22 พฤศจิกายน 2567, 21:45:19
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมถึงต้องใช้เมลามีนเป็นส่วนประกอบของอาหารคะ  (อ่าน 29788 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #25 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2553, 22:20:55 »

อืมม นอกจากกบกับจิ้งหรีดแล้ว satellite จะยังพบในตัวอะไรได้อีกน้า? ลองนึกๆๆๆๆๆ.....

โอ้ว What about ในหิ่งห้อยล่ะ!?

...ถ้าเราเปลี่ยนจากเสียงเป็นแสงมั่ง พวกหิ่งห้อยจะว่าไปแล้วมันก็มีการส่งสัญญาณเรียกตัวเมียเหมือนอย่างในจิ้งหรีดกับกบนั่นแหละ เพียงแต่แทนที่มันจะร้องเพลงด้วยเสียง มันก็อาศัยร้องเพลงด้วยการกระพริบแสงแทน.. แถมที่เมืองไทยนี่ ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่แห่ง ที่มีหิ่งห้อยชนิดพิเศษ ซึ่งตัวผู้จำนวนมาก จะมาเกาะรวมกันบนต้นลำพูต้นเดียวกัน เสร็จแล้วก็ช่วยกันกระพริบแสง ติด ดับ ติด ดับ พร้อมๆ กัน (synchronous flashing) เป็นการร้องประสานแสง ประมาณเดียวกับที่กบมันร้องประสานเสียง จุดประสงค์ของการกระพริบพร้อมๆ กันนี้ นักชีววิทยาบางคน บ้างก็ตั้งสมมติฐานว่า เป็นการกระทำเพื่อแอมพลิฟายขยายสัญญาณ ให้มันเห็นได้จากที่ๆ ไกลๆ ยิ่งขึ้น ต่างคนต่างกระพริบกันคนละที่ คนละที อาจจะดึงดูดตัวเมียได้ไม่ดีเท่ากับมาช่วยกันกระพริบพร้อมๆ กัน.. ถ้าเกิดสมมติฐานนี้เป็นจริง ผมว่า ไอ้บนต้นที่ช่วยๆ กระพริบๆ กันอยู่เนี่ย มันจะต้องมีบางตัวที่ชอบแอบอู้ ปะปนอยู่ด้วยแน่ๆ!

...เรื่องนี้ดูเหมือนจะยังไม่มีใครเคยศึกษามาก่อนด้วย

...เป็นไปได้มั้ยว่า เราอาจมีโอกาส ได้ค้นพบพฤติกรรม satellite male ในหิ่งห้อย เป็นครั้งแรกของโลก?

...เมื่อ 2 วันก่อนผมเพิ่งไปร่วมประชุมวิชาการความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์สัตว์ป่าของกลุ่มนักศึกษาที่มหิดลมา (กลุ่มมีชื่อว่า TYPIN ย่อมาจาก Thai Young Professionals Initiative) ในงานได้มีโอกาสพบปะและรับฟังบรรยายจากบรรดา ‘คนค้นสัตว์’ ตัวจริง เยอะแยะไปหมด

พูดแล้วก็อายนะครับ อย่างผมนี่ จะว่าไปแล้ว จริงๆ น่าจะเรียกตัวเองว่าเป็น ‘คนค้นอินเตอร์เน็ต’ ซะมากกว่า ผิดกับคนเหล่านี้ซึ่งต่างก็ได้เคยทุ่มเทลงไปศึกษาสัตว์ป่าในพื้นที่ที่อยู่จริงๆ ของมัน ต่างคนต่างมีประสบการณ์ตรงที่ได้จากการสัมผัสด้วยมือตนเองกันมาอย่างล้นหลาม อย่างเช่นมีพี่ผู้หญิงอยู่คนนึง ตามเก็บขี้ช้างจากทั่วทั้งป่า เสร็จแล้วก็เอามาสกัด DNA เพื่อเอาไปใช้ทดสอบทำลายพิมพ์ DNA ช้าง (หลักการเดียวกับลายพิมพ์รอยนิ้วมือ) จะได้สามารถระบุได้ว่าตัวไหนเป็นตัวไหน แล้วก็จะได้สำรวจได้อย่างแม่นยำกว่าเดิมว่าในป่ามันมีช้างอยู่ทั้งหมดกี่ตัวกันแน่.. อีกคนนึงเป็นรุ่นน้องผมชื่อเชฐ คนนี้ก็ทำเรื่องช้างเหมือนกัน แต่เน้นด้านชุมชนเป็นหลัก คือลงไปช่วยชาวบ้านคิดหาวิธีไล่ช้างที่ชอบออกจากชายป่ามาบุกกินพืชไร่ ไอ้ความรู้เรื่องช้างสีดอที่ไม่มีงานั่น ผมก็เพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรกจากปากของน้องเชฐผู้นี้นี่แหละ ต้องขอบคุณมากๆ เลยนะ

