super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #225 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2552, 10:37:31 » |
|
ตี๋ สวัสดีครับ เห็นพอดี ทักทายกันหน่อย
สวัสดียังชิน ตุ๋ย อ้อยเค็ม พวกสาวๆ ๒๐ ส่งเสียงหน่อยครับ
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #226 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2552, 10:58:08 » |
|
.....หวัดดีครับ พี่ super ตอนนี้ หลานสาวผมเข้าเป็นน้องใหม่หอหญิง คณะวิดยา เคมีวิศวกรรม ครับ.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #227 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2552, 12:40:31 » |
|
เรียนดี กิจกรรมเด่น นะครับ อย่าลืมออกกําลังกายด้วยนะ หลานสาว
|
|
|
|
|
super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #229 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2552, 08:40:39 » |
|
ขอบคุณครับพี่เหยง ๑๖
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #230 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2552, 13:15:53 » |
|
ขอบคุณพี่เหยง เช่นกันครับ จำได้ว่า ผมอยู่หอเจ้าจอมจนห้องข้างเคียง ซ้าย-ขวา ถูกรื้อหลังคาไปแล้ว ด้วยความเกรงใจ คนงานที่รับงานมารื้อหอฯ ผมจึงย้ายไปอยู่หอ5ชั้น เสียดาย วันนั้น ถ้าตัดสินใจเก็บป้ายแกะสลักชื่อเจ้าจอมฯ ซึ่งติดอยู่ตรงหิ้งวางหนังสือ ตรงหัวเตียงของทุกเตียงไว้..วันนี้คงมีของที่ระลึกไปคืนหอฯ
สวัสดีตี๋ สวัสดีศุภชัย และพี่น้องทุกท่าน (เอ...พี่อ้อย17 หายไปจากกระทู้นี้นานเลยครับ)
|
|
|
|
super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #231 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2552, 09:49:05 » |
|
ยังชิน หวัดดี ผมจบแล้วได้งานเลย วันหยุดยังแวะมาเที่ยวที่หอเจ้าจอม ตอนนั้นยังไม่ได้รื้อ ชาวหออยู่สบายๆ เพราะสอบเสร็จแล้ว
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #232 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2552, 20:00:38 » |
|
วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11408 มติชนรายวัน ธปท.รับแทรกแซงค่าเงิน"บาท" หลังแข็งค่าทำสถิติในรอบ8เดือน ปัดข้อเสนอกรอ.แยกสองตลาด ธปท. รับเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท หลังแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน แต่จะทำเท่าที่จำเป็น คาดบาทจะไม่แข็งค่ามากเหตุราคาน้ำมันพุ่งดันเงินเหรียญสหรัฐแข็งตาม ไม่รับข้อเสนอ กรอ. แยกอัตราแลกเปลี่ยน 2 ตลาด อุ้มส่งออก ชี้ช่วยได้เล็กน้อย กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าคือปัจจัยหลักฟื้นส่งออก เมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า ธปท.ได้เข้าแทรกแซงเงินบาท หลังจากค่าเงินบาทเมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันแข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน แต่จะทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากยังเชื่อว่าเงินดอลลาร์จะกลับมาแข็งค่าขึ้นจากราคาน้ำมันที่ขยับ ตัวสูงขึ้น และปัญหาการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออาจทำให้เกิดความต้องการเงินสกุล ดอลลาร์เพิ่มมากขึ้น นางสุชาดากล่าวว่า ธปท.จะไม่เข้าดูแลค่าเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจส่งออกเท่านั้น คงต้องดูแลทุกภาคส่วนให้สมดุล ดังนั้น ผู้ส่งออก-นำเข้าต้องปรับตัว และไม่ควรชะล่าใจว่า ธปท.