23 พฤศจิกายน 2567, 07:02:33
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 13  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิญร่วมท่องเที่ยว "ทริป ไอหมอก ม่านเมฆ แห่งเมืองเชียงตุง"  (อ่าน 166710 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #75 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2557, 14:33:47 »

เมื่อไทยปกครองเชียงตุง (ต่อ)


เมื่อเสร็จพิธีการแล้ว  ผู้บัญชาการกองพลที่  ๓    ในฐานะผู้บังคับหน่วยทหารเข้ายึดครอง โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ได้ดำเนินการ   ดังนี้

          - ประกาศให้ราษฎรที่หลบหลีกภัยไปทั่วเขตนครเชียงตุง   กลับเข้าบ้านเรือนให้หมด

          - แต่งตั้งที่ปรีกษาผู้ครองนครเชียงตุง  และ รองผู้ครองนครเชียงตุงชั่วคราว

           - แต่งตั้งนายตำรวจสนามเป็นนายอำเภอ  และให้นายอำเภอเดิมเป็นที่ปรึกษา

          - แต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านใหม่  โดยใช้คนเดิม   (เหล้าเก่า ในขวดใหม่)

          - ให้ผู้บังคับกองเสนารักษ์สนาม ร่วมกับนายแพทย์พื้นเมือง เร่งรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บไข้

          - ให้พลาธิการกองพล ร่วมกับข้าราชการพื้นเมืองเลาะแสวงหาแหล่งเสบียงอาหาร และเครื่องนุ่งห่ม เพื่อเกณฑ์ซื้อ  แต่ไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชน

          - เกณฑ์ให้ราษฎรเร่งทำเสาไม้ทุบเปลือก  ไม้ไผ่ และ แฝกมุงหลังคามาขายให้กองทัพโดยด่วน  เพื่อเร่งสร้างที่พักทหาร

          - ให้ผู้บังคับหน่วยทหารช่วยจัดสร้างที่พักให้แก่ราษฎรที่ยากจน หรือป่วยไข้

          - รายงานไปยังแม่ทัพพายัพ เพื่อขอรับการสนับสนุน ในเรื่อง

               + ขอให้รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย มาเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการปกครอง

               + ขอแพทย์และพยาบาลพลเรือนมาช่วยรักษาพยาบาลราษฎรที่เจ็บป่วย

               + ขอเจ้าหน้าที่ อัยการ และผู้พิพากษา เพื่อตั้งศาลสนาม

               + ขอเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตร มาร่วมเป็นคณะกรรมการจังหวัด  สำหรับผลิตเสบียงเลี้ยงทหาร  และสอนราษฎรให้มีความรู้ เรื่องการปลูกข้าว และข้าวสาลี  การเพาะพันธุ์ ผลไม้  และไม้ยืนต้น
 
         ในตอนบ่ายของวันที่  ๕  มิถุนายน นี้   กองพลที่  ๓  ได้สั่งการให้ กรมทหารราบที่  ๔  ขึ้นไปสับเปลี่ยนกำลังกับ กรมทหารราบที่  ๘  ซึ่งเป็นกองรักษาด่านที่บ้านกาดเต่า    เหนือนครเชียงตุงขึ้นไปประมาณ  ๑๐ กิโลเมตร   ให้ กรมทหารราบที่  ๘  กลับลงมาพักที่นครเชียงตุง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #76 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2557, 14:41:35 »

การปฏิบัติของกองพลที่  ๒  หน่วยยุทธบรรจบ        กองทัพพายัพกำหนดให้ กองพลที่  ๒ เคลื่อนที่ทาง เมืองสาด  เมืองหาง    เมื่อถึงเมืองเป็ง  ให้เคลื่อนขบวนไปทางตะวันออก  เข้าตีเชียงตุง  เข้าบรรจบ กองพลที่  ๓   (เส้นทางเดียวกับกองพันพิเศษ ของกองพลที่  ๓)  แต่ภูมิประเทศไม่อำนวยให้หน่วยทหารขนาดใหญ่เคลื่อนที่ผ่านไปได้   จึงให้กองพันทหารม้า ปฏิบัติเพียงหน่วยเดียว    กำลังที่เหลือของกองพลที่  ๒   จึงอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่  โดยไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งกองทัพพายัพ  

๘   มิถุนายน   ๒๔๘๕

กองกำลังทางบก

               กองพันทหารม้าที่  ๔  กรมทหารม้าที่   ๔๖    กองพลทหารม้าได้เคลื่อนที่เข้าเมืองเชียงตุง ภายหลังจากที่ กองพลที่  ๓  ยึดเมืองเชียงตุงได้แล้ว   ๓ วัน    และได้รับคำสั่งให้เคลื่อนที่กลับมาสมทบกับ กองพลทหารม้า   ที่อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย

กองกำลังทางอากาศ

               ฝูงบิน   ๔๒    ย้ายที่ตั้งจากลำพูนกลับไปสนามบินเชียงใหม่

               ส่วนกองพันทหารม้าของกองพลที่  ๒  ไปถึงเชียงตุงในวันที่  ๑๒  มิถุนายน

 ปัญหา    ปัญหา  และ  ปัญหา

          เมื่อกองพลที่  ๓   เข้ายึดนครเชียงตุงได้เพียง  ๕ วันก็เกิดปัญหา  หลายประการ  กล่าวคือ