...อีกท่านหนึ่งที่ประทับใจมากๆ ก็คือ อาจารย์พิไล หรือ เจ้าแม่นกเงือก (ในเมืองไทยนี่ ใครเชี่ยวชาญเรื่องตัวอะไรก็มักจะถูกเรียกฉายาตามชื่อตัวนั้นๆ อย่างเช่น ดร. ปลา อาจารย์เต่า เจ้าแม่พะยูน หรือ เจ้าพ่อเสือ อะไรก็ว่ากันไป) ซึ่งเป็นคนที่ปลุกกระแสอนุรักษ์นกเงือกขึ้นมาเป็นคนแรกของประเทศไทยและภายหลังก็ได้รับการยอมรับในระดับนาๆ ชาติไปทั่วโลก

...แต่ที่สำคัญที่สุด(ต่อเรื่องที่เขียนอยู่นี้) เห็นจะหนีไม่พ้นพี่ผู้หญิงคนนึง ซึ่งต่อไปคงได้รับสมยานามว่าเป็น ‘เจ้าแม่หิ่งห้อย’ แห่งประเทศไทยเป็นแน่แท้ (ชื่อเล่นจริงๆ แกชื่อ พี่ก้อย แต่เมื่อผสมกับที่ชอบศึกษาหิ่งห้อยแล้ว ก็ไม่แน่ใจว่า อาจจะเรียกว่า ‘พี่ห้อย’ ได้รึเปล่า) พี่ห้อยผู้นี้ แกได้พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงหิ่งห้อยในห้องแล็บขึ้นมาได้สำเร็จเป็นคนแรกของบ้านเรา (หรืออาจจะของโลกด้วยรึเปล่าไม่แน่ใจ สำหรับหิ่งห้อยตระกูลนี้นะ) ฟังจากที่แกเล่าแล้ว อุปสรรคความยากลำบากก่อนที่จะสำเร็จได้ มันช่างมากมายเหลือเกิน คือแกเริ่มต้นทำมาตั้งแต่อยู่ป. ตรี มาจนถึงตอนนี้อยู่ป. เอก แล้ว ถึงเพิ่งจะสำเร็จเมื่อไม่นานมานี้เอง เรียกว่าใช้เวลาเกือบ 10 ปีได้ กว่าจะเริ่มจากต้องไปเก็บหิ่งห้อยมา เอามาศึกษาว่ามันชอบวางไข่บนใบไม้แบบไหน พอไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนเหมือนลูกน้ำยุง ต้องให้มันกินอะไร น้ำต้องอุณหภูมิเท่าไหร่ ต้องสะอาดขนาดไหน สี่ห้าเดือนผ่านไป กว่ามันจะโต พอจะเข้าดักแด้ ก็ต้องเอาดินมาให้มันอยู่นะ ต้องหาฝาแก้วมาปิดจะได้มองเห็นพัฒนาการข้างในดักแด้ของมันได้นะ พอฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัย จะศึกษาพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของมันก็ต้องทำตอนกลางคืน ปิดไฟมืดสนิท นั่งดูนั่งถ่ายวิดิโอทีละเป็นสี่ห้าชั่วโมง ต้องทำทุกคืน ต้องดูแลทุกวันไม่มีวันหยุด ไหนจะมีปัญหาเรื่องทำๆ ไป อ้าวหิ่งห้อยเริ่มเป็นโรคตาย เพราะมันผสมพันธุ์กันในหมู่พี่น้องมากเกิน ก็ต้องออกไปหาหิ่งห้อยจากข้างนอกมาเพิ่มใหม่ ไหนจะทำๆ อยู่ดีๆ ก็เพิ่งค้นพบว่า อ้าวชนิดนี้เป็นชนิดใหม่ ไม่ได้เคยมีใครบันทึกไว้มาก่อน ก็ต้องมานั่งทำทะเบียนจดบรรยายลักษณะให้มันอย่างละเอียด หนวดมีกี่ปล้อง ขามีขนกี่เส้น อวัยวะเพศรูปร่างเป็นยังไงก็ต้องดึงออกมานั่งวาดอีก มุ่งมั่นศึกษาอยู่คนเดียวด้วยความทรหดอดทนเป็นอย่างยิ่ง จนถึงตอนนี้ก็เรียกได้ว่า อะไรต่างๆ มันก็เริ่มที่จะเข้าที่ละ และต่อไปอีกไม่นานก็คงเลี้ยงได้อย่างเป็นระบบ แล้วก็สามารถลงมือทำการศึกษา เพื่อหาคำตอบจริงๆ จังๆ เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมของมันได้ซักที

