สวัสดีครับ พี่ป๋อง น้องมนตรี น้องทราย น้องเสียด และพี่ๆ น้องๆ
ขอบคุณพี่ ป๋อง ทีช่วย post ภาพ สร้าง สี สรร ดีครับทีได้เห็น ขอบคุณน้องมนตรีที่แวะมาเยี่ยม
Partitive mixing น่าจะมาจากคำว่า Party + Active ผมคิดเอาเองนะ ( ฝรั่งไม่ได้บอกไว้ )
เพื่อจะได้จำได้ง่าย ทำไม Party เพราะว่า มันเป็นการผสมของทั้ง 2 แบบ Additive และ Subtractive
วุ่นวาย คล้ายมี Party อย่างไรอย่างนั้น ภายใต้ข้อแม้ ของขนาดที่ต้องเล็ก และระยะทางระหว่าง
แหล่งกำเนิดแสง-สี่ หรือ การสะท้อนแสงจากแหล่งเล็กๆ มาสู่ดวงตา อธิบายยาก ต้องมี ภาพประกอบ
จากตัวอย่าง ภาพแรก หมู่ดอกไม้ หลากสีที่อยู่ปนๆกัน เมื่อเราถอยห่างออกมาที่ระยะพอสมควร เราจะได้
สีที่ 3 เกิดขึ้น
ภาพที่ 2 เป็นเรื่องของผ้า ระหว่าง ด้ายแนวนอน กับ แนวตั้ง จะใช้ เทคนิคนี้มาก ต.ย.
เช่น ผ้าไหม ประมาณว่า สี แมลงทับ (เขียวเข้ม) เนื่องจากผ้าไหมเป็นเงางามอยู่แล้ว ใน
เทคนิคดั่งเดิม ชาวบ้านจะใช้ ด้ายแนวยืน กับแนวนอนสีเดียวกัน ก็จะได้ความสวยที่ระดับหนึ่ง
สมัยใหม่ พอเปลี่ยนเส้นด้ายขวางเป็นอีกสีหนึ่ง จะงามมากยิ่งขึ้นเช่น ใน ปัจจุบัน เหลือบ
ของแสง สีที่เกิดขึ้นบนเงาผืนผ้าจะงดงามมาก ให้ไปสังเกตุที่เส้นด้าย เคยถามคนทอผ้า เขา
บอกว่าถ้าแทรก ด้ายเหลืองเขาไปด้วยจะสวยมาก ก็ถามเขาว่าทำไม ต้อง เหลืองด้วยละ
คนทอเขาบอก ว่าไม่รู้ เพียงแต่เวลาต้องแสงแล้วมันสวย พวกเราเรียนมาถึงตอนนี้ น่าจะ
ยิ้มได้ นะเพราะรู้คำตอบ ก็สีเหลือง เกิดจาก แสงแดง +แสงเขียว ดังนั้นจากมุมมอง และ
การพริ้วตัวของผ้า เขาจะกระจาย แสงแดงและ แสงเขียวออกมาด้วยทำให้ได้ เหลือบสีหลาก
หลายมากขึ้น แต่ควร คิดเรื่องสี ด้วย YMCและK นะเพราะเป็นเรื่อง การสะท้อนแสง
ภาพที่ 3 เป็นเทคนิคในกระบวนการพิมพ์ภาพสีในปัจจุบันโดยใช้ สีใส Transparent YMCและK
เป็นหลัก ให้ใช้แว่นขยายสองดูที่รูป แล้วจะเห็นเม็ด ซ้อนกันดังภาพ
ภาพที่ 4 เป็นระบบจอภาพ แสงเม็ดเล็กๆจะเปล่งออกมาโดยไม่ได้ซ้อนกัน จอภาพสีต่างๆ
จะใช้ RGB เป็นหลัก
วิธีการทั้ง 4 นี้ เราใช้อยู่ตลอด บางครั้งเขาอาจเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า Optical mixing