     ๑. ด้านการส่งกำลังบำรุง

          ๑.๑  การส่งกำลังเสบียงอาหาร

          เนื่องจากข้าศึกได้นำข้าวสารไปมากที่สุด และเผาทำลายส่วนที่นำไปไม่ได้   และยังเผาครกตำข้าวของราษฎรเสียด้วย  ประชาชน และ ทหารที่เข้ายึดครองจึงขาดแคลนเสบียงอาหาร    เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว   กองพลที่  ๓  ต้องช่วยราษฎรซ่อมครกตำข้าว  และร่วมกับเจ้าหน้าที่พื้นเมืองไปหาซื้อข้าวเปลือกจากเมืองใกล้เคียง    และที่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที คือสามารถขอยืมข้าวสารจากโรงพยาบาลโรคเรื้อน ซึ่งอังกฤษได้กักตุนไว้ถึง  ๑๐๐ เกวียน  (๑๐๐,๐๐๐ กิโลกรัม)    จึงได้ขอยืมมาแก้ปัญหา  เพียง  ๗๕ เปอร์เซนต์       ส่วนกับข้าวนั้น  พอหาได้  มีชาวเขานำ สุกร  ไก่  ไข่  แย้  อึ่ง  น้ำผึ้ง  ส้มมะขามเปียก  มาขายให้    และทหารสามารถ แสวงหากับข้าว ตามภูมิประเทศได้บ้าง   เพราะกองพลที่  ๓  นี้เคลื่อนย้ายมาจาก จังหวัดนครราชสีมา  กำลังพลจึงมีความสามารถในการดำรงชีพสูงอยู่แล้ว

           ส่วนอาหารของผู้บังคับบัญชา นั้นนับว่า โก้หรูมาก  คือ  มื้อกลางวัน หมูต้มหน่อไม้  ส่วนมื้อเย็น ก็หน่อไม้ต้มหมู  สลับกัน   และรับประทาน วันละ  ๒ มื้อ

          ๑.๒  การส่งกำลังเครื่องแต่งกาย

               ทหารได้รับเครื่องแต่งกายเพียงคนละ  ๑ (หนึ่ง) ชุด เมื่อเข้าที่รวมพลขั้นแรกที่ อำเภอพะเยา    เมื่อใช้จนชำรุดไปแล้ว  กองพลที่  ๓  รายงานขอเบิกทดแทนไปยังกองทัพพายัพๆ  ให้กองพลฯ ไปรับเองที่  จังหวัดลำปาง    ( ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว หน่วยเหนือต้องจัดการส่งให้หน่วยรอง)  
กองพลที่  ๓   จึงต้องหาซื้อผ้าพื้นเมือง  แล้วขอร้องให้แม่ชีชาวอิตาเลียนในนครเชียงตุงตัดเย็บเป็นเครื่องแบบ  แก้ปัญหาไปได้ระดับหนึ่ง  

          ในที่สุด  ทหารบางคนต้องนุ่งผ้าขาวม้า หรือ มุ้ง ในการปฏิบัติงานตามปรกติ  (เก็บเครื่องแบบไว้ใช้งานสำคัญ)

           ๑.๓  การขนส่ง

               ถนนเข้าสู่นครเชียงตุงเป็นหล่มเป็นโคลนมากขึ้น เนื่องจาก ฝนตกหนัก  และสะพานข้ามลำห้วยถูกน้ำพัดพังหมดทั้ง  ๗ แห่ง  ไม่สามารถขนส่ง  เสบียงอาหาร  และสิ่งอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติมให้ทางถนนได้     กองพลที่  ๓    พยายามแก้ปัญหาโดยใช้ขนส่งด้วยเกวียน   และใช้สายโทรเลขชักรอกสิ่งของข้ามลำห้วยก็ไม่ได้ผลเพราะวัวควายบุกโคลนไม่ไหว  ล้มตายเสียมาก      ก็เปลี่ยนวิธีมาใช้กำลังพลหาบหามแทนกลับยิ่งช้ากว่าใช้เกวียน  และต้องค้างแรมระหว่างทาง  กำลังพลที่หาบหามต้องเอาเสบียงที่ลำเลียงมาเป็นอาหารกินเสียเอง  และกำลังพลก็เจ็บป่วย  เพราะอิดโรยอยู่แล้ว     วิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือใช้ช้าง  แต่ก็ตกเขาตายไปถึง  ๒ เชือก
 

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #77 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2557, 14:56:26 »

เมื่อมีปัญหาเช่นนี้  โดยปรกติแล้ว หน่วยเหนือคือกองทัพพายัพ จะต้องช่วยแก้ปัญหา หรือพยายามสนับสนุนหน่วยรอง  แต่ปรากฏว่า  หน่วยเหนือมิได้มีส่วนในการแก้ปัญหาให้หน่วยรองเลย   กองพลที่  ๓  จึงรายงานข้ามกองทัพพายัพ ตรงไปถึงกองบัญชาการทหารสูงสุดที่ กรุงเทพ ฯ  ซึ่งได้สั่งการให้ พลตรี  พระอุดมโยธาธิยุทธ  (สด  รัตนาวดี)  ผู้บัญชาการกองพลสร้างทางคมนาคมช่วยเกณฑ์ราษฎรทางใต้ เร่งระดมกันซ่อมสะพาน และถนนให้  ทำให้การขนส่งสามารถดำเนินการได้สะดวกขึ้น

     ๒. ด้านกำลังพล  หารเป็นไข้มาเลเรีย  และโรคบิด จำนวนมาก  ถึง  ๓๐  เปอร์เซนต์   กองพลที่  ๓   รายงานขอยาจากกองทัพพายัพ  ซึ่งพยายามสนับสนุนให้ด้วยการ ส่งทางอากาศ  แต่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย  มีเมฆปกคลุมหานทึบ  เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน  นักบินต้องบินสูง   และมักจะทิ้งลง หนองตุงเสียมากเพราะเห็นรางๆ  เข้าใจว่าเป็นทุ่งโล่ง     ก็พยายามแก้ปัญหาด้วยการบรรจุยาใส่กระบอกไม้ แล้วทิ้งจากเครื่องบิน    กระบอกไม้กลับตกถูกทหารและประชาชนบาดเจ็บกันหลายคนเป็นที่กาหลอลหม่านกัน     เมื่อขาดแคลนยาที่จะใช้รักษา    ทหารเจ็บป่วยก็มากขึ้นถึง  ๕๐ เปอร์เซนต์     กองพลที่  ๓  จึงรายงานขอให้กองทัพพายัพส่งยาให้ทางพื้นดิน      กองทัพพายัพ พิจารณาแล้ว     ตอบอย่างหนักแน่นว่า   ให้กองพลที่  ๓  ส่งเจ้าหน้าที่มารับยาไปเอง   และไม่เชื่อว่าทหารเจ็บป่วยจำนวนมากถึง  ๕๐  เปอร์เซนต์    

