15 พฤศจิกายน 2567, 00:09:32
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3 ... 13  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิญร่วมท่องเที่ยว "ทริป ไอหมอก ม่านเมฆ แห่งเมืองเชียงตุง"  (อ่าน 166121 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 22:25:46 »

แอ่วบ้านพี่เมืองน้อง ของลานนา :

เขมรัฐนครเชียงตุง เมืองสามจอม เจ็ดเชียง เก้าหนอง สิบสองประตู

23-27 มกราคม 2558


      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #1 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 22:31:21 »









      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #2 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 22:49:35 »

ทริป ไอหมอกและม่านเมฆเมืองเชียงตุง
แอ่วบ้านพี่เมืองน้องของล้านนา: เขมรัฐนครเชียงตุง
เมืองสามจอม เจ็ดเชียง เก้าหนอง สิบสองประตู
23-27 มกราคม 2558
ทุกท่านเดินทางมาที่สนามบินเชียงรายในวันที่ 23 มค. 58 ภายใน 16.00น. ล้อจะหมุนออกจากสนามบินไปสู่แม่สาย
วันที่ 23 ม.ค 2558 (กทม.-เชียงราย-แม่สาย)
16.00 น. รับคณะชาวหอจุฬาฯจากสนามบินนานาชาติเชียงรายมุ่งสู่ อ.แม่สาย เข้าที่พักโรงแรมทวีพร พาวิลเลี่ยน
ชมตลาด สินค้านานาชนิด
18.00 น. รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย
วันที่ 24 มค. 2558
7.00 น. อาหารเช้า
8.00 น. ออกเดินทางไปที่ด่านพรมแดนแม่สาย ศุลกากร ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ผ่านจังหวัดท่าขี้เหล็กสู่เมืองเชียงตุง ระยะทาง 168 กิโลเมตร เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่สวยงามสอง
ข้างทางเลียบแม่น้ำเลน รื่นรมย์กับนักร้องRCU
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่เมืองท่าเดื่อ
ระหว่างทางมีการหยุดตรวจเอกสารเป็นระยะๆตามธรรมเนียมพม่า คณะทัวร์สามารถเข้าห้องน้ำเป็นระยะๆเช่นกัน
15.00 น.ถึงเชียงตุง เข้าที่พักโรงแรม Golden View
จากนั้นCity tour ชมบ้านเมืองของชาวไทเขินที่ยังคงลักษณะแบบเก่าเอาไว้ทั้งอาคารไม้และอาคารแบบโคโลเนียล เวียนรอบหนองตุงกลางเมืองแวะกู่เจ้าฟ้า และชมประตูป่าแดง ประตูเมืองเก่าที่ยังคงเหลืออยู่แห่งเดียวในจำนวน 12 ประตูหากมีเวลาแวะไหว้พระมหามุนีที่วัดหลวงใจกลางเมืองซึ่งมีวิหารเป็นสถาปัตยกรรมพม่าแบบมัณฑเลย์ มีจตุรมุข หลังคาเก้าชั้นปลียอด พระประธานประทับนั่งแบบเตงเบงกาวรุ่นที่หนึ่ง จำลองจากองค์จริงที่เมืองมัณฑเลย์ พระเศียรหล่อด้วย
ทองคำหนักประมาณสี่กิโลกรัม สร้างสมัยเจ้าฟ้า
ก้อนแก้วอินแถลงตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดจากนั้นแวะวัดหัวข่วงที่อยู่ตรงกันข้าม เป็นวัดที่มีอายุเจ็ดร้อยกว่าปี มีความสัมพันธ์ทางศาสนากับประเทศไทยเป็นอย่างดี
19.00 น. รับประทานอาหารค่ำ พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ 25 ม.ค 2558
5.30 น. ออกกำลังเดินรอบหนองตุง (optional)
6.30 น. ตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ริมหนอง(แต่งตัวสวยๆนะคะ)
7.00-10.00 น. แอ่วกาดหลวงเชียงตุง ชมและซื้อสินค้าชาวเขาอาข่า สามท้าว แอ่น ไตเขิน ไตลื้อ ไตหลอยฯลฯ ผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น ชุดไต เครื่องจักสาน
เครื่องเงิน หัตถกรรมนานาชนิด นอกจากนี้มี
สินค้าพม่าจีนและไทยของเก่า ของโบราณลองชิมอาหารพื้นเมืองที่ขายในตลาด ข้าวนึ่ง จิ้นส้ม ไส้อั่ว ปาท่องโก๋ยักษ์ โรตีโอ่ง ลูกชิ้นทุบ ใช้เงินไทย เงินจ๊าด เงินรูปี มีเงินให้แลกที่ตลาด
10.00-12.00 น.ตามรอยพุทธศาสนาจากล้านนาถึงเชียงตุง ชมพระธาตุจอมคำหรือจอมทองซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงตุง ยอดพระธาตุทำด้วยทองคำแท้ประดับพลอย 882 เม็ด ภายในวิหาร
มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องมหาชาติและสุขวัณณะ ออกจากวัดจอมคำต่อไปยังวัดยางกวงซึ่งเป็นวัดนิกายสวนดอกที่เผยแพร่จากล้านนามาสู่เชียงตุง นมัสการพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เรียกว่าพระเกล็ดนาค เชื่อว่าหากเอามือแตะองค์พระแล้วอธิษฐานก็จะได้ดั่งใจ วัดสุดท้ายในช่วงเช้า คือ วัดป่าแดง ซึ่งเป็นวัดนิกายป่าแดงจากล้านนาเช่นกัน ทำให้เกิดปัญหาสังฆเภทเช่นเดียวกับล้านนาสมัยพญาติโลกราช ในระหว่างการชมพุทธศิลป์และศึกษประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางศาสนาของล้านนา-เชียงตุง หากมีเวลาจะแวะหมู่บ้านใกล้ๆวัดเพื่อดูงานหัตถกรรมของชาวบ้าน เช่น การตีดาบที่บ้านจอมคำ การดุนลายสังกะสีประดับวัดแบบของวัดศรีสุพรรณที่เชียงใหม่ และการทำ เครื่องปั้นดินเผา
12.00 น.รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านเชียงตุง
13.00-17.00 น. เดินทางไปหมู่บ้านชาวปะหล่อง ดูวิถีซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาอยู่ที่ดอยอ่างขาง ปลูกชา ทอผ้าสวยงาม มีเครื่องเงินสวยงาม
ขากลับแวะวัดอินทร์หรือวัดอินทบุปผาราม สร้าง
สมัยพระยาสรีสุธัมมจุฬามณีตรงกับสมัยพญาติโลก
ราชของเชียงใหม่ เป็นวัดที่มีพุทธศิลป์ที่งดงามทั้ง
องค์พระประธาน การลงรักปิดทองผนังวิหารและ
ซุ้มประตูโขง ตลอดจนอาคารสงฆ์ที่สร้างแบบ
ตะวันตก
หลังจากนั้นกลับไปพักผ่อนและเตรียมออกไปรับประทานอาหารค่ำแบบไทเหนือและไทเขินที่บ้านเชียงเหล็กเวลา 18.00 น.
วันที่ 26 ม.ค 2558
7.00 น. รับประทานอาหารเช้า
8.00 น. ออกเดินทางจากเชียงตุง ใช้เส้นทางไปยังเมืองลา ชายแดนจีน-พม่า ผ่านด่านต้าปิง-แยกบ้านแง้ก บ้านแสน ระยะทาง 90 กม. เปลี่ยนขึ้นรถปิ๊กอัพท้องถิ่นขึ้นไปสู่หมู่บ้านชาวไตหลอยใช้เวลา 30 นาที ชมวิถีชีวิตชาวไตหลอยหรือลัวะเชียงตุง
ชมวัดที่สวยงามอลังการ และบ้านยาวที่จุผู้อาศัย
ได้ถึงร้อยคน
12.00 น.ปิ๊กนิคอาหารกล่องที่บ้านแสน
13.00 น เดินทางกลับ พักผ่อนที่โรงแรมสมาชิกใช้เวลาตามอัธยาศัย
16.00 น.ชมต้นไม้หมายเมืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ที่จอมมน หนึ่งในสามจอมของ
เชียงตุง ชมกำแพงและคูเมืองเก่าที่กรมหลวง
วงศาธิราชสนิทยกทัพมาตีและล่าถอยไปถึงสอง
ครั้งในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังจากนั้นไปชมพระชี้นิ้ว ที่ดอยจอมสัก
18.00 น. รับประทานอาหารค่ำที่ร้านอาหารริมหนองตุง
*********** หลังอาหารเย็นทุกวันสมาชิกสามารถไปวัดเพื่อสนทนาธรรมกับอุบาสกอุบาสิกาชาวไทเขิน หรือ นั่งสมาธิได้เพราะโรงแรมอยู่ใกล้วัดกลางเมืองสามวัด คือ วัดหัวข่วง วัดพระแก้ว และวัดพระหลวง
วันที่ 27 ม.ค 2558
7.00 น. รับประทานอาหารเช้า
8.00 น. เดินทางไปนมัสการสมเด็จอาชญาธรรม
พระสังฆราชแห่งเมืองเชียงตุงเพื่อถวายยาและ
เวชภัณฑ์ และ ขอพร ที่วัดราชฐานหลวงอยู่ใจ
กลางเมืองเชียงตุง มีวิหารลงรักปิดทองสวยงาม
สร้างสมัยเจ้าฟ้าพรหมลือพระสามีของเจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง
10.00 น. อำลาเมืองเชียงตุง
12.00 น. อาหารกลางวันที่ท่าเดื่อ
15.00 น. ถึงท่าขี้เหล็ก ผ่านพิธีศุลกากรเดินทางไปสนามบินนานาชาติเชียงราย
***รายการอาจจะเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและกำลังสังขารของสมาชิก
สิ่งที่ควรเตรียมไป เสื้อกันหนาว หมวก ร่ม ไฟฉาย ยาประจำตัว รองเท้าที่สวมสบาย เครื่องดนตรี สามีหรือภรรยา(ถ้ามี)


updated 15.32 20141003
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #3 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 22:52:31 »