ดูแลอยู่ ต้องป้องกันความเสี่ยงด้วยตนเอง โดยปัจจุบันอัตราการป้องกันความเสี่ยงทั้งภาคส่งออกและนำเข้าลดลงจาก 50% เป็น 25% และจาก 40% เป็น 20-25% ตามลำดับ ส่วนที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เสนอให้แยกระบบค่าเงินบาทเป็น 2 ตลาด คือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทสำหรับผู้ส่งออก และตลาดสำหรับตลาดทุน เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถทำตลาดแข่งขันกับต่างประเทศได้นั้น ธปท.ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ใช่หลักสากล และควรให้เป็นไปตามกลไกตลาด นาง สุชาดากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มเห็นภาคการผลิตกลับมาสะสมสต๊อคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บัญชีดุลสะพัดเกินดุลลดลง และคาดน่าจะเห็นสัญญาณที่ชัดเจนในไตรมาส 2 นี้ "หากพิจารณาดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 77.22 ลดต่ำลงจากเดือนเมษายน ที่อยู่ในระดับ 77.32 ถือว่ามีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนมากนัก ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ที่ลดต่ำลง จาก 80.00 อยู่ที่ระดับ 79.00 แสดงให้เห็นถึงความผ่อนคลายความวิตกกังวล สะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว นักลงทุนจึงกล้ากระจายความเสี่ยงมายังภูมิภาคอื่น รวมทั้งไทยด้วย หากเงินบาทผันผวนเร็ว ธปท.ก็ต้องรีบเข้าดูแล โดยที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าจากการกระจายการลงทุนในสหรัฐมายังประเทศต่างๆ แต่ไม่แน่ใจว่ามีการเก็งกำไรด้วยหรือไม่" นางสุชาดากล่าว และว่า การที่ผู้ส่งออกจะมีรายได้น้อยลงจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนถูกลงก็เป็นผลดีต่อผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการ ผลิต อีกทั้งปัจจัยการแข่งขันน่าจะมาจากกำลังซื้อของคู่ค้ามากกว่าการแข็งค่าของ เงินบาท นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์รายหนึ่งเปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันที่ 3 มิถุนายน เปิดตลาดที่ 34.06-34.13 บาทต่อดอลลาร์ จากวันก่อนหน้าที่เปิดตลาดที่ 34.10-34.12 บาทต่อดอลลาร์ และระหว่างวันค่าเงินบาทปรับตัวตามกระแสตลาดที่มองว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมา ฟื้นตัว จึงมีการโยกเงินลงทุนจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐไปยังตลาดอื่น ส่งผลให้เงินสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น เช่นเดียวกับค่าเงินบาท โดยระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าไปถึงระดับ 33.98 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าลงในช่วงบ่ายปิดตลาดที่ระดับ 34.01-34.09 บาทต่อดอลลาร์ หน้า 17 http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01eco01040652§ionid=0103&day=2009-06-04ผมนำข่าวข้างต้นมาจาก เว็บมติชน
บอกตามตรง สงสารประเทศไทย และสมเพชวิธีแก้ปัญหาของแบงค์์ชาติทุกยุคทุกสมัย (ขออภัย ขอแก้เป็นยุคตั้งแต่ปี 251X)
ใครก็ได้ ช่วย ส่ง "นิทานการเงิน" ไปให้ รมต.คลัง และ คนในแบงค์ชาติอ่านหน่้อย (แล้วส่งบิล มาเบิกกับผม พร้อมค่าป่วยการ)
ผมเขียน "นิทานการเงิน" โดยสาระที่ต้องการนำเสนอที่เป็นหัวใจหลัก ก็คือ วิธีการแก้ปัญหา ระบบการเงิน ของโลกทุนนิยมครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับประเทศไทยอันอุดมสมบูรณ์นี้
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #233 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 07:16:21 » |
|
ผมเขียน "นิทานการเงิน"จบ ในเดือน ตุลาคม 2550
ในขณะนั้นราคาน้ำมัน กำลังถีบตัวสูงขึ้นอย่างมากๆ และมีเสียงวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจโลกดี มีความต้องการน้ำมันมาก แต่ผมไม่เชื่อ..ผมเชื่อว่า เป็นเพราะปัญหาการเงิน...ปัญหาเงินดอลลาร์