          กองพลที่  ๓  จึงรายงานยืนยันไปอีก และขอให้ทางกองทัพพายัพส่งนายทหารไปสังเกตการณ์ข้อเท็จจริง

          กองทัพพายัพ  ตอบว่า นายทหารชั้นผู้ใหญ่มีงานเต็มมือไปไม่ได้

          คราวนี้ผู้บัญชาการกองพลคงจะขัดเคืองใจมาก  ย้อนกองทัพไปว่า  ข้าพเจ้าเข้าใจว่านายทหารชั้นผู้ใหญ่คงสุขสำราญกันมาก จึงขึ้นมาไม่ได้   ได้ผลครับคราวนี้   คือทำเอาแม่ทัพพายัพเงียบไปเลย    และเดินทางเขากรุงเทพฯ  เพื่อรายงานต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วยวาจา  กล่าวโทษผู้บัญชาการกองพลที่  ๓  เป็นหลายประการ

          ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  (จอมพล แปลก  พิบูลสงคราม) ส่งนายทหารชั้นนายพลไป  ๓  นาย เพื่อหาข้อเท็จจริง   เมื่อกลับไปถึงกรุงเทพฯ แล้ว  ปรากฏว่า  ได้แต่งตั้ง  พลโท  จิร  วิชิตสงคราม  เสนาธิการมหารบก  มาเป็นแม่ทัพพายัพ  แทน พลตรีจรูญ  รัตนกุล  เสรีเริงฤทธิ์   (ใน  ๒๖  กรกฎาคม  ๒๔๘๕)

     ๓. ด้านการเงิน

          โดยปรกติ  หน่วยทหารจะต้องมีเงินตราเงินเพื่อใช้สอย และแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง   และตัวทหารก็จะได้รับเบี้ยเลี้ยงตามสิทธิ เพื่อใช้สอยส่วนตัว  แต่ศึกนี้   กองพลที่  ๓   เกิดขาดแคลนเงินตราที่จะใช้   เมื่อได้หารือกับเจ้าผู้ครองนคร และข้าราชการพื้นเมืองและสรุปได้ว่า  ไม่สามารถจะหยิบยืมเงินตราจากที่ใดได้   จึงจำเป็นต้องตั้งโรงพิมพ์    แล้วใช้กระดาษแข็งพิมพ์เป็นตั๋วแลกเงินขึ้นใช้เอง  ราคาใบละ  ๑ บาท  ๕  บาท   และ ๑๐  บาท  สำหรับกำลังพล   และใบละ  ๑๐๐ บาท  สำหรับหน่วย    ผู้ครองนครเชียงตุงประกาศแก่ราษฎรว่า  เมื่อกองทัพส่งเงินตรามาให้กองพลที่  ๓  แล้ว  จะประกาศให้นำตั๋วแลกเงินนี้มาแลกเป็นเงินสดไปได้     ก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้

          หลังจากที่กองทัพไทยยึดเมืองเชียงตุงได้แล้ว ก็ได้ออกคำสั่งจัดการปกครองเสียใหม่เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ดังนี้

          ประการแรกทางรัฐบาลไทยในสมัยนั้น พ.ศ.๒๔๘๕   ได้เลื่อนยศทางราชการทหารให้พลตรี ผิน ชุนหะวัน ผู้บัญชาการกองพลที่  ๓  ขึ้นเป็น พลโท และได้แต่งตั้งให้ พลโท ผิน ชุนหะวัน ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ฝ่ายทหาร ผู้ควบคุมและรักษาความสงบในแคว้นนครเชียงตุงอีกด้ว
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #78 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2557, 16:58:36 »

ในขณะเดียวกันในเรื่องการดูแลทุกข์สุข และฟื้นฟูจิตใจของราษฎรนั้น ทางพลโท ผิน ขุนหะวัน ข้าหลวงใหญ่ฝ่ายทหารก็ได้มีความเห็นชอบกับบรรดาเจ้านายผู้เป็นโอรส  ธิดา  กับพระประยูรญาติของเจ้าฟ้าผู้ครองนครเชียงตุงผู้ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกับบรรดาพระสงฆ์องค์เจ้า และ เสนาอำมาตย์ในราชสำนัก ตลอดจนพ่อค้า คหบดี หัวหน้าชุมชนต่างๆ ในนครเชียงตุงพร้อมใจกันส่งผู้แทนไปทูลเชิญเจ้าเมืองเหล็กพรมลือ โอรสองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง  พร้อมด้วยเจ้าแม่ปทุมเทวี  ที่ไปช่วยราชการและพำนักอยู่ที่เมือง โหม่วหยั่ว ชายแดนพม่าติดกับประเทศอินเดีย ตามคำสั่งรัฐบาลอังกฤษ พร้อมด้วยเจ้าหญิงทิพวรรณ (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง และราชธิดา ให้กลับมาเป็นมิ่งขวัญของชาวเชียงตุง โดยมีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พร้อมด้วยคณะสงฆ์เสนาอามาตย์ นายแคว้น นายแขวง และพ่อเมืองต่างๆ ในเขตเชียงตุงได้พร้อมใจกันจัดพิธีทำขวัญขึ้นที่คุ้มหลวงแล้วสถาปนาพระองค์เป็น"เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสพรหมลือ"ครองเมืองเชียงตุงเป็นองค์ที่ ๔๐ 