...ผมฟังที่พี่ห้อยเค้าพูดจบ ก็เลยได้เป็นไอเดียบรรเจิดกลับมานั่งคิดที่บ้านนี่แหละครับ ว่าเออ ถ้าเรามีประชากรหิ่งห้อยพร้อมแล้ว ไม่แน่เราอาจจะสามารถลงมือศึกษาเรื่อง satellite male ได้นะ ว่ามันมีจริงรึเปล่า? แล้วถ้ามันมีจริงเนี่ย พวกมันจะประสบความสำเร็จในการหาคู่ได้มากน้อยขนาดไหน เมื่อเทียบกับตัวผู้อื่นๆ ที่กระพริบแสงตามปกติ? ตัวเมียมันจะยอมผสมพันธุ์กับตัวผู้ขี้โกง ที่ไม่ยอมกระพริบแสงมั้ย? หรือถ้า satellite male ไม่มีในหิ่งห้อย เป็นไปได้มั้ย ว่าเป็นเพราะหลอดไฟตรงตูดมันนั่นอาจจะเป็นหลอดผอมจอมประหยัด คือกระพริบไปเถอะไม่ได้สิ้นเปลืองพลังงานอะไรมาก ไม่จำเป็นต้องโกงก็ได้? หรือว่า จริงๆ แล้วปัจจัยเรื่องผู้ล่า แล้วก็ปรสิต อาจจะเข้ามามีอิทธิพลด้วย? ในหิ่งห้อยชนิดนี้มีตัวอะไรมากินมันมั่งรึเปล่า? มีแมลงวันมาวางไข่ในตัวมันมั่งรึเปล่า? แล้วพวกตัวเหล่านี้มาตามแสงของมันใช่หรือไม่? satellite male ในหิ่งห้อยอาจจะวิวัฒน์ขึ้นมาเพื่อเป็นวิธีหลีกเลี่ยงศัตรูตามธรรมชาติเหมือนอย่างในจิ้งหรีดก็เป็นได้..เอ๊ะแล้วหิ่งห้อยตัวเดิมถ้าเป็น satellite แล้วจำเป็นต้องเป็นไปตลอดเหมือนอย่างในจิ้งหรีดมั้ย? หรือว่ามันสามารถเลือกตัดสินใจได้ คืนไหนจะโกง คืนไหนจะไม่โกง? เออ แล้วนี่ ถ้าเลี้ยงได้เยอะๆ แล้ว จะสามารถผลักดันให้หิ่งห้อยกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดใหม่ มีขายตามจตุจักร คนสามารถซื้อไปปล่อยตามต้นไม้ที่บ้าน เป็นไปได้มั้ย? โอยยยย.. คำถามมันช่างผุดขึ้นมาไม่รู้จบ

...เสียดายในงานยังไม่มีโอกาสได้แชร์ไอเดียเหล่านี้ร่วมกับพี่ห้อยเป็นการส่วนตัว แต่ยังไงก็คาดว่า ต่อไปน่าจะได้ลองติดต่อขอไปเยี่ยมชมแล็บแกดูซักครั้งอย่างแน่นอน หรือไม่แน่นะครับ ผมอาจจะถึงขั้นขอสมัครเป็นลูกศิษย์ ไปทำงานร่วมกับแก ช่วยกันวิจัยเรื่องพฤติกรรมทางเพศของหิ่งห้อย (หลังจากที่ได้ศึกษาการเอากันของปลาหมึกมาจนเบื่อแล้ว) ดีไม่ดีสมัครเข้ามหิดล ทำเป็นตีสิสระดับปริญญาเอกไปเลยก็เข้าท่า..

