั่งเขียนกลอนนี้ไม่นานก็เสร็จความยาว 6บท(24วรรค)
ไม่ใช่เก่งหรอก
เขียนไม่นานเพราะมีอารมณ์ มีแรงบันดาลใจรุนแรง
และเขียนไม่นานเพราะคิดมานานก่อนลงมือเขียน ……
อย่างไรผมก็ต้องเขียนเรื่องนี้ไว้ฟ้องร้องมนุษยชาติให้ได้

อ่านกลอนที่ทับจรยุทธ์วันนั้น
ผมได้ยินสหายร้องไห้อยู่ในความสลัวของแสงตะเกียงกระป๋อง
เพราะสหายแถบเขตส่องดาวสว่างแดนดินต่างก็ผ่านการถูกปราบปรามเข่นฆ่า
มาตั้งแต่สมัยปราบปรามครูครอง จันดาวงศ์
เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา ไม่ได้ห่างไกลจากประสบการณ์ตรงของเขาในอดีต
จากนั้นผมกับเพื่อนถูกนำส่งไปยังทับใหญ่ของเลขาธิการจังหวัด
….ผมมาอยู่ทับเลขาจังหวัดอย่างปลอดโปร่งขึ้น ไม่ต้องคอยเลื่อนตัวตามเงาไม้อย่างในทับจรยุทธ์…
ระหว่างนั้นมีคณะจากในเมืองทยอยเข้ามา
ประกอบด้วย สมคิด สิงสง,สมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย,ศรีศักดิ์ นพรัตน์,สุรสีห์ ผาธรรม,
บรรยากาศคึกคักขึ้นทันตาเห็น ว่าไปคณะนี้สถานะเกินวัยนักศึกษา
เป็นรุ่นสมาชิกพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยมากกว่า

อยู่วันๆยังไม่มีภารกิจอะไร
ผม ก็นั่งเขียนกลอนเขียนบันทึกแล้วก็พิมพ์กลอนด้วยพิมพ์ดีดของสหายพิชิต เอามาให้สหายผู้มาใหม่ได้อ่าน สุรสีห์ ผาธรรม เป็นคนหนึ่งที่ได้อ่านแล้วไม่รู้ว่ามีอะไรมาดลใจ ให้อ่านๆไปเขาก็ฮัมบทสุดท้ายออกมาเป็นเพลง


“ในวันนี้…ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์อาจเงียบหงอย” ไปจนถึง “จะกลับไป กรีดเลือดพาล ล้างลานโพธิ์”คุณสุรสีห์ก็คงจะงงตัวเองเหมือนกันว่าอะไรมาดลใจให้ฮัมทำนอง นั้นออกมาเพราะโดยปกติอาชีพท่านคือพากย์หนัง  ไม่ใช่ชำนาญพิเศษด้านดนตรีแต่อย่างใดจากการนั่งสนทนากัน  คุณสุรสีห์รู้สึกว่ากลอนชิ้นนี้ น่าจะเป็นเพลงที่ไพเราะได้ น่าจะเคาะทำนองดู

12 วัน ที่ผมเดินไป คิดไป ไล่ทำนองไป จนกลอนกลายเป็นเพลงตั้งแต่ต้นจนจบ 6 บท นับเป็นเพลงที่ยาวมาก ทำนองช้ามากผมก็เลยปรับเปลี่ยนท่อนกลางเป็นทำนองมาร์ช ให้คึกคักสมกับความรู้สึกว่า อ้อมอกภูพานคือชีวิตใหม่…

……เคยไปได้ยินเพลงนี้ตามผับเพื่อชีวิตบ้าง บางทีก็แทบจำไม่ได้ เพราะคนร้องไล่ทำนองตามใจตัวเอง
…ในแง่สปิริตของศิลปินเพลง เขาไม่ทำกันครับต่อบทประพันธ์เพลง ไม่ว่าต่อเพลงของใคร

เพลง  “จากลานโพธิ์ถึงภูพาน”
ที่คนในเมืองฟังแล้วเกิดความรู้สึกว่ามันเป็นเพลง  “จาก(คนที่)ภูพานถึง(คนที่)ลานโพธิ์”
ก็รู้สึกได้เหมือนกัน

… เพลงเหล่านี้กลายเป็นบทเพลงของประวัติศาสตร์  ครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เพลงจะทำหน้าที่เล่าเรื่องราวต่อไปไม่ว่ากี่สิบปีหรือกี่ร้อยปี ดุจเดียวกับชั้นหินหรือฟอสซิลที่บันทึกร่องรอยไดโนเสาร์หรือซากเปลือกหอยเอา ไว้ให้คนรุ่นหลังได้มาเห็นและรับรู้

สำหรับตัวศิลปิน ช่วงชีวิตหนึ่งเขาได้มา ได้ทำ และเขาก็จากไป
วิเศษนักแล้วหากได้ทิ้งร่องรอยไว้ในชั้นหินหรือซากฟอสซิลไว้บ้างสักเล็กน้อย

วัฒ น์ วรรลยางกูร เล่าว่า : "ส่วนกลอนเพลงดินสอโดมธรรมศาสตร์เด่นสู้ศึก ผมอยากจะสรุปว่ามันเป็นกลอนหรือเพลงประเภท 'ผีจับยัด' คือสถานการณ์ต่างๆ เป็นใจให้เกิดขึ้น บอกเล่าในวาระทบทวนความจำ 6 ตุลา ครบ 25 ปี ไม่มีความรู้สึกโอ่โถงใดๆ ทั้งสิ้น (เพราะหลายต่อหลายคนได้เสียสละมากมายก่ายกองเกินเปรียบเทียบ) ว่าเริ่มแรกดินสอโดมเป็นบทกลอนที่ผมเขียนในราวกลาง - ปลาย

เดือน ตุลาคม 2519 ในเขตจรยุทธ์ แถบภูซากลาก ภูเตี้ย แถบชายป่า   อำเภอส่องดาว สกลนคร เป็นช่วงเวลาที่พักรอคำตอบจากฝ่ายป่าว่า จะเอาอย่างไรกับคนไม่มีหัวนอนปลายตีนอย่างเรา ที่กระเซอะกระเซิงไปพึ่งเขาโดยไม่ได้ติดต่อหรือรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน อันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นเพราะการจะรับใครเข้าไปอยู่ด้วยก็ต้องตรวจสอบ


