เหยง 16
|
|
« ตอบ #1100 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2557, 09:23:52 » |
|
ข่าวดีเกี่ยวกับการศึกษา โดยเฉพาะของจุฬาฯ จุฬาฯ - มก. - มม. เจ๋ง ติด ติดท็อป 100 มหาวิทยาลัยของโลก วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 15:15:09 น. นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า การจัดอันดับมหาวิทยาลัยจำแนกตามรายสาขาวิชาในระบบ Quacquarelli Symonds (QS) ประจำปี 2014 (QS World University Ranking by Subject 2014) พบว่า มหาวิทยาลัยของไทย จำนวน 3 แห่ง มีสาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 100 อันดับแรก จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาด้านเกษตรศาสตร์และวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) อยู่ในอันดับที่ 48 สาขาวิชาด้านเภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.)อยู่ในอันดับที่ 49 และสาขาวิชาด้านวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในช่วงอันดับที่ 51 จากการจัดอันดับดังกล่าว มีมหาวิทยาลัยไทยที่อยู่ในช่วง 200 อันดับแรกอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาฯ มม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) มก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) และถ้าขยายผลการจำแนกอันดับตามรายมหาวิทยาลัยเป็น 400 อันดับ จะพบว่า มีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชาเพิ่มขึ้นอีก ๔ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยจุฬาฯ มีจำนวนสาขาวิชาที่ติดในช่วงอันดับ 1-400 มากที่สุด จำนวน 14 สาขารองลงมาได้แก่ มม. และมช. จำนวน 4 สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จำนวน 3 สาขาวิชา
“สกอ. จะนำผลการจัดอันดับมาขยายผล โดยเร่งส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไทยต่อยอดการพัฒนาสาขาวิชาต่างๆ ที่มีศักยภาพสูง เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน และยกระดับการบริหารจัดการการศึกษา โดยเน้นการวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพในระดับสูง เพื่อผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกอย่างต่อเนื่องต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1399191034&grpid=01&catid=&subcatid=
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1101 เมื่อ: 04 กันยายน 2557, 16:05:49 » |
|
จุฬาฯเจ๋งคว้าแชมป์ยอดอ้างอิงผลงานวิจัยไทย 6 ปีซ้อน อันดับ 479 โลกวันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:41:31 น. วันที่ 4 กันยายน นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ 4,851 สถาบันทั่วโลก ของ SCIMago Institutions Rankings ปี 2014 โดยการจัดอันดับดังกล่าว จะดูจากจำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัยของสถาบันนั้น ๆ ในส่วนของจุฬาฯ ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้นำผลงานไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 479 ของโลก เท่ากับปีที่ผ่านมา
นอกจากจุฬาฯแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ ไม่เกิน 1,000 อันดับแรก มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อยู่ในอันดับที่ 519 และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) อยุ่อันดับที่ 878 ของโลก
“ถือเป็นปีที่ 6 ที่ผลงานวิจัยของจุฬาฯ ถือว่ามีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จุฬาฯมีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นจากปี 2551 ที่มีเพียง 1,000 กว่าผลงาน มาเป็น 2,000 กว่าผลงาน โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยพยายามส่งเสริมให้นักวิชาการสร้างสรรค์งานวิจัยในทุกสาขา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนจะเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์นิยมนำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ส่วนสายสังคม จะมีการตีพิมพ์น้อย เพราะนิยมเขียนให้ความรู้ในเชิงบทความมากกว่า ตรงส่วนนี้ทางจุฬาฯ ก็พยายามส่งเสริมให้นักวิจัยสานสังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากขึ้น"
นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในภาพรวมอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมงบประมาณในเรื่องงานวิจัยให้มากขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยไมได้มีหน้าที่ในเรื่องการสอนอย่างเดียว แต่มีความจำเป็นต้องสะสมความรู้เพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ ด้วย ปัจจุบัน รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยเพียง 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือ GDP ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกันประเทศเพื่อนบ้าน และต่อไปอาจจะกระทบต่อการพัฒนาในภาพรวม และที่ผ่านมาก็มีการให้งบสนับสนุนงานวิจัยหลายโครงการ อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ แต่ก็ขาดช่วง ไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งหากสามารถเดินหน้าต่อได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี ”
สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ โดย SCImago Institutions Rankings แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ งานวิจัย นวัตกรรม และเว็บไซต์ สำหรับด้านงานวิจัย เป็นการจัดอันดับความสามารถในการผลิตและการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus รวมถึงความเป็นผู้นำและการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆ อาทิ จำนวนผลงานทั้งหมดที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus สัดส่วนผลงานที่ตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันต่างประเทศต่อผลงานทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานวิชาการของสถาบัน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานของทั่วโลก อัตราส่วนของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลก จำนวนผู้เขียนผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งหมดของแต่ละสถาบัน เป็นต้นhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409812960
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1102 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 19:30:18 » |
|
จุฬาฯรั้งม.อันดับ 243 จัดอันดับมหาวิทยาลัยแถวหน้าของโลกปี 2014 วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 23:11:53 น.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเป็นมหาวิทยาลัยจากไทยที่รั้งอันดับสูงสุดในการจัดอันดับ QS World University Rankings ปี 2014 โดยจุฬาฯรั้งอันดับ 243 หล่นมาจากอันดับ 239 เมื่อปี 2013
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกในชื่อ QS World University Rankings ครั้งที่ 10 เพิ่งประกาศผลการจัดอันดับประจำปี 2014 เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา โดย 10 มหาวิทยาลัยอันดับต้นยังคงเป็นมหาวิทยาลัยจากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรครองพื้นที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงอันดับบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม อันดับ 1 ยังเป็นสถาบัน MIT หรือ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์จากสหรัฐฯ ขณะที่อันดับ 2 เป็นเคมบริดจ์ จากสหราชอาณาจักรและอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน รั้งอันดับ 2 ร่วมแทนที่ม.ฮาร์วาร์ด จากสหรัฐฯซึ่งปีนี้หล่นไปอยู่อันดับ 4
ด้านอ็อกซ์ฟอร์ด อีกหนึ่งม.ดังในเครือสหราชอาณาจักร อันดับขยับจากที่ 6 ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 5 ร่วม ขณะที่ประเทศอย่างเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, จีน, เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ต่างมีม.ดังอย่างน้อยหนึ่งแห่งติดใน 50 อันดับแรกด้วย การจัดอันดับยังระบุว่า 200 อันดับแรก มีมหาวิทยาลัยจาก 31 ประเทศทั่วโลกติด
สำหรับมหาวิทยาลัยไทยมีชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นม.อันดับดีที่สุด รั้งอันดับ 243 ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งรั้งอันดับ 257
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1103 เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 22:56:26 » |
|