บทความทั้งหมด คัดลอกมาจาก http://www.onopen.com/2007/02/1997 ครับ sleep
      บันทึกการเข้า

...
Apirat T.
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,357

« ตอบ #26 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2553, 12:53:41 »

ผมว่าทั้งหมด มันเป็นไปตามสัญชาตญาณของการเอาตัวรอดมากกว่า
หากทำไปแล้ว ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
หากยังฝืนทำอยู่ ท้ายที่สุดมันเอง ก็ต้องสูญหายไปจากโลกอ่ะครับ
ประมาณว่า ใช้ไขกระดูกสันหลัง แทน สมอง อะไรประมาณนั้น
      บันทึกการเข้า
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #27 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2553, 21:58:39 »

ตกลงคนเป็นสัตว์กินพืชหรือสัตว์กินเนื้อกันแน่?  งง งง
(คัดลอกมาจากบทความของ อาจารย์ แทนไท ประเสริฐกุล)


เคยได้ยินพวกกินเจ มังสวิรัติ พวกชีวจิต การแพทย์ทางเลือก พวกถือศีล ปฏิบัติธรรม ไม่ก็พวกอนุรักษ์ เรียกร้องคุ้มครองสิทธิ
สัตว์ (เช่น PETA) ออกมาพูดกันบ่อยๆ บอกว่า คนเราเนี่ย จริงๆ แล้วโดยธรรมชาติเป็นสัตว์กินพืชนะ เพราะฉะนั้นจงเลิกกินเนื้อกันเสียเถอะ อย่ามัวแต่ฝืนกฏธรรมชาติกันอยู่เลย หันมากินแต่ผักผลไม้กันดีกว่า ไม่อย่างงั้น เดี๋ยวจะไม่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาตินะ จะบอกให้

ทำไมท่านเหล่านี้จึงเชื่อว่าการกินพืชเพียงอย่างเดียวเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของคนเราครับ?

เหตุผลคลาสสิคที่หลายคนนำมาอ้าง หากลองไปเสริชดูตามเว็บต่างๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะเจอประมาณนี้*

*หมายเหตุ-ผมเลือกมาให้อ่านเยอะหน่อยนะครับ ถ้าขี้เกียจจะข้ามๆ ไปมั่งก็ได้ แต่ใจจริงอยากให้ใช้เวลาอ่านให้ครบทุกอัน เพราะ 1. หลายๆ อันมีช็อตเด็ดซ่อนอยู่ ไม่ควรพลาด 2. จะได้เข้าใจภาพรวมของความเห็นพวกนี้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด และ 3.จะได้ประจักษ์ว่า ความคิดเห็นทำนองนี้มันมีมากมายแพร่หลายขนาดไหนในประเทศไทยของเรา ถึงแม้จะเป็นแค่ในอินเตอร์เน็ตก็เถอะ

“มนุษย์เป็นสัตว์กินพืชนะ สังเกตจากโครงสร้างฟันเอา.. กินเนื้อมากๆ มะเร็งถามหา”
จากกระทู้หนึ่งใน pantip

“เคยได้ยินมาว่า คนเป็นสัตว์กินพืชด้วยเหตุว่ามีลำไส้ยาว และไม่มีฟันเขี้ยวสำหรับบดฉีกเนื้อครับ”
จากกระทู้หนึ่งใน ลานธรรมเสวนา


ทั้งหมดนี้มันจริงแน่หรือ? gek

โดยส่วนตัวผมไม่ได้มีอะไรต่อต้านการกินผักกินเจหรอกนะครับ เพียงแต่รู้สึกว่า เหตุผลต่างๆ ที่ท่านทั้งหลายนำมาอ้างเกี่ยวกับธรรมชาติเนี่ย ดูมันจะเป็นการสรุปอะไรอย่างง่ายดายเกินไปหน่อย..

เช่นนี้แล้ว กระผมอยากใคร่ชักชวนพวกเรา ลองมาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่างๆ กันอย่างลึกซึ้งกว่านี้อีกหน่อยจะดีไหม? เผื่อจะได้มาซึ่งเหตุผลในการละเว้นเนื้อสัตว์ ที่มันสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น (ถ้าหากท่านเชื่อว่าการอ้างอิงความจริงเป็นเรื่องสำคัญนะ)

อันดับแรกเลย ขอเชิญมาดูเรื่องฟันกันก่อนครับ



โอเค จริงอยู่ ฟันพวกสัตว์กินเนื้ออย่างหมากับแมว มีทั้งเขี้ยวแหลมคม ทั้งหยึกหยักขึกขัก แตกต่างจากของคนโดยชัดเจน อันนี้ต่อให้เอาเด็กอ้วนเบร้อ-นมบอดที่ไหนมาดูก็น่าจะสามารถบ่งบอกได้ เรื่องนี้มันไม่มีใครเถียงตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

