ผมเห็นว่า เงินบาทแข็งดีกว่าเงินบาทอ่อนมีข่าว ท่านนายกอภิสิทธิ์ ให้ไปหาวิธีทำให้เงินบาทอ่อน
http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=7391&categoryID=310ผมใคร่เสนอตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยผ่านกลไก "ระบบเงินคู่"
ลองอ่านกันดูนะครับ ผิดพลาดอย่างไรแนะนำผมด้วยครับ
กรณีไม่มีระบบเงินคู่
สมมติข้อมูล ณ วันที่1 กค. เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก ตันละ 10500 บาท และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์
(ซื้อข้าวเปลือกมา300 ดอลลาร์ จึงกำไร 10 ดอลลาร์)
แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออกทำให้ วันที่ 1 ส.ค. ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 70บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก ตันละ 10500 บาท และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์ (
ซื้อข้าวเปลือกมา 150 ดอลลาร์ จึงกำไร 160 ดอลลาร์)
อยากถามว่า เดือดร้อนไหมครับ ค่าเงินในกระเป๋าคนไทย เพิ่มหรือลด
มาดูกันในกรณี ใช้ระบบเงินคู่
สมมติข้อมูลเดียวกัน ณ วันที่1 กค. เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก ตันละ 10500 หน่วยเงินรอง
(ระบบเงินคู่ ต้องพยายามกำหนดราคาสินค้าที่คนไทยสร้างได้เป็นหน่วยเงินรอง)
ระบบเงินคู่
เงิน 1บาทแลกได้ 1หน่วยเงินรอง แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออก รัฐบาลจึงใช้กลไกระบบเงินคู่เข้าช่วย
โดยไม่ไปยุ่งกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์
1 ส.ค. ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก ตันละ 10500 หน่วยเงินรอง
รัฐบาลผลักดันจนได้ เงิน
1 บาท แลกได้ 2 หน่วยเงินรองจะเห็นว่า กรณีใช้ระบบเงินคู่เข้าช่วย
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 บาท(150 ดอลลาร์) จะได้ข้าวเปลือก 1 ตัน ในขณะที่ชาวนา ได้เงิน 10500 หน่วยเงินรอง
มาวิเคราะห์เฉพาะผู้ส่งออกก่อน
กรณีใช้ระบบเงินคู่
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 (150ดอลลาร์)ในขณะที่ส่งออกได้ดอลลาร์เท่าเดิม
เมื่อนำมาแลกเป็นเงินบาทแม้จะได้ไม่เท่าเงินบาทอ่อนตัว
แต่ก็ได้กำไรถึง 5600(160ดอลลาร์) บาท
ซึ่งสามารถซื้อน้ำมันได้ 5600/35/70 เท่ากับ 2.285 บาร์เรล
(แต่ เงิน 10850 บาทยังสามารถซื้อน้ำมันได้ (310/70 เท่ากับ ) 4.428 บาร์เรล )
ส่วนในกรณีที่ไม่ใช้ระบบเงินคู่ ทำให้บาทอ่อนตัว
ผู้ส่งออกได้เงินสูงขึ้น 310x70 เท่ากับ 21700 บาท ได้กำไร 11200 บาท(21700-10500)
ซึ่งกำไรดังกล่าวก็ซื้อน้ำมันได้เพียง 2.285 บาร์เรลเท่ากัน(1120/70/70)
จะเรียกว่าผู้ส่งออกได้ประโยชน์โดยสมบูรณ์ได้อย่างไร
ผู้ส่งออกเพียงแต่แข่งขันได้และไม่เจ็บตัวเท่านั้น
แต่ที่ต้องแบกรับการแข่งขันได้และไม่เจ็บตัวของผู้ส่งออกก็คือ
ความมั่งคั่งที่สะสมมาของประเทศไทย
(ยังไม่นับการสูญเสียจาการขาดทุนเนื่องจากการแทรกแซงค่าเงินโดยตรง)
คือเบียดบังจากคนไทยทั้งประเทศ โดยที่ได้ไม่คุ้มเสีย
เพราะผู้ส่งออกก็คือคนไทย เมื่อประเทศเสียเปรียบในที่สุดผู้ส่งออกก็สูญเสียเช่นกัน
มาดูในส่วนของชาวนา
กรณีใข้ระบบเงินคู่
ซึ่งแม้จะได้ค่าข้าวเปลือกเป็นหน่วยเงินรองเท่าเดิมคือ 10500 หน่วยเงินรอง
แต่เมื่อเทียบกลับเป็นเงินบาทจะเหลือเพียง 5250 บาท
ซึ่งซื้อน้ำมันได้ 2.142 บาร์เรล(5250/35/70)
กรณีไม่ใช้ระบบเงินคู่ แต่ใช้วิธีการแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อน
ชาวนาขายข้าวได้ราคา 10500 บาท ซึ่งซื้อน้ำมันได้
2.142 บาร์เรลเช่นกัน (10500/70/70)
จะเห็นว่า แม้ขาวนา จะได้เงินบาทน้อยลง แต่ก็ยังซื้อน้ำมันได้เท่ากัน
และถ้าพัฒนากิจกรรมโดยใช้หน่วยเงินรองมากขึ้น
ก็จะเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งสะสมในที่สุด
แม้ในระยะแรกจะเหมือนกับชาวนาต้องแบกรับทางอ้อม
(ซึ่งความจริงทุกวันนี้เกษตรกรไทยก็เป็นผู้แบกรับอยู่แล้ว)
แต่เมื่อประเทศได้ ในที่สุดชีวิตเกษตรกรจะดีขึ้น
จากกรณีสมมติ ผลได้ของความแตกต่างในระยะยาวจากการใช้ระบบเงินคู่จะส่งผลดีดังนี้
1.ความมั่งคั่งของคนไทยและประเทศไทยเมื่อเทียบเป็นดอลลาร์ไม่ได้ลดลง
2.เมื่อความมั่งคั่งไม่ลดลง ย่อมสร้างความแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ
ย่อมสร้างสรรค์การผลิตทีมีคุณภาพได้ดีขึ้น
สามารถสร้างผู้ประกอบการที่พัฒนาผลิตผลการเกษตรได้หลากหลายขึ้น
3.คนมีความั่งคั่งขึ้น ย่อมรับต่อการเพิ่มราคาสินค้าเกษตรได้
4....................