Comments เพิ่มเติมครับ....ไทยไม่ติด 200 มหา′ลัยโลกอีกแล้ว มาเลเซียนำจนน่าเป็นห่วง!วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 22:25:46 น. เมื่อวันที่ 18 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกโดย QS World University Rankings ปี 2014-2015 ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยไทยติดอยู่ในอันดับ ดังนี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 1 ของไทย อันดับที่ 48 ของเอเชีย และอันดับที่ 243 ของโลก
มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อันดับที่ 2 ของไทย อันดับที่ 49 ของเอเชีย และอันดับที่ 257 ของโลก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 104 ของเอเชีย และอันดับที่ 501-550 ของโลก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 135 ของเอเชีย และอันดับที่ 601-650 ของโลก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 150 ของเอเชีย และอันดับที่ 651-700 ของโลก
มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับที่ 188 ของเอเชีย และอันดับที่ 701 ของโลก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 190 ของเอเชีย และอันดับที่ 701+ ของโลก
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 194 ของเอเชีย และอันดับที่ 701+ ของโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ 1-4 ของโลก ในการจัดอันดับครั้งนี้ ได้แก่
อันดับ 1 Massachusetts Institute of Technology (MIT) อันดับ 2 University of Cambridge อันดับ 3 Imperial College London และอันดับ อันดับ 4 Harvard University, University of Oxford ตามลำดับ
ซึ่งการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกครั้งนี้ QS World University Rankings พิจารณาจากตัวชี้วัด 6 ด้าน ได้แก่
1.ชื่อเสียงทางวิชาการของมหาวิทยาลัย 2.ทัศนคติของผู้จ้างงานบัณฑิต 3.สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา 4.สัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาต่อจำนวนอาจารย์ 5.สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่างชาติ และ 6.สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ
นายภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า จากการจัดอันดับโดย QS World University Rankings ปี 2014-2015 ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยไทยไม่ติดอยู่ใน 200 อันดับแรกของโลก ขณะที่มาเลเซียอยู่อันดับที่ 151 ของโลก
ส่วนมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับแรกๆ จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 243 ของโลก และ มม.อยู่ในอันดับที่ 257 ของโลก ซึ่งเป็นอันดับที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการที่มาเลเซียมีอันดับที่ก้าวกระโดดไปไกลกว่าไทยมาก จากที่เคยไต่อันดับตามไทย จึงเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าไทยต้องเร่งพัฒนาอุดมศึกษาให้มากกว่านี้ โดยการพัฒนาอาจต้องเริ่มจากการตั้งเป้า และพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาให้เข้าใกล้มาเลเซียให้มากขึ้นก่อน
"การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกโดย QS World University Rankings พิจารณาจากงานวิจัยเป็นสำคัญ ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณวิจัยเพิ่มมากขึ้น จะปล่อยให้ประเทศใช้งบวิจัยไม่ถึง 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะประเทศที่พัฒนาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับงบวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ที่สนับสนุนงบวิจัยไม่น้อยกว่า 3% ของจีดีพี" นายภาวิชกล่าว
-------------------------------------------------------------------------------- มติชนรายวัน 19 ก.ย. 2557 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411128462
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1104 เมื่อ: 29 กันยายน 2557, 09:35:29 » |
|
เห็นชื่อ สปช. เป็นชาวหอจุฬาฯ มา 3 ชิ่อครับ
ด้านการศึกษา - นายกมล รอดคล้าย
ด้านบริหารราชการแผ่นดิน -นางเบณจวรรณณ สว่างนิทร
ด้านปกครองส่วนท้องถิ่น - นายจรัส สุวรรณมาลา
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #1105 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2557, 21:06:12 » |
|
3 คนที่เอ่ยมารุ่นไหนมั่งอ่ะเหยง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1106 เมื่อ: 24 เมษายน 2558, 15:21:29 » |