ปัญหาคืออะไร มากระจายข่าวให้รู้กันด้วยนะครับ ท่านเหล่าบรรดาแกนนำทัวร์
จะได้ช่วยกันปัดเป่าให้ลุกโชนขึ้นมา นี่คือคำสัญญา
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #4 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 09:57:19 »

ราคาซักเท่าใดต่อ  ๑ ท่าน ครับ

เป็นรายการทัวร์เชียงตุง เมืองลา ที่ดีสุดเท่าที่เคยอ่านเจอ เยี่ยมยอดเลย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #5 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 11:16:13 »

น่าสนใจ

[].....เจ้านางจากเชียงตุงท่านนี้ชื่อว่า เจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง  ต่อมาเป็น ณ เชียงใหม่    เนื่องจากท่านเสกสมรสกับเจ้าอินทนนท์  ราชบุตรพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่

 

ขณะเชียงตุงแตก  ท่านพำนักอยู่ในเชียงใหม่และเสียชีวิตพ.ศ 2546

ต่อไปจะนำบทสัมภาษณ์ตอนที่ท่านยังมีชีวิตมาลงให้อ่าน

 ........ร่างเล็กในชุด เสื้อลูกไม้คอจีนแขนกระบอกสีขาวสะอาด และ ผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าสีน้ำตาลเข้ม



นั่งสงบนิ่งอยู่บนเก้าอี้ยาวเก่าคร่ำ

มือเหี่ยวย่นขยับขึ้นลงตามตัวอักขระภาษาเขิน เป็นชื่อของตนเองก่อนจะส่งกระดาษแผ่นนั้น

มาให้คนรุ่นหลังอย่างเราๆได้เห็น เป็นบุญตา

จากนั้นจึงขานไขถึงวัยวันเก่าๆลงในเครื่องบันทึกเสียงที่ตั้งรออยู่ตรงหน้า

ด้วยน้ำเสียงเนิบช้าจนเป็นจังหวะเดียวกับการหมุนของแถบบันทึก

ที่ค่อยๆผ่านไปทีละคำทีละประโยค หางเสียงที่เล่าพริ้วสั่นนิดๆด้วยกรังสนิมแห่งกาลเวลา

หากแต่ดวงตาคู่นั้นเองที่ส่องประกายสุกใสนั้นก็ยิ่งเจิดจ้าควบคู่ไปกับรอย ยิ้มที่แต่งแต้มบนใบหน้า

" ฉันอายุเกือบร้อยแล้ว " คือคำกล่าวที่เจ้านางเชียงตุงมักย้ำเสมอคล้ายจะประกาศถึงหนทางอันยาวนานที่ ได้ล่วงผ่าน

ตั้งแต่ครั้งที่นครแห่งนี้ยังทรงศักดิ์และสิทธิ์ เป็นเมืองใหญ่อันดับหนึ่งแห่งรัฐฉาน

จวบจนกระทั่งมรสุมทางการเมืองที่โหมกระหน่ำเป็นเหตุให้ราชวงศ์เชียงตุงต้อง แตกกระสานซ่านเซ็นทุกวันนี้

......สภาพเมืองเชียงตุงสมัยที่ท่านยังเล็กอยู่เป็นอย่างไรค๊ะ..

สมัยนั้นเชียงตุงมีเมืองบริวารเป็นเมืองเล็กๆประมาณยี่สิบกว่าเมือง เมืองใหญ่ๆอีกสิบเก้าเมือง

ชายแดนด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำสาละวิน

ด้านหนึ่งติดกับแม่สาย ด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำโขง

สมัยที่เจ้าพ่อ (เจ้าแก้วอินแถลง)ยังอยู่ ชีวิตก็สนุกสบายดี ฉันไม่ได้ไปเรียนที่เมืองนอกหรอก

เพราะว่าเป็นผู้หญิง เขาเลยไม่ส่งไป ส่วนผู้ชายส่งไปที่อังกฤษ หรือไม่ก็ไปเรียนที่ต่องกี

ซึ่งเป็นเมืองที่เจ้าผู้ครองนครไปประชุมกันทุกปี และเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยภูเขาสูง เลยทำให้อากาศหนาวมาก

เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของรัฐบาลอังกฤษในสมัยนั้น เจ้าฟ้าของแต่ละเมืองจะทรงสร้างบ้านไว้องค์ละหลัง

เพื่อเป็นที่พักเวลาประชุมที่นั่น จำได้ว่าเวลามีประชุมที่นั่น เจ้าพ่อต้องออกงานเลี้ยงแทบทุกคืน

เดี๋ยวคนนั้นเลี้ยงเดี๋ยวคนนี้เลี้ยง  

 .......แตกต่างจากเชียงใหม่ไหมค๊ะ...

อากาศที่เชียงตุงไม่ต่างจากเชียงใหม่เท่าไหร่ เนื่องจากมีภูเขามากเหมือนกัน แต่ภ้าเป็นหน้าร้อน

บางวันอากาศร้อนเหมือนกรุงเทพก็มี

พอย่างเข้าหน้าหนาวอากาศหนาวจนตัวสั่นเลย ตอนนั้นไฟฟ้าก็ยังไม่มี ต้องคีบถ่านแดงๆใส่เตาดิน

คล้ายๆเตาอั้งโล่มาตั้งไว้กลางห้อง

แล้วพวกเราพี่น้องก็นั่งวงล้อมคุยกันบางทีก็ทานขนมเส้นไปด้วย ขหนมเส้นมีอยุ่สองชนิดคือ คือขนมเส้นน้ำจ๋าง

และ ขนมเส้นน้ำเจ็ม น้ำเจ็มใส่หมูสับต้มกับมะเขือเทศ ส่วนน้ำจ๋างใส่เครื่องในหมูทอดกรอบ

ถ้าไม่ใช่ขนมเส้นก็อาจจะทานข้าวเหนียวกับผักอีกสองสามอย่าง เพื่อเป็นการแก้เบื่อเวลาที่ต้องนั่งนานๆ

.........แล้วเรื่องภาษาหล่ะค๊ะ.....

ที่เชียงตุงใช้ภาษาเขินเป็นภาษาพูดและภาษาพม่าเป็นภาษาเขียน

ซึ่งลักษณะของภาษาเขินไม่แตกต่างจากภาษาไทยเหนือสักเท่าไหร่

ทั้งคำพูดและตัวอักษร อย่างภาษาไทย ท่อง ก-ฮ ว่า กอ ไก่ ขอ ไข่ แต่เขินจะท่างว่า กะ ขะ

ภาษาเขินพูดคำว่ากินข้าวเหมือนกับภาษาเหนือ

สุมาแอ่ว แปลว่า มาเที่ยว สู แปลว่า เธอ เฮา แปลว่าฉัน แต่ถ้าเป็นไทยลื้อจะเรียกตัวเองว่าข้อย  

.........ท่านคงจะมีพี่น้องหลายคน.....

พี่น้องที่เป็นพ่อเดียวแม่เดียวกันมีทั้งหมด ห้าคน แม่ของฉันเป็นลูกข้าราชการในเชียงตุง

ส่วนยายฉันเป็นลูกพระยาแขก ก็เพราะว่าท่านจะคอยทำหน้าที่เป็นผู้นำเจ้าฟ้าเมืองต่างๆ เข้าถวายคำนับเจ้าพ่อ

เจ้าพ่อท่านจ้างครูไทยสองคนมาอยู่ที่คุ้ม ชื่อแม่ครูแจ่ม กับแม่ครุบุญชุบ เป็นครูไทยที่มาจากเชียงใหม่นี่แหละ

ให้คอยหัดละครไทยให้ใครก็ได้ที่อยากจะเรียน สมัยนั้นตั้งเป็นวงละครไทยเลยนะ เพราะคนไปหัดกันมากเต็มที

ส่วนละครพม่านั้นมีอีกวงหนึ่ง สอนโดยคนพม่าอีกเหมือนกัน แต่ละครพม่านั้นมีในเชียงตุงมานานแล้ว

เวลาในคุ้มมีงานอะไรสำคัญจะเล่นละครพม่า

ตอนที่ฉันอายุได้หกขวบเจ้าพ่อจ้างครูมาสอนพิเศษภาษาเชียงตุงให้พวกพี่ๆด้วย ความเป็นเด็ก

ฉันเลยเข้าไปนั่งเรียนร่วมกับเขาด้วย ทำให้รู้ภาษาเชียงตุงก่อนเข้าโรงเรียน ทั้งที่สมัยก่อนเด็กอายุหกขวบ

ถือว่ายังเล็กมาก ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้

สามขวบก็อ่านหนังสือได้แล้ว พออายุได้เก้าขวบก็เข้าโรงเรียนกินนอนที่โรงเรียนมาแมร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนแม่ชี

ที่สอนโดยมาแมร์จากอิตาลี่เด็กในเชียงตุงทุกคนต้องเรียนสองภาษาคือ ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ

นอกไปจากภาษาท้องถิ่น

สมัยนั้นมีโรงเรียนอยู่สองโรงเรียน โรงเรียนหนึ่งคือ โรงเรียนแม่ชี ซึ่งรับเด็กผู้หญิงชาวเขามาเรียนหนังสือ

และสอนปักเสื้อผ้าไปด้วย ส่วนพวกชาวเมืองมาเรียนแบบเช้าไปเย็นกลับโดยแยกห้องเรียนกับพวกเรา

ฉันเลยไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ภาษาชาวเขา ส่วนอีกโรงเรียนหนึ่งคือโรงเรียนบาทหลวง

โรงเรียนนี้รับเด็กผู้ชายชาวเขามาเรียนด้วยเหมือนกัน

ถ้าหากตอนกลางคืนมีขโมย หรือเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นที่โรงเรียนแม่ชี มาแมร์จะเป็นคนตีฆ้อง เสียงดัง ง้อง ง้อง

แล้วพวกเด็กนักเรียนโรงเรียนบาทหลวง

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวเขาจะวิ่งมาช่วยที่นี่ฉันต้องไปกินนอนอยู่ที่นั่น ตั้งหลายปี จนกระทั่งเรียนจบชั้นหก

ถึงได้ออกมาช่วยเจ้าพ่อทำงาน

...........สมัยนั้นมีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่สนิทๆไหมค๊ะ.....