ระหว่าง การรอคอยอันน่าเบื่อนั้น สหายนักรบลูกหลานชาวนาก็มักจะถามไถ่ว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร และให้ไปเล่าต่อหน้าที่ชุมนุมนักรบทหารป่า ผมเป็นคนที่พูดไม่เก่ง ไม่ใช่นักไฮปาร์ก ก็เลยใช้วิธีเขียนกลอนบอกเล่าแทนระหว่างนั้น คณะของสมคิด สิงสม (ผู้เขียนเพลงฅนกับควาย) ก็เดินทางมาเจอกันโดยมิได้นัดหมาย เขาก็คงมาจากหมู่บ้านซับแดง ขอนแก่น ในคณะของสมคิด ก็มีผู้ที่มาหลบภัยเผด็จการเป็นการชั่วคราว คือ ศรีศักดิ์ นพรัตน์ และสุรสีห์ ผาธรรม


ผมจัดการขอใช้พิมพ์ดีดของจัดตั้ง เป็นเลขาฯ จังหวัด (เทียบเท่าตำแหน่งผู้ว่าฯ) พิมพ์กลอนใส่กระดาษคาร์บอนก๊อปปี้แจกจ่ายให้คณะของสมคิดอ่าน พอสุรสีห์อ่านแล้วเขาก็บอกว่าในกลอนนั้นมีท่วงทำนองไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ น่าจะแปลงเป็นเพลงได้ แล้วเขาก็ลองฮัมเป็นตัวอย่างตรงท่อนสุดท้ายที่ว่า 'ในวันนี้..ลานโพธิ์ธรรมศาสตร์อาจเงียบหงอย'

……..ขอบคุณครับ  วัฒน์ วรรลยางกูร ……."
บันทึกการเข้า
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #4 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551, 21:26:03 »

   
  ขอบคุณมากน้องยังชิน ที่ช่วยเติมเต็ม ข้อมูล และเบื้องหลัง ของ เพลง จากภูพาน ถึงลานโพธิ์
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #5 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551, 22:18:39 »


                 มีเพลงอีกเพลงหนึ่งที่ร้องกันมาตั้งแต่ หลัง 14 ตุลา 16 แต่เนื้อ ก็ยังไม่เก่า และสอดคล้องกับสภาพบ้านเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
ทำให้ต้องทึ่งกับความสามารถของผู้แต่งเพลงนี้ ถ้าจำไม่ผิด ก็น่าจะเป็นเพลงของวง คาราวาน นั่นเอง

                      เพลง มารครองเมือง

   อยู่กลางไพรมันไร้เงินตรา  อยู่กลางนาข้าวปลาไม่ได้ทำ 
   ฝนฟ้าแล้งทุ่งแดงเป็นไฟ   เหลียวมองทางไหน  ในเมืองไทยช่างเหมือนกัน
  ข้าวปลูกข้าวพันธุ์เมื่ออดกันต้องใช้กิน  มันไม่มีกิน หนี้สินเต็มตัว
   อดกันแท้หนอ  ข้าวโพดปอก็แห้งตาย  การพนันมากหลาย โจรผู้ร้ายก็มากมี
       ส่อนสาหากินอยู่กับโคลน หม่นหมองมองไปก็หน้าดำ เป็นอยู่อย่างนี้ประจำ คนสร้างคนทำมาย่ำอยู่กับความจน

สุดระกำทนช้ำมานาน  รัฐบาลไม่เคยเหลียวแล ได้แต่ร้องว่าให้สามัคคีกัน
แต่ปล่อยพวกใครนั้นมาฆ่าฟันประชาชน
             ชอบหลอกชอบลวง                 ทวงถามก็บิดเบือน ชอบถ่วงชอบเลื่อน ผันเดือนผันปี
        เก็บดองเข้าไว้   ใครใครก็รู้ดี  พอหมดทางที่จะหนี มันปลุกผีขึ้นปราบปราม

           โลกหมุนก้าวไป เมืองไทยกำลังจะก้าวตาม สังคมที่แสนงาม จะเกิดทั่วแผ่นดินไทย

   จะอดจะกลืนทนฝืนอยู่ทำไม    จะต้องเข้าใจว่าใครคือตัวมาร

       มาเถิดพี่น้องจะร่ำร้องกันอยู่นาน   มาชูปืนขึ้นประสาน   โค่นพวกมารที่ครองเมือง

         0000000000000000000000000000000000000000000
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #6 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2551, 14:43:27 »

มีเพลงอยู่เพลงหนึ่ง เป็นเพลงที่ไพเราะมาก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องร้องที่งดงามในเชิงกวี เนื้อหาสาระ ที่ให้กำลังใจ เพิ่มพลังปลุกเร้า ให้ต่อสู้ ไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรค ทำนองก็แสนจะซาบซึ้งตรึงใจ นักต่อสู้เพื่อมวลชน จะยึดถือเป็นเพลงประจำใจ ไม่ว่าในยามท้อถอย หรือ การร้องเพื่อความรื่นเริง
ต่อมาเพลงนี้ ก็มาดังกระหึ่ม บนเวที พันธมิตร ข่าว เป็นเพลงโปรด ของท่านมหาจำลอง ที่วง คีตาญชลี นำมาขับขาน ด้วยน้ำเสียงที่สุดแสนไพเราะของเธอ
และที่เสียใจ อย่างยิ่ง ที่ เวที นปก. ดันนำเพลงนี้มาร้องซะด้วย คงเป็นเพราะ อดีตคนที่เคยต่อสู้สมัย 14 ตุลา เช่น อดิสร จตุรนต์ อะไร พวกนี้ นำมาให้ร้อง   คิดแล้ว เสียดายเพลง ถ้า จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นคนแต่งเพลงนี้ รู้เข้า คงเสียใจน่าดู

                    แสงดาวแห่งศรัทธา   
                                      ประพันธ์ โดย จิตร ภูมิศักดิ์

                                          พร่างพรายแสงดวงดาวน้อยสกาว
                                   ส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล
                                  ดั่งโคมทองส่องเรืองรุ้งในหทัย
                              เหมือนธงชัยส่องนำจากห้วงทุกข์ทน

                                              พายุฟ้าครืนข่มคุกคาม
                                               เดือนลับยามแผ่นดินมืดมน
                                        ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน
                                  ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย

                                    ขอเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
                               คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
                          แม้ผืนฟ้ามืดดับเดือนลับละลาย
                      ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน
 
