ลอกมาจาก
https://www.facebook.com/danwira/posts/505745362823961?comment_id=4407524&offset=0&total_comments=4¬if_t=feed_commentเมื่อวานมีเพื่อนเก่าคนหนึ่งถามว่า
เพื่อน:ได้ข่าวว่าเธอจะลาออกจากงานแล้วหรือ
เรา : (นึกในใจ:มันรู้ได้ยังไงฟระ เพิ่งคิดประเด๋วนี้เอง)
ป่าว เคยคิดแต่ตอนนี้ยัง
เพื่อน:ทำไมหละ
เรา: จะรอลาออกจาก กบข.ก่อน
เพื่อน:ทำไมหละ
เรา:มันดีกว่ามาก ตอนสมัครเราถูกหลอกกันต่อ ๆ มา
ขืนลาออกตอนนี้ไม่พอกิน
เพื่อน:ทำไมหละ
เรา:บำนาญจะหายไปเดือนละหลายหมื่น
เพื่อน:ดูดีๆ อย่างโดนหลอกอีกหละ
วรพรรณ เลิศไกร สรุปว่าควรอยู่หรือควรออกดีคะ 555
Jossin Sriyabhaya ถูกหลอกหลายคนแร๊ะ รวมข้าพเจ้าด้วยล่ะ เงินเก็บข้าราชการทั้งนั้น เดือนล่ะ 3 % เอาไปปู้ยี่ปู้ยำ
สุวิทย์ แสงมณี ที่ออกไปแล้วอย่างผม จะแ้ก้ยังไงดีละ
Chulee Thongsuk ทู ถ้าลาออก จาก กบข อายุย่างพวกเรา ก่อนเกษียณ ได้เปรียบ? เสียเปรียบ ? อย่างไร?
Dan Wira
เรียนทุกท่าน ไม่มีสูตรสำเร็จว่าดีกว่าหรือแย่กว่าอย่างไร เพราะมีตัวแปรมากได้แก่ อายุตัว อายุราชการ วันทวีคูณ(ผมมีประมาณ 7 ปี)คนที่รับราชการปี 30 ไม่เคยอยู่ชายแดน/กอ.รมน.จะมีประมาณ 3-4 ปี ตามระยะเวลาปฏิวัติ คนที่เงินเดือนตันนานๆ จะได้เปรียบเรื่องเงินเดือนเฉลี่ย 60เดือนสุดท้าย คนที่ปี 40 มีเงินเดือนมากจะได้เงินประเดิมและเงินชดเชยมาก
Dan Wira ต้องดูเป็นคนๆไปครับ
Dan Wira อย่างของผม ถ้าอยู่ในระบบต่อไป ผมจะได้เงินก้อนประมาณ หกแสนถ้าออกตอนนี้ ถ้าลาออกจาก กบข.จะได้เงินสะสมคืน ประมาณ สองแสน หายไปสี่แสน เงินบำนาญคิดตามระบบ กบข.จะได้ประมาณ หมื่นห้า ระบบเดิมจะได้ สองหมื่นห้า หายไปเดือนละหมื่น รับบำนาญใหม่ 4 ปีก้อคุ้มแล้วครับ แต่ถ้าออกตอน อายุ 60 ปีก้อยิ่งมีส่วนต่างยิ่งขึ้น 2-3 ปีก้อเกินคุ้ม แต่ถ้าออกปุ้บตายปับ ก้อช่างมันเถอะ
Dan Wira ถ้าใส่ข้อมูลปัจุบัน ของผม คิดตามระบบเก่า จะได้บำเหน็จ 1,306,880 บาท บำนาญ 26,137.60 บาทต่อเดือน และได้เงิน กบข.คืนอีก 194,105.73 บาท ถ้าคิดตามระบบ กบข.จะได้บำเหน็จ 1,021,000 บำนาญ 15,000 บาทต่อเดือน ได้เงินจาก กบข.อีก 591,084.05 บาท
Dan Wira ถ้ารับบำเหน็จ แบบเก่าจะได้รวม 1,500,985.73 บาท แบบ กบข. 1,612,084.05 บาท แสดงว่าแบบ กบข.ได้มากกว่า 111,098.32 บาท
Dan Wira ถ้ารับบำนาญ แบบเก่า ได้ 26,137.60 แบบ กบข.ได้ 15,000 ต่างกันเดือนละ 11,137.60 บาท ได้เงินก้อนต่างกัน 396,978.32 บาท ประมาณ 35.64 เดือน(ประมาณ 3 ปี)จึงคุ้ม ถ้ารับบำนาญ 6 ปีแล้วตาย จะได้มากกว่าระบบ กบข. 396,978 บาทเชียว
Dan Wira พี่สุวิทย์ ต้องเอาข้อมูลมาพิจารณา ครับ ต้องตั้งเป้าไว้ว่ากี่ปีตาย
Dan Wira อย่างผม ถ้ารับบำเหน็จ แบบ กบข.ได้มากกว่า ถ้ารับบำนาญต้องอยู่เกิน 3 ปีจึงคุ้ม แต่ผมคงเลือกรับบำนาญเพราะยังสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลต่อไปได้อีก ตอนนี้ค่ายาก็เดือนละเกินหมื่นแล้วครับ
Dan Wira แต่ถ้ารับเดือนละ 15,000 ตกวันละ 500 ไม่พอใช้ครับ อยู่ได้ไม่เกินวันละ 6 ชม.ที่เหลือต้องดิ้นรนขนขวายอีกครับ
หมายเหตุ คำนวณเบื้องต้นบำเหน็จบำนาญได้ที่
http://www2.cgd.go.th/rightMenu_7.aspคำนวณผลที่ได้จาก กบข.ที่
https://gpfservices.gpf.or.thมติ ครม.วันที่ 23 เมษายน 2556
4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
2. เห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเข้าบัญชีเงินสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับภาระการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
3. เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและลดภาระให้แก่ข้าราชการและผู้รับบำนาญ จึงเห็นชอบ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว รวมทั้งเงินบำนาญส่วนเพิ่ม จากการดำเนินการตามแนวทางที่ให้ข้าราชการและผู้รับบำนาญ ซึ่งเป็นสมาชิก กบข. โดยสมัครใจสามารถเลือกกลับไปรับบำนาญตามระบบเดิม
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... การแก้ไขปัญหาสมาชิก กบข. ในเรื่องบำนาญ มีดังนี้