เพื่อนรุ่นเดียวกันกับฉันสมัยนั้นเป็นลูกสาวเจ้าเมืองย๊อง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเชียงตุงญาติทางเจ้าพ่อชื่อว่า

เจ้าเทพธิดา เดี๋ยวนี้เสียชีวิตแล้ว

เรากินนอนอยู่โรงเรียนเดียวกัน สมัยนั้นลูกของเจ้าพ่อที่ไปอยู่โรงเรียนเดียวกันมีสามคน คนใช้อีกสองคน

และเจ้าเทพธิดาอีกหนึ่งคน นอนห้องเดียวกัน

สมัยก่อน การคัดเลือกเด็กที่จะเอามาเป็นคนใช้เจ้านายนั้น เขาจะไม่เลือกจากเด็กที่เป็นลูกขุนนาง

แต่เลือกจากลูกของคนชั้นธรรมดา พวก " นาง " หรือ " ชาย " ในเชียงตุงมีคำเรียกคนตามชนชั้นต่างๆกัน

อย่างคำว่า " อุ๊นาง "

หมายถึงลูกสาวพระยา "อุ๊ไจ๊" หมายถึงลูกชายพระยา มาตอนหลังถึงไม่เรียก " อุ๊ " กันแล้วเพราะไม่เหลือคนที่มียศ

ตำแหน่งถึงขั้น " อุ๊ " เหลือแต่ นาง กับ ชาย เฉยๆ ขั้นต่ำลงมา จะเป็นไอ้ กับ อี

ส่วนพระนั้น มีหลายชั้น มีคำเรียกต่างกัน ตั้งแต่ ตุ๊ สิทธิ ครูบา จนถึง อายธรรม (อา-ยะ-ทำ)

อายธรรมคือตำแหน่งใหญ่ที่สุดเทียบได้กับสังฆราชของไทย แต่คำว่าพระในภาษาไทยหมายถึงเณรของเชียงตุง

.........ที่ว่าเรียนจบมาช่วยเจ้าพ่อทำงานนั้น ทำอะไรบ้างค๊ะ.......

ฉันเรียนจบอายุได้สิบกว่าปี เจ้าพ่อให้เป็นเลขาฯของท่าน คอยรับใช้ท่านสลับกับพี่สาวอีกสองคน

เจ้าบัวสวรรค์ และเจ้าทิพเกสร

ผลัดกันทำงานคนละวัน สมัยนั้นเจ้าพ่อมีไร่กาแฟด้วย ฉันต้องทำหน้าที่เป็นคนคอยทำบัญชีว่าไร่แห่งนี้

มีต้นกาแฟกี่ต้น ให้ผลมาเท่าไหร่

สมัยชีวิตสาวๆของฉันสนุกมากกลางวันก็เล่นเทนนิส เนื่องจากเจ้าพ่อทรงดำริให้ สร้างสนามขึ้นในคุ้ม

บางครั้งก็มีภรรยาหมอฝรั่งและภรรยาข้าหลวงมาร่วมเล่นด้วย ส่วนคนอื่นๆในเวียงที่สามารถมาเล่นเทนนิสได้จะต้อง

เป็นพวกลูกสาวขุนนาง เพราะเจ้าพ่อไม่อนุญาติให้ผู้ชายเข้ามาภายในคุ้ม แต่ฉันเล่นไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่

น้องสาวฉัน เจ้าบุญฟองซิเล่นเก่ง  

 ..........นอกจากเล่นเทนนิสแล้วมีกิจกรรมอย่างอื่นอีกไหมค๊ะ....

ฉันกับน้องๆชอบขับรถยนต์ไปเที่ยวตามในเวียง สมัยนั้นไม่มีใครในเชียงตุงมีรถยนต์ นอกจากเจ้าพ่อ ซึ่งมีอยู่ สองสามคัน


รถยนต์ด้านหลังของภาพ

รวมทั้งพี่ชายใหญ่และเจ้าพรมลือ เวลาเราไปไหนด้วยรถยนต์จึงสะดวกสบาย แต่เนื่องจากพื้นทีในเวียงเป็นที่ดอน

ไม่เสมอกัน มีเนินสูงต่ำอยู่มากมาย เวลาขับรถยนต์จะต้องขับขึ้นลงเนิน บางทีขับไปแล้วเครื่องดับ

ตอนนั้นยังใช้ระบบเก่าอยู่

เป็นแท่งเหล็กหมุนเพื่อสตาร์ทเครื่องอยู่ มีบางครั้งที่เราหมุนไม่ไหว

ก็จะให้น้องสองคนที่ไปด้วยกันช่วยเข็นรถไปบนยอดเนิน

แล้วผลักรถลงมาเพื่อให้สตาร์ได้ง่ายขึ้น แต่บางครั้งแทนนิสก็อยากเล่านขับรถก็อยากขับ ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

........คุ้มใหญ่โตขนาดไหนค๊ะ.....

เนื้อที่ของคุ้มกว้างประมาณสิบกว่าไร่ภายในนั้นนอกจากตำหนักของเจ้าพ่อและ ตำหนักของเจ้าย่าแล้ว

เจ้าพ่อยังสร้างบ้านไว้หลังหนึ่ง

สำหรับเจ้านางของเจ้าพ่อคลอดลูกเนื่องจากเมื่อก่อนลูกๆทุกคนของเจ้าพ่อคลอด

บนตึงใหญ่หรือตำหนักของเจ้าพ่อ แต่ท่านมีลูกหลายคน

ภายหลังจึงสร้างอีกหลังหนึ่งสำหรับเป็นที่คลอดโดยเฉพาะ

ตำหนักของเจ้าพ่อเป็นตึกสามชั้นแบบแขก ชั้นบนสุดเป็นที่ไว้หิ้งพระ

นอกนั้นเป็นที่ว่างเพราะไม่มีใครขึ้นไปอยู่พวกเราเด็กๆเลยชอบขึ้นไปเล่นกัน

ข้างบนนั้น มีอยู่วันหนึ่ง พี่ชายใหญ่ (เจ้าฟ้ากองไตย) กลับจากศาลากลางมาเห็นเข้า เลยโดนพี่ดุเสียยกใหญ่เลย

บนตำหนักมีห้องถึงเก้าห้อง แต่ละห้องใหญ่โตมากแบ่งออกเป็นสามปีกด้วยกัน ปีกซ้ายเป็นห้องของเจ้าพ่อ

ส่วนห้องโถงใหญ่ตรงปีกกลางนั้น เอาไว้สำหรับออกขุนนางเวลามีงานใหญ่งานโต ถัดไปทางด้านหลังอีกห้องหนึ่งเป็น

ห้องคลัง สำหรับเก็บเงินท้องพระคลัง ฉันยังจำได้ว่า เวลาที่พวกพนักงานเทเงินออกมานับ

บางทีเราโชคดีเราเล่นกันอยู่ข้างล่าง

จะมีเงินไหลลอดออกมาจากพื้นข้างบนได้มาครั้งละแถบๆ แต่เดี๋ยวนี้เค้าเรียกว่าเงินจ๊าดตามพม่าแล้ว

นอกจากนี้ยังมีห้องถัดไปทางหลังตึกอีกหนึ่งห้อง เป็นห้องของมหาเทวี ปีกขวาเป็นห้องของเจ้าจอมอีกสามห้อง

และห้องมหาดเล็กอีกหนึ่งห้อง ส่วนชั้นล่าง ที่ส่วนหนึ่งแบ่งไว้สำหรับต้อนรับเวลามีงานปีใหม่

หรือจะจัดงานเลี้ยงพวกเจ้าเมืองที่ขึ้นกับเมืองเชียงตุงเมื่อเข้ามาคารวะ เจ้าพ่อในพิธีคารวะ

(คุ้มเชียงตุงในอดีต)  

 ....พิธีคารวะคืออะไรค๊ะ......



พิธีนี้จัดขึ้นปีละสองครั้ง ปีใหม่และออกพรรษาเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดี

ของเจ้าเมือง ต่างๆในอาณัติของเชียงตุง

พิธีนี้มีอยู่สองวันด้วยกัน วันแรกเรียกว่าวันกิ่นป๋าง เป็นวันที่เจ้าเมืองทุกคนจะรัปทานอาหารร่วมกับเจ้าพ่อ

โดยมีอาหารหลักเป็นพิเศษอยู่ห้าอย่างคือ แกงฮังเล น้ำซุปถั่วลันเตา ผักกุ่มดอง แคบหมูกับน้ำพริกอ่องและข้าวเหนียว

เสร็จจากนั้นวันที่สองถือเป็นวันคารวะ ในวันนี้เจ้าพ่องจะประทับบนแท่นแก้วส่วนพวกเจ้าเมืองจากสามสิบกว่าเมือง

จะทยอยกันเข้าไปในห้องพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียนมาวางไว้ตรงหน้าแท่นที่เจ้าพ่อ ประทับคนละขัน

เชื่อไหมว่าเขาปักเทียนเล่มใหญ่อย่างกับท่อนไม้(ทำมือประกอบ) มาในขันที่ทำจากเงินแท้ ตีเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ

เจาะรูตรงกลางประดับด้วยดอกบานไม่รู้โรยทั้งข้างบนข้างล่าง เสียบมาโดยรอบเทียนจำนวนห้าดอก

หลังจากนั้นเจ้าเมืองจะ " สูมา " หรือไหว้เจ้าพ่อ เจ้าพ่อให้พรตอบแล้ว

พวกช่างฟ้อนก็มาฟ้อนหางนกยูงให้พวกแขกบ้านแขกเมืองดู เป็นอันเสร็จพิธี





                                              การฟ้อนหางนกยูง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #6 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 11:32:20 »

  


                                   ชาวเชียงตุงมาร่วมยินดีในแต่งงาน เมื่อ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕.