                      ดาวยังพรายอยู่จนฟ้รุ่งราง

                        @@@@@@@@@@@@@@@@@@

           

                           
                      ดาวยังพรายอยู่จนฟ้ารุ่งราง
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #7 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2551, 12:47:49 »



                       ขอส่งบทเพลงนี้ มาเป็นกำลังใจ แก่ชาวพันธมิตรในการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่
                                ไม่มีความลำบากอันใดเลย
                                 ที่ได้เคยขวางกั้นเราเอาไว้
                                     ขอแต่เพียงยืนหยัดสู้เข้าไป
                               นั่นคือชัยเราหมายจะได้มา
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #8 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2551, 21:22:42 »

ขออภัยถ้าไม่สุภาพ...+++

ตอนนี้ผมโคตรตลก ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดี? เมื่อพวกคนบางกลุ่มที่เคยเรียกตัวเองว่าเป็น คนเดือนตุลาฯ ในช่วงนั้น พอได้เข้ามามีอำนาจในพรรคการเมืองบางพรรค ก็มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิ ใช้ความรุนแรง ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ไม่ต่างกับชนชั้นนำที่ตัวเองเคยวิพากษ์วิจารณ์เอาไว้เมื่อหลายสิบปีก่อน?

ผมเคยร้องเพลง บินหลากู้เสรี(ที่ไอ้จิ้นกรรมาชนมันแต่ง) ตอนออกค่ายอาสาพัฒนาเมื่อหลายปีก่อน
ตอนนี้บอกตรงๆว่าสะอิดสะเอียนสุดๆ...เพราะมันเข้าไปเป็นแนวร่วมพิทักษ์อำนาจของพวกทักกี้
ยกแก๊งค์ไปตะโกนด่าทอป๋าเปรมหน้าบ้าน ทั้งที่นั่นคือการหมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิมนุษย์ชนเห็นๆ(ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นองคมนตรีหรือชาวบ้านธรรมดาก็ตาม)
วีระ มุสิกพงษ์ หรือ หมอสุรพงษ์ หันไปสอพลอกับป๋าหมัก(ก่อนหน้านี้) เพื่อผลประโยชน์ของพวกตัวเอง
ทั้งที่เคยด่าทอกันแทบเป็นแทบตายมาก่อน(ป๋าหมักเคยออกวิทยุยานเกราะ ปลุกระดมกลุ่มกระทิงแดง)

เพราะเหตุนี้แหละ ทำให้ผมไม่ค่อยรู้สึกเกลียดจอมพลถนอม หรือเผด็จการทหารยุคก่อน เท่าไหร่
หลังจากที่เคยโดนวาทกรรมของพวกเอียงซ้ายเป่าหูมานาน ว่าแกไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้
เพราะทักกี้(ที่พวกคนเดือนตุลาบางคนนับถือ) ยังแสบกว่าจอมพลถนอมเสียอีก!
(อย่างน้อยจอมพลถนอม ยังมียางอายมากกว่า แกยอมลาออกเมื่อเกิดจลาจล)
บันทึกการเข้า

...
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #9 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2551, 21:36:23 »

ไอ้พวก นปก.ไม่ว่าอีเพ็ญ? ไอ่วีระ? ไอ้เหวง? หรือไอ้จิ้นกรรมาชน? พวกสหายที่อยู่ฝั่งทักกี้...
อ้างว่าเกลียดพลเอกเปรม เพราะเป็นตัวแทนของอมาตยาธิปไตย?
อ้าว? แล้วไอ้หมัก ที่พวกเมิงสอพลอกัน(ก่อนหน้านี้) ไม่ใช่อมาตย์ หรืองัย(วะ)

สู้เพื่อมวลชน? จะอ้วก!...คนที่ตัวเชียร์ ส่งตำรวจไปตี"มวลชน" ยังเสือกยกยอปอปั้น

ใครที่ส่งพวกมันเข้าไปลำบากในป่า? พรรคพวกของหมัก ม่ะใช่เหรอ?
ใครที่เอามันออกจากป่า? พลเอกเปรมกับบิ๊กจิ๋ว...ม่ะใช่เหรอ?
แบบนี้เค้าเรียกว่า สันดานทรยศ ใช่มั้ย?


นปก.(นรกป่วนกรุง)เอาวาทกรรมพวกนี้มาย้อมแมวขาย ตีโลโก้ให้ตัวเอง มันก็เท่านั้น
ประเดี๋ยวก็เอาทักษิณไปเปรียบกับปรีดี ประเดี๋ยวก็เอาไปเปรียบกับพระเจ้าตาก
ขากถุยส์!

หมายเหตุ > ในกระทู้นี้ผมไม่ขอวิจารณ์พันธมิตร จะขอวิจารณ์เฉพาะพวก นปก.และพวกตุลาชินเท่านั้น

โดยส่วนตัว ผมยังคงเชื่อถือฮีโร่ตลอดกาล อย่าง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อยู่
บันทึกการเข้า

...
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #10 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 18:34:39 »

หากเทียบกับนักร้องเพื่อชีวิต ที่อุดมการณ์แปรผันไปบ้าง...อย่าง แอ๊ด คาราบาว แล้ว
ผมรู้สึกได้ว่า พวกนี้(ไอ้เหวง ไอ้วีระ ไอ้จรัลดิษฐ์) อุบาทว์จันไรมากกว่าหลายเท่า

เพราะอย่างน้อย แอ๊ดคาราบาว แค่ทำตัวเป็นนายทุน หรือฟู่ฟ่าขึ้นเท่านั้น
แต่มันก็ทรัพย์สินที่เขาหามาเอง เค้ามีสิทธิ์จะใช้

ไม่ได้มาจากการคดโกงภาษีชาติ หรือมาจากการช่วยสนับสนุนคนที่โกงเงินชาติ
อย่างไอ้พวกหลัง!
จ๊าากกก
บันทึกการเข้า

...
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #11 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 18:37:27 »

ขอเพลงคะ
เพลงเพื่อปฎิวัติ

บอกชื่อมาก็ได้ค่ะเดี๋ยวพี่แปะ
p.nn
บันทึกการเข้า


seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #12 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 21:14:38 »