1) ข้าราชการ (สมาชิก กบข. ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครเป็นสมาชิก กบข.)
(1) สมาชิก กบข. ซึ่งประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 และให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557
(2) ผู้ซึ่งจะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ยกเว้นกรณีถึงแก่ความตาย ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ให้สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อวันออกจากราชการ
(3) การแสดงความประสงค์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 หรือวันออกจากราชการ และให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ทั้งนี้ การแสดงความประสงค์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
(4) ข้าราชการตามข้อ (1)-(3) ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว โดยให้ กบข. ส่งเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงินสำรอง สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว กบข. จะจ่ายคืนให้แก่ข้าราชการผู้นั้น
(5) การส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรองและการจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ให้เป็นไปตามที่ กบข. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะกำหนดให้ กบข. นำเงินประเดิม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับคืนจากสมาชิกส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง ทั้งนี้ กบข. จะต้องจัดทำรายงานการนำเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวส่งเข้าบัญชีเงินสำรองต่อกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ กบข. จะต้องรายงานให้กรมบัญชีกลางทราบ
(6) หากข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557 หรือก่อนวันออกจากราชการ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ
2) ผู้รับบำนาญ (สมาชิก กบข. ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครเป็นสมาชิก กบข. แต่ได้ออกจากราชการแล้ว)
(1) หากประสงค์จะขอกลับไปรับบำนาญตามสูตรเดิม (พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494) ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 และผู้รับบำนาญจะต้องคืนเงินก้อน (เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว) ที่ได้รับไปแล้วแก่ทางราชการ โดยผู้รับบำนาญจะได้รับบำนาญตามสูตรเดิม ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยวิธีหักกลบลบกัน
(2) การหักกลบลบกัน หากมีกรณีที่ผู้รับบำนาญต้องคืนเงิน ให้ผู้รับบำนาญคืนเงินแก่ส่วนราชการผู้เบิกภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2557 เพื่อนำส่งให้กรมบัญชีกลาง โดยเงินที่ส่วนราชการได้รับคืน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หากมีกรณีที่ต้องคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ กรมบัญชีกลางจะคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ หากมีเงินเหลือจะนำส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง
(3) ผู้รับบำนาญที่ได้แสดงความประสงค์แล้ว เป็นผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการ แต่หากผู้รับบำนาญมีกรณีที่ต้องคืนเงิน ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2557 จึงจะได้รับสิทธิดังกล่าว
(4) หากผู้รับบำนาญซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ และหากมีกรณีต้องคืนเงินให้ส่วนราชการผู้เบิกแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อถอนเงินที่ผู้รับบำนาญคืนให้แก่ส่วนราชการผู้เบิก เพื่อคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด จะกำหนดเรื่องการดำเนินการถอนเงินคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญที่ตายไปก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