          เจ้าเมืองเหล็กพรมลือองค์นี้ไม่ลงรอยกับพวกข้าราชการอังกฤษที่มารับราชการในนครเชียงตุง และในแคว้นฉาน (สหรัฐไทยเดิม) เพราะมีความโน้มเอียงไปทางสนับสนุน แผนรวมไทย และสร้างชาติไทยให้เป็นปึกแผ่น และเป็นคนนำเพลงปลุกใจของรัฐบาลไทยโดยนำเพลง "ไทยน้อย ไทยใหญ่ ล้วนเป็นไทยด้วยกัน" มาเปิดในคุ้มของพระองค์กลางเมืองเชียงตุง อย่างไม่หวั่นเกรงใดๆตลอดจนเพลงปลุกใจ  "ข้ามโขงมาสู่แคว้นไทย " ตลอดจนเพลงอื่นๆที่เป็นปฏิปักษ์กับทางนักปกครองของรัฐบาลอังกฤษผู้ครอบครองเมืองขึ้น


เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เจ้าฟ้าพรหมลือได้อพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 โดยประทับที่จังหวัดลำปางก่อน จากนั้นจึงได้เสด็จย้ายมาอยู่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2488 และเจ้าฟ้าพรหมลือเสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ. 2498


                          

 
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #79 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2557, 15:33:13 »

ไทย-พม่าจับ 3 คู่ ประจวบฯ-มะริด, เชียงใหม่-เชียงตุง, ระนอง-เกาะสอง เป็นเมืองพี่เมืองน้อง



ไทยกับพม่า 2 ประเทศเพื่อนบ้านได้ทำพิธีสถาปนาการเมืองสำคัญของ 2 ประเทศ ให้เป็นเมืองพี่เมืองน้องกันถึง 3 คู่ ระหว่างการเยือนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันพฤหัสบดี 9 ต.ค.นี้ ซึ่งได้แก่ เมืองเชียงใหม่กับเชียงตุง ในรัฐชาน เมืองประจวบคีรีขันธ์กับเมืองมะริด ในเขตตะนาวศรี และระนองกับเกาะสอง ในจังหวัดเกาะสอง (Kawthaung) ทางตอนใต้สุดของประเทศ
       
       การเป็นเมืองพี่เมืองน้องจะทำให้ 3 เมืองคู่เหล่านี้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าว และวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว แลกเปลี่ยนการไปมาหาสู่กันมากขึ้น รวมทั้งช่่วยเหลือกันและกัน ร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 2 ฝ่าย ประธานาธิบดีพม่ากับ นรม.ไทย ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีเซ็นบันทึกช่วยความจำ ที่จัดขึ้น ณ อาคารรับรอง ทำเนียบประธานาธิบดี หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ รายงาน ในฉบับที่จะวางจำหน่ายในวันศุกร์ 10 ต.ค.นี้
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #80 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 08:13:31 »

ขณะนี้ยอดชาวหอที่จะไปทริป ไอหมอก ม่านเมฆ แห่งเมืองเชียงตุง 23-27 มกราคม 2558

รวมทั้งสิ้น 23 ท่านแล้วครับ

1. พี่ติ๋ม - ธิดา 09 ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
2. พี่อ้วน -  จิรศักดิ์  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
3. เหยง พิเชษฐ์ 16 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
4. ประทาน 14 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
5. แต๊ก-ศิริวรรณ 20 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
6. ผ่อง 14  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
7. ดนัย 12  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
8. แอ 14  นกแอร์ ถึง   + มัดจำแล้ว
9. ขิม 14  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
10. พี่สิงห์ ศิริวรรณ 12 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
11. พี่ณัฐิมาศ 12 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
12. พี่แดงดารณี 12 ซื้อตั๋วบิน แล้ว
13. ลูกสาวพี่แดง ซื้อตั๋วบิน แล้ว
14. พี่หนุ่ย บุญเพิ่ม 12 ซื้อตั๋วบินแล้ว
15. พี่แอ๋ว จีระ 12 ซื้อตั๋วบินแล้ว
16. พี่บี้ พรพินิจ 12 ซื้อตั๋วแล้ว
17. หลั่น 14 ไกด์กิตติมศักดิ์ของคณะ
18. อ้อย 14 ซื้อตั๋วบินแล้ว
19. หน่า 14
20. อภิรดี จิ๋ม 30
21 ฉัตรแก้ว อ้อ
22. พี่สุดใจ 12
23. กุ้ง 14
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #81 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 08:17:48 »

วันนี้พี่หลั่น จะเดินทางกลับจากจีนแล้วครับ

คงจะได้มีรายละเอิีดอื่นเพิ่มเติม
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #82 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:27:50 »

บ. บุญค้ำ     จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


         บุญสิงห์ บุญค้ำ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย จังหวัดลานช้างและสหรัฐไทยเดิม
 
บ. บุญค้ำ นามปากกาของนาย บุญสิงห์ บุญค้ำ (15 กุมภาพันธ์ 2444 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515) นักเขียน นักการศึกษา ทนายความ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย จังหวัดลานช้าง (พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2488 ปัจจุบันอยู่ในประเทศลาว) สหรัฐไทยเดิม (ของไทยระหว่าง พ.ศ. 2485 -พ.ศ. 2488 ปัจจุบันคือเมือง เชียงตุง ในสหภาพพม่า) ผู้แต่งหนังสือ "เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน" และอื่นๆ

บ. บุญค้ำ เกิดที่อำเภอลุมพุก (อำเภอคำเขื่อนแก้วในปัจจุบัน) จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2464 ประโยคครูมัธยม (ป.ม.) กระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2466 ประกาศนียบัตรนิติศาสตร์และได้เข็ม (น.) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2474 ซึ่งต่อมาได้นับเป็นปริญญาตรีกิตติมศักดิ์แห่ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน เริ่มรับราชการเป็นครูโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และอีกหลายแห่งในกรุงเทพฯ ต่อมาย้ายไปเป็นศึกษาธิการอำเภอกบิลบุรี และศึกษาจังหวัดเชียงราย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #83 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:29:58 »



เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและกรณีพิพาทเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายคืนจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2484 บ. บุญค้ำได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการรับมอบดินแดนและเป็นศึกษาธิการจังหวัดลานช้าง อีก 2 ปีต่อมาเมื่อไทยยึดเชียงตุงได้จากอังกฤษและตั้งชื่อใหม่ว่า สหรัฐไทยเดิม ก็ถูกย้ายไปเป็นศึกษาธิการจังหวัดที่นั่นอีก 2 ปี ก่อนสงครามเลิกและไทยต้องคืนเชียงตุงแก่อังกฤษเล็กน้อย บ. บุญค้ำได้รับคำสั่งย้ายไปเป็นศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดินทางกลับเชียงรายก็ได้ถูกกองรังควานแนวหลังของสัมพันธมิตรซุ่มยิงรถที่โดยสารบาดเจ็บสาหัสจนขาขวาพิการไปตลอดชีวิต หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนแพทย์ คือนายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ก็คงไม่รอดชีวิต เมื่อหายป่วยจึงได้ขอลาออกจากราชการเพื่อประกอบอาชีพทางกฎหมายและเขียนหนังสือเมื่อปลายปี พ.ศ. 2488

เมื่อปี พ.ศ. 2483 ในฐานะศึกษาธิการจังหวัดเชียงรายได้ร่วมเดินทางร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัดฯ เพื่อไปเยี่ยมข้าหลวงใหญ่แห่ง สหรัฐเงี๊ยว (รัฐฉานในปัจจุบัน) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ต่อมาเมื่อกองทัพไทยโดยกองพลที่ 3 โดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้บัญชาการกองพลเข้าตีเมืองเชียงตุงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 บ. บุญค้ำ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นศึกษาธิการเชียงตุงซึ่งได้ชื่อใหม่ว่า "สหรัฐไทยเดิม" เมื่อ พ.ศ. 2486 และถอยกลับเมื่อ พ.ศ. 2488 เมื่อไทยต้องคืนสหรัฐไทยเดิม หรือเมืองเชียงตุงให้แก่อังกฤษ

บ. บุญค้ำ เป็นผู้สนใจในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และชอบเขียนหนังสือ จึงได้บันทึกเรื่องราวของชนเผ่าต่างๆ ศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงตุง พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารต่างๆ ทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาอิตาเลียน และภาษาไทยใหญ่ (สมุดกระดาษสา) ความที่มีความสนใจเรื่องเมืองเชียงตุงและได้ติดต่อสนิทสนมกับเจ้านายเชียงตุง (เจ้าบุญวาทย์วงศา และเจ้าพรหมลือ ณ เชียงตุง) คณะมิชชันนารีโรมันคาทอลิก (Sister Madellina) และพระสงฆ์ (ท่านสิทธิแสง เจ้าอาวาสวัดเชียงยืน) อยู่มากพอควร ท่านเหล่านี้ได้นอกจากจะค้นหาเอกสารมาให้ยืมแล้วยังได้เมตตาแปลจากภาษาไทยใหญ่เป็นภาษาไทย และภาษาอิตาเลียนเกี่ยวกับชนชาวดอยในรัฐฉานเป็นภาษาอังกฤษให้อีกด้วย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #84 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:38:02 »



หนังสือ "เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน" ได้รับการตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2499 ที่โรงพิมพ์รัตนสุวรรณ จังหวัดพิษณุโลก โดยความช่วยเหลือในการจัดจำหน่ายของสำนักพิมพ์คลังวิทยา โดยมี "เหม เวชกร" เป็นผู้ออกแบบปกและเป็นการตีพิมพ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

หนังสือ "เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน" เป็นมากกว่าหนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั่วไป เนื้อหาของหนังสือมีเรื่องราวต่างๆ ที่ได้จากเอกสารประวัติศาสตร์เชียงตุงที่เป็นต้นตอ มีรายละเอียดที่ชัดเจน น่าสนใจและเพลิดเพลิน โดยเฉพาะเรื่อง "ละว้าสร้างบ้าน" ชาวละว้าที่สมัยนั้นยังต้องออกล่าหัวมนุษย์

หนังสือแบ่งออกเป็น 11 บทและภาคผนวก มีภาพถ่ายประกอบมากเกือบ 80 ภาพ ทั้งที่ถ่ายเองและถ่ายทอดจากหนังสืออื่น มีรายการอ้างอิงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 11 รายการ นับเป็นหนังสือหายากที่เป็นที่ต้องการของผู้ที่สนใจหรือ "คอหนังสือ" ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และประเพณีของชนเผ่า รวมทั้งด้านมานุษยวิทยาโดยเฉพาะในพื้นที่เชียงตุง แคว้นสาละวินไปถึงเชียงรุ้งในช่วง 60-80 ปีก่อน

ดังนั้น แม้ถึงปัจจุบัน ก็ยังมักผู้ตามหาและสอบถามถึงนามปากกา บ. บุญค้ำ ผู้แต่งหนังสือนี้อยู่เนืองๆ ว่าเป็นผู้ใด
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #85 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:48:50 »

พิมพ์ใหม่แล้ว และยังมีขายด้วยครับ

            

เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน รหัสสินค้า: 005737
ราคาปกติ 290.00 บาท
ราคาพิเศษ 261.00 บาท
ประหยัด 29.00 บาท
รายละเอียด:
หนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน” นี้เดิมข้าพเจ้าตั้งใจจะทำเป็นหนังสือ ๒ เล่ม คือเรื่องเมืองเชียงตุงเล่มหนึ่งกับเรื่องแคว้นสาละวินอีกเล่มหนึ่ง แต่ภายหลังมีผู้แนะนำว่าควรจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับการนำเที่ยวรวมเป็นเล่มเดียวกันดีกว่า ข้าพเจ้าก็เห็นด้วยและจัดทำเป็นหนังสือนี้ขึ้น