วันนี้ ป่วย กลับมาพัก เลยได้อ่านข้อเขียน ของน้อง aj.o ก็ขอคุยด้วยนะครับ

เห็นด้วยอย่างมากที่น้องด่าไอ้พวกเลวทั้งหลายที่เอ่ยชื่อมา นอกจากนี้ ยัง อดิสร จาตุรนต์ เกรียงกมล เสถียร จันทิมาธร ฯลฯอ้อไอ้ ด๊อก สุธาชัย พี่เจอมัน
จะเตะมันซักที วันก่อน เจอในงาน 14 ตุลา จะตบหัวมันแล้ว เกรงใจผู้ใหญ่ มันเลยรอด

แต่อยากให้น้องแยกแยะ คนเดือนตุลาที่ยังไม่แปรธาตุ ก็ยังมีอยู่ และพร้อมที่จะต่อสู้กับพวกเลวๆเหล่านี้

ส่วนถนอม ประภาส ณรงค์ ก็ยังเลวอยู่นะ รวมทั้งไอ้หมักด้วย

ว่างๆคุยกันครับ

น้องหนิงเดี๋ยวไปคุย ห้องโน้น  ถ้าทำได้ ช่วยเอาเพลง ในชื่อต่างๆที่พี่ใส่เนื้อไว้ที่นี้ มาแปะให้หน่อย
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
su
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 90

« ตอบ #13 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 21:37:27 »

เห็นด้วยกับพี่ๆ โดยส่วนตัวชอบเพลงแสงดาวแห่งศรัทธาที่สุด ชอบขนาดว่าในงานแต่งงานของเราเมื่อ 19 ปีที่แล้ว(จัดที่ สนจ) ได้เชิญวงคีตาญชลีมา และเพลงที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวขอให้ร้องให้คือเพลงนี้ค่ะ ไพเราะมาก ประทับใจมาจนถึงวันนี้
บันทึกการเข้า
su
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 90

« ตอบ #14 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 21:43:08 »

เมื่อเร็วๆนี้ รายการดนตรี กวี ศิลป์ ช่องTPBS วันที่ 29 พย. เวลาประมาณเกือบ 3-4 ทุ่มเป็นการแสดงเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ เพราะมากค่ะอยากให้ได้ชม เพลงแสงดาวแห่งศรัทธาแสดงเวลาประมาณ 9ทุ่ม 48 นาทีค่ะ สามารถชมย้อนหลังได้ที่ www.me.in.th/live/
บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2551, 08:02:50 »

สวัสดีน้องสุ สบายดีนะครับ 

ยังชินpt
บันทึกการเข้า
su
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 90

« ตอบ #16 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2551, 10:16:33 »

สวัสดีค่ะพี่ยังชิน สุสบายดีและยังระลึกถึงพี่เสมอค่ะ
บันทึกการเข้า
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #17 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2551, 15:15:51 »

อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 01 ธันวาคม 2551, 21:14:38
เห็นด้วยอย่างมากที่น้องด่าไอ้พวกเลวทั้งหลายที่เอ่ยชื่อมา นอกจากนี้ ยัง อดิสร จาตุรนต์ เกรียงกมล เสถียร จันทิมาธร ฯลฯอ้อไอ้ ด๊อก สุธาชัย พี่เจอมัน
จะเตะมันซักที วันก่อน เจอในงาน 14 ตุลา จะตบหัวมันแล้ว เกรงใจผู้ใหญ่ มันเลยรอด

อาจานที่หน้าตาคล้ายๆบ๊อกเซอร์(ในโฆษณาพัดลมโอกาว่า)ตัวนั้นเหรอคับ?
ทราบว่าหมอนี่มีแนวคิดค่อนข้างแอนตี้สถาบันเบื้องบนครับ เห็นมันว่าเป็นสัญลักษณ์ทางชนชั้น
อยากจะถามมันเหมือนกันว่า แล้วเอ็งมาสอนหนังสือที่จุฬาฯ ทำไมฟะ? สัญลักษณ์ของจุฬาฯมันหมายถึงอะไร? มันเคยถามตัวเองบ้างมั้ย?
หรือว่าหน้าด้านหน้าทน บรึ๋ยยย
บันทึกการเข้า

...
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #18 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2551, 15:30:33 »

จุ๊ๆๆๆๆ
ระวังภาษาคะน้อง Aj.O!

p.nn
บันทึกการเข้า


seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #19 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2551, 23:07:44 »

ดีใจมากเลย ที่มีคนชอบ เพลงแสงดาว เพราะนี่ คือสุดยอดของเพลง ( น้องหนิง เอามาแปะหน่อย ขอร้องจ้า )
มีเพลงอีกเพลง ของจิตร ภูมิศักดิ์ คือ เพลง เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ ก็ไพเราะมาก ไม่ทราบว่า น้องสุ เคยฟังมั้ยครับ
เนื้อหา มันสะท้อนถึงความรู้สึก ของคนที่พลัดพรากจากบ้านมา เพื่อมาต่อสู้ ในสิ่งที่ตนเองเชื่อมั่น และหวังว่า ซักวันคงได้กลับบ้าน เพลงฟังอาจจะรู้สึกเศร้า แต่ก็แฝงไปด้วยพลัง

แล้วจะเอาเนื้อมาให้ดูกัน ใครสนใจ เพลงพวกนี้ ลงชื่อไว้ แล้ว จะกอปปี้ มาแจกให้ฟัง ตั้งเป็นชมรมเพลงปฏิวัติ ดีมั้ย
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
su
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 90

« ตอบ #20 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2551, 05:48:23 »

เคยได้ยินค่ะพี่ seree_60 ขอโทษนะคะพี่ชื่อจรืงว่าพี่อะไรคะ หนูจะได้เรียกถูก
เพลงของจิตรที่ไพเราะมากอีกเพลงหนึ่งคือเพลงทะเลชืวิตค่ะ ในงานดนตร๊ กวี ศิลป์ ร้องโดยป๋อง ต้นกล้า
อยากให้ทุกคนได้ฟัง และจะไพเราะลึกซึ้งมากที่สุดถ้าเราศึกษาชีวิตของจิตร พี่เห็นด้วยมั๊ยคะ
ว่าแต่ว่าวันนี้เป็นวันที่มีความสุขที่สุดเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #21 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2551, 12:18:36 »

น้องสุ

  ยินดีมากที่ได้คุยกัน พี่ชื่อ ตะวัน นิเทศ รุ่น 15
ส่วน เสรี เป็นชื่อ จัดตั้ง ตอนอยู่ป่า ที่สุราษฎร์ธานี  เขา เรียก สหายเสรี เพราะเราต้องปิดบัง ชื่อจริง เพื่อปิด ลับ ไม่ใครรู้ เพราะเราไม่รู้ว่า วันไดวันหนึ่ง
อาจมีผู้ทรยศ อาจทำให้ เรา หรือ ครอบครัว ได้ รับอันตราย