ในขณะนั้น เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเสียงเรียกร้องจากผู้ส่งออกให้แทรกแซงค่าเงินให้อ่อนลง
คำถามก็คือ เงินบาทแข็งก็เดือดร้อน เงินบาทอ่อนก็มีปัญหา แล้วอะไรคือ สิ่งที่ควรเป็น ทั้งแข็งทั้งอ่อนมีปัญหา นั้นแสดงว่า มีความผิดปกติต่อวิธีจัดการมีปัญหา แสดงว่าเครื่องมือที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ ไม่ดีพอ จึงแก้ปัญหาไม่ได้
อ่าน "นิทานการเงิน" หลายๆรอบ รมต.คลังและคนในแบงค์ชาติ อาจพบเครื่องมือที่ใข้แก้ปัญหา
สงสารชาวไร่ ชาวนา เกษตรกร และผู้ใช้แรงงานระดับล่าง ซึ่ง ต้องเป็นผู้แบกรับสังคมนี้ทุกครั้งด้วยเถิดครับ
|
|
|
|
super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #234 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 08:57:30 » |
|
สวัสดี ตอนเช้า ยังชิน
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #235 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 12:41:30 » |
|
สวัสดี ศุภชัย
ผมขอขายความคิดของผมต่อ
แบงค์ชาติ ไม่ควรเข้าแทรกแซงค่าเงิน ไม่ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น หรืออ่อนค่าลง เพราะ อย่่างไรก็ไม่อาจต้านทานแนวโน้มดังกล่าวได้ การแทรกแซงไม่ว่าครั้งใดๆ จึงนำการสูญเสียโดยรวมบั่นทอนความมั่งคั่งของไทย มวลรวมของเงินเรากระจ่อยร่อยเมื่อเทียบกับมวลเงินที่อยู่แวดล้อมเรา
หา "นิทานการเงิน" มาอ่าน อ่าน และอ่าน เมื่อเข้าใจว่า "เงิน" ของโลกทุนนิยมในวันนี้ แตกต่างไปจากเดิมแล้ว ตั้งแต่ ประธานาธิบดีนิกสัน ประกาศไม่ผูกติด ค่าเงินดอลาร์กับทองคำ นับแต่นั้น "เงินของโลก" ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
"เงินของโลก" เปลี่ยนไปนานแล้ว รมต.คลังและแบงค์ชาติ ต้องเข้าใจเสียที
|
|
|
|
super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #236 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 14:53:13 » |
|
ดูอยู่...ต่อเลยคราบบ ..ผมไม่ค่อยถนัดเรื่องเงินๆทองๆ พลอยได้ความรู้ไปด้วย
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #237 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 19:40:09 » |
|
ว่ากันที่จริง จุดเริ่มต้นของการค้าขายระหว่างประเทศ เริ่มจากความต้องการทรัพยากรจากธรรมชาติของอีกประเทศหนึ่ง แล้วก็พัฒนามาเป็นลำดับ ทั้งเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน และสินค้าที่จะแลกเปลี่ยน
ในที่สุด ก็มาลงตัวที่ตัวกลาง ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับ คือ ทองคำ
เงินของแต่ละประเทศ จะมีค่าเพียงไรมีปริมาณเท่าไร จึงขึ้นกับทองคำสำรองที่มีอยู่ของประเทศนั้น
แต่ก็เกิดปัญหา จนมีทางออกหนึ่ง โดยการประชุมระหว่างประเทศ ณ เมืองเบรตตันวูดส์ มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2487 เป็นจุดเริ่มต้นของระบบเบรตตันวูดส์ (The Bretton Woods System)
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #238 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 20:06:41 » |
|
ง่ายๆของ ข้อตกลงเบรตตันวูดส์
คือ การที่ประเทศต่างๆยินยอมให้สหรัฐผูกติดค่าเงินของตนเอง ไว้กับทองคำ โดย 35 ดอลลาร์ แลกทองคำได้ 1 ออนซ์ (พ.ศ.2552 1ออนซ์ 900-1000 ดอลลาร์) ข้อตกลงดังกล่าว ทำให้เงินดอลลาร์เป็นที่เชื่อถือของนานาประเทศ
แล้วในเดิอนสิงหาคม พ.ศ.2514 หลังจากที่มีการขอแลกคืนดอลลาร์เพื่่่อเปลี่ยนเป็นทองคำจากบางประเทศ สหรัฐซึ่งรู้ว่า หากคงทองคำไว้ที่ 35 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ ทองไม่พอแน่ ประธานาธิบดีนิกสัน จึงยกเลิกการผูกติดทองคำกับดอลลาร์ ดอลลาร์สหรัฐถูกปล่อยให้ลอยตัวนับแต่นั้น...