.......เจ้าพ่อของท่านดุไหมค๊ะ

ไม่ดุเพราะท่านเป็นอุบาสกที่เคร่งครัดมาก ยึดศีลห้าเป็นหลักประจำใจ สมัยนั้นถือเป็นกฏเลยว่า ถ้าใครไม่คือศีลห้า

ไม่รับเข้าทำงานราชการ ลูกผู้ชายทุกคนต้องบวชเรียนเมื่อถึงเกณฑ์ จะบวชเณรหรือบวชพระก็ได้

เวลาเด็กคนไหนอายุครบยี่สิบเมื่อไหร่

จะต้องจัดงานบวชเณรให้และถ้าเป็นคน ธรรมดาสามัญ จะให้เณรนั่งแห่ไปบนม้าส่วนช้างนั้น เจ้าพ่อเท่านั้นจึงจะมีได้

ท่านมีช้างหลายเชือก เวลาปล่อยช้างออกมาเรียกว่าเต็มลานคุ้มเลย

เจ้าพ่อท่านเชี่ยวชาญมากสามารถปีนข้ามจากช้างเชือกหนึงไปอีกเชือกหนึ่งได้

โดยไม่ต้องลงมาที่พื้อนและท่านจะมี " อาเปี่ยวต่อ"

หรือสาวใช้สามสี่คนคอยนั้งเฝ้ารับใช้ผู้ชายอีกสี่คนไว้สำหรับให้เจ้าพ่อ เรียกใช้

เรื่องคดีความอะไรในเชียงตุงเจ้าพ่อเป็นผู้ตัดสินเพียงผู้เดียว ฝรั่งไม่เกี่ยว เพียงแต่มาเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น สมัยนั้น

ข้าหลวง รองข้าหลวง หมอ และนานทหารอังกฤษจะมาพักกันที่ดอยเหมย พวกอังกฤษชอบที่นี่มาก

เป็นสถานที่น่าอยู่ เนื่องจากเป็นดอยสูงที่สุดและสวยที่สุดในเชียงตุง



โดนรื้อสร้างโรงแรม




.......ท่านปกครองอย่างไรค๊ะ......

เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ฝรั่งกำลังล่าเมืองขึ้น แคว้นสิบสองปันนาซึ่งเป็นพวกไทยลื้อ

ได้ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน

และถูกครอบครองโดยคนสามชาติด้วยกัน เมืองย็อง เมืองแฮ่ เมืองขัน เมืองลื้อ เมืองหลุย ขึ้นกับอังกฤษ แต่ยกให้

เชียงตุงปกครอง เมืองเชียงรุ่ง เมืองน้า เมืองลา เมืองหัน นั้นขึ้นกับจีน ส่วนเมืองที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส

 ต่อมาเมืองทั้งห้าเมือง ที่เชียงตุงปกครองโดยเชียงตุงเกิดไม่พอใจขึ้นมาต้องการที่จะขึ้นกับอังกฤษ โดยตรง

ไม่อยากถูกปกครองโดยเชียงตุงอีกต่อไปคิดตั้งตัวเป็นกบฏ เจ้าฟ้ากองไตย พี่ชายของฉัน

ซึ่งเป็นอุปราชเมืองเชียงตุงในสมัยนั้น

จึงขอประทานอนุญาตจากเจ้าพ่อไปสืบราชการที่เมืองย็อง จากนั้นท่านก็จัดการแต่งตัวเป็นฝรั่ง

เดินทางไปกับคณะข้าหลวงของอังกฤษโดยไม่มีใครในเมืองทราบเลยว่าท่านคืออุปราช

ระหว่างที่พวกเจ้านายและข้าราชการเมืองย็องเข้าหารือกับข้าหลวงอังกฤษเรื่อง ขอขึ้นตรงกับอังกฤษ

วันนั้นเองที่พี่ชายฉันสั่งจับกบฏเมืองย็องได้ทั้งกลุ่ม

ภายหลังกบฏกลุ่มนี้ได้ถูกส่งไปติดคุกที่เมืองตองกี จำได้ว่าสมัยก่อนที่เจ้าพ่อปกครองโทษประหารของเชียงตุงคือ

การตัดหัวและแขวนคอ แต่เนื่องจากเจ้าพ่อถือศีลเลยลดโทษประหารซึ่งเป็นโทษหนักที่สุดเหลือเพียง

ติดคุกนานเพียงสิบปี สำหรับคดีฆ่าคนตาย

  

.................ท่านมีโอกาสไปเที่ยวไหนไกลๆไหมค๊ะ.....

ฉันไม่เคยไปเที่ยวไหนไกลๆหรอก แค่เมืองพม่าเท่านั้นเอง สมัยนั้นที่สนุกหน่อย

คือการได้มีโอกาสได้ติดตามเจ้าพ่อไปประชุมที่ต่องกี

เพราะเขามักจะมีงานเลี้ยงที่นั้นทุกคืน นอกจากนั้นก็ไปเที่ยวเมืองย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์กับเจ้าแม่

ที่มัณฑะเลย์นั้นฉันกับเจ้าแม่ได้ไปนมัสการพระเจ้าละแข่งเป็นภาษาพม่า แปลว่าพระโพธิสัตว์ ยังจำได้ว่าทั่วทั้งองค์

เหลืองอร่ามงดงามไปด้วยทองเปลวจกาศรัทธาของบรรดา พุทธศาสนิกชน เขาว่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก

ถ้าเป็นคนบาปจะมองไม่เห็นองค์ท่านส่วนเจดีย์ชะเวดากองที่อย่างกุ้งนั้นไม่มี ตำนานอะไร แต่พอไปถึงที่นั่นจะมีคนตั้ง

แผงขายทองเปลวเป็นทองคำแท้หนักห้าบาท อยู่ทั้วบริเวณองค์เจดีย์ แต่พอซื้อแล้วคนขายจะเป็นคนนำขึ้นไปปิดองค์

เจดีย์ให้เราฉันกำลังจะได้ไป เที่ยวเมืองมะละแหม่งอยู่แล้วพอดีพี่สาวโทรเลขมาเรียกตัวกลับไป

เลยยังไม่มี โอกาสได้เห็นสักที

.........ที่เชียงตุงมีงานเทศกาลบ้างไหมค๊ะ.....

 แต่ละปีจะมีงานอยู่สอง ครั้ง งานหนึ่งคืองานที่โป่งน้ำร้อน ซึ่งอยู่ไกล้กับเมืองไทยห่างจากเวียงมาก

ประมาณสิบกว่ากิโลเมตร

ที่นั่นจะมีบ่อน้ำร้อนอยุ่สามบ่อ แต่ละบ่อกว้างเท่าห้องห้องหนึ่ง ขนาดใหญ่กว่าบ่อน้ำร้อนที่เชียงใหม่.....



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #7 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 11:58:04 »

ขออย่าให้เป็นช่วง"ตรุษจีน" เท่านั้น

ยินดี "ไปไหน-ไปด้วย, ตีกัน-เราป่วย, ไปกินที่ไหน-บอกด้วย, ถึงป่วย-ก็ไป"
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #8 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 12:00:11 »

เสียดายนัก

นายด่านศุลกากรแม่สาย (คนเก่า-ชาว RCU) ย้ายไปด่านลาวซะแล้ว ??
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #9 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 12:21:36 »

   ภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒    

ทั้งสองท่านเมื่อวัยชรา

เวลาที่น้ำเดือดแต่ละครั้งฟองอากาศจะกระเด็นสูงขึ้นไปเป็นเมตรแล้วไปตกลงใน ร่องที่เขาทำรองไว้

นอกจากนั้นเขายังทำร่องไว้อีกร่องหนึ่งเป็นร่องน้ำเย็นที่รองมาจากบ่น้ำอีก

แห่งหนึ่งต่อลงมายังที่อาบน้ำที่ทำเอาไว้ซึ่งหางจากบ่อน้ำร้อนประมาณกิโลเมตรหนึ่งได้

แล้วน้ำร้อนกับน้ำเย็นก็จะมาผสมกันพอดี

เจ้าพ่อโปรดให้สร้างห้องอาบน้ำสำหรับข้าราชบริพาร สามห้อง สำหรับเจ้าพ่อหนึ่งห้อง
สำหรับพวกเราผู้หญิงหนึ่งห้อง สำหรับราษฎรอีกหนึ่งห้อง

ห้องอาบน้ำไม่ได้ทำแบบหรูหราอะไรเพียงแต่ใช้ฟากไม้ไผ่มาทำเป็นฝากั้นพลับพลา

ภายในนั้นทำเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ลึกแค่เอว ใครมีชุดอาบน้ำก็ใส่รวมกันเป็นงานหน้าหนาวที่ใหญ่โต

และมีการละเล่นสนุกๆหลายอย่าง พอตกกลางคืนมีหนังมีละครตอนกลางวันมีซอ บางปียาวนานถึงเจ็ดวันบางปีก็ห้าวัน

แต่ถ้าปรกติไม่มีงานฉันกับน้องๆจะขับรถ ยนต์ไปที่นั่นด้วยตัวเองบ่อยๆ พอถึงเดือนห้าจะมีงานบอกไฟ เหมือนบ้องไฟ

อย่างเชียงใหม่ในงานนี้แต่ละหมู่บ้านจะแข่งกันทำบอกไฟแล้วนำมา จุดแข่งกันในวันนั้น บอกไฟของบ้านไหนที่ขึ้นได้

สูงสุดจะได้รับเงินรางวัลจากเจ้าพ่อ เป็นเงินแผ่นรูปกังสดาล เจาะรูตรงกลาง ร้อยด้าย ทำเป็นพวงคล้องคอผู้ชนะ

..............ทราบว่างานสงกรานต์ที่นั่นคล้ายกับที่เชียงใหม่.......