พี่จะชอบ งานเพลง และวรรณกรรม เพื่อชีวิต มาก สะสมไว้จำนวนหนึ่ง เสียดาย ช่วงหลัง 6 ตุลา เข้าป่า หนังสือ และเทปเพลงหายไปหมด โชคดี
ที่แม่บ้านของพี่เขาก็เป็นเด็กกิจกรรม เก็บเทปไว้พอสมควร แต่พี่ก็จะร้องได้เกือบทุกเพลง ว่างๆ ก็มานั่งร้องเพลงกัน หรือเวลาขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัด ก็จะเอาเพลงพวกนี้มาร้องกัน ทั้งเพื่อชีวิต และเพลงปฏิวัติ ที่ออกอากาศ ทางวิทยุ ของ พคท.รวมทั้งเพลงของวงทางอีสาน จะเป็นพวกหมอลำ ของนักร้องดังๆ เช่น ส.เทอด ที่ร้องเพลง ศิลปินมาแล้ว

เพลง ทะเลชีวิต เพราะมาก แต่ในวงการ เขาไม่ค่อยชอบกัน เขาว่า เหมือนเพลงของความพ่ายแพ้ เพราะในสถานการณ์ของการสู้รบ เขากลัวความอ่อนแอ
อีกเพลงไม่รู้ว่า น้องสุ เคยได้ฟังไหม เพลงภูพานปฏิวัติ ถ้าดูที่เนื้อหาภาษา ก็จะไพเราะมากตาม สไตล์ของจิตร ภูมิศักดิ์ และมีการปลุกเร้าใจที่ดี

อยากเล่าว่า ช่วงหนึ่งที่ได้ขึ้นไปที่ภูพาน ได้มีโอกาศพบ สหายแก่ๆ ที่แกเคยอยู่กับ จิตร ในสมัยนั้น แกได้พาไปดูแท่นหินที่จิตร เคยมานั่ง ตื่นเต้น และดีใจมาก ที่ได้ตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์ บนเทือกเขาภูพาน

วันนี้พี่ก็มีความสุขมาก แต่ลึก ก็เหงาเหมือนกัน............  ลมหวิว เจ้าโชยพริ้วมาปลอบใจข้า.......

( ของแถม .......กูไม่กลัวมึง ใจถึงก็ลองดู  กู นักสู้โว้ย..

                   แดดร้อน แผดเผา       ใจเราอึดอดทน
                  พายุ ลมฝน ใจคนย่อมเหนือกว่า   .........ของวงซูซู )
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #22 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2551, 14:09:52 »

 
บทเพลง เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ


จิตร ภูมิศักดิ์      ประพันธ์ ในนาม สุธรรม บุญรุ่ง

วงกรรมาชน       เรียบเรียงเสียงประสาน


ม่านฟ้ายามค่ำ  ดั่งม่านสีดำ ม่านแห่งความร้าวระบมเปรียบเหมือนดวงใจ มืดทึบระทม พ่ายแพ้ซานซมพลัดพรากบ้านมา


      ต่อสู้กู้ถิ่น และสิทธิ์เสรี กู้ศักดิ์และศรีโสภา จึงพลัดมาไกล ทิ้งไว้โรยรา จะร้างดังป่าอยู่นับปี


      เคยสดใส รื่นเริง ดังนกเริงลม ถลาลอยชื่นชม อย่างมีเสรี แม้ร้อยวัง วิมานที่มี มิเทียมเทียบปฐพีที่รักมั่น


      ความใฝ่ฝันแสนงาม แต่ครั้งเคยเนาว์ ชื่นหวานในใจเรา อยู่มิเว้นวัน ความหวังเอย ไม่เคยไหวหวั่น ยึดมั่นว่าจักได้คืนเหมือนศรัทธา


      แว่วเสียงก้องกู่ จากขอบฟ้าไกล แว่วดังจากโพ้นนภา บ้านเอ๋ย เคยเนาว์ กังวานครวญมา รอคอยเรียกข้าทุกวัน
                     
                     ................................................................................................

จิตร   ภูมิศักดิ์แต่งเพลงนี้ ใช้นามปากกาว่า สุธรรม  บุญรุ่ง

แต่งขึ้นระหว่าง ถูกจองจำในคุกประมาณปี พ.ศ.2503 - 2505     

ทองใบ   ทองเปาด์ ได้เขียนอธิบายเพลงนี้ในหนังสือ คอมมิวนิสต์ลาดยาว ว่า  ความรัก  ความสุขที่เรามีต่อบ้าน ต่อมาตุภูมิของเรานั้นยิ่งใหญ่เหนือสิ่งใด พวกเรา ที่ถูกอสูรเผด็จการบังคับจับให้ต้องพลัดพลากจากบ้าน และ ครอบครัวที่รัก  รวมทั้งแผ่นดินที่เราเคยทำกินนั้น  ทุกวันอันมืดมนนี้ เราล้วนได้ฟังเสียงกู่เพรียกหาจากแม่  จากลูก  จากเมีย แม้กระทั่ง จากพื้นปฐพีที่เราเคยทำกิน      นี่คือความรัก ความศรัทธาของเราที่ทำให้เรายืนหยัดอยู่ได้อย่างทรนง  เพื่อที่วันหนึ่งเราจะได้มีโอกาสกลับสู่มาตภูมิของเราอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี      นี่คือ เสียงเพรียกจากมาตุภูมิของเราชาวลาดยาวอ้างอิงhttp://www.geocities.com/thaifreeman/jit/pumisak12.html   


บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #23 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2551, 14:21:34 »

มีเรื่องราวของจิตร ภูมิศักดิ์ มาฝาก สำหรับผู้สนใจครับ
จิตร ภูมิศักดิ์ : คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
   

ข้อคิดใหม่บทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ "ทำนองแหวกแนวจากยุคสมัย ประยุกต์ฝรั่ง ความหมายคือหัวใจของบทเพลง"


 หากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นปัญญาชน"ราชสำนัก"ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งราชวงศ์จักรี เป็น"วีรบุรุษ"ที่มีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดในการ "สร้าง" "ประดิษฐ์" และ"รื้อฟื้น"ความเป็นไทยตราบจนถึงปัจจุบัน