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเที่ยวเชียงตุงแคว้นฉาง และพม่า ได้ผ่านบ้านเมืองของชนเผ่าไทยและชนชาวดอยในแคว้นฉาน เห็นความเป็นอยู่และได้ฟังเรื่องราวของพวกเขาแล้ว ก็รู้สึกตื่นเต้นอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น แต่เวลาเที่ยวเพียงเล็กน้อยจะทำได้อย่างไรนอกจากอาศัยหนังสือที่เขาเขียนไว้มาอ่านหาความรู้เพิ่มเติมเท่านั้น

ครั้งมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปรับราชการในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดประจำ “สหรัฐไทยเดิม” และอยู่เชียงตุงเป็นเวลา ๒ ปีเศษ มีเวลาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติเมืองเชียงตุงและความเป็นอยู่ของคนเผ่าไทยกับชนชาวดอยได้บ้าง จึงได้พยายามรวบรวมเอาไว้เป็นหลักประกอบการแต่งหนังสือที่ตั้งใจไว้ว่าจะทำขึ้นในโอกาสอันสมควร โดยเฉพาะประวัติของเมืองเชียงตุงซึ่งไม่เคยปรากฏอยู่ในที่ใดเลย ก็บังเอิญโชคดีที่ไปพบตันฉบับเข้าที่เจ้าบุญวาทย์วงศาเป็นภาษาไทยเขิน ท่านเจ้าของได้เอื้อเฟื้อให้ยืมและแปลข้อความให้ข้าพเจ้าบันทึกเอาไว้เป็นภาษาไทย ซึ่งข้าพเจ้าของคุณเป็นอย่างสูงไว้ที่นี้ด้วย....
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #86 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:51:39 »

ริง


น่าสนใจครับ ใช่ของสำนักพิมพ์มติชน หรือเปล่า??
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #87 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:52:26 »

ทริป เชียงตุง ครบ 24 คนแล้วครับ

พี่ตั้ง-ศิริชัย เภสัช 2514 ชาวสิงห์บุรี เป็นลำดับที่ 24 สุดท้ายของทริปใน 2 ชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง

1. พี่ติ๋ม - ธิดา 09 ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
2. พี่อ้วน -  จิรศักดิ์  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
3. เหยง พิเชษฐ์ 16 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
4. ประทาน 14 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
5. แต๊ก-ศิริวรรณ 20 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
6. ผ่อง 14  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
7. ดนัย 12  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
8. แอ 14  นกแอร์ ถึง   + มัดจำแล้ว
9. ขิม 14  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
10. พี่สิงห์ ศิริวรรณ 12 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
11. พี่ณัฐิมาศ 12 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
12. พี่แดงดารณี 12 ซื้อตั๋วบิน แล้ว จ่ายมัดจำแล้ว
13. ลูกสาวพี่แดง ซื้อตั๋วบิน แล้วจ่ายมัดจำแล้ว
14. พี่หนุ่ย บุญเพิ่ม 12 ซื้อตั๋วบินแล้ว
15. พี่แอ๋ว จีระ 12 ซื้อตั๋วบินแล้ว
16. พี่บี้ พรพินิจ 12 ซื้อตั๋วแล้ว
17.หลั่น 14
18. อ้อย 14 ซื้อตั๋วบินแล้ว
19. หน่า 14
20. อภิรดี จิ๋ม 30
21 ฉัตรแก้ว อ้อ
22. พี่สุดใจ 12
23. กุ้ง 14
24. ตั้ง 14
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #88 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:56:04 »

จ่ายเงินมันจำครั้งแรก 4000 บาทแล้ว

อย่าลืมส่งสำเนาบัตร ปชช พร้อมรับรองถูกต้อง 3 ฉบับ
พร้อมรูป 1 นิ้วครึ่ง รวม 3 บาน ไปให้พี่หลั่น-รัตนาพร ที่เชียงราย ด้วยนะครับ
เพื่อทำบอร์เดอร์พาส ไปเชียงตุง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #89 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 10:57:01 »

หนังสือของสำนักพิมพ์เคล็ดไทย ครับ

รับการสั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์ตลอด 24 ชั่วโมง หากติดต่อบริษัทรบกวนทุกท่านติดต่อในเวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ ช่วงเวลา 9.00 - 17.00 น.  โทรสอบถามได้ที่ 02-2259536-39 ต่อ 11,22 E-mail: kledthai@kledthai.com ตอบอีเมล์ทุกๆ วันภายในเวลาทำการ 
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #90 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 12:57:29 »

รายละเอียดหนังสือ
ISBN : 9789743158025 (ปกอ่อน) 392 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 145 x 210 x 23 มม.
น้ำหนัก : 465 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ : ศยาม, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์ : 11/2012
เนื้อหาโดยสังเขป
    นี่คืองานเขียนจากศึกษาธิการคนแรกแห่ง "สหรัฐไทยเดิม" หรือ "เชียงตุง" เป็นบันทึกการเดินทางเที่ยวชมเชียงตุง แคว้นฉาน และพม่า ในปี พ.ศ. 2483 โดยเล่าเรื่องราวที่ได้พบเห็นเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอย่างออกรส การเดินทางเริ่มจากเชียงราย เข้าสู่เมืองเชียงตุง ผ่านเมืองสำคัญในรัฐฉาน อาทิ ตองกี กะลอ แล้วเข้าเขตพม่าเพื่อเที่ยวชมแรงกูน หรือย่างกุ้ง ตองอู พะโค มัณฑเลย์ จากนั้นเดินทางกลับมาชมเมืองสำคัญในรัฐฉาน อาทิ สิป๊อ แสนหวี เมืองกึ๋ง ลายข้า เป็นต้น

    ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เขียนได้บอกเล่าประวัติศาสตร์เชียงตุง โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสารพื้นเมืองและเอกสารหลายชาติหลายภาษา ตั้งแต่กำเนิดการเกิดขึ้นของเชียงตุง จนถึงลำดับกษัตริย์และเหตุการณ์สำคัญในแต่ละรัชสมัย รวมทั้งเรื่องราวของเจ้าฟ้ามสหาเทวีหลายพระองค์ ความสัมพันธ์ของเชียงตุงกับไทย พม่า และอังกฤษ ตลอดจนนำเสนอภาพของเชียงตุง และแคว้นสาละวินในแง่มุมต่างๆ ซึ่งทั้งหมดล้วนควรค่าแก่การศึกษา และสามารถใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดีสารบัญ
บทที่ 1 เชียงตุงหรือเขมรัฐนคร
บทที่ 2 ละว้าสร้างบ้าน
บทที่ 3 เม็งรายแปลงเมือง
บทที่ 4 ผู้ครองนครเชียงตุง
บทที่ 5 คดีฆาตกรรมเจ้าฟ้า
บทที่ 6 เชียงตุงกับเมืองไทย
บทที่ 7 เชียงตุงใต้แอกพม่า
บทที่ 8 อังกฤษเข้าเมือง
บทที่ 9 ผู้ครองสาละวิน
บทที่ 10 ผู้ครองสาละวิน
บทที่ 11 อนาคตของเชียงตุงและแคว้นสาละวิน
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #91 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 13:36:32 »

วิธีเที่ยวเชียงตุง  
  โดย ผศ.เบญจพงษ์ พรนิมิตร

สวัสดีครับ
 นำข้อมูลการเดินทางไปเชียงตุงมาฝาก  หากต้องการเดินทางไปเอง

เริ่มต้นจากด่านแม่สาย  ให้ทำเรื่องออกจากแผ่นดินไทย  ใช้บัตรปชช (ตัวจริง) + เงิน 30 บาท
เมื่อเข้าเขตพม่าแล้ว  ขณะที่อยู่กลางสะพาน ก่อนที่จะถึงจุดเก็บเงินค่าเข้าพม่า 10 บาท  (ขาไปอยู่ทางด้านขวามือ) จะเห็นป้ายเป็นภาษาอังกฤษเขียนว่า   TOURIST INFORMATION CENTER (คล้ายๆว่าอย่างนี้)
ให้เดินเข้าไป  เอกสารที่ใช้มี  บัตรปชช (ตัวจริง) สำเนาบัตร ปชช 1  แผ่น  รูป 1 นิ้ว 3 ใบ + เงิน 500 บาท
จากนั้นเขาจะถามเราว่ามีคนขับรถให้แล้วหรือยัง  ถ้ายังเขาก็จะมีบริการเรียกให้  
ถ้าไป 4 คนจะสะดวกเพราะว่าเหมารถไปได้เลย 4 คน x 500 บาท
ถ้าไปไม่ถึง 4 คน  แนะนำว่าให้นั่งรถ มอเตอร์ไซค์ (10 บาท)  ไปคิวรถ  เพื่อรอสมทบกับคนอื่นๆ (ถ้ามี)
 
ผมใช้บริการของคนไทยใหญ่ที่ชื่อว่า  ซาย  วิน  หม่อง  เยี่ยมมากเลยครับ
เบอร์โทร  (เมืองไทย)  081-7962763  ถ้าเขาอยู่เชียงตุงจะไม่สามารถติดต่อได้  ให้ลองโทรในอีกวันหนึ่ง
แนะนำว่า  ไป 3 วัน 2  คืน  กำลังดี  ผมพักที่โรงแรม แสงทิพย์  คืนละ 500 บาท  ห้องพัก  OK
ค่าใช้จ่ายทุกอย่างแค่คนละ 3000 บาท ว่างๆ  ลองไปเที่ยวดูนะครับ  หากชอบแนว เก่าๆ  ศิลป  วัฒนธรรม
 
BEN

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย me141
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #92 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 13:52:47 »

อัพเดทครับ.....

1. พี่ติ๋ม - ธิดา 09 ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
2. พี่อ้วน -  จิรศักดิ์  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
3. เหยง พิเชษฐ์ 16 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
4. ประทาน 14 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
5. แต๊ก-ศิริวรรณ 20 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
6. ผ่อง 14  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
7. ดนัย 12  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
8. แอ 14  นกแอร์ ถึง   + มัดจำแล้ว
9. ขิม 14  ซื้อตั๋วบิน + มัดจำแล้ว
10. พี่สิงห์ ศิริวรรณ 12 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
11. พี่ณัฐิมาศ 12 ซื้อตั๋วบิน & มัดจำแล้ว
12. พี่แดงดารณี 12 ซื้อตั๋วบิน แล้ว จ่ายมัดจำแล้ว
13. ลูกสาวพี่แดง ซื้อตั๋วบิน แล้วจ่ายมัดจำแล้ว
14. พี่หนุ่ย บุญเพิ่ม 12 ซื้อตั๋วบินแล้ว
15. พี่แอ๋ว จีระ 12 ซื้อตั๋วบินแล้ว
16. พี่บี้ พรพินิจ 12 ซื้อตั๋วแล้ว
17. พี่หลั่น 14 มัคคุเทศน์ของทริ๊ปนี้
18. พี่อ้อย 14 ซื้อตั๋วบินแล้ว
19. พี่หน่า 14 ซื้อตั๋วบินแล้ว
20. อภิรดี จิ๋ม 30 มัดจำแล้ว
21 ฉัตรแก้ว อ้อ มัดจำแล้ว
22. พี่สุดใจ 12
23. พี่กุ้ง 14 ซื้อตั๋วบินแล้ว
24. พี่ตั้ง 14 ซื้อตั๋วบินแล้ว
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #93 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 09:18:31 »

