สวัสดี ครับ น้องทราย ขอต่อจากเมื่่อ คืน
5. ภาพสีนํ้า ภาพนี้ สมมุติว่า สามารถแก้ไข ปรับปรุงได้ สิ่งที่ควรแก้ คือ back ground เท่านั้นแหละ
ภาพของใบไม้ สีเขียวขี้ม้า ไม่มั่นใจ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของช่อ ดอกหรือเปล่า ? ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของช่อดอก
ก็จะขาดไปนิด คือ ก้านใบ พอก้านใบไม่ชัด ก็สามารถให้ความรู้สึก/ คล้ายมาจากต้นอื่นเป็น back ground
ไปโดย ความรู้สึก over all ของ back ground ถ้าเปลี่ยนให้ สว่างขึ้นอีก จะสวยขึ้นอีกมาก ความจริง
นึกถึงภาพเขียน ดอก ซากุระ ของญี่ปุ่น
เรื่่อง ของสี หมดอายุ ตกตะกอน เป็นไปได้ ครับ เพราะ ตัวเม็ดสี( pigment) ได้มาหลายทาง จากธรรมชาติ
จริง หรือ การสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ได้ทั้งนั้น ถ้ารำคาญก็ต้องทิ้งไป
พอดี คุณมีนา ถามมา เกียวกับ สีนํ้า ที่ใช้เขียนผ้าบาติก กับสีนํ้า ระบายบนกระดาษ ก็จะขยายความเสริม
เท่า ที่พอจะมี ความรู้ นิดๆหน่อยๆ (เพราะ พวกเรา เป็น user) จะไม่รู้ลึก เหมื่อน พวก ผู้ ผลิต
สีนํ้า ( พวก water base ) ยังมี สีทาบ้าน พวก สีอะครีลิค acrylic และสีใช้ ในอุตสาหกรรม เคลือบโลหะ อีก
นํ้าเป็น แค่ตัวทำละลาย เพื่อที่เราจะเอา เม็ดสี( pigment)ไปฝาก/ฝังไว้ที่ ผิววัสดุ ( matter / material )
การเอาไป ฝาก /ฝัง ไว้ คุยกันแบบ คนมีดวามรู้น้อย ก็จะ บอกว่า มี 2 ลักษณะ คือ
1. ไปเติมเต็ม ในช่องว่าง ที่ว่างของโมเลกุล วัสดุนั้นๆ (fill up)จากนั้นนํ้าระเหย หนีไปกับอากาศ: แห้ง
2. ไปเกาะยึดกับโมเลกุลของ วัสดุนั้นๆ ( bonding)จากนั้นนํ้าระเหยหนีไป:แห้ง
การที่ สีนํ้า ระบายสี กระดาษ เมื่อถูกนํ้าแล้วยังสามารถ ละลายสีออกมาได้อีก ก็เพราะ เป็นเพียงไปเติมเต็ม
fill up ช่องว่า่งของโมเลกุล ที่เนื้อกระดาษเ่ท่านั้น ไม่ได้ ย้อม dye เพื่อให้เกิด bonding
ส่วนสีเขียนผ้า บาติก นั้น จะต้องมีตัว binder ทำให้เกิด bonding และน่าจะเป็น ตัว soda ash ถ้าจำไ่ม่ผิด
หรือ สี่สมัยใหม่เขาจะ ผสมมาใน เนื้อสีเลยเพือให้ user ใช้ง่าย
ดังนั้นใน สีที่ผลิต เพื่อการค้าในตลาด นี้จะประกอบไปด้วย
ก. pigment - เนื้อสี
ข. binder หรือ bonding เป็นอะไรก็แล้วแต่ เป็นความลับสุดยอด ของบริษัทผลิตสี
ค. ตัวทำละลาย จะเป็น นํ้า นํ้ามัน ทินเน่อร์ นํ้ามันสน นํ้ามันกาด ฯลฯ เพื่อประสิทธิภาพในการ
apply ลงบนผิว วัสดุ ต่างๆ
หมายเหตุ เรากำลังคุยกันเรื่อง การ apply สี หรือการทำสีนะ ไม่ใช่ สิ่งที่เกิดมาเป็นสีๆ แล้วตามธรรมชาติ จะคนละ
อย่างแน่นอน
เคยสงสัยไหม? ว่า ภาพ เขียนสี ผนังถํ่า ของคนโบราณ จึงยังคงอยู่ให้เราเห็น แม้ ว่า่จะผ่านมานานมาก