จิตร ภูมิศักดิ์ ก็เป็นเหรียญอีกด้าน เป็นนักคิดนักเขียน เป็นปัญญาชนและศิลปินจาก"สามัญชน"ที่ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุด เท่าที่สามัญชนจะพึงมี เป็นผู้"ผลิต"ความรู้อันต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงและเป็น"วีรบุรุษ"ของคนที่ต้องการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมมานานเกือบครึ่งศตวรรษ

วีรบุรุษ"ในใจชน"ของจิตร มิเพียงผ่านเรื่องเล่าในลักษณะตำนาน แต่ทั้งผลงานและเรื่องราวของเขายังผูก "แนบแน่น" กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างแยกไม่ออก ในยุคหนึ่งเขากลายเป็น"ต้นแบบ"ของปัญญาชนในการใช้ชีวิตต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม อีกยุคหนึ่งผลงานของเขาได้รับความสนใจในฐานะ"ผู้บุกเบิก"ทางวิชาการ ซึ่งไม่ว่าคนแต่ละยุค คนจะสนใจมรดกทางปัญญาของเขาในแง่มุมใด แต่มีแง่มุมหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา สิ่งนั้น คือ "จิตวิญญาณแห่งขบถ" "จิตวิญญาณแห่งเสรี" และ "จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมเพื่อสังคมที่ดีงาม"

"วิญญาณของจิตร"ปรากฏอย่างแจ่มชัดในงานทุกชิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านบทเพลง ซึ่งเป็นศิลปะที่ต้องใช้ "ปัญญา อารมณ์ความรู้สึก และจินตนาการ"

 ทองใบ ทองเปาว์ เพื่อนร่วมคุกในข้อหา"มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" จากนโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กล่าวถึงจิตรในหนังสือคอมมิวนิสต์ลาดยาวว่า...

"เขาเป็นคนหนุ่มที่มีความคิดและศรัทธาที่รุ่งโรจน์ เป็นคนหนุ่มที่ขยันขันแข็งห้าวหาญ เด็ดเดี่ยวและไม่รู้ว่าความกลัวหรือความยากลำบากคืออะไร เขามีความเกลียดชังศัตรูของประชาชน ศัตรูสันติภาพ ศัตรูของประชาธิปไตยอย่างเข้ากระดูกดำ.... วันหนึ่งนามและตัวของเขาในฐานะคนของประชาชน จะเปิดเผยต่อสายตาโลก ในฐานะนักรบผู้ยิ่งยงของประชาชน นักรบเพื่อสันติภาพผู้เกรียงไกร นักรบผู้ยิ่งใหญ่เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน...เขาเป็นคนหนุ่มแห่งอนาคต"
1...

ความรู้สึกของทองใบที่มีต่อผลงานของจิตร เมื่อครั้งติดคุกลาดยาวด้วยกันและมีการตั้ง"วงดนตรีลาดยาว" เพื่อเล่นในช่วงจัดงานรื่นเริงในคุก และบทเพลงของ "คนหนุ่มแห่งอนาคต" ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมืองทุกสมัย จนวันนี้เขากลายเป็น "ผู้ประพันธ์เพลงและนักดนตรีผู้มาก่อนกาล" ในสายตาของรศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อำนวยการวง ดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล(Mahidol University Pop Orchestra)

"คอนเสิร์ตเพลงของจิตร"จึงถือกำเนิดขึ้น จากการบรรเลงของวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งรศ.ดร.สุกรี มั่นใจว่าการทำเพลงขึ้นมาใหม่ จะทำให้มีพลังและเราจะได้ฟังบทเพลงของจิตรที่"เต็มยศ"

"คอนเสิร์ต จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นเรื่องที่อยู่ในใจมานาน คุยกับใครก็อยากทำ แต่ไม่เป็นเรื่องเป็นราวเสียที จนกระทั่งคุยกับไทยพีบีเอส เขาสนใจก็เลยมาทำกัน แต่สิ่งที่อยากทำเป็นเรื่องเพลง เพราะคนที่สนใจจิตรมักสนใจในเรื่องการเมือง วรรณกรรม นิรุกติศาสตร์ มานุษยวิทยา แต่ในฐานะที่เขาเป็นดุลยกวี ศิลปิน คีตกวี หรือผู้ประพันธ์เพลง ไม่มีใครสนใจมากนัก" รศ.ดร.สุกรีเล่าถึงความเป็นมาของคอนเสิร์ตอย่างมีชีวิตชีวา

การแสดงคอนเสิร์ต"เพลงของจิตร"ในครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 20 เพลง โดยคัดสรรจากบทเพลงเท่าที่พบรวม 24 ชิ้น ซึ่งเกือบทั้งหมด จิตรประพันธ์เพลงเหล่านี้ระหว่างถูกจองจำในคุกลาดยาว(ต.ค.2501-ธ.ค.2507) และในช่วงเข้าคุก จิตรมีอายุได้ 28 ปี

ในช่วงนั้น มิเพียงบทเพลงเท่านั้น จิตรยังสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการยิ่งใหญ่ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" รวมทั้งงานแปลนวนิยายเรื่อง "แม่" ของแมกซิม กอร์กี้ และ "โคทาน" ของเปรมจันท์

ผลงานทั้งหมด แม้จะอยู่ภายใต้ "ภาวะอันจำกัด" แต่ก็มีสิ่งร่วมกัน นั่นคือ "วิญญาณ"

"ผมมาอ่านดู เพลงเขามีวิญญาณมาก มีทำนองที่แตกต่างจากคนยุคเดียวกัน ในยุคนั้นก็สุนทราภรณ์ ผมคิดว่าเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ มีทำนองที่ไพเราะมากกว่าด้วยซ้ำ แต่เพลงหรือบทกวีของเขาไม่เป็นกลอน อย่างสุนทราภรณ์เพลงเป็นกลอน ขึ้นลงเดาได้ แต่ของจิตรเดายาก ผมมองว่าจินตนาการเขาเยอะ ทั้งเนื้อเพลง ทำนองเพลงกินใจคน ออกมาจากความรู้สึกสู่ความรู้สึก เพลงมีความซับซ้อนมากกว่าป็อปปูล่ามิวสิคทั่วไป ความซับซ้อนในเรื่องโครงสร้างมันงดงาม ความรู้สึกของเขาแปลก เขาเป็นนักดนตรีด้วย เขาเล่นจะเข้" รศ.ดร.สุกรีกล่าว