จะว่าคล้ายก็ได้ งานปีใหม่สงกรานต์ที่นั่นถือเป็นงานรื่นเริงประจำปีอีกงานหนึ่งของเชียงตุง วันที่ 13 เมษายน

เรียกว่าวันสังขารล่อง วันนี้พวกชาวบ้านจะเลือปผู้ชายมาแต่งตัวด้วยผ้าสีแดง เอามะละกอสองลูกผูกเชือกห้อยคอ

ทำอะไรก็ได้ให้น่าเกลียด(หัวเราะ) แล้วสมมุติให้เป็นตัวสงกรานต์จากนั้นจะนำตัวสงกรานต์แห่ไปตามถนน

เพื่อไปทิ้งในแม่น้ำเขินที่อยู่นอกเมืองเรียกว่าการไล่สงกรานต์ ถือเป็นการขับไล่โชคร้ายออกไปหรือสิ่งไม่ดีออกไป

วันรุ่งขึ้นเรียกว่าวันเนาชาวบ้านทุกคนจะร่วมกันขนทรายจากแม่น้ำเขินและแม่ น้ำลาภ ซึ่งอยู่ไกลเวียงออกไปมาที่วัด

เพื่อเตรียมไวสำหรับก่อเป็นเจดีย์ทรายในวัน รุ่งขึ้นในระหว่างนี้ในคุ้มจะจัดพิธีคารวะขึ้น วันสุดท้ายเรียกว่า วันปีใหม่

หรือวันพญาวัน ทุกคนจะแต่งตัวสวยงามแล้วจึงพากันไปทำบุญและก่อเจดีย์ทรายที่วัด

วัดประจำของเจ้านายมีอยู่สามวัดคือ วัดหัวข่วง วัดพระแก้ว วัดเชียงอินทร์

เป็นธรรมเนียมเลยว่าทางคุ้มจะต้องส่งข้าวไปที่วัดเหล่านี้ทุกวัน

.............ท่านพบกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ (สามี)ได้อย่างไรค๊ะ......

พบกันตอนอายุยี่สิบสองปีเท่ากัน แต่ฉันแก่กว่าเจ้านนท์สิบกว่าวัน เจ้าแว่นแก้ว พี่สาวของฉัน มีคนมาสู่ขอเมื่ออายุสิบหก

เลยถูกเจ้าพ่อบังคับให้แต่งงานนั่งร้องไห้ร้องห่มไม่มีโอกาสได้รู้จักกับชาย คนอื่นเลยต้องโดนจับคลุมถุงชนตั้งแต่เด็ก

ฉันเองไม่เคยรู้จักเจ้านนท์มาก่อน แต่ตอนนั้นจะมีนักสืบหรือแม่สื่อเป็นคนสืบให้ว่าคนที่มาสู่ขอนั้นมีประวัติ นิสัยใจ

คอเป็นอย่างไร หลังจากหมั้นได้แปดเดือนก็แต่งงาน

............วันพิธีแต่งงานเป็นอย่างไรบ้างค๊ะ........

มีเรียกขวัญ ผูกข้อมือ เจ้าพ่อท่านส่งจดหมายไปเชิญเจ้าเมืองต่างๆมาร่วมงานด้วยแต่การเดินทาง

สมัยนั้นยังลำบากอยู่ และไม่ใช่งานแต่งของเจ้าฟ้าคนสำคัญอะไรเขาเลยส่งของขวัญมาแทนงานหมั้น

ไม่มีพิธีหรอกมีแต่เลี้ยงข้าวและสวมแหวนเท่านั้นเอง ส่วนพิธีแต่งงานมีสองวัน วันแรกเป็นวันผูกข้อมือ

จะมีคนออกมาอ่านหนังสือกล่าวขวัญอวยพรให้กับเจ้าบ่าวเจ้าสาวเสร็จแล้วแขก

ผู้ใหญ่จะเอาด้ายผูกข้อมือใครที่เตรียมของขวัญมาก็ให้คู่บ่าวสาวในตอนนั้น

วันต่อมาเป็นวันดำหัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องยืนบนแท่นสูงเพื่อให้แขกพรมน้ำอวยพร

ฉันจำได้แม่นว่า วันนั้นเจ้านนท์ใส่เสื้อครุยยาว ที่เรียกกันว่าเสื้อคำ ซึ่งเป็นเสื้อเฉพาะของเจ้าฟ้าเชียงตุงที่ได้รับพระราชทานจากกษัตริย์อังวะ

และสวมชฎา ทีแรกท่านสวมชฎา แต่บอกว่าเจ็บ ตอนหลังทนไม่ไหวเลยต้องถอดออกแล้วใช้ผ้าเคียน(พันรอบๆให้แน่น )แบบธรรมดาแทน


          
หลังจากที่คู่สมรสกล่าวเสร็จจึงจะดำหัวเจ้าบ่าวเจ้าสาว เป็นการพรมน้ำไม่ใช่ดำหัวจริงๆ

จากนั้นจะมีการแห่คู่บ่าวสาวหนึ่งรอบก่อนเสร็จพิธี

ถ้าเป็นสมัยก่อนนั้นไปอีกคู่บ่าวสาวต้องนั่งแห่ไปบนหลังช้าง แต่พอมาถึงสมัยฉัน

เจ้าสาวกลับนั่งแห่ไปบนรถยนต์ประดับประดาด้วยดอกไม้ฉันต้องนั่งรถจากตำหนัก

เจ้าพรมลือเพื่อไปรับเจ้าบ่าวที่ศาลากลาง แล้วเจ้าบ่าวจะขี่ช้างตามเจ้าสาวไปที่บ้านฉัน ถ้าเป็นงานแต่งระดับเจ้าผู้ครองนคร

ต้องกมีการเลี้ยงอาหารฝรั่ง เนื่องจากในเชียงตุงมีฝรั่งมาพักอยู่มากเหมือนกัน

หลังจากแต่งงานได้สิบกว่าวันก็เดินทางมาเชียงใหม่เลย โดยมีเจ้าฟ้าพรมลือ

กับ เจ้านางบุยยงค์ ซึ่งเป็นเจ้าแม่อีกองค์หนึ่งมาส่ง

ท่านมาพักอยู่ด้วยสักห้าวันก็กลับไป

หอของเจ้านางบุยยงค์ที่เชียงตุง





........ระยะแรกๆที่ท่านมาอยู่เชียงใหม่ต้องปรับตัวมากไหมค๊ะ......

ไม่ลำบากเลย เพราะภาษาพูดเราคล้ายกัน พอแต่งงานแล้วฉันก็มาอยู่ที่คุ้มใหญ่ของเจ้าหลวง (เจ้าแก้วนวรัตน์)

                      

แถวตลาดเจ๊กโอ่ง ท่านทำบ้านไว้หลังหนึ่งให้ลูกสาวคนโตอยู่ ส่วนอีกหลังหนึ่งให้พวกลูกสะใภ้อยู่ อยู่ที่นั้นได้สักพักนึง

จนลูกคนที่สามอายุได้สองเดือนกว่า เจ้าหลวงก็สินพระชมน์หลังจากนั้นพี่สาวคนโตของเจ้าหลวงต้องการคุ้มใหญ่คืน

ฉันกับเจ้านนท์และลูกๆก็เลยย้ายมาอยู่ที่เจดีย์เวียง อยู่ได้ปีหนึ่งก็มาซื้อบ้านหลังนี้คุ้มนั้นต่อมาก็ได้ถูกขายไป

เมื่อก่อนที่ดินยังราคาถูกมากจำได้ว่าซื้อบ้านหลังนี้พร้อมที่ดินอีกห้าไร่ ในราคา สองพันบาท

 .........ชีวิตแต่งงานของท่านเป็นอย่างไรค๊ะ.....


ตอนที่เห็นหน้าเจ้านนท์ครั้งแรกก็รู้สึกเฉยๆ(หัวเราะ) แต่พอแต่งงานไปแล้วก็ถึงได้รู้ว่าท่านเป็นคนดี ไม่เจ้าชู้

ผู้หญิงเรามีเรื่องสบายใจอยู่อย่างเดียวเท่านั้นคือ ถ้าสามีเราไม่เจ้าชู้ก็ดี ฉันว่ามันเป็นกรรมเวร

เพราะไม่มีใครได้เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อนแต่ต้องมาอยู่ร่วมกัน เจ้านนท์ท่านเคยทำป่าไม้กระยาเลยที่สันป่าตอง

มีช้างอยู่สามตัว แต่ทำได้ไม่กี่ปีก็เลิกไป ไม่ได้ทำต่อ แล้วจากนั้นท่านก็ไม่ได้ทำอะไรเลย

ท่านเพิ่งเสียไปได้สองปีที่แล้ว อยุได้แปดสิบเอ็ดปี เรามีลูกด้วยกันห้าคน เป็นชายสามหญิงสองชื่อ

รัตนินดนัย วิไลวรรณ สัมภสมพล ไพฑูรย์ศรี วีรยุทธ ที่ชื่อคล้องจองกัน

เจ้านนท์ไปขอให้เจ้าคุณวัดเทพศิรินทร์ตั้งชื่อให้ ลูกทุกคน

..............หลังจากแต่งงานไปแล้วเป็นแม่บ้านอย่างเดียวเหรอค๊ะ......

หลังจากแต่งงานแล้วก็ไม่ได้ทำอะไรพอดีได้ไปเที่ยวเมืองมัณฑเลย์กับเจ้าแม่ เห็นเขาทำยาเส้นใส่กระเช้าเล็กๆเที่ยว

เดินขายริมทาง เป็นยาอมสูตรพม่า ทำจากชะเอมคลุกกับมะขามเปียกกับยาอีกสามสี่อย่างเลยซื้อมาชิมดู

เห็นว่าเข้าท่าดี ตอนหลังลองเอามาทำดู

พอทำแล้วเห็นว่าไช้ได้เลยทำขายอยู่พักหนึ่ง

วิธีทำก็ไม่ยากอะไรแต่เป็นเพราะขายดีมาก เลยต้องจ้างลูกจ้างมาช่วยจะมีแขกคนหนึ่ง

มาบดชะเอมเป็นผงเตรียมไว้ก่อนถ้า

เป็นมะขาม ต้องใช้มะขามเปียกต้มน้ำแล้วเคี่ยวให้เหลือแต่เนื้อ เสร้จแล้วนำมาคลุกกับยาและชะเอม

ปั้นเป็นเม็ดตากแห้งสมัยนั้นฉันทำขายถึงสามรสนอกจากรสมะขามแล้วยังมีรสมะนาว และมะกรูด

บางทีมะนาวมีไม่พอ ก็ต้องบดสัมโอใส่เพิ่มลงไป ใส่กระปุกเล็กๆราคาขวดละสิบบาท

ไปฝากขายที่ร้านตันตราภันฑ์ ร้านเกษตรสโตร์

ที่ลำพูนก็มีคนรู้จักกันเอาไปขาย ที่กรุงเทพฯก็มีขาย รายได้ดีทีเดียว บางเดือนเคยได้ถึงห้าพันบาท

ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่ามาก แต่ตอนหลังลุกจ้างขโมยยาไปขาย ประจวบกับทางเทศบาลสั่งปรับตันตราภัณฑ์

โทษฐานขายยาไม่มีใบอนุญาต เขาเลยบอกเลิกไม่รับ ฉันเลยไม่ทำตั้งแต่นั้นมา

.............ได้ทำอาหารพื้นเมืองของเชียงตุงให้ลูกๆทานหรือป่าวค๊ะ.....