ทว่า ในขณะเดียวกัน ครั้นจะฟันธงไปเลยว่าฟันคนมันเหมือนกับของสัตว์กินพืช..
อืมม.... อันนี้ ผมว่า.. มันก็ไม่ได้เหมือนซะทีเดียวนะ
เตือน

หากดูให้ละเอียด ฟันกรามของสัตว์กินพืชแท้ จะมีลักษณะพิเศษคือซี่มันจะใหญ่โตโอราฬ แล้วก็จะงอกสูงตระหง่านขึ้นมาจากระดับเหงือกเยอะมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผื่อเนื้อที่ในการสึกกร่อน อันมักบังเกิดจากการที่ต้องเสียดสีกับความหยาบคายของกิ่งไม้ใบหญ้าอยู่ตลอดเวลา ฟันกรามของคนเรา เมื่อพินิจน์ดูแล้ว ช่างงอกเตี้ยติดเหงือกกว่าของพวกนี้มากนัก


(ซ้าย ฟันกรามคน...ขวา ฟันกรามม้า)
      บันทึกการเข้า

...
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #28 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2553, 22:05:48 »

ประการต่อมา สำหรับสัตว์กินพืชแท้ๆ การบดๆๆ แล้วก็เคี้ยวๆๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ยิ่งมีจำนวนฟันที่อุทิศให้กับหน้าที่นี้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ดังนั้น ตลอดระยะเวลาวิวัฒนาการที่ผ่านมา ฟันกรามเล็กของสายพันธุ์สัตว์กินพืชจึงมักถูกเกณฑ์ให้ไปช่วยทำหน้าที่ในการบดร่วมกันกับฟันกรามใหญ่ รูปร่างของมันก็มักจะได้รับการปรับแต่งจนมีหน้าตาและการใช้งานที่เหมือนกับฟันกรามใหญ่เป๊ะ ในขณะที่ ถ้าเรามาดูในฟันกรามเล็กของคนเรา จะพบว่า ลักษณะมันยังเป็นกึ่งๆ ระหว่างฟันกรามกับฟันเขี้ยวอยู่ คือมีทั้งหน้าตัดที่กว้าง แล้วก็มีทั้งยอดที่แหลมๆ ขึ้นมาด้วย คงความเอนกประสงค์เอาไว้ เผื่อสำหรับเวลากินเนื้อ ก็จะได้สามารถใช้ฟันพวกนี้แหละ ทั้งฉีกทั้งเคี้ยวในซี่เดียวกัน



สังเกตว่าฟันกรามใหญ่กรามเล็กของวัวจะหน้าตาเหมือนกันเอาไว้ใช้บดเคี้ยวทั้งคู่ ส่วนในคน กรามเล็กจะมียอดแหลมๆ อยู่ เอาไว้ช่วยฟันเขี้ยวในการเจาะฉีกมากกว่า

นอกจากนี้ อีกส่วนนึงที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดจริงๆ ก็คือ ในสัตว์กินพืช ฟันกรามทั้งหมด พื้นผิวหน้าตัดด้านบนมันจะได้รับการดัดแปลงพิเศษ ให้มีสันมีร่องต่างๆ มากมาย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบด ครูด ขยี้ อาหารที่มันกินเข้าไปให้แหลกละเอียด (นึกถึงภาพ ที่บดปลาหมึก ไม่ก็ไอ้เครื่องที่เค้าเอาไว้ใช้รีดน้ำอ้อย พวกนี้จะมีลักษณะพื้นผิวเป็นสันๆ ร่องๆ เหมือนกัน) ถ้าไปดูฟันกรามของวัว ของกวาง ของแกะ จะเห็นได้ชัดเลยว่าทุกซี่ล้วนมีสันมีร่องตามยาวไล่ขนานไปกับแนวขากรรไกร ยิ่งของม้านี้ยิ่งมีมากร่อง พับไปพับมา สลับซับซ้อนมาก..