นับแต่นั้น การส่งออกเงินดอลลาร์ จึงเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ และทำให้โลกใบนี้มีการพัฒนา(ตามที่ว่ากัน)อย่างมากมาย เำพราะมีปริมาณเงินเพียงพอที่จะผลักให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณเงิน
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #239 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 20:15:50 » |
|
หวัดดีพี่ศุภชัย พี่ยังชินครับผม
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
แจง-24
|
|
« ตอบ #240 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2552, 22:00:56 » |
|
เห็นด้วยกับพี่ยังชิน 100 % เรื่องที่รัฐบาลไม่ควรแทรกแซงค่าเงินบาท...เป็นภาระแก่ประชาชนผู้เสียภาษีจริงๆค่ะ
และขอเพิ่มเติมอีกกรณีหนึ่ง ว่าไม่เห็นด้วยกับการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ปู่ย่าตายายเราสอนกันมา ถึงเวลาข้าวยากหมากแพง ต้องประหยัด อดออม ไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย นี่อะไร ตามก้นทุนนิยมตะวันตก ไล่แจกเงิน ชักชวนให้ออกมาใช้จ่าย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน แล้วไอ้เศรฐกิจที่กระตุ้นขึ้นมาด้วยวิธีฉาบฉวยนี้ มันจะยั่งยืนได้ซักกี่น้ำกัน
ทั้งการแทรกแซงค่าเงิน และการกระตุ้นให้ใช้จ่ายแทนที่จะออมเงิน เป็นการจ่ายยาผิดขนาน เหมือนปวดหัวแล้วตะบี้ตะบันกินแต่ยาแก้ปวด รักษาตามอาการไปวันๆ ไม่มองหาสาเหตุเพื่อรักษาที่ต้นเหตุ
เงินมันบังตาจริงๆค่ะ พี่ยังชิน เขาเห็นแต่เงิน ลืมที่มาและความหมายของมันซะแล้ว...