ฉันทำกับข้าวไม่ค่อยเก่งเลยไม่เคยทำอาหารเชียงตุงให้เขาลองทาน แต่ที่นั่นอาหารหลักๆประเภทแกงฮังเล

แกงแคอย่างเมืองเชียงใหม่ไม่อย่างนั้นก็ต้องมีงานใหญ่โตต้องมีน้ำซุปถั่ว ลันเตา

วันธรรมดานอกจากจะทานอาหารสามมื้อแล้วช่วงบ่ายยังมีมื้อเล็กๆ เป็นพวกน้ำชา กาแฟ และขนมแบบฝรั่ง

ส่วนมื้อเย็นจะเสร์ฟอาหารพื้นเมืองและอาหารฝรั่งพร้อมกัน เนื่องจากเรามีคนครัวฝรั่งที่เจ้าพ่อจ้างมาประจำอยู่ที่คุ้ม

ส่วนคนครัวพื้นเมืองที่ประจำอยุ่ที่คุ้มมีอยู่ห้าคนจะคอยทำอาหารเลี้ยงคน ทั้งคุ้ม จำได้ว่าพอถึงเวลาอาหาร คนรับใช้ของ

แต่ละคนจะมารับอาหารจากในครัวไปเสริฟให้เจ้านาย

............ช่วงที่รัฐบาลไทยส่งคนไปปกครองเชียงตุงท่านก็ไม่ได้อยู่เชียงตุงแล้วใช่มั้ยค๊ะ.....

ค่ะ ตอนนั้นฉันมีลูกคนที่สามแล้ว พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยถูกญี่ปุ่นบังคับให้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ

พอดีช่วงนั้นญุ่ปุ่นได้เข้าครอบครองพม่า ไทยจึงต้องส่งคนไปปกครองเชียงตุงแทนญี่ปุ่น พอสงครามสงบลง

ญี่ปุ่นถอยจากพม่าแล้ว ไทยจึงต้องถอยออกจากเชียงตุงด้วยแล้วหลังจากนั้นอีกไม่นานอังกฤษก็ประกาศปลดปล่อย

พม่าเป็นเอกราช แต่ก่อนที่จะปลดปล่อยอังกฤษได้ถามความสมัครใจของชาวเชียงตุงว่าต้องการขึ้น อยู่กับไทยหรือขึ้น

อยู่กับพม่า เนื่องจากหมู่ข้าราชการเชียงตุงเห็นว่าระหว่างที่ไทยไปปกครองเชียงตุงนั้น

ทหารไทยไปรุงรังกับคนเชียงตุง ถ้าบ้านไหนมีเงินก็ขึ้นปล้นเอาทองคำไป

คนเชียงตุงเลยเกลียดชังคนไทยหันไปเลือกขึ้นกับพม่าแทน

 ..........ก่อนหน้านั้นทราบมาว่าเชียงตุงมีเรื่องมากมาย......

หลังจากที่เจ้าฟ้ากองไตย พี่ชายคนละแม่ของฉัน เป็นโอรสของเจ้าแม่นางฟอง

ได้รับการแต่งตั้งจากอังกฤษให้เป็นผู้ครองนครเชียงตุงต่อจากเจ้าพ่อได้เพียง เจ็ดเดือน ก็ถูกลอบปลงพระชมน์

มหาเทวีชาวสีป้อต้องหนีไปสินพระชมน์ที่เมืองตองกี พอไทยเข้าครองเชียงตุงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ได้แต่งตั้งให้เจ้าฟ้าพรมลือ โอรสของมหาเทวี ของเจ้าพ่อเป็นผู้ครองนคร ต่อมาได้แต่งงานกับเจ้าทิพวรรณ

หลานเจ้าหลวงลำปาง ที่ลำปาง แต่หลังจากที่เชียงตุงเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เจ้าพรมลือกับครอบครัวจึงได้โยกย้ายมาอยู่เชียงใหม่




..........ช่วงสงครามนั้นลำบากไหมค๊ะ....

ไม่ลำบากอะไรหรอก เพราะที่บ้านไม่เป็นอะไรเลย แต่เจ้านนท์ท่านกล้ว

พวกเราทั้งครอบครัวเลยต้องพากันไปหลบที่ทุ่งเสี้ยว

แถวสันป่าตอง ช่วงนั้นสัมพันธมิตรจะทิ้งระเบิดบินข้ามหลังคาบ้านเราไปทิ้งระเบิดที่สถานี รถไฟ พอเสียงหวอดัง

เราต้องไปหลบในหลุมหลบภัยเดียวกันถึงห้าหกคน มาหลังๆเครื่องกระป๋องเริ่มหมด แป้ง นม

ที่ใช้เลี้ยงเด็กอ่อนก็ไม่มี ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แทน
  

..........แล้วระหว่างนั้นทางเชียงตุงเป็นอย่างไรบ้างค๊ะ....

ช่วงเกิดสงครามฉันไม่ได้ข่าวจากทางเชียงตุงเลย มารู้ข่าวว่าเจ้าฉายเมือง

กับเจ้าขุนศึกน้องชายหนีพวกญี่ปุ่นไปอยู่กับพวกสัมพันธ์มิตรแล้ว

ทั้งสองก็พูดออกอากาศทางวิทยุว่า เรามาอยู่ที่นี่สบายดีด้วยเหตุที่เขาหายไปโดยไม่มีใครรู้เรื่องแต่เขา

ต้องออกหนีโดยไม่ให้ญี่ปุ่นรู้ตัวเลยกลัวทุกคนเป็นห่วง ต้องประกาศทางวิทยุแทน พอเราได้ยินเสียงเขาทางวิทยุก็สบายใจ
............แต่หลังสงครามยิ่งแย่กว่า......

ตอนนั้นแต่งงานมาอยู่ที่นี่มาหลายปีแล้ว นายพลอูนุ นายกรัฐมนตรีพม่ายุคนั้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเมืองต่างๆที่มีอิทธิพลสูง

ถูกพวกที่ทำการปฏวัติจับเข้าคุก เจ้าฟ้าย็องหุ่ย ซึ่งตอนแรกเป็นประธานาธิบดีของพม่าภายหลังมาสิ้นพระชมน์ในคุก

คนที่ไปรับพระศพมาเห็นแต่รอยรองเท้าและรอยช้ำเต็มพระวรกาย เดี๋ยวนี้ที่นั่นเหลือเพียงน้องชายคนหนึ่งกับน้องสาว

สองคน

เจ้าฟ้าที่เป็นผู้ชายต้องย้ายไปเมืองต่องกีหมดเพราะเกรงว่าพวกข้าบ้าน

คนเมืองที่ยังจงรักภักดีอยู่จะก่อกบฎคุ้มที่ฉันเคยอยู่ เดี๋ยวนี้ก็โดนรื้อทิ้งไปแล้ว

เขาเล่าว่ามีคนไปดูเวลาที่เขารื้อแล้วไปพูดคัดค้านว่า รื้อทิ้งทำมัย...เสียดาย เลยโดนจับเข้าคุกแบบขังลืมก็มี

..............ท่านได้กลับไปเยี่ยมเชียงตุงครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ค๊ะ.....

เมื่อสาบสิบกว่าปีก่อนตอนที่แม่ตาย แม่ฉันตายเมื่ออายุได้เจ็ดสิบกว่าปี ส่วนเจ้าพ่อสิ้นพระชมน์

เมื่อพระชนมายุได้ประมาณหกสิบพรรษา

เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว  โดย: ชารีส

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546 เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ ได้สุรคตเมื่อชันษา 90 ปี ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งพระศพบำเพ็ญกุศลที่วัดเจดีย์หลวง ส่งสการ ณ ฌาปนกิจสถานสันกู่เหล็ก ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2546

                                                                            
                                                                              ราชวงศ์เชียงตุง



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #10 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 12:32:27 »

ข่าวล่า..


"ตรุษจีน" อยู่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2558
      บันทึกการเข้า
ประทาน14
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2514
คณะ: เภสัชศาสตร์
กระทู้: 999

« ตอบ #11 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 19:24:03 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 01 ตุลาคม 2557, 22:52:31
ปัญหาคืออะไร มากระจายข่าวให้รู้กันด้วยนะครับ ท่านเหล่าบรรดาแกนนำทัวร์
จะได้ช่วยกันปัดเป่าให้ลุกโชนขึ้นมา นี่คือคำสัญญา


พี่ป๋องครับ
ผมได้ส่งผ่านคำสัญญานี้ให้แกนนำทัวร์แล้วครับ
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #12 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 20:57:29 »

อ้างถึง
ข้อความของ ประทาน14 เมื่อ 02 ตุลาคม 2557, 19:24:03
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 01 ตุลาคม 2557, 22:52:31
ปัญหาคืออะไร มากระจายข่าวให้รู้กันด้วยนะครับ ท่านเหล่าบรรดาแกนนำทัวร์
จะได้ช่วยกันปัดเป่าให้ลุกโชนขึ้นมา นี่คือคำสัญญา


พี่ป๋องครับ
ผมได้ส่งผ่านคำสัญญานี้ให้แกนนำทัวร์แล้วครับ
เห็น รัตนาพร14 เข้ามาในนี้แล้ว แว๊บๆ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
จารุวรรณ14
Newbie
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1

« ตอบ #13 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 21:07:59 »

คิดว่า พรุ่งนี้หลั่น 14 คงจะเข้ามาร่วมแจม จริงแท้แน่นอนแล้วคราวนี้คงจะตอบข้อข้องใจของชาวหอได้ล่ะค่ะ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #14 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 22:58:30 »

จอมพลผินกับเชียงตุง   ...เรื่องเล่าจากปองพล

                                          