บนซ้าย: ฟันกรามวัว บนขวา: ฟันกรามกวาง ล่าง: ฟันกรามกาเซล(สัตว์ตระกูลกวางชนิดหนึ่ง)


ฟันกรามม้า


      บันทึกการเข้า

...
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #29 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2553, 22:11:28 »

นี่แหละครับ ถ้าดูกันที่ร่องที่สันของฟันกรามละก็ บนฟันคนเราไม่มีอะไรแบบนี้แน่นอน แตกต่างจากของสัตว์กินพืชโดยสิ้นเชิง ต่อให้เอาเด็กอ้วนเบร้อ-นมบอดคนเดิมมาดูก็น่าจะบ่งบอกได้ง่ายไม่แพ้กัน

ในความเป็นจริง พื้นผิวด้านบนของฟันกรามใหญ่ของคน มีลักษณะเป็นปุ่มๆ นูนๆ มนๆ โผล่ขึ้นมาตรงมุม ทั้งหมด 4 ปุ่ม ผิวฟันกรามแบบนี้ ไม่เหมือนทั้งของช้างม้าวัวควาย ไม่เหมือนทั้งของเสือสิงห์กระทิงแรด แต่กลับไปละม้ายคล้ายคลึงกับของหมูและหมีซะมากกว่า ซึ่งสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ หากดูตามพฤติกรรมการกิน จะพบว่าต่างก็เป็นสัตว์ที่ไม่เรื่องมากด้วยกันทั้งคู่ คือโดยทั่วไปกินอาหารได้หลากหลาย มีอะไรให้กินก็กินได้หมด ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเนื้อหรือเป็นพืชแต่อย่างเดียว เราเรียกพวกมันว่าเป็น Omnivore (คือ ผู้ที่กินทุกอย่าง)


ฟันหมู


ฟันหมี


ฟันคน
      บันทึกการเข้า

...
Apirat T.
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,357

« ตอบ #30 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2553, 17:07:59 »

สรุปก้อคือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่กินทุกอย่าง

แต่ใครจะไปกินพืชอย่างเดียว
หรือบางคนอยากจะกินแต่เนื้ออย่างเดียว

อันนี้ก็แล้วแต่ความพีงพอใจส่วนบุคคล ห้ามกันไม่ได้
      บันทึกการเข้า
ชาร์ป
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,119

« ตอบ #31 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2553, 17:27:21 »

แต่ตอนนี้ ฟันผุ  ต้องกินอะไรอ่อน ๆ
      บันทึกการเข้า
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #32 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2553, 10:37:05 »

อ้างถึง
ข้อความของ Apirat T. เมื่อ 18 สิงหาคม 2553, 17:07:59
สรุปก้อคือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่กินทุกอย่าง

แต่ใครจะไปกินพืชอย่างเดียว
หรือบางคนอยากจะกินแต่เนื้ออย่างเดียว

อันนี้ก็แล้วแต่ความพีงพอใจส่วนบุคคล ห้ามกันไม่ได้

ใช่แล้นครับ...

แต่ประเด็นหน่งที่น่าคิด คือ...
พวกที่อ้างถือศีลกินมังสวิรัตต์ > แต่พยายามให้ข้อมูลที่เป็นเท็จแก่ผู้อื่น ว่ามนุษย์เป็น Herbivore(พวกกินพืช 100%) โดยธรรมชาติเนี่ย
ถึงเขาจะลงลึกในศีลข้อ 1 แค่ไหน? แต่เขากลับผิดศีลข้อ 4 เบื้องต้น อย่างหน้าตาเฉย
   smoke
      บันทึกการเข้า

...
Tarnthongl
Full Member
**

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 482

« ตอบ #33 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2553, 17:46:15 »

เยี่ยมจริงๆๆ
      บันทึกการเข้า
telek78
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2538
กระทู้: 1,924

เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2553, 01:19:08 »

กินผักอย่างเดียวเนี่ยะ สุดท้ายจะมีผลกับร่างกายมั้ย
      บันทึกการเข้า
Tarnthongl
Full Member
**

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 482

« ตอบ #35 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2553, 22:28:38 »

ไม่รู้ลองดูดิ แต่กินให้ได้สารอาหารครบละกัน bye bye
      บันทึกการเข้า
Aj.O
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,241

« ตอบ #36 เมื่อ: 16 มกราคม 2556, 21:53:25 »





จากหนังสือ'เหตุผลของธรรมชาติ'ของคุณหมอชัชพล เกียรติขจรธาดา
      บันทึกการเข้า

...
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #37 เมื่อ: 21 มกราคม 2556, 05:24:58 »


what??
อะไรน้องจาร'โอ?
พูดถึงเชื้อโรค?
พูดถึงภูมิคุ้มกันที่ร่างกายแต่ละคนต่อสู้เชื้อโรคด้วยคะ
เพราะขาดภูมิ,แม้แต่หวัดก็ม่องเท่งได้แล้ว!!
ทำไงให้ร่างกายมีภูมิต่างหาก..

สำคัญ!
      บันทึกการเข้า


  หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><