เราไม่อาจเข้าใจบทเพลงของจิตร หากไม่เข้าใจ"เนื้อหา"หรือ"ความหมาย"ที่สะท้อนปัญหาของสังคมในสายตาของจิตรในยุคสงครามเย็นและจักรวรรดินิยมอเมริกา คำบางคำแม้จะ"ล้าสมัย"ในปัจจุบัน จนทำให้คนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจความหมายนัก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนของปรากฏการณ์สังคม อาทิ จักรวรรดินิยมซึ่งเป็นน้องสาวสุดที่รักของลัทธิล่าอาณานิคม ได้แปลงกลายเป็น"บรรษัทข้ามชาติ" "บริษัทร่วมทุน" แต่เหนืออื่นใด คือ "จินตนาการที่ยิ่งใหญ่" ในการปลุกเร้า กระตุ้นเตือนและเรียกร้องให้ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม

"ถามว่าเขาเป็นนักดนตรีมั้ย ผมว่าเป็น เป็นนักประพันธ์เพลงหรือเปล่า ก็เป็น แต่ผมว่าหัวใจของเขาอยู่ที่ความหมายของเพลง ความหมายที่ต้องการสื่อให้คนมีความรู้สึกที่เป็นจินตนาการที่ยิ่งใหญ่" ดังบทเพลง อาณาจักรแห่งความรัก

ชีวิตไม่ไร้คุณค่า อยู่รออนาคตสดใส

แผ่รักที่คับแคบออกไป ออกสู่ดวงใจผองผู้ทุกข์ยาก

ทั่วแคว้นแผ่นดิน

(อาณาจักรความรัก...2504)



2....

จิตรก็เช่นเดียวกับปัญญาชนของไทยร่วมสมัยจำนวนมากที่ได้รับอิทธิพล"ความคิดทางการเมือง"จากเมืองนอก โดยเฉพาะความคิดแบบมาร์กซิสต์ แม้จะมีปัญญาชนรุ่นหลังแอบวิจารณ์ว่าเป็นพวก"งับตำรา"โดยไม่ดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทย ปัจจุบันอาจจะใช้คำว่า"ตามก้นฝรั่ง"

จะว่าไปแล้ว "งับตำรา"ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะปัจจุบันเราก็เห็นคน"งับตำราเกลื่อนเมือง" เพียงแต่"งับ"แล้วเอาไปใช้ได้หรือไม่ และนำไปใช้อย่างไร

บทเพลงของจิตร จึงมีส่วนที่เรียกว่า"งับตำรา" คือ ลอกฝรั่ง แล้วใส่เนื้อลงไป โดยเฉพาะเพลงมาร์ช ซึ่งรศ.ดร.สุกรีเห็นว่าเป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิมต่อสู้ แต่ก็มีหลายเพลงที่แต่งขึ้นเองทั้งเนื้อร้องและทำนอง แต่ที่สำคัญคือ "ความรู้สึก"ที่ต้องการถ่ายทอดออกมา

"เพลงที่แต่งในคุกเป็นเพลงที่มีวุฒิภาวะเต็มที่(mature)เข้าใจว่าเล่นจะเข้แล้วแต่งเพลง ทำนองเพลงเป็นสากล แต่ใช้จะเข้เทียบเสียง เพลงจำนวนหนึ่งลอกของฝรั่งมา ใช้ทำนองแล้วใส่เนื้อเข้าไป แต่เนื้อเขาทะลุหัวใจเลยนะ แล้วเพลงอื่นๆ ที่เขียนขึ้นมาก็ไม่ใช่ไทย ทำนองเป็นสากลที่ถูกพัฒนา ความเป็นไทยและสากลกลมกลืนกันอย่างแท้จริง...ผมเชื่อว่าเขาฟังเยอะ สิ่งที่ปรากฏในเอกสารคือเขาเขียนโน้ตสากลได้ โน้ต "เชอเว" ได้ เขียนโน้ตไทยได้ และผมเข้าใจว่าเขาร้องเพลงและเล่นดนตรีได้ นักประวัติศาสตร์ของไทยทำแบบนี้ไม่ค่อยได้ คือมักจะได้ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่จะได้ทั้งสองฝั่งนี่ยากมากๆ คนที่เก่งประวัติศาสตร์จะเก่งความรู้ แต่จะเก่งความรู้สึกด้วยหายาก ผมอ่านทำนองก็รู้ เขามันมาก ทำนองเขาอิ่ม ฟังแล้วมีพลัง พลังที่อยู่ในทำนองของเขามันมีมาก มันไม่เป็นพลังธรรมดาแบบโคลงฉันกาพย์กลอนที่มีอยู่ กลอน 8 กลอน 4 กลอน 6 ของจิตรไม่ลงกลอน แต่เป็นความรู้สึกที่เขาต้องการถ่ายทอดออกมา"

บทเพลง อินเตอร์เนชั่นแนล(2504) เป็นตัวอย่าง"ลอกของฝรั่ง..แต่เนื้อทะลุหัวใจ" จิตรแต่งขึ้นระหว่างถูกจองจำในคุก โดยแปลงมาจากเพลงแองแตร์นาชิอองนาล ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจชนชั้นแรงงาน เออเชน ปอตติเย่ กรรมกรชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ประพันธ์เพลงนี้

ตื่นเถิดพี่น้องคนจนผู้ทุกข์ระทม

โค่นล้มสังคมแห่งการกดขี่

ตื่นเถิดพี่น้องผู้ไร้สิทธิ์เสรี

ครั้งนี้เราสู้เป็นครั้งสุดท้าย

ล้างโลกเก่าให้ดับย่อบยับสิ้นไป

สร้างโลกใหม่ที่สดใสเปรมปรีดิ์

ทั้งนี้จงอย่าดูหมิ่นตนเอง

อันพวกเรานี้คือผู้สร้างโลกใหม่
....