ในเรื่องนี้ท่านจะได้เห็นความผูกพันระหว่างท่านจอมพลผินและท่านจอมพลป. นอกจากจะเป็นรุ่นเดียวกันแล้วยังได้ทำงานใกล้ชิดกันมาตลอด พอญี่ปุ่นบุกขึ้นมาท่านจอมพลป. ก็กลัวว่าญี่ปุ่นนั้นจะมายึดจะมาทำลายกองทัพไทย ท่านก็วางแผนตั้งกองทัพพายัพขึ้นมา โดยรวบรวมหน่วยกำลังทั้งหมดของกองทัพไทย และกองพลที่1 ,2 ,3 ,4 ให้ไปอยู่ทางภาคเหนือและให้ไกลจากกองทัพญี่ปุ่น  
 แล้วก็ตกลงกับญี่ปุ่นว่าจะร่วมกันทำสงคราม ญี่ปุ่นก็มอบให้กองทัพพายัพเข้าไปยึดเชียงตุง ก็มีกองพลที่ 2 ที่ 3 ที่ 4  จอมพลผินซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 3ได้นำทหารจากโคราชนั่งรถไฟมา เปลี่ยนสับรางที่ภาชี แล้วขึ้นเหนือไปตั้งค่ายที่พะเยา และในที่สุดก็บุกเข้าไปในเชียงตุง ปรากฏว่าเส้นทางที่เข้าไปในเชียงตุงลำบากยากแค้นมากเลย แต่ในที่สุดก็สามารถยึดเชียงตุงได้

เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ทหารไทยป่วยเป็นโรคมาลาเรียกันมากเรียกได้ว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของกองทัพเลยทีเดียว แต่ที่เป็นปัญหามากที่สุดในขณะนั้นก็คือเรื่องเครื่องแบบ เพราะทหารที่ไปยึดเชียงตุงตั้งแต่ออกเดินทางก็มีเครื่องแบบไปชุดเดียว พอไปถึงเชียงตุงก็เริ่มมีการขาดบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ก็ต้องใช้วิธีเอาทหารที่ตัวเท่ากันผลัดกันใส่เครื่องแบบ ท่านจอมพลผินบันทึกไว้ในหนังสือว่าบางวันไปเยี่ยม ทหารโมโหเดินแก้ผ้าโทงๆ ให้ดูเลย บอกว่าทนไม่ไหวแล้วเพราะไม่มีเครื่องแบบให้เลย แล้วท่านก็หาวิธีแก้ปัญหา เพราะในตอนนั้นเส้นทางตัดขาดหมด เนื่องจากเป็นช่วงหน้าฝน เพราะท่านไปยึดได้ตอนพฤษภา และเข้าเชียงตุงเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2485

 พอยึดได้ก็ติดในเชียงตุงนั้นแหละครับ ติดต่อไม่ได้ การเดินทางระหว่างแม่สายไปเชียงตุงลำบากมากเลยทำให้การส่งเสบียง ส่งยาลำบาก ใช้ม้าก็ไม่ได้ ใช้ช้างช้างก็ตกเหว ในที่สุดจึงติดต่อทางวิทยุว่าให้ใช้ร่มชูชีพมาทิ้งยาที่เชียงตุง ปรากฏว่าพอนักบินมาก็ทิ้งผิด คือที่เชียงตุงจะมีบึงใหญ่อยู่กลางเมืองชื่อว่าหนองกรุง เพราะสมัยก่อนทัศนวิสัยไม่ค่อยดี นักบินมองมาก็นึกว่าเป็นสนามหญ้าจึงทิ้งชูชีพลงมาตกหมด ท่านจอมพลผินจึงปรึกษากับฝ่ายเสนาธิการว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรดี ฝ่ายเสนาธิการจึงเสนอว่าให้เอายาบรรจุใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วทิ้งลงมาจากเครื่องบิน พอเครื่องบินมาทิ้งกระบอกไม้ไผ่บรรจุลงมาให้ ชาวเมืองเชียงตุงก็คิดว่าเครื่องบินไทยมาทิ้งระเบิดจึงวิ่งหนีกันอลหม่าน ซึ่งกระบอกไม้ไผ่ที่ทิ้งลงมาก็โดนหัวคนบาดเจ็บกันไปจำนวนไม่น้อยก็เลยเลิกทำ  

จึงแสดงให้เห็นว่าการไปรบในสมัยก่อนนั้นมันลำบากมาก มีปัญหาให้แก้ตลอด  ซึ่งพอเข้าเมืองเชียงตุงได้ก็ประสบปัญหาไม่มีข้าว เนื่องจากเชียงตุงนี้โดนทหารจีนยึดอยู่นาน พอจะถอยทหารจีนได้เผาทำลายหมด ข้าวสาร 4,000 กระสอบที่มีอยู่ในคลังถูกเผาเรียบหมด ไม่มีเหลืออยู่เลย จอมพลผินบอกว่าไม่เป็นไร ปลูกข้าว ทำนาเอาก็ได้  แต่ก็มีปัญหาอีกคือไม่มีครก เพราะทหารจีนทำลายครกหมด จอมพลผินจึงให้สร้างครกกันขึ้นมา แล้วก็มีปัญหาเรื่องแบบ พอจะไปซื้อก็ปรากฏว่าไม่มีเงิน จึงต้องพิมพ์ธนบัตรกันขึ้นมา โดยจอมพลผินในฐานะข้าหลวงใหญ่ทหารประจำเชียงตุง เป็นคนลงนาม ท่านจะเห็นได้ว่าทหารรุ่นนั้นลำบากมาก



สำนักงานและบ้านพักของจอมพลผิน ..ช่วงที่ท่านอยู่เชียงตุง

จนในที่สุดท่านก็มาเกี่ยวข้องกับการเมืองจนได้ หลังจากที่ท่านกลับมาที่กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างสงคราม  ในสมัยนั้นจอมพล ป พิบูลสงครามยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่  ซึ่งฝ่ายรัฐบาลภายใต้การนำของจอมพลป. ได้ยื่นพระราชกำหนดต่อสภาฯ ไปสองฉบับคือ

 ฉบับหนึ่งคือจะจัดตั้งเพชรบูรณ์เป็นเมืองหลวง

อีกฉบับหนึ่งคือจะเอาพระพุทธบาทเป็นเขตศาสนาเพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นเข้าไปยึด ผลปรากฏว่ารัฐบาลแพ้โหวตฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย  ทำให้จอมพล ป ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  คุณควง อภัยวงศ์หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้เป็นรัฐบาลแทน ทำให้จอมพลผินเป็นห่วงจอมพลป. จึงเดินทางจากเชียงตุงลงมาเยี่ยมท่านที่ลพบุรีแล้วลงมากรุงเทพฯ ก็ปรากฏว่าตอนนั้นพวกทหารไม่พอใจมาก เพราะในสมัยนั้นทหารมีอำนาจและไม่พอใจที่นายกฯ พลเรือนมาปลดจอมพลป. ออกจากผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็เลยประชุมกันวางแผนเพื่อจะยึดอำนาจ แต่ทางจอมพลผินท่านบอกว่าอย่าไปทำอะไรเลยเพราะอยู่ในภาวะสงคราม ซึ่งเราทำอะไรลงไปไม่รู้ว่าญี่ปุ่นจะยอมไหม เพราะทหารญี่ปุ่นเต็มเมืองเลย และถ้าเกิดมีปัญหาเดี๋ยวทหารไทยมารบกันเอง สู้เก็บกำลังไว้ดีกว่า

หลังจากนั้นท่านก็เดินทางกลับเชียงตุง  แล้วทางกองทัพได้มีคำสั่งให้ท่านกลับมาประจำกรมเสนาธิการทหารที่กรุงเทพฯ วันหนึ่งคุณควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีก็เรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ทำเนียบ แล้วบอกว่า ได้ข่าวมาว่าทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่ค่อยทำงานกัน เอาแต่คุยกัน จอมพลผินซึ่งในขณะนั้นยศพลโทจึงยกมือขึ้นพูดว่า นายทหารที่นั่งอยู่นี้ไปรบมาแล้วทั้งนั้น ถ้ามีงานให้ทำก็บอกมาสิจะให้ทำอะไร และคนอยู่ด้วยกันถ้าไม่คุยก็เป็นบ้าตายน่ะสิ พอหลังจากนั้น 7 วันท่านก็ถูกปลดออกจากราชการ

ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร ไปทำนาทำสวนดีกว่า ท่านก็ไปอยู่ที่บางน้ำเปรี้ยว  จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วพวกเราทั้งครอบครัวก็ไปทั้งหมด ซึ่งตอนนั้นผมอายุเกือบ 2 ขวบ ผมก็มารู้ทีหลังว่าผมไปสร้างวีรกรรมไว้ที่ตลาดบางน้ำเปรี้ยว ผมก็ถามคุณพ่อคุณแม่ว่าวีรกรรมอะไร ก็ได้ทราบว่าเวลาผมไปตัดผมที่ตลาด ตลาดจะแตกตื่น เพราะผมแหกปากร้องจนกว่าจะตัดผมเสร็จ ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมตอนนั้นไม่ยอมตัดผม ก็เป็นอีกช่วงชีวิตหนึ่งที่ไปอยู่บางน้ำเปรี้ยว พอไปอยู่ได้ระยะหนึ่งก็คิดว่าเป็นชีวิตที่สงบ แต่พอวันหนึ่งกำนันได้มาบอกว่าได้มีโจรผู้ร้ายอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งมีอาวุธที่ทันสมัยรู้ว่าท่านไปรบมาจากเชียงตุง และท่านก็เป็นถึงแม่ทัพ คงจะร่ำรวยจึงคิดที่จะยกพวกมาปล้น ซึ่งในขณะนั้นบรรดาเขยต่างๆ นั้นยังอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อความปลอดภัยคุณตาจึงย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ และหลังจากนั้นไม่เท่าไหร่สงครามก็ยุติ


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #15 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 08:47:23 »

ไทยปกครองเชียงตุง ในชื่อว่าสหรัฐไทยเดิม

พิธีเชิญธงไตรรงค์ ณ เม่ืองเชียงตุง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ในวันแรกทีียึดได้



จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากไทยลงนามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งกองทัพพายัพ และส่งกำลังทหารที่มีพลตรีผิน ชุณหะวัณเป็นแม่ทัพเข้ายึดครองเมืองเชียงตุงได้เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2485

ไทยได้ยึดเมืองเชียงตุง และ เมืองพานจากอังกฤษ มาจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของไทยในชื่อสหรัฐไทยเดิม รัฐบาลไทยได้ทูลเชิญเจ้าเมืองเหล็กพรหมลือโอรสของเจ้าก้อนแก้วอินแถลงมาเป็นเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยศพรหมลือครองเมืองเชียงตุง โดยมีพลตรี ผิน ชุณหะวัณเป็นข้าหลวงใหญ่ นอกจากนั้น กองทัพไทยยังเข้าไปโจมตีและปกครองเมืองตองยี ครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ และหวังจะครอบครองสิบสองปันนาอีกด้วย

เมื่อสงครามสิ้นสุด ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ไทยจึงคืนดินแดนสหรัฐไทยเดิมให้แก่อังกฤษ

เจ้าฟ้าพรหมลือและครอบครัวอพยพมาอยู่ที่เชียงใหม่

เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2491 เชียงตุงจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉาน ประเทศพม่า แต่ยังมีเจ้าฟ้าปกครอง จน พ.ศ. 2505 นายพลเนวินปฏิวัติปกครองประเทศด้วยระบบสังคมนิยม ระบบเจ้าฟ้าของเชียงตุงจึงถูกยกเลิกไป

หอคำของเชียงตุงถูกพม่าทำลายเมื่อ พ.ศ. 2534 หลังสิ้นสุดการปกครองระบบเจ้าฟ้า
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #16 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 09:41:03 »

เจ้าฟ้าแห่งเชียงตุง อีกหนึ่งพระองค์ที่มีความสัมพันธ์กับไทย

ตามรายการทัวร์ไปวัดที่ท่านได้ทรงสร้างด้วย

วันที่ 27 ม.ค 2558

7.00 น. รับประทานอาหารเช้า
8.00 น. เดินทางไปนมัสการสมเด็จอาชญาธรรม พระสังฆราชแห่งเมืองเชียงตุงเพื่อถวายยาและเวชภัณฑ์ และขอพร ที่วัดราชฐานหลวง
อยู่ใจกลางเมืองเชียงตุง มีวิหารลงรักปิดทองสวยงาม สร้างสมัยเจ้าฟ้าพรหมลือ พระสามีของเจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง


 
                                                                  

เมื่อเจ้าทิพวรรณอายุได้ 17 ปี (เป็นธิดาของเจ้าไชยสงคราม (น้อยเบี้ย ณ ลำปาง) กับเจ้าฝนห่าแก้ว ณ ลำปาง ซึ่งเป็นราชธิดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย กับแม่เจ้าเมืองชื่นราชเทวี )ได้พบรักกับเจ้าฟ้าพรหมลือ ราชโอรสในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ซึ่งได้เสด็จเดินทางมาเยือนนครลำปาง และได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง แต่การที่เจ้าต่างนครจะอภิเษกสมรสกันได้ จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสียก่อน และเนื่องจากขณะนั้นเชียงตุงอยู่ในบังคับของอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเกรงว่าจะมีปัญหาระหว่างประเทศได้ จึงไม่ทรงอนุญาต แต่ต่อมาก็ได้มีการหมั้นกันไว้ก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 2465 เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย เจ้าฟ้าพรหมลือได้เสด็จเดินทางมาเคารพพระศพ และถือโอกาสนี้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าทิพวรรณ จากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เดินทางกลับนครเชียงตุง

ต่อมาไม่นานเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในนครเชียงตุง ทำให้เจ้าฟ้าพรหมลือถูกส่งตัวไปช่วยราชการที่เมืองตองยี และเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นก็ถูกส่งไปควบคุมตัวที่เมืองโหม่วหยั่ว แต่ภายหลังเจ้าฟ้าพรหมลือก็ได้พาครอบครัวหนีการควบคุมของอังกฤษเข้าหาฝ่ายไทย ที่ตำบลท่าก้อ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และเมื่อรัฐบาลประกาศให้รวมแคว้นสหรัฐไทยเดิมเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้าพรหมลือเป็นเจ้านครเชียงตุง และให้เป็นผู้ช่วยข้าหลวงปกครองฝ่ายทหาร ช่วยราชการสนามนครเชียงตุงด้วย ซึ่งท่านก็ได้สนับสนุนและช่วยเหลือกองทัพไทยเป็นอย่างมาก

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เจ้าฟ้าพรหมลือได้อพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 โดยประทับที่จังหวัดลำปางก่อน จากนั้นจึงได้เสด็จย้ายมาอยู่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2488

เจ้าพรหมลือ ณ เชียงตุง นำครอบครัวเข้าเฝ้า สมเด็จฯ กรมดำรง ณ วังวรดิศ ถนนหลานหลวง



เเถวหลัง จากซ้ายไปขวา ม.จ. สีวลีวิลาศ มจ.พัฒนายุ เจ้าฟ้าพรหมลือ มจ.พิลัยเลขา มจ.พูนพิศมัย

เเถวหน้า จากซ้ายไปขวา เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง เจ้านางทิพยเกสร เม็งราย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เจ้านางบัวสวรรค์ เม็งราย เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่

และเจ้าฟ้าพรหมลือเสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ. 2498


                            
      บันทึกการเข้า
รัตนาพร14
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

« ตอบ #17 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 10:59:50 »

สวัสดีค่ะ หลั่น14คะ อยู่หอเหนือล่าง จบประวัติศาสตร์ คณะอักษรค่ะ  ยินดีที่พี่ๆเพื่อนๆน้องๆสนใจไปเที่ยวเชียงตุงด้วยกันนะคะ  เราจะเริ่มวันที่๒๓ ม.ค นะคะ พบกันที่สนามบินนานาชาติเชียงราย  ราคาทัวร์8,900บาท มีค่าโรงแรมที่แม่สายคนละ 400บาทนะคะ รวม9,300บาท การเดินทางไปเชียงรายขอความกรุณาจัดการด้วยตนเอง ด่วนนะคะ
      บันทึกการเข้า

รัตนาพร14
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

« ตอบ #18 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 11:13:55 »

มีข้อสงสัย หรือคำถาม เชิญเข้าไลน์เชียงตุง หรือสายตรงหลั่น0818845508 และอีเมล์ratanaporn.s@gmail.com
      บันทึกการเข้า

รัตนาพร14
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

« ตอบ #19 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 13:05:56 »

ขอบคุณเริง2520สำหรับข้อมูลดีๆนะคะ
      บันทึกการเข้า

เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #20 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 13:19:46 »

ครับผม เมืองเชียงตุงงามมากครับ

เส้นทางไปเชียงตุง



บ้านชาวไทยเขินก่อนถึงเชียงตุง



บ้านในเชียงตุง ใกล้ประตูป่าแดง



หนองตุง



ไปตลาด



โรตีโอ่ง ไม่ใช้น้ำมัน

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #21 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 17:42:08 »

วันนี้ลองเข้าไปจะจองตั๋วไป-กลับ ดอนเมือง-เชียงราย ของนกแอร์
ราคา 3,698.00 บาท (บวกประกัน 150 บาทแล้ว)
ให้กระเป็าหนัก 5  กก.ติดตัว, ส่วนโหลดใต้เครื่องยังไม่ได้คิด
จึงยังไม่ได้จอง

เอายังไงต่อครับ ??
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #22 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557, 18:03:15 »

หากเราเดินชมเมืองเชียงตุง อาจพบท่านนี้ขี่จักรยาน และเรียกทักทายเราว่า คนไทยใช่ไหม ท่านดีใจที่พบคนไทยและทักทายพูดคุยอย่างมิตร

เจ้าอู่เมือง ณ เชียงตุง  บุตรในเจ้าจายหลวง ณ เชียงตุง เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงพระองค์สุดท้าย กับเจ้านางจันแก้วมหาเทวี ท่านสืบเชื้อสายเจ้าเป็นผู้ครองนครเชียงตุงคนปัจจุบัน ต่อจากบิดาของท่าน






ที่กู่หรือสุสานเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง เราพบชายคนหนึ่ง เฝ้ากู่อยู่ เขาบอกกับพวกเราว่า ชื่อ เจ้าอู่เมือง มีหน้าที่ดูแลกู่หรือสุสานในฐานะลูกหลานเจ้าฟ้า ทุกวันท่านจะปั่นจักรยานคู่ชีพพร้อมมีดดาบอย่างกับนักรบโบราญ

 ท่านเล่าให้ฟังว่าเคยตามเจ้าพรหมลือกับเจ้าแม่ทิพวรรณ มาอาศัยอยู่ที่คุ้มกลางเวียงเชียงใหม่ ได้เคยเรียนหนังสือไทย พออ่านออกเขียนได้ หลังมีเกิดรัฐประหารในพม่าจึงจากออกจากคุ้มกลางเวียง กลับมาอยู่กองกำลังของขุนส่า ตามตะเข็บชายแดนแถวดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง
 
เมื่อขุนส่าวางอาวุธต่อรัฐบาลทหารพม่า จึงกลับมาอยู่ที่เมืองเชียงตุง ทุกวันนี้ท่านดำรงชีพอยู่ได้จากดอกเบี้ยเงินฝากเล็กน้อย ที่นำไปฝากกับธนาคาร ซึ่งเป็นเงินที่เก็บไว้ตอนทำงานให้กับกองกำลังขุนส่า

      บันทึกการเข้า
รัตนาพร14
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

« ตอบ #23 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2557, 10:45:44 »

จองตั๋วได้แล้ว ช่วยแจ้งไฟล์ท เวลาถึงด้วยนะคะ แจ้งในไลน์เชียงตุงก็ได้ค่ะ
      บันทึกการเข้า

เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #24 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2557, 10:46:25 »

ยังไม่มีรายชื่อ ตัดสินใจกันอยู่

พี่เหยง ๑๖ แจ้งว่าจะไป ท่านบอกท่านอื่นแล้ว
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1] 2 3 ... 13  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><