|
ราชภัฏ ไร้ตำแหน่ง "ศาสตราจารย์" ขณะที่ มทร.มีเพียงคนเดียว23 เมษายน 2558 21:13 น. ก.พ.อ.เผยข้อมูลตำแหน่งวิชาการบุคลากรในรั้วอุดมฯ ตะลึง! “ราชภัฏ” ไม่มี “ศ.” ในสังกัด ขณะที่ “ราชมงคล” มีแค่คนเดียว เผยเร่งกำหนดนโยบายพัฒนาบุคลากร พร้อมเล็งตัดสิทธิ์อาจารย์ประวัติฉาวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประจำปี 2558 จำนวน 78 แห่ง และยังไม่ได้เสนอข้อมูลอีก 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย โดยมีบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งหมดประมาณ 183,335 คน แบ่งเป็น ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา 29,466 คน คิดเป็น 16.07% พนักงานมหาวิทยาลัย 100,156 คน คิดเป็น 54.63% พนักงานราชการ 2,202 คน คิดเป็น 1.20% ลูกจ้างประจำ 13,809 คน คิดเป็น 7.53% ลูกจ้างชั่วคราว 35,179 คน คิดเป็น 19.19% และอื่น ๆ 2,523 คน คิดเป็น 1.38% เมื่อจำแนกประเภทเป็นบุคลากรและประเภทสายงาน พบว่ามีบุคลากรสายวิชาการ ประมาณ 60,060 คน คิดเป็น 33% บุคลากรสายสนับสนุน ประมาณ 123,275 คน คิดเป็น 67% ขณะที่บุคลากรที่ตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งหมด 10,621 คน แบ่งเป็น ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 251 คน รองศาสตราจารย์ (รศ.) 3,325 คน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) 7,045 คน โดยอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 5,109 คน มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ 2,014 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) 2,156 คน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 1,709 คน โดยในมรภ.ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เลยสักคนเดียว ส่วน มทร.มีผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ (ศ.) เพียง 1 คน นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการร่างประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ (ผศ.) รองศาสตราจารย์ (รศ.)และศาสตราจารย์(ศ.) พ.ศ.... เพื่อเปิดกว้างให้นักวิชาการสายรับใช้สังคม สายปฏิบัติการสอน และผู้ที่ทำงานวิจัยต่าง ๆ ได้มีช่องทางในการขอเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเท่านั้น “ที่ประชุมมีความเห็นว่า ก.พ.อ.ควรกำหนดนโยยบายในการเร่งรัดให้พัฒนาบุคลากรในสายงานวิชาการให้มีวุฒิระดับปริญญาเอกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน รวมถึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ไปดูรายละเอียดในข้อกฎหมายให้รอบด้าน ทั้งกระบวนการ และดูไปถึงความมีจริยธรรมของผู้ที่จะขอเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วย โดยมีข้อเสนอว่า กรณีที่เคยมีประวัติล้วงละเมิดทางเพศ นักศึกษา หรือมีความประพฤติไม่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงาน ก็อาจจะถูกตัดสิทธิในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นต้น รวมถึงขอให้แยกประเภทของบุคลากร และประเภทของสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลและสามารถพัฒนาคุณภาพได้ตรงตามเป้าหมาย”รมช.ศึกษาธิการ กล่าว จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9580000046640
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1107 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 21:07:30 » |
|
เสาหลักของแผ่นดิน
วันนี้ (30 เม.ย.) ผศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวตอนหนึ่งในงานแถลงข่าว “บทเรียนจากเนปาลสู่ไทย...รับมือแผ่นดินไหวอย่างไร” ที่จุฬาฯ ว่า ขณะนี้มีข้อมูลคลาดเคลื่อนถึงการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำที่เนปาล ซึ่งจากการวิเคราะห์ของหน่วยงานนานาชาติล่าสุด ยืนยันแล้วว่ารอยแยกที่เกิดขึ้นเป็นคนละรอยแยกกับที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1934 แต่เป็นรอยแยกเดียวกับรอยแยกที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1505 ดังนั้น จึงเป็นการเกิดอุบัติซ้ำใน 510 ปี ไม่ใช่ 80 ปี ตามที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ทั้งนี้ ยืนยันว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยแน่นอน เพราะอยู่ห่างไกลกันมาก โดยแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยนั้น ได้แก่ แนวมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน และกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย ที่ผ่านพาดเมืองมิตจีนา เนปิดอร์ และ มัณฑเลย์ ของเมียนมา ซึ่งกลุ่มรอยเลื่อนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้ว 12 ครั้ง ความแรงสูงถึง 8.0 ริกเตอร์ และไทยเคยได้รับแรงสั่นสะเทือนถึงกรุงเทพฯ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง
ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ที่ปรึกษาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลครั้งนี้ สร้างความเสียหายให้แก่โบราณสถานจำนวนมาก ดังนั้น จึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ไทยต้องนำมาคิด เพราะไทยมีโบราณสถาน และวัดที่สำคัญจำนวนมาก เช่น วัดพระแก้วมรกต เป็นต้น หากได้รับความเสียหายจะส่งผลกระทบมากทั้งด้านจิตใจ และการท่องเที่ยว จึงฝากผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย รวมทั้งอยากกำชับให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่คอรัปชั่น เพราะคนไทยยังย่อหย่อนอยู่มาก ซึ่งขณะนี้มีวัด และอาคารเรียนจำนวนมากที่ก่อสร้างหลังปี 2540 ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่าต้องออกแบบอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหว
“ ต้องเร่งให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องระบบโครงสร้างอาคารที่รองรับการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมาก เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านสร้างบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยสร้างให้ใต้ถุนบ้านโล่ง เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้ บางบ้านใช้ใต้ถุนเก็บอุปกรณ์การเกษตร ซึ่งในอดีตถือว่าทำได้ แต่ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมแล้ว เพราะจะพังลงมาง่าย โดยในการก่อสร้างควรให้วิศวกรเป็นผู้ออกแบบ และในการก่อสร้าง รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ต้องได้มาตรฐานด้วย เช่น เสาสำเร็จรูป บ้านน๊อคดาวน์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน จึงอยากให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) มีการรับรอง และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย นอกจากนี้รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความแข็งแรงของอาคารเก่า และเสริมสร้างความแข็งแรง โดยเฉพาะอาคารสาธารณะ และสถานที่สำคัญ เช่น ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์บัญชาการของตำรวจ และทหาร ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และโรงเรียน เพราะเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น สถานที่เหล่านี้จะเป็นจุดสำคัญที่ใช้ในการดูแล และพักพิงของประชาชน” ศ.ดร.ปณิธาน กล่าว.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1108 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2558, 15:24:37 » |
|
′จุฬาฯ-มหิดล′ ติด 100 อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกวันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:11:02 น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แจ้งว่า ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก แยกตามสาขาวิชา โดย QS World University Ranking by Subject ประจำปี 2015 จากมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 3,551 แห่ง ปรากฏว่าจุฬาฯ ติด 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยโลก 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขา Architecture / Built Environment, Modern Languages, Engineering - Chemical นอกจากนี้จุฬาฯ ยังติดอันดับ 101 - 200 ถึง 15 สาขาวิชา ในส่วนของมหาวิทยาลัยในไทยที่ได้รับการจัดอันดับในปีนี้ จุฬาฯ ติดอันดับ 1 ของประเทศ 25 สาขา มหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) 3 สาขา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT) 3 สาขา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 สาขา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยศิลปากร 1 สาขา