3..
 รศ.ดร.สุกรี บ่นเสียดายที่เพลงของจิตรส่วนใหญ่เป็นเพลงมาร์ชปลุกใจไปหมด ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีทางเลือกจากสภาพถูกจองจำ แต่การแสดงความรู้สึกที่เป็นการต่อสู้ทางสังคมในยุคนั้นเป็นเพลงมาร์ชเสียเยอะ เป็นเพลงฮึกเหิม

แต่จิตรก็เหมือนมนุษย์คนอื่น ย่อมมีอารมณ์ความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง เมื่อเผชิญกับอำนาจรัฐอันเข้มแข็ง ความรู้สึกเช่นนี้ได้สะท้อนออกมาในบทเพลง แม้แต่ เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา

"เราไม่ค่อยได้ยินเพลงพ่ายแพ้ของนักต่อสู้ ชาวพรรคทั้งหลาย แต่จิตรมีเพลงพ่ายแพ้ ทะเลชีวิต เป็นความโหยหา ไม่ใช่พ่ายแพ้แบบยอมจำนน แต่บอกว่าเตรียมตัวไว้นะ สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น แต่ คนยังยืนเด่นโดยท้าทาย คำเขาบอกว่า กูไม่แพ้ แต่ในความรู้สึกตอนแรกมันยอมรับ ผมคิดว่านักปฏิวัติคงไม่ต้องการเพลงพ่ายแพ้ไปร้องในค่าย"รศ.ดร.สุกรีกล่าวอย่างแปลกใจ ดังตัวอย่างตอนหนึ่งของ ทะเลชีวิต

ลมหวิว เจ้าแผ่วโชยพริ้วมาปลอบใจข้า

ยิ่งกระพือโหมไฟที่เริงร่า

ลุกลวกอุราที่แสนสุดร้อนรน

คอยหา เฝ้ามองขอบฟ้าไยช่างมืดมน

โอ้สุดที่รักล่องลอยทุกข์ทน

ฝ่าคลื่นฝืนลม ว่ายวน
4...

บทเพลงของจิตร ก็เช่นเดียวกับชีวิตและผลงานของเขา ซึ่งไม่เคยมีการสอนในสถาบันการศึกษา เพราะวิธีคิดทางปรัชญาและการตีความประวัติศาสตร์ที่สถาบันการศึกษาของรัฐ "คิด" ว่าเป็น "อันตราย" แต่รศ.ดร.สุกรี เห็นว่าอดีตต้องมารับใช้ปัจจุบันเพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ ดังนั้นอดีตที่ดีงามควรได้รับการสืบทอด จึงเป็นที่มาของคอนเสิร์ตเพลงของจิตร

"ผมคุยกับนักเรียนว่าคนสำคัญของชาติเขาคิดอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อเขาเป็นนักปราชญ์ เขาไม่ใช่เป็นปราชญ์ของคนไทย แต่เป็นปราชญ์ของโลก เขาเป็นได้อย่างไร ก็จากงานของเขา เมื่อเราต้องการเข้าถึงงานของเขา นำงานของเขามาพัฒนาแล้วสืบทอด ความยิ่งใหญ่ของประเทศอยู่ที่คนเหล่านี้ เด็กๆ ก็มีความรู้สึกร่วม"

รศ.ดร.สุกรี บอกอีกว่างานของเราต้องสร้างใหม่เกือบทั้งสิ้น จะสร้างใหม่ทั้งหมดคงไม่ได้ ต้องนำอดีตมาปัดฝุ่น รวบรวมเรียบเรียงใหม่ และฟื้นฟูใหม่ ทำอย่างไรให้มีความสะเทือนใจ และทำอย่างไรให้สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับโลกอนาคตได้ นั่นคือ ความตั้งใจ

"อย่างเพลงทะเลชีวิต อาณาจักรแห่งความรัก หรือ แสงดาวแห่งศรัทธา ที่รู้จักกันทั่วไป เพลงพวกนี้พลังเขาเยอะมาก ถ้าเราในฐานะนักดนตรีได้เรียบเรียงเสียงรวบรับอย่างดี สมัยจิตรมีข้อจำกัด เขาไม่ใช่นักดนตรีที่ฝึกมาเล่นดนตรีโดยเฉพาะ เขาไม่ใช่นักร้องที่ให้คนมาร้องเพลงโดยเฉพาะ แต่เราเป็นวิทยาลัยดนตรีมีนักร้องที่มีความพร้อม เข้าจังหวะถูก ร้องเพลงถูกเสียง ดนตรีถูกเรียบเรียง อุ้มเพลงให้งดงาม ผมว่าเมื่อทำมาเป็นเพลงให้เต็มยศแล้ว มันอยู่ในขั้นดีจังเลยได้"

ไม่ว่าศร.ดร.สุกรีได้รับอิทธิจาก"จิตวิญญาณของจิตร"ในการต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงามหรือไม่ แต่เราก็เห็น"ส่วนดีลึกๆ"ที่มีอยู่ในคนทุกคน ซึ่งบางทีความรู้สึกเรียกร้องหาความเป็นธรรมหรือสังคมที่ดีงามนั้น มีอยู่ในทุกคน เพียงแต่อาจมี"ม่านบังตา"บางอย่าง จนทำให้คนต้องเข่นฆ่า ขัดแย้ง และเอาเปรียบกัน

เราเห็น"จิตวิญญาณ"ที่ว่านี้ในคอนเสิร์ตครั้งนี้นี่เอง เมื่อนักร้องนำแห่งวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลขับขานเสียงเพลงของจิตร สิ้นสุดลง ได้ปรากฏรอยยิ้ม พร้อมๆกับบรรดาป้าๆลุงๆ ซึ่งบางทีอาจเป็น"สหายเก่า" บางทีอาจเป็นคนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานของจิตร ต่างพร้อมใจปรบมือดังสนั่นห้อง

บางทีบทเพลงของจิตรได้ปลุกสำนึก และความปีติให้กับคนต่างวัยในคราวเดียวกัน ดังประโยคอมตะในบทเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา "คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย" แม้ความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ "จิตวิญญาณ" การต่อสู้ของผู้คนไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

และเป็น"วิญญาณของจิตร" ดัง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ขับขานในบทกวีว่า

ใบไม้ร่วงหนึ่งใบในราวป่า

เพื่อแตกมาเป็นใบใหม่ในทุกที่

จิตรหนึ่งดวงดับไปในวันนี้

เพื่อจะมีจิตรใหม่มากมายดวง

 
 
 

--------------------------------------------------------------------------------


 
บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
su
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 90

« ตอบ #24 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2551, 14:29:41 »

พี่ตะวันเคยอยู่สุราษฎร์แล้วพี่รู้จักพี่นิพัฒน์(ถาปัด)มั๊ยคะ[/color]
บันทึกการเข้า
  หน้า: [1] 2 3 ... 5  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><