|
อยู่อย่างต่ำ กระทำอย่างสูง
|
|
|
super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #241 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2552, 09:34:13 » |
|
ยังชิน ครูตุ๋ย น้องแจง๒๔ หวัดดีครับ เมื่อวานมีปัญหาัเน็ตล่มแถวบ้าน ได้น้องแจงมาร่วมวงสนทนา ต่ออีก...ยังชิน ได้ความรู้ดีครับ
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #242 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2552, 12:48:44 » |
|
ขอบใจศุภ ตุ๋ย น้องแจง และพี่น้องทุกท่าน
ดีใจมากครับ ที่น้องแจงสะท้อนความคิดแลกเปลี่ยนกัน
โลกเราวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ระยะทางและเส้นแบ่งเขตแดนไม่ใช่ปัญหาของ มนุษยชาติอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เงิน" ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งสำหรับโลกไปนี้ไปแล้ว
วันนี้ สิ่งที่ผู้บริหารแต่ละประเทศต้องคิดให้ออก แยกให้รู้ ซึ่่งเป็นทั้งฐานและยอด ก็คือ การจัดการเรื่อง "เงิน" ของประเทศ
ก่อนอื่น ต้องคิดลงไปถึงเหตุ เช่น ทำไมเราต้องการเงินตราต่างประเทศ ทำไมต้องการเงินดอลลาร์ ตอบ...เ้พราะเราต้องการสินค้า-ทรัพยากร-บริการ จากต่างประเทศ(น้ำมัน,เทคโนโลยี่,การท่องเที่ยวฯลฯ)
หากต้องการให้ผลเงาะจากสวนเมืองจันท์ มาอร่อยอยู่ในครัวคนกรุงเทพ ใช้อะไรแลกเปลี่ยน ตอบ..เงินบาท ซึ่งรัฐบาลไทยรับรองค่า ต่อไปนี้ คือ คุณสมบัติของเงิน นำมาอ่านแลกเปลียนกันครับ ก่อนอื่นเลย ต้องเปิดความคิดก่อนนะครับว่า เงิน เป็นเพียงเครื่องมือที่คนเราสร้างขึ้นเพื่อใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร (ทรัพยกร หมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่แต่ละคนต้องการ)
เงินภายในประเทศ(ที่ ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม) ก็คือเครื่องมือทางเศรษฐกิจของรัฐที่สร้่างขึ้น เพื่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชาชน และประชาชนกับรัฐ
โดย ที่ในปัจจุบัน ประเทศเราต้องสัมพันธ์กับต่างประเทศ เพราะต้องการทรัพยากรจากต่างประเทศ และโชคดีที่เรามีทรัพยากรที่ต่างประเทศต้องการ
ซึ่งเราก็แลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างประเทศด้วยเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
จบเรื่องเงินเป็นเครื่องมือนะครับ...ต่อไปเรามาดูคุณสมบัติของเงิน
คุณสมบัติ พื้นฐานของเ้งินคือ เงินจะแสดงค่าเมื่อมีการเปลี่ยนมือ นั่นคือ ถ้าเงินหยุดนิ่งเมื่อไรเงินก็เหมือนไร้ค่า ข้อนี้ถือเป็นหัวใจนะครับ ฝรั่งเรียกเงินว่า CURRENCY เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่เก่งต้องพยายามทำให้เงินเคลื่อนที่
เมื่อเราจุดตะเกียงน้ำมัน แสงสว่างก็ตามมา การเกิดแสงและความร้อนทำให้น้ำมันสูญหายไป แต่เงิน กลับไม่เป็นเช่นนั้น เงินนั้นเมื่อได้แสดงบทบาทแล้ว กลับไม่สูญหายไป เพียงแต่ย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง..คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญครับ ..2ข้อแล้ว
คุณสมบัติข้อที่3 เงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ที่ใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร ทำให้ตัวมันเองกลายเป็นทรัพย์สิน(ทรัพย์สินนะครับไม่ใช่ทรัพยากร)ที่ มีค่า และจัดเป็นสุดยอดของทรัพย์สิน เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลน้อยหรือไม่มีเลย มีมากเท่าไรก็ไม่เป็นภาระ มีได้อย่างไม่รู้เบื่อ (ต่างกับทรัพย์สินอื่น ยังไงก็มีจุดอิ่ม)
ทั้ง3ข้อคือคุณสมบัติของเงิน ที่ไม่เปลี่ยนแปร ใครมีข้ออื่น แนะนำเพิ่มด้วยนะครับ