ขณะที่ม.มหิดล แจ้งว่า มม. ติด 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ในสาขาการแพทย์ และมม.ยังเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และกฎหมาย โดยเฉพาะสาขากฎหมายนั้น มม.โดดเด่นสาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม มีงานวิจัยมากมายที่ทำร่วมกับกระทรวงยุติธรรม อาทิ ความรุนแรงในสังคม ปัญหาผู้ต้องขังหญิง ปัญหาความเหลื่อมล้ำของกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ มม.ยังเป็นอับดับ 2 ของประเทศไทย ในสาขา Chemistry, Modern Language และ Pharmacy & Pharmacology http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430640468
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1109 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2558, 15:55:21 » |
|
นายปัญญา จารุศิริ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ถึงเหตุแผ่นดินไหว บริเวณเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เกิดจาก “รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย” ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลังวางตัวแนวตะวันออกเฉียงเหนือถึงตะวันตกเฉียงใต้จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีถึงจังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต ความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
โดย ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะขนาดความแรงไม่มากนัก ประชาชนในบริเวณพื้นที่อาจไม่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน เพราะเคยเกิดแผ่นดินไหว บริเวณคลองมะรุ่ย ถึง 3 ครั้ง ช่วงมกราคม 2558 นอกจากนี้เป็นเรื่องยากที่จะเกิดสึนามิ เนื่องจากการเคลื่อนตัวของ รอยเลื่อนไม่ได้เป็นในลักษณะแทนที่น้ำหรือแนวดิ่งแต่เกิดในลักษณะขัดเฉือนกัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1110 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2558, 16:18:26 » |
|
ทั้งนี้เหตุแผ่นดินไหวติดต่อกัน 2 วัน เป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่า รอยเลื่อนที่มีพลังยังสามารถไหลและสร้างแรงสั่นสะเทือนให้คนในพื้นที่ได้ แต่รอยเลื่อนคลองมะรุยนี้ไม่เกี่ยวข้องกับรอยเลื่อนที่เนปาล รอยเลื่อนที่ปาปัวนิวกินี และไม่เกี่ยวกับรอยเลื่อนที่เชียงราย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้อาจจะยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกเป็นระยะ ๆ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ อย่าตื่นตระหนก ติดตามข่าวสารต่อเนื่อง และขอให้มั่นใจระบบเตือนภัยของประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1111 เมื่อ: 08 กันยายน 2558, 15:05:20 » |
|
เปิดใจนิสิตหญิง จุฬาฯ คนเก่ง ลงสอบบาลีศึกษาได้ถึง 6 ประโยค ขณะนี้ กำลังศึกษาประโยค 7 วันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 06:45:00 น. พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวง เปิดเผยว่า จากกรณีแม่กองบาลีสนามหลวงจัดสอบบาลีประจำปีการศึกษา 2558 ซึ่งเปิดให้ฆราวาสลงสอบเป็นปีแรก และล่าสุดมีการมอบพัดสำหรับผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และบาลีศึกษาไปแล้วนั้น อาตมารู้สึกพอใจกับผลสอบของพระภิกษุสามเณร แผนกนักธรรม-บาลีและบาลีศึกษา (ฆราวาส) โดยเฉพาะบาลีศึกษา เป็นปีแรกที่เปิดโอกาสให้แม่ชีและฆราวาสเข้าศึกษา และปรากฏว่าฆราวาสสอบได้ถึงบาลีศึกษา 6 ประโยค การเรียนบาลีของฆราวาสจะเป็นพื้นฐานที่เกื้อกูลกับวิชาทางโลก ในอนาคตจึงอยากให้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนและการสอบของบาลีศึกษาเพิ่ม แต่ยังคงหลักสูตรเดิมไว้ ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนของพระภิกษุสามเณรยังใช้หลักสูตรที่เข้มข้นเช่นเดิม แม่กองบาลีฯ มีแนวคิดว่าอาจจะอนุญาตให้พระสงฆ์ที่เรียนยังไม่จบประโยคสูงแต่ลาสิกขาไปแล้ว กลับมาศึกษาต่อในรูปแบบของบาลีศึกษาได้ แต่ยังต้องพิจารณาข้อจำกัดในหลายๆ ด้านก่อน
น.ส.สุกัญญา เจริญวีรกุล นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เรียนบาลีศึกษา สำนักเรียนวัดสามพระยา กล่าวว่า สาเหตุที่เรียนภาษาบาลีจริงจังเพราะชอบมาตั้งแต่วัยเยาว์ และอยากเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเริ่มเรียนไวยากรณ์ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และต่อยอดการเรียนในประโยคที่สูงขึ้นที่สำนักเรียนวัดสามพระยา และเมื่อแม่กองบาลีฯ เปิดสนามสอบเป็นปีแรก ตนจึงลงสอบบาลีศึกษา 6 ประโยค เมื่อผลสอบปรากฏว่าผ่าน ต่อมาจึงเข้ารับพัดเป็นปีแรกที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