             น้องเริง คุณเหยง น่าสนุกน่ะค่ะ ทริปนี้จะตามรอยที่น้องเริงหามาให้อ่าน? เดี๋ยวต้องมีทริปหน้าเชียงตุง 2 แน่
      บันทึกการเข้า

เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #94 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 11:40:08 »

ครับ

อีกสองปีจะไปอีกครั้ง  แต่คงเปลี่ยนไปมากแน่
 
ไปปี 56 ยังไม่มีรัานสะดวกซื้อที่เปิด 24 ชม. ปีที่พวกเราจะไปครั้งนี้อาจมีแลัวก็ได้

ไม่มีร้านขายของทึ่ระลึก "เสื้อไปมาแล้วเชียงตุง"

นอกจากนั้นไฟฟ้าจะดับ 4 ทุ่ม โรงแรมบางแห่งใช้ปั่นของตนเอง  

ครั้งที่ไปไม่มีไฟฟ้าหลัง 4 ทุ่ม พนักงานใหัเทียนไขและไม้ขีดตอนติดต่อเข้าพักเลย
 
โรงแรมนั้นคือที่เป็นหอหลวงเก่า

ที่กาดหลวงตอนเช้าคนมาก  คนเชียงตุงมาทานอาหารเช้าที่นี่  คงไม่นิยมทานที่บ้าน



ไม่เห็นมีอาหารสดที่จะซื้อกลับได้เลย มึแต่ร้านขายทอง

เครื่องเขินมีทำอยู่แห่งเดียวแล้ว


ส่วนเครื่องปั้นจะเป็นเตา กระเบืัองหลังคา


 มีช่างตีมีด ให้ได้ชมกัน


แต่ละวัดจัดสร้างมานานมากราว  600 - 700 ปี

ข้อสำคัญงามทุกวัด
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #95 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 12:41:12 »

อ้างถึง
ข้อความของ Dtoy16 เมื่อ 14 ตุลาคม 2557, 09:18:31
             น้องเริง คุณเหยง น่าสนุกน่ะค่ะ ทริปนี้จะตามรอยที่น้องเริงหามาให้อ่าน? เดี๋ยวต้องมีทริปหน้าเชียงตุง 2 แน่

ไปไม่ได้ ฝากตังส์ไปเที่ยวแทนก็ได้นะครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #96 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 12:44:26 »

เชื่อว่า ในอนาคต พม่าคงต้องยอมให้เชียงตุงมีพัฒนาการขึ้น

ไปตอนนี้เหมือนยังไปในช่วงเป็นเมืองเก่า
เพราะหากพัฒนาแล้ว ยังไม่ทราบว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
จะคงรูปแบบเดิม หรือพัฒนาไปแบบกู่ไม่กลับ
ดังเช่นหลายๆเมืองของลาว ที่ให้ทุนจีนเข้าไปพัฒนาเพื่อเป็นเมืองคาสิโน+ท่องเที่ยว
ซึ่งเปลี่ยนโฉมเมืองไปแบบคนละทิศเลย ก็มีเกิดขึ้นมาให้เห็นแล้ว
จนเสียอัตตลักษณ์ของเมืองเก่าไป
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #97 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 15:22:14 »

ครับ เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ไม่เหมือนเดิมแน่  เช่นที่เมืองลา มีบ่อนฯซะแล้ว

เชียงตุง ที่เป็นอาคารเก่า มีหอของเจ้านายเชียงตุงเท่าที่เห็นเหลือ 2
  


 แห่งนี้ทำเป็นห้องพักแล้ว


 บ้านพักจอมพลผิน 1


 และประตูเมือง 1


ริมหนองตุง บ้านพักเปิดเป็นร้านเล็กๆ ขายกาแฟ ชา ในยามค่ำ ไม่เห็นมีร้านใหญ่กว่านี้



2 ภาพนี้ของท่านอื่น

 รวมทั้งรถยนต์เห็นไม่กี่คันเลย

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #98 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 21:19:31 »

รวบรวมจากในไลน์ที่พี่อ้อย โพสต์ไว้ครับ

เบอร์โทร สมาชิกทริปเชียงตุง
  1.อ้อย 085-000-8077
  2.แอ   081-458-2900
  3. ขิม  086-530-9876
  4.หน่า  087-005-5357
  5. ผ่อง 084-156-1685
  6.พี่ติ๋ม 081 826 9571
  7.หนูจิ๋ม 085 100 8558
 8.พี่สิงห์ ศิริวรณ 081 234 1294
 9.หลั่น 081 884 5508
10. ประทาน 081 831 6373
11.แต๊ก ศิริวรรณ 081 413 9001
12.พี่หนุ่ย 081-398 8633
13.พี่ณัฐิมาศ(สาวิตรี)081 868 1781
14.พี่แอ๋ว จีระ081-8152598
15.พี่สุดใจ 089-4497010
16.เหยง-พิเชษฐ์ 081-533 1951
17.กุ้ง 090 -198 -7058
18.ตั้ง ศิริชัย 085 900 5829

ที่เหลืออีก 6 ท่านน่าเป็นสมาชิกในครอบครัว
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #99 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 21:54:07 »

สมาชิกผู้เริ่มเดินทางได้จองตั๋วเครื่องบิน ดอนเมือง-เชียงราย ไป 23 มค. กลับ 27 มค. 58 เป็นที่เรียบร้อย
พร้อมชำระเงินมัดจำเพื่อให้พี่หลั่นไปดำเนินการ ในการจัดทัวร์-รถสำหรับเดินทาง-จองที่พัก งวดแรก 4,000 แล้ว
ต่อไป ขอเชิญสมาชิกจัดส่งสำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองถูกต้องและภาพถ่าย นิ้วครึ่ง รวม 3 ชุด
ส่งไปให้พี่หลั่น-รัตนาพร ภายในเดือนนี้ด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 13  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><