ด้วย หน้าที่และคุณสมบัติของเงินดังกล่าว ปัจจุบันได้มีการพัฒนาส่วนควบทางการเงินซับซ้อนขึ้น จนวันนี้ วันที่ดอลลาร์มีการปรับฐานขนานใหญ่
|
|
|
|
แจง-24
|
|
« ตอบ #243 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2552, 19:49:55 » |
|
สวัสดีพี่ศุภชัยและพี่ตุ๋ยเช่นกันค่ะ และมารออ่านข้อเขียนของพี่ยังชินต่อนะคะ
|
อยู่อย่างต่ำ กระทำอย่างสูง
|
|
|
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์
รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842
|
|
« ตอบ #244 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2552, 22:48:51 » |
|
พี่ยังชิน รูปนี้เท่ห์มาก
|
เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
|
|
|
super
Full Member
วิดยา'20
ออฟไลน์
กระทู้: 368
|
|
« ตอบ #245 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 08:38:20 » |
|
หวัดดีครับทุกคน... ขอร่วมวงสนทนาบ้าง เอาแบบไม่ค่อยถนัดน่ะครับ สินค้าและบริการคือความต้องการที่แท้จริงของทุกคน โดยมีเงินเป็นตัวกลางซึ่งได้มาทั้งสินค้าและบริการ จริงๆแล้วประเทศต้องเน้นสินค้าและบริการแล้วเงินก็จะตามมาเอง ไม่รู้ผมเข้าใจถูกป่ะ ยังชิน น้องแจง ช่วยหน่อย
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #246 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 15:03:41 » |
|
ขอบคุณทุกๆคนครับ น้องแจงนำกำลังใจมาให้ ซุปเปอร์ มีความคิดเห็นพร้อมคำถาม..ติดไว้ก่อนนะ
ที่ผมเสียวมากก็คือ การมาของนายทูโชคดีที่ไม่บอกว่า"นี่รูปอะไรเอ่ย"
|
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #247 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 19:56:20 » |
|
หลังจากพักโฆษณาแล้ว เรามาว่ากันต่อครับสินค้าและบริการตามที่ศุภชัยว่ามานั้น ผมจะเรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" การสร้างผลิตภัณฑ์ ต้องใช้แรงงาน อาจเป็นแรงสมอง หรือแรงกาย แรงงานนั้น ในโลกทุนนิยม มักถูกกำหนดด้วย "เงิน"
ที่ศุภชัยบอกว่า "จริงๆแล้วประเทศต้องเน้นสินค้าและบริการแล้วเงินก็จะตามมาเอง" ก็นับว่าถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะนี่คือพื้นฐานอันนำมาซึ่ง"ค่าของเงิน"
และเนื่่องจาก "เงิน" ในปัจจุบัน ไม่ใช่เงินที่มีกฎเกณฑ์เช่นเดิมอีกแล้ว(ดังที่อ้างไว้แล้วข้าง ต้น) ผลิตภัณฑ์จึงไม่ใช่ตัวสร้างเงินแต่ด้านเดียว เงินก็เป็นต้นทางของการเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วย
รัฐบาลจึงควรเข้าใจบทบาททั้งสองด้านของเงิน โดยหลักพื้นฐานต้อง เข้าใจว่า เมื่อมีผลิตภัณฑ์แล้วก็จะมีเงิน (คือเงินจะมีค่า) แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องพยายามใช้เงินเพื่่อสร้างผลิตภัณฑ์ เพียงแต่...
เพียงแต่...ต้องเข้าใจว่า เงินของโลก เป็นเช่นไร เป็นอย่างไร ในหนังสือ "นิทานการเงิน" เสนอความคิดเกี่ยวกับการใช้กลไกของเงินไว้ในมุมที่แตกต่าง จากที่เป็นอยู่
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #248 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 20:03:17 » |
|
สวัสดีครับ พี่ยังชิน พี่ศุภชัย สบายดีไหมครับ
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์
รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842
|
|
« ตอบ #249 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2552, 22:14:36 » |
|
ตายแล้วพี่ ผมทำประโยชน์แบบนี้ได้ด้วย
|
เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
|
|
|
|