"ประโยชน์ของการเรียนภาษาบาลีในโรงเรียนพระปริยัติธรรม คือ ได้ศึกษาโครงสร้างของภาษาและได้สืบทอดพระพุทธศาสนา ที่สำคัญการเรียนภาษาบาลีในทางธรรมช่วยเกื้อกูลกับสาขาวิชาทางโลก แม้การเรียนทั้ง 2 รูปแบบไวยากรณ์จะไม่ต่างกันมาก แต่มิติของภาษาจะช่วยให้เข้าใจกฎเกณฑ์ภาษามากขึ้น การเรียนภาษาบาลีอาจยากสำหรับฆราวาส แต่ถ้าผู้เรียนมีความมุ่งมั่นและพยายามทำความเข้าใจ เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนได้ และขณะนี้ตนกำลังเรียนบาลีศึกษา 7 ประโยค" น.ส.สุกัญญากล่าว http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441638601
|
|
|
|
มีนา
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865
|
|
« ตอบ #1112 เมื่อ: 09 กันยายน 2558, 14:13:30 » |
|
เก่งมาก ชื่นชมค่ะ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1113 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2558, 21:52:15 » |
|
พี่นี้ มีอีก 1 เคส ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1114 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2558, 22:19:51 » |
|
ซึ้งมาก! บัณฑิตจุฬาฯ ก้มกราบพ่อพนง.ขับรถเก็บขยะทั้งชุดครุย พร้อมเล่าเรื่องประทับใจวันที่ 05 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14:46:23 น ช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นฤดูกาล "รับปริญญา" ของหลายๆ มหาวิทยาลัย เหล่าบรรดาบัณฑิตและครอบครัวต่างร่วมยินดีในความสำเร็จขั้นหนี่งของชีวิต พร้อมถ่ายภาพประทับใจเก็บเป็นที่ระลึกกันยกใหญ่ โดยหนึ่งในภาพที่ถูกแชร์ในโซเชียลฯ มากที่สุดในขณะนี้ คือภาพประทับใจโดยผู้ใช้เฟชบุ๊ก Klanarong Srisakulซึ่งโพสต์ภาพบัณฑิตกำลังก้มลงกราบพ่อ ขณะสวมชุดครุยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมบรรยายภาพว่า ว่าด้วยเรื่องของพ่อ
พ่อผมทำงานที่ไม่ได้เลิศหรูอะไรหลายคนคงนึกภาพไม่ออกแต่ภาพที่พ่อทำงานผมเห็นมาตั้งแต่เด็กก็เคยไปทำงานกับพ่อนั้นแหละ "พ่อเป็นพนักงานขับรถเก็บขยะ" งานที่ทำพ่อบอกเสมอว่า "ต้องแย่งหนอนกิน"คือแย่งหนอนที่อยู่ในขยะ เป็นการเปรียบเทียบ สมัยเด็กหลายครั้งที่อายในความเป็นตัวพ่อ ว่าทำไมพ่อเราไม่แต่งชุดเท่ๆแบบพ่อคนอื่น ที่เป็น ทหาร ตำรวจ ทำไมนะพ่อไม่เท่เลย พอโตขึ้นเรากับพ่อเหมือนมีความฝันร่วมกัน พ่อผมจบน้อยเรียนไม่สูงแค่ ป.4 ความฝันของพ่อคือการเห็นลูกเรียน พ่อบอกเสมอว่าไม่มีสมบัติอะไรจะให้ได้อย่างครอบครัวอื่นเค้า แต่ให้ได้คือโอกาสทางการศึกษา ผมมีความฝันอยากเป็นทหาร แต่พ่อไม่มีความรู้ เราก็งมไปด้วยกัน เหนื่อยไปด้วยกัน ผมสอบไม่ติดเตรียมทหาร ผมเข้าใจว่าพ่อไม่ร้องไห้แต่มารู้ทีหลังว่าพ่อแอบไปร้องไห้ ผมยังไม่เคยทำความสำเร็จได้ซักครั้ง
ตอนประกาศผลสอบจุฬาฯ พ่อไม่ทำงานลางานเพื่อมาดูผลสอบของเราว่าเราผ่านไหม พ่อบอกว่าพ่อมีความสุขลุ้นระทึกมาก จนเมื่อผลสอบว่าติดพ่อบอกนั่งน้ำตาซึม จุฬาฯมันคือความภูมิใจของครอบครัวเล็กๆ ของผม ตอนเรียนมหาลัย
มีครั้งหนึ่งตอนปี 4 พ่อโทรมาถามว่าน้อยใจไหมที่มีพ่อเป็นพ่อ เรา : น้อยใจเรื่องอะไร พ่อ :ก็ที่พ่อให้ได้ไม่เท่าพ่อคนอื่นอยากไปไหนอยากกินอะไรก็ได้ไม่เต็มที ต้องประหยัด เรา : พ่อ พ่อจบมาเท่านี้ทำงานเท่านี้ แต่พ่อสามารถทำให้ลูกคนเก็บขยะคนนี้มายืนตรงนี้ได้ แม็กไม่เคยคิดว่าน้อยหน้าใคร และแม็กภูมิใจที่มีพ่อเป็นพ่อ พ่อ : เงียบ เหมือนได้ยินเสียงสะอึ้นผ่านทางโทรศัพท์ เรา : น้ำตาซึมไปด้วย อยากพูดอะไรหลายอย่างในหัวมันเต็มไปหมดแต่พูดไม่ออก วันนี้ถ้าให้พูดก็คงลำบากขอเรียบเรียงเป็นข้อความให้พ่ออ่านสั้นๆ
ขอบคุณที่มีพ่อเป็นพ่อ ขอบคุณที่สนับสนุนทุกอย่าง ขอบคุณที่เหนื่อยไปด้วยกัน ร้องไห้ด้วยกัน ซึมไปด้วยกัน วันนี้ก็อยากให้พ่อมีความสุขกับความสำเร็จที่เราเหนื่อยมาด้วยกัน ขอบคุณจริงๆ ลูกคนเก็บขยะคนนี้ทำให้พ่อของมันภูมิใจได้แล้ว พ่อไม่ต้องอายอะไรใครทั้งนั้น เพราะพ่อคือพ่อคนดีที่หนึ่ง ไม่แพ้ใคร แม็กภูมิใจ Cr. Jornrapee Srikongkoch http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1444030450
|
|
|
|
|